สวนผสมผสานโกไข่ “เริ่มต้นชีวิตด้วยเงิน 46 บาท”!!เสียงเล่า

ผ่านชายวัยที่ยังคงแข็งแรง เดินด้วยตัวเองด้วยความกระฉับกระเฉงในอดีต โกไข่ในวัยคะนอง กิน เที่ยว สำมะเลเทเมามาไม่น้อย เคยไปรับจ้างแบกถังปฏิกูลบ้านคนรวย เพื่อนำเงินมาซื้อเหล้าดื่มกับเพื่อน ทำอยู่ 4 วันทนไม่ไหวแม้รายได้จะดีมากๆ

เมื่อถึงเวลาต้องครองเรือน ก็ได้ตกแต่งกับสาวลูกคนมีเงิน โกไข่เล่นแชร์กับพี่น้องเพื่อนำเงินมาสู่ขอสาวเจ้า ทั้งสองผ่านงานมาสารพัด โกไข่เรียกภรรยาว่า “เจ๊” ด้วยความที่เจ๊มีสูตรทำเส้นบะหมี่ จึงเปิดร้านบะหมี่เล็กๆ ในตลาดมาบอำมฤต ปัจจุบัน ลูกสาวยังทำหน้าที่ต่ออย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ที่หน้าร้านก็จะมีผัก ผลไม้สดๆ จากสวนมาวางขาย เรียกว่าทั้งปลูกทั้งขายเองไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางเลยเชียว

โกไข่ ออกรถไถมาหนึ่งคัน ในยามก่อนหน้านาก็ตระเวนรับจ้างไถไปเรื่อยจนถึงสตูล เก็บหอมรอมริบซื้อที่ดินทำสวนทุเรียน ยาง และปาล์ม “ไม่ไหว ปาล์มมันกินน้ำเยอะเหลือเกิน มาเลย์มันรู้ดี ตอนนี้ไม่ปลูกกันแล้ว ให้ไทยปลูกแล้วรอซื้อเอาดีกว่า” โกไข่เล่าให้ฟัง

“แรกๆ ทุเรียนก็ดี แต่ตอนหลังมันเป็นท็อป ไม่รู้จะทำไง อ่านหนังสือไปเจอในหลวงท่านทรงแนะนำให้ปลูกป่าผสมผสาน ไอ้เราเชื่อตั้งแต่อ่าน ลงมือทำเลย ปลูกป่าในแปลงทุเรียน เอาจำปาทอง ตะกู หมาก ตะเคียนทอง มะฮอกกานี ปลูกแซมเข้าไป รดน้ำทุเรียนต้นไม้อื่นก็ได้กินด้วย สังเกตดูว่า ผ่านไปสอง-สามปี ทุเรียนที่ทำท่าจะตายกลับฟื้น ปุ๋ยยาที่เคยใส่ปีละเป็นล้านก็ลดลงเกินครึ่ง เชื่อแล้วว่าเดินมาถูกทาง พอไม้ที่ปลูกอายุ 4 ปีก็เอาพริกไทยมาปลูก แค่ปีเดียวได้พริกไทยแห้งต้นละไม่น้อยกว่า 3 กิโล หากเป็นพริกไทยสดก็เกิน 10 โลเลยนะ ดกมากพราวเต็มไปหมดแหละ ขายส่งให้เจ้าใหญ่กิโลละ 380 บาท พอเป็นค่าน้ำค่าไฟปีละไม่กี่แสน”

ผมเดินดู โกไข่จะปลูกพริกไทยเกาะไม้ ต้นละ 2 กิ่งตอน พอยอดยาวประมาณ 80 เซนติเมตร ก็ตัดยอดให้แตกกิ่งก้านสาขา แล้วจัดแต่งยอดให้เกาะต้นไม้กระจายทั่วต้น พริกไทยให้ผลผลิตปีละครั้ง ดังนั้น เมื่อวางแผนดี จัดวางทีมงานไว้ดี การเก็บ ตาก และบรรจุก็เป็นเรื่องไม่ยาก

“พริกไทยเราต้องจัดทรงให้เขา พอยอดพุ่งสูงไป 4-6 เมตรเราก็ตัดยอด เอาแค่นี้พอ ไม่ให้สูงไปกว่านี้แล้ว เพราะจะเก็บยาก 4-6 เมตรจะพอดีกับบันไดที่มี ไม่สูงมาก ผลดีของการตัดยอดคือเขาจะไม่ทิ้งกิ่งล่าง ทำให้เราเก็บพริกไทยได้ตั้งแต่กิ่งล่างเรี่ยพื้นไปจนถึงยอด หากไม่ตัดแล้วปล่อยให้ขึ้นสูงไปเรื่อย เขาก็จะทิ้งกิ่งล่าง ทำให้เราต้องเหนื่อยในการปีนเก็บมากขึ้น”

