สารกำจัดเชื้อรา (Fungicide) มีทั้งในรูปของผงและสารละลาย

2. สารกำจัดเชื้อแบคทีเรีย (Bacteriocide) มีทั้งชนิดผลและสารละลาย 3. สารกำจัดเชื้อไวรัส (Viricide) ในความเป็นจริงสารเคมีกำจัดเชื้อไวรัสยังไม่มี แต่จะมีสารที่เพิ่มภูมิต้านทานให้ต้นไม้ปลูกเท่านั้น 4. สารกำจัดแมลงศัตรู (Imsecticide) มีทั้งชนิดสัมผัสตาย หรือฉีดพ่นถูกที่ตัวแมลง ชนิดกินแล้วตาย ตายคือสารเคมีเข้าไปทำลายระบบทางเดินอาหาร และบางชนิดเข้าไปทำลายระบบประสาทของแมลง 5. สารกำจัดหนู (Rodenticide) ปัจจุบัน มีการใช้น้อยลง เกษตรกรหันมาใช้กับดักทดแทนมากขึ้น และ 6. สารกำจัดวัชพืช (Herbicide)

มีจำหน่ายทั้งในรูปผง และสารละลาย นอกจากนี้แล้วสารกำจัดวัชพืชยังแยกย่อยในการใช้ในวัยต่างๆ ของวัชพืช ชนิดฉีดพ่นก่อนเมล็ดวัชพืชงอก (Pre-emergent) หมายถึงการกำจัดวัชพืช โดยฉีดสารเคมีชนิดนี้ลงในพื้นที่เพาะปลูกขณะดินแห้งอยู่ เมล็ดวัชพืชยังไม่งอก แต่เมื่อเมล็ดเริ่มงอกหลังได้รับความชื้นทั้งน้ำค้างหรือเม็ดฝน ทันใดนั้นสารดังกล่าวจะไปยับยั้งขบวนการเปลี่ยนแป้งในเมล็ดไม่ให้ดำเนินการเปลี่ยนรูปเป็นน้ำตาลสำหรับเป็นอาหารของต้นอ่อนได้ ในที่สุดต้นอ่อนของวัชพืชจะเหี่ยวแห้งและตายลงในที่สุด

และอีกชนิดหนึ่ง ใช้หลังเมล็ดงอก (Post-emergent) คือฉีดพ่นเมื่อเป็นต้นที่สมบูรณ์ มีใบสีเขียวพร้อมสังเคราะห์แสงได้ นอกจากนี้ ยังแบ่งย่อยได้อีก ชนิดสัมผัสตาย (Contact) คือฉีดพ่นที่ใบ หรือลำต้นที่มีสีเขียวแล้วเหี่ยวแห้งตาย แต่ส่วนใต้ดินยังไม่ตาย อาจฟื้นคืนชีพขึ้นมาได้อีก และชนิดดูดซึม (Systemic) ใช้ฉีดพ่นที่ใบ ต่อมาสารชนิดนี้จะเคลื่อนที่ไปยังส่วนต่างๆ ของต้นวัชพืช ทำลายได้แม้ส่วนที่อยู่ใต้ดินก็ตาม ทำให้วัชพืชตายทั้งต้น

สารเคมี 3 ชนิด ที่กำลังมาแรง

1.ไกลโฟเสต (Glyphosate) หรือมีชื่อทางการค้าว่า ราวด์อัพ (Roundup) เป็นสารเคมีประเภทดูดซึม จะแสดงผลทำให้วัชพืชตายภายใน 3-4 ชั่วโมง การรับสารชนิดนี้เข้าร่างกายทำให้เกิดอาเจียน คลื่นไส้รุนแรง ชาตามใบหน้า แขน ขา และกล้ามเนื้อกระตุก

พาราควอต (Paraguard) เป็นสารกำจัดวัชพืชชนิดสัมผัสตาย ไม่เคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่างๆ ของวัชพืช และทำให้วัชพืชเหี่ยวเฉาภายในไม่กี่ชั่วโมงความเป็นพืช ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง อาเจียน เสี่ยงกับสตรีที่ตั้งครรภ์
คลอร์ไพรีฟอส (Chlorpyrifor) เป็นสารกำจัดแมลง โดยเข้าทำลายระบบประสาทของแมลงศัตรู ใช้ได้ดีกับการกำจัดเพลี้ยอ่อน พิษของสารชนิดนี้ทำให้เกิดการอาเจียน ท้องเดิน ตาพร่า หายใจลำบาก แน่นอนว่าสารเคมีทุกชนิดหากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากจะทำให้เสียชีวิตได้
ลองมาฟังข้อคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ดังนี้

