สวนมังคุดให้ระวัง “เนื้อแก้ว-ยางไหล” และเพลี้ยไฟ

ในช่วงที่มีสภาพอากาศร้อน และมีฝนตก กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมังคุดที่มักประสบปัญหาอาการเนื้อแก้วและยางไหลและเพลี้ยไฟ มักพบเข้าทำลายในระยะที่ต้นมังคุดติดผลและมีผลแก่กำลังเก็บเกี่ยว สำหรับวิธีป้องกันปัญหาอาการเนื้อแก้วและยางไหล ให้เกษตรกรสังเกตมังคุดจะแสดงอาการเนื้อเป็นสีใส มีลักษณะฉ่ำน้ำอยู่ภายใน หรือพบน้ำยางสีเหลืองไหลอยู่ภายในผล และน้ำยางบางส่วนไหลออกมาภายนอกผล จะเห็นผิวเปลือกผลมังคุดเป็นจุดๆ หากพบอาการรุนแรง บริเวณผิวเปลือกของมังคุดจะมีรอยร้าว

แนวทางป้องกันปัญหาอาการเนื้อแก้วและยางไหล เกษตรกรควรให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอตาม ความต้องการน้ำของต้นมังคุด ทุก 3 วันในกรณีที่ฝนไม่ตก หากมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระบายน้ำออกจากแปลงให้ได้มากที่สุด เพื่อลดการเกิดอาการเนื้อแก้วและยางไหลของมังคุด จากนั้นให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยบำรุงผลมังคุดตามค่าวิเคราะห์ดินและใบพืช หากไม่ได้มีการวิเคราะห์ดินและใบพืช เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือสูตร 12-12-17+2 (MgO) อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้น เท่ากับ 1 ใน 3 ของเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม เช่น ต้นมังคุดขนาดทรงพุ่ม 3 เมตร ให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมี 1 กิโลกรัมต่อต้น หรือต้นมังคุดขนาดทรงพุ่ม 6 เมตร ให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมี 2 กิโลกรัมต่อต้น โดยให้หว่านปุ๋ยใต้ทรงพุ่มบริเวณที่มีน้ำชลประทานซึมไปถึง และงดการใช้สารเคมีกับผลมังคุดแก่ใกล้เก็บเกี่ยว เพื่อป้องกันสารเคมีตกค้างในผลผลิต

ส่วนเพลี้ยไฟ จะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช มักพบการระบาดในระยะที่มังคุดออกดอกถึงติดผลอ่อน อาจทำให้ดอกและผลอ่อนร่วง ผลที่ไม่ร่วงเมื่อมีการพัฒนาผลโตขึ้น จะเห็นรอยทำลายชัดเจน เนื่องจากผิวเปลือกมังคุดมีลักษณะขรุขระที่เรียกว่า ผิวขี้กลาก ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ หากพบให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดอิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 3 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่งติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจะทำให้เพลี้ยไฟสามารถต้านทานสารฆ่าแมลงได้

อาชีพเกษตรกร ชาวไทย ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางมานับศตวรรษ ในขณะเดียวกันก็ถูกกลุ่มคนทำนาบนหลังคนเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกษตรกรชาวไทยยิ่งทำยิ่งจน
ในอดีตคนไทยยึดอาชีพทำนา เป็นหลัก ทำปีละครั้ง หลังจากเสร็จสิ้นการทำนา ก็อพยพหางานทำในตัวเมือง ในกรุงเทพฯบ้าง เพื่อหารายได้และใช้เป็นทุนในการทำนาในฤดูกาลต่อไป

อาชีพทำนา เป็นอาชีพที่ยิ่งทำยิ่งจน ด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม ทำให้เกิดนาล่ม ปีแล้วปีเล่า หากปีใดทำนาได้ผลผลิตมากก็ถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง โอกาสที่จะมีเงินเก็บออมนั้นยากยิ่ง

ในระยะ 2 ปีผ่านมา ประเทศไทย เกิดวิกฤติภัยแล้งที่รุนแรงที่สุด รัฐบาลต้องออกมาเชิญชวนให้เกษตรกรหยุดนาปรัง เนื่องจากข้าวเป็นพืชที่ใช้น้ำมาก และให้เกษตรกรชาวนาให้หันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทน

จากการเชิญชวนของรัฐบาล ดูจะได้ผล เกษตรกรหันมาปลูกมันเทศ มันสำปะหลัง แตงโม แตงกวา พริก มะเขือ และพืชยืนต้นชนิดอื่นและเกษตรกรหลายรายหันมาปลูกพืชดอก พืชสวยงาม

