สับปะรดพันธุ์ กวก. เพชรบุรี 5ลักษณะเด่น : เนื้อแน่น นุ่มละเอียด

สีเหลืองเข้ม ผลผลิตเฉลี่ย 6.71 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ตราดสีทอง ร้อยละ 33.9 ปริมาณกรดเฉลี่ย 0.62% ต่ำกว่าพันธุ์ตราดสีทอง ร้อยละ 7.46 Brix Acid ratio เฉลี่ย 28.7 สูงกว่าพันธุ์ตราดสีทอง ร้อยละ 9.5 ปริมาณวิตามินซี เฉลี่ย 26.8 มิลลิกรัมต่อ 100 มิลลิตร สูงกว่าพันธุ์ตราดสีทอง ร้อยละ 10.9 จำปาดะ เป็นผลไม้ตระกูลเดียวกับ ขนุน หรือสาเก ภาษาอังกฤษก็ใช้คำนี้ Champedak ไม่รู้ใครลอกใคร แต่มาเลเซียเรียกอีกชื่อหนึ่ง ภาษาใต้ เรียกว่า จำดะ นิยมปลูกมากในภาคใต้ ออกผลปีละครั้ง ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคมตอนต้นฤดูฝนของทุกปี ในช่วงหน้าอื่นมีผลบ้างแต่ไม่มากนัก

ผลของจำปาดะจะเล็กกว่าขนุน ผิวสีเข้มกว่าผิวขนุนและไม่ค่อยสวยเหมือนผิวขนุน ลักษณะผลจะเป็นทรงกระบอกยาว เนื้อในนิ่มและเหนียวไม่กรอบเหมือนขนุน รสหวานจัด เด็กเล็กและคนชราควรบริโภคอย่างระมัดระวัง เนื่องจากเนื้อเหนียวจะเคี้ยวไม่ค่อยขาด ตอนกลืนจะติดคอ ครั้งตอนเด็กๆ เมื่อกินจำปาดะผู้ใหญ่จะคอยดูให้กินทีละเมล็ดกลืนเข้าไปแล้วค่อยกินเมล็ดต่อไป จริงๆ แล้วถ้าไม่มีการห้าม เด็กๆ ก็จะกินติดต่อกันหลายๆ เมล็ด เพราะความหวานหอมอร่อยของมัน ซึ่งการกินติดต่อกันหลายๆ เมล็ด โอกาสติดคอได้ง่าย กลิ่นของจำปาดะค่อนข้างแรงน้องๆ ทุเรียน สมัยก่อนที่ใช้บริการรถทัวร์เขาห้ามนำทุเรียนและจำปาดะขึ้นบนรถเด็ดขาด ดมนานๆ บางคนถึงกับเป็นลมทีเดียว

สวนเก่าแก่ในจังหวัดพังงาส่วนใหญ่ยังเป็นสวนประเภทสมรมอยู่ คือมีการปลูกผลไม้รวมๆ กันหลายชนิด เพื่อนฝูงที่นั่นแนะนำว่า มีจำปาดะพันธุ์หนึ่งโด่งดังมากในจังหวัด เลยพากันฝ่าฝนที่กำลังตกชุกทีเดียวไปที่อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ดุ่มๆ ถามไปเรื่อยจนกระทั่งเจอ คุณจรินทร์ พุทธกลับ หรือ ตาปาน ปัจจุบัน อายุ 65 ปี เจ้าของจำปาดะชื่อดัง ตาปาน เล่าให้ฟังว่า “สมัยพ่อได้สร้างสวนผลไม้ไว้ มีผลไม้หลายอย่าง รวมถึงยางพาราด้วย แต่ที่ปลูกมากที่สุดคือ จำปาดะ กับ มังคุด ส่วนปาล์มเพิ่งปลูกได้ไม่กี่ปีมานี้เอง เฉพาะในส่วนที่เป็นที่ลุ่มมีพรุน้ำ เพราะปลูกผลไม้อย่างอื่นไม่ได้ สวนผลไม้นี้สร้างมาตั้งแต่สมัยพ่อผม มีอายุหลายสิบปี เพราะลืมตามาก็เห็นสวนแล้ว ตอนนั้นพ่อได้ปลูกจำดะด้วยเมล็ดไว้มาก แต่ละต้นมีรสชาติแตกต่างกัน มีต้นหนึ่งที่มีความแตกต่างกับต้นอื่น คนมากินก็ติดใจว่าอร่อยไม่เหมือนกับจำดะทั่วๆ ไป คนซื้อก็ต้องการแต่จำปาดะต้นนี้”

