สร้างอาชีพเงินล้าน ของวิสาหกิจชุมชนกล้วยหอมทองปทุมรัตน์

อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เป็นอีกหนึ่งทำเลทองของการปลูกกล้วยหอมเพื่อการส่งออกรายใหญ่ของไทย โดยอำเภอหนองเสือมีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมมากถึง 14,170.10 ไร่ กล้วยหอมทองที่ปลูกในพื้นที่นี้ได้รับการยกย่องว่า มีคุณภาพดี รสชาติอร่อย ถูกใจผู้บริโภค เพราะปลูกในแหล่งดินเหนียวที่มีแหล่งน้ำชลประทานทั่วถึง มีการดูแลจัดการสวนอย่างเป็นระบบ ทำให้กล้วยหอมที่ปลูกได้สามารถส่งออกไปขายถึงประเทศญี่ปุ่น

เมื่อ ปี 2558 เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมในพื้นที่ตำบลนพรัตน์ อำเภอหนองเสือ ภายใต้การนำของประธานกลุ่มฯ คือ คุณนุกูล นามปราศัย ได้รวมตัวกันจดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกล้วยหอมทองปทุมรัตน์ เพื่อผลิตกล้วยหอมพันกว่าไร่ และจำหน่ายผลผลิตเข้าสู่ตลาดทั้งในประเทศและส่งออก เนื่องจากกล้วยหอมจัดอยู่ในกลุ่มผลไม้เพื่อสุขภาพ ทำให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี

ผลดีของการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกล้วยหอมทองปทุมรัตน์ ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมมีโอกาสสร้างอำนาจต่อรองราคากับผู้ซื้อสินค้า รวมทั้งได้รับการสนับสนุนองค์ความรู้เรื่องการปลูกดูแลสวนกล้วยหอมอย่างเป็นระบบจากหน่วยงานภาครัฐ ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิต เช่น การจัดตั้งธนาคารปุ๋ย การหมุนเวียนแรงงาน การตั้งราคากลางสินค้า ฯลฯ ทำให้ทางกลุ่มฯ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และยกระดับราคาสินค้า ช่วยสร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกร

ในอดีต คุณนุกูล และภรรยาคือ คุณปราณี เหมเชื้อ ประสบปัญหาการขาดทุนในการดำเนินธุรกิจ ทาง กศน.อำเภอหนองเสือจึงเข้ามาส่งเสริมอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าให้คุณปราณีใช้สร้างอาชีพเสริมรายได้เลี้ยงดูครอบครัว ต่อมาคุณนุกูลหันมาเริ่มปลูกกล้วยหอมทอง บนเนื้อที่ 5 ไร่ โดยใช้สารเคมี ปรากฏว่า อาชีพการทำกล้วยหอมทองสร้างรายได้ก้อนโต จนต้องขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น

ต่อมา คุณกรรณกร ชูเทพ ผู้อำนวยการ กศน. อำเภอหนองเสือ ประกาศขับเคลื่อนนโยบายเกษตรธรรมชาติ ด้วยศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อประโยชน์สูงสุดในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและรักษาแผ่นดินไทยให้เป็นแผ่นดินทองอย่างแท้จริง โดย ผอ.กรรณกร ได้ชักชวนให้คุณนุกูลและภรรยาหันมาทำสวนกล้วยหอมทองแบบเกษตรอินทรีย์ เป็นรายแรกในอำเภอหนองเสือ ปรากฏว่า โครงการนี้ประสบความสำเร็จ สินค้ากล้วยหอมทองของคุณนุกูล มีคุณภาพมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ทำให้บริษัทผู้นำเข้าของญี่ปุ่นตัดสินใจสั่งซื้อกล้วยหอม จากสวนแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง ทำให้คุณนุกูลมีรายได้ก้อนโต ชำระหนี้สินได้หมดและมีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคงมาจนถึงทุกวันนี้

การปลูกกล้วยหอมทอง ตั้งแต่เริ่มปลูกจนถึงเก็บเกี่ยวจะใช้เวลาดูแล ประมาณ 9-10 เดือน หากอยู่ในแหล่งชลประทาน เกษตรกรสามารถปลูกต้นกล้วยหอมทองได้ทั้งตลอดปี ทั้งนี้ เกษตรกรในอำเภอหนองเสือ นิยมทำสวนกล้วยแบบยกร่อง เนื้อที่ประมาณ 5.5-6.5 เมตร ร่องน้ำมีขนาดความกว้างประมาณ 1.0-1.5 เมตร เกษตรกรจะเลือกใช้หน่อพันธุ์กล้วยหอมทองที่เป็นหน่อใบแคบหรือหน่อดาบ ที่มีใบอยู่ประมาณ 3-4 ใบ เพื่อให้ต้นกล้วยตกเครือพร้อมๆ กัน ขุดหลุมลึกและกว้างประมาณ 50 เซนติเมตร หรือประมาณ 1 ศอก ก่อนปลูกต้องรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปลูกต้นกล้วยหอมทองในระยะห่างประมาณ 1.0×1.5 เมตร หรือ 1.5×1.5 เมตร

หลังจากปลูก 10 วัน จะใส่ปุ๋ยยูเรียเร่งให้ต้นกล้วยแตกกอ เติบโตแข็งแรงสวยงาม ง่ายต่อการบริหารจัดการ ไม่ต้องซ่อม หลังปลูก ด้านการให้น้ำ จะใช้เรือรดน้ำต้นกล้วยหอม ประมาณวันละ 1-2 ครั้ง และรักษาระดับน้ำในร่องสวนให้มีความลึก 1 เมตร และต่ำกว่าระดับดินท้องร่อง ทประมาณ 50-80 เซนติเมตร

เมื่อต้นกล้วยอายุ 20 วัน ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 บำรุงต้น พอกล้วยอายุ 2-3 เดือน ปุ๋ยตร 16-16-16 ต้นกล้วยอายุ 5 เดือน มักเจอปัญหาการชะล้างหน้าดินบริเวณโคนต้น ทำให้โคนต้นตื้นและรากลอยง่ายต่อการโค่นล้ม จึงนิยมโกยเลนจากร่องน้ำขึ้นมาสุมโคนต้นกล้วย ประมาณ 2 ครั้ง ข้อดีของการโกยเลนท้องร่องมากองที่โคนต้นกล้วย ถือเป็นอาหารบำรุงต้นกล้วยที่ดี ช่วยให้ต้นกล้วยแตกกองอกงามได้ดีขึ้น

เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์บำรุงต้นกล้วยตามช่วงอายุ ต้นกล้วยอายุ 20 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 กล้วยอายุ 1-4 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 และ 16-16-16 สำหรับต้นกล้วยอายุ 5-7 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 สูตร 0-0-60 บำรุงต้นกล้วย สำหรับสวนกล้วยอินทรีย์ของคุณนุกุล เมื่อต้นกล้วยอายุ 4 เดือน จะใส่ปุ๋ยคอกจากมูลสุกร มูลไก่ และคอยรดน้ำตลอด เพื่อบำรุงให้ต้นกล้วยมีสุขภาพแข็งแรง เพื่อให้ได้ผลผลิตเต็มที่ไม่ต่ำกว่า 5-7 หวี ต่อเครือ

โดยทั่วไป พื้นที่อำเภอหนองเสือมักประสบปัญหาภัยธรรมชาติ คือลมพายุในช่วงเดือนเมษายน-เดือนมิถุนายนเป็นประจำทุกปี นับเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้สวนกล้วยได้รับความเสียหายจากปัญหาคอกล้วยหัก หรือเครือกล้วยผิดรูป เกษตรกรพยายามลดความเสียหายโดยใช้ไม้ไผ่ค้ำพยุงต้น

ช่วงอายุ 7-8 เดือน เป็นระยะต้นกล้วยเริ่มแทงปลี พร้อมออกผล สวนกล้วยของคุณนุกูลจะใช้ไม้ค้ำพยุงลำต้นด้านขวาของต้นกล้วย เพื่อรองรับน้ำหนักของเครือกล้วยที่กำลังเจริญเติบโต ระยะนี้ เกษตรกรบางรายนิยมใส่กระดูกป่นบำรุงต้นกล้วย เพื่อให้ต้นกล้วยขยายปลีได้ดียิ่งขึ้น เพราะต้นกล้วยที่มีขนาดปลีใหญ่ มักจะได้เครือกล้วยขนาดใหญ่ตามไปด้วย