นายอำนาจ อาจห้วยแก้ว อายุ 42 ปี อยู่บ้านตากฟ้า ต.ซับมะกรูด อ.คลองหาด จ.สระแก้ว เกษตรกรชาวนา ได้หันมาปลูกพืชตัดดอก สามารถสร้างรายได้ ปีละ 2 ล้านบาท
“อำนาจ อาจห้วยแก้ว” เล่าว่า ที่ดินในท้องที่บ้านตากฟ้าส่วนใหญ่เป็นที่ดิน สปก. ที่รัฐบาลจัดสรรที่ทำกินให้กับเกษตรกร และตนก็ได้รับช่วงจากพ่อแม่ และประกอบอาชีพทำนาต่อจากพ่อแม่ แต่ก็ประสบปัญหาภัยแล้ง เมื่อ 4 มานี้ได้หันมาปลูกพืชตัดดอกขาย และเห็นว่า ดอกดาวเรือง มีสีเหลืองสด เป็นดอกไม้มงคลที่คนไทยนิยม นำไปทำพวงมาลัย นำไปบูชา และใช้ในเทศกาลต่างๆ มากกว่าดอกไม้ชนิดอื่น จึงตัดสินใจปลูกดอกดาวเรืองติดต่อกันมา 4 ปีแล้ว

“ปลูกดอกดาวเรือง พันธุ์ทองนที และพันธุ์ เหลืองฤทัย กว่า 10 ไร่ เมื่อครบ 45 วัน ก็สามารถตัดดอกส่งตลาดได้ จากนั้น สามารถตัดดอกได้วันเว้นวัน แต่ละต้นจะมีดอกได้ต่อเนื่องประมาณ 100 ดอก ตัดได้ประมาณ 1 เดือน ต้นดาวเรืองก็หมดอายุ จากนั้นก็ไถกลบ ตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค จากนั้นก็ปลูกต่อหมุนเวียนไป ตลอดทั้งปี การตัดดอกแต่ละครั้ง จะนำส่งที่ปากคลองตลาดกรุงเทพฯ และมีพ่อค้าแม่ค้า ในพื้นที่มารับไปขายตามตลาดต่างๆ ก็มี แต่มีจำนวนไม่มากเท่าส่งไปที่กรุงเทพฯ โดยแม่ค้าจะรับซื้อในราคาดอกละ 1 บาท โดยจัดใส่ถุง ถุงละ 25 ดอก ขายถุงละ 25 บาท ตัดดอกแต่ละครั้งจะสร้างรายได้ ครั้งละ ไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาท และจะมีรายได้ ทั้งแปลง (13 ไร่) กว่า 2 ล้านบาท

“อำนาจ” เล่าอีกว่า นอกจากปลูกดาวเรืองตัดดอกขายแล้ว ยังเพาะต้นกล้า ไว้ขายให้กับเกษตรกรที่สนใจปลูกอีกด้วย โดยขายต้นละ 2 บาท หรือขายยกถาด จำนวน 100 ต้น ถาดละ 200 บาท สำหรับปัญหาการเพาะดาวเรืองตัดดอก ขาย ผู้ปลูกไม่สามารถนำเมล็ดจากดอกที่เราปลูกไปทำพันธุ์ได้ เนื่องจากเมล็ดเป็นหมัน จะต้องซื้อเมล็ดจากบริษัทเท่านั้น จึงจะปลูกขึ้น และทางบริษัทที่ขายเมล็ดพันธุ์ก็รับรองการงอกด้วย คือ งอกทุกเมล็ด

“อาชีพเกษตรกร หากต้องการปลูกเพื่อทำการค้า ต้องรู้จักการตลาด พยายามปลูกพืชที่แตกต่างออกไปเรื่อย ๆ เพื่อไม่ให้เกิดผลผลิตล้นตลาด จะทำให้ผลผลิตราคาตก ดังนั้น ก่อนปลูกพืชชนิดใด ต้องศึกษาตลาดให้ดีก่อน ว่ามีตลาดรองรับหรือไม่ ขยันผลิต อย่างเดียว อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จก็ได้” อำนาจ ให้ข้อคิด

ส้มโอ เป็นไม้ผลที่สำคัญทางเศรษฐกิจและมีศักยภาพสูงในการส่งออกไปตลาดต่างประเทศ ตลาดต่างประเทศที่สำคัญของส้มโอไทย ได้แก่ ฮ่องกง แคนาดา และสิงคโปร์ โดยประเทศคู่แข่งของไทยคือ จีน อิสราเอล และเวียดนาม พันธุ์ส้มโอที่นิยมรับประทานมากทั้งในประเทศจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ และหลายประเทศในสหภาพยุโรป คือ ทองดี ขาวน้ำผึ้ง ขาวแตงกวา ซึ่งอย่างจังหวัดพิจิตร มีการปลูกส้มโอกันอย่างแพร่หลายและเป็นไม้ผลเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งของจังหวัดพิจิตร แต่บางท่านไม่ทราบว่า จังหวัดพิจิตรเป็นแหล่งปลูกส้มโอทองดี ขาวน้ำผึ้ง ขาวแตงกวา ส่งออกเป็นจำนวนมากในแต่ละปีทีเดียว

