สารกำจัดศัตรูทุเรียน ป้าปั้นหยา บอกว่า “ป้าจะต้องเข้าสวนบ่อยๆ

บ้านห่างจากสวนเพียง 200 เมตร เดินสำรวจดู หมั่นสังเกตรอบๆ สวน ดูต้น ดูใบ มีอะไรผิดสังเกตบ้าง ก็มีความสุขดี ได้ออกกำลังกายด้วย บางครั้งป้าออกจากบ้านไปที่อื่นสักวันสองวัน กลับมาก็คิดถึงเขา…ต้องเข้าไปดู…ดูแล้วสบายตา สบายใจ”

ป้าปั้นหยา กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า เคยพบเห็นที่บริเวณลำต้นทุเรียนถูกหนอนเจาะ “ป้าใจไม่ดี เรียกให้ลุงมาดู ช่วยกันใช้วัสดุเขี่ยตัวหนอนออกมา แล้วใช้ปูนแดงอัดเข้าไปในรู และทาที่รอยแผลต้นนั้น…เดี๋ยวนี้ก็ยังมีรอยแผลอยู่นะ แต่ต้นก็โตมากแล้วให้ผลดกดี

วัชพืช ป้าปั้นหยา บอกไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า ได้แต่จ้างคนงานมาตัดหญ้าให้ จะเห็นบริเวณในสวนสะอาดสะอ้านตาสุดๆ นับเป็นการจัดการสวนที่ดี ดูแลทุเรียนด้วยความเอาใจใส่

ลุงละไม้ กล่าวว่า ทุกๆ ปี ทุเรียนจะออกดอกราวๆ เดือนธันวาคม… ปี 2562 นี้เพิ่งจะตัดผลครั้งสุดท้ายไปเมื่อเดือนมิถุนายน แต่นี่เดือนตุลาคม (2562) เริ่มทยอยออกดอกแล้ว แต่ลุงต้องการดอกรุ่นหลังที่ออกดอกเต็มทั่วทั้งต้น แล้วเลือก…เก็บไว้เฉพาะดอกที่สมบูรณ์ที่สุด เพื่อให้ติดผลเพียงต้นละไม่เกิน 50 ผล ก็พอแล้ว

ทุเรียนของสวน ลุงละไม้ – ป้าปั้นหยา ให้ผลผลิตดีเมื่อต้นอายุปีที่ 7 นับเป็นปีแรกที่ให้ผลและต้นยังสาวเมื่อเก็บผลหมดต้น ตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ผสมกับสูตร 46-0-0 เริ่มให้น้ำและดูแลอย่างเต็มที่ เพื่อให้ต้นฟื้นตัวเร็ว แตกใบอ่อนอย่างมีคุณภาพ เพียง 15 วัน ก็จะเริ่มแตกใบอ่อน รอไป 3 รุ่น ใบก็จะเร่งทำดอกติดผลอ่อน มีพัฒนาการของผลจนแก่จัดและเก็บผลได้ ใช้เวลา 4 เดือน นับจากดอกทุเรียนบาน สรุปการให้ปุ๋ยก็คือ ให้หลังตัดแต่งกิ่ง ระยะออกดอก ระยะติดผล ระยะขยายผล

ผลผลิตปีแรก น่าภาคภูมิใจ

ป้าปั้นหยา กล่าวอย่างภาคภูมิใจกับผลผลิตปีแรก มีคนรับซื้อจากตลาดในท้องถิ่น ตัดได้ 2 รุ่น รุ่นแรก ขายได้ราคากิโลกรัมละ 120 บาท รุ่นที่ 2 กิโลกรัมละ 100 บาท นับว่าขายได้ราคาที่ดีในระดับท้องถิ่น “คนซื้อเขาพอใจกับคุณภาพของทุเรียน มีรสชาติหวานมัน เมล็ดลีบ ผลสวย พูใหญ่ แม้จะติดผลต่อต้นยังได้ไม่มากพอ แต่ก็ดีใจเมื่อเห็นผลผลิตดีๆ ออกจากสวนไปยังผู้บริโภค” ป้าปั้นหยา กล่าวพร้อมรอยยิ้ม

ลุงละไม้ กล่าวตอนท้ายว่า “ก็ดีใจนะที่มีคนเข้ามาดูสวน ลุงก็อยู่กัน 2 คน จะได้มีเพื่อนคุย ใครจะเข้ามาก็ยินดี” ลุงละไม้ให้หมายเลขโทรศัพท์ไว้ 093-210-1574

