สร้าง value มากกว่า volume กรรมการผู้จัดการ บริษัท รามิโน่

(ไทยแลนด์) จำกัด ผู้ผลิตกาแฟอราบิก้า กล่าวว่า การผลิตกาแฟอราบิก้าของจังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยความต้องการใช้กาแฟอราบิก้าของจังหวัดเชียงใหม่อยู่ที่ราว 9,000 ตัน ต่อปี แต่ผลิตได้เพียง 3,800 ตัน เท่านั้น จึงต้องมีการนำเข้าผลผลิตจากประเทศลาว เวียดนาม และเมียนมา โดยเฉพาะในพื้นที่เขตตัวเมืองเชียงใหม่ คาดว่ามีร้านกาแฟ 400-500 แห่ง ไม่นับรวมร้านกาแฟริมถนน และถือว่าปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่มีบาริสต้าระดับโลกมากที่สุด

สำหรับการยกระดับเชียงใหม่เป็นเมืองแห่งกาแฟ จำเป็นต้องยกระดับคุณภาพทั้งห่วงโซ่การผลิต ที่มุ่งสร้างมูลค่าสินค้าในระดับพรีเมี่ยม ตั้งแต่ต้นน้ำ (การปลูก) กลางน้ำ (การแปรรูป-การคั่ว) และปลายน้ำ (การตลาด) โดยแหล่งปลูกแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะพิเศษเฉพาะของกาแฟที่แตกต่างกัน บ่งบอกถึงความพิเศษของพื้นที่นั้นที่เป็นแหล่งปลูกเดียว (single origin) กลิ่นกาแฟต้องเป็นชนิดที่มีความพิเศษ ดังนั้นภายใน 5 ปี การพัฒนาให้เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งกาแฟจึงมีโอกาสและความเป็นไปได้สูง โดยต้องมุ่งสร้างคุณค่า (value) ของกาแฟ มากกว่าการสร้างปริมาณ (volume)

ธุรกิจกล้วยไม้ไทยยังทรงตัว คาดรายได้รวมอยู่ที่ 6-7 พันล้าน ภาวะเศรษฐกิจโลกกระทบหนัก ตลาดยุโรป-อเมริกาออเดอร์ลด ผู้ประกอบการหันซบตลาดจีน ซ้ำร้ายประสบปัญหาโรคแมลง-ขาดแคลนแรงงาน วอนรัฐหนุนเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำ ช่วยเจาะตลาดใหม่
นายสมเกียรติ ดุสฎีกาญจน นายกสมาคมผู้ประกอบการสวนกล้วยไม้ไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันแหล่งปลูกกล้วยไม้ของไทยอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรสาคร นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี และนนทบุรี มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด (กล้วยไม้หวายตัดดอก) ประมาณ 10,000 ไร่ ซึ่งปี 2560 พื้นที่ปลูกลดลงเล็กน้อย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ ขณะนี้มีผู้ประกอบการและเกษตรกรที่จดทะเบียนเป็นสมาชิกสมาคม 500-600 ราย
สำหรับอุตสาหกรรมกล้วยไม้ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างรายได้ประมาณ 6,000-7,000 ล้านบาท ในปี 2559 ซึ่งยังไม่นับรวมการซื้อขายที่โอนเงินโดยไม่ได้ผ่านระบบธนาคาร โดยกล้วยไม้จะออกมากช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคมของทุกปี

ปัจจุบัน ตลาดในประเทศมีสัดส่วนประมาณ 30% ส่วนใหญ่ส่งจำหน่ายตามตลาดค้าส่ง เช่น ปากคลองตลาด ตลาดไท ตลาดสี่มุมเมือง และตลาดนัดที่มีผู้ค้ารายย่อยมารับซื้อไปจำหน่ายเป็นกำเตย (ดอกไม้สำหรับไหว้พระ) ขณะที่อีก 70% ส่งออกต่างประเทศ ตลาดหลัก คือ ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา แต่ในช่วง 10 ปีหลังนี้ การส่งออกไปยุโรป อเมริกาลดน้อยลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ และมาตรการกีดกันในเรื่องของโรคแมลง โดยเฉพาะแมลงบั่วและเพลี้ยไฟ จึงต้องหันมาเจาะตลาดเอเชียเพิ่มมากขึ้น ได้แก่ จีน อินเดีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ เป็นต้น