เมื่อปลีกล้วยเติบโตเต็มที่ เริ่มเปิดกาบปลี เห็นผลอ่อน เกษตรกรจะตัดปลีเพื่อให้ผลอ่อนเจริญเติบโตได้เต็มที่ ตัดแต่งใบกล้วยไม่ให้ทึบหนาจนเกินไป เปิดทางให้แสงแดดและกระแสลมพัดผ่านในสวนกล้วยได้อย่างสะดวก ลดการเกิดโรคและป้องกันแมลงเข้าทำลายต้นกล้วย พร้อมตัดแต่งใบที่เบียดกับหวีกล้วยออก เพื่อป้องกันไม่ให้ผลกล้วยลาย ช่วงที่ต้นกล้วยกำลังตั้งท้อง คุณนุกูลจะปล่อยให้ต้นกล้วยมีใบ 10-12 ใบ เพื่อให้ใบกล้วยสร้างอาหารบำรุงเลี้ยงเครือกล้วยในอนาคต

เมื่อเครือกล้วยเติบโตเริ่มมีลูกเข้าทรงแล้ว คุณนุกูลจะใส่ถุงพลาสติกบางสีฟ้าใส ขนาด 1.0×1.2 เมตร ที่เจาะรูระบายอากาศห่อเครือกล้วยหอมทอง เพื่อป้องกันแมลงวันทองไม่ให้รบกวนผลกล้วย เมื่อครบกำหนดจึงตัดเครือกล้วยออกไปในจุดรวบรวมผลผลิต เพื่อล้างทำความสะอาดก่อนส่งขายตลาด

ภายหลังการเก็บเกี่ยวหมดทั้งแปลง เกษตรกรจะโค่นต้นกล้วยทิ้ง ทำความสะอาดแปลง กำจัดวัชพืชและตากดิน เพื่อรอการผลิตรอบใหม่ ระหว่างพักแปลงเพื่อป้องกันโรคและหนอนกอ คุณนุกูลมักแนะนำให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกปลูกพืชอื่น เช่น ข้าวโพด ฯลฯ เพื่อเสริมรายได้และไถกลบเป็นปุ๋ยอินทรีย์บำรุงดิน

ต้นกล้วยหอมเขียวด้านการตลาด

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกล้วยหอมทองปทุมรัตน์ จำหน่ายผลผลิตให้คู่ค้าสำคัญคือ บริษัทส่งออกของญี่ปุ่น ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง โดยมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก เฉลี่ย 1,000 กิโลกรัม ต่อสัปดาห์ ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน โดยจำหน่ายผลกล้วยสดตามคุณภาพผลผลิต ในราคาเครือละ 120-150 บาท ทั้งนี้ กล้วยหอมจะขายได้ราคาดี 250 บาท ต่อเครือ ในช่วงเทศกาลสำคัญ เช่น ตรุษจีน สารทจีน เป็นต้น

โดยทั่วไป กล้วยหอมทอง 1 เครือ จะมีน้ำหนักประมาณ 15 กิโลกรัม มี 6-7 หวี กล้วยหอมทองมีผลยาว สวย กล้วย 1 หวี มีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 1.8 กิโลกรัม ซึ่งเป็นขนาดพอเหมาะที่ตลาดต้องการ ทำให้ขายได้ราคาดี นอกจากขายผลสดแล้ว เกษตรกรยังมีรายได้จากการขุดหน่อพันธุ์ขายได้อีกด้วย

สวนกล้วยหอมทอง เนื้อที่ 200 ไร่ ของคุณนุกูล ใช้คนงานเพียง 8 คน ดูแลสวนทั้งหมด เนื่องจากวางแผนการจัดสวนอย่างเป็นระบบ ทำให้ดูแลจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้นกล้วยหอมทอง 1 ต้น ใช้เงินลงทุน 70 บาท ขายกล้วยได้เครือละ 160-170 บาท หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ถือว่ามีผลกำไรเท่าตัว

ปัจจุบัน สวนแห่งนี้ปลูกกล้วยหอมทอง 300 ต้น ต่อไร่ มีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียน้อยมาก ไม่เกิน 15 เปอร์เซ็นต์ ของการลงทุน เพราะทำสวนกล้วยหอมทองแบบประณีต มีคุณภาพมาตรฐาน GAP และมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นเครื่องการันตีคุณภาพ ในอนาคตคุณนุกูลวางแผนพัฒนาต่อยอด โดยมุ่งแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยเพื่อส่งออก และเตรียมลงทุนสร้างร้านกาแฟในสวนกล้วย เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ของอำเภอหนองเสือ

