สวนทุเรียนอินทรีย์เขาคิชฌกูฎของคุณสุธี เป็นสวนผลไม้

ผักยืนต้นปลูกในระบบเกษตรอินทรีย์ เขาเริ่มสรุปสั้นๆ ในการคุยวันนั้นว่า “มันเริ่มตั้งแต่สมัยพ่อ จากทำนา บ้านเราก็มาทำสวน ต้องฉีดยาเคมี ตอนฉีด บ้านเราต้องปิดหน้าต่างเลยนะ ช่วงหนึ่งพ่อผมวูบ จนหมอต้องบอกให้ลดการใช้ยาในสวน เราก็พยายามลดลงมาเรื่อยๆ จนเหลือแค่ใช้ปุ๋ยเคมีกับคลอไพริฟอต แต่ก็ฉีดเฉพาะปีที่มีโรคแมลงเยอะ”

คำถามสำคัญที่คนมักถาม ก็คือเกษตรกรจะเลิกใช้สารเคมี หันมาทำเกษตรอินทรีย์เต็มรูปแบบเลยได้หรือไม่ ผมคิดว่าคุณสุธีตอบได้ชัดเจนดี คือ “หลายคนจะบอกว่า ได้ แต่ตัวเราเองเท่านั้นแหละจะรู้ว่าเราจะเลิกได้แค่ไหน เพราะเราต้องมาวิเคราะห์เงื่อนไขของพื้นที่เราก่อน ว่ามันมีสภาพยังไง มันสมบูรณ์แค่ไหน มีต้นไม้อะไรอยู่บ้าง ไหนจะความรู้ของเราอีกล่ะ ตัวอย่างสมัยพ่อผม อย่างที่บอกว่าเราหยุดใช้ยา หยุดใช้คลอไพริฟอต มันฟังดูเหมือนง่ายนะ แต่ก็ต้องใช้เวลาตั้งกว่า 2-3 ปี เราเริ่มจากความไม่รู้ ก็พยายามเรียนรู้จาก Google แต่ตอนนั้นเรายังไม่เคยประเมินตัวเอง ว่าพื้นที่ต่างกัน สถานการณ์ต่างกัน มันก็ไม่เหมือนกันแล้ว ผมถึงเสนอว่า ถ้าใครคิดจะทำนะ ให้ลองตัดพื้นที่สัก 20% เป็นแปลงทดลองก่อนเลย ดูว่าพื้นที่ของเราพอมีเงื่อนไขอะไรที่จะช่วยลดการใช้ยาเคมีลงได้บ้าง เราต้องให้เวลากับการทดลองความรู้ ให้เวลากับการปรับตัว จากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นระบบนิเวศแบบสมรม”

คุณสุธี ยกตัวอย่างสวนมังคุด พื้นที่ 18 ไร่ ที่เพิ่งได้มาเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเมื่อตกลงกันในครอบครัวได้แล้วว่าจะทำต่อในระบบอินทรีย์ ก็ต้องมาดูว่า จะสามารถทำด้วยเงื่อนไขอย่างไรที่จะให้สวนดำเนินต่อไปได้ และมีการรองรับผลผลิตอินทรีย์ที่ออกมา

“มังคุดสวนนี้ เดิมเป็นสวนที่ใช้ระบบคราดใบเผาทิ้ง ต้นหญ้าก็ไม่มี ดินแข็ง เป็นคราบขาวๆ คือไม่เคยมีอะไรคลุมหน้าดินเลย เราปรับอยู่ตั้ง 5 ปี กว่าจะใช้ได้” “คนมักถามว่าเราทำอะไรกับสวนบ้าง ผมบอกก็แค่ใส่ปุ๋ย รดน้ำ แต่งกิ่ง ทุกอย่างมันจะดีขึ้นเรื่อยๆ เอง” ในสวนปลูกพืชผสมกันเพื่อสร้างสมดุลหลายชนิด มีทั้งลองกอง เงาะ ทุเรียน กระวาน ผักเหลียง เจ้าของสวนบอกว่า หลังจากตัดแต่งกิ่งต้นไม้จนโปร่ง ตัดถนนเล็กๆ ให้เชื่อมต่อถึงกัน “ค้างคาวจะมา”