พรรคพวกตาปานเลยตั้งชื่อจำปาดะต้นนี้ว่า “ทองตาปาน” เพราะว่าจำปาดะต้นนี้มีลักษณะแตกต่างกับจำปาดะอื่นทั่วไป ประการแรก ผิวของผลจะมีสีเหลืองอมแดงเรื่อๆ ผิวเรียบตึง หนามไม่แหลม ไม่เหมือนจำปาดะทั่วไปที่มีสีเหลืองออกน้ำตาลหนามแหลมกว่า สองคือ เนื้อในจำปาดะทองตาปานเนื้อมีสีเหลืองทอง ผลและเมล็ดมีขนาดใหญ่ รสชาติดี และเปลือกค่อนข้างบาง

ปัจจุบัน ในสวนประมาณ 30 ไร่ ที่เป็นสวนผลไม้นี้อยู่ที่บ้านในไร่ ตำบลเหมาะ อำเภอกะปง จังหวัดพังงา ได้ปลูกจำปาดะไว้ ประมาณ 100 ต้น แต่ละต้นมีอายุประมาณ 20 ปี ต้นที่ปลูกเป็นพันธุ์ทองตาปานทั้งหมด เนื่องจากได้เสียบยอดขยายพันธุ์ไว้ ส่วนอีกแปลงเป็นแปลงปลูกใหม่ ปลูกเฉพาะจำปาดะพันธุ์นี้ไว้ ประมาณ 200 ต้น เนื่องจากผลผลิตไม่พอจำหน่าย ส่วนต้นจำปาดะทองตาปานต้นดั้งเดิมจริงๆ ตายไปแล้ว เนื่องจากอายุมากหลายสิบปี ตาปาน บอกว่า เรามาช้าไป 15 ปี เลยไม่ได้ดูต้นจำปาดะทองตาปานต้นแรก

วิธีการปลูกเลี้ยง
จำปาดะ เป็นผลไม้ที่ปลูกง่ายมากในภาคใต้ เนื่องจากชอบความชื้นและฝนตกชุก ยิ่งปลูกแซมในป่าผลไม้ด้วยกันยิ่งทำให้ปลูกง่ายไปใหญ่ เพราะได้อาศัยร่มเงาต้นอื่นตอนต้นยังเล็ก คุณสักกรินทร์ พุทธกลับลูกชายที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงทำงานสวนอยู่ในปัจจุบันบอกว่า “จำปาดะ ปลูกง่าย เพียงขุดหลุมกว้าง ยาว ลึก 30 เซนติเมตร ก็เพียงพอ ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน ให้มีขนาดห่างประมาณ 6 เมตร คูณ 6 เมตร ใช้ต้นพันธุ์ที่สูงประมาณ 80 เซนติเมตร จะรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือไม่ก็ได้ กลบให้แน่น ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ เพราะจังหวัดพังงาในฤดูฝน ฝนจะตกชุกและไม่ขาดช่วง แต่ในจังหวัดภาคอื่นต้องดูน้ำให้หน่อย ให้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 1 กระป๋องนม หว่านห่างรอบโคน เพิ่มจำนวนมากขึ้นเมื่อต้นโต ใช้เวลาประมาณ 6-7 ปี จำปาดะก็เริ่มให้ผลผลิต ในสวนไม่ได้ใช้ปุ๋ยคอกเนื่องจากหาค่อนข้างยาก ปัจจุบัน ต้นมีอายุ 20 ปี ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 เมื่อจำปาดะออกลูกขนาดหัวแม่มือ ประมาณ 5 กิโลกรัม ต่อต้น โดยหว่านรอบๆ โคน”