หากใครสนใจ อยากเรียนรู้การทำสวนกล้วยหอมเพื่อการส่งออก สามารถแวะเข้าเยี่ยมชมกิจการได้ตลอด โดยติดต่อประสานงานล่วงหน้าได้ทางเบอร์ โทร. 084-673-0665

ที่ศาลาประชาคม หมู่ที่ 3 บ้านด่านโลด ตำบลแม่ขรี อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง มีการเปิดอบรมโครงการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน ภายใต้โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนของรัฐบาล ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของเกษตรกรผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน จำนวน 60 คน จากจังหวัดพัทลุง ภูเก็ต ระนอง และจังหวัดตรัง

คุณปารีณา ภคุโล เกษตรอำเภอตะโหมด กล่าวว่า โครงการ 9101 ของรัฐบาล ทางกลุ่มผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน เป็นโครงการของรัฐบาลที่มีค่าแรงตอบแทน และมีค่าวัตถุดิบ ทั้งนี้ รัฐบาลดำเนินการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และหากโครงการดำเนินไปได้ดีมีความเข้มแข็ง เมื่อมีผลตอบรับที่ดีก็จะมีการลงทุนต่อยอดต่อไปได้ แล้วจะเป็นโครงการ 9102 ต่อไป

ด้าน คุณสุชาติ สาเหล็ม กำนันตำบลแม่ขรี กล่าวว่า โครงการ 9101 ทางกลุ่มได้จัดตั้งจดทะเบียน เป็นกลุ่มปุ๋ยมูลไส้เดือน มีสมาชิก จำนวน 60 คน ด้วยงบประมาณ 60,000 บาท ซึ่งผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน สามารถต่อยอดในการทำเกษตรต่างๆ ได้ โดยสอดรับเหมาะสมกับพื้นที่ โดยนำมาใช้เองและจำหน่าย ทั้งนี้จะดำเนินการให้เป็นศูนย์เรียนรู้อีกต่อไปด้วย

“ปุ๋ยมูลไส้เดือน เป็นที่ต้องการของตลาดมาก โดยเฉพาะจากจังหวัดภูเก็ต ระนอง และจังหวัดตรัง เป็นต้น นอกจากนี้กลุ่มทำนากุ้ง ยังมีความต้องการเป็นจำนวนมาก จึงไม่ต้องวิตกเรื่องการตลาด”

ทางด้าน คุณภูเบศ ก่งซุย เจ้าของปุ๋ยมูลไส้เดือน ขนาด 6 บ่อใหญ่ จังหวัดพัทลุง ในฐานะวิทยากรอบรมปุ๋ยมูลไส้เดือน บอกว่า การผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือน ใช้ไส้เดือนเป็นสายพันธุ์แอฟริกา เลี้ยงด้วยมูลวัวนมแห้ง เลี้ยงแม่พันธุ์ ขนาด 5 กิโลกรัม ต่อบ่อ จะขยายพันธุ์มากกว่า 30 กิโลกรัม ต่อบ่อ ในระยะเวลา 5 เดือน

การเก็บปุ๋ยมูลไส้เดือน เดือนละ 1 ครั้ง เป็นปุ๋ยอินทรีย์สูตรเย็น พืชผักผลไม้งอกงามมาก และสำหรับใส่ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีได้เป็นจำนวนมากเช่นกัน ประการสำคัญจะทำให้มีปริมาณน้ำยางมาก และเปอร์เซ็นต์น้ำยางสูงขึ้นอีกด้วย จาก 28 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นเป็น 33 เปอร์เซ็นต์ ตลอดจนเกษตรกรที่ทำนากุ้ง ปุ๋ยมูลไส้เดือนจะช่วยรักษาระบบนิเวศ รักษาระบบน้ำใสสะอาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้เกิดปุ๋ยชีวภาพด้วย