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็ประสบปัญหาด้านแรงงาน เนื่องจากแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาไม่มีทักษะ จึงเริ่มทำงานในภาคเกษตรก่อน หลังจากนั้นเมื่อมีความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งภาษา ทักษะการทำงาน และได้ขึ้นทะเบียนแล้ว ก็จะย้ายไปภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น โรงงาน รวมถึงปัญหาปัจจัยการผลิต ทั้งสารเคมี ปุ๋ย ที่มีราคาค่อนข้างสูง หรือบางชนิดไม่ได้คุณภาพตามฉลาก
“ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ ทำกำไรได้ค่อนข้างยาก ใครที่สายป่านไม่ยาวก็จะลำบาก อีกทั้งเมื่อความเจริญขยายตัวเข้ามาเรื่อยๆ ส่งผลให้มีมลพิษเพิ่มขึ้น น้ำเสีย อากาศไม่ดี ก็ส่งผลต่อกล้วยไม้เช่นกัน และเมื่อราคาที่ดินสูงขึ้น ผู้ประกอบการอาจจะขายที่ดิน แล้วไปซื้อที่ในชุมชนที่เป็นชนบทเพิ่มขึ้นได้ เช่น ในโซนอำเภอบางเลน กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม”

นายสมเกียรติ กล่าวอีกว่า ในอนาคตผู้ประกอบการต้องมารวมตัวกันทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะ และแก้ปัญหาร่วมกัน และอยากให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนในการหาตลาดใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นรัฐต่อรัฐ และมีโครงการเงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำ
ด้าน นายวิทยา ยุกแผน อุปนายกสมาคมผู้ส่งออกกล้วยไม้ไทย กล่าวว่า มูลค่าการส่งออกปี 2558 อยู่ที่เกือบ 2,800 ล้านบาท ส่วนปี 2559 อยู่ระดับใกล้เคียงกัน ขณะที่ปี 2560 คาดการณ์ว่าเพิ่มขึ้นไม่เกิน 5% ปัจจุบันมีผู้ส่งออกที่เป็นสมาชิกของสมาคมประมาณ 30 ราย ขณะเดียวกันก็มีผู้ส่งออกหน้าใหม่ๆ เกิดขึ้นอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้เข้าร่วมกับสมาคม รวมทั้งหมดประมาณ 100 ราย ส่วนใหญ่กลุ่มนี้จะส่งออกไปตลาดจีน ตะวันออกกลาง และอินเดีย ซึ่งจะไม่เน้นคุณภาพมากนัก

ทั้งนี้ ไทยยังเป็นเจ้าตลาดกล้วยไม้เมืองร้อนและเป็นเบอร์ 1 ของโลก กล้วยไม้ที่ส่งออกมากที่สุด คือ กล้วยไม้เดนโดรเบียม มอกคารา และแวนด้า โดยจะส่งออกทางเครื่องบินเกือบ 100% ซึ่งจะออร์เดอร์ล่วงหน้ากันเพียง 1 สัปดาห์ หรือมากที่สุด 2-3 สัปดาห์เท่านั้น ทำให้ผู้ประกอบการจะต้องคาดการณ์ตลาดเอง ซึ่งตลาดส่งออกหลักยังคงเป็นญี่ปุ่น 30% อิตาลี 10% และตลาดอื่นๆ อีก 60% โดยที่ผ่านมาอันดับ 3 เป็นอเมริกา แต่ในช่วง 4-5 ปีนี้ตลาดจีนแซงขึ้นมา ซึ่งมีราคาเป็น 1 ใน 3 ของตลาดยุโรปเท่านั้น

ขณะที่ผู้ประกอบการประสบปัญหาเรื่องโรคแมลงรุนแรงมากขึ้น อีกทั้งดีมานด์และซัพพลายไม่ตรงกัน โดยช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน สามารถผลิตได้มาก แต่เป็นช่วงที่ตลาดต้องการน้อย

ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา รัฐบาลกี่ยุคกี่สมัยมักจัดการแก้ไขปัญหาเรื่องผลผลิตทางการเกษตรล้นตลาดแบบระยะสั้น โดยไม่มีการวางยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการระยะยาว ส่งผลให้เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวพร้อมกัน ราคาผลผลิตก็ตกต่ำ และต้องใช้งบประมาณออกมาอุ้มอย่างมหาศาล จนท้ายที่สุดกลายเป็นช่องทางให้เกิดวงจรทุจริต

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า สนค.จัดทำโครงการศึกษาระบบข้อมูลความต้องการของตลาด (demand driven) เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านตลาดสินค้าเกษตรสำคัญ 4 ชนิด คือ ข้าว มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และผลไม้ เพื่อใช้จัดทำฐานข้อมูลสำหรับวางแผนการผลิต

โดยปีนี้เริ่มนำร่องจัดทำร่างยุทธศาสตร์มันสำปะหลังและข้าวก่อน โดยให้คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษา คาดว่าจะสรุปได้ในเดือนกันยายนนี้ ก่อนจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อผลักดันไปสู่การวางแผนเพาะปลูก ปริมาณผลผลิต และมาตรการส่งเสริมร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต่อไป

“ที่ผ่านมาไทยส่งออกสินค้าเกษตรขั้นพื้นฐาน สินค้าโภคภัณฑ์เป็นหลัก แม้ว่าจะได้ปริมาณสูง แต่มีการแข่งขันรุนแรงจึงได้ราคาต่ำ หากไทยปรับเปลี่ยนมาผลิตสินค้าที่มีนวัตกรรม มีมูลค่าเพิ่ม เช่น ข้าวต่อยอดไปเป็นแป้ง เครื่องสำอาง หรือยา หรือเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้เข้ากับเทรนด์ผู้บริโภคยุคใหม่ที่รักสุขภาพ สร้างมาตรฐานให้สูงขึ้น อย่างน้อยปีละ 3 ล้านตัน จากยอดส่งออกข้าวปีละ 10 ล้านตัน จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น”
ชูแป้งข้าวคุณภาพสูง

ผศ.ดร. เกรียงไกร แก้วตระกูลพงษ์ หัวหน้าโครงการ และ ดร. ธีรารัตน์ วรพิเชษฐ์ ได้สรุปผลการศึกษาร่างยุทธศาสตร์ผลิตภัณฑ์ข้าว และมันสำปะหลัง โดยวิเคราะห์ข้อมูลในห่วงโซ่การผลิต ห่วงโซ่อุปทาน และห่วงโซ่มูลค่าผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากข้าว 3 ชนิด คือ ขนมขบเคี้ยว แป้งข้าว และน้ำมันรำข้าว และสินค้าผลิตภัณฑ์จากมันสำปะหลัง 3 ชนิด คือ ขนมขบเคี้ยวจากมันสำปะหลัง เอทานอล และอาหารสัตว์จากมันสำปะหลัง (ตาราง) พบว่า จุดอ่อนหลักของไทย คือ ต้นทุนการผลิตสูงกว่าคู่แข่ง แต่ยังมีโอกาสขยายตลาดได้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม “แป้งข้าว” มีตลาดใหญ่ที่สุด ดังนั้น ไทยควรทุ่มเทการพัฒนาแป้งข้าวคุณภาพสูงเพื่อชิงส่วนแบ่งตลาดจากแป้งข้าวสาลีให้ได้

รองลงมาคือ น้ำมันรำข้าว แม้ว่าคู่แข่งอย่างจีนและอินเดียมีต้นทุนการผลิตถูกกว่า แต่ยังมีโอกาสจะขยายตลาดได้อีก โดยการพัฒนาน้ำมันรำข้าวคุณภาพสูง ส่วนตลาดขนมขบเคี้ยวจากข้าว ซึ่งมีสัดส่วน 10% จากมูลค่าตลาดขนมขบเคี้ยวทั่วโลก 630 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีปัญหาการแข่งขันรุนแรง โดยเฉพาะขนมขบเคี้ยวที่ผลิตจากพืชชนิดอื่น เช่น มันฝรั่ง และมี
คู่แข่งสำคัญคือ มาเลเซีย และเวียดนาม หากไทยต้องการสู้ในสนามนี้ต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เข้ากับวัฒนธรรมและความต้องการของผู้บริโภค เช่น กรานูล่าพร้อมรับประทาน มีคุณค่าทางอาหารสูง และควรพัฒนาต่อยอดเป็นอาหารเสริม หรือยา เป็นต้น