จนผลมีขนาดเท่ากระบอกไฟฉายใหญ่ จะต้องขึ้นต้นตัดแต่งผล เอาผลที่มีความสมบูรณ์ไว้ และกิ่งไหนผลมีมากก็ให้ตัดออกบ้าง เพื่อให้มีขนาดใหญ่สมบูรณ์ และถือโอกาสตัดแต่งกิ่งที่แห้งหรือแกะกะออก เพื่อต้องการให้ทรงพุ่มโปร่ง แสงแดดส่องถึง ไม่ให้อับลม ต้นจะไม่ค่อยมีโรคและแมลงรบกวน ส่วนกิ่งที่ถูกลมพัดฉีกขาดก็ต้องแต่งออก เพราะจะเป็นเชื้อราที่รอยแผล กิ่งที่มีผลดกจะต้องช่วยภาระเรื่องน้ำหนัก ด้วยการโยงกิ่งด้วยสายไฟฟ้ากับกิ่งอื่น

ศัตรูของผลคือ แมลงวันทอง ที่จะเจาะผลเพื่อวางไข่ ทำให้ผลผลิตเสียหายจึงต้องห่อผล ในอดีตใช้วิธีการสานใบมะพร้าวเป็นตะกร้อเพื่อห่อผล แปลกที่ว่าตะกร้อที่สานเพื่อห่อก็มีช่องว่างอยู่ เพราะเป็นลักษณะตาข่าย ไม่ได้ทึบทั้งหมด แต่ก็สามารถกันแมลงวันทองได้ แต่ในปัจจุบันได้ทดลองใช้ถุงพลาสติกสีขาวห่อ คุณสักกรินทร์ บอกว่า ผลจะออกสีเหลืองเขียวไม่ค่อยสวย คงเป็นเพราะไม่ทึบแสง จึงได้เปลี่ยนมาเป็นถุงพลาสติกสีดำห่อ ปรากฏว่าสีผลเมื่อสุกเต็มที่เหมือนกับที่ห่อด้วยใบมะพร้าว เนื่องจากทึบแสง แต่การห่อด้วยวัสดุใดๆ ก็ไม่มีผลต่อรสชาติของจำปาดะ

การขยายพันธุ์
จำปาดะ นิยมขยายพันธุ์โดยการเสียบยอด โดยใช้เมล็ดขนาดใหญ่ที่สมบูรณ์นำมาเพาะเป็นต้นตอในถุงดำเล็ก ใช้ดินสวนผสมกับขี้ไก่ ในอัตรา 3 ต่อ 1 ใส่ดินในถุงดำไม่ต้องเต็ม นำเมล็ดวางไว้แล้วเอาดินกลบพอปิดเมล็ด รดน้ำทุกวัน ประมาณ 14-21 วัน ต้นก็จะเริ่มแทงขึ้นมา ใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ลำต้นจะมีขนาดปากกา สูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร ก็จะเริ่มเสียบยอด และพันด้วยพลาสติกกันน้ำ หาถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่สามารถใส่ต้นที่เสียบยอดในถุงดำได้ 10 ต้น แล้วมัดปาก ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน แผลของรอยเสียบยอดจะติดสนิทกันดี ก็จะนำออกจากถุงพลาสติกใส เพื่อเปลี่ยนขนาดถุงดำให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม ใช้เวลาเลี้ยงอีกประมาณ 1 ปี จะได้ต้นจำปาดะ สูงประมาณ 60-80 เซนติเมตร สามารถนำไปปลูกได้

ผลผลิตขายเฉพาะในจังหวัด
ผลจำปาดะที่แก่จะต้องตัดก่อนสุก 3-5 วัน ถ้าปล่อยให้สุกคาต้นเนื้อจะแข็งไม่อร่อย วิธีเลือกตัดจำปาดะแก่คือ เลือกลูกที่ผิวตึง ก้านเปลี่ยนจากเหลืองเป็นเจือสีส้มอ่อนๆ ใบเลี้ยงจะเป็นสีเหลือง ผลผลิตของสวนตาปานได้จำปาดะปีละประมาณ 7 ตัน เฉลี่ยผลละ 3 กิโลกรัม ปีนี้เริ่มได้ผลผลิตตั้งแต่มิถุนายนถึงสิงหาคม ราคาขายส่งจากสวนปีก่อน 30 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ปีนี้ผลไม้แพง ราคาส่งจากสวนพุ่งถึง 45 บาท ต่อกิโลกรัม ตั้งแต่เกิดมาก็เพิ่งเคยซื้อจำปาดะลูกละ 4 กิโลหน่อยๆ ในราคาลูกละ 240 บาท แถวริมถนนสายกะปง เขาขายปลีกกัน กิโลละ 50-60 บาท ส่วนการรับซื้อส่วนใหญ่จะเป็นแม่ค้าในท้องถิ่นและจังหวัดอื่นทางภาคใต้ ไม่มีโอกาสถึงกรุงเทพฯ ก็หมดเสียแล้ว