นายแพทย์ ดร. สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตสถาน อดีตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบบทางเดินหายใจ สรุปว่าไม่พบรายงานเกี่ยวกับสารกำจัดวัชพืชพาราควอตในสายสะดือของสตรีตั้งครรภ์ระยะใกล้คลอด แต่จะชัดเจนเมื่อคนกินเข้าไป ทำให้เสียชีวิตแน่นอน

ศาสตราจารย์ ดร. รังสิต สุวรรณมัคคา ผู้เชี่ยวชาญด้านวัชพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความเห็นว่า สารกำจัดวัชพืชพาราควอต เมื่อไหลไปปนเปื้อนในแม่น้ำลำคลอง อนุภาคของดินขนาดเล็กที่ละลายอยู่ในน้ำจะจับเอาโมเลกุลของสารพาราควอตเอาไว้ แล้วตกตะกอน และสลายตัวภายใน 36-40 วัน โดยจุลินทรีย์และแสงแดด นอกจากนี้ ศ.ดร. รังสิต ยังอธิบายเพิ่มเติมว่า สารกำจัดวัชพืชยังมีความจำเป็นสำหรับเกษตรกร ดังนั้น ระยะนี้ที่ยังไม่สามารถทำสารกำจัดวัชพืชชนิดอื่นมาทดแทนได้ จำเป็นต้องให้คำแนะนำการใช้อย่างถูกต้องกับเกษตรกรผู้ใช้สารเหล่านี้ ดีกว่าให้แบนสารเคมีวัชพืชทั้ง 2 ชนิด และสารกำจัดแมลงไปพร้อมกัน ทั้ง 3 ชนิด

รองศาสตราจารย์ ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เสนอว่า สารกำจัดแมลงคลอร์ไพรอฟอส นั้นสามารถแบนได้ไม่น่ามีปัญหา เพราะมีสารเคมีชนิดอื่นทดแทนอยู่แล้ว แต่สารกำจัดวัชพืชอีก 2 ชนิด คือ ไกลโฟเสต และ พาราควอต จะให้แบนทันทีนั้นย่อมมีผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรอย่างแน่นอน

ผมได้นำเสนอข้อมูลบางส่วนมาให้เห็นภาพลางๆ จึงขอให้คุณนพดล และท่านผู้อ่านโปรดนำไปพิจารณาด้วยตัวท่านเองอีกชั้นหนึ่ง ขอให้ท่านติดตามข่าวต่อไปอย่างใกล้ชิด ผมขอภาวนาให้ปัญหาดังกล่าวยุติลงได้อย่างสวยงาม มีความพอใจทั้งสองฝ่าย

“อ้อยคั้นน้ำ” หรือ “น้ำอ้อยสด” ที่บรรจุในขวดแช่เย็นไว้ดื่มยามอากาศร้อน ยามร่างกายเหน็ดเหนื่อยจากการทำงานหรือการเดินทาง น้ำตาลจากน้ำอ้อยสดๆ สามารถทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นได้ทันทีที่ดื่ม

“อ้อย” เป็นพืชทนแล้งที่ใช้น้ำน้อย บางพันธุ์นำผลผลิตส่งโรงงานแปรรูปเป็นน้ำตาล บางพันธุ์เหมาะจะนำมาบริโภคสด ด้วยการหีบเป็นน้ำอ้อยสดพร้อมดื่ม การปลูกอ้อยมีทั้งปลูกแบบสวนหลังบ้านและปลูกในเชิงการค้า อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญที่ช่วยยกระดับรายได้สู่ความมั่นคง

“อ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี50” มีลักษณะลำต้นสีเขียวอมเหลือง ลำปล้องทรงกระบอก หัวท้ายเสมอค่อนข้างยาวถึงยาวมาก ไม่มีร่องหรือรอยบุ๋มบริเวณตาหรือข้อ อายุเก็บเกี่ยว 8-10 เดือน หลังปลูก ซึ่งถือว่าเป็นระยะให้น้ำ คุณภาพและปริมาณมากที่สุด สามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศและปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศตามท้องถิ่นได้ดี เจริญเติบโตเร็ว อัตราการแตกกอดี แตกได้มาก 12,000-12,500 ลำ ต่อไร่ มีความต้านทานโรคแส้ดำ โรคราใบขาว โรคลำต้นหรือไส้เน่าแดงและหนอนกออ้อยได้ดี