“ผมสังเกตว่าค้างคาวมันจะมามากขึ้นถ้าสวนเราโปร่ง โล่ง ทีนี้การผสมเกสรของทุเรียนก็จะดีขึ้น นอกจากนี้ การใช้ยาฆ่าแมลงบางทีมันมีผลกระทบต่อพวกผึ้ง ที่เป็นตัวช่วยผสมเกสรนะครับ พอใครใช้ยา ผึ้งจะไม่อยากมาสวนนั้นแล้ว ที่สวนผม ถ้าไม่ใช่มีคนมาแอบตีผึ้งไป จะไม่มีปัญหาเรื่องการผสมเกสรทุเรียนเลยนะ พอถึงข้างขึ้น พวกผึ้งหลวงจะมากินน้ำหวานผสมเกสรช่วงหัวค่ำ ตั้งแต่หนึ่งทุ่มถึงสี่ทุ่ม ทุเรียนเราก็จะลูกกลมสวยดีมาก โดยเราไม่ต้องคอยปัดดอกเลยแหละ”

คุณสุธี ยังกล่าวถึง “สมาชิก” อื่นๆ ในสวน “ผมก็ดูว่าทำไมสวนเราหนอนถึงไม่ค่อยมี ปรากฏว่ามันมีทั้งหนอนชนิดที่คอยกินตัวดักแด้แมลง เห็นตัวแมลงหางหนีบเดินออกมาจากรูที่มีตัวหนอน ผมยังเคยขอให้นักกีฏวิทยามาดู เขาบอก ลำพังต้นหมากที่ผมปลูกไว้ ก็มีแมงมุมตั้ง 20 กว่าชนิดแล้ว การปลูกพืชผสม ทำให้พบแมลงถึง 80 กว่าชนิด พวกนี้จะสร้างสภาพสมดุลขึ้นในสวน ถ้าสวนไหนมีปัญหา มักพบแมลงน้อยชนิด แต่พบปริมาณมาก มันจะไม่สมดุลกัน หรืออย่างเรื่องมด ที่ชาวสวนจะมีปัญหามาก ผมพบว่าเมื่อเราทนสัก 2-3 ปี มันจะมีมดกลิ่นเหม็นๆ มาอยู่แทน ผมลองเอารังมดเหม็นนี้ไปเคาะใส่รังมดที่ชอบกัดเรา ปรากฏว่ามดพวกนั้นหนีหมดเลย แล้วถ้าเราเอาไบกอนไปฉีด ไอ้มดเหม็นนี่จะตายนะ ส่วนมดที่กัดเรา กลับไม่ตายเลย

“มดชอบอยู่ในดินซุยๆ สภาพสมบูรณ์ นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่เราต้องบำรุงดิน มันอาศัยกินน้ำหวานจากดอกหญ้า เพราะฉะนั้นถ้าเราฉีดยาฆ่าหญ้า ก็จะมีปัญหาแล้ว ผมยังเห็นพวกมันไปรุมกินหนอนด้วย นอกจากนี้ก็มีไก่ป่าที่ช่วยกินแมลงในดินได้มาก เงาะของผมเคยถูกหนอนคืบสีเขียวกินจนหมดสวน แล้วจากนั้นฝูงไก่ป่าลงกินหนอนพวกนี้เกลี้ยงเลย หนอนนี้มันจะทิ้งตัวลงพื้น ดังนั้นถ้าเราเลี้ยงฝูงเป็ดเทศกึ่งไข่ จะช่วยกำจัดมันได้อีกแรงหนึ่ง ไหนจะนกอีกนะครับ ถ้าในสวนเรามีไม้ยืนต้นสูงระดับ 30 เมตร จะมีนกมาเกาะ สอดส่องหาตัวแมลงกิน”

จากการพูดคุย คุณสุธี ดูจะเห็นแนวโน้มในทางที่ดี และมีเป้าหมายชัดเจนเพื่อนำไปสู่เป้าหมายนั้น เขาเล่าว่า สมัยก่อน ถ้าเกษตรกรไม่ใช้ยาเคมี แม่ค้าจะไม่ซื้อผลผลิต เพราะมันไม่สวย ยิ่งผู้บริโภคยิ่งไม่ยอมซื้อเลยทีเดียว แล้วเกษตรกรจะทำอย่างไร ในเมื่อคนกินยังไม่เข้าใจ

