สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและดิจิตอลคอนเทนต์

หลักสูตรระยะสั้นวิชา 2D/3D Animation มีนักศึกษาจำนวน 25 คน ครูและเจ้าหน้าที่ 7 คน เข้ารับการฝึกระหว่างวันที่ 19-31 กรกฎาคา 2561 ที่ Chien Hsin University of Science and Technology ภายใต้ความร่วมมือกับสำนักงานเศรษฐกิจไทเป ประจำประเทศไทย และประเทศอิสราเอล ได้แก่ สาขาพืชศาสตร์ (ทวิภาคี) ไทย-อิสราเอล เป็นการจัดการเรียนการสอนภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สอศ.กับ Arava International Center for Agricultural Training (AICAT) มีนักศึกษาจำนวน 90 คน เข้ารับการฝึก ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม 2561 – 30 มิถุนายน 2562 และครู เจ้าหน้าที่จำนวน 10 คน ร่วมประชุมและหารือความร่วมมือ ระหว่างวันที่ 25-31 กรกฎาคม 2561 ที่ Arava International Center for Agricultural Training (AICAT)

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยหน่วยบริการวิชาการและกิจการพิเศษ คณะวิทยาการจัดการ ลงพื้นที่จัดโครงการการเพิ่มช่องทางการตลาดสำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและผู้ประกอบรายย่อยที่หมู่ 7 ตำบลขุนทะเล อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อเสริมสร้างทักษะและศักยภาพของประชาชนในชุมชน ด้านการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า

อาจารย์จุฑารัตน์ ธาราทิศ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ กล่าวว่า การเพิ่มช่องทางการตลาดที่นับว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจสามารถสร้างรายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น และจำเป็นต้องหาแนวคิดใหม่ๆ ที่นำมาใช้ในการพัฒนากระบวนการซื้อขายผลิตภัณฑ์และการสร้างช่องทางการทำเงินใหม่ๆ ให้ประสบความสำเร็จและอยู่รอดอย่างยั่งยืน ซึ่งการเพิ่มช่องทางการตลาดในปัจจุบันนี้มีหลายช่องทาง เช่น การซื้อขายในตลาดออนไลน์ถูกนำมาใช้มากในปัจจุบัน สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย และสามารถสร้างกลยุทธ์ที่สร้างความ น่าสนใจให้เกิดได้

ด้าน อาจารย์ดาริน รุ่งกลิ่น ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า “นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่เข้ามาเพิ่มศักยภาพด้านการจัดจำหน่ายสินค้าให้กับชุมชน ให้เกิดการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี และนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ และความต้องการของชาวบ้านที่จะให้คณะวิทยาการจัดการเข้ามาอบรมให้ความรู้กับชาวบ้านในตำบลขุนทะเล จึงได้มีการจัดโครงการนี้ขึ้น”

นายปัญญา หาญลำยวง อธิบดีกรมพลศึกษา กล่าวระหว่างเดินทางเป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาเด็กเล็กชิงชนะเลิศระดับภาคใต้ประจำปี 2561 ที่สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตตรัง โดยกล่าวว่ากิจกรรมนี้จัดขึ้นทั่วประเทศ ถือเป็นโอกาสอันดีที่ทุกฝ่ายได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเด็กเล็กสู่การเจริญเติบโตตามวัยที่เหมาะสม เพราะกีฬาเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เด็กเล็กฝึกทักษะการเรียนรู้ การแก้ปัญหา ปลูกฝังนิสัยรักการเล่นกีฬา ซึ่งส่งผลให้มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีอารมณ์แจ่มใส

“ผลพวงจากการเป็นนักกีฬา การออกกำลังกายทำให้ร่างกายแข็งแรง ต้องชื่นชมทีมนักฟุตบอลเยาวชนหมูป่า อะคาเดมี่ ติดภายในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ตำบลแม่สาย จังหวัดเชียงราย นาน 17 วัน เรื่องความมีระเบียบวินัย มีกฎกติกา เมื่อถึงสถานการณ์คับขัน โค้ชเอก ผู้ช่วยโค้ชทั้งในสนามและนอกสนาม สอนให้เด็กปฏิบัติตัวอย่างไร แสดงให้เห็นว่าเขาเป็นนักกีฬามีระเบียบ ใช้ไฟฉายทีละกระบอก กินน้ำจากถ้ำ เด็กอยู่ในสภาพความกดดันจิตใจขนาดนั้น แต่เป็นนักกีฬา มีระเบียบมีวินัย เขาถูกสร้างให้เป็นผู้รับผิดชอบและเชื่อฟัง”