“ปุ๋ยมูลไส้เดือน ราคา 20-25 บาท ต่อกิโลกรัม ตามตลาดปัจจุบันในบางพื้นที่ ได้ราคาดีกว่าปุ๋ยอื่นๆ ตลาดต้องการมาก มีเท่าไรไม่เพียงพอ” คุณภูเบศ ยังเล่าอีกว่า มูลไส้เดือน จะให้ผลผลิตปุ๋ยอินทรีย์แต่ละเดือน ประมาณ 10 กิโลกรัม ต่อปล้องซีเมนต์ที่ใช้เลี้ยง วิธีใช้ นำไปรดพืชผักผลไม้ ปุ๋ยมูลไส้เดือน 1 กิโลกรัม เอาน้ำผสม 10 ลิตร ส่วนถ้าเป็นปุ๋ยหมัก น้ำหมักปุ๋ยมูลไส้เดือน 1 ลิตร ผสมกับน้ำ 3 ลิตร แล้วตั้งไว้ 7 วัน โดยใช้ออกซิเจน

“นำไปใส่พืชผักผลไม้ และฉีดใบพืชผักจะงอกงามสมบูรณ์ ปัจจุบัน ปุ๋ยมูลไส้เดือน แม้ใช้ในชุมชน ก็ยังไม่พอใช้ ส่วนตลาดมีความต้องการมาก และยังเป็นของใหม่สำหรับบ้านเราด้วย ที่ภูมิภาคอื่นๆ ได้ดำเนินการกันแล้ว” คุณภูเบศ ก่งซุย กล่าว

คุณสมัย คูณสุข อายุ 55 ปี บ้านเลขที่ 34 หมู่ที่ 6 บ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี เกษตรกรผู้ปลูกสมุนไพรในแปลงอินทรีย์ เพื่ออบแห้งส่งขายให้กับโรงพยาบาลอภัยภูเบศร

ก่อนหน้านี้ ชาวบ้านบ้านดงบัง ทำอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวนเป็นหลัก ประมาณปี 2537 เริ่มปรับเปลี่ยนมาทำไม้ดอกไม้ประดับ เริ่มต้นไปได้สวย รายได้มีขึ้นลงบ้างตามธรรมชาติของตลาด ต่อมาปี 2540 ไม้ดอกไม้ประดับราคาตกต่ำอย่างมาก ชาวบ้านจึงมองหาทางเลือกใหม่ ด้วยการปลูกพืชสมุนไพร เริ่มจากปลูกเพื่อเป็นรายได้เสริมส่งให้กับโรงพยาบาลอภัยภูเบศร

คุณสมัย เริ่มมีความสนใจที่จะปลูกสมุนไพรจึงได้ไปสอบถามทางโรงพยาบาลอภัยภูเบศรซึ่งเป็นสถานที่ที่ผลิตยาสมุนไพรควบคู่กับการรักษาแผนปัจจุบันอยู่แล้ว มีการตกลงระหว่างกันว่าบ้านดงบังจะเป็นแหล่งผลิตสมุนไพรเพื่อป้อนให้กับโรงพยาบาลอภัยภูเบศร มีการคุยกันและตกลงว่าจะซื้อจึงจะเริ่มปลูก

วัตถุดิบที่โรงพยาบาลต้องการในช่วงนั้นคือ หญ้าปักกิ่ง เพราะฉะนั้น สมุนไพรตัวแรกที่ปลูกคือหญ้าปักกิ่ง โดยโรงพยาบาลอภัยภูเบศรได้นำพันธุ์มาให้ทดลองปลูก เมื่อปลูกสำเร็จมีความเจริญงอกงาม นำมาสู่การขยาย มีการปลูกสมุนไพรชนิดอื่นเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันปลูกสมุนไพรหลักที่ส่งให้กับทางโรงพยาบาลอภัยภูเบศร ทั้งสิ้น 15 ชนิด อาทิ หญ้าปักกิ่ง หญ้าหนวดแมว เพชรสังฆาต เสลดพังพอน ชุมเห็ดเทศ ขมิ้นชัน ใบชะพลู ทองพันชั่ง อัคคีทวาร เป็นต้น พื้นที่ปลูกกว่า 70 ไร่

คุณสมัย เล่าว่า ก่อนหน้านี้ชาวบ้านที่สนใจปลูกมีมากถึง 300 ราย แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 12 รายเท่านั้น เนื่องด้วยความซับซ้อนในการดูแลให้ถูกต้อง ซึ่งที่นี่เป็นแปลงเกษตรอินทรีย์ ซึ่งมีหลักเกณฑ์มากมาย ชาวบ้านบางรายยังคงคุ้นชินกับการใช้สารเคมี ทำให้ไม่สามารถเป็นแปลงปลูกอินทรีย์ ทำต่อไม่ไหว ซึ่งผู้ปลูก 12 รายที่เหลือในปัจจุบัน ได้รับรองมาตรฐานเป็นแปลงเกษตรอินทรีย์แล้ว