เพียงย่างเข้าปีที่ 2 ทุเรียนที่ป่วยใกล้ตายแต่ละต้นเริ่มส่งสัญญาณชีพที่ดี แผลจากโรคท็อป เริ่มสมานโดยการสร้างเปลือกใหม่มาคลุมแผลเดิม ทำให้การส่งน้ำและอาหารสู่เรือนยอดได้ดีขึ้น ยอดใหม่ กิ่งใหม่เริ่มแตกแขนงมากขึ้น และในปีนั้นค่าปุ๋ยค่ายาลดลงทันทีกว่าครึ่งหนึ่ง รายได้หลักจากทุเรียนเริ่มกลับมาสู่สวน ยังมีกล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง มะละกอ ที่เป็นรายได้เสริมเข้ามา โกไข่ยังใช้ฟักปลูกคลุมหญ้าในแปลงที่เริ่มลงต้นไม้ใหม่ ฟักลูกโตๆ กว่า 10 กิโลกรัม เป็นรายได้เสริมอย่างดีอีกชนิดหนึ่ง

“แล้วต้นไม้ไม่แย่งอาหารกันเหรอครับ” ผมถามเพราะมองเห็นว่าต้นไม้สารพัดชนิดปลูกอยู่ไม่ห่างกันเลย

“ไม่นะ ต้นไม้แต่ละชนิดเขาก็จะมีรากหาอาหารที่ต่างกัน ไม้ป่ารากลึก ไม้เกาะเกี่ยวก็หากินรอบๆ ในพื้นที่นั้นๆ เรียกว่าเขาพึ่งพาอาศัยกันมากกว่า”

“อ้าวโก แล้วแบบนี้เวลาให้ปุ๋ยทำไงครับ”

“เห็นใบไม้ไหม ดูสิ นี่ใบทุเรียนจำปาทองก็กินไป แล้วทุเรียนก็ไปกินใบจำปาทอง ใบตะเคียนไปโน่น เรียกว่าใบของไม้ชนิดหนึ่งก็เป็นปุ๋ยให้ไม้อีกชนิด วนเวียนเป็นวงจรของป่าอยู่แบบนี้ ทำให้เราลดการให้ปุ๋ยลงได้อย่างมาก ไส้เดือนเราก็มีมากมาย”

“ดีจังเลยครับโก แล้วเรื่องน้ำ”

“ที่นี่ไม่มีปัญหา เราใช้น้ำใต้ดินส่วนหนึ่ง และอีกส่วนเก็บไว้กับต้นไม้ ที่นี่มีอีกแปลงที่เราไม่ได้รดน้ำเลย ให้ต้นไม้ป่า ไม้ผล ดูแลกันเอง ก็ยังเห็นเขียวสดใสดีนะ เป็นการทดลองอยู่ ไม่ใส่ปุ๋ย ไม่รดน้ำ ให้เขาดูแลกันเอง ก็ยังเติบโตตามปกติ เดี๋ยวจะพาไปดู”

“สรุปคือ ต้นไม้แต่ละชนิดกักน้ำไว้ด้วยเหรอครับ”

“ไม่ใช่แค่ต้นไม้ ในดินเองก็กักน้ำไว้อีกส่วน หากเราให้ความสนใจดูแลเขา ปลูกพืชคลุมดิน ปล่อยให้ใบไม้ร่วงหล่นคลุมไว้ แดดส่องเผาไม่ถึงก็ทำให้เก็บความชื้นไว้ได้ ผมทดลองแล้ว ผ่านแน่นอน”

“คุณกินขี้ตัวเองไหม”

คำถามหนักแน่นจากปากโกไข่หันมาถามผม ซึ่งแน่นอน ผมส่ายหน้า

“…นั่นสิ ต้นไม้ก็เหมือนกัน ต้นไม้ก็ไม่กินขี้ของตัวเอง หมายถึงหากเราปลูกไม้ชนิดเดียวกันทั้งแปลง ใบไม้ที่ร่วงหล่นก็ทำประโยชน์ได้ไม่มากนัก เพราะต้นไม้เขาไม่กินใบของตัวเอง อย่าถามว่ามีข้อพิสูจน์ไหม เพราะผมพิจารณามาหลายปีแล้ว จนสรุปได้แบบนี้ ผมเป็นนักทำ ไม่ใช่นักพิสูจน์”

