สวนป่าแห่งนี้ มีจุดเริ่มต้นจากศูนย์ เริ่มปลูกป่าโดยขอกล้า

พันธุ์ไม้ฟรีจากกรมป่าไม้ พร้อมติดต่อขอคำแนะนำเรื่องการปลูกพันธุ์ไม้มาเรื่อยๆ ทางกรมป่าไม้ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาดูและให้คำแนะนำเรื่องการปลูกดูแลพันธุ์ไม้เป็นประจำ ทำให้สวนป่าแห่งนี้เข้าหลักเกณฑ์ที่สามารถส่งเข้าประกวดได้ ปรากฏว่าสวนแห่งนี้ได้รางวัลชนะเลิศ

เนื่องจากเป็นสวนที่เธอลงมือทำเอง ชื่อสวนป่าก็เป็นของเธอ รูปแบบการจัดการสวนป่าแห่งนี้ ชาวบ้านทั่วไปสามารถทำตามได้ไม่ยาก ทำให้คุณธวัลรัตน์ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่น ด้านสวนป่า ได้เข้ารับโล่รางวัลพระราชทานในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี พ.ศ. 2561 ณ พลับพลาที่ประทับมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561

หลักการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง นั้น ประโยชน์ข้อแรกคือ มีพืชอาหารที่นำมากินได้ ประโยชน์ที่ 2 เป็นไม้ใช้สอยนำมาใช้งานได้ เช่น เป็นไม้ฟืนหรือใช้สร้างบ้านเรือน ประโยชน์ที่ 3 ขายไม้สร้างรายได้ ประโยชน์ที่ 4 คือ ปลูกป่าช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ ตอนแรกที่คุณธวัลรัตน์มาทำกินในที่ดินแห่งนี้ยังไม่มีแหล่งน้ำ แต่หลังจากป่าอุดมสมบูรณ์เกิดลำธารขึ้นมาเอง

“คำว่า ‘สวนป่า’ คือเน้นความหลากหลายเพื่อฟื้นฟูระบบดิน ตอนที่เริ่มมาอยู่ใหม่ๆ ดินไม่มีคุณภาพ เป็นดินเลว มีแต่หิน เมื่อทำสวนป่า ปลูกต้นไม้ยืนต้น หยุดการไถ ปลูกป่าแบบเน้นระบบนิเวศมากที่สุดคือ ปลูกแบบไม่เป็นแถวเป็นแนวเพื่อป้องกันดินชะล้าง ต้นไม้แต่ละชนิดจะไม่ซ้ำประเภทกัน ปลูกสลับกันไป มีทั้งไม้โตเร็ว โตช้า ทรงพุ่ม สลับกันไป และมีไม้รุ่นที่สองคือไม้เรี่ยดิน” คุณธวัลรัตน์ กล่าว

ปัจจุบันสวนป่าของคุณธวัลรัตน์ปลูกพันธุ์ไม้มากกว่า 200 ชนิด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ไม้โตเร็ว ไม้โตปานกลาง ไม้โตช้า ย่อยออกมาเป็นไม้กินได้ ไม้ใช้งาน และไม้เศรษฐกิจ แยกออกมาเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดที่ 1 ไม้ต้นทุน คือไม้ที่ลงแรงปลูกหรือไม้ที่ต้องใช้งบประมาณ

ประเภทที่ 2 เรียกว่า ไม้กำไร เป็นไม้ที่โตขึ้นมาเองจากการทิ้งเมล็ดจากไม้อื่นๆ อยู่ในกลุ่มไม้พลังงาน ทำถ่าน ทำฟืน สร้างบ้าน ใช้ประโยชน์ได้ต่างกัน เริ่มต้นที่ไม้โตช้า เช่น ไม้ตะเคียนทอง มะค่าโมง ลำดวน พะยูง ชิงชัน ส่วนไม้โตปานกลาง ได้แก่ ต้นสัก ประดู่ ยางนา เป็นไม้ที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป กลุ่มไม้โตเร็วคือ ขี้เหล็ก สะเดา ตะกู กระถินเทพา กระถินณรงค์ ไม้กินผล ขนุน มะม่วง ลำไย สะตอ ชมพู่ ละมุด เหลียง มะนาว มะกรูด มะพร้าว กล้วย มะละกอ ลูกเนียง ส้มโอ มะเฟือง ขนุน น้อยหน่า ไม้พลังงาน ไผ่หวาน ไผ่บง ไผ่กิมซุ่ง ไผ่เลี้ยง กระถิน สามารถนำไปใช้ประโยชน์เป็นไม้ฟืนหรือใช้สร้างบ้านได้” คุณธวัลรัตน์ กล่าว