แนวทางการส่งเสริมของสำนักงานเกษตรอำเภอลอง

คุณฤทัยทิพย์ จุมพิศ เกษตรอำเภอลอง กล่าวว่า “ทุเรียนเป็นผลไม้เขตร้อน ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยเรามีศักยภาพสูงในด้านการผลิตทุเรียนคุณภาพดี สามารถสร้างชื่อเสียงด้านคุณภาพและรสชาติที่ดีที่สุดในโลก ทุเรียนจึงได้รับการขนานนามว่าเป็น “ราชาแห่งผลไม้เมืองร้อน” เนื่องจากทุเรียนมีความแปลกทั้งรูปร่าง กลิ่น และรสชาติ กล่าวคือ มีผลขนาดใหญ่และมีหนามเป็นจำนวนมาก เพื่อทุเรียนมีรสชาติอร่อย หวานมัน กลิ่นหอม และมีคุณค่าทางอาหารสูง ทุเรียนจึงเป็นที่รู้จักและนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ”

คุณฤทัยทิพย์ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการพัฒนาการปลูกทุเรียนของอำเภอลอง ว่าอำเภอลอง มีพื้นที่ปลูกทุเรียนจำนวน 103 ไร่ ส่วนมากปลูกที่ตำบลทุ่งแล้ง จำนวน 87 ไร่ และตำบลแม่ปาน 16 ไร่ เกษตรกร จำนวน 23 ราย พันธุ์ที่ปลูกส่วนมากเป็นพันธุ์หมอนทอง เป็นพันธุ์ที่ตลาดต้องการมากที่สุด และราคาดี

ปัญหาในการส่งเสริมการผลิตทุเรียน

ด้านคนหรือเกษตรกรผู้ผลิต
– สูงอายุ

– ขาดเทคโนโลยีการผลิต

– ขาดการรวมกลุ่ม (ผลิต รวมผลผลิต) ที่เข้มแข็ง

– ขาดแคลนแรงงาน

สภาพพื้นที่
2.1 พื้นที่ไม่เหมาะสม สูง/ลาดชัน การถือครองที่ดิน ไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ จึงมีปัญหาเรื่องการขอใบรับรอง GAP

2.2 แหล่งน้ำ ไม่เพียงพอตลอดฤดูการผลิต

2.3 การขนส่ง ในสวนลำบาก ยุ่งยาก ไม่ปลอดภัย

ปัญหาพืช
3.1 ต้นพืช (ต้นตอไม่ต้านทานโรค)

3.2 ทุเรียน มีศัตรูรบกวนมาก อ่อนแอต่อโรค เช่น รากเน่าโคนเน่า ราสีชมพู ไรแดง และเพลี้ย

3.3 การจัดการคุณภาพผลผลิต

– อ่อน (เก็บเกี่ยวไม่เหมาะสม)

– หนอนเจาะเมล็ด เจาะผล

– เน่า ผลเน่า เนื้อแกน เต่าเผา (การแตกใบอ่อน)

– ไส้ซึม (ปริมาณฝนมาก) มีแนวโน้มการเพิ่มพื้นที่ปลูก เนื่องจาก

ราคาผลผลิตดี เกษตรกรปลูกเพิ่มขึ้น
ตลาดใน/ต่างประเทศ ต้องการเพิ่มขึ้น
ผลตอบแทนต่อไร่สูง
เกษตรกรลดพื้นที่พืชเศรษฐกิจอื่น (ยาง ปาล์ม) มาปลูกทุเรียน (พื้นที่เหมาะสม/มีน้ำเพียงพอ) มาตรการรองรับวิสัยทัศน์

มาตรการเชิงรุก

การพัฒนาองค์กรเกษตรกร
– รวมกลุ่มที่มีแนวคิดเดียวกัน ด้านการผลิต รวบรวมและการจำหน่าย

– อบรมความรู้ เรื่องการคัดทุเรียนให้แก่มือตัด มือคัด ผู้ประกอบการและเกษตรกร

การลดต้นทุน
– ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ หรือปุ๋ยสั่งตัด ส่งเสริมการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2553 ผู้เขียนได้มีโอกาสไปดูงานการเกษตรที่เกาะไต้หวัน และได้กิ่งพันธุ์ชมพู่ยักษ์ไต้หวันมาเลี้ยงให้ต้นเจริญเติบโต และได้นำยอดมาเสียบบนต้นชมพู่พันธุ์ทับทิมจันท์ ที่ “สวนคุณลี” อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร โทร. 081-901-3760, 081-886-7398