บ้านดงบังได้รับมาตรฐานรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์ จากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ หรือ มกท. ซึ่งเน้นในเรื่องของความหลากหลายทางระบบนิเวศ ไม่ทำเกษตรเชิงเดี่ยว ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ใช้สารเคมี และทำตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลักษณะแปลงปลูกเป็นการปลูกป่า 3 ระดับ ประกอบด้วยไม้สูง ไม้กลาง และไม้ล่าง เป็นการจัดการแปลงปลูกแบบองค์รวม เลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งบ้านดงบังแห่งนี้เป็นพื้นที่ปลูกสมุนไพรพื้นที่แรกของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองเป็นเกษตรอินทรีย์ ซึ่งหลังจากได้รับรองมาตรฐานแล้ว เพื่อให้มั่นใจในความสะอาดปลอดภัย จะมีการตรวจแปลงปลูกถึงปีละ 3 ครั้ง โดยมีเจ้าหน้าที่ตรวจรับของมูลนิธิตรวจปีละ 2 ครั้ง และ มกท. ตรวจอีกปีละครั้ง ทุกๆ ปี

สมุนไพรเด่นที่บ้านดงบังปลูกเป็นหลัก มีจำนวนการสั่งซื้อสูง และมีการผลิตอย่างต่อเนื่องทุกรอบการสั่งซื้อคือ ฟ้าทลายโจร หญ้าปักกิ่ง และเพชรสังฆาต ซึ่งในการผลิตแต่ละครั้งจำนวนจะขึ้นอยู่กับออเดอร์ของโรงพยาบาลอภัยภูเบศร มีการวางแผนส่งขายสมุนไพรแต่ละชนิดภายในสมาชิกด้วยกัน โดยการแบ่งกันปลูกและส่งขายตามจำนวนสมาชิก เช่น เมื่อมีการส่งฟ้าทลายโจร 1,200 กิโลกรัม สมาชิกทั้ง 12 ราย ต้องรับผิดชอบผลิตด้วยกัน คือมีการผลิตเฉลี่ยรายละ 100 กิโลกรัม เพื่อส่งให้กับโรงพยาบาล เป็นวิธีการช่วยเหลือและแบ่งปันรายได้กันอย่างทั่วถึง

ส่วนวิธีการขยายพันธุ์ส่วนใหญ่ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ เช่น ฟ้าทลายโจร จะใช้การเพาะเมล็ด แต่ส่วนมากแล้วเป็นการขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ มีข้อดีคือเติบโตเร็ว

ก่อนที่จะมีการปลูก ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนของทุกปี ฝ่ายการตลาดของโรงพยาบาลจะประชุมวางแผนว่า ในปีต่อไปโรงพยาบาลจะใช้สมุนไพรอะไรบ้าง จำนวนเท่าไร แล้วผู้ปลูกจะเริ่มการปลูกในช่วงปลายฝนต้นหนาวกระทั่งถึงเดือนธันวาคม ซึ่งจะเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ทั้งนี้ การเก็บเกี่ยวก็จะขึ้นอยู่กับอายุของสมุนไพรแต่ละชนิดด้วย เพื่อให้ได้คุณภาพและสารออกฤทธิ์ทางยาที่เป็นมาตรฐาน

วิธีการดูแล ให้ปุ๋ย
การทำเกษตรอินทรีย์ ปัจจัยที่ใช้ต้องปลอดสารเคมี ที่นี่ใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพแทน ซึ่งปุ๋ยคอกก็ต้องมีที่มาที่ไป หากจะใช้ขี้ไก่ ห้ามใช้ขี้ไก่กรงตับ เนื่องจากไก่ที่ถูกเลี้ยงลักษณะนี้จะมีความเครียด เมื่อถ่ายออกมาแล้วจะมีสารเคมีหลั่งออกมาด้วย