ผมเดินเหยียบไปบนพรมใบไม้แห้งที่คะเนว่าหนาไม่น้อยกว่าสามนิ้ว บางส่วนเริ่มเปื่อยยุ่ย บางส่วนยังเพิ่งร่วงใหม่หมาด กองสุมถมทับกันไปจนทำให้มองไม่เห็นดิน ความชื้นที่สวนนี้น่าจะมีมาก เพราะเปิดกองใบไม้ลงไปถึงดินยังมีความชุ่มชื้นอยู่มาก ไม่ต้องขุดก็พอเดาได้ว่ากองทัพไส้เดือนจะมีความสุขเพียงใด

“เมื่อเราปลูกทุเรียนอย่างเดียว เขาก็กินแต่ปุ๋ยอื่นไม่ยอมกินปุ๋ยที่เปื่อยจากใบของเขาเอง ดังนั้นภูมิต้านทานอื่นๆ ก็พร่องไป ต่อเมื่อเราเอาไม้อื่นลงไปปลูก เช่น ผมเอาจำปาทองปลูกลงไป เจ้าจำปาทองก็มากินปุ๋ยใบทุเรียน ขณะเดียวกันทุเรียนก็ไปกินปุ๋ยจากใบจำปาทอง แล้วพอเราเติมไม้อื่นไปอีก เช่น ตะเคียน ยางนา ตะกู หมาก ส้มโชกุน กาแฟ กล้วย เหรียง สารพัดใบก็เหมือนเราได้กินอาหารหลายเมนู มันอร่อยและหลากหลาย สร้างทั้งอาหารและภูมิต้านทานให้ต้นไม้ ทำให้ไม้แต่ละชนิดของเราเติบโตแข็งแรง”

ปัจจุบัน ด้วยวัยและสุขภาพ ทำให้โกไข่ส่งไม้ต่อให้ลูกชายเป็นกำลังหลักในการดูแลสวน โดยโกไข่ยังคอยให้คำแนะนำอยู่เสมอ ผลผลิตจากสวนไม่ว่าจะเป็นทุเรียน เงาะ มังคุด ลองกอง ส้มโชกุน หมาก กล้วย มะละกอ มีวนเวียนมาให้ได้จำหน่ายไม่ขาด ยังไม่นับพืชผักอีกสารพัดชนิดที่ปลูกแซมในสวน หากสนใจอยากไปชมหรือเรียนรู้ ติดต่อได้ที่ โทร. (086) 088-8158 เบิ้ม ลูกชายโกไข่

จากคำบอกเล่าของโกไข่เรื่องนี้ ทำให้ผมนึกไปถึง พี่โจน จันได ทันที พี่โจนเคยให้สัมภาษณ์ผมไว้กับคำถามที่ว่า

“อยากให้พี่โจนพูดถึงการกิน ที่ส่งผลถึงสุขภาพองค์รวมของผู้คนครับ” พี่โจนจริงจังมาก ยิ้มและตอบผม

“เรามีโรคมากมาย โรคใหม่ๆ ทั้งนั้น และสารพัดโรคที่ว่าก็มีที่มาจากการกินอาหารของเรานั่นเอง เราถูกเขาป้อนเข้าปาก เราไม่มีโอกาสเลือกมากนัก คุณลองเดินไปดูตามตลาดสิ ตลาดสด ตลาดในห้างก็ไม่ต่างกัน เราจะเห็นมีผักบุ้งจีน ผักกาดขาว คะน้า แตงกวา ถั่วฝักยาว ฯลฯ วนเวียนอยู่ไม่กี่อย่างแค่นี้ ไก่เนื้อวางตลาดจนไม่มีที่ให้ไก่ไทยพันธุ์แท้ๆ ได้อยู่เป็นทางเลือก ปลาน้ำจืดก็มีปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล ปลาทับทิม ซึ่งใครเป็นผู้ผลิตเราก็รู้อยู่ เขาเอาอะไรเติมลงไปในวัตถุดิบอาหารเหล่านี้บ้างเรารู้ไหม เขาเร่งให้โตด้วยเคมีอย่างไรบ้าง เขาให้ยาป้องกันแมลงกินผักไปพร้อมกับการให้น้ำ ดังนั้นผักดูดซึมเคมีไปเท่าไหร่ แล้วเรากินโดยล้างแค่ภายนอก มันจะได้อะไรขึ้นมา”