ส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้งและพันธุ์ทองดีของจังหวัดพิจิตร จัดเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพในการส่งออกมากในตอนนี้ ดูได้จากราคาขายผลผลิตในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เป็นที่น่าพอใจถึงแม้ว่าจะเป็นไม้ผลที่จะต้องใช้เวลาในการปลูกอย่างน้อย 4 ปี ถึงจะให้ผลผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ แต่มีความยั่งยืนทางด้านการตลาดกว่าไม้ผลอีกหลายชนิด ปัจจุบันมีการขยายพื้นที่ปลูกส้มโอจากสภาพการปลูกในที่ลุ่มยกร่องน้ำ ปลูกในเขตพื้นที่ภาคกลางมาปลูกในสภาพไร่ปลูกในที่ดอนกันมากขึ้น และในธรรมชาติต้นส้มโอจะให้ผลผลิตได้ 2 รุ่น ต่อปี ในฤดูกาลจะเก็บเกี่ยวผลผลิตส้มโอในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ในรุ่นที่สองจะให้ผลผลิตในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ซึ่งผลผลิตในช่วงนี้ส่วนใหญ่จะมีน้อย ในขณะที่ตลาดส่งออกมีความต้องการตลอดทั้งปี

ส้มโอของอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร ปัจจุบันถือว่าเป็นแหล่งปลูกที่สำคัญของประเทศไทย จากข้อมูลพบว่า จังหวัดพิจิตรมีพื้นที่ปลูกส้มโอรวม มากถึง 12,000 ไร่ แล้วจังหวัดพิจิตรปลูกส้มโอเพื่อส่งออกไปต่างประเทศเป็นจำนวนมากในแต่ละปีและขายในประเทศ การส่งออกส้มโอของจังหวัดพิจิตรอยู่ในระดับต้นๆ ของประเทศไทยเลยทีเดียวในตอนนี้ อย่างที่ทราบกันว่า จังหวัดพิจิตรเองมีชื่อเสียงเรื่องของส้มโอ “ท่าข่อย” แต่ส้มโอท่าข่อยก็มีข้อจำกัดในระดับหนึ่ง แต่จริงๆ แล้ว จังหวัดพิจิตรปลูกส้มโอสายพันธุ์ขาวแตงกวาและทองดีเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนผลผลิตมากพอที่จะขายป้อนตลาดส่งออกโดยเฉพาะตลาดประเทศจีน ที่มีความต้องการส้มโอจากประเทศไทยเป็นจำนวนมากและราคารับซื้อจากสวนเกษตรกรค่อนข้างดีกว่าราคาซื้อขายในประเทศ

ดังนั้น ผลผลิตส้มโอคุณภาพส่วนใหญ่จะถูกส่งออกทั้งหมด ส่วนสวนที่ไม่สามารถพัฒนาศักยภาพตัวเองได้ ผลิตส้มโอคุณภาพไม่ได้ก็จะเน้นการขายในประเทศเป็นหลัก อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของเกษตรกรว่าต้องการขายให้กับตลาดแบบไหน ราคาแบบไหน ซึ่งก็มีความยากง่ายกันไป แต่ถ้าตั้งใจจริงอะไรก็ไม่ยากนัก

ตัวอย่างเกษตรกรที่ปลูกส้มโอขาวแตงกวา ที่โพธิ์ประทับช้าง ทำรายได้ต่อปีนับล้านบาท ในพื้นที่ปลูก 45 ไร่ คุณสมเจต ซิ้มประดิษฐ์ บ้านเลขที่ 225/3 หมู่ที่ 9 ตำบลโพธิ์ประทับช้าง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร โทรศัพท์ (081) 740-0010 คุณสมเจต เล่าย้อนไปว่า ตนเองได้ตัดสินใจเลือกปลูกส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา เมื่อ ปี พ.ศ. 2535 ทั้งๆ ที่พื้นที่สวนในละแวกใกล้เคียงปลูกแต่ส้มโอท่าข่อยเกือบทั้งหมด

ซึ่งตนเองได้ซื้อกิ่งพันธุ์ส้มโอมาจากจังหวัดชัยนาท มาปลูกในราคากิ่งละ 30 บาท ช่วงนั้นส้มโอขาวแตงกวาจังหวัดชัยนาทกำลังดังมาก เนื่องจากตัวคุณสมเจตเองเคยทำสวนส้มเขียวหวานแบบยกร่องในเขตที่ลุ่มภาคกลางมาก่อน มีประสบการณ์ในการทำสวนส้มเขียวหวานมา มีการประยุกต์วิธีการปลูกส้มโอขาวแตงกวาในพื้นที่ดอน ด้วยการยกร่องปลูกแบบลูกฟูก ด้วยยึดหลักการว่า การปลูกพืชตระกูลส้มจะต้องปรับพื้นที่ให้มีการระบายน้ำให้ดีที่สุด เนื่องจากพืชตระกูลส้มเป็นพืชที่ชอบน้ำ แต่กลัวน้ำขังแฉะการสร้างสวนส้มโออันดับแรกต้องมองเรื่องของการระบายน้ำที่ดี

