สารฮอร์โมนที่ใช้ในการยืดช่อผล ขยายขนาดของผล

คือ สาร “จิบเบอเรลลิค” การใช้ฮอร์โมน มักใช้ 1-2 ครั้ง คือ ครั้งแรกหลังจากดอกบาน 3-7 วัน (ดอกบาน หมายถึง ดอกบาน 8 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด โดยดอกองุ่นจะบานจากโคนช่อไปหาปลายช่อ เมื่อเห็นว่าดอกบานไปจนเกือบจะสุดปลายช่อ หรือประมาณ 4 ใน 5 ของความยาวช่อ) ครั้งที่ 2 อาจให้หลังจากครั้งแรก ประมาณ 7 วัน การใช้สารฮอร์โมนนี้ อาจใช้วิธีฉีดพ่นไปที่ช่อดอก

หลังจากตัดแต่งผลแล้ว ควรห่อผลเพื่อป้องกันแมลงและนกเข้าทำลาย อีกทั้งทำให้ผลองุ่นผิวสวย ลูกโตกว่าปกติ และป้องกันความเสียหายจากเส้นผมของผู้ปฏิบัติงานไปโดนผลองุ่นอีกด้วย

ระยะที่ต้นยังเล็ก หรือยังไม่ได้ตัดแต่ง ควรใส่ปุ๋ย สูตร 15-0-0 สูตร 15-15-15 สูตร 20-20-20 สูตร 12-24-12 อัตราต้นละ 300-500 กรัม ต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยคอก 10 กิโลกรัม ต่อต้น

ระยะที่สอง ให้ปุ๋ยเช่นเดียวกับระยะแรก เมื่อดอกบานแล้ว 15 วัน หลังการตัดแต่งกิ่งได้ประมาณ 45 วัน

ระยะที่สาม เมื่อองุ่นเริ่มเข้าสี ระยะนี้ควรใส่ปุ๋ยที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น สูตร 13-13-21 สูตร 8-24-24 สูตร 0-52-34 ต้นละ 300-500 กรัม หรือใส่ก่อนเก็บผลประมาณ 15-30 วัน

ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ระยะติตผลและผลกำลังพัฒนาไม่ควรขาดน้ำ ระยะก่อนเก็บผลผลิต 1-2 สัปดาห์ ควรงดการให้น้ำ หรือรดน้ำให้น้อยที่สุด เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพดี

การเก็บเกี่ยวผลองุ่น

วิธีดูผลองุ่นที่แก่จัดอาจทำได้หลายอย่าง เช่น การนับอายุ ตั้งแต่ตัดแต่งจนถึงแก่จัดซึ่งแตกต่างกันไป แล้วแต่พันธุ์ โดยการนับอายุมีข้อสังเกต เช่น ผลองุ่นที่ชุบสารฮอร์โมนจะสุกเร็วกว่าผลที่ไม่ได้ชุบสารฮอร์โมนหลายวัน หรือหน้าแล้งผลจะสุกเร็วกว่าหน้าฝน หรือการเปลี่ยนสีของผลที่แก่จัดจะเปลี่ยนจากสีเขียว และอาจดูจากขั้วช่อผล ถ้าผลแก่จัด ขั้วของช่อผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล

การพักตัวของต้นองุ่น

หลังจากที่เก็บผลองุ่นจนหมดแล้ว จะต้องปล่อยให้ต้นองุ่นพักตัวระยะเวลาหนึ่ง ประมาณ 1-2 เดือน เพื่อให้ต้นองุ่นได้สร้างอาหารสะสมไว้ในต้น เพื่อให้ดอกให้ผลในครั้งต่อไป ช่วงที่ให้ต้นองุ่นพักตัวนี้ควรให้น้ำเป็นครั้งคราว ไม่ให้ดินแห้งเกินไป

โรคและแมลงที่สำคัญ

ได้แก่ โรคราน้ำค้าง โรคกิ่งแห้ง โรคแอนแทรกโนส แสคป โรคใบจุด โรคราสนิม โรคราแป้ง โรคลำต้นและรากเน่าจากเห็ด โรคใบไหม้ใบลวก โรคใบจีบคล้ายพัด ส่วนแมลงศัตรูพืชที่สำคัญ เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้หอม แมลงวันผลไม้ และหนอนเจาะสมอฝ้าย