“มันเป็นโลกของทุนนิยม ที่ทำลายสังคมชนบทไปหมดแล้ว เราถูกสอนให้จองหอง ถูกปลูกฝังว่าการไปทำงานกินเงินเดือนคือการยกระดับฐานะ โดยลืมไปว่าเราทำงาน หาเงิน เพื่อนำเงินมาซื้ออาหารเข้าปาก ทำไมต้องทำให้มันยุ่งยากขนาดนั้น ทำไมไม่ปลูกกินเอง ทำไมไม่ให้โอกาสตัวเองหลุดออกมาจากกรงขัง ที่เรียกให้สวยหรูว่าความเจริญ ไม่มีผู้นำประเทศยุคไหนต้องการให้เราหลุดพ้น เราต้องทำตัวเราเองให้ได้ การผูกขาดผักในแผงขาย การผูกขาดเนื้อสัตว์ ทำให้เราในฐานะผู้บริโภคมีความเสี่ยงต่อโรคภัยสารพัดชนิด แล้วอีกไม่นานเขาก็จะจัดหายามาขายเพื่อให้เรารักษาตัวเอง ที่มีผลจากการกินอาหารที่เขาจัดการป้อนเข้าปากมาให้”

“ลองเดินตลาดดูสิ ผักเม็ก กระถิน ดอกกระเจียว ผักติ้ว ผักขา ผักโขม ผักแว่น ผักสารพัดที่เราเคยกินเมื่อตอนเด็กๆ ถึงวันนี้มันหายไปไหน ถึงเวลาที่เราต้องช่วยกันเอง หันมาปลูกผักกินเอง เก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน แจกจ่ายกันไปปลูกเพื่อลดความเสี่ยงและเป็นการกระจายกันไปปลูก เราไม่ได้ต่อสู้กับใคร เรากำลังสู้เพื่อตัวเราเองและคนรอบข้างที่เรารัก”

ถ้อยคำเช่นนี้ทำเอาผมสว่างวาบในใจ พี่โจนกระตุกผมให้ตื่นจากโลกทุนนิยม พี่โจนสร้างแรงบันดาลใจให้ผมว่าเส้นทางที่ผมก้าวเดินมานี้ถูกต้องแล้ว และอีกครั้งหนึ่งที่โกไข่มาตอกย้ำเรื่องความหลากหลายของอาหาร (ปุ๋ย) ที่สร้างภูมิให้กับต้นไม้ เมื่อมีความหลากหลาย ต้นทุนด้านสุขภาพก็ลดน้อยลง สาธุ! ชีวิตผมได้พบเจอแต่กัลยาณมิตรที่ชี้ทางสว่างให้ทั้งสิ้น

ผลจากสภาวะทางธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง สร้างปัญหาส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมของชาวบ้านทุกพื้นที่ โดยเฉพาะเกษตรกรรมในยุคก่อนที่ชาวบ้านนิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยวกันเป็นส่วนใหญ่ พอเกิดปัญหาความแปรปวนทางธรรมชาติจึงสร้างความเสียหายโดยตรงกับการทำเกษตรเชิงเดี่ยวทันที ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนกับรายได้ในการทำมาหากิน

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานแก่พสกนิกรชาวไทยเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นคง ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการเปลี่ยนจากปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นสวนผสมผสานบนเงื่อนไขของความพอเพียง พึ่งพาตนเอง และลดรายจ่าย เมื่อชาวบ้านได้น้อมนำไปปฏิบัติต่างประสบผลสำเร็จกันถ้วนหน้า อีกทั้งบางรายสามารถผลักดันไปสู่แนวทางเกษตรอินทรีย์แล้วจับมือกับกลุ่มธุรกิจเปิดตลาดเป็นสินค้าออร์แกนิก

นายสมัย แก้วภูศรี หรือ ลุงสมัย อายุ 64 ปี เจ้าของสวนสองพิมพ์ เลขที่ 45/1 หมู่ที่ 12 ตำบลศรีวิชัย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน อีกทั้งยังเป็นผู้นำกลุ่มเกษตรกรทำสวนผลไม้อินทรีย์ลุ่มน้ำลี้ และเกษตรกรผู้ปลูกเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานที่ได้มาตรฐาน จนได้รับการรับรองเป็นสินค้าออร์แกนิกป้อนเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ

เจ้าของสวนสองพิมพ์ เผยถึงความสำเร็จเช่นนี้เพราะว่าได้นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาใช้ในการดำรงชีวิต โดยยึดหลักการพึ่งตนเอง ลดรายจ่ายในครัวเรือนที่ไม่จำเป็น และลดต้นทุนในการทำการเกษตร ด้วยการปลูกพืชใช้น้ำน้อย ดังนั้น ในสวนลำไย พื้นที่ 40 ไร่ ได้มีการจัดวางแบบแผนการปลูกพืช ไม้ผล ไม้สวนครัว สมุนไพร และเลี้ยงสัตว์ไว้อย่างเป็นระเบียบ ทั้งนี้ ทุกอย่างในสวนแห่งนี้จะยึดหลักไม่มีการใช้สารเคมี สามารถนำผลผลิตจำหน่าย มีรายได้ทุกเดือน จนกระทั่งได้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรต้นแบบ ประจำปี 2558 นับเป็นเกษตรกรดีเด่น เป็นแบบอย่างที่ดีอีกคนหนึ่งของจังหวัดลำพูน