คุณสมเจต ได้เปรียบเทียบผลผลิตส้มโอขาวแตงกวากับส้มโอท่าข่อยที่มีอายุต้นเท่ากันว่า จากการสังเกตได้ผลผลิตไม่แตกต่างกันมากนัก คือติดผลดกพอๆ กัน น้ำหนักต่อผลใกล้เคียงกัน แต่ราคาขายส้มโอขาวแตงกวาจากสวนต่างกันกับส้มโอท่าข่อยกว่า 2-4 เท่าตัว ในสมัยนั้นส้มโอขาวแตงกวาขายจากสวนได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15-20 บาท ในขณะที่ส้มโอท่าข่อยขายได้เพียง 5-7 บาท ต่อกิโลกรัม เท่านั้นเอง

คุณสมเจต ก็ยอมรับว่าส้มโอขาวแตงกวาอ่อนแอต่อโรคกว่าส้มท่าข่อยมาก โดยเฉพาะโรคแคงเกอร์ ซึ่งจะต้องมีการวางแผนการป้องกันอย่างดี เนื่องจากส้มโอขาวแตงกวาของคุณสมเจตจะมีพ่อค้าสั่งซื้อไปขายยังตลาดต่างประเทศเป็นประจำ ถึงแม้ในปัจจุบันยังมีพื้นที่ปลูกส้มโอท่าข่อยอยู่มากพอสมควร เนื่องจากเป็นสวนเก่าแก่ตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ และอายุต้นค่อนข้างมาก จะโค่นเปลี่ยนพันธุ์ส้มโอใหม่ก็ยังเสียดาย แต่เมื่อเห็นราคาส้มโอขาวแตงกวาและส้มโอทองดีมีราคาสูง เพื่อนๆ เกษตรกรบางรายที่สามารถหาพื้นที่ใหม่เพื่อปลูกส้มโอได้ ก็จะเลือกปลูกส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาและพันธุ์ทองดี เนื่องจากราคาและความต้องการของตลาดยังมีอยู่สูง ในส่วนของต้นส้มโอท่าข่อยที่ปลูกอยู่เก่าและมีอายุมากขึ้น เกษตรกรไม่ได้โค่นต้นทิ้ง เพราะยังให้ผลผลิตทำรายได้คุ้มต่อการลงทุนอยู่ ถึงแม้ว่าจะขายได้ราคาไม่ดีนัก แต่ด้วยที่การดูแลรักษาน้อยทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ

คุณสมเจต อธิบายว่า ตนเองมองว่า ส้มโอท่าข่อย ยังถือว่าเป็นส้มโอเกรดรองในตลาดบ้านเรา เข้าไปแข่งขันในตลาดยังไม่ได้ แม้มีความพยายามผลักดันให้เป็นที่รู้จัก มีการโปรโมทจัดงานก็ยังไปได้ไม่ดีเท่าที่ควร ยกตัวอย่าง ตั้งแต่สมัยก่อนพ่อค้าแม่ค้ารับไปขาย บอกว่าพันธุ์ท่าข่อยพิจิตร ปรากฏว่าไม่มีคนรู้จัก จนแม่ค้าต้องเปลี่ยนชื่อเป็นส้มโอพันธุ์ทองดีพิจิตร ทั้งที่ทรงผลไม่เหมือนกันเลย อย่างส้มโอท่าข่อยผลจะโตมาก ส้มโอทองดีผลจะมีขนาดเล็กทรงผลแป้น แต่สีส้มโอท่าข่อยสีออกแดงๆ แม่ค้าก็ต้องโกหกไปว่าดินที่จังหวัดพิจิตร อาจจะดีทำให้ผลส้มโอมีขนาดผลใหญ่

“ตอนแรกๆ ก็พอขายได้ แต่นานๆ ไป ก็ขายไม่ได้ เพราะคนซื้อก็เริ่มรู้ว่าเป็นส้มโอท่าข่อย แล้วส้มโอท่าข่อย ยังมีข้อจำกัดอีกหลายข้อ แม้จะรสหวานทานอร่อย แต่ต้องเก็บผลที่แก่จัดๆ เท่านั้น คือเก็บแก่ 90-100 เปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าทำสวนส้มท่าข่อยแปลงใหญ่ อาจจะตัดขายไม่ทันถ้ารอให้ส้มท่าข่อยแก่จัด ซึ่งความเป็นจริงต้องทยอยตัดได้ตั้งแต่ 70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป เหมือนส้มโอพันธุ์อื่นๆ ก็จะดีมากสำหรับชาวสวน โดยส้มโอพันธุ์อื่นๆ ก็สามารถทำได้ สามารถทยอยตัดได้ตั้งแต่ 70 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไปเรื่อยๆ จนแก่ เพราะยังไงก็ยังมีส้มโอพันธุ์อื่น ก็มีรสหวานนำอมเปรี้ยวเพียงเล็กน้อย ถือว่ากลมกล่อมถูกปากทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ”

