สหกรณ์ได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวเหนียวหอมนาคาจากไบโอเทค

สวทช. กว่า 400 กิโลกรัม มาปลูกในพื้นที่อำเภอห้างฉัตร รวมจำนวนกว่า 58 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่ของสหกรณ์ห้างฉัตรฯ 8 ไร่ และกลุ่มเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ รวม 50 ไร่ โดยผลผลิตที่เก็บเกี่ยวในฤดูกาลแรกคาดว่าจะได้เป็นเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี 10-15 ตัน เพื่อปลูกในฤดูถัดไป และข้าวเปลือก 20-25 ตัน

“ข้าวเหนียวหอมนาคามีลักษณะเด่นของพันธุ์คือ ลำต้นเตี้ยแข็งแรง ไม่หักล้มง่าย ทำให้เก็บเกี่ยวได้ง่ายขึ้น ลดค่าแรงคนในการเก็บเกี่ยว และปลูกได้ 2 ครั้ง ต่อปี ทนต่อโรคได้ดี ที่สำคัญจากการทดลองนำข้าวเหนียวพันธุ์หอมนาคาที่เก็บเกี่ยวได้จากแปลงทดลองมาลองหุงกิน ยืนยันได้ถึงคุณภาพของข้าว เพราะหุงสุกแล้วมีความนุ่มหอมไม่ต่างจากพันธุ์ กข 6 ที่มีจุดเด่นเรื่องความหอมและนุ่มนาน”

คุณธีรภัทร์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีเกษตรกรในพื้นที่ให้ความสนใจสอบถามถึงพันธุ์ข้าวหอมนาคาจำนวนมาก เพราะเห็นถึงลักษณะเด่นของพันธุ์ข้าวที่มีลำต้นเตี้ย ไม่หักล้มง่าย และผลผลิตต่อไร่ค่อนข้างดี ทำให้สหกรณ์เตรียมวางแผนขยายผล โดยจะถ่ายทอดให้ความรู้เกษตรกรในพื้นที่ตั้งแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับถ่ายทอดการผลิตจากทีมวิจัย สวทช. และเครือข่าย เพื่อกระจายเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกรที่สนใจนำพันธุ์ข้าวเหนียวหอมนาคาไปปลูก เมื่อได้ผลผลิตแล้ว มีแผนวางจำหน่ายข้าวสารบรรจุถุง โดยเกษตรกรที่เป็นสมาชิกจำนวนหนึ่งสามารถนำข้าวมาสีที่โรงสีของสหกรณ์เพื่อจำหน่ายได้เลย โดยในเบื้องต้นวางจำหน่ายข้าวเปลือกราคา 30 บาท ต่อกิโลกรัม และข้าวสาร 35 บาท ต่อกิโลกรัม ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ สหกรณ์การเกษตรห้างฉัตร จำกัด โทร. (054) 269-062-3

ทุ่งกุลาร้องไห้ มีดินแดนกว้างใหญ่ไพศาล 2.1 ล้านไร่ ใน 5 จังหวัด คือ จังหวัดยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ มหาสารคาม และจังหวัดร้อยเอ็ด

จังหวัดร้อยเอ็ด ทุ่งกุลราร้องไห้อยู่ในพื้นที่ อำเภอปทุมรัตต์ เกษตรวิสัย สุวรรณภูมิ และอำเภอโพนทราย รวมพื้นที่ 9.7 แสนไร่ คุณอุทัย และ คุณสมคิด สาวแก้ว สามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 118 ม.7 บ้านทุ่งทรายทอง ต.ทุ่งหลวง อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด 45130 ประสบความสำเร็จในโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่

ทีมงานจากสำนักงานเกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ เดินทางผ่านทุ่งนาที่เวิ้งว้าง กว้างใหญ่ไพศาล น้ำมันรถยนต์เต็มถัง เครื่องยนต์ดี ยางดี หมู่บ้านอยู่ห่างไกลกันมาก เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ มี คุณหลวงเกตุ บุญอรัญ เป็น ผญบ. เจ้าของบ้านให้การต้อนรับดีมากๆ พร้อมบอกว่าตนเองทำนาปีละครั้ง นาข้าว 100 ไร่ เป็นพื้นที่ ส.ป.ก. 4-01 นาอาศัยน้ำฝนเพียงอย่างเดียว ฤดูแล้งดินเค็มส่าเกลือระเหิดจากใต้พื้นพสุธา ต้นไม้ที่ขึ้นได้ดีคือ ต้นยูคาลิปตัส

ตนเองเป็นสายเลือดของ “ทุ่งกุลาร้องไห้” น้อมนำโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ สู่พื้นที่นาข้าวหลังบ้านพัก 3 ไร่ โดยการส่งเสริมของ คุณวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเภอสุวรรณภูมิ กรมส่งเสริมการเกษตร โดยการขุดบ่อ ขนาด 1 ไร่ ลึก 3-4 เมตร สร้างเรือนนอนพักผ่อน 1 หลัง กระชังเลี้ยงกบ ขนาด 1,000 ตัว โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ ขนาด 20 ตัว ไข่ได้ วันละ 15-17 ฟอง โรงเรือนไก่เนื้อ 50-100 ตัว ทำบนบ่อเลี้ยงปลา เพราะได้อยู่อย่างเกื้อกูล อาหารร่วงหล่นลงน้ำ มูลไก่ ปลากินเป็นอาหาร

ปลาที่เลี้ยง มีปลานิล ปลาไน ปลาตะเพียน 15,000 ตัว เจริญเติบโตดีมากๆ ขนาด 1-2 ตัว ต่อกิโลกรัม รอบสระน้ำปลูกไม้ผล มะม่วง ฝรั่ง ชมพู่ จำนวน 30-40 ตัน มะนาวในวงบ่อ 30 ต้น

คุณอุทัย แบ่งพื้นที่ทำโรงเรือนเลี้ยงโคขุน จำนวน 23 ตัว เก็บฟางข้าวไว้เลี้ยงวัว ได้ปุ๋ยคอก อยู่อย่างเกื้อกูลจริงๆ ที่ลุ่มหลังสวนปลูกพืชผักสวนครัว ผักกาดขาวปลี เขียวปลี คะน้า กวางตุ้ง หอม ข่า ตะไคร้ แซมด้วยมะละกอ

พื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ แห้งแล้ง มองไกลมีสีเขียวที่หลังบ้านคุณอุทัยเท่านั้น เป็นแหล่งอาหารของครอบครัว เกิดรายได้รายวัน จากการขายผัก ขายไข่ไก่ ไก่เนื้อ ขายปลา ขายกบ วันละ 200-300 บาท รายได้รายปี ขายข้าว ปีละ 1 ครั้ง กว่า 500,000 บาท ขายวัว 120,000 บาท มูลวัวเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดีของนาข้าว ขายได้ไม่น้อย

คุณอุทัย มีความสุขอย่างมาก ลูกสาว ลูกชาย กลับมาบ้าน นอนพักที่ศาลากลางน้ำ เป็นชีวิตชาวทุ่งกุลาสดใส แล้ววันนี้ ทางด้าน คุณเสน่ห์ รัตนาภรณ์ เกษตรจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่า อำเภอสุวรรณภูมิมี 15 ตำบล 199 หมู่บ้าน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ต้องปฏิบัติการเชิงรุก ร่วมกับอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบ.กต.) ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) แปลงใหญ่ เรื่องข้าว คือลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพ การบริหารจัดการ และด้านการตลาด การผลิต “ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ” นักส่งเสริมการเกษตร มืออาชีพต้องทำได้