การใช้ประโยชน์-สร้างรายได้

สวนป่าของคุณธวัลรัตน์ ไม่มีการใช้สารเคมีใดๆ ทั้งสิ้น เน้นธรรมชาติ และทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง โดยการเก็บเศษใบไม้ที่ร่วงมารวมกัน แล้วหมักมาใช้ประโยชน์ใส่ในแปลงผักบ้าง โคนต้นไม้บ้าง ซึ่งก็ถือว่าได้ผลดีพอสมควร ทำให้สวนป่าแห่งนี้มีต้นทุนต่ำ สร้างรายได้พอเลี้ยงครอบครัวได้ไม่ขัดสน

ประโยชน์ที่ได้คือ ใช้ประโยชน์จากไม้กำไรที่ขึ้นมาเอง อย่างกระถิน ถ้าต้องการใช้งาน เช่น เผาถ่านขายได้กระสอบละ 300 บาท หากแบ่งขายเป็นถุงเล็ก ถุงละ 30 บาท มีรายได้จากการขายถ่านทุกวัน นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการขายน้ำส้มควันไม้ ถ่านผลไม้ ส่วนผงถ่านใช้ทำปุ๋ยได้เช่นกัน

คุณธวัลรัตน์สร้างรายได้ผลผลิตในสวนป่า เช่น ขายหน่อไม้สดหรือหน่อไม้ดอง มีรายได้จากการขายสะตอ ขายมะนาว หรือผลไม้แช่อิ่มที่ทางสวนนำมาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม ผลผลิตที่มีน้อย อย่างเช่น หน่อไม้เก็บได้วันละ 40-50 กิโลกรัม แทนที่จะขายกิโลกรัมละ 8 บาท ก็นำมาแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง หน่อไม้นึ่ง เพิ่มมูลค่าสินค้า หากตัดไม่ทันก็ปล่อยให้ขึ้นลำ สามารถใช้ประโยชน์จากลำไผ่ได้แล้ว ยังแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาดได้อีกด้วย ส่วนไม้โตช้าคือ ไม้พะยูง ไม้มะค่า คุณธวัลรัตน์วางแผนขายในช่วงที่ลูกโต เพื่อใช้เป็นทุนการศึกษา เพราะเป็นไม้ที่ขายได้มีราคาสูง

ปลูกสวนป่า มีเงินส่งลูกเรียนจบปริญญาได้

หลายคนมองว่าอาชีพเกษตรกรรมได้เงินน้อย แต่เหนื่อย ซึ่งก็จริงแต่ไม่ทั้งหมด หากมีการวางแผนการจัดการที่ดี คุณธวัลรัตน์มั่นใจว่า จะมีเงินรายได้ก้อนโตส่งให้ลูกเรียนจบสูงๆ ได้อย่างสบาย

คุณธวัลรัตน์และสามีมองว่า การศึกษาที่ดีที่สุดคือ โรงเรียนที่ใกล้บ้านที่สุด เพราะสามารถพูดคุยกับคุณครูของลูกได้ ไม่เห่อตามกระแสว่าลูกต้องเรียนโรงเรียนที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำอำเภอ อยู่ไกลจากบ้าน 50-60 กิโลเมตร เด็กจะเหนื่อย และถือเป็นการลงทุนที่ไม่เห็นผล