จำปาดะ เป็นผลไม้พื้นเมืองเฉพาะถิ่นที่คนขาดความสนใจ คนมาสนใจขนุนสายพันธุ์ต่างๆ ว่ามีความอร่อยกว่า เหมือนกับเราละทิ้งไก่บ้านหาว่าเหนียว มากินไก่ฟาร์มกัน คนจึงเลิกเลี้ยงไก่บ้าน ปัจจุบัน ราคาไก่บ้านกลับมีราคาสูงกว่าไก่ฟาร์ม จำปาดะก็เป็นเช่นเดียวกัน คงเป็นเพราะเราลืมรากเหง้าของตัวเองเที่ยววิ่งตามกระแสนิยมจนหัวปั่นอยู่ในขณะนี้ ผมสนใจอยากจะปลูกสตรอเบอรี่ แต่บางช่วงหาซื้อพันธุ์ปลูกได้ยาก และมีราคาแพง ผมจึงรบกวนขอเรียนถามว่า วิธีการขยายพันธุ์สตรอเบอรี่ที่ง่ายที่สุดและได้ผลดีนั้นทำอย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ ผมถือโอกาสขอบคุณมาเป็นการล่วงหน้า

ขอแสดงความนับถือ

ณรงค์ศักดิ์ วงศ์ภักดีกุล เพชรบูรณ์

ตอบ คุณณรงค์ศักดิ์ วงศ์ภักดีกุล

วิธีขยายพันธุ์สตรอเบอรี่ ที่นิยมปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน คือวิธีการแยกไหล ไหล เป็นส่วนใช้ขยายพันธุ์ เช่นเดียวกับไหลบัว ต้นที่สมบูรณ์เต็มที่จะสร้างไหลเป็นสาย แพร่กระจายออกจากต้นแม่ เฉลี่ยใน 1 ต้น หรือ 1 กอ จะให้ไหล 15-20 สาย แต่ละสายแตกต้นอ่อนได้ ประมาณ 10 ต้น แหล่งผลิตไหล ควรเลือกพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,000 เมตร ขึ้นไป เริ่มปลูกต้นแม่ในเดือนพฤษภาคม ปลูกเป็นแถวเดี่ยว ด้วยการยกร่องเล็กๆ สูงขึ้นจากพื้น 15 เซนติเมตร ห่างระหว่างแถว 1 เมตร ระหว่างต้น 80 เซนติเมตร คัดเลือกต้นแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ จากแหล่งไม่มีโรคระบาด เลี้ยงต้นแม่ให้แตกกอ 4-5 ต้น ย่างเข้าเดือนกรกฎาคม จึงปล่อยให้ต้นแม่แทงไหลออกได้เป็นปกติ ต่อมาอีกไม่นานจะเกิดตุ่มแล้วพัฒนาเป็นต้นอ่อนพร้อมรากตามสายไหลเป็นระยะๆ คล้ายข้ออ้อย แต่ละต้นห่างกัน 10-15 เซนติเมตร

เตรียมจัดต้นอ่อนลงถุงเพาะชำ ด้วยการนำถุงสีดำ ขนาด 3×5 นิ้ว ที่บรรจุวัสดุปลูกที่สะอาด และร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี วางสอดลงใต้ตำแหน่งของต้นอ่อนที่เกิดขึ้นตามสาย หรือ ไหล ใช้ลวดหรือไม้ไผ่โค้งเป็นง่าม กดและยึดบังคับให้ต้นอ่อนสัมผัสกับวัสดุปลูกในถุงเพาะชำ วางเป็นระยะไปตามสายไหลที่เลื้อยไปตามพื้นดิน ย่างเข้าเดือนสิงหาคม ต่อถึงเดือนกันยายน ต้นอ่อนจะเริ่มตั้งตัวได้ รากหยั่งลงในวัสดุปลูกเป็นที่เรียบร้อย จึงตัดต้นอ่อนแยกจากต้นแม่ จะได้ต้นอ่อนในถุงเพาะชำ ถุงละต้น โดยต้นที่อยู่บนสายไหลที่ห่างจากต้นแม่ อันดับที่ 2-5 เป็นต้นที่แข็งแรงที่สุด จากนั้นนำไปปลูกลงแปลงปลูกในเดือนตุลาคม คุณจะเก็บผลผลิตได้ในเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ตามต้องการ