หน่อไม้ฝรั่ง เป็นพืชผักสำคัญของประเทศไทย ผลผลิตที่มีคุณภาพดีส่วนใหญ่ถูกส่งไปจำหน่ายยังต่างประเทศและมีปริมาณความต้องการเพิ่มมากขึ้นทุกปี ตลาดการค้าหน่อไม้ฝรั่งมีทิศทางแนวโน้มดีตลอดมา ประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยคือ ไต้หวันและญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจดี ประชากรมีคุณภาพชีวิตดี ทำให้มีความต้องการผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งที่มีมาตรฐานสูงจากประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น ไทยเราจึงมีความจำเป็นต้องยกระดับมาตรฐานผลผลิตทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ รวมทั้งพยายามบริหารจัดการให้มีผลผลิตสม่ำเสมอตลอดทั้งปี เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของตลาดการค้าโลก

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่งมากกว่า 10,000 ไร่ ในแต่ละปีสามารถผลิตผลผลิตได้มากกว่า 20,000 ตัน ผลผลิตแบ่งแยกตามคุณภาพหน่อออกได้เป็นหลายเกรด ซึ่งแต่ละเกรดมีราคารับซื้อแตกต่างกัน เกรด A มีราคารับซื้อสูงสุดและเป็นเกรดที่ประเทศคู่ค้ามีความต้องการมาก เกรด B และ C มีราคารับซื้อลดหลั่นกันลงมา เกรดสุดท้ายคือกลุ่มตกเกรดที่มีราคารับซื้อต่ำสุด

การทำการเกษตรจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับคำว่า มาตรฐานผลผลิต ซึ่งเกี่ยวข้องทั้งเรื่องคุณภาพและปริมาณธุรกิจการค้ามีการแข่งขันสูง คนรวยต้องการบริโภคสินค้าหรืออาหารคุณภาพดี สินค้าคุณภาพต่ำสินค้าตกเกรดจะถูกคัดทิ้งไม่มีใครต้องการ

หน่อไม้ฝรั่งก็เช่นกันหากเกษตรกรต้องการให้ผลผลิตมีมาตรฐานดีเป็นที่ต้องการของตลาดก็จำเป็นต้องคํานึงถึงปัจจัยสําคัญ 2 ปัจจัย ดังต่อไปนี้ 1. ปัจจัยทางพันธุกรรม ต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่มีพันธุกรรมดีก็จะถ่ายทอดลักษณะที่ดีส่งต่อไปยังรุ่นลูก เช่น เป็นต้นพันธุ์ที่ให้หน่อเกรด A มาก หน่อตกเกรดน้อย เมื่อได้รับการปลูกและดูแลดี ผลผลิตก็ควรจะมีหน่อเกรด A มากหน่อตกเกรดน้อยด้วยเช่นกัน

2. ปัจจัยสภาพแวดล้อม ผู้เขียนขอรวมทุกๆ สิ่งที่นอกเหนือจากเรื่องของพันธุกรรมไว้ในหัวข้อนี้ ได้แก่ การจัดการสภาพแสง อุณหภูมิ ความชื้นการเลือกพื้นที่และการเตรียมพื้นที่ปลูก การปลูกและการดูแลรักษา การเก็บผลผลิตและการขนส่ง เหล่านี้เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องทำให้ผลผลิตมีมาตรฐานสูงเป็นที่ต้องการของตลาด

การจัดการทั้งสองปัจจัยและบริหารจัดการได้อย่างถูกต้องเหมาะสม จะส่งผลส่งเสริมให้ผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งมีมาตรฐานสูงเป็นที่ต้องการของตลาดการค้า และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มสูงขึ้นด้วย หน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชอายุยืนมีการขยายพันธุ์โดยเมล็ด การเลือกเมล็ดมาใช้สำหรับผลิตเป็นต้นพันธุ์ในแปลงปลูกจึงมีความสำคัญ โดยพอสรุปถึงแหล่งที่มาของเมล็ดได้ดังนี้

2.1 เมล็ดจากธรรมชาติ เมล็ดพันธุ์กลุ่มนี้เกิดจากการผสมพันธุ์โดยแมลงหรือลมพัดเอาละอองเกสรตัวผู้จากต้นหรือแปลงข้างเคียงมาผสมพันธุ์ เกิดเป็นเมล็ดพันธุ์ที่ไม่มีคุณภาพ ส่วนใหญ่ให้ผลผลิตต่ำ เจริญเติบโตช้า เป็นเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ควรนำมาใช้ขยายพันธุ์