คุณธวัลรัตน์วางแผนปลูกป่าเพื่ออนาคตลูก โดยแบ่งการใช้ประโยชน์สวนป่าเนื้อที่ 24 ไร่ เป็น 6 แปลง แปลงละ 4 ไร่ แปลงที่ 1 เป็นพื้นที่ด้านบนสุด เป็นพื้นที่ลาดชัน คือเป็นป่าปล่อย เอาไว้เก็บกำไรกิน คือได้ไม้ ที่ไม่ต้องปลูก ใช้หลักการของศาสตร์พระราชา ปลูกในที่บนที่สุดก่อน เสร็จแล้วให้ลูกไม้หล่นมาขึ้นใหม่ ไว้เก็บกินรายวัน หรือตัดมาเผาถ่านทำฟืน ถัดลงมา เป็นแปลงที่ 2 เมื่อลูกเกิด ปลูกแปลงนี้ก่อน 4 ไร่ ปลูกไม้โตช้าไร่ละ 200 ต้น เนื้อที่ 4 ไร่ เท่ากับปลูกไม้ 800 ต้น ถ้าลูกโตมา จบ ม.6 อายุ 18 ปี เท่ากับต้นไม้มีอายุ 18 ปี สามารถตีราคาขายได้ต้นละ 5,000 บาท 800 ต้น เท่ากับมีเงินรายได้ 4 ล้านบาท สามารถเก็บไว้เป็นทุนการศึกษาสำหรับลูกคนที่ 1

แปลงที่ 3 ปลูกไม้โตช้าเนื้อที่ 4 ไร่ เป็นเงินเก็บให้ลูกสาวคนที่ 2 จัดสันปันส่วนให้เท่ากับลูกคนที่ 1 ทุกอย่าง ส่วนแปลงที่ 4 และแปลงที่ 5 เป็นแปลงด้านล่าง แบ่งไว้ให้อีกคนละ 4 ไร่ คนละ 800 ต้น ส่วนนี้เก็บไว้ให้สำหรับการแยกเรือน หรือใครอยากจะขายและนำเงินไปเรียนต่อก็ได้ หรือเก็บไว้สร้างเรือนก็แล้วแต่ลูกทั้งสอง

แปลงที่ 6 แปลงสุดท้าย คือส่วนรายได้ของคุณธวัลรัตน์และสามี ใช้ปลูกผักสวนครัว ทำนา ป่าปล่อย เก็บกินและเก็บขายสร้างรายได้รายวัน “แค่ 4 ไร่ ก็เหนื่อยแล้วสำหรับคนแก่ 2 คน” นับว่าเป็นการวางแผนครอบครัวและตัวอย่างเกษตรกรดีเด่นมากๆ

สำหรับท่านที่สนใจการปลูกสวนป่าหรืออยากได้แง่คิดการใช้ชีวิตที่ดี สามารถโทร.ปรึกษาหรือติดต่อเข้าไปเยี่ยมชมกิจการ “บ้านไร่บทเพลงแห่งพระจันทร์” กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ส่งเสริมให้นักวิชาการและเกษตรกรคัดเลือกพืชในพื้นที่ขึ้นมาเป็นผลไม้อัตลักษณ์ เพื่อพัฒนาความรู้ทั้งด้านการผลิต การตลาด และส่งเสริมให้เป็นผลไม้อัตลักษณ์ประจำถิ่นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562

ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ได้ดำเนินการในปี พ.ศ. 2564 สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ ได้เลือก “ส้มโอ” ซึ่งมีเกษตรกรปลูกกันมาเมื่อหลายสิบปีก่อน และจังหวัดแพร่ มีแนวทางในการพัฒนาและการปลูกส้มโอคุณภาพ

ดังนั้น เริ่มจากต้นปี พ.ศ. 2564 สำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ และสำนักงานเกษตรอำเภอลอง ได้จัดฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอ ในเรื่องอัตลักษณ์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่เกษตรกรรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน ที่จะเกาะเกี่ยวร่วมมือกับทางราชการ ในการผลักดันเรื่องดังกล่าว ผลที่เกิดขึ้นหลังการฝึกอบรม เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอตื่นตัวในการร่วมผลักดันให้ส้มโอเมืองลองได้รับการส่งเสริมและจดทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI (Geographical Indications) ได้ตั้งคณะทำงานศึกษาอัตลักษณ์/ภูมิปัญญาท้องถิ่นส้มโอเมืองลอง จำนวน 7 คน