“มันก็ต้องสร้างการรับรู้ให้ได้นะครับ” คุณสุธี ยืนยัน “ต้องสื่อสารข้อมูลซ้ำๆ ออกไปบ่อยๆ ว่า ผลไม้ในตลาดมันไม่ได้เพอร์เฟคนะ ถ้าเราสื่อสารกันระหว่างผู้ผลิต – ผู้บริโภคได้มากขึ้น คนกินจะเริ่มเข้าใจ และยอมรับได้ว่าสภาพมันไม่ต้องสวยมากก็กินได้ หรืออาจเริ่มยอมกิน ถ้ารู้ว่าเราใช้แค่ปุ๋ย แต่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง แบบนี้ต่อไปการใช้สารเคมีมันจะค่อยๆ ลดลง โดยที่เกษตรกรก็มีทางออก ขายผลผลิตอินทรีย์ได้มากขึ้น เพราะมันไม่มีหรอกที่เกษตรกรรายไหนไปพ่นยามา แล้วบอกว่า ‘ฉันมีความสุขจังเลย ฉัน happy มาก’ ไม่มีหรอกครับ เพียงแต่เราต้องรู้ว่าถ้าเราจะเลิกใช้สารเคมีให้ได้ มันจะได้ด้วยเหตุอะไร มันมีที่ขายของไหม ตลาดเรารองรับแค่ไหน คนซื้อที่พร้อมจะเข้าใจมีมากพอหรือยัง หรือเรามีเวลาปรับตัวแค่ไหน กว่าที่คนจะยอมรับผลผลิตหน้าตาขี้ริ้วขี้เหร่ได้ ถ้าเราไม่มีต้นทุนอื่นมารองรับ ‘เวลาที่หายไป’ ในช่วงปรับตัว หรือยังมีหนี้สินอยู่ เราจะทำได้ในพื้นที่แค่ไหนกัน ก็ต้องรู้เขารู้เรา และมีความรู้ที่เหมาะสมครับ”

คุณสุธี ย้ำว่า เกษตรอินทรีย์ต้องอาศัยระบบนิเวศ เชื่อมั่นในพลังธรรมชาติ การอยู่ร่วมกันของสายลม แสงแดด ต้นไม้ทั้งสูงและต่ำ ต้นหญ้าทั้งที่มีดอกและไม่มีดอก “แต่กว่าจะไปถึงการทำเกษตรอินทรีย์ที่ประสบความสำเร็จ เราก็ต้องผ่านการสังเกต ทดลอง เก็บเกี่ยวประสบการณ์ ประเมินผล ทุกวันนี้ผมก็ทำตัวเป็นสิ่งมีชีวิตหนึ่งในแปลง คอยเดินดูว่าเพื่อนๆ เราเขากำลังทำอะไรกันอยู่บ้าง ถ้าใครอยากจะทำ ผมคิดว่าต้องเริ่มที่การทดลอง ด้วยความเคารพทุกอย่างในธรรมชาติครับ”

ผมคิดว่า อย่างน้อยเราก็คงเห็นประเด็นหนึ่งที่ชัดเจน จากคำพูดของ คุณสุธี ปรีชาวุฒิ คือนอกจากปฏิบัติการของเกษตรกรอินทรีย์แล้ว ความสำเร็จของเรื่องนี้อยู่ที่ผู้บริโภค คือเราๆ ท่านๆ ที่จะเข้าใจ และสนับสนุนผลผลิตในทัศนะใหม่อย่างได้สมดุลกันเพียงใด ค่อนข้างมากทีเดียวแหละครับ สนใจติดตามเรื่องราวข่าวคราวสวนทุเรียนอินทรีย์เขาคิชฌกูฎ ได้จากเฟซบุ๊ก

“มะพร้าว” เป็นพืชพื้นถิ่นที่มีบทบาทสำคัญในวิถีชีวิตชาวบ้านจังหวัดสมุทรสงครามมาอย่างยาวนาน ในฐานะพืชอาหาร พืชสมุนไพรคู่ครัว อีกทั้งเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่สร้างอาชีพและรายได้ก้อนโตให้แก่เกษตรกรจังหวัดสมุทรสงคราม หากใครอยากเรียนรู้ บทบาท “มะพร้าว” ในวิถีชีวิตชาวบ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ขอแนะนำให้แวะไปที่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ ซอยบ้านปรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ที่นี่ผู้มาเยือนทุกท่านจะได้เรียนรู้เรื่องมะพร้าวอย่างครบวงจร ตั้งแต่การปลูกดูแล การใช้ประโยชน์มะพร้าวแบบเจาะลึกครบทุกมิติกันเลยทีเดียว

บ้านริมคลองโฮมสเตย์ ภาคภูมิใจในวิถีชีวิตชาวสวนมะพร้าว จึงก่อตั้ง “พิพิธภัณฑ์มะพร้าว” เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของมะพร้าว พืชมหัศจรรย์คู่วิถีไทยและคู่ครัวไทยให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักธรรมชาติมะพร้าวในทุกแง่มุม ตั้งแต่การปลูก การแปรรูป การใช้ประโยชน์ ในฐานะพืชอาหารและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ที่เกิดจากมะพร้าว