ลุงสมัย บอกถึงที่มาของแนวคิดทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานว่า เพราะราคาปัจจัยการผลิตที่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง แต่ราคาขายผลผลิตกลับลดลงหรือทรงตัวยาวนาน นอกจากนั้น ยังมองว่าการใช้สารเคมีกับดินในปริมาณมากเป็นเวลายาวนานส่งผลให้ดินเสื่อมสภาพ จะเพาะปลูกพืชชนิดใดก็ไม่ประสบความสำเร็จ

พร้อมกับตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมดินในป่าจึงมีคุณภาพมากกว่าดินที่ทำนาหรือทำเกษตร ด้วยเหตุผลนี้จึงคิดว่าต้องการจะทำให้ดินกลับมาสู่สภาพเดิมให้ได้ แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยความเข้าใจในวงจรทางธรรมชาติด้วย เพื่อทำให้ดิน น้ำ ป่า มีความยั่งยืน

แล้วยังแสดงความเป็นห่วงว่าหากปล่อยไปเช่นนี้พอ AEC เข้ามามีต้นทุนถูกกว่าไทย จึงต้องระวังว่าจะเป็นปัญหาต่อภาคเกษตรกรรมของไทย ดังนั้น แนวทางทำการเกษตรที่ถูกต้องจะต้องทำให้ต้นทุนต่ำเพื่อมีแรงขับเคลื่อนในการแข่งขัน ขณะเดียวกัน ต้องทำให้ผลผลิตมีคุณภาพด้วย

กว่าสิบปีที่ผ่านมา ลำไยซึ่งเป็นไม้ผลประจำถิ่นของภาคเหนือเกิดปัญหามากมาย มีความพยายามแก้ปัญหาเพื่อให้คลี่คลาย ด้วยเหตุนี้เกษตรกรจะต้องพึ่งพาตัวเองมากกว่าการขอความช่วยเหลือ ดังนั้น จึงมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งในอำเภอลี้จังหวัดลำพูนมีการรวมตัวกัน หารือกันเพื่อหาทางออกปลดล็อกปัญหาที่เกิดขึ้น

ขณะเดียวกันช่วงนั้นเกิดกระแสเกษตรอินทรีย์ขึ้น แต่ชาวบ้านกลุ่มนี้ยังขาดความรู้ จึงเดินทางไปหาความรู้ ข้อมูลที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) กระทั่งพบว่ามีงานวิจัยที่น่าสนใจ โดยตั้งเป็นโจทย์ไว้ว่าอาชีพเกษตรกรรมมีปัจจัยอะไรที่เกี่ยวข้องบ้าง, ถ้าจะทำเกษตรอินทรีย์จะทำได้ไหม แล้วควรทำอย่างไร และตลาดเกษตรอินทรีย์อยู่ที่ไหน

จากนั้นทางสมาชิกกลุ่มจึงลงมือทำตามแนวทางประเด็นที่ตั้งไว้ โดยมีกระบวนการจัดระบบบัญชี มีการนำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์ ตลอดจนมีการเจาะเลือดกลุ่มที่ทำงานจำนวน 35 คน แล้วพบว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มีสารเคมีตกค้างในเลือด นอกจากนั้น ยังพบว่ามีกลุ่มที่เสี่ยงเป็นโรคความดัน เบาหวาน จำนวนมาก และเหตุผลทั้งหมดนี้จึงนำมาสู่แนวคิดที่จะต้องริเริ่มทำเกษตรอินทรีย์กันได้แล้ว

จึงเดินทางไปดูงานยังสถานที่ต่างๆ หลายแห่ง พบว่าสินค้าออร์แกนิกที่ถูกผลิตขึ้นตามมาตรฐานแล้วได้รับการรับรองสามารถส่งขายตลาดต่างประเทศได้มีราคาสูงกว่าสินค้าชนิดเดียวกันที่ไม่มีการรับรอง ดังจะพบได้ว่าถ้าเป็นพืชผักทั่วไปวางขายกิโลกรัมละ 8 บาท แต่ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่มีการรับรองมาตรฐานจะขายได้ถึงกิโลกรัมละกว่า 30 บาท อีกทั้งยังพบว่าชาวบ้านที่ทำเกษตรอินทรีย์ล้วนมีสุขภาพแข็งแรงดีด้วย