ประกอบด้วย คุณสังวาล ทิน่าน ประธานคณะทำงาน คุณวิโรจน์ ท้วมแก้ว รองประธานคณะทำงาน คุณบุญฤทธิ์ เผือกวัฒนะ เลขานุการคณะทำงาน คุณบุญเนย ชัยเลิศ คณะทำงาน คุณจงศิลป์ สีตลาภินันท์ คณะทำงาน คุณสามารถ นวลอูป คณะทำงาน และ คุณปิยะนัน สวัสดิ์กุล คณะทำงาน

คณะทำงานฯ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ด้วยการลงพื้นที่ดูแปลงปลูกส้มโอของคณะทำงาน แต่ละคน จัดทำแบบสอบถาม และดูแปลงส้มโอของเกษตรกรอื่นๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลด้านพื้นที่ หรือแหล่งปลูกส้มโอ พันธุ์ส้มโอ การดูแลส้มโอระยะต่างๆ จนเก็บผลผลิตขาย ตลาด ปัญหาอุปสรรค จากนั้น ได้จัดทำผลการศึกษาเบื้องต้น อัตลักษณ์/ภูมิปัญญาท้องถิ่นส้มโอเมืองลอง ผู้เขียนเห็นว่าเป็นการศึกษาเบื้องต้นที่น่านำมาเล่าสู่กันดังนี้

คำนิยาม คุณลักษณะส้มโอเมืองลอง คำนิยาม ส้มโอเมืองลอง หมายถึง ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ผลค่อนข้างกลมแป้นเล็กน้อย เนื้อ (กุ้ง) สีคล้ายสีน้ำผึ้ง รสชาติหวานอมเปรี้ยว (เปรี้ยวเล็กน้อย) เนื้อกุ้งใหญ่ เนื้อแน่น สีเปลือกเมื่อแก่สุกมีสีเขียวอมเหลือง มีเอกลักษณ์ด้านเนื้อสีคล้ายสีน้ำผึ้ง รสชาติ 3 ไม่ คือไม่เฝื่อน ไม่ซ่า ไม่ขม ปลูกในพื้นที่อำเภอลอง ประกอบด้วยตำบลแม่ปาน ห้วยอ้อ ปากกาง บ้านปิน และตำบลทุ่งแล้ง ส่วนใหญ่มีอาณาบริเวณใกล้ริมฝั่งแม่น้ำยม หรือลำน้ำสาขา ซึ่งเป็นดินตะกอน หรือดินน้ำไหลทรายมูล การระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุทับถมริมชายฝั่ง สภาพอากาศไม่ร้อนจัด มีเทือกทิวเขาและผืนป่าโอบล้อม (ตามแผนที่)

ขุดหลุมกว้าง x ยาว x ลึก = 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก ร่วมกับแร่ธาตุฟอสเฟต สูตร 0-3-0 แล้ววางกิ่งพันธุ์ กลบดินใช้ไม้ปักลงดิน ใช้เชือกผูกให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มระยะปลูก 8×8 เมตร

การคลุมโคนต้นด้วยฟาง หรือหญ้าแห้ง กรณีปลูกในฤดูร้อน การบำรุงดิน ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก สารปรับสภาพดิน หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต และตัดแต่งกิ่งแล้ว ไม่ใช้สารเคมีกำจัดหญ้าแต่ใช้การตัด ปลูกหญ้าแฝกรักษาความชื้นต้นส้มโอต้นเล็ก ให้น้ำสัปดาห์ละครั้งต้นที่ตั้งตัวได้แล้ว ให้น้ำ 2 สัปดาห์/ครั้ง

ระยะก่อนออกดอก ต้องการน้ำน้อยระยะติดผลถึงแก่สุก ต้องการน้ำเพิ่มขึ้น ระยะก่อนเก็บ 2 สัปดาห์ งดน้ำเพื่อให้รสชาติหวานขึ้น ให้ปุ๋ยเคมี สูตรต่างๆ ตามพัฒนาการของต้น ใบ ดอก ผล เพื่อเพิ่มธาตุอาหารให้ส้มโอด้วยธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม

ให้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อปรับปรุงดิน ทั้งจากปุ๋ยหมักและปุ๋ยคอก

ให้น้ำหมักชีวภาพ เพื่อปรับสภาพดินและส่งเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน

การตัดแต่งกิ่ง เพื่อให้เกิดการโปร่ง แจ้ง แสงแดดส่องถึงโคนต้น ตัดแต่งช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ช่วงให้ผลผลิต

รุ่นที่ 1 เดือนสิงหาคม-กันยายน

รุ่นที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม

การจัดการวัชพืช ใช้เครื่องตัดหญ้า ไม่ใช้สารเคมี เพราะส้มโอมีระบบรากตื้น การป้องกัน/กำจัด โรคและแมลง เริ่มจากการสำรวจตรวจสอบการแพร่ระบาดก่อน ถ้ามีใช้สารชีวภัณฑ์หรือน้ำหมักสมุนไพรจากวัตถุดิบในท้องถิ่น แต่ถ้าพบการระบาดหนัก จะใช้สารเคมีเฉพาะกลุ่ม เฉพาะโรค ใช้เมื่อจำเป็น อัตราตามกำหนดข้างกล่องอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยต่อตัวเกษตรกร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม

การเก็บเกี่ยวผลผลิต

การปฏิบัติก่อนถึงกำหนดเก็บ สำรวจความแก่สุก ตรวจนับจำนวนผลโดยประมาณเพื่อประเมินราคา

วิธีการเก็บ ใช้กรรไกรตัดขั้วผลแบบหนีบผล มีภาชนะรองรับกันกระแทก

คุณภาพและมาตรฐาน เกี่ยวข้องกับปัจจัยการจัดการตั้งแต่การเตรียมต้น การดูแลช่วงแตกใบอ่อน ดอก และพัฒนาการของผล การเก็บผลที่แก่สุก คุณภาพผลใหญ่ เปลือกบาง รสชาติอร่อย หวานอมเปรี้ยว ไม่เฝื่อน ไม่ซ่า ไม่ขม มาตรฐาน รูปทรงสวย ขนาดเส้นรอบวง 20-22 นิ้ว น้ำหนักดี ผลละ 1.2-2.0 กิโลกรัม ความสัมพันธ์ระหว่างส้มโอเมืองลอง กับแหล่งภูมิศาสตร์

ลักษณะภูมิประเทศ อำเภอลอง มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา คล้ายแอ่งกระทะ มีบริเวณภูเขาจำนวนมากล้อมรอบทุกทิศ มีแม่น้ำยมไหลผ่าน แนวทิศเหนือ-ใต้ และมีลำน้ำสาขาหลายสายไหลลงสู่แม่น้ำยม เพียงแต่ยังขาดระบบการกักเก็บน้ำและการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพ

ลักษณะดิน เป็นดินตะกอน ที่ทับถมตามริมชายฝั่งแม่น้ำ และลำน้ำสาขา ที่เรียกว่าดินตะกอน หรือดินน้ำไหลทรายมูล มีอินทรียวัตถุทับถมริมชายฝั่ง

แหล่งน้ำ

จากน้ำฝน ปริมาณเฉลี่ยปีละ 1,200 มิลลิเมตร ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการของต้นส้มโอตลอดทั้งปี

แม่น้ำยม และลำน้ำสาขา

เกษตรกรขุดสระน้ำขึ้นมาใช้กันเอง อุณหภูมิ เฉลี่ยที่ 30-35 องศาเซลเซียส ลักษณะอากาศแบบฝนเมืองร้อน ซึ่งมีผลต่อการแก่สุกของส้มโอ และผิว ส่งผลให้ส้มโอเมืองลอง มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว (รสเปรี้ยวเล็กน้อย) เมื่อเก็บจากต้น

ประวัติความเป็นมา

ย้อนอดีตไปเมื่อหลายสิบปีก่อนพบพื้นที่ปลูกส้มโอขาวน้ำผึ้ง จากการนำมาปลูกของเกษตรกร แล้วขยายแพร่พันธุ์ ไปในวงกว้างหลายตำบล เกือบครอบคลุมทั่วอำเภอลอง จากแหล่งที่มาของ