2.2 เมล็ดพันธุ์ลูกผสม เป็นเมล็ดพันธุ์ที่เกิดจากการผสมพันธุ์โดยต้นพ่อแม่ที่ถูกคัดเลือกนํามาจับคู่ผสมพันธุ์ เกิดเป็นเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพและควบคุมระบบผลิตโดยนักวิชาการทางด้านการปรับปรุงพันธุ์ จึงเหมาะสมต่อการนำมาใช้ผลิตเป็นต้นพันธุ์ในแปลงหน่อไม้ฝรั่งเพื่อการค้า
ยังมีต้นพันธุ์อีกชนิดหนึ่งคือ ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา

ประเทศไทยเราได้เริ่มมีการผลิตต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อขึ้นอีกวิธีการหนึ่ง ในระยะเริ่มแรกมีหน่วยงานวิชาการคือ กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้ดำเนินการผลิต โดยรับการถ่ายทอดความรู้มาจากภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หน่อไม้ฝรั่งรุ่นแรกถูกนำไปปลูกเปรียบเทียบกับต้นพันธุ์ที่เพาะมาจากเมล็ดธรรมชาติ เพื่อเป็นการศึกษาเรียนรู้ลักษณะการเจริญเติบโต การให้ผลผลิตหรือลักษณะการต้านทานโรค ผลจากการปลูกในครั้งนั้น พอสรุปได้ว่า เกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่งให้การยอมรับต้นพันธุ์ที่ผลิตโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อแนวทางส่งเสริมการใช้ต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งเพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานการผลิตของประเทศให้เพิ่มสูงขึ้น

ผู้เขียนได้ขอให้เกษตรกรผู้มีประสบการณ์การปลูกหน่อไม้ฝรั่งมานานนับ 10 ปี คือ คุณโสภณ อารยธรรม จาก จังหวัดราชบุรี ช่วยให้ข้อมูลด้านผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งที่เกิดจากต้นพันธุ์เมล็ดธรรมชาติและจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ พอสรุปได้ดังนี้

1. ต้นพันธุ์จากเมล็ดธรรมชาติ ต้นพันธุ์กลุ่มนี้เกิดจากเมล็ดที่ผสมพันธุ์ตามธรรมชาติ ดังนั้น ทุกต้นจะมีพันธุกรรมแตกต่างกัน ให้ผลผลิตแตกต่างกันทุกต้น หากลองแยกผลผลิตตามคุณภาพหน่อ แบ่งเป็นเกรด 3 กลุ่ม และลองคํานวณเป็นเปอร์เซ็นต์ของแต่ละกลุ่ม พอสรุปได้ดังนี้

1.1 กลุ่มหน่อเกรด A มีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์

1.2 กลุ่มหน่อเกรด B และ C มีประมาณ 50%

1.3 กลุ่มหน่อตกเกรด มีประมาณ 30%

2. ต้นพันธุ์จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ต้นพันธุ์กลุ่มนี้เกิดจากแม่พันธุ์ต้นเดียวกันมีพันธุกรรมเหมือนกันทุกต้นการให้ผลผลิตสม่ำเสมอใกล้เคียงกันหากลองแยกผลผลิตตามคุณภาพหน่อเเบ่งเป็นเกรด 3 กลุ่ม และลองคํานวณเป็นเปอร์เซ็นต์ของแต่ละกลุ่ม พอสรุปได้ดังนี้

2.1 กลุ่มหน่อเกรด A มีประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์

2.2 กลุ่มหน่อเกรด B และ C มีประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์