ภายในพิพิธภัณฑ์มะพร้าว จัดแสดงนิทรรศการพันธุ์มะพร้าวไทย ทำให้รู้ว่า มะพร้าว ที่ปลูกในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มต้นสูง ออกผลช้า มีสะโพกที่โคนต้น ผสมข้ามกลุ่มนี้ ดอกตัวผู้จะบานหมดก่อนที่ดอกตัวเมียจะเริ่มบาน
กลุ่มต้นเตี้ย ออกผลเร็ว ไม่มีสะโพกที่โคนต้น ผสมตัวเอง ไม่กลายพันธุ์ มีผลดก
กลุ่มพันธุ์ลูกผสม เกิดจากการปรับปรุงพันธุ์ด้วยการผสมต้นพ่อและต้นแม่ต่างสายพันธุ์ เพื่อให้ได้พันธุ์ลูกผสมที่มีผลผลิตสูง
กลุ่มพันธุ์เบ็ดเตล็ด ไม่ทราบลักษณะประจำพันธุ์ที่แน่นอน เช่น มะพร้าวพวง มะพร้าวตะโหนด มะพร้าวกะทิ มะพร้าวตาล

มะพร้าวกะทิมะพร้าว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่เปลือก น้ำมะพร้าว ดอก ราก น้ำมัน เนื้อมะพร้าว ใบมะพร้าว กะลา จนถึงลำต้น มะพร้าวสามารถนำไปใช้สร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างมากมาย หลายคนคงไม่รู้ว่า “ดอกมะพร้าว” มีรสฝาด หวานหอม “จั่นมะพร้าวหรือทะลายดอกมะพร้าว ที่ยังคงมีกาบหุ้มอยู่” เป็นสมุนไพรกลางบ้านตั้งแต่สมัยโบราณ โดยชาวบ้านจะนำมาต้มน้ำดื่ม เช้า กลางวัน เย็น เพื่อบรรเทาอาการไข้ทับระดู

ส่วน “รากมะพร้าว” มีรสฝาด หวานหอม เป็นพืชสมุนไพรกลางบ้านสำหรับบรรเทาอาการท้องเสีย ช่วยขับปัสสาวะและใช้อมบ้วนปากบรรเทาอาการเจ็บคอ ส่วนเนื้อมะพร้าว นิยมใช้แปรรูปเป็นอาหารคาวหวานแล้ว ในอดีตชาวบ้านยังนิยมรับประทานเนื้อมะพร้าวเพื่อบำรุงกำลัง ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ อีกด้วย “น้ำมะพร้าว” รสหวานเย็น มีสรรพคุณทางยา บรรเทาอาการท้องเดิน ขับปัสสาวะ “มะพร้าวกะทิหรือน้ำมันมะพร้าว” เป็นสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับปิดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก บำรุงผิวแห้ง เล็บขบ ได้ผลดีทีเดียว

สำหรับ “น้ำมะพร้าวอ่อน” หากดื่มสัปดาห์ละ 4-5 ผล จะช่วยบำรุงผิวพรรณ บรรเทาอาการผดผื่นคัน บำรุงร่างกายให้สดชื่น ในตำราแพทย์ไทย นิยมใช้ “วุ้นเนื้อมะพร้าวอ่อนกับน้ำมะพร้าวอ่อน” เป็นยาเย็น บรรเทาอาการไข้ตัวร้อนให้ทุเลาลงได้ ส่วน “ใบมะพร้าว” ใช้ทำหลังคา ห่อขนม ทำจักสาน ทำฝาชี กระจาด หมวก ปลาตะเพียน ตะกร้า ฯลฯ “ก้านมะพร้าว” ใช้ทำไม้กวาดทางมะพร้าว ไม้กลัดขนมได้

“ยอดมะพร้าวอ่อน” ใช้ทำอาหารได้หลากหลาย ทั้งแกงส้ม แกงคั่ว ส้มตำ ทำได้อร่อยทุกเมนู “ใยจากเปลือกมะพร้าว” ใช้ทำเชือก กระสอบ ใยมะพร้าวใช้ทำฟูกที่นอนได้ “ลำต้น” ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เก้าอี้ รั้ว ปลูกบ้าน “กะลามะพร้าว” ใช้ทำซออู้ โคมไฟ เม็ดกระดุมเสื้อ ช้อน ส้อม “จาวมะพร้าว” ใช้ทำอาหาร หรือคั้นน้ำรดต้นไม้เร่งดอก “หัวตะโหงก หรือทางมะพร้าว” ใช้ทำฟืน ทำกับดักหนูได้

วิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์

ปัจจุบัน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ ตั้งอยู่บริเวณกลุ่มหมู่บ้านริมคลองผีหลอก เชื่อมต่อไปถึงตลาดน้ำอัมพวา วิสาหกิจชุมชนแห่งนี้เกิดขึ้นจากแนวคิดของกลุ่มชาวบ้าน ที่เห็นคุณค่าของธรรมชาติ วิถีชีวิตความเป็นบ้านริมน้ำ กลุ่มชาวบ้านได้รวบรวมศิลปะหัตถกรรม วัฒนธรรมพื้นบ้าน บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับมะพร้าวและการใช้ประโยชน์ของมะพร้าวตามภูมิปัญญาท้องถิ่น

“ป้าเล็ก” หรือ คุณถิรดา เอกแก้วนำชัย และ ลุงสวน หัตถีนาโค เป็นแกนนำชุมชน ปรับปรุงที่อยู่อาศัยเป็นโฮมสเตย์สำหรับรองรับนักเที่ยว สร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวจำนวนมาก นำไปสู่การรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มในชื่อ “วิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์” ในปี 2549

วิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ จัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงเกษตร ผ่านฐานการเรียนรู้จากภูมิปัญญาชุมชน ได้แก่ กลุ่มอนุรักษ์น้ำตาลมะพร้าว กลุ่มอนุรักษ์เรือพาย กลุ่มผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดสารแบบพอเพียง กลุ่มอนุรักษ์ดนตรีไทย กลุ่มลอยอังคาร กลุ่มนวดแผนไทย กลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ฯลฯ จนได้รับรางวัลมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย (ปี 2553) รางวัลอุตสาหกรรมการท่องเที่ยววิถีชุมชนดีเด่น (รางวัลกินรี) ปี 2556 รางวัลสุดยอดชุมชน Creative Tourism ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 20 ชุมชนสร้างสรรค์ของประเทศไทย และยกย่องว่าเป็นโฮมสเตย์แห่งแรกของไทยที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับผลิตไฟฟ้า แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า และร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดโลกร้อน

ทุกวันนี้ บ้านริมคลองโฮมสเตย์ ได้รับการยกย่องให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรรม สัมผัสธรรมชาติ วิถีชีวิตชาวสวนมะพร้าว บรรยากาศริมคลอง ล่องเรือชมหิ่งห้อย การตักบาตรทางน้ำ นักท่องเที่ยวสามารถเลือกทำกิจกรรมตามความสนใจ เช่น เรียนรู้การขึ้นน้ำตาลมะพร้าว สาธิตการปีนต้นมะพร้าว สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจ สามารถปีนมะพร้าวได้ไม่ยาก เพราะเกษตรกรได้ใช้มีดบั้งต้นมะพร้าวเหมือนขั้นบันไดอยู่ก่อนแล้ว เพื่อให้ง่ายต่อการปีนยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวยังได้เรียนรู้วิธีทำน้ำตาลมะพร้าวแบบดั้งเดิม น้ำหวานดอกมะพร้าว น้ำตาลไซรัป การปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ ผลิตภัณฑ์จักสานจากใบมะพร้าว เช่น หมวก กระเช้า ฯลฯ การทำขนมไทยจากมะพร้าว และการทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น พร้อมทดลองทำเอง

ขั้นตอนการทำน้ำตาลมะพร้าว เริ่มจากการปาดงวงมะพร้าวตั้งแต่กลางคืน แล้วไปเก็บตอนเช้า การปาดงวงมะพร้าวเพื่อให้ได้น้ำหวาน ต้องระวังไม่ให้งวงตาลช้ำ เพราะจะทำให้น้ำหวานออกปริมาณน้อย หลังปาดหน้างวงมะพร้าวแล้ว เอากระบอกไปรองน้ำ ใส่ไม้พะยอมเพื่อเป็นสารกันบูด โดยปกติการปาดงวงครั้งละ 1 เดือน เก็บไว้ตอนเช้า และตอนเย็น แต่ตอนเช้าจะได้ปริมาณน้ำตาลมากกว่า เฉลี่ยได้ต้นละ 2 ลิตร หลังจากเก็บน้ำตาลมะพร้าวจากงวงแล้ว จะนำไปกรองเศษไม้พะยอมออก จากนั้นตั้งกระทะเคี่ยวให้เดือด ช้อนฟองออก ใช้เวลาเคี่ยวราว 1 ชั่วโมง จากนั้นกระทุ้งน้ำตาลที่งวดได้ที่ เพื่อลดอุณหภูมิ ตามด้วยการหยอดลงแม่พิมพ์ให้ได้รูปตามต้องการ

