สาขาพืช ไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียว

กันของปีที่ผ่านมา โดยผลผลิตพืชสำคัญที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ยางพารา ปาล์มน้ำมัน รวมทั้งกลุ่มไม้ผล ได้แก่ ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ สำหรับ ข้าวนาปรัง มีผลผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่สำคัญมีมากกว่าปีที่ผ่านมา เพียงพอต่อการปลูกข้าว ทำให้เกษตรกรสามารถกลับมาปลูกข้าวนาปรังได้ ถึง 10.89 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 112.0 เมื่อเทียบกับปี 2559 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูกเพียง 5.14 ล้านไร่ (เนื้อที่ปลูกข้าวนาปรังก่อนประสบปัญหาภัยแล้ง อยู่ที่ประมาณ 12 – 16 ล้านไร่) ยางพารา มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากยางพาราที่ปลูกในปี 2554 แทนพื้นที่พืชไร่ ไม้ผล นาข้าว และพื้นที่ตัดโค่นต้นยางเก่า เริ่มให้ผลผลิต ปาล์มน้ำมัน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นปาล์มที่ปลูกใหม่ในปี 2557 แทนพื้นที่นาข้าว สวนเงาะ สวนลองกอง และพื้นที่ว่างเปล่า เริ่มให้ผลได้ในปีนี้ ประกอบกับปริมาณน้ำฝนในปี 2560 มีเพียงพอต่อความต้องการของต้นปาล์ม

กลุ่มไม้ผล ลำไย ผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นลำไยที่ปลูกในปี 2557 เริ่มให้ผลผลิต ประกอบกับสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการออกดอกติดผล ทุเรียน มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้นทุเรียนที่ปลูกในปี 2555 เริ่มให้ผลผลิต ประกอบกับสภาพอากาศเย็นส่งผลดีต่อการออกดอกของทุเรียน และราคาทุเรียนที่อยู่ในเกณฑ์ดี จูงใจให้เกษตรกรมีการบำรุงและดูแลรักษาเพิ่มขึ้น มังคุด มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปีที่ผ่านมาต้นมังคุดติดผลน้อย จึงมีระยะพักต้นเพื่อสะสมอาหารมากขึ้น ประกอบกับมีปริมาณน้ำฝนที่สม่ำเสมอและสภาพอากาศเย็น ทำให้มังคุดติดดอกออกผลเพิ่มมากขึ้น และ เงาะ มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยให้ออกดอกและติดผลดี

ด้านราคา พืชที่สำคัญในไตรมาส 2 เช่น ยางพารา ทุเรียน และมังคุด ปรับตัวดีขึ้นค่อนข้างมาก เนื่องจากความต้องการของตลาดยังคงมีอย่างต่อเนื่อง การส่งออกในช่วงเดือนเมษายน – มิถุนายน 2560 สินค้าพืชและผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวรวม ลำไยและผลิตภัณฑ์ ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ เงาะและผลิตภัณฑ์ และมังคุด สินค้าพืชที่มีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ และน้ำมันปาล์ม ส่วนสินค้าพืชที่มีปริมาณส่งออกลดลงแต่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ยางพารา และน้ำตาลและผลิตภัณฑ์

สาขาปศุสัตว์ ไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 2.0 ผลผลิตหลัก ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อรองรับตามความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีการดูแลเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดได้ดี ด้านราคา ในช่วงไตรมาส 2 สินค้าปศุสัตว์ที่มีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ได้แก่ ไก่เนื้อ และน้ำนมดิบ ในขณะที่สุกรและไข่ไก่มีราคาเฉลี่ยลดลง

การส่งออก สินค้าปศุสัตว์โดยรวมในช่วงไตรมาส 2 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น การส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ขยายตัวเพิ่มขึ้นทั้งเนื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและเนื้อไก่ปรุงแต่ง โดยการส่งออกไปญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดหลักมีการขยายตัวได้ดี ส่วนการส่งออกไปอาเซียนเพิ่มขึ้นในตลาดสิงคโปร์ และการส่งออกไปยังเกาหลีใต้ที่อนุญาตให้นำเข้าเนื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทยได้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกเนื้อไก่สดแช่เย็นแช่แข็งรวมเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกเนื้อสุกรแช่เย็นแช่แข็งมีการขยายตัวทั้งในตลาดอาเซียนและฮ่องกง ส่วนการส่งออกนมและผลิตภัณฑ์ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นจากกลุ่มประเทศอาเซียนโดยเฉพาะกัมพูชาเป็นประเทศคู่ค้าหลัก