คุณสมเจต บอกอีกว่า แต่ส้มโอท่าข่อยถ้าเก็บไม่แก่จริงๆ ก็จะได้รสหวานอมเปรี้ยวติดขม ซึ่งรับประทานไม่อร่อย เพราะมีรสขม ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวมันสั้นมากที่ชาวสวนมีเวลาจะต้องเก็บขาย ส้มโอท่าข่อยจึงมีข้อจำกัดโดยธรรมชาติของสายพันธุ์ เมื่อเทียบกับส้มโอสายพันธุ์อื่นก็จะด้อยกว่า เวลาแกะเนื้อขายเนื้อส้มโอท่าข่อยจะติดเปลือก แกะรับประทานยาก ไม่ล่อนแห้งเหมือนส้มโอพันธุ์อื่น ส้มโอท่าข่อยจึงไม่มีข้อที่เหนือกว่าเลยถ้าเทียบสายพันธุ์กัน ทำให้ปัญหาในการทำตลาด สร้างราคาส้มโอท่าข่อยจึงมีอุปสรรคมาโดยตลอด

เมื่อถามว่า ส้มโอท่าข่อย ส่งออกได้หรือไม่ คำตอบคือ ส่งออกได้ แต่ราคาก็ไม่จูงใจนักเมื่อเทียบกับส้มโอขาวแตงกวาหรือว่าทองดี การส่งออกจะส่งไปทางตลาดเวียดนามที่จะซื้อส้มโอท่าข่อยแก่ ไม่เน้นผิวพรรณเลย แต่รับซื้อในราคาถูก แต่ชาวสวนท่าข่อยก็อยู่ได้เพราะส้มโอท่าข่อยยังให้ผลผลิตต่อไร่ที่สูง ติดผลดก ผลมีขนาดใหญ่ ขายปลีกในท้องถิ่นหรือตลาดต่างจังหวัดได้ดีในระดับหนึ่ง คงเป็นแนวทางมุมมองตลาดของชาวสวนแต่ละท่าน เนื่องจากส้มโอแต่ละสายพันธุ์ก็มีข้อดี ข้อเสีย ต่างกัน เช่น

ส้มโอท่าข่อย ออกดอกติดผลง่าย ผลมีขนาดใหญ่ ดูแลง่าย แต่ราคาขายไม่สูงเหมือนสายพันธุ์อื่น

ส้มโอทองดี ติดผลง่าย ติดผลดก แต่บังคับออกดอกยาก ราคากลางๆ แต่ถ้าราคาตกเกรดจากการส่งออก ราคาก็ไม่ค่อยดีมากนัก ส้มขาวแตงกวา ออกดอกง่าย แต่ติดผลยาก อ่อนแอต่อโรคแคงเกอร์ แต่ราคาดีแม้ราคาตกเกรดหรือตัดขายตลาดในประเทศ ก็ยังดีกว่าส้มโอพันธุ์อื่นๆ ตอนนี้

ส้มโอที่นี่เกือบทั้งหมดส่งขายแม่ค้าที่คัดส่งออกจีนเป็นหลัก โดยการซื้อขายส้มโอจะวัดรอบวงผลส้มโอราว 17 นิ้ว ขึ้นไป เพื่อให้ผลส้มมีขนาดผลใกล้เคียงกัน เพราะการส่งออกจะต้องบรรจุกล่องไปขายอีกที

ส้มโอจากพิจิตร ทั้งส้มโอขาวแตงกวาและทองดี

เมื่อออกสู่ตลาด กลับมองว่าเป็นส้มโอจากแหล่งอื่น

คุณสมเจต เล่าว่า ความจริงแล้วกลับตรงกันข้ามคือ ปัจจุบันแหล่งที่มีชื่อเสียงจะมารับส้มโอจากจังหวัดพิจิตรเอาไปขายเสียมากกว่า แถมยังขายส้มโอได้ราคาสูงกว่า เหตุนี้คงเป็นเรื่องชื่อเสียงของจังหวัดนั้นๆ สร้างมา แต่ก็ต้องยอมรับว่าแม่ค้าต่างจังหวัดที่รับไปขายนั้น เขาจะคัดส้มโอที่มีคุณภาพมาก ส้มโอจะต้องแก่ ซึ่งจะทำให้ได้ส้มโอที่มีรสชาติดี ไม่ซื้อส้มโออ่อนไปขาย ซึ่งส้มโออ่อนแน่นอนย่อมมีรสชาติอมเปรี้ยว ส่งผลต่อการค้าขายในอนาคตของแม่ค้าเองด้วย

“สรุปว่า ส้มโอคุณภาพดีนั้นไม่ได้ขายในนามของจังหวัดพิจิตรเลย อีกอย่างที่ส้มโอพิจิตรไม่ค่อยดังเหมือนจังหวัดอื่น อาจจะเป็นเพราะส้มโอสวยๆ ถูกคัดส่งออก แต่ส้มโอที่เหลือค้างสวน เหลือจากการคัดก็จะเก็บขายถูกๆ ขายกันภายในจังหวัดพิจิตร แล้วก็ขายกันในราคาถูกๆ ทำให้คนซื้อไปก็ไม่ค่อยประทับใจ ปากต่อปากก็พูดออกไปว่า ส้มพิจิตรไม่ค่อยดีนัก ทำให้การทำตลาดก็มีอุปสรรค ไม่เหมือนที่อื่นที่เขาจะโปรโมทจนส้มโอของจังหวัดเขาโด่งดังเป็นที่รู้จัก คัดขายแต่ของดี ถ้าไม่ดีก็ส่งขายไปที่อื่น ไม่ขายในจังหวัดเขา เป็นต้น มันกลับตรงข้ามกัน จะโทษใครไม่ได้ ทุกคนมีส่วนหมด”