2 ปีต่อมา ยอดชมพู่พันธุ์ไต้หวันเจริญเติบโตดีเรื่อยมา และตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 เป็นต้นมา ทางผู้เขียนเห็นว่าต้นชมพู่ไต้หวันแตกทรงพุ่มใหญ่เห็นว่าควรจะใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อบังคับให้ต้นชมพู่ออกดอกติดผลนอกฤดู โดยใช้สารแพคโคลบิวทราโซล ในการบังคับให้ต้นชมพู่ออกนอกฤดูนั้น ผลปรากฏว่า ต้นชมพู่ได้ออกดอกมาเพียง 1-2 ช่อ เท่านั้น ผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นมาก ได้พยายามบำรุงรักษาเป็นอย่างดี เพื่อดูว่าผลชมพู่จะมีขนาดผลใหญ่จริงหรือไม่ ในขณะที่ต้นชมพู่เลี้ยงผลอยู่เพียง 1-2 ช่อนั้น (เนื่องจากต้นยังมีขนาดเล็ก)

พอเข้าเดือนมีนาคม 2555 ผลปรากฏว่า ต้นชมพู่ยักษ์ไต้หวันที่เสียบไว้ทยอยออกดอกและติดผลทั้งต้น หลังจากที่ห่อผลชมพู่ไต้หวันไปได้ประมาณ 25-30 วัน (โดยเริ่มห่อในระยะที่ผลชมพู่ถอดหมวก หรือผลใหญ่ขนาดนิ้วโป้ง) พบว่า ผลชมพู่ไต้หวันที่เก็บเกี่ยวมานั้นมีขนาดของผลใหญ่กว่าชมพู่สายพันธุ์อื่นๆ ที่ผู้เขียนเคยพบมา โดยมีคุณสมบัติของผลดังนี้

“ผลมีขนาดใหญ่มากและมีน้ำหนักผล ประมาณ 200-300 กรัม หรือ 3-5 ผล ต่อกิโลกรัม ผิวผลมีสีขาวอมชมพูหรือสีชมพูอมแดง เมื่อแก่จัดมีสีชมพูเข้ม ลักษณะของผลเป็นรูประฆังคว่ำใหญ่ มีความกว้างของผลเฉลี่ย 7 เซนติเมตร และความยาวของผลเฉลี่ย 8-10 เซนติเมตร เนื้อหนามากและเป็นชมพู่ไร้เมล็ด รสชาติหวาน กรอบ มีความหวานประมาณ 13-15 บริกซ์ ถ้าผลผลิตแก่และเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้งจะมีความหวานสูงกว่านี้ จัดเป็นชมพู่สายพันธุ์หนึ่งที่ออกดอกและติดผลดกมาก” ทางสวนคุณลี จึงได้ตั้งชื่อชมพู่ไต้หวันสายพันธุ์นี้ว่า “ชมพู่ยักษ์ไต้หวัน”

ผู้เขียนมีความเชื่อที่ว่า ชมพู่ยักษ์ไต้หวัน นี้จะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการปลูกชมพู่ในประเทศไทย เพราะมีความโดดเด่นในเรื่องขนาดผลและความอร่อยไม่แพ้ชมพู่พันธุ์การค้าสายพันธุ์อื่น จนมาถึงในปัจจุบันทางสวนคุณลีได้ขยายพันธุ์ปลูกชมพู่ยักษ์ไต้หวันเพื่อจำหน่ายผล พบว่า ต้นชมพู่ยักษ์นั้นสามารถให้ผลผลิตได้ปีละ 2 ครั้ง บังคับให้ออกนอกฤดูได้ดี ให้ผลผลิตมีน้ำหนักผลเฉลี่ยอย่างน้อยที่สุด 200 กรัม ต่อผล ผลใหญ่สุดหนักถึง 350 กรัม ยิ่งได้อากาศหนาว สีผลยิ่งสวย และรสชาติหวานอร่อยมาก ซึ่งตอนนี้สามารถจำหน่ายผลออกจากสวนได้ กิโลกรัมละ 200 บาท ทีเดียว