เหตุผลทั้งหมดจึงนำมาสู่การสรุปว่าถ้าสวนของชาวบ้านในอำเภอลี้ นำแนวทางเกษตรอินทรีย์มาทำบ้างคงไม่ยาก เพราะในพื้นที่มีปัจจัยหลายอย่างที่เอื้อในการทำได้อยู่แล้ว เพียงแต่ขาดองค์ความรู้ กระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบเท่านั้นจากนั้นจึงลงมือปฏิบัติจริงด้วยการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ และน้ำหมัก อีกทั้งยังทำสมุนไพรมาเพื่อเป็นสารไล่แมลง

ลุงสมัย ชี้ว่าถ้าจะทำเกษตรอินทรีย์จะปลูกพืชเชิงเดี่ยวไม่ได้ เพราะจะพบปัญหาแมลงศัตรูพืช ดังนั้น จึงควรปลูกพืชให้มีความหลากหลายชนิด และปลูกตามฤดูกาล เป็นการจำลองปลูกพืชแบบธรรมชาติให้เกื้อกูลกัน โดยเฉพาะสวนคุณลุงปลูกพืช ผัก สมุนไพร รวมทั้งสิ้นร้อยกว่าชนิด จึงไม่เคยเจอโรคแมลงเลย ดังนั้นถ้าคิดทำเกษตรอินทรีย์ต้องปลูกพืชผสมผสาน

ภายในสวนเกษตรอินทรีย์ของลุงสมัย แบ่งการปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์ออกเป็นโซน อย่างกลุ่มไม้ผลได้แก่ลำไย, มะละกอ, ฝรั่ง, มะม่วง, น้อยหน่า, ส้มโอ, แก้วมังกร, เสาวรส, กล้ว , สับปะรด และมะเฟือง แปลงปลูกพืช ได้ปลูกผักกว่า 40 ชนิด ได้แก่ ผักโขม, คะน้า, กะหล่ำปลี, กวางตุ้ง, สลัด, ผักหวานบ้าน, ผักหวานป่า, ผักเชียงดา, มะเขือ, แตง, ชาโยเต้, ขึ้นฉ่าย, ผักบุ้ง, กุยช่าย,จิงจูฉ่าย, ถั่ว และผักปวยเล้ง ฯลฯ เป็นต้น

แล้วยังปลูกสมุนไพรไว้อีกกว่า 10 ชนิด อาทิ ไพล, ขมิ้นชัน, ใบเตย, คาวตอง, ใบบัวบก, ขิง, ข่า, ตะไคร้, ว่านหางจระเข้, ฟ้าทะลายโจร และรางจืด เป็นต้น แล้วพื้นที่อีกส่วนได้เลี้ยงไก่อารมณ์ดีไว้จำนวน 80 ตัว เพื่อกินไข่ แล้วนำมูลมาใช้ทำปุ๋ย

“ปลูกลำไยไว้จำนวน 800 กว่าต้นให้ผลผลิตและมีรายได้ปีละครั้ง ขณะเดียวกันใต้ต้นลำไยปลูกผักโขมในระยะเวลา 3-4 อาทิตย์เก็บขายมีรายได้กิโลกรัมละ 40 บาท ชาโยเต้กิโลกรัมละ 70 บาท ดอกขจรกิโลกรัมละ 200 บาท แล้วยังมีพืช ผัก อีกหลายชนิดที่สามารถทยอยเก็บขายได้ตลอดเวลา จนทำให้มีรายได้ทุกวันอย่างต่อเนื่อง”

ในการเพาะปลูกพืชทุกชนิด รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ได้ยึดแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน จึงมุ่งทำเกษตรอินทรีย์ โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี สารเคมีกำจัดวัชพืช/แมลง และเชื้อรา โดยทำปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์และวัชพืชใช้เอง มีการหว่านปอเทือง ถั่ว แล้วไถกลบเพื่อให้เป็นปุ๋ยพืชสด ทั้งยังปลูกพืชโดยวิธีธรรมชาติ ไม่ใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์ หรือสารเคมี ทั้งนี้ เพื่อรักษาคุณภาพของผลผลิต และรักษาสภาพแวดล้อมให้อุดมสมบูรณ์

ปัจจุบัน สวนลุงสมัย สามารถผลิตสินค้าออร์แกนิกได้สำเร็จ และเป็นที่รับรองตามมาตรฐานด้วยกัน 2 อย่าง คือ ORGANIC THAILAND และมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน. )ทั้งนี้ แต่ละมาตรฐานจะนำไปส่งขายยังสถานที่ต่างกัน เพราะมีกลุ่มลูกค้าต่างกัน

อีกทั้งยังไปเชื่อมกับทางมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เพื่อพัฒนารูปแบบสินค้าที่มี QR CODE ที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังแหล่งผลิตได้ พร้อมกับมีการออกแบบจัดทำหีบห่อที่สวยงาม ได้มาตรฐาน จึงทำให้มีหลายหน่วยงานสนใจติดต่อแล้วจัดหาตลาดรองรับ