ปัจจุบัน สินค้าเด่นของชุมชนแห่งนี้ ได้แก่ “น้ำหวานจากดอกมะพร้าวแท้ 100%” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อคนรักสุขภาพและผู้เป็นโรคเบาหวาน มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ใช้ปรุงอาหารทั้งคาวหวาน ขนม และเครื่องดื่ม หวาน หอม กลมกล่อม ปราศจากสารเคมี ปราศจากสารกันเสีย “น้ำตาลมะพร้าวแท้” (ผสมน้ำตาลทราย 5% เพื่อให้สามารถจับตัวเป็นก้อนได้) มีรสหวาน หอม กลมกล่อม สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้ 1 ปี สีของน้ำตาลมะพร้าวจะเข้มขึ้นตามธรรมชาติ

ธ.ก.ส. สนับสนุนกิจการชุมชน

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นหน่วยงานหลักสำคัญที่เข้ามาสนับสนุนการดำเนินกิจการของชุมชนแห่งนี้ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งใหม่ โดยจัดหาเงินทุนดำเนินงาน จำนวน 300,000 บาท พร้อมสนับสนุนองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อให้กิจการโฮมสเตย์แห่งนี้เติบโตได้อย่างยั่งยืนมาตลอดหลายสิบปี

คุณธวัชชัย เศรษฐไพบูลย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สำนักงาน ธ.ก.ส. จังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า ธ.ก.ส. เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ได้เข้ามาร่วมมือกับวิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์แห่งนี้ ทั้งสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว บรรจุอยู่ในโครงการ “ชุมชนต้องเที่ยว กับ ธ.ก.ส.” พร้อมสนับสนุนเงินทุนให้วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวแห่งนี้ได้มีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับใช้พัฒนาต่อยอดพัฒนาสานต่อวิถีชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาศึกษาดูงานและท่องเที่ยววิถีชุมชนอย่างต่อเนื่อง

หากใครสนใจไปใช้บริการวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ แค่ใช้เส้นทาง ถนนพระราม 2 ขับไปตามเส้นทางจนถึงหลักกิโลเมตรที่ 62 จะเห็นป้ายบอกทางเข้าตัวเมืองสมุทรสงคราม โดยเบี่ยงซ้ายเข้าตัวเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม แล้ววิ่งมาตามถนนสมุทรสงคราม-บางแพ (ทางไปอัมพวา) เมื่อผ่านวัดช่องลม ให้ชิดขวาเตรียมกลับรถข้างหน้า จากนั้นวิ่งตรง 500 เมตร ชะลอรถ จะเห็นป้ายบอกทางเข้าบ้านริมคลองโฮมสเตย์ เข้าไปเกือบสุดซอย จะเห็นป้ายบ้านริมคลองโฮมสเตย์ด้านขวามือ เลี้ยวขวาผ่านสำนักปฏิบัติธรรมโพธิ์ทะเล เข้ามาด้านในก็จะถึงบ้านริมคลองโฮมสเตย์ได้ไม่ยาก

วิสาหกิจชุมชนบ้านริมคลองโฮมสเตย์ ตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 43/1 หมู่ที่ 6 หมู่บ้านแหลมลมทวน ตำบลบ้านปรก อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม สนใจเข้ามาใช้บริการ สามารถติดต่อได้ล่วงหน้ากับป้าเล็ก

บ้านห้วยหาด เป็นชุมชนคนพื้นราบลุ่มเชิงเขา ที่ย้ายถิ่นฐานมาจากหมู่บ้านต่างๆ ในเขตพื้นที่ตำบลอวน อำเภอปัว ซึ่งมี ร้อยโท สรรณทิพย์ ว่องไว เป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน ตามแผนยุทธศาสตร์ป้องกันอันเป็นคอมมิวนิสต์ อันอยู่ภายใต้การควบคุมของ พลตรี ประหยัด รอดโพธิ์ทอง ซึ่งเป็นผู้บังคับการกองพลทหารม้า ร่วมพัฒนาหมู่บ้าน โดยได้อบรมไทยอาสาป้องกันชาติให้กับชาวบ้าน รวมไปถึงได้สร้างอาคารเรียนให้กับหมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2523-2524 ในช่วงเวลานั้นมีผู้คนไทลื้อบ้านห้วยหาด เพียง 37 หลังคาเรือน ชาวบ้านผู้สูงอายุได้เล่าให้ฟังว่า