2.3 กลุ่มหน่อตกเกรด มีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์

ข้อมูลดังกล่าวมีความสำคัญต่อแนวทางการยกระดับมาตรฐานระบบการผลิตหน่อไม้ฝรั่งของประเทศไทย ทำให้มองเห็นได้ว่าการปลูกและการดูแลรักษาหน่อไม้ฝรั่งที่ถูกต้องเหมาะสมควรดำเนินการต่อไปในลักษณะใด มีสิ่งใดควรปรับปรุงแก้ไข ต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่ผลิตโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นงานทางวิทยาศาสตร์ ต้องอาศัยความรู้ประสบการณ์หลายด้านมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ขั้นตอนและวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อหน่อไม้ฝรั่ง

1. การคัดเลือกต้นพันธุ์ดี ต้นพันธุ์ดีมีอยู่ในธรรมชาติในแปลงปลูกของเกษตรกรจำเป็นต้องค้นหาและคัดเลือกอย่างมีขั้นตอน ต้องทำด้วยความละเอียดรอบคอบ เนื่องจากต้นพันธุ์ที่ถูกคัดเลือกนี้จะทําหน้าที่ถ่ายทอดพันธุกรรมดีไปสู่ต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งรุ่นต่อไปอีกนับแสนนับล้านต้น ดังนั้น หากการคัดเลือกทําได้ไม่ดีพอ ต้นพันธุ์รุ่นลูกที่ผลิตตามออกมาก็จะมีลักษณะที่ไม่ดีพอเช่นกัน

2. การฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ เราใช้ส่วนตาของหน่อไม้ฝรั่งเป็นชิ้นส่วนขยายพันธุ์ ตา ติดอยู่ด้านข้างของหน่ออ่อนของหน่อไม้ฝรั่ง นําตามาฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในสารละลายโซเดียมไฮโปคลอไรด์ (คลอร็อกซ์) ความเข้มข้นประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นเวลานานประมาณ 10 นาที แล้วล้างด้วยน้ำกลั่นที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว จำนวน 3 ครั้ง ชิ้นส่วนตาเหล่านั้นจะถูกนำไปวางบนผิวอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ สูตรเพิ่มปริมาณต่อไป

3. การเพิ่มปริมาณ ชิ้นส่วน ตา ที่ผ่านการฟอกฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แล้วสามารถเกิดยอดใหม่จำนวนมากได้ประมาณ 3-4 เท่า ทุกๆ รอบการเปลี่ยนอาหาร 1 ครั้ง (30 วัน) อาหารสูตรเพิ่มปริมาณที่นิยมใช้คือ อาหารสูตร Murashige และ Skoog (1962) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในกลุ่มไซโตไคนิน (cytokinin) โดยใช้สารตัวที่ชื่อว่าไคเนติน (kinetin) ที่มีอิทธิพลช่วยในการแบ่งเซลล์และชักนำให้เกิดยอดจำนวนมาก

4. การชักนำให้เกิดราก เมื่อเพาะเลี้ยงและเปลี่ยนอาหารจนได้จำนวนต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งเพียงพอต่อความต้องการ ผู้เพาะเลี้ยงจะนำต้นพันธุ์เหล่านั้นมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตรชักนำให้เกิดราก โดยใช้อาหารสูตร Murashige และ Skoog (1962) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในกลุ่มออกซิน (auxin) โดยใช้สารตัวที่ชื่อว่า เอ็นเอเอ (NAA) สารตัวนี้มีอิทธิพลชักนำให้ต้นหน่อไม้ฝรั่งเกิดรากที่สมบูรณ์ จากนั้นจึงนำไปอนุบาลต่อไป

5. การอนุบาล ต้นพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งที่เกิดรากสมบูรณ์สามารถนำมาอนุบาลโดยล้างวุ้นที่ติดมากับระบบรากออกจากนั้นจึงแช่ในสารป้องกันเชื้อราและนำไปอนุบาลในวัสดุ เช่น ทรายผสมขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1 ต่อ 1 ควบคุมสภาพแสง อุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมเป็นเวลานานประมาณ 45 วัน จึงย้ายไปปลูกลงในถุงเพาะชำและดูแลต่อไปอีกเป็นเวลาประมาณ 60 วัน จึงจะนำไปปลูกในสภาพธรรมชาติได้ต่อไป