อย่างไรก็ตาม เมื่อคราวเกิดวิกฤติภัยแล้งที่ผ่านมา ลุงสมัย ยังแก้ไขปัญหาด้วยการใช้แนวทางความพยายามลดต้นทุนการผลิตทุกอย่างที่ปลูกที่เลี้ยงไว้ แก้ไขปัญหาการปลูกพืชที่ต้องใช้น้ำน้อย จึงทำให้รายจ่ายลดลง ที่เหลือนำไปขายเป็นรายได้ สามารถรักษาระดับรายได้อย่างเพียงพอ ชีวิตมีความสุขแบบพอเพียง โดยเฉลี่ยมีรายได้จากการปลูกผัก เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา

ทางด้านการตลาด ลุงสมัย บอกว่า ถ้าขายผู้ประกอบการสินค้าอินทรีย์ที่เป็นกลุ่มธุรกิจมีลักษณะขายส่งเป็นกิโลกรัม โดยกลุ่มนี้จะส่งขายต่อในตลาดmodern. Tradeในกรุงเทพฯ และบางส่วนส่งตลาดฮ่องกงเฉพาะช่วงผลผลิตออก เช่น มะละกอ มะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง ลำไย เป็นต้น แต่ถ้าขายผู้บริโภคโดยตรงขายแบบบรรจุภัณฑ์ นอกจากนั้น ยังขายทางออนไลน์ด้วย ส่วนตลาดประจำในท้องถิ่นสัปดาห์ละ 3 วัน

ลุงสมัย ไม่เพียงทำหน้าที่ประธานกลุ่มเกษตรกรทำสวนผลไม้อินทรีย์ลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูนเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทในฐานะผู้รับผิดชอบศูนย์เรียนรู้เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านเกษตรอินทรีย์, เป็นประธานธนาคารปุ๋ยอินทรีย์และสารชีวภาพชุมชนในการผลิตเกษตรอินทรีย์เชิงพาณิชย์ กระทั่งได้รับการเสนอชื่อจากสภาเกษตรกรจังหวัดลำพูนเพื่อรับรางวัลเกษตรต้นแบบพระราชทาน สาขาเกษตรอินทรีย์ ประจำปี 2558

“1 ใน 4 ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตคืออาหาร ดังนั้นถ้าอาหารชนิดนั้นมีคุณภาพ ปราศจากสารพิษ ก็จะทำให้ผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากโรคร้ายต่างๆ ฉะนั้น ทางกลุ่มจึงให้ความสำคัญและมุ่งผลิตอาหารที่มีความปลอดภัยเข้าสู่ตลาด จึงฝากผู้บริโภคที่เลือกซื้อสินค้าว่าควรจะสังเกตและเลือกซื้อเฉพาะอาหารที่มีเครื่องหมายรับรองออร์แกนิคจากหน่วยงานที่มีความเชื่อถือเท่านั้น” ลุงสมัย กล่าวฝาก

สอบถามรายละเอียด พืช ผัก อินทรีย์ที่ปลูกด้วยระบบอินทรีย์ตามมาตรฐาน ได้ที่ ผมมีโอกาสเดินทางไปต่างจังหวัดทางภาคเหนือ พบเห็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง ต้นไม่สูงนัก ออกดอกสีม่วงอมชมพู กลีบดอกบอบบางสะอาดตา ถามผู้คนแถวนั้นว่า ต้นไม้นี้มีชื่อว่าอะไร ได้รับคำตอบว่าผักบุ้งต้น ผมอยากทราบว่าเป็นไม้ไทย หรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ ผมจะนำมาปลูกในกรุงเทพฯ ได้หรือไม่ และมีวิธีขยายพันธุ์ และดูแลรักษาอย่างไร ขอคำอธิบายด้วยครับ