เสริมเทคโนฯ ผลิตเอทานอล
ส่วนร่างยุทธศาสตร์มันสำปะหลัง พบว่า ตลาดเอทานอลจากมันสำปะหลังมีขนาดใหญ่ที่สุด สัดส่วน 1% จากมูลค่าตลาดโลกที่ 2,400 พันล้านเหรียญสหรัฐ หากไทยจะเสริมแกร่งผลิตภัณฑ์นี้ต้องส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิต ตลอดจนเพิ่มพื้นที่ปลูกอีก 10% เพื่อให้มีปริมาณวัตถุดิบเพียงพอที่จะใช้ในอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตาม รัฐ “ควรระมัดระวัง” ในการใช้ทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมขนมขบเคี้ยว เพราะแม้ว่าขนมจากมันสำปะหลังมีจุดเด่นที่ไม่มีสารอะคริลาไมด์เช่นเดียวกับในมันฝรั่งทอด แต่ตลาดขนมมันสำปะหลังยัง “จำกัด” มีความนิยมในบางประเทศ และไทยไม่มีประสบการณ์ในการผลิตมากนักเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่มีความแข็งแกร่งหลายราย

สุดท้าย “อาหารสัตว์จากใบมันสำปะหลัง” เพื่อเป็นสิ่งทดแทนโปรตีนและช่วยด้านสุขภาพสัตว์ แต่ยังไม่ค่อยนิยมแพร่หลาย ทำให้ขาดความสม่ำเสมอของวัตถุดิบใบ ส่งผลให้ราคามีความผันผวน และหากส่งเสริมต่อยอดอาหารสัตว์ออร์แกนิกจะช่วยให้เกษตรกรสร้างรายได้เพิ่มขึ้น 6 เท่า จากราคาปกติ
อุปสรรคพัฒนานวัตกรรม
ดร. เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติก กล่าวถึงโอกาสในการพัฒนาไบโอพลาสติกว่า สถาบันอยู่ระหว่างทดลองผลิตถุงพลาสติกจากมันสำปะหลังย่อยสลายง่าย และเส้นใยสำหรับใช้ในเครื่องพิมพ์ 3 มิติจากมันสำปะหลังใกล้สำเร็จแล้ว

“การส่งเสริมนวัตกรรมควรทำควบคู่กับการส่งเสริมด้านการตลาด เพราะจากการผลิตในห้องทดลองซึ่งมีปริมาณ (volume) ไม่มาก จะมีต้นทุนต่อหน่วยสูง แข่งขันไม่ได้ แต่หากส่งเสริมการตลาดควบคู่กันไปด้วยจะช่วยให้ผลิตได้มากขึ้น ลดต้นทุนให้ถูกลง แข่งขันได้”
นายปราโมทย์ วานิชานนท์ ที่ปรึกษา และอดีตนายกสมาคมโรงสีข้าวไทย เน้นย้ำว่า ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ทุกรัฐบาลใช้เม็ดเงินช่วยเหลือชาวนาไปกว่า 7.7 แสนล้านบาท แต่ชาวนามีรายได้เพียง 4,500 บาท ต่ำกว่าคนจนที่มาลงทะเบียนกับรัฐบาล ซึ่งมีรายได้เฉลี่ยคนละ 8,333 บาท ต่อเดือน วันนี้จึงถึงเวลาต้องตรวจสอบสุขภาพประเทศว่าต้องเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อย่างไร เพื่อช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว 3.7 ล้านครอบครัว อยู่รอดได้

“ตลาดกลางข้าวสาร” ส่อเค้าล่ม กรมการค้าภายในสั่งเบรกการเจรจารอบ 2 “บิ๊กตลาดต่อยอด” อ้างถูกตัดงบประมาณหลังต่อรอง “ตลาดไท” แล้ว เอกชนหวั่นสะเทือน ราคานาปีดิ่ง