หน่อไม้ฝรั่ง เป็นพืชผักที่มีอนาคตทางการตลาดดี มีตลาดต่างประเทศรองรับและยังมีความต้องการผลผลิตอีกเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ภาคการเกษตรไทยก็ยังสามารถปรับปรุงยกระดับมาตรฐานผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งให้เพิ่มสูงขึ้นได้อีกมาก โดยเฉพาะการหาแนวทางปรับสัดส่วนปริมาณผลผลิตหน่อเกรด A หรือเกรดพรีเมี่ยมให้เพิ่มมากขึ้น

ขณะเดียวกันก็หาวิธีลดปริมาณหน่อตกเกรดให้มีน้อยลง ซึ่งอาจทําได้โดยการสนับสนุนให้มีการใช้เมล็ดพันธุ์หน่อไม้ฝรั่งลูกผสมหรือการใช้ต้นพันธุ์ที่ผลิตจากวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทดแทนการใช้ต้นพันธุ์ที่เพาะจากเมล็ดธรรมชาติ ร่วมกับการให้ความรู้เรื่องการปลูกและดูแลรักษาหน่อไม้ฝรั่งอย่างถูกต้องเหมาะสม ก็จะเป็นการผสมผสาน 2 ปัจจัยสำคัญ คือ ปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อม ให้เป็นประโยชน์ต่อระบบการผลิต

ผลที่ได้รับก็คือ มาตรฐานผลผลิตหน่อไม้ฝรั่งในภาพรวมของประเทศจะเพิ่มสูงขึ้นอีก ทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกหน่อไม้ฝรั่งรายอื่นๆ การปลูกหน่อไม้ฝรั่งก็จะเป็นอาชีพการเกษตรที่มั่นคงอีกอาชีพหนึ่งของเกษตรกรไทย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 086-084-6362 FB:Woranut Senivongs Na Ayuthaya

ทุเรียนหมอนทองเกรดพรีเมี่ยม แห่งตำนานลุ่มน้ำกลาย อยู่ในเนื้อที่ 35 ไร่ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นสวนทุเรียนที่ตกทอดมายาวนานจากรุ่นสู่รุ่น ที่ดินแดนอันชุ่มฉ่ำไปด้วยพืชพรรณที่อุดมสมบูรณ์ โดยมี อาจารย์สุชาติ ไชยเดช พร้อมด้วย คุณสายพิณ ไชยเดช ภรรยาได้สืบทอดมาจากรุ่นแม่ ในปัจจุบันมี คุณกิติชัย ไชยเดช บุตรชาย และ คุณไพลิน ไชยเดช บุตรสาว ได้หันมาช่วยกันดำเนินธุรกิจการเกษตรสวนทุเรียนหมอนทองในรูปแบบทันยุคทันสมัย โดยมีการพัฒนารูปแบบการขายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ปัจจุบัน อาจารย์สุชาติ ไชยเดช รับราชการเป็นอาจารย์ผู้สอนหนังสือที่โรงเรียนศรีธรรมราชศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช จบการศึกษาจากคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้นำหลักการผลิตทางวิชาการผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยความรัก ศรัทธาในอาชีพเกษตรกรรม จึงเป็นแรงบันดาลใจให้มีการผลิตทุเรียนพันธุ์หมอนทอง จากประสบการณ์การผลิต ทุเรียนคุณภาพส่งออกมากกว่า 10 ปี จึงมีความคิดตกผลึกและประสบการณ์ เพื่อให้คนไทยได้บริโภคทุเรียนคุณภาพจากสวนที่ได้รับมาตรฐาน GAP และให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่ดี มีคุณภาพ ทั้งรสชาติ ความสุก ความอร่อย ตามสายพันธุ์หมอนทองแท้ๆ จนในปี พ.ศ. 2562 ได้รับรางวัล จากคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง “สาขาการผลิตทุเรียน เพื่อการส่งออก” จาก ฯพณฯ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ประธานองคมนตรี