นายวงค์ ชมภูมิ่ง (เสียชีวิต) ได้นำต้นพันธุ์ส้มโอขาวน้ำผึ้งมาปลูกที่สวนในตำบลปากกาง เมื่อปี พ.ศ. 2508 และได้อนุญาตให้คนงานในสวนทำการตอนกิ่งไปปลูกในพื้นที่ของตน จากนั้นก็ได้มีการขยายพื้นที่ปลูกส้มโอขาวน้ำผึ้งออกไปอีกหลายตำบล นายพรมมา มะโนมูล (เสียชีวิต) อยู่หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยอ้อ ได้นำกิ่งพันธุ์มาจากจังหวัดนครปฐม เมื่อปี พ.ศ. 2518 ลงปลูกในพื้นที่บ้านคอกช้าง และได้มีเกษตรกรมาขอกิ่งพันธุ์นำไปลูกในหลายพื้นที่

นายจงศิลป์ สีตลาภินันท์ ชาวจังหวัดสมุทรสาคร มาตั้งหลักปักฐานที่อำเภอลอง ได้นำกิ่งพันธุ์ส้มโอขาวน้ำผึ้ง มาจากอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร มาปลูกที่สวนตำบลห้วยอ้อ เมื่อปี พ.ศ. 2525 และได้มีเกษตรกรขอแบ่งปันกิ่งพันธุ์ไปปลูกยังพื้นที่โดยรอบตำบลห้วยอ้อ บ้านปิน และอีกหลายตำบล

พื้นที่ปลูกส้มโอขาวน้ำผึ้งทั้ง 3 แหล่ง ซึ่งเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของส้มโอเมืองลอง ส่วนใหญ่จะปลูกอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม หรือลำน้ำสาขา ซึ่งเป็นดินตะกอน หรือดินน้ำไหลทรายมูล ผลผลิตจึงต้องด้วยลักษณะเด่นทั้งด้านรสชาติ กลิ่น เนื้อ น้ำหนักผล ภูมิปัญญา ที่นำมาใช้ในสวนส้มโอเมืองลอง

การอนุรักษ์ดิน โดยการปรับพื้นที่รอบทรงพุ่มของต้นส้มโอ เป็นแอ่ง มีคันดินล้อมรอบ ป้องกันการพังทลายของดิน เพิ่มประสิทธิภาพในการใส่ปุ๋ยไม่ให้ละลายไปกับน้ำ และปลูกหญ้าแฝกเพื่อรักษาหน้าดินและความชื้น

พื้นที่ดอน หรือพื้นที่ที่เคยปลูกข้าวแบบขั้นบันได เมื่อเปลี่ยนพืชจากข้าวมาเป็นส้มโอ ยังคงสภาพพื้นที่แบบขั้นบันได มีคันดินล้อมรอบพื้นที่ลดหลั่นกันไป

ผลิตน้ำหมักชีวภาพหลายชนิดตามวัตถุประสงค์ของการใช้ ได้แก่ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง จุลินทรีย์หน่อกล้วย น้ำหมักจากเศษปลาและผลไม้ (สับปะรด) ฮอร์โมนไข่ อีเอ็ม (EM) เพื่อทดแทนและลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี ผลิตน้ำหมักสมุนไพรป้องกันโรคและแมลง โดยใช้วัตถุดิบในพื้นที่ ได้แก่ น้ำหมักฝักคูน น้ำหมักเปลือกมังคุด น้ำหมักจากยาสูบ เพื่อทดแทนและลดการใช้สารเคมี พื้นที่ที่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำจากแม่น้ำ หรือลำน้ำสาขา จากที่ต่ำขึ้นสู่พื้นที่สูง มีการติดตั้งแอร์แว (Airware) เป็นอุปกรณ์เพิ่มแรงดันน้ำ ประหยัดพลังงาน สามารถส่งน้ำไปได้ไกลๆ