ที่ จังหวัดกำแพงเพชร นายทินกร หมวกแก้ว รองผู้อำนวยการสำนักงานเชิงปฏิบัติการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ (English) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 กล่าวว่า จากบทเรียนทีมหมูป่าติดอยู่ในถ้ำหลวง สามารถพูดสื่อสารกับชาวต่างชาติด้วยภาษาอังกฤษ จึงวางแนวทางจัดอบรมครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ทุกโรงเรียน ใช้ศัพท์เพื่อสื่อสารนำไปสอนนักเรียน โดยยกนักดำน้ำชาวอังกฤษกับทีมหมูป่าเป็นตัวอย่าง ใช้คำศัพท์พื้นฐาน สนทนาเข้าใจง่าย นำไปใช้ได้จริง

นางวีระวรรณ หัดไทย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ กล่าวว่า จัดอบรมให้ครูสอนภาษาอังกฤษ 2 รุ่น ใช้เวลารุ่นละ 1 วัน รวม 204 คน ทั้งนี้เพื่อให้ครูและนักเรียนสนทนาสื่อสารในห้องเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ใช้ศัพท์อย่างง่ายๆ เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกพูด ฟัง โต้ตอบ อย่างง่ายๆ สนุกสนาน เน้นการพูดและใช้คำศัพท์ได้จริง กล้าที่จะพูดและโต้ตอบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวเน็ตแห่แชร์คลิปภาพการชุมนุมของกลุ่มครูกลุ่มหนึ่ง โดยเนื้อหา มีการประกาศปฏิญญา มหาสารคาม วันที่ 14 กรกฎาคม 2561 ความว่า ขอให้รัฐบาลและธนาคารออมสินพักหนี้โครงการสวัสดิการเงินกู้การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.) ทุกโครงการ ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป ข้อ 2 ลูกหนี้ ช.พ.ค. จำนวน 4.5 แสนคน จะดำเนินการยุติการชำระหนี้กับธนาคารออมสิน ตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2561 เป็นต้นไป

สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ถึงความไม่เหมาะสม เช่น ‘แบบนี้ก็ได้หรอ เป็นหนี้ไม่ต้องชำระหนี้’, ‘อายครูไม่รู้วิชา แต่ครูไม่อายนักเรียน’ เป็นต้น เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ดร.สมบุญ โฆษิตานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศทรัพยากรธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณีวิทยา กล่าวถึงแหล่งฟอสซิลดึกดำบรรพ์ที่พบที่บ้านซับชมภู อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ ว่า จากภาพที่สื่อนำออกเผยแพร่ ในเบื้องต้นสันนิษฐานว่า เป็นยุคเพอร์เมียนและเป็นยุคเดียวกันกับแหล่งฟอสซิลฯ ภูน้ำหยด อ.เชียรบุรี ซึ่งอายุราว 240 ล้านปี ทั้งนี้

ทีมธรณีวิทยาเพชรบูรณ์ได้ลงพื้นที่สำรวจก่อนหน้านี้แล้ว เพียงแต่สภาพพื้นที่และภูมิประเทศมีความแตกต่างกันออกไป แต่ทั้งสองแหล่งเชื่อว่ามีการเชื่อมโยงกันอย่างแน่นอน เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกอนุแผ่นผิวโลกเก่า อินโด-ไชน่า และชาน-ไทยที่ยกตัวสูงขึ้นโดยมีทะเลเททิสคั่นกลาง ทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาขึ้น โดยแนวที่พบหลักฐานมีตั้งแต่ถ้ำใหญ่น้ำหนาวเพชรบูรณ์ โดยไล่ลงมาถึงภูน้ำหยด อ.วิเชียรบุรี และยังต่อเนื่องไปถึง อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ซึ่งเป็นทะเลเดียวกันมาก่อน