บทบาทของผู้มีรายได้จากเงินเดือน จำต้องแสวงหาความก้าวหน้าในตำแหน่งและเงินเดือนที่จะเพิ่มขึ้นตามความรับผิดชอบ ยิ่งนานความรู้สึกยิ่งกดดัน ยิ่งห่างเหินจากความสุข เพราะว่าเป้าหมายเราทำงานเพื่อเงินและตำแหน่ง ในใจลึกๆ มักโหยหาอดีตที่เคยวิ่งเล่นหลังบ้าน ในสวนของพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือสวนของคนอื่น ความรู้สึกนั้นจะกลับคืนมาเสมอเมื่อเกิดความเครียดในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน การคร่ำเคร่งกับการจราจรในเมืองใหญ่ การที่ต้องเลี้ยงดูลูกเต้าเป็นภาระและหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ ความกดดันของเด็กในเรื่องการศึกษาในโรงเรียนก็มากกว่าเด็กในชนบท

ช่วงก่อน นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ได้จัดงานเกษตรในห้างสรรพสินค้าหลายครั้ง มีโอกาสได้ไปช่วยงานทุกครั้ง มักมีคนมาคุยที่บูธบ่อยๆ เรื่อง “อยากลาออกไปทำเกษตรบ้าง จะเริ่มต้นยังไงดี” คำถามนี้ยอดฮิตเลยสำหรับคนเมือง ได้สอบถามความพร้อมหลายอย่างที่น่าจะเป็นตัวตัดสินได้ว่าควรไปทำเกษตรไหม มักจะไม่ผ่านความพร้อมนี้ แต่ก็เห็นความมุ่งมั่นในแววตาทุกคน หวังว่าในโอกาสต่อไปคงจะได้พบท่านเหล่านั้นในวงการเกษตร และได้ถูกนำมาเขียนให้อ่านเพื่อเป็นประโยชน์แก่คนอื่นๆ บ้าง

คุณปรเมนทร์ ประมะโข หรือ คุณต้น จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จาก วิทยาลัยเทคนิคมหาสารคาม เมื่อปี 2558 ได้ทำงานเป็นช่างคอมพิวเตอร์ในร้านซ่อมได้ปีหนึ่ง ได้ลาออกมาช่วยกิจการที่บ้าน คือทำฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อให้บริษัทยักษ์ใหญ่ทางด้านปศุสัตว์ โดยเป็นการเลี้ยงสัตว์ตามพันธะสัญญา ทำอยู่ประมาณ 6-7 ปี ขาดทุนสะสมจนไม่สามารถไปต่อได้ จึงได้มาทดลองทำฟาร์มไก่ไข่ส่วนตัว พอลงทุนค่าอุปกรณ์ไปประมาณ 5 แสน ราคาไข่ตกต่ำลงมา เมื่อคิดคำนวณในกระดาษยังขาดทุน จึงล้มเลิกไป ต่อมาคุณต้นได้ทดลองทำไก่ไข่เองส่วนตัว ปรากฏว่าราคาไข่ตกต่ำอีกจนต้องเลิกไป จึงหันมาปลูกพืชบนพื้นที่ของครอบครัว เช่น พริก มะเขือ คะน้า และมะเขือพวง ช่วงนั้นมะเขือพวงราคาดี กิโลกรัมละ 80-100 บาท จึงปลูกมะเขือพวง 2 ไร่ ผลผลิตตกวันละ 30 กิโลกรัม มีรายได้วันละ 2,400-3,000 บาท ส่วนใหญ่จะมีแม่ค้ามารับหรือส่งตลาดขายส่งใหญ่ในมหาสารคาม และส่วนหนึ่งได้ขายในตลาดนัดแถวบ้านสัปดาห์ละ 3 วัน