การผลิตส้มโอในปัจจุบันมีคุณภาพดี ผิวสวยขึ้นมาก

คุณสมเจต เล่าว่า ส่วนหนึ่งคือ เกษตรกรได้ปรับตัวเพื่อสร้างคุณภาพส้มโอของสวนตัวเองเพื่อผลิตป้อนตลาดส่งออกเป็นหลัก เนื่องจากราคาจูงใจ ราคารับซื้อสูงกว่าตลาดในประเทศมาก โดยมีหลักอยู่ว่า “การทำส้มโอส่งออกจะต้องผิวสวยมาเป็นอันดับแรก รสชาติเป็นอันดับสอง”

ตอนนี้ปลูกส้มโอขาวแตงกวาทั้งหมด ประมาณ 45 ไร่ เนื่องจากราคาดีที่สุดตลาดนิยมบริโภค แม้จะเจอช่วงราคาถูกหรือส้มโอผิวไม่สวย ตกเกรดส่งออกไม่ได้ ก็ยังสามารถขายในประเทศได้ดีในระดับที่เกษตรกรอยู่ได้ หรือในบางปีราคาส้มโอในประเทศไม่แตกต่างจากราคาส้มส่งออกด้วยซ้ำไป ก็เคยมีมา ราคาส้มโอขาวแตงกวาถือว่ายังดีกว่าพันธุ์อื่น ส้มโอยังเป็นผลไม้ที่สามารถสร้างรายได้หลักแสนถึงหลักล้านให้เกษตรกรชาวสวนได้ ตราบใดที่ผลไม้อย่าง ส้มโอ สามารถส่งออกไปขายต่างประเทศได้

หลุมพี เป็นไม้จัดอยู่ในวงศ์ปาล์ม มีลำต้นเตี้ย แตกหน่อเป็นกอใหญ่ มีหนามแหลมตามข้อคล้ายต้นสะละ พบขึ้นอยู่ตามพรุ มีน้ำขังแฉะ ต้องการร่มเงา ออกดอกเป็นช่อ ติดผลเป็นทะลาย ช่วงการออกดอกอยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนไปจนถึงเดือนกันยายน เก็บเกี่ยวผลสุกแก่ได้ในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมของปีถัดไป หรือหลังออกดอกแล้ว 18-20 เดือน ขึ้นไป

ทั้งนี้ แต่ละต้นในกอเมื่อออกดอกแล้วตาย ต้นอื่นๆ ในกอเดียวกันจะออกดอกหมุนเวียนกันไป พบมากที่จังหวัดตรัง เนื้อในรูปร่างคล้ายเนื้อผลของหวาย แต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีรสเปรี้ยวจัด ใช้ทดแทนมะนาวได้ในช่วงมะนาวมีราคาแพง แต่โดยปกตินิยมนำมาทำแกงส้มได้รสชาติดี สรรพคุณทางยา ใช้ขับเสมหะและรักษาอาการไอ

จำปูลิง กำไหร หรือ มะไฟลิง ก็เรียกกัน จำปูลิง เป็นไม้ป่าทางภาคใต้เช่นเดียวกับ หลุมพี พบขึ้นอยู่ตามที่ราบเชิงเขา ชอบดินร่วนปนทราย ผลคล้ายผลมะไฟหรือผลละไม แต่มีขนาดเล็กกว่า ผลเป็นเหลี่ยมเล็กน้อย เนื้อผลมีรสหวานอมเปรี้ยว จำปูลิง เป็นไม้ยืนต้น ขนาดใหญ่ มีความสูง 10-15 เมตร เปลือกของลำต้นหนา ผิวไม่เรียบ สีน้ำตาลอมเทา มียางเมื่อเกิดบาดแผล ใบเป็นใบเดี่ยว ขอบใบเรียบ ออกดอกเป็นช่อสีขาวอมเหลืองตามกิ่งก้าน

เนื้อผลรสชาติคล้ายมะไฟ มีรสเปรี้ยว กลิ่นหอม ใช้เป็นเครื่องปรุงแกงเลียงและแกงส้ม พบมากที่จังหวัดสตูลและสงขลา ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ไม้ทั้งสองมีจำนวนลดลง จึงควรมีการอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานได้ชื่นชม

ด้วยความผูกพันกับแปลงสับปะรดมาตั้งแต่เด็ก แม้ว่าคุณศราวุธ กองแก้ว ซึ่งเลือกเรียนทางวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในท้ายที่สุดของอาชีพก็ต้องหันกลับมาปลูกสับปะรดเป็นอาชีพหลักของครอบครัว ตามที่ครอบครัวเคยดำเนินอาชีพเกษตรกรปลูกสับปะรดมาก่อน