ดร.สมบุญ กล่าวอีกว่า สำหรับแหล่งฟอสซิลดึกดำบรรพ์ภูน้ำหยดนั้น ขณะนี้ มีนักวิชาการและนักวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศให้ความสนใจและติดต่อสอบถามข้อมูลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเพิ่งเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น ได้มีนักวิจัยในเครือข่ายนักธรณีให้ความสนใจเช่นกัน โดยมีการขอข้อมูลและกำลังพิจารณาเรื่องการขอทุนวิจัยแหล่งธรณีวิทยาแห่งนี้ ฉะนั้น หากมีการศึกษาค้นคว้าและมีการเก็บตัวอย่างไปทำวิจัยในห้องแล็บ จะทำให้เกิดประโยชน์และได้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้น ที่สำคัญจะนำไปสู่การไขปมปริศนาถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกเมื่อ 240-280 ล้านปี ในยุคเพอร์เมียนที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จนทำให้สัตว์เลื้อยคลานน้อยใหญ่ในยุคนี้เกิดการสูญพันธุ์เป็นจำนวนมาก

ดร. สมบุญ กล่าวอีกว่า สิ่งที่น่าห่วงใยอีกเรื่องก็คือ ซากฟอสซิลเหล่านี้ไม่เพียงมีคุณค่าในด้านวิชาการเท่านั้น แต่ยังเป็นสมบัติของชาติหรือของโลกอีกด้วย แม้ปัจจุบันมีกฎหมายให้ความคุ้มครอง ห้ามทำการค้าซื้อขายกัน แต่ทั้งนี้ก็ยังเป็นที่ต้องการของบรรดาพวกนักสะสมและพวกชอบทำเครื่องรางของขลังอีกด้วย จึงทำให้ฟอสซิลเหล่านี้มีมูลค่า และเท่าที่ทราบในตลาดมืดก็มีการประมูลและซื้อขายฟอสซิลเหล่านี้ด้วย ยิ่งปัจจุบันมีทั้งระบบอินเตอร์เน็ตและสื่อโซเชียล ทำให้การซื้อขายแบบข้ามโลกทำได้ไม่ยาก ฉะนั้น จึงฝากให้หน่วยงานในพื้นที่และทางท้องถิ่น โดยเฉพาะชาวบ้านในชุมชน ให้ช่วยกันสอดส่องดูแลอนุรักษ์รักษาฟอสซิลเหล่านี้เอาไว้ให้ได้

อนึ่ง จากข้อมูลเว็บไซต์วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี ระบุว่า “ยุคเพอร์เมียน” (อังกฤษ : permian) เป็นยุคสุดท้ายในมหายุคพาลีโอโซอิก อยู่ระหว่าง 299±0.5 ล้านปีมาแล้วถึง 251±0.16 ล้านปีมาแล้ว มีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำอยู่มากมาย พืชตระกูลสน เฟิร์น มีมากในช่วงนี้ สัตว์เลื้อยคลานในช่วงนี้คล้ายคลึงกับไดโนเสาร์ แต่เกิดการสูญพันธุ์ช่วงปลายยุค ซึ่งเป็นการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดที่พบบนโลก สิ่งมีชีวิตบนโลกได้สูญพันธุ์ไปถึง ร้อยละ 96-97

กยท. จัดงานสถาปนา ก้าวสู่ ปีที่ 4 “สร้างสรรค์นวัตกรรมยางไทยให้ก้าวหน้า” ภายใต้แนวคิดส่งเสริมนวัตกรรมยางสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยาง การยกระดับมาตรฐานยางพารา สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ยางพาราไทย ในยุคไทยแลนด์ 4.0 พร้อมจัดแสดงนิทรรศการนวัตกรรมจากยางพารา – ผลิตภัณฑ์แปรรูปยาง

นางสาววราภรณ์ พรหมพจน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานในพิธีเปิดงาน เผยว่า ที่ผ่านมา กยท. ได้ขับเคลื่อนงานในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านการส่งเสริม โดยให้ความสำคัญกับเกษตรกรชาวสวนยางในการพัฒนา ยกระดับ และผลักดันให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นสถาบันเกษตรกรที่มีศักยภาพในการแปรรูป การพัฒนาด้านตลาด ด้านงานวิจัย หรือแม้กระทั่งการให้ทุนสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการยาง เพื่อนำไปเป็นทุนหมุนเวียน เพิ่มกำลังในการผลิตยางพาราให้มากขึ้น การย่างก้าวเข้าสู่ ปีที่ 4 นี้ กยท. ยังคงมุ่งมั่นพัฒนา กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมเดินหน้าปฏิบัติงานเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะด้านการพัฒนางานวิจัย ตามวิสัยทัศน์การยางแห่งประเทศไทย