ที่คุณสุรชัยเล่ามา เกี่ยวกับผักบุ้งต้นนั้น แทงบอลสเต็ป พืชชนิดนี้เป็นไม้ขนาดเล็กกึ่งเลื้อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea carnea Jaeg. จัดอยู่ในวงศ์ Convolvulaceae มีลักษณะใบเดี่ยวเรียงเวียนรอบต้น ดอกเป็นรูปแตร ปากบาน กลีบดอกมี 5 กลีบ คล้ายดอกผักบุ้ง คนไทยจึงเรียกว่า ผักบุ้งต้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลาง ที่มีอากาศร้อนคล้ายบ้านเรา นิยมปลูกตามริมรั้วบ้านเป็นไม้ประดับ ลักษณะเด่นคือ ออกดอกตลอดปี เมื่อเด็ดใบจะมีน้ำยางสีขาวไหลออกมา การขยายพันธุ์นิยมใช้วิธีปักชำ ให้เลือกกิ่งไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ใช้มีดหรือคีมที่คมและสะอาด ตัดแยกออกมาจากต้นแม่ ยาวท่อนละประมาณ 25 เซนติเมตร ปักชำลงในวัสดุเพาะชำ อาจใช้ขี้เลื่อยแช่น้ำแล้วบีบให้หมาด ใส่ในกระถางที่มีรูระบายน้ำ ปักกิ่งลงในวัสดุเพาะนำเข้าเก็บในโรงเรือนที่ได้รับแสงรำไร ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน รากและใบจะปรากฏให้เห็น เมื่อเห็นว่าแข็งแรงดีแล้ว ย้ายปลูกลงดิน หรือลงในกระถาง ระวังอย่าให้ขาดน้ำ ผักบุ้งต้นเติบโตได้ดีทั้งในที่แดดจ้าและในที่ร่มรำไร ใช้เวลาเพียง 3-4 เดือน จะออกดอกสะพรั่งให้เห็น

ถามว่าที่กรุงเทพฯ ปลูกได้หรือไม่ ตอบว่าปลูกได้ครับ แต่ควรให้ได้รับแสง วันละ 3-5 ชั่วโมง ก็พอเพียงความต้องการของผักบุ้งต้นแล้ว แต่ถ้าปลูกในที่โล่งแจ้งได้รับแสงจ้าทั้งวัน ใบจะเหี่ยวเฉาอย่างรวดเร็ว ข้อควรระวังอย่าให้ขาดน้ำ และอย่าให้น้ำจนแฉะนะครับ

“แรกๆ ใครก็หาว่าบ้า มีที่ดินดีๆ เอามาปลูกสวนป่า ปลูกไปเมื่อไรจะโต เชื่อสิยังไงก็ไปไม่รอด” คำพูดเหล่านี้ “คุณธวัลรัตน์ คำกลาง” หญิงแกร่งคนนี้ ไม่เคยลืม แต่ ณ ปัจจุบัน คำพูดสบประมาทเหล่านี้ ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่เป็นความจริง หากคนเรามุ่งมั่นและมีแบบแผน อย่างไรแล้วความสำเร็จก็อยู่ไม่ไกล

คุณธวัลรัตน์ คำกลาง เกษตรกรดีเด่น ปี 2561 อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 91/1 หมู่ที่ 6 ตำบลวังกะทะ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เล่าวถึงจุดเริ่มต้นของกิจการสวนป่าแห่งนี้ว่า เดิมที พ่อกับแม่ของเธออพยพมาจากอำเภอสูงเนิน แล้วมาได้งานเฝ้าสวนที่ตำบลวังกะทะ ต่อมาเจ้าของที่ต้องการย้ายบ้านไปอยู่ที่อื่นจึงเอ่ยปากขายที่ให้กับพ่อแม่ของเธอ

พ่อแม่ของคุณธวัลรัตน์ตัดสินใจซื้อที่ดินเนื้อที่ 100 ไร่แบบผ่อน โดยนำมาแบ่งสันปันส่วนที่ดินให้คุณธวัลรัตน์และพี่น้องอีก 6 คน ทุกคนช่วยกันผ่อน คุณธวัลรัตน์ได้รับส่วนแบ่งที่ดินมา 24 ไร่ เพื่อนำมาปลูกป่าที่ตนเองรัก

คุณธวัลรัตน์เริ่มปลูกสวนป่าเพราะความชอบ ไม่ได้คิดอะไร เพราะเธอเป็นคนชอบป่า ชอบสีเขียว ชอบความสงบของป่าตั้งแต่แรกแล้ว เมื่อมีพื้นที่เป็นของตัวเองจึงไม่ลังเลที่จะปลูกพืชอะไรก็ได้ที่เป็นสีเขียว ปลูกแบบไม่ได้คิดอะไร ไม่ได้คิดถึงกำไรขาดทุน เริ่มจากการปลูกสวนป่ากับสามี คือ คุณชัชนรินทร์ อ่อนราษฎร์ ช่วยกันทำสองคน

เนื่องจากคุณธวัลรัตน์มีเงินทุนน้อย จึงไปขอพันธุ์ไม้ฟรีจากกรมป่าไม้และหาซื้อพันธุ์ไม้หอมราคาถูกมาปลูก ค่อยปลูกสะสมมาเรื่อยๆ เมื่อทำจนลงตัว ตนทั้งคู่จึงค่อยเริ่มแบ่งงานกันชัดเจนขึ้น ครอบครัวเธอมีลูกสองคน เธอรับหน้าที่เป็นแม่บ้านเลี้ยงลูก ขายของ สามีทำสวน