คุณศิวาพัชร์ มั่นคงจรัลศรี อยู่บ้านเลขที่ 49 หมู่ที่ 10 ตำบลเที่ยงแท้ อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ปัจจุบัน ทำการเกษตรแบบผสมผสาน ปลูกข้าว ปลูกอ้อย ปลูกมะม่วง ปลูกมะละกอ ปลูกพริก พืชอาหารของกินปลูกหมดเลย ไม่ซื้อใครกินเลย ซื้อแต่หมู ปลูกบนพื้นที่ของแม่ พื้นที่ที่บ้าน 2 ไร่ครึ่ง ที่นาอีก 9 ไร่ 3 งาน

“ตอนนี้ปลูกอ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50 อยู่ 80 กอ…กำลังจะปลูกเพิ่มอีก 400 กอ เริ่มทำอ้อยคั้นน้ำมาปีกว่าแล้ว โดยขายครั้งแรก วันที่ 5 ธันวาคม 2561… เราปลูกบนคันนา มีหลายพืช อย่าง มะม่วง มะพร้าว มะละกอ รวมทั้งอ้อยคั้นน้ำ พืชเหล่านี้มีคุณค่าดังทองคำ” คุณศิวาพัชร์ กล่าว

คุณศิวาพัชร์ เล่าว่า “ไปอบรม 1 ไร่ 1 แสน ที่พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ ที่ธัญบุรี ไปเห็นอ้อยเขาลำขนาด 4 โล ก็รู้สึกสนใจ เพราะเราทำอยู่แล้ว พื้นที่เราเตรียมไว้อยู่แล้ว ก็เลยซื้อเขามา 20 ตา ตาละ 10 บาท 20 ตา เป็นเงิน 200บาท ก็เอามาปลูกเพื่อขยายพันธุ์เอง และพอได้เข้าไปอบรม 1 ไร่ 1 แสน ก็จะมีเครือข่าย มีเพื่อน ก็จะได้ไปดูของแปลงต่างๆ ก็ไปเรียนรู้ การดูแล การบำรุง การคั้น การขาย ต้นพันธุ์ ก็เอามาจากที่ในกลุ่ม 1 ไร่ 1 แสน”

คุณศิวาพัชร์ เผย “ได้ข้ออ้อย ตาอ้อยมา เราก็นำมาแช่น้ำ 1 คืน แล้วก็มาใส่กระสอบไว้ แล้วมันก็จะเกิดรากขาวๆ แล้วเราก็นำไปใส่ถุงดำ ภายในถุงดำก็จะมีดินปลูก ดินปลูกก็นำมาจากข้างๆ บ้าน เพราะดินเราสมบูรณ์อยู่แล้ว ถ้าไม่มีก็เอาขุยมะพร้าวผสมแกลบดำ หมกไว้ 2 อาทิตย์ หรือ 15 วัน ช่วงระหว่าง 15 วัน เราก็ไปขุดหลุมรอ หลุมกว้าง50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร จากนั้นเราก็จะมีสูตรของ 1 ไร่ 1 แสน ต้องอบรมถึงจะได้มา มีสรรพสิ่งก้อน สรรพสิ่งแห้ง และสรรพสิ่งน้ำ

จำหน่ายให้เฉพาะคนที่ผ่านการฝึกอบรม ราคาชุดละ 1,300 บาท โดยนำสรรพสิ่งก้อนวาง เอาสรรพสิ่งแห้งพวกหญ้าแห้ง ใบไม้แห้งอะไรที่เรามีวาง สรรพสิ่งน้ำราด จากนั้นก็นำอ้อยที่เราทำการเพาะไว้ในถุงวาง เอาเศษหญ้าเศษใบไม้กลบ แต่เราจะมีสิ่งที่พิเศษกว่าคนอื่นคือ เราจะมีผักบุ้งอยู่ในร่อง เราก็เอาผักบุ้งพูนโคน ถ้าขี้เกียจรดน้ำก็เอากระป๋องตักขี้โคลนในร่องหุ้มผักบุ้งอีกทีหนึ่ง 1 เดือน เราก็ไม่ต้องรดน้ำ หลังจากใส่สรรพสิ่ง ก็ทำการรดน้ำ ดูแลดีๆ ให้สรรพสิ่งน้ำอาทิตย์ละครั้ง หรือ 2 อาทิตย์ครั้ง ในส่วนของปุ๋ยไม่มีการใช้ปุ๋ยอะไรเลย