ต่อมาในปี 2555 ผู้เขียนได้มีโอกาสไปดูงานการเกษตรที่ไต้หวันอีกครั้งหนึ่ง สวนคุณลีได้ยอดพันธุ์ “ชมพู่สตรอเบอรี่” มาเสียบยอดฝากไว้กับต้นชมพู่ทับทิมจันท์ หลังจากนั้นช่วงเดือนมกราคม 2557 ต้นชมพู่สตรอเบอรี่ใหญ่เต็มที่ เริ่มออกดอกและติดผล พบว่า ให้ผลผลิตดกมาก

มีลักษณะติดผลเป็นพวงและผลร่วงน้อยกว่าชมพู่พันธุ์อื่นๆ เมื่อผลชมพู่แก่สีของผลมีสีแดงเลือดนก โดดเด่นมาก มีน้ำหนักผลไม่ต่ำกว่า 200 กรัม และรสชาติหวาน กรอบ รับประทานอร่อยมาก ที่สำคัญเมื่อปล่อยชมพู่ให้แก่จัดบนต้น พบว่า เน่าเสียได้ยากกว่าชมพู่ทุกพันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรา สรุปได้ว่า เป็นพันธุ์ชมพู่ที่ทนต่อการขนส่ง

ชมพู่พันธุ์สตรอเบอรี่ จะมีความแตกต่างจากชมพู่การค้าพันธุ์อื่นๆ ตรงที่ลักษณะของใบจะใหญ่มาก และปัจจุบัน ทางสวนคุณลี ปลูก “ชมพู่ยักษ์ไต้หวัน” กับ “ชมพู่สตรอเบอรี่” เป็นเชิงการค้า คาดว่าชมพู่ไต้หวันทั้ง 2 สายพันธุ์ จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการปลูกชมพู่ในอนาคตของชาวสวนผลไม้ไทย ด้วยรสชาติ ขนาดผล และสีผลที่สวยงามสะดุดตาจากผู้ซื้อ ตอนนี้สามารถจำหน่ายผลผลิตชมพู่ทั้ง 2 สายพันธุ์ ออกจากสวนได้ กิโลกรัมละ 200 บาท เลยทีเดียว

วิธีการผลิตชมพู่นอกฤดู

ชมพู่ จะออกดอกเป็น 2 รุ่นใหญ่ๆ คือ ช่วงประมาณปลายเดือนธันวาคม-มกราคม เก็บผลในเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม และจะออกดอกในเดือนกุมภาพันธ์ และเก็บผลในเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งถือว่าเป็นชมพู่ที่ออกตามฤดูกาล โดยเฉพาะชมพู่ที่ออกสู่ตลาดในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม จะเป็นช่วงที่ชมพู่มีราคาถูกที่สุด เพราะเป็นช่วงที่ผลไม้ในตลาดมีมาก เช่น มะม่วง ทุเรียน เงาะ มังคุด เป็นต้น ชาวสวนจึงต้องพยายามบังคับให้ชมพู่ออกดอกและมีผลผลิตช่วงนอกฤดูกาล เช่น บังคับให้ออกดอกมากช่วงปลายเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป และไปเก็บผลผลิตในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ซึ่งในช่วง 3 เดือนนี้ ชมพู่จะมีราคาสูง อย่างปีที่แล้วในบ้านเราชมพู่ทับทิมจันท์เบอร์ใหญ่ ราคากิโลกรัมละ 100-140 บาท เลยทีเดียว

การใช้ “สารแพคโคลบิวทราโซล” ทำชมพู่นอกฤดู

สำหรับชมพู่ทั้ง 2 สายพันธุ์ ตอบสนองต่อการใช้สารแพคโคลบิวทราโซลเป็นอย่างดี ซึ่งการใช้สารแพคโคลบิวทราโซลเป็นเทคนิคหนึ่งที่ชาวสวนชมพู่นิยมใช้กันอยู่แล้วในบ้านเรา ซึ่งมีทั้งการฉีดพ่นให้ทางใบและราดทางดิน ยกตัวอย่าง ที่สวนคุณลี จะเลือกใช้สารแพคโคลบิวทราโซล ชนิดความเข็มข้น 15% (เช่น แพนเที่ยม 15%) โดยจะเริ่มราดสารช่วงปลายเดือนพฤษภาคมของทุกปี และทำให้ชมพู่ออกดอกในช่วง 45-50 วัน หลังการราดสาร และเก็บผลผลิตได้ราวช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม ของทุกปี