ประสบการณ์สอนเรา

ในช่วงนี้เห็นช่องทางการตลาดก็รับซื้อจากชาวบ้านเอามาขายในตลาดเพื่อให้ผักของเรามีความหลากหลายยิ่งขึ้น หลังจากนั้นเริ่มศึกษาการปลูกไฮโดรโปนิกส์ โดยปลูกขึ้นฉ่ายเป็นอันดับแรก ลงทุนไปมากพอสมควร เนื่องจากอุปกรณ์และปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารมีราคาแพง ช่วงแรกราคาและผลผลิตดีมาก ต่อมามีการทำกันมาก จากราคากิโลกรัมละ 80-100 บาท เหลือราคาแค่ 10-20 บาท ก็เป็นอันต้องล้มเลิกการปลูกขึ้นฉ่ายอีก หันมาปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ก็มีปัญหา เนื่องจากต้องใช้เวลาเอาใจใส่มากและธาตุอาหารมีราคาแพง ประกอบกับต้องวิ่งขายตามตลาดนัดและวิ่งส่งตลาดใหญ่ จึงต้องเลิกราอีกครั้ง

แต่นั่นเป็นแค่อุปสรรคที่ต้องก้าวผ่าน ไม่ได้มีไว้ให้ท้อถอย ในระหว่างที่ปลูกผักก็มีการนำมาจำหน่ายตลาดนัดทำให้มีลูกค้าขาประจำและมีแม่ค้าจากร้านอาหารมาสั่งผัก เนื่องจากมั่นใจในคุณภาพ จึงเน้นการทำตลาดอยู่พักหนึ่งด้วยการทำข้อตกลงกับลูกทีมที่เห็นว่าทำการเกษตรอินทรีย์จริงๆ โดยนำผลผลิตมาจำหน่ายให้กับแม่ค้า พอตลาดเริ่มอยู่ตัวก็หันมาปลูกผักสลัดอีก แต่คราวนี้ไม่ปลูกไฮโดรโปนิกส์เหมือนเดิมแล้ว แต่หันกลับมาปลูกดินแทน โดยมีทั้งการปลูกลงดินเลยกับปลูกบนโต๊ะ

วิธีปลูกผักกาดหอมอิตาลี หรือผักกาดหอมจีน

นำเมล็ดผักมาโรยหรือเรียงในแผ่นทิชชูเปียก วางในกล่องพลาสติกใส ทดลองตะแคงดูหากมีน้ำไหลให้เทออก ปิดฝากล่องนำไปไว้ในที่ร่ม ประมาณ 2 วัน รากจะออกเป็นสีขาวและมีใบอ่อนเกิด นำออกมาให้เจอแสงรำไรโดยยังไม่เปิดฝากล่อง พอแค่มีแสงสว่าง ใช้เวลาประมาณ 5 วัน ใบจะเริ่มใหญ่ค่อยนำมาใส่ถาดเพาะ หลุมละ 1 ต้น สามารถปลูกได้ในตอนเช้าหรือเย็น โดยหลีกเลี่ยงตอนแสงแดดจัด ในหลุมเพาะใช้วัสดุปลูกคือ พีทมอส ขุยมะพร้าว มูลไส้เดือน และดิน อย่างละส่วน ร่อนให้ละเอียด ใช้ไม้เสียบลูกชิ้นงัดต้นขึ้นมาอย่าให้รากขาด เมื่อปลูกแล้วก็รดน้ำด้วยหัวพ่นฝอยไม่ให้ต้นช้ำ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น โดยนำมาวางไว้บนโต๊ะที่เตรียมไว้สำหรับปลูกเพื่อรับแดด แต่ต้องอยู่ภายใต้ซาแรน ผักจะอยู่ในถาดเพาะประมาณ 15 วัน ต้นจะสมบูรณ์ สูงประมาณ 1.5-2 นิ้ว ใบมี 4-5 ใบ

แปลงปลูกจะใช้เครื่องปลูกที่ผสมขุยมะพร้าว แกลบดำ แกลบเก่า ดิน ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักพืชสด รดน้ำให้ชุ่ม รดจุลินทรีย์ทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ ระหว่างนั้นรดน้ำไว้วันละ 1 ครั้ง แล้วเอาฟางคลุมแปลงเพื่อรักษาความชื้น บนโต๊ะปลูกจะกว้าง 120 เมตร ยาว 4 เมตร ปลูกได้ 150 ต้นพอดี ระยะต้น 25 เซนติเมตร ได้ 6 แถวเรียงไป ใช้ผักในถาดประมาณถาดครึ่ง การใช้น้ำรด ใช้สายยางแบบใช้มือบีบให้ฝอยเพื่อจะได้ดูผักไปด้วย วิธีนี้จะทำให้รู้ว่ารดน้ำทั่วถึงหรือไม่ ส่วนจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ใช้ฝักบัวรดทุกๆ 3-5 วัน ใช้เวลาประมาณ 45 วัน ก็จะเริ่มตัดผักออกจำหน่าย ไม่เกิน 50 วัน ผักก็จะถูกตัดหมดแปลง