ทั้งชีวภาพและเคมี ปลูกหลุมละตา ห่างหลุมละ 2 เมตร คูณ 2 เมตร ตอนแรกปลูกแค่ 1 เมตร 20 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร 50 เซนติเมตร ผลคือ ถี่ไป แล้วเวลาเราตัดอ้อย เวลาเราล้มอ้อย มันขวาง ทำงานไม่สะดวก เราก็ไปดูของเพื่อนที่เขาอบรม 1 ไร่ 1 แสน เป็นเวลา 5 เดือน ของเราอบรมแค่ 2 คืน 3 วัน คนที่เขาเซียนเขาก็จะไปอบรมต่ออีก 5 เดือน เราไม่ได้ไป เนื่องจากมีภาระที่บ้านจะต้องดูแล ก็เห็นเขาปลูก 2 คูณ 2 เมตร ในส่วนของผลผลิตที่ออกมาก็ค่อนข้างโอเคครับ ได้ในระดับหนึ่ง ไม่ถึงกับสวยเลย แต่ก็ไม่ถึงกับขี้เหร่ ก็กลางๆ ห้าสิบห้าสิบเพราะเราได้ลำหนึ่งสองกิโลกรัม บางลำก็มี 3 กิโลกรัม แต่ไม่ถึง 4 กิโลกรัม”

สรรพสิ่ง คือ จุลินทรีย์ สามารถเลี้ยงได้เอง ศัตรู และโรคพืชที่พบเจอ

“มีหนอนคล้ายๆ หนอนเจาะกล้วย หนอนข้าวโพดเข้าไปเจาะ ต้องขยันลอกกาบ ถ้าไม่ลอกกาบหนอนก็จะเจาะ โดยวิธีการจัดการก็ลอกกาบพอแสงมันเข้าไปหนอนมันก็ร้อน มันทนแดดไม่ได้” คุณศิวาพัชร์ กล่าว

ข้อแนะนำการดูแลแปลงอ้อย

คุณศิวาพัชร์ แนะนำว่า “อ้อยเป็นพืชที่ไม่ต้องการน้ำมาก แต่ขาดน้ำไม่ได้ ขาดน้ำแล้วข้อจะถี่ แค่รักษาความชื้นดูดินให้มีความชื้นสม่ำเสมอ ดูแสงแดดที่ได้รับ คืออย่าให้ดินแห้งแตก”

การให้ผลผลิตและการเก็บเกี่ยวผลผลิต

คุณศิวาพัชร์ เผย “ถ้าดูแลดีสม่ำเสมอ ระหว่าง 6-8 เดือน สามารถนำมาคั้นน้ำ…ถ้าตามสูตรของอาจารย์ จะได้ปริมาณน้ำอ้อยมาก โดยของอาจารย์ อ้อย 1 กิโลกรัม ได้น้ำครึ่งลิตร ส่วนอ้อยของเรา 1 กิโลกรัม ได้ 300-400 ซีซี… 1 ต้น ของอาจารย์ ให้น้ำอ้อย 2 ลิตร แต่อ้อย 1 ต้น ของเราได้น้ำแค่ครึ่งลิตร ในส่วนของการเก็บเกี่ยวผลผลิต ดูสี ดูความยาวจากลำอ้อย สังเกตความยาวจากข้ออ้อย ประมาณสัก 20 ข้อ สีลำต้นออกเหลือง ก็สามารถหีบได้ ความหวานยังไม่เคยลองวัดเปอร์เซ็นต์บริกซ์ เนื่องจากไม่มีเครื่องมือวัด แต่อ้อยสุพรรณบุรี 50 เป็นอ้อยคั้นน้ำโดยเฉพาะรสชาติหวานนัว”

ในส่วนของการตลาด “ธ.ก.ส. เปิดตลาดขายทุกวันพุธ ขายอาทิตย์ละครั้ง ขายได้ต่ำสุด 400-500 บาท สูงสุดที่ 1,200 บาท” ประโยชน์ของน้ำอ้อย