คุณกิติชัย ไชยเดช กล่าวว่า “ผมเป็นลูกชายคนโตของคุณพ่อ ปัจจุบันผมทำงานรับราชการอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี ในช่วงวันหยุดผมก็จะกลับมาช่วยคุณพ่อและคุณแม่ดูแลสวนทุเรียนอยู่ตลอด จนมีการเก็บเกี่ยว และส่งออก ซึ่งน้องสาวจะเป็นคนคอยช่วยในเรื่องการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในอดีตผมโตมากับสวนทุเรียน ผมมีความรักความผูกพันเป็นอย่างมาก ซึ่งในอนาคต ผมเองก็มีแนวคิดที่จะพัฒนาสวนทุเรียนหมอนทองแห่งนี้ให้เป็น ‘คาเฟ่ทุเรียน’ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นการต่อยอดที่คุณพ่อได้สร้างไว้ ซึ่งสวนทุเรียนหมอนทองที่นี่ จะเป็นทุเรียนนอกฤดู จึงต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้ผลผลิตทุเรียนหมอนทองออกมาอย่างมีคุณภาพ

คุณกิติชัย เปิดเผยว่า สำหรับเทคนิคการผลิตทุเรียนนอกฤดู (ทุเรียนทะวาย) สวนทุเรียนคลองคอกช้าง หลังจากการปลูกต้นกล้า รักษาดูแลตามขั้นตอน เสียบยอดด้วยพันธุ์หมอนทอง ดูแลรักษาต่อเนื่อง จนต้นทุเรียนได้ขนาดที่เหมาะสมในการทำให้ออกนอกฤดู คือ มีอายุ 2,190 วัน หรืออายุ 6 ปีเต็ม จากการดูแลอย่างดี การให้ปุ๋ย ให้น้ำ กำจัดวัชพืช ศัตรูพืช ที่เกิดกับทุเรียนในรูปแบบต่างๆ ขนาดของลำต้นที่สวนนี้เลือกใช้สารบังคับยับยั้งการแตกยอดคือที่มีขนาดเส้นรอบวงของลำต้น 50 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดิน 150 เซนติเมตร ทางสวนคลองคอกช้างเห็นว่ามีความเหมาะสม ทั้งขนาด ลำต้น อายุของต้นทุเรียน ตลอดจนใช้ภูมิปัญญาเชิงวิชาการและประสบการณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

1. สำรวจความสมบูรณ์ของต้นทุเรียน สัมผัสโดยภาพรวมตั้งแต่ระบบความเจริญเติบโต ระบบราก ลำต้น กิ่ง ใบ ตามประสบการณ์
2. การเลือกฉีดสารบังคับยอด เมื่อคัดเลือกต้นทุเรียนที่มีความสมบูรณ์ จึงได้ทำเครื่องหมาย รหัสต้น รหัสแถว เพื่อดำเนินการขั้นต่อไป
3. เมื่อได้ต้นทุเรียนที่จะฉีดสารยับยั้งยอดแล้ว ขั้นต่อไปคือ การเตรียมสารเคมีภัณฑ์ เพื่อฉีดพ่นทางใบ ในสวนนี้ฉีดพ่นสารทางใบในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม (ต้องดูสภาพความพร้อมของต้นทุเรียนก่อน) เนื่องจากถ้าอากาศ อุณหภูมิ ความชื้น ปัจจัยอื่นๆ เหมาะสม ประมาณปลายเดือนมิถุนายนก็จะเห็นดอกทุเรียน ทำให้ได้ลุ้นกันว่าหลังจากมีดอกแล้วจะดำเนินการขั้นต่อไป