ปัจจุบัน คุณต้นจะส่งผักให้ร้านค้าทุกวัน files-store.com จันทร์ พุธ ศุกร์ ส่วนการส่งผักออนไลน์จะส่งทุกวัน แต่ก่อนส่งจะต้องตรวจสอบกับเอกชนผู้ขนส่งก่อน ถ้าส่งวันนี้พรุ่งนี้จะต้องถึง โดยจะเอาที่อยู่ลูกค้าเช็กกับขนส่ง ถ้าไม่ได้ภายในพรุ่งนี้ก็จะยกเลิกไม่ส่งสินค้าให้ ถ้าลูกค้ายืนยันต้องการรับก็จะส่งให้ แต่ไม่รับประกันของเสียหาย สำหรับการส่งต่างจังหวัดทางภาคอีสาน ภาคเหนือ และปริมณฑลของกรุงเทพฯ จะไม่มีปัญหา แต่กรุงเทพฯ ชั้นในของมักจะค้าง เกิน 2 วัน ส่วนราคาผักจะขายในกิโลกรัมละ 120 บาท ส่วนค่าขนส่งอยู่ประมาณ 60 บาท

ผลิตภัณฑ์ของคุณต้น นอกจากผักสดหลากหลายชนิดแล้ว ยังมีจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ขวด 1.5 ลิตร ขาย 80 บาท ค่าส่ง 40 บาท มูลไส้เดือน 3 กิโลกรัม 100 บาท ค่าส่ง 50 บาท น้ำมูลไส้เดือน 1 ลิตร 120 บาท ค่าส่ง 50 บาท น้ำหมักปลา 1 ลิตร 130 บาท ค่าส่ง 50 บาท เมล็ดผักกาดอิตาลี 400 เมล็ด 50 บาท ค่าส่ง 30 บาท ถ้าสั่ง 10 ซอง ส่งให้ฟรี

ปัจจุบัน บนพื้นที่ 2 งาน การปลูกผักสลัดจะทำบริเวณหน้าบ้านและหลังบ้าน ที่อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด สามารถเป็นอาชีพเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ โดยใช้แรงสองคนสามีภรรยา อันมีลูกสุดที่รักเป็นแรงบันดาลใจ เรื่องราวของ คุณต้น ปรเมนทร์ และ คุณจูน เบญจวรรณ ประมะโข เป็นเพียงการทำเกษตรเล็กๆ หลังบ้าน แต่ก็สามารถเป็นตัวอย่างให้กับผู้มีความสนใจที่มีพื้นที่จำกัดที่ต้องการประกอบอาชีพเกษตรได้เป็นอย่างดี

หลายคนที่มองภาพเกษตรเป็นภาพขนาดใหญ่ที่มีแปลงปลูกยาวสุดตา มีคนงานเป็นสิบ มีเครื่องจักรเครื่องทุ่นแรงมากมาย มีรถสิบล้อเข้ามารับผลผลิตเพื่อไปส่งให้ตลาดขายส่งขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ นั่นคือเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จ แล้วได้ลงมือทำตามฝันที่ต้องลงทุนมหาศาลโดยที่ตัวเองไม่มีประสบการณ์ การเกษตรแบบนี้มักจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่การเกษตรโมเดลเล็ก ที่ทดลองทำลองผิดลองถูกต่างหาก ที่เป็นสิ่งที่นำไปสู่การเกษตรขนาดใหญ่ตามที่ฝัน