สาขาประมง ไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 5.2 เป็นผลมาจากผลผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงออกสู่ตลาดมากขึ้น เกษตรกรมีการบริหารจัดการฟาร์มที่ดี ใช้พันธุ์กุ้งที่ต้านทานต่อโรค สำหรับปริมาณสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือในภาคใต้มีทิศทางลดลง ส่วนผลผลิตประมงน้ำจืด เช่น ปลานิล และปลาดุก มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำมีเพียงพอต่อ การเลี้ยง ด้านราคา ในช่วงไตรมาส 2 ราคากุ้งขาวแวนนาไม (ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม) ปลานิลขนาดกลาง และปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 2 – 4 ตัวต่อกิโลกรัม) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยลดลง ซึ่งเป็นการลดลงตามปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น การส่งออกสินค้าประมงและผลิตภัณฑ์ ในช่วงไตรมาส 2 ปลาและผลิตภัณฑ์มีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง ปลาหมึกและผลิตภัณฑ์มีปริมาณส่งออกลดลง แต่มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ส่วนกุ้งและผลิตภัณฑ์มีปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ตามความต้องการซื้อจากตลาดต่างประเทศ

สาขาบริการทางการเกษตร ไตรมาส 2 ขยายตัวร้อยละ 6.5 จากการจ้างบริการ เตรียมดิน ไถพรวนดิน และการให้บริการเกี่ยวนวดข้าวนาปรังที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การใช้บริการรถเก็บเกี่ยวอ้อยโรงงานมีการขยายตัว จากพื้นที่เก็บเกี่ยวที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาอ้อยอยู่ในเกณฑ์ดี จึงส่งผลให้เกษตรกรเร่งเตรียมพื้นที่ปลูกและลงตออ้อยใหม่ทดแทน

สาขาป่าไม้ ไตรมาส 2 ขยายตัวประมาณร้อยละ 2.3 ผลผลิตสำคัญ ได้แก่ ไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส และครั่ง โดยการเพิ่มขึ้นของไม้ยางพารามีปัจจัยหลักมาจากการตัดโค่นสวนยางพาราเก่าเพื่อปลูกทดแทนด้วยยางพาราพันธุ์ดีและพืชอื่น ส่วนไม้ยูคาลิปตัสยังคงเพิ่มขึ้นจากความต้องการใช้ในภาคก่อสร้าง อุตสาหกรรมแปรรูป และผลผลิตครั่งเพิ่มขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยส่งผลให้ครั่งมีการเจริญเติบโตและฟื้นตัวดีขึ้น

ทั้งนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 – 3.5 โดยทุกสาขา การผลิต ได้แก่ สาขาพืช สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง สาขาบริการทางการเกษตร และสาขาป่าไม้ ขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศและปริมาณน้ำที่เอื้อต่อการผลิตทางการเกษตรมากขึ้น ผลผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญหลายชนิดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น ข้าวนาปรัง ผลไม้ต่างๆ และอ้อยโรงงาน เป็นต้น ประกอบกับมีแรงหนุนที่สำคัญจากการดำเนินนโยบายและมาตรการด้านการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อช่วยขับเคลื่อนให้ภาคเกษตรเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องติดตามสถานการณ์ต่างๆ อาทิ ความผันผวนของสภาพภูมิอากาศ และโรคระบาด ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรในช่วงครึ่งหลังของปี 2560

รายงานภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 2/2560 (เม.ย. – มิ.ย. 2560) ซึ่งเติบโตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 11.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งอาจจะมีความเห็นในบางมุมมองว่าการเติบโตดังกล่าวไม่อาจสะท้อนสภาพความเป็นจริงของเศรษฐกิจฐานราก โดยเฉพาะเกษตรกรในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศ เนื่องจากปัจจัยคุกคามปัจจุบันในช่วงครึ่งหลังของปี เช่น (1) ราคาสินค้าเกษตรซึ่งเป็นสินค้าหลักบางชนิด ได้แก่ ข้าว ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล ซึ่งเป็นสินค้าเศรษฐกิจสำคัญมีแนวโน้มลดลง (2) ปัญหาภัยธรรมชาติที่กำลังเผชิญในขณะนี้ ในพื้นที่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ (3) สภาพการใช้จ่ายในครัวเรือนมีภาระหนี้สินสะสมอยู่ (4) ภาวะเศรษฐกิจโลกและคู่ค้าสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะจีนและกลุ่มประเทศอาเซียน มีอุปสงค์ชะลอตัว และปรับยุทธศาสตร์การผลิตการเกษตรในประเทศให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