1. โรคราน้ำค้าง (Doeny mildew) – Pladmopara Viticola

การป้องกันกำจัด บำรุงรักษาต้นให้สมบูรณ์ตัดแต่งให้โปร่ง เผาทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรคและการฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อราน้ำค้าง เช่น ฟอสเอทิลอะลูมินัม (fosetyl AI), เมทาแลคซิล ผสม แมนโคเซบ เน้นระยะฉีดพ่นให้ถี่หลังฝนตก ควรผสมสารจับใบเมื่อใช้ ฉีดพ่นหรือราดทางดินบริเวณโคนต้น ควรใช้ปีละ 2-3 ครั้งเท่านั้น เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยา

2. โรคแอนแทรกโนส (Antracnose)

การป้องกันกำจัด ควรทำความสะอาดเผาทำลายเศษซากพืช และฉีดพ่นสารกำจัดเชื้อรา ตั้งแต่ระยะช่อดอก ใบอ่อนและใบแก่ ได้แก่ คาร์เบนดาซิม เมทาแลกซิล โดยฉีดพ่นครั้งแรกหลังจากตัดแต่ง และครั้งที่สองเมื่อเริ่มแตกใบอ่อน

3. โรคช่อแห้ง (Bacterial Blight)

การป้องกันกำจัด ควรเก็บกวาดออกไปทิ้งหรือเผาให้หมด ไม่ให้เป็นที่สะสมโรค ยิ่งแปลงปลูกชื้นแฉะโรคนี้ก็จะยิ่งระบาดได้รวดเร็ว ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัด เช่น คาร์เบนดาซิม และแมนโคเซบ ควรผสมสารจับใบและฉีดพ่นให้ถี่ขึ้นเมื่อมีฝนตกชุก

4. โรคราแป้ง (Powdery mildew)

การป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งให้มีอากาศผ่านทรงพุ่ม ฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น กำมะถันผง หรือใช้สารชนิดดูดซึม และสารกลุ่มไตรอาโซล ผสมสารจับใบ ฉีดพ่นป้องกันระยะที่อ่อนแอต่อโรค

ปีฉลู ไม่ฉลุย เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะชะลอตัวในทุกๆ ด้าน เนื่องจากปัจจัยหลายๆ อย่างในปี 2564 โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจทุกอย่างหยุดชะงัก

แต่การมีรายได้เฉลี่ย 30,000-40,000 บาท ต่อเดือน ในอาชีพเพาะกล้าพืชผัก เพาะกล้าไม้ และการผลิตกล้าไม้ดอกไม้ประดับ ของ คุณทรงพล มาเสาะ ในฐานะศิษย์เก่าสาขาพืชศาสตร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย ถือว่าเป็นรายได้ที่ไม่เลวเลยทีเดียวในช่วงภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้

ที่ผู้เขียนยกอ้างถึงสถาบันวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย สาขาพืชศาสตร์ ที่คุณทรงพลนำมาบอกเล่าว่า ในช่วงตอนเป็นนักศึกษา เคยตั้งปณิธาน เมื่อได้เห็นรุ่นพี่ประสบความสำเร็จ จึงเกิดแรงบันดาลใจ จบออกไปจะต้องทำให้ได้เหมือนรุ่นพี่คนอื่นๆ เขา

แต่ชีวิตไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเหมือนอย่างที่คิด หลังจบออกมาค้นหาตัวเองอยู่ 3 ปี ในฐานะลูกจ้างกับเงินเดือนสูงสุด 7,800 บาท ทำงานเกี่ยวกับบริษัท การส่งเสริมการตลาดและระบบการขนส่งต้นกล้าหลายชนิด ทั้งพริก มะเขือ ดอกดาวเรือง และผักอื่นๆ ตามความต้องการของตลาด ซึ่งระหว่างทำงานก็ได้ศึกษาเรียนรู้ ฝึกประสบการณ์จริงจากการทำงาน และการที่เคยศึกษาวิชาชีพด้านการเกษตร สาขาพืชศาสตร์ ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุโขทัย จึงได้นำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ต่อยอดในการสร้างอาชีพด้วยตัวเอง

อย่างที่เกริ่นไว้ ชีวิตไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ จากการเป็นลูกจ้างจึงหันมาทำธุรกิจเล็กๆ แบบครัวเรือน ในปี พ.ศ. 2552 โดยเริ่มจากการเช่าที่ดินของชาวบ้านเป็นรายปี ประมาณ 10 ไร่ ในการเพาะกล้าพืชผัก และปลูกเก็บผลผลิตขายเองด้วย อาทิ กล้าพริก มะเขือยาว และก็มีต้นกล้าดาวเรือง เป็นต้น