ศัตรูพืชของสมุนไพรไม่น่าเป็นห่วง เนื่องจากสมุนไพรที่ปลูกส่วนมากมีรสขม ซึ่งศัตรูพืชไม่ชอบอยู่แล้ว อีกทั้งการปลูกแบบหลากหลายทางระบบนิเวศ ธรรมชาติจะจัดการตัวเองอย่างเป็นระบบ มีนก มีตั๊กแตน มีกิ้งก่า มีหนู เป็นห่วงโซ่อาหารตามธรรมชาติ การจัดการแปลงปลูกส่วนมากเป็นเรื่องของการกำจัดวัชพืช

ให้น้ำบ่อย
เนื่องจากเป็นแปลงปลูกที่เลียนแบบธรรมชาติ จึงให้น้ำไม่บ่อยนัก คือให้ทุกเช้า วันเว้นวัน ช่วงฤดูฝนไม่ต้องรดน้ำ ให้ธรรมชาติจัดการด้วยตัวเอง โดยรวมแล้วการปลูกสมุนไพรปัญหาในเรื่องของความแคระแกร็นต่างๆ จะน้อยหรือแทบไม่มีเลย มีก็ต่อเมื่อพืชบางชนิดไม่เหมาะกับบางฤดูกาล ทำให้การเติบโตมีปัญหาบ้าง

วิธีเก็บเกี่ยวผลผลิต
การเก็บผลผลิตจะเก็บตามอายุของสมุนไพรแต่ละชนิด เช่น ฟ้าทลายโจร จะมีอายุการเก็บเกี่ยวอยู่ที่ 2-3 เดือน ในแต่ละรอบการผลิตจะปลูกสมุนไพรแต่ละชนิดไม่เท่ากัน เนื่องจากจะขึ้นอยู่กับออเดอร์ของโรงพยาบาล

บ้านดงบังแห่งนี้ถือเป็นส่วนผลิตวัตถุดิบให้กับโรงพยาบาล คือมีพื้นที่ปลูก มีโรงล้าง และโรงหั่น ซึ่งแปรรูปออกมาเป็นวัตถุดิบชิ้นแห้ง ส่งให้กับโรงพยาบาล

ขั้นตอนคือ เมื่อเก็บสมุนไพรจากแปลงแล้ว จะมาคัดสิ่งปนเปื้อน ส่วนที่ไม่ต้องการทิ้ง จากนั้นนำไปล้างน้ำสะอาด 3 ครั้ง ผึ่งให้สะเด็ดน้ำ นำมาหั่น เข้าโรงตาก ตากให้แห้ง 80% แล้วนำเข้าเตาอบด้วยอุณหภูมิ 60 องศา นาน 2 ชั่วโมง ก่อนจะบรรจุถุงเตรียมส่งขาย

สมุนไพรชิ้นแห้งที่ส่งขายราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 150,000 บาท เป็นราคาสมุนไพรออร์แกนิก ซึ่งราคาสมุนไพรจะมีอยู่ 3 ระดับ คือ ราคาทั่วไป ราคาปรับเปลี่ยน และราคาออร์แกนิก เปรียบเทียบราคาคือ เมื่อส่งขายฟ้าทลายโจรทั่วไป ราคาจะอยู่ที่ 50 บาท ต่อกิโลกรัม หากอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนเป็นแปลงเกษตรอินทรีย์ราคาจะอยู่ที่ 100 บาท ต่อกิโลกรัม และเมื่อได้รับการรับรองเป็นเกษตรอินทรีย์แล้วราคาจะสูงถึง 150 บาท ต่อกิโลกรัม เลยทีเดียว

สำหรับสมุนไพรที่แพงที่สุดของสวนบ้านดงบังคือ หญ้าปักกิ่ง ราคาตันละ 850,000 บาท ในเวลา 1 ปี เกษตรกรจะส่งสมุนไพรขายให้โรงพยาบาล รายได้ 30,000-40,000 บาท ต่อครอบครัว ก่อนหน้านี้ชาวบ้านปลูกสมุนไพรเป็นรายได้เสริม แต่ปัจจุบันได้กลายมาเป็นรายได้หลักของแต่ละครอบครัวไปแล้ว