คือการก้าวไปสู่การเป็น “องค์กรชั้นนำระดับโลก ในการบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบ” ดังนั้น การดำเนินงานของ กยท. จะต้องรักษามาตรฐานการดำเนินงานที่ดีอยู่แล้วให้คงอยู่และพัฒนาศักยภาพการให้มีความเชี่ยวชาญด้านยางพาราในทุกสถานการณ์ ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ รวมถึงบูรณาการและประสานความร่วมมือร่วมกับหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเกษตรกร สถาบันเกษตรกร ตลอดจนผู้ประกอบกิจการยางพารา เพื่อวางแผนกำหนดแนวทางการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกมิติ

นางสาววราภรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบัน ตลาดโลกยังมีความต้องการใช้ยางพาราเป็นอย่างมาก แต่ประเทศไทยยังส่งออกยางพาราในรูปแบบวัตถุดิบเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น การสร้างความยั่งยืนให้กับพืชเศรษฐกิจสำคัญอย่างยางพารา คือการยกระดับตนเองจากการเป็นประเทศผู้ส่งออกวัตถุดิบยาง มาเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์ยาง โดยต้องอาศัยการส่งเสริมผลักดันสู่กระบวนการแปรรูปโดยใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งแนวทางนี้ประเทศไทยจะได้เปรียบ เนื่องจากเป็นแหล่งวัตถุดิบ จึงมีโอกาสที่จะต่อยอดพัฒนา

สร้างนวัตกรรมแปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น ประกอบกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการนำพาประเทศไปสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยการปรับโครงสร้างให้ภาคเศรษฐกิจขับเคลื่อนด้วย “นวัตกรรม” เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าภายในประเทศ ทำให้แผนดำเนินงานยางพาราปัจจุบันสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งเป็นผลดีต่อการบริหารจัดการ สิ่งสำคัญคือ การทำให้เกิดเป็นรูปธรรม ด้วยการนำเทคโนโลยี นวัตกรรม มาช่วยในการเพิ่มผลผลิตและแปรรูป พร้อมกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในวงการยางพาราไทย โดยเฉพาะกับผู้วิจัยผู้คิดค้นนวัตกรรมยาง อีกทั้งต้องยกระดับศักยภาพของเกษตรกรชาวสวนยางให้สามารถพัฒนารักษามาตรฐานคุณภาพผลผลิตให้ได้ต่อเนื่อง เพื่อให้การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมยางพารามีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับจากกลุ่มผู้บริโภคทั่วโลก

ด้าน นายธีรวัฒน์ เดชทองคำ รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ด้านธุรกิจและปฏิบัติการ กล่าวว่า การจัดงานวันสถาปนาการยางแห่งประเทศไทย ประจำปี 2561 นี้ ซึ่งถือเป็นเป็นวันครบรอบ 3 ปี พร้อมก้าวเข้าสู่ ปีที่ 4 เพื่อเป็นการผลักดันให้การดำเนินงานของการยางแห่งประเทศไทย เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับนโยบายหลักของประเทศที่เน้นการพัฒนาไปสู่ภาคอุตสาหกรรม กยท. จึงเร่งคิดค้นวิธีเพิ่มมูลค่ายางพาราเพื่อใช้ในประเทศ ลดการพึ่งพาการส่งออก ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง รวมถึงผู้ประกอบกิจการยาง

สร้างและพัฒนาผลผลิตหรือผลิตภัณฑ์ยางพาราที่ได้คุณภาพ มีมาตรฐาน กระตุ้นความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการยางทั้งระบบมีความมั่นคงในอาชีพมากขึ้น จึงกำหนดจัดงานขึ้นภายใต้แนวคิด “กยท. ก้าวสู่ ปีที่ 4 สร้างสรรค์นวัตกรรมยางไทยให้ก้าวหน้า” โดยมุ่งหวังที่จะกระตุ้นให้ผู้เกี่ยวข้องเห็นถึงทิศทางยางพาราในอนาคต และเพื่อสร้างความหลอมรวมกันระหว่างพนักงานภายในองค์กร ตลอดจนสร้างสัมพันธ์อันดีกับทุกภาคส่วนที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนายางพาราทั้งระบบ