“น้ำอ้อย มีแคลเซียม บำรุงกระดูก แก้ท้องผูก คนเป็นเบาหวานสามารถดื่มได้ เนื่องจากอ้อยสุพรรณบุรี 50 เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว ไม่เข้าสู่กระแสเลือด ร่างกายเขาสามารถเผาผลาญได้เลย” คุณศิวาพัชร์ กล่าว

คุณศิวาพัชร์ บอกว่า “เครื่องหีบซื้อจากร้านที่นครสวรรค์ ที่ตลาดไทก็มีขาย อ้อยคั้นน้ำของเราขายที่ตลาดธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อย่างเดียว ผู้สนใจที่อยู่ภายในจังหวัดชัยนาทสามารถสั่งซื้อเราผ่านการจัดส่งได้ ส่วนผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดเรายังไม่มีการจัดส่ง เนื่องจากยังไม่มีวิธีการเก็บรักษาในช่วงระหว่างขนส่งที่แน่นอน”

สนใจพันธุ์อ้อย หรือซื้อน้ำอ้อยหวานเย็นชื่นใจ ติดต่อผ่านเบอร์โทร. 086-511-5965 และ 095-912-9832 คุณศิวาพัชร์ มั่นคงจรัลศรี หรือ FB:เสบียง มั่นคงจรัลศรี

วิธีการคั้นน้ำอ้อย

ตัดอ้อย
นำลำอ้อยไปล้างน้ำเปล่าให้สะอาด
นำไปผึ่งลมให้แห้ง (ผึ่งให้แห้ง เนื่องจากถ้าน้ำที่ล้างเข้าไปผสมในน้ำอ้อยที่ผ่านการคั้น จะส่งผลให้น้ำอ้อยเสียรสชาติและบูดเร็ว)
จากนั้นนำมาปอก
เก็บใส่ถังจำนวนเท่าที่เราต้องการ
ใส่ในเครื่องหีบ
ใส่เหยือก
กรอกใส่ขวด
แช่ในตู้แช่เย็น (หากไม่แช่เย็น ไม่เกินครึ่งชั่วโมงสีจะเปลี่ยนทันที จากสีเหลืองอมเขียวจะออกเป็นสีดำ รสชาติก็จะเปลี่ยน กลิ่นก็จะเปลี่ยนไปด้วย) ปัจจุบันมีผู้นิยมบริโภค “ยอดมะพร้าว” กันมากขึ้น เนื่องจากมีรสชาติดีเมื่อนำไปประกอบอาหารก็จะทำให้รสชาติดีตามไปด้วย โดยการปลูกต้นมะพร้าวเพื่อตัดยอดอ่อนขายนั้นยังถือว่าเป็นอาชีพที่มีอนาคต ในบางช่วงที่มะพร้าวผลสดราคาตก แต่ยอดมะพร้าวนั้นราคาจะอยู่ที่ราวๆ 250-300 บาท ซึ่งถือว่าราคาขยับสูงขึ้นมากในรอบ 5 ปีเลยทีเดียว

ข้อควรคำนึงในการปลูกมะพร้าวเพื่อตัดยอด จะต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดปี เนื่องจากต้องให้น้ำต้นมะพร้าวทุก ๆ 2 สัปดาห์ ต้องหมั่นกำจัดวัชพืชอยู่เสมอ พร้อมกับมีการให้ปุ๋ยอย่างพอเพียง

วิธีการปลูก เริ่มจากการเตรียมดิน โดยการไถดะไถแปร แล้วขึ้นร่องเพื่อป้องกันน้ำขังขณะฝนตกหนักหรือหลังการให้น้ำ สันร่องกว้าง 1-1.5 เมตร ปรับผิวร่องให้เรียบ ใช้ระยะปลูก 2×3 เมตร ขุดหลุมปลูกลึก 25-30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกเก่า อัตราครึ่งปุ้งกี๋ต่อหลุม คลุกเคล้ากับดินให้เข้ากัน

หลุมปลูกควรปลูกให้ชิดขอบด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว นำกล้ามะพร้าวอาจใช้พันธุ์มะพร้าวทั่วไปหรือมะพร้าวน้ำหอมก็ได้ สุดแท้แต่ความสะดวกที่จะหาได้ และต้องเป็นต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์ มีใบ 4-6 ใบ วางต้นกล้าลงที่หลุมที่เตรียมไว้ ฝังกลบผลเพียงครึ่งเดียวไม่จำเป็นต้องกลบมิดลูกแล้วรดน้ำตาม เพื่อทำให้มีโอกาสรอดตายสูงควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนเป็นต้นไป

เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 3 ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 2 ช้อนแกง ต่อต้น โรยรอบต้นห่างจากโคนต้น ประมาณ 1 คืบ แล้วรดน้ำตาม หากต้องการให้ใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง ควรนำดินในแปลงไปวิเคราะห์หาธาตุอาหารในดินเสียก่อน

และขอคำแนะนำว่า ดินในแปลงของคุณขาดธาตุอาหารใด แล้วใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่ได้ จะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงได้ ขณะต้นมะพร้าวยังมีขนาดเล็ก ควรใช้พื้นที่ว่างระหว่างแถวปลูก เผือก ตะไคร้ หรือพืชอายุสั้นอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง ในช่วงขาดฝนต้องให้น้ำอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ต่อครั้ง เมื่อต้นมะพร้าวอายุ 1 ปี 8 เดือน ถึง 2 ปี จะเริ่มตั้งสะโพกซึ่งเป็นระยะตัดยอดที่ดีที่สุด มะพร้าว 1 ยอด จะมีน้ำหนัก 10-20 กิโลกรัม

หลังจากตัดแต่งยอดแล้วนำใส่ลงในถุงพลาสติกใสขนาดใหญ่ ผูกปากถุงด้วยเชือกให้เรียบร้อยเก็บในห้องเย็น หรือในร่ม เตรียมส่งจำหน่ายต่อไป การทำไร่นาสวนผสม เป็นการจัดการใช้ที่ดิน เงินทุน แรงงาน และใช้ปัจจัยการผลิตให้สอดคล้องผสมผสานและเหมาะสมเพื่อพัฒนาการเกษตรที่หลากหลายทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์หรือทำประมง ที่นำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต เพื่อลดความเสี่ยงด้านการผลิตและการตลาด ทำให้มีผลผลิตออกมาต่อเนื่อง เป็นอาหารบริโภคและมีรายได้ตลอดทั้งปี เพื่อให้ครัวเรือนเกษตรกรก้าวสู่วิถีการยังชีพที่มั่นคง

คุณชมพูนุช หน่อทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท เล่าให้ฟังว่า ประชากรจังหวัดชัยนาทส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม จึงได้ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอ ส่งเสริมให้เกษตรกรทำไร่นาสวนผสมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์หรือทำประมง ส่งเสริมให้จัดการใช้ที่ดิน เงินทุน แรงงานหรือปัจจัยการผลิตที่ผสมผสาน เพื่อลดความเสี่ยงภัยจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและศัตรูพืช

ส่งเสริมให้ทำเกษตรอินทรีย์ หรือผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพ ส่งเสริมลดต้นทุนการผลิตเพื่อยกระดับรายได้ครัวเรือนให้นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคง

คุณชยันต์ พิทักษ์พูลศิลป์ เกษตรกรทำไร่นาสวนผสม เล่าให้ฟังว่า มีพื้นที่ 18 ไร่ แบ่งทำไร่นาสวนผสม 5 ไร่ และทำนา 13 ไร่ ได้จัดการใช้ที่ดิน เงินทุน แรงงานหรือใช้ปัจจัยการผลิตผสมผสานเหมาะสม และได้ดำเนินการ ดังนี้

มะม่วง ได้ปลูกมะม่วง 80 ต้น แบ่งเป็นปลูกมะม่วงเขียวเสวย 40 ต้น แก้วขมิ้น 30 ต้น และน้ำดอกไม้ 10 ต้น ใช้วิธีทยอยปลูก เมื่อเก็บผลมะม่วงขายทำให้มีรายได้ 15,000-50,000 บาท ต่อปี ที่ยังไม่ได้หักต้นทุนการผลิต

ส้มโอขาวแตงกวา ได้ปลูกส้มโอขาวแตงกวา ไม้ผลเฉพาะถิ่นของจังหวัดชัยนาท ที่มีลักษณะเนื้อกุ้งใหญ่ แห้ง หวานอร่อย ปลูกเพื่อบริโภคหรือแบ่งปัน ถ้าได้ผลผลิตมากก็ขายเป็นรายได้ ปกติจะขาย 40-45 บาท ต่อกิโลกรัม