4. เมื่อทุเรียนเริ่มออกดอกระยะไข่ปลา ระยะมะเขือพวง สมัครเว็บคาสิโน ระยะบานดอก ไปจนถึงระยะหางแย้ ระยะนี้ต้องดูแลเป็นอย่างดี หากดูแลไม่ดี ดอกหลุดร่วง มีเชื้อรา ปัจจัยอื่นๆ ทำความเสียหาย โอกาสได้ผลผลิตก็หลุดลอยไปทันที ดังนั้น จากประสบการณ์ ในสวนนี้เลือกลงสารแบบฉบับลงฉีดสารครั้งเดียว สามารถบังคับการแตกยอดอ่อนได้ในเฉียบพลัน แต่ถ้ามีฝนตก มรสุมเข้า ทำให้ทุเรียนแตกยอดใหม่ จำเป็นต้องฉีดสารแบบโฉบเพื่อยับยั้งการแตกยอด หรือกิ่งที่แตกยอดไปแล้วทำให้แก่เร็วทุเรียนก็ออกดอกได้
5. หลังจากดอกบานจนอายุ 30 วัน เป็นช่วงที่ละเอียดอ่อนมาก เพราะทุเรียนมีผลอ่อน มีการหลุดร่วงของผลมาก เนื่องจากผลทุเรียนมีมากเกินไป หรือทุเรียนมีการแตกใบอ่อน ฝนตกมาก ดูแลไม่ถูกต้อง ต้องจัดการเรื่องน้ำ การแต่งดอก แต่งผลอ่อน ต้องฉีดพ่นสารที่จำเป็นในระยะนี้

6. ผลทุเรียนมีอายุมากกว่า 30 วัน ต้องให้สารบำรุงที่เพียงพอและเหมาะสม เพื่อต้องการพัฒนาให้ทรงผลสวย หากผลทรงไม่สวย เปลือกจะหนา หนามใหญ่ หนามเตี้ย ก็ต้องปรับสภาพให้ปุ๋ยหรือสารเคมีภัณฑ์ที่ถูกต้องสมดุล
7. การทำสีเนื้อทุเรียน ในช่วงที่มีการเจริญเติบโต ต้องไม่เร่งให้ไนโตรเจน เพราะทำให้หนามใหญ่ เปลือกหนา เนื้อน้อย เป็นเทคนิคจากผู้ชำนาญการที่หมั่นสังเกต
8. หลังจากผลทุเรียนมีอายุ 60-70 วัน หลังดอกทุเรียนบาน จะมีผลขยายใหญ่ขึ้นมาก ระยะนี้ต้องฉีดบำรุงขยายผล ขยายพู สร้างเนื้อทุเรียน ต้องเติมด้วยสารป้องกันรา หนอน และศัตรูของทุเรียน ทั้งใบ ยอด และผลทุเรียน

9. ระยะผลทุเรียนมีอายุ 100 วัน เป็นระยะแห่งความสุข ความภูมิใจของชาวสวน เพราะในระยะผล 100 วันนี้ เป็นระยะที่จำหน่ายได้แล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ปริมาณฝน ดินฟ้าอากาศ การดูแล อื่นๆ ประกอบกัน และ
10. ความภูมิใจของสวนคลองคอกช้างที่ได้ผลผลิตทุเรียนคุณภาพชั้นเยี่ยม เพื่อให้คนที่นิยมชมชอบในรสชาติ ได้ทุเรียนคุณภาพดี ถูกใจ เป็นความภูมิใจของผู้ผลิต
“ผมฐานะผู้ผลิตทุเรียนสวนคลองคอกช้าง รู้สึกภูมิใจที่ทำให้ผลผลิตเป็นที่ถูกใจของผู้บริโภคทุเรียน ดัง motto เราใส่ใจคุณภาพ เพราะคุณคือคนในครอบครัว ซึ่งในอนาคตผมนำความรู้ ความสามารถกลับมาพัฒนาในบ้านเกิดโดยเฉพาะสวนทุเรียนในตำบลตลิ่งชันแห่งนี้ ให้มีชื่อเสียง ให้หลายๆ คนได้รู้จัก…ทุเรียนตลิ่งชันพันล้าน…” คุณกิติชัย กล่าวทิ้งท้าย