แต่ความแตกต่างในยุคที่พ่อและแม่เป็นเกษตรกร สับปะรดที่ปลูกเป็นสับปะรดโรงงาน ราคาถูกเพียงกิโลกรัมละ 50 สตางค์ เมื่อคุณศราวุธ กลับมารับหน้าที่ดูแลแปลงสับปะรดเอง จึงปรับปรุงแปลงสับปะรดใหม่ทั้งหมด เปลี่ยนเป็นพันธุ์ตราดสีทอง เพราะเห็นว่าตลาดต้องการ และราคาดี

คุณศราวุธ บอกว่า การปลูกสับปะรดอาจจะดูว่า เป็นการลงทุนมากกว่าพืชนิดอื่น แท้จริงหากมีการบริหารจัดการที่เหมาะสม จะพบว่า การดูแลสับปะรดไม่ใช่เรื่องยาก เมื่อเทียบกับผลไม้อื่น เช่น เงาะ ทะเรียน มังคุด ลองกอง เพราะสับปะรดทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศ โรคและแมลงศัตรูพืชก็น้อย ที่สำคัญสับปะรดเป็นพืชที่สามารถจัดการระยะการให้ผลผลิตได้ตามต้องการ

“พื้นที่ 1 ไร่ ผมสามารถปลูกสับปะรดได้ 5,000 ต้น ระยะห่างระหว่างแถว 1.20 เมตร เพื่อกำจัดวัชพืชในช่วงแรกที่สับปะรดยังเล็กได้ทั่วถึง” การปลูกสับปะรด แม้ว่าจะเป็นพืชที่ดูแลง่าย แต่คุณศราวุธ ก็ให้ความสำคัญกับทุกขั้นตอน

หลังไถพรวน ให้โรยขี้ไก่ไปตามร่องขนาดกำมือ จากนั้นลงปลูกหน่อ

30-45 วัน ใส่ปุ๋ยครั้งแรก สูตรใดก็ได้ แต่ให้ปุ๋ยตัวหน้าสูง

25 วันถัดมา ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 สูตรใดก็ได้ แต่ให้ปุ๋ยตัวหน้าสูง 25 วันถัดมาอีก ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 สูตรใดก็ได้ แต่ให้ปุ๋ยตัวหน้าสูง ตัวกลางต่ำ และตัวหลังสูง

และอีก 25 วันถัดมา ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 4 สูตรใดก็ได้ แต่ให้ปุ๋ยตัวหน้าสูง ตัวกลางต่ำ และตัวหลังสูง

ปริมาณการให้ปุ๋ยแต่ละครั้ง ควรให้ในปริมาณที่ไม่มากนัก

หลังลงปลูก 8 เดือน สับปะรดจะเริ่มติดผล จากนั้นอีก 4 เดือน เก็บผลผลิตส่งจำหน่ายได้ สับปะรดเป็นพืชที่ต้องการน้ำพอสมควร แต่ไม่มากเกินไป หากสภาพอากาศไม่แล้งมาก ก็ไม่จำเป็นต้องให้น้ำ การจัดการน้ำในแปลงสับปะรดตราดสีทองของคุณศราวุธ ทำโดยอาศัยน้ำจากธรรมชาติ (น้ำฝน) หากปีใดสภาพอากาศแล้งจัด คุณศราวุธจะให้น้ำจากการวางระบบน้ำหยดไว้ทั่วแปลง ซึ่งการให้น้ำระบบน้ำหยดจะผสมปุ๋ยไปทางน้ำพร้อมกัน เพื่อประหยัดแรงงาน

โรคและแมลง แม้ว่าจะพบน้อยในสับปะรด แต่การป้องกันเป็นวิธีที่ดีกว่าการรักษา คุณศราวุธ ป้องกันโรคและแมลงในแปลง โดยการกำจัดวัชพืชให้โล่งเตียน โดยเฉพาะการปลูกในปีแรกๆ ไม่ควรปล่อยให้แปลงรก เป็นบ่อเกิดของโรคและแมลง

ราคาสับปะรดตราดสีทอง ขึ้นอยู่กับไซซ์ ราคาขายปัจจุบัน (ปี 2560) อยู่ที่กิโลกรัมละ 14-15 บาท ซึ่งถือว่าราคายังดีอยู่ แม้ว่าปีที่ผ่านมาราคาสับปะรดตราดสีทองจะพุ่งขึ้นไปสูงถึงกิโลกรัมละ 25 บาทก็ตาม

“การวางแผนเรื่องการปลูก ถือเป็นการจัดการภายในแปลงที่ดี เพราะทำให้มีผลผลิตทยอยขายได้อย่างต่อเนื่อง สามารถเก็บขายได้ตลอดปี สำหรับผมปลูกสับปะรดตราดสีทอง ทั้งหมด 70 ไร่ ควบคุมการปลูกให้ได้ผลผลิตเก็บขายทุกสัปดาห์ สับดาห์ละ 20 ตัน ส่งให้กับห้างค้าปลีกหลายแห่ง และตลาดใหญ่ทั่วภูมิภาคของไทย”