“เกือบสี่สิบปีมาแล้วที่ นายพูนชัย เนียมวัฒนะ นายอำเภอปัวในขณะนั้น ได้ร่วมกับเจ้าหน้าที่ปกครองอำเภอปัว ได้เข้ามาเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน แต่เนื่องจากคณะกรรมการหมู่บ้าน บ้านห้วยหาดเคยเป็นฐานที่ตั้งของผู้ก่อการร้าย ชาวบ้านเคยได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการเหยียบกับระเบิด ทำให้ชาวบ้านบางส่วนทยอยอพยพกลับภูมิลำเนาเดิม จึงทำให้ผู้คนลดจำนวนลงเหลือเพียง 17 หลังคาเรือนเท่านั้น ผู้คนในพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร มีผู้นำหมู่บ้านหลายคนเข้ามาทำหน้าที่ปกครองดูแล เริ่มตั้งแต่ นายสวาย นายสยุด ใหม่น้อย นายประชุม ล้วนปวน จนมาถึงผู้นำคนปัจจุบันเป็นผู้หญิงชื่อ นัยนา ฑีฆาวงศ์”

อย่างไรก็ดี บ้านห้วยหาดเป็นชุมชนที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ในช่วงแรกๆ เนื่องจากตั้งอยู่ในซอกหลืบของเทือกเขาต้นน้ำที่ทอดยาวสลับซับซ้อนยืนตระหง่านอย่างท้าทาย มีสัตว์ป่าหลากหลายสายพันธุ์ร่วมพึ่งพิงอาศัยอยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกันมาเนิ่นนาน สายธารน้อยใหญ่หลั่งไหลมาจากภูสูงลดหลั่นเลี้ยววกมาเป็นสายน้ำหล่อเลี้ยงมวลชีวิต ส่ำสัตว์ต่างดำรงชีพความเป็นอยู่แบบแบ่งปันและเรียบง่าย เหล่าผู้คนก็ทำนาทำสวนบนผืนดินที่แวดล้อมด้วยธรรมชาติเป็นอาชีพหลัก บางรายยึดการทำไร่เลื่อนลอยแปลงเล็กๆ เพาะปลูกพืชไร่เพื่อดำรงชีพ

ในช่วงเวลาต่อมา องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้มาเปิดสัมปทานป่าไม้ ทำให้ป่าเริ่มเสื่อมโทรมลง ส่งผลให้เกิดสภาพแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำการเกษตรก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ในที่สุดบรรดาผู้คนในชุมชน ต่างอดอยากแร้นแค้น จำเป็นต้องอพยพไปขายแรงงานตามหัวเมืองเพื่อพยุงการใช้ชีวิตให้คงอยู่

เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนั้น ทั้งผู้นำและผู้คนที่ได้รับผลกระทบต่างนำปัญหามาร่วมคิดพิจารณากันว่าหากไม่สามารถแก้ไขภาวะวิกฤตดังกล่าวให้ลุล่วงไปแล้ว คงจะลำบากในการใช้ชีวิต จึงได้หาทางออกโดยการทำไร่เลื่อนลอยเพิ่มขึ้น บุกรุกแผ้วถางป่า เพื่อใช้พื้นที่มากขึ้น หันมาเอาจริงเอาจังกับการปลูกข้าวโพดกันเป็นส่วนใหญ่ เกือบทุกหลังคาเรือน ทำให้ผืนดินที่เคยอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุตามธรรมชาติ กลับต้องถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง ปุ๋ยอันเป็นสารเคมีและยาฆ่าศัตรูพืช ถูกนำมาใช้กันอย่างจริงจังเพื่อเพิ่มผลิตผลที่หวังว่าจะลืมตาอ้าปากได้ ทำให้เกิดสารพิษตกค้างแพร่กระจายเป็นจำนวนมาก กระทบกระเทือนไปยังสัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง สัตว์น้ำ ตลอดจนผู้คนในชุมชนได้รับความเดือดร้อนตามมา จากความไม่รู้ ท้ายที่สุดผู้คนต้องประสบภาวะวิกฤติหนักหนาสาหัสมากกว่าเดิม