“สำหรับผู้ที่มีความสนใจอยากปลูกสมุนไพรขาย สมัคร SBOBET สิ่งสำคัญอยู่ที่การตลาด เกษตรกรปัจจุบันทำการตลาดไม่เป็น ควรมีการพูดคุยกัน ตกลงกันกับผู้ซื้อ วางระบบให้เห็นเป็นรูปธรรม ผู้ปลูกต้องมีใจด้วย เพราะการปลูกสมุนไพรมีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวที่ต่างกันแต่ละชนิด มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ” บ้านดงบังนอกจากจะเป็นพื้นที่ปลูกสมุนไพรส่งขายให้กับโรงพยาบาลอภัยภูเบศรแล้ว ปัจจุบันที่นี่ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่มีเกษตรกรเข้ามาดูงาน ทั้งในพื้นที่ นอกพื้นที่หรือกลุ่มเกษตรกรในอาเซียนด้วย และมีกล้าพันธุ์สมุนไพรจำหน่าย

เฟซบุ๊กเป็นช่องทางการสื่อสารที่ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน ใครไม่ได้ใช้อาจถือว่าเชย แต่เฟซบุ๊กมีทั้งประโยชน์และโทษ…การหมกหมุ่นอยู่กับสื่อเหล่านี้ตามแบบของสังคมก้มหน้าเสียเวลามาก แต่ประโยชน์ก็มีมาก ผู้เขียนมักเข้าไปอยู่ในกลุ่มที่ทำการเกษตรกัน หรือกลุ่มที่ต้องการทำการเกษตร การมีชีวิตอยู่ในสังคมเกษตรเป็นที่โหยหาของคนทำงานกินเงินเดือนที่อยู่ในเมือง

หลายคนรำพึงรำพันกับความยากลำบากกับงานที่ทำและโดนเจ้านายบ่นว่า ต้องการทำอาชีพเกษตรกรรมที่อิสระ ไม่อยู่ใต้บังคับใคร เขาเหล่านั้นลืมไปว่าอาชีพเกษตรกรรมไม่มีนายจ้างคอยบังคับก็จริง แต่อาชีพเกษตรกรรมมีพ่อค้าคนกลางทำหน้าที่แทนนายจ้าง ซึ่งต้องบอกว่าโหดร้ายกว่าหลายเท่า ผมมักพูดเสมอว่าคนไม่พร้อมไม่ควรมาทำอาชีพเกษตรกรรม สกู๊ปที่เขียนในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน นอกจากแนะนำด้านการผลิตและการตลาดเป็นสิ่งสำคัญแล้ว วิธีคิดและประสบการณ์ของเกษตรกรแต่ละรายเป็นสิ่งที่สำคัญกว่า ซึ่งความจริงนี้ได้ถูกนำเสนอในนิตยสารฯ อย่างต่อเนื่อง เรื่องราวต่อไปนี้ก็เช่นกัน

คุณจันทร์เพ็ญ เพียรภักดี หรือ เจ้ก้อย แห่งบ้านสวนเกษตรอินดี้ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เล่าให้เราฟังอย่างมุ่งมั่น “ก่อนที่จะเป็นเกษตรอินดี้ในปัจจุบัน อดีตเป็นเกษตรกรมีหนี้มาก่อน หนี้ที่ว่าคือหนี้จากการทำบ่อกุ้งกุลาดำในสมัยก่อนที่ฮิตกันมาก บ่อที่เลี้ยงก็ขุดจากพื้นที่นานี่แหละ ซื้อน้ำทะเลมาใส่เป็นคันรถ แค่นี้ก็ต้นทุนบานแล้ว เลยเปลี่ยนจากอาชีพประมงน้ำกร่อยมาเป็นขายกับข้าวโดยใช้รถพุ่มพวง แต่เป็นรถกระบะไม่ใช่รถมอเตอร์ไซค์ อาชีพนี้ต้องตื่นตอนเที่ยงคืนไปซื้อผักที่ตลาดสี่มุมเมือง ซื้อแล้วก็นั่งแยกใส่ถุงที่นั่นเลย จนกระทั่งตี 3 จึงกลับมาถึงบ้าน ได้นอน 2 ชั่วโมง ตี 5 ลุกขึ้นมาขับรถไปขายแถบคลองพระยาบันลือ ขายเสร็จประมาณบ่าย 2 กลับมาถึงบ้านบ่าย 3 ได้พักนิดหน่อยก็ต้องมาเข้าไร่อ้อยคั้นน้ำ ทำอยู่ได้ 3 ปี บอกตรงๆ ว่าเหนื่อยแทบขาดใจ ลูกก็ฝากแม่เลี้ยง พอเด็กเริ่มจะเข้าโรงเรียนก็ลำบาก”