ส้มโอเมืองลอง ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนในด้านการสร้างการรับรู้ องค์ความรู้เรื่องต่างๆ จากสำนักงานเกษตรจังหวัดแพร่ โทร. 054-511-214 และสำนักงานเกษตรอำเภอลอง โทร. 054-581-486 มาตั้งหลายปีดีดักแล้ว ปัจจุบัน ทั้งสองหน่วยงานได้ผลักดันให้เกษตรกรรวมกลุ่มเป็นเกษตรแบบแปลงใหญ่ (ส้มโอ) และส่งเสริมให้ส้มโอเมืองลองเตรียมการจดทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์

เกษตรกรได้รับแรงหนุนเสริมจาก เกษตรจังหวัดแพร่

คุณประภาส สานอูป เกษตรจังหวัดแพร่ สมัครสมาชิก SBOBET ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ว่า ระบบส่งเสริมการเกษตรที่ยึดพื้นที่เป็นหลัก (area-based approach) ดำเนินงานในลักษณะบูรณาการระหว่าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยผู้จัดการแปลงเป็นผู้บริหารจัดการพื้นที่ในทุกกิจกรรมตลอด ห่วงโซ่อุปทาน (supply chain)

วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มทำการผลิต การบริหารจัดการร่วมกันและรวมกันจำหน่ายโดยมีตลาดรองรับที่แน่นอน เพื่อให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิต ผลผลิตเพิ่มขึ้น และมีคุณภาพได้มาตรฐาน

เพื่อให้เกษตรกรสามารถเป็นผู้จัดการบริหารจัดการการผลิต ผลผลิต และการตลาดได้

หลักการดำเนินการเกษตรแปลงใหญ่ มีขนาดการผลิตที่คุ้มค่าต่อการลงทุน : Economy of Scale

พื้นที่เหมาะสมสอดคล้องกับ : AGRIMAP มีกระบวนการกลุ่มอยู่ก่อน : สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน มีแหล่งน้ำชัดเจน/ปริมาณน้ำเพียงพอ มีตลาดรองรับ การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่กำหนดเป้าหมายและแผนปฏิบัติที่ชัดเจน/มีแผนธุรกิจของตนเอง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการใช้เครื่องจักรกลการเกษตร

กำหนดมาตรฐานการผลิต ผู้จัดการแปลงที่มีความสามารถ ผู้จัดการแปลงร่วมกับคณะกรรมการ ในการบริหารจัดการแปลงใหญ่ ต้องมีเงื่อนไข : พื้นที่และจำนวนเกษตรกรตามหลักเกณฑ์

คุณประภาส สานอูป ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่า มีหลักการในการกำหนดพื้นที่แปลงใหญ่อยู่ว่า พื้นที่อยู่ชุมชนที่ใกล้เคียงกัน ขนาดพื้นที่เหมาะสมต่อการบริหารจัดการ เพียงพอให้เกิดอำนาจในการต่อรอง กรณีข้าว พืชไร่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน พื้นที่ไม่น้อยกว่า 300 ไร่ และเกษตรกรไม่น้อยกว่า 30 ราย

กรณีไม้ผล พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ปศุสัตว์/แมลงเศรษฐกิจ ประมง และพืชอื่นๆ พื้นที่ไม่น้อยกว่า 300 ไร่ หรือเกษตรกรไม่น้อยกว่า 30 ราย

มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนา 5 ด้าน ลดต้นทุนการผลิต โดยการลดการใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี ใช้สารชีวภัณฑ์หรือสารธรรมชาติที่สามารถผลิตเองได้ทดแทน ลดการใช้แรงงานคน ใช้เครื่องจักรกลทดแทน เป็นต้น เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การพัฒนาวิธีการผลิตให้มีประสิทธิภาพ นำเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ในระบบการผลิต เพื่อทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ และจำนวนที่มากขึ้น พัฒนาคุณภาพ การพัฒนาการผลิตให้ได้การรับรองมาตรฐาน GAP หรืออินทรีย์

การตลาด มีการเชื่อมโยงการตลาดหลากหลายช่องทางเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าได้ง่าย นำหลักการตลาดนำการผลิตมาใช้เพื่อพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาด

การบริหารจัดการ สร้างความเข้มแข็งภายในกลุ่มแปลงใหญ่ มีการบริหารจัดการการผลิต จนถึงการตลาดอย่างเป็นระบบ