มะนาว ปลูกมะนาวพันธุ์แป้นรำไพและแป้นบ้านแพ้ว รวม 20 ต้น ปลูกมา 5-6 ปี ให้ผลผลิตแล้ว เน้นขายผลผลิตในฤดูแล้งหรือช่วงเดือนเมษายน ซึ่งจะขายได้ตั้งแต่ราคา 2 บาท ต่อผลขึ้นไป

มะละกอ ได้ปลูกมะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ 200 ต้น เว็บบอล UFABET ปลูกตามแนวขอบสระน้ำหรือปลูกเป็นพืชเสริม ส่วนใหญ่ขายเป็นผลดิบเพื่อนำไปทำส้มตำ มะพร้าว ได้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม และมะพร้าวแกง 30 ต้น มะพร้าวแกงจะใช้เวลาการดูแลรักษานานจึงจะเก็บผลได้ ส่วนมะพร้าวน้ำหอมหลังจากปลูกมีอายุได้ 3 ปีขึ้นไป ก็เริ่มเก็บผลมะพร้าวอ่อนไปขายราคา 10 บาท ต่อลูก

ไผ่ ได้ปลูกไผ่หลายกอ เพื่อให้เป็นไม้ใช้สอย และตัดเก็บหน่อไม้มาเป็นอาหารครัวเรือนและขาย

หลุมปลูก ไม้ผลทุกชนิดได้ขุดหลุมปลูกกว้าง ยาว และลึก ด้านละ 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักแห้งหรือปุ๋ยคอกแห้งแล้วนำต้นพันธุ์ลงปลูก เกลี่ยดินกลบ แล้วให้น้ำพอชุ่ม

การปฏิบัติดูแลรักษา มะม่วงที่ปลูกได้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ มูลไก่/วัวผสมกับแกลบดิบ โดยซื้อมูลมาจากฟาร์ม 20 บาท ต่อกระสอบปุ๋ย กระสอบปุ๋ยละ 20-30 กิโลกรัม 1 ต้นจะใส่ 4-5 กระสอบ เมื่อปุ๋ยย่อยสลายหมดแล้วจึงใส่ใหม่หรือใส่ปีละ 2 ครั้ง ส่วนไม้ผลชนิดอื่นได้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คือ มูลไก่/วัวผสมกับแกลบดิบ อัตราส่วนการใส่พิจารณาตามความเหมาะสม เช่นกันเมื่อปุ๋ยย่อยสลายหมดแล้วก็ใส่ใหม่หรือใส่ปีละ 2 ครั้ง และหลังการใส่ปุ๋ยจะให้น้ำแต่พอชุ่ม

พืชผัก ได้ปลูกพืชผักหลายชนิด ได้แก่ ฟักแฟง แตงกวา บวบ ถั่วฝักยาว ได้ทำเป็นซุ้มปลูก 5 ซุ้ม ขนาดกว้างและยาวด้านละ 5 เมตร ได้ยกดินแปลงปลูกกว้างและยาวตามแนวซุ้ม ทำร่องระบายน้ำหรือให้เป็นทางเดิน การปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ใส่ตามอัตราส่วนที่เหมาะสม และหลังการใส่ปุ๋ยจะให้น้ำแต่พอชุ่ม ผลผลิตผักที่เก็บเกี่ยวได้นอกจากจะเป็นอาหารครัวเรือนแล้วส่วนหนึ่งนำไปขายตลาดนัด ทำให้มีรายได้ 300-500 บาท ต่อครั้ง

เลี้ยงปลา ได้จัดการพื้นที่ให้มีบ่อเลี้ยงปลา 4 บ่อ/สระ มีทั้งเป็นบ่อใหญ่และบ่อเล็ก ได้ปล่อยเลี้ยงมีปลานิล ปลาหมอ ปลาสวาย ปลาตะเพียน ปลาสลิด และปลายี่สก ได้ปล่อยเลี้ยงแบบธรรมชาติ พร้อมกับให้อาหารสำเร็จรูปเสริมวันละครั้ง ครั้งละ 3 ถ้วยก๋วยเตี๋ยว หรือ 2-3 กิโลกรัม เมื่อปลาที่บ่อเล็กมีขนาดตัวใหญ่ขึ้นจะจับปลามาเป็นอาหารครัวเรือน ส่วนปลาในบ่อใหญ่ได้ปล่อยเลี้ยงไว้ก่อนและจะจับเมื่อจำเป็นต้องใช้เงิน พร้อมกับนำไปขายที่ตลาดนัดบริเวณเขื่อนเจ้าพระยา