ธุรกิจเล็กๆ กำลังจะไปได้ดี ก็มาถูกกลั่นแกล้งจากคู่แข่ง ลักลอบเอายาฆ่าหญ้ามาพ่นใส่ดาวเรืองและมะเขือยาวในโรงเรือนเสียหายทั้งหมด จำนวน 11 โรงเรือน รวมมูลค่ากว่า 2 ล้านบาท เพื่อเป้าประสงค์ไม่ให้มีต้นกล้าส่งลูกค้า จนกลายเป็นหนี้ช่วงเริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ จากนั้นธุรกิจก็ล้มลุกคลุกคลานมา 3 รอบ ชนิดที่เรียกว่าชีวิตติดลบเป็นศูนย์ แต่ก็ไม่ย่อท้อ พยายามต่อสู้กอบกู้ธุรกิจมาเรื่อยๆ ไม่ยอมแพ้

และก็เริ่มมาดีขึ้น ในปี 2557 ทุกอย่างเริ่มฟื้น ความเชื่อมั่นลูกค้าเริ่มมา เริ่มมีเงินเก็บ และขยายธุรกิจซื้อที่ดินเช่ามาเป็นของตัวเอง รวมถึงวัสดุครุภัณฑ์อื่นๆ เพื่อประกอบธุรกิจอาชีพเพาะกล้าไม้จำหน่าย ตามออเดอร์

ธุรกิจเริ่มเดินเต็มตัวในปี 2558 พร้อมๆ กับขยายโรงเรือนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามออเดอร์สั่งเพาะต้นกล้าพืชผักให้กับลูกค้า ขณะที่สำนักงานยังเล็กๆ และคลุมด้วยซาแรนล้อมรอบไม่สวยงามมั่นคง จึงรื้อและปรับโครงสร้างใหม่ให้ถาวรแข็งแรง และปรับภูมิทัศน์โดยรอบ ทุกวันนี้ธุรกิจเริ่มไปได้สวย มีรถบรรทุกและรถขนส่งเป็นของตัวเอง

จากที่ผ่านเหตุการณ์ชีวิตติดลบในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อครั้งนั้นมาได้ คุณทรงพลมีความเชื่ออยู่ว่า เพราะการทำความดีในการช่วยเหลือสังคม

“มีอยู่เหตุการณ์หนึ่ง พบศพที่จมน้ำตาย แล้วเขานำศพไปไว้ที่วัด เห็นเขานอนอยู่อย่างนั้น มีเพียงผ้าคลุมศพไว้เฉยๆ ซึ่งขณะนั้นฐานะเราก็ยังไม่ดีพอ แต่ก็ต้องให้ความช่วยเหลือ โดยการบริจาคโรงศพที่ยากไร้และทำศพให้กับญาติศพดังกล่าว จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ทำให้ชีวิตเราดีขึ้นมาเรื่อยๆ และคลาดแคล้วจากสิ่งต่างๆ ที่คอยช่วยปัดเป่าเรื่องเลวร้ายต่างๆ ให้พ้นออกจากตัว” คุณทรงพล เล่า

“การทำความดีจึงเป็นแรงผลักดันที่จะช่วยเหลือสังคมต่อไป โดยเฉพาะการช่วยเหลือศพยากไร้ หรือศพไร้ญาติ ในการเป็นเจ้าภาพบริจาคโลงศพและดอกไม้ธูปเทียนดอกไม้จันทน์ต่างๆ ให้กับทุกศพที่มาขอความช่วยเหลือ หรือแม้แต่ทางมูลนิธิกู้ภัยร่วมกตัญญู แจ้งความประสงค์ขอความช่วยเหลือมา ยินดีในทุกกรณี” คุณทรงพล เผยความรู้สึก

เดินหน้าอาชีพการเพาะกล้าไม้ พืชผัก และเสียบยอด

ในขณะที่ธุรกิจอาชีพการเพาะกล้าไม้ พืชผัก และเสียบยอด ก็ยังคงดำเนินไปได้เรื่อยๆ มีรายได้เฉลี่ย 30,000-40,000 บาท ต่อเดือน กับการรับจ้างเพาะต้นกล้าในช่วงภาวะเศรษฐกิจของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ที่ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงัก แต่อาชีพการเพาะกล้าพืชผักก็ยังประคองตัวอยู่ไปได้เรื่อยๆ