โดยอัตราการใช้สารแพนเที่ยม 15% คือ 20 กรัม ต่อต้น (ต้นชมพู่ อายุ 4-7 ปี มีขนาดทรงพุ่ม 5-6 เมตร) ผสมสารกับน้ำสะอาด ประมาณ 5 ลิตร ผสมในฝักบัว โดยก่อนการราดสาร ต้นชมพู่ต้องมีความสมบูรณ์ ฉีดสะสมอาหารมาก่อนจนใบมีความสมบูรณ์ และก่อนราดควรทำโคนต้นชมพู่ให้สะอาด และการราดสารต้องราดช่วงที่ใบชมพู่อยู่ในระยะ “ใบเพสลาด” (ใบใกล้จะแก่) จึงจะได้ผลดีที่สุด โดยสารจะไปทำให้ต้นชมพู่ชะลอการเจริญเติบโต ทำให้ต้นชมพู่หยุดแตกใบอ่อนและพร้อมที่จะเปิดตาดอกช่วงเวลาที่เราต้องการ (ไม่ควรที่จะราดสารในช่วงที่ใบชมพู่เป็นใบอ่อนโดยเด็ดขาด)

หลังให้สารแก่ต้นชมพู่ เช้ารุ่งขึ้นจะเปิดระบบน้ำรดน้ำให้แก่ต้นชมพู่จนชุ่มทั้งแปลง 1 ครั้ง และจากนั้นก็จะงดการให้น้ำ แล้วประมาณ 1 เดือน ควรให้ปุ๋ยที่มีฟอสฟอรัสสูงได้ เช่น 8-24-24 เพื่อให้ต้นชมพู่เตรียมพร้อมในการสร้างตาดอก ซึ่งอาจจะทำให้ชมพู่สามารถออกดอกได้มากยิ่งขึ้น หลังการใส่ปุ๋ยและรดน้ำให้จนปุ๋ยละลายอีก 1 ครั้ง ก็จะงดน้ำต่อจนครบเวลา รวมแล้วราวๆ 35-45 วัน หรือสังเกตดูว่าต้นชมพู่ใบเขียวเข็ม มีความพร้อมที่จะออกดอก ก็จะฉีดพ่นสารเปิดตาดอก เช่น สารโพลี่เอไซม์ ทุก 7-10 วัน โดยจะเน้นการเปิดตาดอกเรื่อยๆ ให้ต้นชมพู่ออกดอกตลอด ออกดอกหลายรุ่นให้เราได้เลือกห่อตามความพอใจ เมื่อเห็นว่าต้นชมพู่มีดอกออกมาพอสมควร ก็จะเริ่มให้น้ำตามปกติ

ห่อผล ทำให้ผิวสวย ป้องกันการทำลายจากแมลงวันทอง

ก่อนห่อผลจะฉีดพ่นฮอร์โมนช่วยบำรุงดอก เช่น โบร่า เพื่อช่วยผสมเกสรง่ายและติดผลดก ฉีดพ่นสัก 3 ครั้ง คือ ช่วงเริ่มออกดอก ดอกเริ่มบาน และหลังเกสรดอกเริ่มโรย การห่อผลชมพู่จะทำควบคู่กับการปลิดเลยในเวลาเดียวกัน

ในการห่อผลนี้ เกษตรกรจะเลือกถุงพลาสติกแบบมีหูหิ้วสีขาวขุ่น เจาะ 3-6 รู เพื่อให้น้ำออกและระบายอากาศ ก่อนห่อจะใช้วิธีฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลง คือ สารไซเพอร์เมทริน อัตรา 10 ซีซี เพื่อฆ่าแมลงศัตรูที่อาจจะเกาะที่ผล เช่น เพลี้ยไฟ+ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน อัตรา 2 ซีซี เพื่อทำให้ทรงผลชมพู่ยาวและขยายขนาดผล+สารแคลเซียม 30 ซีซี เพื่อช่วยบำรุงผล ผสมทั้งหมดในน้ำ 5 ลิตร โดยจะแบ่งใส่ในกระบอกฉีดน้ำหรือฟ็อกกี้ เมื่อปลิดผลเสร็จ จะฉีดด้วยสารและฮอร์โมนดังกล่าว แล้วจึงห่อด้วยถุงพลาสติกมีหูหิ้ว ขนาด 7×15 นิ้ว โดยจะผูกปากถุงด้วยเงื่อนชั้นเดียว