สำหรับกิจกรรมภายในงานนั้น นอกจาก กยท. จะเปิดบ้านต้อนรับแขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมแสดงความยินดีในวันครบรอบสถาปนา 3 ปี ก้าวสู่ ปีที่ 4 แล้ว ยังมีโซนนิทรรศการแสดงผลงานวิชาการ และผลงานนวัตกรรมยางพารา การผลิตยางตามมาตรฐาน GMP ตลอดจนผลิตภัณฑ์ยางพารามากมาย ร่ามพิธีมอบรางวัลด้านต่างๆ ได้แก่ รางวัลเชิดชูคนดีมีคุณธรรมของ กยท. รางวัลการประกวดนวัตกรรมยางพารา และรางวัลสถาบันเกษตรกรดีเด่น ประจำปี 2561 รวมถึงการจำหน่ายสินค้าของดีจากการยางแห่งประเทศไทยระดับเขต ทั่วประเทศเพื่อให้ผู้ร่วมงานได้จับจ่ายซื้อสินค้าภายในงานด้วย นายธีรวัฒน์ กล่าวทิ้งท้าย

น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รมช.พาณิชย์ เปิดเผย ภายหลังการเป็นสักขีพยานร่วมกับ นางจันทิรา ยิมเรวัต วิวัฒน์รัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ในการลงนามข้อตกลง (MOU) ระหว่าง บริษัท เมดิฟูดส์ และ บริษัท เจอเจียงจงผานซีเรียลแอนด์ออยล์ พร้อมเร่งผลักดัน ข้าว กข 43 สู่ตลาดจีน ทั้งช่องทางการค้าปกติ และการขายผ่านระบบ e-Commerce บนเว็บไซต์ Tmall.com ว่า ความร่วมมือครั้งนี้เป็นผลต่อยอดจากความร่วมมือกับ บริษัท อาลีบาบา กรุ๊ป จำกัด ในการส่งเสริมสินค้าเกษตรและนวัตกรรมเกษตรไทยให้สามารถเจาะตลาดจีนแบบส่งตรงถึงมือผู้บริโภค หรือ B2C ผ่านเว็บไซต์ Tmall.com

โดยได้เปิดตัว Thai Rice Flagship Store บนเว็บไซต์ Tmall.com เมื่อเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา และร่วมมือกับอาลีบาบาผลักดันทั้งสินค้าเกษตรอื่น เช่น ข้าว ผลิตภัณฑ์จากข้าว ผลไม้สด และผลไม้แปรรูป จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 3 เดือน ได้รับผลตอบรับอย่างดี อย่างไรก็ตาม ช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. ที่จะถึงนี้จะมีผลผลิต ข้าว กข 43 ออกสู่ตลาดปริมาณ 13,000 ตัน ดังนั้นกระทรวงพาณิชย์จึงต้องเร่งทำตลาด และจีนเป็นประเทศแรกที่สนใจ โดยหลังจากนี้กรมการค้าต่างประเทศยังมีแผนจะเดินสายโปรโมท ข้าว กข 43 ในอีกหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และในอาเซียน เป็นต้น

โดยกำหนดเป้าหมายนำเข้าข้าว ปริมาณ 10,000 ตัน และ บริษัท เจอเจียงจงผานซีเรียลแอนด์ออยล์ จะเป็นรายแรกที่นำเข้า ข้าว กข 43 เข้าสู่ตลาดจีน อีกทั้งยังได้ร่วมมือกับ Tmall.com ผลักดัน ข้าว กข 43 ขึ้นขายบนเว็บไซต์ดังกล่าว ภายใต้โครงการ Thai Rice Flagship Store เพื่อเจาะตลาดออนไลน์ในจีน

ทั้งนี้ ข้าว กข 43 เป็นพันธุ์ข้าวที่ศึกษาวิจัยแล้วว่า มีค่าการแตกตัวเป็นน้ำตาลน้อย และมีค่าดัชนีน้ำตาลอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ จึงถือเป็นข้าวทางเลือกของผู้ใส่ใจสุขภาพ จุดเด่นของข้าว พันธุ์ กข 43 คือ เป็นข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ต้านทานโรคไหม้ คุณภาพการสีดี สามารถนำมาทำเป็นข้าวขาว 100% ได้ เมื่อหุงต้มจะมีลักษณะนุ่ม มีกลิ่นหอม