เป็นต้นว่า ต้องซื้อน้ำจากนอกชุมชนมาดื่มมาใช้ แหล่งน้ำมีสารพิษตกค้าง พืชผักพื้นบ้าน พืชริมน้ำ สัตว์บกและสัตว์น้ำสูญหายไป บางชนิดถึงกับสูญพันธุ์ แหล่งอาหารธรรมชาติเสื่อมโทรมลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้แต่พืชผักส่วนครัวก็เต็มไปด้วยสารพิษตกค้าง จำเป็นต้องซื้อหาจากภายนอกมาบริโภค ชุมชนไม่สามารถพึ่งตนเองได้เหมือนที่เคยเป็นมาจากอดีต

ขณะเดียวกัน ทุกครอบครัวต่างเกิดหนี้สินพอกพูนจากการปลูกข้าวโพด สมัครเว็บบาคาร่า ที่สำคัญผลการสำรวจสุขภาพของผู้คนในชุมชนพบว่า ผู้คนเกือบทั้งหมดมีสารพิษตกค้างในเลือด ชุมชนจึงปรึกษาหารือกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในที่สุดได้ตกลงปลงใจกันว่าต้องเลิกทำไร่เลื่อนลอย แต่ก็ใช้เวลาราวเกือบสิบปีจึงหยุดการทำไร่เลื่อนลอยปลูกข้าวโพดได้อย่างเด็ดขาด ผู้คนได้ปรับเปลี่ยนอาชีพจากเดิม มาทำนาขั้นบันได นาข้างห้วย เพื่อปลูกไว้บริโภคในครัวเรือน ปลูกพืชผักสวนครัว พืชหลังนา และทำอาชีพเสริมเพื่อหารายได้ในยามว่างงาน ต่างน้อมนำแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงมาปรับใช้ในชุมชน

กระทั่งถึงปัจจุบันสภาพพื้นที่บ้านห้วยหาด ซึ่งมีผืนดินอยู่ในที่ราบเชิงเขาท่ามกลางหุบเขา มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม มีแก่งน้ำว้า น้ำตกตาดหลวงส่งผลให้ “สภาพภูมินิเวศกลับพื้นคืนสภาพได้เกือบเหมือนอดีตมาอีกครั้งหนึ่ง อย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้”

พ่อเฒ่ารายหนึ่งเอ่ยขึ้นพร้อมกับหายใจอย่างเต็มปอดด้วยได้รับอากาศเย็นสบายบริสุทธิ์มาตลอดทั้งปี

เนื่องจากเป็นผืนดินริมป่าเชิงเขา อันเป็นพื้นที่ราบสูง ประกอบไปด้วยภูเขาเป็นส่วนมาก มีแม่น้ำสายสำคัญที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค และเพื่อการเกษตรกรรม ทั้งแม่น้ำยาว แม่น้ำห้วยหลักลาย แม่น้ำห้วยหาด ผู้คนอยู่อาศัยตามที่ราบเชิงเขา หุบเขา ซึ่งมีอาณาบริเวณทิศเหนือติดต่อกับ บ้านยอดดอยวัฒนา ตำบลบ่อเกลือใต้ อำเภอบ่อเกลือ ทิศตะวันออกติดต่อกับ บ้านห้วยลอย สามารถใช้ถนนเชื่อมเป็นเส้นทางสัญจรไปได้หลายหมู่บ้าน ต่อกับบ้านห้วยหาดถึงบ้านห้วยหลักลาย สำหรับทิศใต้ มีเขตติดต่อกับบ้านแม่สะนาน ตำบลพงษ์ อำเภอสันติสุข ส่วนด้านทิศตะวันตกติดต่อกับบ้านน้ำยาว ตำบลอวน อำเภอปัว

นอกจากนี้ บ้านห้วยหาดยังมีพื้นที่ป่าชุมชนอีกถึงสองแปลง อาณาบริเวณเกือบพันไร่ อาจกล่าวได้ว่าชุมชนบ้านห้วยหาดในระยะหลังซึ่งมีผู้นำเป็นหญิงแกร่งชาติพันธุ์ไทลื้อที่ชื่อ “นัยนา” ปลุกผู้คนให้ร่วมมือร่วมใจกันนำวิถีดั้งเดิมกลับมาใช้เป็นแนวทาง ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำรงชีพที่หลงทางไปตามกระแสให้คืนกลับมา ให้ความสำคัญกับภูมิปัญญา ความเชื่อ ประเพณี พิธีกรรมของท้องถิ่นตามที่บรรพชนเคยปฏิบัติกันมาช้านาน เป็นต้นว่า การฟื้นฟูพิธีกรรม “ผิดผี” การเลี้ยงแก้ม หรือ การเลี้ยงผีสบห้วย ถือเป็นการบูชาน้ำของคนไทลื้อ เป็นต้น