การคัดเลือกไว้ผลต่อช่อนั้น แนะนำว่า ควรเลือกไว้ผลที่ทรงสวยที่สุดเพียง 3-5 ผล ต่อช่อ เท่านั้น ถ้าไว้จำนวนผลต่อช่อมากกว่านี้ จะทำให้ผลชมพู่มีขนาดผลเล็ก หลังจากห่อผลได้ราว 1 เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวชมพู่ขายได้ ซึ่งรวมเวลาตั้งแต่แทงช่อดอกจนเก็บเกี่ยวได้ จะใช้เวลาทั้งหมด 3 เดือนพอดี การเก็บเกี่ยวหากทิ้งชมพู่ไว้เกินอายุการเก็บเกี่ยว จะทำให้ผลชมพู่แตกหรือร่วงเสียหายได้ การเก็บนั้นควรใช้กรรไกรตัดขั้ว จะสะดวกและรวดเร็ว จะเก็บมาทั้งถุงที่ห่อชมพู่แล้วใส่เข่งที่กรุด้วยกระสอบปุ๋ยเพื่อป้องกันความคมของภาชนะที่จะทำให้ผิวชมพู่บอบช้ำได้ จากนั้นจึงคัดเลือกชมพู่ โดยเริ่มที่แกะถุงห่อชมพู่ออก คัดคุณภาพโดยคัดผลแตก ผลเป็นโรคและแมลงทำลาย ทั้งนี้รวมทั้งผลที่มีรูปร่างผิดปกติออก คัดขนาด

ช่วงติดผลจะเน้นการให้ปุ๋ยน้อย แต่ให้บ่อยครั้ง อย่างที่สวนคุณลี จะใส่ปุ๋ยทุกๆ 10 วัน จะเน้นปุ๋ยที่มีสูตรตัวกลางและตัวหน้าสูงเป็นพิเศษ เนื่องจากปุ๋ยที่มีตัวหน้าจะช่วยขยายขนาดผล ส่วนสูตรตัวท้ายสูงจะช่วยเรื่องของความหวาน การให้น้ำก็ต้องให้อย่างสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตของผลชมพู่ จนสังเกตว่าผลชมพู่มีขนาดใหญ่ สีผิวเริ่มเปลี่ยนสี ก็จะหยุดการให้น้ำ หรือประมาณ 7-10 วัน ก่อนการเก็บเกี่ยว หรือถ้าหากมีผลชมพู่หลายรุ่นบนต้นก็ควรลดปริมาณการให้น้ำลง เป็นต้น

ช่วงพัฒนาผลหลังจากชมพู่ติดผลแล้วนั้น ผลจะมีการพัฒนาในระยะแรก จะมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้น เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยสูตร 16-16-16 + 15-0-0 อัตรา 1 ต่อ 1 ส่วน ผสมปุ๋ยให้เข้ากัน หรือปุ๋ยสูตร 19-9-34, 13-10-21, 11-6-25 ให้ปริมาณ 200-300 กรัม ต่อต้น ตามขนาดต้น หลังผลใหญ่ขึ้นแล้วก่อนที่เก็บผล 1 เดือน เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยตัวท้ายสูง เช่น สูตร 13-13-21, 19-9-34, 13-10-21, 11-6-25 (ซึ่งจากการทดลองใช้พบว่า ทำให้ชมพู่หวานมากกว่าเดิม อาจจะเป็นเพราะปริมาณเนื้อปุ๋ยตัวหลัง คือโพแทสเซียมสูง (K) กว่า นั้นเอง) ปริมาณ 300-500 กรัม ต่อต้น สามารถใส่ได้ทุกเดือนในช่วงที่เลี้ยงผล

ส่วน ปุ๋ยทางใบ จะใช้ปุ๋ยที่เพิ่มคุณภาพผล เช่น ปุ๋ยสูตร 0-0-60, ปุ๋ย “ไฮโปส” ที่ช่วยสร้างเนื้อ เพิ่มความหวานและทำให้ชมพู่เข้าสี ทำให้ชมพู่สีแดงเข็มด้วย โดยจะฉีดชมพู่ตั้งแต่ห่อผลเสร็จไปตลอด ทุกๆ 7 วัน โดยอัตราที่ใช้ คือ ไฮโปส อัตรา 500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร แล้วสามารถผสมร่วมกับสารป้องกันกำจัดโรคและแมลงชนิดอื่นได้ ผลของการใช้ไฮโปสแม้จะมีน้ำในร่องสวนตลอด หรือฝนตกมาบ่อย ชมพู่ที่สวนก็ยังคงหวาน ทำให้ชมพู่ที่สวนเป็นที่ต้องการของแม่ค้าที่มารับซื้อถึงหน้าสวน ความหวานของชมพู่จึงเป็นสิ่งสำคัญมากในการผลิตชมพู่