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า จนถึงขณะนี้เป็นเวลาเกือบ 3 เดือนแล้ว ที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้ออกประกาศหลักเกณฑ์โครงการส่งเสริมการจัดตั้งตลาดกลางข้าวสารสู่มาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมสมัคร 3 ราย ได้แก่ 1. กลุ่มตลาดไท ของบริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด 2. กลุ่มทุนของ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และบริษัท บูรณากาญจน์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการท่าข้าวเขาใหญ่ จังหวัดสุพรรณบุรี และ 3. กลุ่มตลาดตะวันนา ของบริษัท ตะวันนา ไนท์บาซาร์ ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี และได้กำหนดให้ผู้ประกอบการแต่ละรายแสดงวิสัยทัศน์ต่อคณะทำงาน ซึ่งมี นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธาน รอบแรกเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2560 และแจ้งว่าจะประกาศผลการคัดเลือกบนเว็บไซต์ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2560

แต่หลังจากนั้น นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน แจ้งว่า มอบหมายให้คณะกรรมการคัดเลือก ซึ่งมีนางสาวสุทัศนีย์ ราชเรืองระบิน รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธาน นัดผู้ประกอบการที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก 2 ราย คือ ตลาดไท และตลาดตะวันนา ให้กลับมาเจรจาต่อรองในรอบ 2 แต่มีการเลื่อนนัดอีกหลายครั้ง

กระทั่งวันที่ 4 กันยายน 2560 ได้เชิญตัวแทนผู้ประกอบการ “ตลาดไท” ซึ่งมี นายโชคชัย คลศรีชัย ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ไทย แอ็กโกร เอ็กซเชนจ์ จำกัด เข้ามาแสดงข้อมูลเพิ่มเติ่ม จากนั้นมีนัดหมาย “ตลาดตะวันนา” เข้ามาแสดงวิสัยทัศน์รอบ 2 ในวันที่ 11 กันยายน 2560 แต่ก่อนถึงวันนัด กรมการค้าภายในได้แจ้งเลื่อนอีกเป็นวันที่ 14 กันยายน จากนั้นแจ้ง “ยกเลิก” การแสดงวิสัยทัศน์ของตลาดตะวันนารอบ 2 โดยมีการให้ข้อมูลว่า โครงการนี้ไม่มีงบประมาณในการดำเนินการแล้ว อาจจะต้อง “ยกเลิก” โครงการ

ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยังกรมการค้าภายในอีกครั้ง แต่ได้รับคำตอบเพียงว่า การเจรจารอบ 2 กับผู้ประกอบการเป็นกระบวนการปกติ ทางกรมการค้าภายในต้องการให้เอกชนนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมว่า จะสามารถพัฒนาโครงการอย่างไรให้ดีขึ้นจากรอบแรก ซึ่งขณะนี้อยู่ในกระบวนการพิจารณา ไม่ทราบแน่ชัดว่าจะได้ข้อสรุปเมื่อไร
แหล่งข่าววงการค้าข้าวโดยเฉพาะกลุ่มโรงสีซึ่งสนับสนุนการตั้งตลาดกลางข้าวสารมองว่า ตลาดไทมีความได้เปรียบในทุกด้าน เพราะมีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจตลาดสินค้าเกษตรมายาวนาน เป็นที่รู้จักในวงการเกษตร และมีเครือข่ายมากมายตรงกับหลักเกณฑ์ทุกอย่างตามทีโออาร์ แต่อาจไม่ถูกใจ “ผู้ใหญ่” เพราะมีแผนสนับสนุนอีกรายมากกว่าหรือไม่

อย่างไรก็ตาม หากมีการยกเลิกโครงการนี้อาจกระทบต่อภาพรวมตลาดข้าวในช่วงนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังจะเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวนาปี ปี 2560/2561 อาจจะปรับตัวลดลง เพราะกลไกที่ภาครัฐวางไว้ เพื่อเพิ่มช่องทางการทำตลาดข้าวสารไม่สามารถทำได้ เท่ากับต้องทำการค้าปกติ ซึ่งโรงสีที่มีจำนวนมากต้องไปแย่งขายให้กับผู้ส่งออกที่มีไม่กี่รายเหมือนเดิม