ในภาวะเศรษฐกิจการเกษตรครี่งหลังของปี นโยบายขับเคลื่อนการเกษตรเพื่อแก้ปัญหาและกระตุ้นความเป็นอยู่ของเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก จะเพิ่มการบูรณาการและระดมสรรพกำลังแบบประชารัฐ โดยเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคเกษตรในไตรมาสที่ 4 (ก.ค. – ก.ย.) ของปีงบประมาณ 2560 และ
ไตรมาสที่ 1 (ต.ค. – ธ.ค.) ของปีงบประมาณ 2561 และเร่งกระจายการผลิตไปยังพื้นที่ที่เหมาะสมให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งเร่งระบายผลผลิตสินค้าเกษตรส่วนเกินในช่วงที่ผลผลิตออกมามากที่สุด ไปยังแหล่งบริโภคภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศ รวมทั้งพื้นที่การค้าชายแดนด้วย

ลุ้นม็อบต้านเหมืองทองอยู่ในความสงบ กพร.เล็งพิจารณาใบอนุญาตเอกชนขอสำรวจ 30,000 ไร่ ส่งจดหมายเชิญชวนเอกชน 10 รายเดิม พร้อมหารือกฤษฎีกาตีความ กม.แร่ฉบับใหม่ห่วงเอกชนฟ้องขอคืนค่าภาคหลวงแร่ถ่านหิน

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ ที่ผลประโยชน์จะตกกับประเทศทั้งหมด เพราะไม่มีการส่งออก มีการดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้น ซึ่งกรอบดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 72/2559 เรื่อง การแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ ในส่วนของการเสนอกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำ ล่าสุดกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) จะออกประกาศและจัดทำรายละเอียดหลักเกณฑ์ต่างๆ ตามกรอบนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการทรัพยากรแร่ทองคำดังกล่าว เพื่อให้ภาครัฐ ท้องถิ่น และประชาชนได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำที่เหมาะสม ขณะเดียวกันกระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างติดตามท่าทีของประชาชนทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายต้านเพื่อประเมินสถานการณ์ หากม็อบยอมรับในยุทธศาสตร์ ไม่ต่อต้าน ก็เตรียมจะพิจารณาคำขออนุญาตสำรวจแร่ทองคำที่มีเข้ามารวมจำนวนทั้งสิ้น 10 ราย กว่า 100 แปลง คิดเป็นปริมาณพื้นที่สำรวจ 30,000 ไร่

ระหว่างนี้ กพร.จะทำหนังสือสอบถามไปยังเอกชนทั้ง 10 ราย ว่ายังมีความสนใจขออนุญาตสำรวจเหมืองแร่ทองคำหรือไม่Ž แหล่งข่าวกล่าว และว่า สำหรับพื้นที่ที่คาดว่าจะมีแร่ทองคำ จากการประเมินเบื้องต้นพบว่ากระจายอยู่ในหลายจังหวัด โดยพื้นที่ที่คาดว่ามีสายแร่ทองคำแน่นอนคือเหมืองแร่ทองคำของบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด มหาชน คาบเกี่ยว 3 จังหวัด คือพิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก ยังเหลืออายุประทานบัตรอีก 10 ปี และเหมืองทองคำของบริษัท ทุ่งคาฮาเบอร์ จำกัด (มหาชน) จ.เลย ที่ใบอนุญาตของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมดอายุ

นายวิษณุ ทับเที่ยง รองอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กพร.ได้นัดหารือกับตัวแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อสอบถามถึงข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติแร่ (พ.ร.บ.) พ.ศ.2560 (ฉบับใหม่) มีผลบังคับใช้วันที่ 29 สิงหาคมนี้ ซึ่งกฎหมายฉบับใหม่ได้ยกเลิกการกำหนดหลักเกณฑ์การคืนค่าภาคหลวง 25% ให้กับผู้ประกอบการที่มีใช้แร่ถ่านหินในการประกอบกิจการ เพราะกังวลว่าหากมีเอกชนมายื่นหลังวันที่ 29 สิงหาคม อาจถูกตัดสิทธิและอาจนำไปสู่การฟ้องร้องต่อ กพร.ในภายหลัง โดยจะขอให้ตีความข้อกฎหมายเรื่องการคืนค่าภาคหลวงถ่านหินให้ชัดเจนว่า หากเอกชนยื่นขอคืนหลังวันที่กฎหมายมีผลบังคับใช้ กพร.จะต้องดำเนินการอย่างไร

นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ธสน.ได้ลงนามกับบริษัท ออสการ์ เซฟ เดอะ เวิลด์ จำกัด ในกลุ่มบริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท บางสวรรค์ กรีน จำกัด ในสัญญาสนับสนุนทางการเงินจำนวนรวม 2,257.50 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลจำนวน 3 โครงการ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช กำลังการผลิตรวม 22.2 เมกะวัตต์ โดยมีการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นผู้รับซื้อ

เอ็กซิมแบงก์ให้การสนับสนุนโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งแรกของกลุ่มบริษัท ไทย โซล่าร์ เอ็นเนอร์ยี่ ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนทั้งในและต่างประเทศ เพราะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของเอ็กซิมแบงก์ในการสร้างโอกาสการค้าและการลงทุนแก่ผู้ประกอบการไทย อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการพัฒนาพลังงานทดแทนจากชีวมวลของไทยที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลŽ นายพิศิษฐ์กล่าว

น.ส.จริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจการเกษตร (จีดีพีเกษตร) ไตรมาส 2/2560 ขยายตัว 11.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักมาจากปริมาณน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำที่สำคัญมีเพียงพอต่อการผลิต สภาพอากาศเอื้ออำนวยกว่าปีที่ผ่านมา รวมถึงมาตรการด้านเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง

น.ส.จริยากล่าวว่า หากวิเคราะห์แต่ละสาขาพบว่าสาขาพืชขยายตัวสูงสุด 15.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ข้าวนาปรัง มีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 10.89 ล้านไร่ หรือเพิ่มขึ้น 112% เทียบปี 2559 มีเนื้อที่เพาะปลูก 5.14 ล้านไร่ ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน สับปะรดโรงงาน ปาล์มน้ำมัน รวมทั้งกลุ่มไม้ผล ลำไย ทุเรียน มังคุด และเงาะ เพราะสภาพอากาศอำนวยให้ออกดอกและติดผลดี ส่วนราคาปรับตัวดีขึ้นค่อนข้างมาก เนื่องจากความต้องการของตลาดยังคงมีอย่างต่อเนื่อง สาขาปศุสัตว์ ขยายตัว 2% และมีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม สุกรและไข่ไก่มีราคาเฉลี่ยลดลง สาขาประมง ขยายตัว 5.2% สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัว 6.5% จากการจ้างบริการ เตรียมดิน ไถพรวนดิน และการให้บริการเกี่ยวนวดข้าวนาปรังที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น

แนวโน้มจีดีพีเกษตรปีนี้คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.5-3.5% และมีความเป็นไปได้สูงจะขยับขึ้นมาอยู่ในช่วง 3.5-4% เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของน้ำในปีนี้ที่มีมากกว่าปีที่ผ่านมา รวมทั้งยังมีการผลักดันงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระดับฐาน ซึ่งน่าจะเริ่มเห็นผลในไตรมาส 4/2560 อย่างไรก็ตามยังต้องติดตามเป็นรายภาคว่าจะมีปริมาณน้ำมากเกินไปขึ้นไม่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกให้ได้รับความเสียหายได้Ž น.ส.จริยากล่าว

รายงานข่าวจากบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ CPFŽ แจ้งว่า เมื่อวันที่ 4 สิงหาคมที่ผ่านมา บริษัทได้จัดสรรหุ้นเพิ่มทุนซึ่งมีหุ้นที่ขายได้จำนวน 868 ล้านหุ้น คิดเป็นเงินที่ได้รับรวมจำนวน 21,707 ล้านบาท โดยกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ คือเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี กรุ๊ป ได้ใช้สิทธิเพิ่มทุนเต็มจำนวน

ข่าวแจ้งว่าสำหรับการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนครั้งนี้ ซีพีเอฟได้รับอนุมัติจากผู้ถือหุ้นแล้ว ในการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ให้ดำเนินการเพิ่มทุนโดยการจัดสรรหุ้นสามัญใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมในอัตรา 5 หุ้นสามัญเดิม ต่อ 1 หุ้นสามัญใหม่ ในอัตราหุ้นละ 25 บาท โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัทให้แข็งแกร่งขึ้น