วันนี้ได้รับการชักชวนจาก คุณชาวิช จันทร์เกษ ประธานกรรมการสหกรณ์การเกษตรผสมผสานสกลนคร จำกัด พาไปชมสวนเกษตรกรปลูกแตงโม ในพื้นที่จังหวัดสกลนครและนครพนม

ระหว่างเดินทาง คุณชาวิช จันทร์เกษ เล่าว่า GClub V2 เป็นคนจังหวัดอุบลราชธานี สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปี 2517 วท.บ. (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชไร่ หลังเรียนจบ ออกมาทำงานธนาคารแห่งหนึ่ง แต่ด้วยใจที่ชอบงานด้านเกษตร จึงหันมาทำงานกับเกษตรกร โดยเป็น ผจก.ฝ่ายส่งเสริมการเกษตร บริษัท เกษตรอุตสาหกรรมอีสาน จำกัด (มหาชน) ตั้งอยู่ที่ อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย (เดิม) ปัจจุบัน เป็นจังหวัดบึงกาฬ รับผิดชอบส่งเสริมปลูกมะเขือเทศ เพื่อทำน้ำมะเขือเทศแบบเข้มข้น ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร จังหวัดนครพนม และจังหวัดหนองคาย จนกระทั่งออกมา และปัจจุบันเป็นประธานสหกรณ์การเกษตรผสมผสานสกลนคร จำกัด ส่งเสริมสมาชิกทำเกษตรสมัยใหม่ผสมผสานครบวงจร เน้นแตงโมและมะละกอฮอลแลนด์

พวกเราออกเดินทาง ใช้ยานพาหนะเป็นรถกระบะปิกอัพของคุณชาวิช พร้อมออกเดินทาง จากจุดแรกที่ บ้านขมิ้น ตำบลต้นผึ้ง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ขับรถมาตามถนนสายสกลนคร-อุดรธานี ผ่านมาถึงอำเภอพรรณนานิคม เลี้ยวซ้ายไปตามถนน สายพรรณานิคม-อากาศอำนวย ประมาณ 20 กิโลเมตร ก็เลี้ยวซ้ายระหว่างบ้านกิโลเจ็ด เรียกชื่อตามชาวบ้าน ประมาณ 10 กิโลเมตร ก็เลี้ยวเข้าไปตามหมู่บ้าน เป็นถนนฝุ่นลูกรัง มองดูข้างหลังเวลารถวิ่งผ่านฝุ่นสีแดงคลุ้ง

จากนั้นจะพบกับกลุ่มชาวบ้านสมาชิกสหกรณ์ฯ มีปลูกแตงโม 7 ราย รายละ 5-10 ไร่ เมื่อชาวบ้านเห็นและทราบว่าเป็นผู้สื่อข่าวและมาร่วมกับประธาน โบกมือทักทายกันแล้ว ได้พบกับ คุณปัญชะนี ประมุทา หรือชาวบ้านเรียกป้าแหล่ อายุ 50 ปี เป็นชาวบ้านโนนขมิ้น หมู่ที่ 14 ตำบลต้นผึ้ง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

ป้าแหล่ เล่าว่า ปลูกแตงโม พันธุ์กินรี 188 จำนวน 7 ไร่ ปีนี้กำลังจะเก็บ มีนายทุนมารับเหมาแล้ว 200,000 บาท ใช้เวลาปลูกเพียง 3 เดือน หรือ 90 วัน ก็ทำเงินแล้ว โดยส่วนตัวทำ 2 คน กับสามี สวนนี้ลงทุน 60,000-70,000 บาท แต่ขายได้ราคานี้ก็พอใจ ถือว่าลืมตาอ้าปากได้ ในบริเวณนี้จะเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ ทั้งหมด ประมาณ 10 ราย ทุกคนก็บอกว่าพึงพอใจกับราคาแตงโม เพราะผลจากน้ำท่วมและแล้ง ทำให้ที่อื่นปลูกไม่ได้ สวนของตนจะมีพ่อค้าจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีมารับซื้อทันที