นักวิจัยไทย ระดมข้อมูลจากศูนย์วิจัยทั่วโลก พยากรณ์โอกาสเสี่ยงการปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ ในไทย โดยมีตัวแปรสำคัญคือ “ภาวะโลกร้อน”อาจารย์เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ (Climate Change and Disater Center) มหาวิทยาลัยรังสิต และในฐานะคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ รวมทั้งยังเป็นผู้ทำงานวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในไทย ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ “เทคโนโลยีชาวบ้าน” ถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่มีผลต่อภาคเกษตรกรรมของไทยนั้น ได้รับผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยที่สูงขึ้น จากภาวะโลกร้อนอย่างต่อเนื่อง

“ปัจจุบัน อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจากอุณหภูมิปกติ อยู่ที่ 0.87 องศาเซลเซียส สูงกว่ายุคอุตสาหกรรรม โดยคาดการณ์ว่า หลังจากนี้ อุณหภูมิจะสูงขึ้นอีกจากหลายปัจจัย เช่น ถ้าสภาพการแข่งขันในทุกๆ ด้านยังสูงอยู่ หมายถึง ถ้าต่างคนต่างผลิตอาวุธ หรือใช้พลังงานฟอสซิลมากอยู่เช่นนี้ อีก 80 ปี นับจากปัจจุบันโลกจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยมากขึ้น เหมือนกับที่คุยกันที่ข้อตกลงปารีส คุยกันว่าจะให้ลดน้อยลงกว่า 2 องศา ปัจจุบัน จะเลยเส้นสีแดงแล้ว มันจะไปเร็วกว่าที่เราคาดการณ์ อันนี้สาเหตุแรก

สาเหตุที่สอง บนโลกใบนี้มีความแปรปรวนอยู่แล้วเป็นช่วงๆ อย่างเช่น ปรากฏการณ์เอลนิโญ่ ลานิญ่า โลกร้อนทำให้แปรปรวนขึ้น มันเปลี่ยนแปลงเร็ว เช่น บ้านเราอยู่ๆ ฝนตกหนัก ที่แล้งๆ ก็แล้งจริงๆ” อาจารย์เสรี อธิบายถึงปัจจัยและสาเหตุที่ทำให้โลกร้อนขึ้น

สำหรับข้อมูลที่น่าสนใจคือ ประเทศไทย มีความเปราะบาง มีโอกาสเสี่ยงต่อความแปรปรวนทางสภาพอากาศในอันดับที่ 9 ส่วนประเทศที่เปราะบาง อันดับ 1 คือ ฮอนดูรัส รองลงมา ได้แก่ เฮติ เมียนมา นิการากัว ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ ปากีสถาน เวียดนาม ไทย และโดมินิกัน รีพับบลิก เป็นลำดับสุดท้าย

ซึ่งอาจารย์เสรี นำฐานข้อมูลมาจากเว็บไซต์แอคคิวเวทเตอร์ดอทคอม (AccuWeather.com) โดยเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่รวบรวมสภาวะอากาศและด้านภัยธรรมชาติจากทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม อาจารย์เสรี ยังเล่าให้ฟังอีกว่า ประเทศไทย เคยประกาศนโยบายเป็นครัวของโลก แต่สวนทางกับที่ศูนย์วิจัยจากต่างประเทศประเมินประเทศไทย เพราะฉะนั้นไทยจึงต้องปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงของโลก

อย่างเช่น กรณีทุเรียน ถ้าน้ำดีก็ให้ผลผลิตดี ซึ่งตอนนี้คนไทยหันไปปลูกทุเรียน โดยรัฐบาลไม่มีนโยบายอะไรให้เขา ทั้งๆ ที่การทำสวนทุเรียนนั้น ต้นทุเรียนจะกินน้ำมากถึง 2 เท่า และน้ำส่วนใหญ่ที่เป็นพื้นที่ปลูกทุเรียน อาทิ จังหวัดระยอง และจันทบุรี ก็ใช้น้ำร่วมกับพื้นที่ภาคอุตสาหกรรม ถ้ารัฐบาลไม่มียุทธศาสตร์ ชาวบ้านจะเหนื่อย และในอีก 2 ปีข้างหน้า ชาวสวนทุเรียนก็จะประสบเหตุเดียวกับยางพารา