ข่าวแจ้งว่า การชำระเงินเพิ่มทุนได้ดำเนินการในระหว่างวันที่ 24-31 กรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัทได้รายงานผลการเพิ่มทุนด้วยเงินที่ได้รับจำนวน 21,707 ล้านบาท เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทคาดว่าจะนำเงินเพิ่มทุนจำนวนนี้ไปชำระคืนหนี้สินของกิจการต่างประเทศที่มีต้นทุนดอกเบี้ยในระดับสูง ซึ่งจะช่วยให้บริษัทมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่ลดลง โดยจำนวนหุ้นเพิ่มทุนในครั้งนี้ส่งผลให้บริษัทมีทุนชำระแล้วจำนวน 8,611 ล้านหุ้น เพิ่มขึ้นประมาณ 10% จากทุนที่ชำระแล้วก่อนการเพิ่มทุน และคาดว่าหุ้นเพิ่มทุนจะเข้าทำการซื้อขายได้ในวันที่ 9 สิงหาคมนี้

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงโปรดดอกไม้ไทยและสนพระราชหฤทัยในการส่งเสริมดอกไม้ให้มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม และดิ เอ็มควอเทียร์ จึงจัดทริปชมแปลงไม้ดอก “กระเจียว ปทุมมา” ซึ่งปัจจุบันสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทย และเป็นดอกไม้เศรษฐกิจส่งออกเป็นลำดับที่ 2 รองจากกล้วยไม้ ณ จ.เชียงใหม่

รศ.โสระยา ร่วมรังษี ผู้อำนวยการศูนย์บริการพัฒนาขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ผลบ้านไร่ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.หางดง จ.เชียงใหม่ เล่าว่า จากสายพระเนตรอันยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ที่มีพระราชดำริให้ทดลองปลูกไม้ดอกเมืองหนาวของต่างประเทศ นำมาสู่การศึกษาและพัฒนาพันธุ์ไม้ดอกจนเป็นศูนย์นี้เกิดขึ้น ที่ผ่านมาเราได้พัฒนาสายพันธุ์ไม้ดอกเมืองหนาวให้สามารถปลูกทนแดดทนร้อนในไทยได้ อาทิ แกลดิโอลัส ต่อมาได้พัฒนาสายพันธุ์ไม้ดอกไทยให้มีความสวยงามและแข็งแรงยิ่งขึ้น อย่างดอกกระเจียวและปทุมมา ที่เดิมถูกมองเป็นดอกไม้ไหว้พระ เราก็มาคิดว่าจะทำอย่างไรให้สามารถใช้ได้ในทุกโอกาส ลดการนำเข้าดอกไม้จากต่างประเทศที่มีมูลค่าถึง 500 ล้านบาทต่อปี เพื่อมาสร้างโอกาสสร้างรายได้ให้เกษตรกรภายในประเทศ จนสามารถพัฒนาและรวบรวมกระเจียวได้เป็น 9 สายพันธุ์ในชุด ‘รอยัล ไทย‘ (Royal Thai)

หลายคนเข้าใจว่าดอกกระเจียวต้องอยู่ที่ จ.ชัยภูมิ รศ.โสระยาเล่าว่า ใช่ แต่นั่นคือดอกกระเจียวป่าที่มีลักษณะกลีบประดับและดอกเล็ก บิดเบี้ยวกว่า ตัดดอกออกมาวันเดียวก็เหี่ยวแล้ว ต่างจากกระเจียวชุดรอยัล ไทยที่มีกลีบประดับยาว ดอกใหญ่ และอยู่ได้นานกว่าเมื่อตัดดอก ขณะนี้เป็นที่นิยมจากสหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลาง ยุโรป และญี่ปุ่น ทั้งนี้ ในสายสกุลเดียวกันของกระเจียวคือ ปทุมมา แตกต่างกันตรงช่อสั้น มีดอกสีขาวปากม่วง และอยู่ได้นานกว่ากระเจียวรอยัลไทยเมื่อตัดดอก ได้รับความนิยมจากต่างประเทศมากเช่นกัน ปัจจุบันเป็นไม้ดอกที่ส่งออกลำดับที่ 2 ทั้งนี้ นอกจากตัดดอกขาย เรายังสามารถเพาะพันธุ์หัวส่งออกไปขายได้อีกด้วย อย่างเนเธอร์แลนด์กับสหรัฐที่สั่งซื้อหัวพันธุ์เราไปปลูกจำนวนมาก สร้างรายได้ให้เกษตรกรชาวไทย