บนพื้นที่ 2 ไร่ 1 งาน กับการลงทุนก่อสร้าง 10 โรงเรือน หมดเงินเกินครึ่งล้านบาท จากโครงสร้างโรงเรือนเสาไม้ ผสมเหล็ก แบ่งเป็นโรงเรือนเพาะชำ โรงแฝด 3 โดม โรงแยก 5 โรง โรงตู้อบต้นกล้า โดยทุกโรงพยายามลดต้นทุนวัสดุ อาทิ หลังคาโดมด้านบนเป็นพลาสติกใสกันฝน กันน้ำค้าง ส่วนด้านข้างล้อมรอบด้วยมุ้งตาข่าย กันแมลงมารบกวน เพื่อดำเนินธุรกิจ

พร้อมด้วยแรงงานประจำ 4 คน ถ้ามีออเดอร์เพาะกล้าและเสียบยอดจำนวนมากๆ ก็จะมีแรงงานเด็กนักเรียนเข้ามาฝึกงาน ฝึกอาชีพเสริม หารายได้ช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งจะสอนตั้งแต่การหยอดเมล็ด ฝึกการเสียบยอด ถ้าผ่าน 10 วัน เสียบยอดติดก็ผ่านโปร ได้ค่าเสียบต่อถาดเพิ่มอีก 50 บาท

เมื่อพูดถึงการเสียบยอด คุณทรงพลให้เคล็ดลับเกร็ดความรู้เผื่อเกษตรกรท่านอื่นๆ จะนำไปดัดแปลงใช้ ไม่หวงห้าม ก็คือ การเพาะมะเขือพวงป่า เพื่อใช้เป็นต้นตอนำมาเสียบยอดตระกูลมะเขือทุกชนิด อาทิ มะเขือเปราะ มะเขือยาว มะเขือเทศ เป็นต้น

ต้นตอมะเขือพวงป่าเสียบยอด

เนื่องจาก มะเขือพวงป่า มีระบบรากที่แข็งแรง มั่นคง หาอาหารเก่ง แต่กว่าจะมาเป็นต้นตอมะเขือพวงป่าเพื่อการเสียบยอด ต้องใช้เวลาถึง 2 เดือน เริ่มต้นจากเก็บเมล็ดมะเขือพวงป่าที่แก่จัด แล้วนำมาบีบแช่น้ำ คัดเอาเฉพาะเมล็ดที่จม ไปตากผึ่งลมให้แห้งหมาดๆ จากนั้นเอามาคลุกยาป้องกันเชื้อรา ยี่ห้อ คอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ หรือ เมทาแลกซิล ที่หาซื้อได้ทั่วไป

หลังจากนั้น นำเมล็ดมะเขือพวงป่ามาหยอดในถาดหลุม หยอดทีละเมล็ดๆ ผ่านไปเกือบๆ เดือน ก็จะเริ่มมีใบจริงออกมาให้เห็น แล้วย้ายต้นกล้าจากถาดหลุมเล็กๆ มาเพาะเลี้ยงในหลุมใหญ่ เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่แข็งแรงสมบูรณ์

กระบวนการแรก ใช้เวลา 1-2 เดือน ก็จะได้ต้นตอมะเขือพวงป่านำมาเสียบยอดได้ เมื่อเสียบยอดแล้วก็เอามาเข้าตู้อบ หรือกล่องสี่เหลี่ยมโครงสร้างพลาสติกห่อหุ้มทั้ง 4 ด้าน ที่เราเรียกว่า ตู้อบ ตู้อบที่ว่านี้อบได้ตู้ละ 6 ถาด จำนวน 600 ต้น อบทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน แล้วแต่ฤดูกาล แต่ละวันอุณหภูมิก็ไม่เหมือนกัน อากาศร้อน หนาว เย็น เป็นต้น

จากตู้อบก็เอาไปเลี้ยงในโรงอนุบาลต่ออีก 15 วัน ก่อนนำส่งลูกค้าใช้เวลาเกือบ 3 เดือน สำหรับต้นตอมะเขือพวงป่าเสียบยอดมะเขือยาว หรือมะเขือพันธุ์อื่นๆ ที่พร้อมปลูกลงดิน โดยจำหน่ายให้กับลูกค้า ต้นละ 6 บาท เป็นการลงทุนครั้งเดียวสำหรับเกษตรกร แต่ให้ผลผลิตเก็บได้ต่อเนื่องยาวนานถึง 14 เดือน