“อย่างผลกระทบต่อทุเรียนต้องใช้งานวิจัยของญี่ปุ่น ซึ่งพยากรณ์ไว้เพื่อประกอบการวิเคราะห์จนได้ผลออกมาว่า สวนทุเรียน มีประสบการณ์ในปี 2559 เกษตรกรต้องหาซื้อน้ำกัน ประเด็นคือว่า ปีหน้า (ปี 2562) กับปีโน้น (2563) จะต้องมีแหล่งน้ำเป็นของตัวเอง เพราะน้ำมาเยอะ

ส่วนในปี 2561 ในช่วง 4 เดือน คือเดือนพฤษภามถึงเดือนสิงหาคม ฝนมาดี ต้องทำบ่อเก็บน้ำไว้เป็นทางเลือก เพราะทุเรียนขาดน้ำไม่ได้ ถ้าไม่มีฝน คุณจะเอาน้ำจากไหน พื้นที่ต้องมากขึ้นด้วย เพราะต้องโค่นยางปลูกทุเรียน และควรจะปลูกพืชผลแบบผสมผสาน ถ้าฝนไม่มาคุณก็ได้กิน เช่น ปลูกผลไม้ทนแล้ง ถ้าน้ำมาดีก็ได้ทุเรียนไป

ส่วนข้าวก็เจอปรากฏการณ์ทุเรียน คือบางคนเลิกปลูกข้าวไปปลูกทุเรียนเพราะเห็นกระแสดี แต่ต่อไปอีก 10 ปี จะเกิดภัยแล้ง 2-3 ครั้ง เพราะฉะนั้น เกษตรกรต้องวางแผนให้ดี เช่น อย่างที่บอก ปลูกพืชที่ให้ผลสั้นๆ 2-3 เดือน ให้ผล แล้วไม่ต้องโค่น ปลูกพืชกินน้ำน้อย รัฐก็ควรให้ความสนใจกับการให้ความรู้เกษตรกรในการปลูกพืชที่กินน้ำน้อย เช่น ข้าวโพด มัน และก็ใช้วิธีปลูกสลับๆ หรือเกษตรกรบางรายมีแปลงข้าวอยู่ก็แบ่งพื้นที่ปลูกพืชทนน้ำ หรือสวนผลไม้เป็นเกษตรผสมผสาน แปลงหนึ่งปลูกข้าว แปลงหนึ่งปลูกข้าวโพด

ส่วนใหญ่ประชาชนบอกว่า เขาทำไม่เป็น อันที่สองคือ ดินเหนียว ทำไม่ได้ หน่วยงานรัฐ ถ้าเขาบอกทำไม่เป็น คุณก็ให้ความรู้เขาสิ เรื่องปุ๋ย เรื่องยา” อาจารย์เสรี พยากรณ์ให้ฟังจากฐานข้อมูลจากทั่วโลกที่ใช้วิเคราะห์

“พอประเทศไทยเปราะบาง ล่าสุดสหประชาชาติประเมินประเทศที่มีความมั่นคงด้านน้ำและอาหารต่ำ ที่เขาประเมินกัน เวลาเราเกิดปัญหาอะไร ใช้ดัชนี 5 ด้าน ด้านความปลอดภัย (security) เช่น ถ้าประเทศไทยเกิดภัยพิบัติด้านน้ำท่วมน้ำแล้ง มีการปรับตัวได้เร็วไหม

อย่างเช่น น้ำท่วม ปี 2554 เราแย่เลย เราปรับตัวไม่ดี รับมือไม่ได้ รวมไปถึงการประเมินน้ำเพื่อเกษตร น้ำเพื่อชุมชน และน้ำเพื่อหมู่บ้าน ชุมชนห่างไกล และน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นยังไง ทั้งหมดได้ข้อสรุปว่า เราไม่มีความมั่นคงด้านน้ำ” อาจารย์เสรี เปิดเผยข้อมูลที่ไทยยังมีการบริหารจัดการน้ำที่ไม่ดีพอ