สำหรับที่มาของโครงการส่งเสริมการจัดตั้งตลาดกลางข้าวสารสู่มาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทย เกิดขึ้นหลังจาก นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ พร้อมด้วย นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมคณะ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนประเทศจีน เมื่อวันที่ 7-12 ธันวาคม 2559 และได้เดินทางเข้าเยี่ยมชมตลาดกลางข้าวสารในประเทศจีน จึงมีเป้าหมายจะจัดตั้งตลาดกลางข้าวสารในประเทศไทย เพราะมองว่าไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก มีการส่งออกปีละ 9-10 ล้านตัน ควรจะมีตลาดกลางข้าวสารเป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล และเป็นการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายข้าวสารจากระบบปกติ จึงได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในจัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้ประกอบการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560

หลักเกณฑ์กำหนดให้ทำทั้งในรูปแบบตลาดจริงและออนไลน์ พร้อมทั้งจัดพื้นที่ดำเนินการจำหน่ายสินค้าไม่น้อยกว่า 1,000 ตารางเมตร นอกจากนี้ ต้องจัดหาบริการและสิ่งอำนวยความสะดวก และบริหารจัดการตามมาตรฐานสากล เอกชนต้องมีประสบการณ์ไม่น้อยกว่า 10 ปี เป็นที่รู้จัก มีสถานที่ไม่น้อยกว่า 10 ไร่ ในกรุงเทพฯ หรือจังหวัดใกล้เคียง และต้อง “รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด” ส่วนภาครัฐจะสนับสนุนเรื่องครุภัณฑ์และอุปกรณ์ กิจกรรมประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการตลาดเท่านั้น

ประกาศผลแล้วสำหรับโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ จากทั้งหมด 14.1 ล้านคน มีผู้ผ่านด่านการตรวจสอบที่เข้มข้นจาก 26 หน่วยงาน จำนวน 11.4 ล้านคน ไม่ผ่านคุณสมบัติ 2.7 ล้านคน ซึ่งทั้ง 11.4 ล้านคนนี้ กำลังทยอยไปรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐกันแล้ว และบัตรนี้จะเริ่มใช้ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 ไปจนครบ 1 ปี เพื่อใช้เป็นวงเงินในการซื้อสินค้าและบริการ เป็นการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายบางอย่างให้กับผู้มีรายได้น้อย เพื่อให้มีเงินเหลือในการดำรงชีวิตมากขึ้น และในระยะต่อไปหน่วยงานต่างๆ ต้องช่วยกันออกแบบมาตรการสวัสดิการสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่ถูกฝาถูกตัวมากขึ้น

ภาพนี้เป็นการจำลองแนวคิดในการช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยให้หลุดพ้นจากความยากจน โดยนำข้อมูลที่ได้จากโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐมาสร้างเป็นเส้นรายได้ต่อหัวต่อปี จาก 0 บาท ต่อปี (ไม่มีรายได้) ไปจนถึง 100,000 บาท ต่อปี (รายได้สูงสุดที่สามารถลงทะเบียนในโครงการนี้ได้) และมีเส้นรายได้ที่ 30,000 บาท ต่อหัว ต่อปี ที่เทียบเคียงได้กับเส้นความยากจนเป็นเส้นแบ่งจำนวนคน

ดังนั้น กลุ่มคนในฐานข้อมูลนี้จึงถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ freeshopmanual.com ตามระดับรายได้ ดังนี้ 1. กลุ่มคนที่ไม่มีรายได้ มีจำนวนประมาณ 2.4 ล้านคน (พื้นที่ A สีเหลือง) 2. กลุ่มคนที่มีรายได้ 1-30,000 บาท ต่อหัว ต่อปี หรือเทียบแล้วต่ำกว่าเส้นความยากจน มีจำนวนประมาณ 6.0 ล้านคน (พื้นที่ B สีฟ้า) และ 3. กลุ่มคนที่มีรายได้ 30,001-100,000 บาท ต่อหัว ต่อปี หรือเทียบแล้วสูงกว่าเส้นความยากจน มีจำนวนประมาณ 3.2 ล้านคน (พื้นที่ C สีเขียว)