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณศราวุธ กองแก้ว บ้านเขามะพูด ตำบลทุ่งนนทรี อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด โทรศัพท์ 081-5208475 “ผู้ใหญ่อี๊ด – อนันต์ อินทร” หนุ่มใหญ่ร่างบาง ผิวคล้ำ พูดจาสุขุม เกษตรกรยุคใหม่ที่ใช้หลักทฤษฎีเกษตรพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาพัฒนาบ้านเกิดจากนักกฎหมายผันตัวเองเป็นเกษตรกร เจ้าของไร่ธันยจิราพร ไร่อ้อยที่ใหญ่สุดในนครสรรค์ ส่งต่อผลผลิตสู่กลุ่มโรงงานน้ำตาลมิตรผล “การทำอะไรก็ตาม อย่างแรกเราต้องมีใจรักก่อน แล้วมาศึกษา พร้อมกับวางแผน

ซึ่งการทำงานของผมจะน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง (ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี) 2 เงื่อนไข (ความรู้และคุณธรรม) ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้กับงานและการดำเนินชีวิตในประจำวัน” ผู้ใหญ่อี๊ด เล่าให้เราฟังว่าหลังจากจบการศึกษาระดับม. 6 แล้วเรียนต่อในด้านกฎหมาย จากนั้นหันมาทำไร่อ้อย เริ่มต้นลงมือทำเองทุกอย่าง โดยนำหลักต่างๆ มาประยุกต์ใช้ เน้นการคิดต่าง ผู้ใหญ่อี๊ดเล่าเพิ่มเติมว่าเริ่มทำไร่อ้อยตั้งแต่ปี 2529 จนถึงตอนนี้อายุ 49 ปีแล้ว ปัจจุบันมีไร่อ้อยที่เป็นของตัวเอง 400 ไร่ และมีลูกไร่อีก 3,000 กว่าไร่

การทำไร่อ้อย มีกระบวนการทำอย่างไรบ้าง?

-สิ่งแรกคือเราต้องรู้เกี่ยวกับระบบดินก่อน เว็บแทงบอลออนไลน์ แล้วนำเอาเรื่องของวิชาการเข้ามาปรับใช้ โดยการนำดินไปตรวจ เพื่อดูว่าขาดแร่ธาตุอะไรบ้าง และนำมาปรับปรุง เมื่อได้ดินที่ดีแล้วเราก็มาศึกษาพันธุ์อ้อย ดูว่าพันธุ์ไหนที่เหมาะกับสภาพดินของไร่เราด้วยการทดลองปลูก เมื่อได้อ้อยที่เหมาะกับสภาพดินแล้ว จึงเริ่มเลี้ยงดูโดยการใส่ปุ๋ย รดน้ำ ตามกระบวนการ ซึ่งการปลูกอ้อยครั้งหนึ่งจะอยู่ได้ประมาณ 4-5 ปี เพราะเวลาตัดจะเหลือตอไว้ เพื่อให้แตกหน่อต่อ และเราก็จะตัดได้อีกประมาณ 3 ครั้ง ซึ่งปัจจัยหลักในการปลูกอ้อยคือน้ำครับ

การปลูกอ้อยใช้เวลานานเท่าไหร่ แล้วปลูกช่วงไหนบ้าง? -การปลูกอ้อยใช้เวลาปลูกประมาณ 12 เดือน เพื่อให้ได้ความหวานหรือน้ำตาลเยอะๆ โดยส่วนใหญ่จะเริ่มปลูกช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม เรียกว่าอ้อยปลายฝน เพราะถ้าเราปลูกอ้อยในช่วงนี้จะช่วยลดเรื่องต้นทุนในเรื่องของน้ำได้ระดับหนึ่ง หากเริ่มปลูกช่วงเดือนมกราคม เรียกว่า อ้อยราดน้ำ คือรอน้ำ และช่วงเดือนพฤษภาคม เรียกว่า อ้อยต้นฝน ซึ่งผลผลิตอ้อยต่อไร่ ราว 20 ตัน ทั้งหมด 400 ไร่ ราว 8,000 ตัน อ้อยทั้งหมดขายในตันละ 1,300 บาท ขายปีละ 1 ครั้ง รายได้เฉลี่ยเกือบ 10 ล้านบาท ถ้าถามถึงเรื่องต้นทุนในการทำไร่อ้อยจะตกอยู่ที่ไร่ล่ะ 10,000 บาท โดยประมาณ

พันธุ์อ้อยที่ใช้ในไร่ของคุณอี๊ด?

-พันธุ์อ้อยที่ใช้ในไร่ของเรานั้น เป็นพันธุ์ขอนแก่น 3 และ KPK 98-51 ต้องอธิบายก่อนว่า กว่าจะได้พันธุ์อ้อยมาแต่ละพันธุ์นั้นไม่ง่ายเลย เพราะต้องใช้เวลาวิจัยถึง 12 ปี ซึ่งใน 12 ปีนี้จะมีการทดลองปลูกประมาณ 4 ครั้ง กว่าจะปล่อยพันธุ์อ้อยออกมาให้ชาวไร่ได้ปลูกก็จะอยู่ในช่วงปีที่ 7-8 ครับ