“ทุกที่ชมว่าดอกไม้ไทยสวยงามมาก ทนทาน ดูแลง่าย คิดว่าหากเราตั้งแต่หน่วยงานองค์กรต่างๆ ตลอดจนคนไทยมาร่วมกันส่งเสริมจริงๆ ดอกไม้ไทยจะเป็นที่รู้จักและใช้อย่างแพร่หลายในประเทศ เหมือนที่ต่างประเทศกำลังนิยมดอกไม้ไทยในขณะนี้ อย่างไรก็ดี ศูนย์ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดหลักสูตรอบรมการปลูกไม้ดอก เรียนฟรี อีกทั้งยังสนับสนุนอุปกรณ์ปลูกและต้นกล้าให้อีกด้วย” รศ.โสระยากล่าว

ขณะที่ นางพรทิพย์ อัษฎาธร กรรมการผู้จัดการ อุทยานไม้ดอก เพ ลา เพลิน จ.บุรีรัมย์ ธุรกิจจัดแสดงไม้ดอกและส่งออก กล่าวยืนยันเช่นกันว่า ฝรั่งบอกว่ากระเจียวและปทุมมากำลังฮิตกันมากในต่างประเทศ เพราะสวย อยู่ทน และราคาถูกกว่าทิวลิป โดยเฉพาะตอนนี้ดอกกระเจียวที่เขาเริ่มรู้จักและได้รับความนิยมมากขึ้น จนสวนที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ต้องสั่งหัวพันธุ์ที่เพาะพันธุ์จากเชียงใหม่และพะเยาไปปลูก ฉะนั้นก็อยากให้คนไทยรู้จักและนำกระเจียวไปใช้ประโยชน์

ด้าน นางกุญช์ชญา สวัสดี อายุ 49 ปี abrahamstent.org เจ้าของสวนกระเจียว ปทุมมา พื้นที่ 50 ไร่ ใน อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เล่าว่า แต่ก่อนปลูกไม้ดอกพวกเบญจมาศ แกลดิโอลัส ลิลลี่ แต่ราคาไม่ดี ภายหลังเข้าไปเรียนรู้และรับแจกหัวพันธุ์จากศูนย์ จึงเปลี่ยนมาปลูกปทุมมา ซึ่งขายได้ทั้งดอกและหัวพันธุ์ ทำให้ตนมีรายได้ดีกว่าเดิมมาก อย่างตอนนี้ปลูก 50 ไร่ สามารถเก็บดอกปทุมมาได้วันละ 1-2 หมื่นดอก ขายในฤดูกาลได้ดอกละ 2-3 บาท หัวพันธุ์ขายได้ 4-5 บาท ส่งขายทั้งในและต่างประเทศ แม้จะผ่านพ่อค้าคนกลางอีกทีก็มีรายได้ต่อปีรวมหลายล้านบาท ขณะที่ช่วงนี้เริ่มลงกระเจียวเพิ่ม ซึ่งให้ผลตอบแทนมากกว่าปทุมมาถึง 3 เท่าตัว

นางลัดดา ชัยอาภัย อายุ 69 ปี ประธานกลุ่มปลูกดอกกระเจียว อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ กล่าวด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ หลังมีรายได้เสริมปีละหลายหมื่นบาทจากการปลูกไม้ดอกที่ศูนย์ส่งเสริมและส่งผ้าทอมือขายมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯว่า ดีใจที่ได้อยู่ใต้ร่มพระบารมีของพระองค์ ที่พระราชทานโครงการดีๆ ทำให้ประชาชนมีโอกาสมีรายได้ แม้วันนี้ตนจะไม่ได้มีฐานะร่ำรวยอะไร แต่ก็สามารถส่งลูกเรียนสูงๆ ได้ ชีวิตตัวเองก็อยู่สบายตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ตนจึงตั้งปณิธานจะทำความดี นำองค์ความรู้ที่มีแบ่งปันให้เพื่อนเกษตรกรคนอื่นๆ ต่อไป

ชมความงามดอกกระเจียว ปทุมมา ที่ยกสวนกว่า 2 แสนต้นมาจัดแสดงภายในงาน “ปทุมมาราชินีป่าฝน” ระหว่างวันที่ 9-14 สิงหาคม ณ ศูนย์การค้าดิ เอ็มโพเรียม