ติดต่อซื้อผักหรือผลผลิตของสวนผักหลังบ้าน ได้ที่ เฟซบุ๊ก สวนผักหลังบ้าน ที่มีผู้ติดตามเกือบ 4 หมื่นคน หรือโทรศัพท์ 098-630-4703 “ดิน” เป็นอีกสิ่งสำคัญในการผลิตสินค้าทางการเกษตร ถ้ามีการจัดการและบำรุงดินอยู่เสมอ นอกจากจะช่วยให้การปลูกพืชได้ผลผลิตที่ดี เมื่อมองไประยะยาวยังช่วยส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรให้เกษตรกรได้อย่างต่อเนื่อง เพราะอย่างน้อยในเรื่องของการลดต้นทุนการผลิตที่ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเคมีอยู่ตลอด ก็ช่วยทำให้มีผลกำไรเพิ่มขึ้นเมื่อมีการใช้ปุ๋ยเคมีลดลง

คุณดีน หะยีมะแซ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรต้นแบบ ที่ได้ยึดมั่นในเรื่องของการปรับปรุงบำรุงดินเป็นอย่างมาก ซึ่งวันดินโลก World Soil Day 2022 ที่ผ่านมา ได้จัดงานภายใต้หัวข้อ Soils, where food begins (อาหาร ก่อกำเนิด เกิดจากดิน) จากคำที่แปลเป็นภาษาไทยที่มีจำนวน 8 คำนี้เอง มีความลึกซึ้งและจะเป็นสิ่งย้ำเตือนให้กับเขาว่า สิ่งที่กำลังทำเขาได้มาถูกทาง และจะเดินในเส้นทางนี้ต่อไป คือการทำเกษตรในแบบที่เขารัก พร้อมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเพื่อนเกษตรกรรายอื่นๆ

จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้รู้จักการทำเกษตร

คุณดีน เล่าให้ฟังว่า พื้นเพเดิมครอบครัวทำอาชีพเกี่ยวกับเกษตรกรรมอยู่แล้ว มีพื้นที่ในการผลิตสินค้าทางการเกษตรออกจำหน่าย ซึ่งก่อนหน้านั้นเขาเองได้ไปทำงานประจำอยู่ เป็นงานที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการทำเกษตรเลยก็ว่าได้ แต่เมื่อมีการระบาดของโรคโควิด-19 เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา ทำให้เขามีเหตุจำเป็นต้องการกลับมาอยู่บ้านในระยะยาว อาชีพทางการเกษตรคือสิ่งเดียวที่เขาต้องทำหลังจากนี้จึงได้มองปัญหาที่สะสมมานานของพื้นที่ในครอบครัวตัวเองก่อน แล้วนำสิ่งที่จะเรียนรู้ใหม่มาปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

“ช่วงแรกผมมองเห็นเลยว่า ครอบครัวผมมีการทำเกษตรมานานแล้ว ด้วยสภาพดินที่นี่เป็นดินทราย เมื่อมาอยู่บ้านได้ระยะหนึ่ง ก็เริ่มหลงรักในสีเขียวของพืช จึงได้สมัครเป็นหมอดินอาสา เพราะได้แรงบันดาลใจมาจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ท่านสามารถแก้ปัญหาได้หมดทุกอย่างในเรื่องของดิน จากจุดนั้นเอง เราอยากที่จะแก้ไขดินทรายในพื้นที่การทำเกษตรของเรา จึงได้เรียนรู้และต่อยอดพัฒนามาเรื่อยๆ จนเวลานี้ดินในพื้นที่ของเรามีความอุดมสมบูรณ์ และปลูกพืชได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้จัด”

เนื่องจากพื้นที่บ้านเป็นดินทราย เทคนิคการจัดการดินทราย คุณดีน บอกว่า มีการจัดการด้วยกัน 2 แบบ คือ 1. การปรับโครงสร้างของดินด้วยการทำปุ๋ยหมักนำเปลือกมะพร้าวที่ได้จากท้องถิ่น มาเป็นส่วนผสมของปุ๋ยหมักเพื่อช่วยปรับโครงสร้างดิน เพราะถ้าดินทรายมีสิ่งช่วยอุ้มน้ำไว้ได้ก็จะทำให้ดินมีความชุ่มชื่นมากขึ้น และ 2. การขุดทำบ่อจิ๋ว ที่เป็นตัวช่วยในการกักเก็บน้ำไว้ได้ดี พร้อมทั้งมีการทำน้ำหมักต่างๆ เข้ามาช่วยบำรุงดินและช่วยลดต้นทุนการผลิตอีกด้วย