โจทย์ของประเทศคือ จะทำอย่างไรให้คนที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนมีรายได้มากขึ้นจนหลุดพ้นเส้นความยากจน มี 2 แนวทางที่รัฐบาลสามารถทำได้ แนวทางที่ 1 คือ เติมเงินให้ทุกคนที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนให้ถึง 30,000 บาท เช่น นาย ก.มีรายได้ 10,000 บาท รัฐต้องเติมให้ 20,000 บาท นาย ข.มีรายได้ 20,000 บาท รัฐต้องเติมให้ 10,000 บาท เป็นต้น ซึ่งแนวทางนี้ใช้เม็ดเงินกว่า 1.7 แสนล้านบาท แนวทางนี้แม้จะเห็นผลเร็ว แต่ต้องใช้งบประมาณรายจ่ายมหาศาล และรายได้ที่เพิ่มขึ้นไม่มีความยั่งยืนเพราะไม่ได้ช่วยให้เขามีงานทำ และไม่ได้เป็นการเพิ่มศักยภาพในการหารายได้

แนวทางที่ 2 คือ ต้องทำงานแลกเงิน และรัฐจะช่วยเติมเต็มสวัสดิการให้ ซึ่งแนวทางนี้อาจเรียกว่า เงินเติมให้คนทำงาน หรือ Negative Income Tax (NIT) ซึ่งจะเน้นกลุ่มคนที่มีรายได้เทียบแล้วต่ำกว่าเส้นความยากจน (30,000 บาท ต่อปี) และยังอยู่ในวัยแรงงาน (ไม่เกิน 60 ปี) ที่มีอยู่ประมาณ 5.3 ล้านคน โดยร่วมมือกับกระทรวงแรงงานในการจัดหลักสูตรฝึกอบรมพร้อมกันทุกจังหวัด หลังจากฝึกอบรมแล้วต้องเข้าทำงาน และเข้าสู่โปรแกรมการติดตามพัฒนาการของรายได้ผ่านการแสดงบัญชีส่วนตัวอย่างง่ายเป็นรายไตรมาส

เพื่อให้มั่นใจว่าเขามีรายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน โดยยึดหลักว่าหากมีรายได้น้อยกว่า รัฐจะเติมเงินให้มากกว่า เช่น นาย ก.ควรจะได้มากกว่า นาย ข. เป็นต้น เพื่อจูงใจให้ผู้มีรายได้น้อยทำงานมากขึ้นจนหลุดพ้นเส้นความยากจนในที่สุด
เมื่อถึงเวลานั้นประเทศไทยจะค่อยๆ มีคนจนลดลง ความเหลื่อมล้ำจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น เป็นความตั้งใจของภาครัฐในการยกระดับคนจนอย่างเป็นรูปธรรม

ประมงหนาวเจออีกเด้ง ไทยเตรียมเข้าร่วมอนุสัญญา C188 คุมเข้มสวัสดิภาพแรงงานประมงตามมาตรฐานสากล ซ้ำเติมอุตสาหกรรมประมงต่อจากการทำประมงผิดกฎหมาย IUU หากให้เรือที่มีอยู่ในปัจจุบันปรับปรุงเรือใหม่ เหตุขาดเงินทุน เลขาธิการ Seafdec ชี้ควรบังคับใช้กับ “เรือใหญ่ที่ต่อใหม่” ด้านกรมประมงออกแบบเรือ “ปลาลัง” นำร่องรับมือ

นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากการที่ไทยอยู่ระหว่างดำเนินการขอเข้าร่วมอนุสัญญาว่าด้วยแรงงานสากล (ILO) ตามแนวทางที่สอดคล้องกับมาตรฐานขององค์กรระหว่างประเทศ (International Labour Organization C188 – Working on fishing Convention) เพื่อสนับสนุนให้มีการปรับปรุงเรือประมงให้เป็นที่ยอมรับในระดับ