ผศ.ดร. ประมา ศาสตระรุจิ อาจารย์ประจำวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) อาจารย์ประจำวิชาการบริหารความเสียงในธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ เปิดผยผลวิจัยของตนในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์ภูมิคุ้มกันด้านการรับรู้สื่อ : ความเชื่อและการส่งต่อข้อมูลในสื่อออนไลน์” โดยศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเชื่อและการส่งต่อข้อมูลในสื่อออนไลน์ตามหลักทฤษฎีพร้อมกับศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างโดยสัมภาษณ์กลุ่มวัยรุ่น อายุ 15-24 ปี คนทำงานอายุ 25-60 ปี และผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผลการวิจัยพบว่า 1. การเชื่อข้อมูลที่ได้รับมาจากสื่อออนไลน์ ประกอบด้วย ความสมเหตุสมผลของข้อมูล แหล่งข่าวมีความน่าเชื่อถือ พบว่ากลุ่มวัยรุ่นหรือกลุ่มคนทำงาน และกลุ่มผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษาน้อยจะเชื่อถือโดยไม่ตรวจสอบแหล่งข่าวมากกว่า 2. การส่งต่อข้อมูลข่าวสารกลุ่มวัยรุ่นจะส่งข่าวสารออกไปเพื่อสร้างความสนใจและการยอมรับของกลุ่ม โดยไม่สนใจผลกระทบของข่าวสารมากนัก ต่างกับคนวัยทำงานและกลุ่มผู้สูงอายุจะเน้นการส่งต่อข่าวสารที่มีลักษณะเชิงความปรารถนาดี อยากแบ่งปันข้อมูล นอกจากนี้พบว่ากลุ่มคนทำงานจะมีความระมัดระวังมากกว่ากลุ่มคนในช่วงวัยอื่น และ 3. การส่งผลกระทบต่อมาตรการตามกฎหมาย พบว่า กลุ่มวัยรุ่นจะเชื่อถือกฎหมาย พบว่า กลุ่มวัยรุ่นจะเชื่อถือกฎหมายน้อยกว่ากลุ่มอื่น เพราะเชื่อว่าการแบ่งปันข้อมูลเป็นสิทธิและเชื่อว่าไม่ได้ทำให้ใครเสียหาย เพราะส่งภายในกลุ่มเฉพาะหรือกลุ่มปิดเท่านั้น

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า 1. การให้ความรู้และสร้างความตระหนักว่า การส่งต่อข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จเป็นการละเมิดสิทธิและสร้างความเสียหายแก่บุคคลเป็นสิ่งสำคัญแม้จะเป็นการส่งต่อภายในกลุ่มเปิดก็ตาม 2. ต้องส่งเสริมและปลูกฝังค่านิยมเช็คก่อนเชื่อ เช็คก่อนแชร์ ไม่ว่าข้อมูลข่าวสารนั้นๆ จะส่งมาจากผู้ใด ซึ่งทั้งการสร้างการตระหนักรู้ในการส่งต่อข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จและการเช็คก่อนเชื่อ หรือเช็คก่อนแชร์เป็นพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งสถานศึกษาจะต้องปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้องให้กับเด็กตั้งแต่ระดับประถมศึกษา โดยใช้กิจกรรมที่จัดอย่างเป็นระบบ สม่ำเสมอเพื่อกระตุ้นและสร้างความตระหนักรู้ 3. การกด Like โดยไม่ได้แชร์ เป็นการส่งต่อข้อมูลทางหนึ่ง 4. หน่วยงานภาครัฐ ควรมีข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริงที่เป็นปัจจุบันลงในสื่อออนไลน์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่ทันทีเพื่อให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้ก่อนส่งต่อข้อมูลที่ได้รับการแชร์ต่อๆ กัน และ 5. ภาครัฐควรจัดอบรมการใช้สื่อออนไลน์ สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มวัยรุ่น เพื่อให้เข้าใจระบบการใช้งานอย่างแท้จริง และภาครัฐควรเผยแพร่ พ.ร.บ.เกี่ยวกับสื่อแบบเข้าใจง่ายและเผยแพร่ในสื่อออนไลน์อย่างเข้าใจและเข้าถึงพฤติกรรมของผู้ใช้สื่อออนไลน์แต่ละช่วงวัย ผศ.ดร. ประมา กล่าว