คุณทรงพล ให้ข้อมูลต่ออีกว่า ส่วนใหญ่เครือข่ายลูกค้าจะอยู่แถวๆ ภาคกลาง ใกล้ๆ กับจังหวัดกาญจนบุรี ที่ตั้งฟาร์มเพาะกล้าพืชผัก “ไร่ทรัพย์คำหอม” สั่งออเดอร์ให้เพาะต้นกล้าอยู่เป็นประจำ และมีระยะทางไม่ไกลกันนัก จึงสามารถติดตามให้ความรู้ในการปลูกสำหรับเกษตรกรรายใหม่ได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะการปลูกมะเขือยาว เสียบต้นตอมะเขือพวงป่า เป็นการลงทุนครั้งเดียวแต่คุ้มค่าด้านผลผลิต

สำหรับการปลูกต้นตอมะเขือพวงป่าเสียบยอดมะเขือยาว จะมีทรงพุ่มที่ใหญ่ คุณทรงพลแนะนำให้ปลูกเว้นระยะห่างระหว่างต้น 2×3 เมตร 1 ไร่ ไม่ควรปลูกเกิน 300-400 ต้น ส่วนการดูแลหลังจากลงปลูก 1 เดือน มะเขือยาวก็เริ่มจะให้ผลผลิตและเก็บเกี่ยวได้ในเดือนถัดไป

ขณะที่เรื่องปุ๋ย เรื่องยา ขอแนะนำ ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 3 ส่วน เคมี 1 ส่วน ระยะเวลาในการให้ 4-5 วัน ต่อครั้ง ให้ทีละน้อยๆ แต่ให้บ่อยๆ เหมือนคนต้องกินอาหารทุกวัน เมื่อมะเขือยาวอายุมากขึ้นควรตัดแต่งกิ่งให้แขนงออกด้านข้างและทำค้างรั้งกิ่ง แต่ไม่ควรให้สูงพุ่งเกิน 1.5 เมตร เพื่อช่วยลดการกินปุ๋ย ลดการหลบซ่อนของแมลง ผลผลิตก็จะดกมีคุณภาพมากกว่า

นอกจากการเพาะกล้ามะเขือพวงป่าเสียบยอดแล้ว ในโรงเรือนของคุณทรงพลยังมีการเพาะกล้าพืชผัก และกล้าไม้ดอกไม้ประดับอื่นๆ ที่คุณทรงพลรับเพาะผลิตกล้าผักตามออเดอร์ อาทิ ต้นกล้าพริก ทุกสายพันธุ์ ไม่ว่าจะ จินดา ซุปเปอร์ฮอต ศรแดง พริกหยวก เป็นต้น จะให้เพาะพริกชนิดใด ทำให้ได้หมด แต่ต้องสั่งตามออเดอร์ คิดราคาต้นละ 1 บาท เท่ากัน เมื่อสั่งจอง 1 เดือน พร้อมรับสินค้าได้

นอกจากนั้น ก็ยังรับเพาะกล้าต้นดาวเรือง ราคาต้นละ 1.90 บาท มีแถมให้อีกมากมาย หรือถ้าเกษตรกรท่านใดมีเมล็ดพันธุ์จะส่งมาให้เราเพาะ ก็ทำได้เช่นกัน จะเป็นเมล็ดพันธุ์ไม้ผล หรือเมล็ดพันธุ์ไม้เศรษฐกิจ ยินดีให้คำปรึกษา เพาะกล้าพันธุ์ไม้ได้ทุกชนิด จะลงถาดเพาะ หรือเพาะลงถุงดำ ทำได้หมด

12 ปี แห่งความภาคภูมิใจ ของ คุณทรงพล มาเสาะ ในวัย 41 ปี กับรางวัลอันทรงเกียรติโล่พระราชทานฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ได้รับการยกย่องเป็นสมาชิกศิษย์เก่า อกท. ดีเด่น ระดับชาติ องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ ประจำปีการศึกษา 2562 ที่วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุราษฎร์ธานี ที่ผ่านมา

นอกจากการทำประโยชน์เพื่อสังคมแล้ว คุณทรงพล ยังมีโครงการพืชผักอาหารโรงเรียน ในการส่งเสริมถ่ายทอดความรู้ให้กับโรงเรียนต่างๆ และจัดเป็นสถานที่ดูงานการเพาะกล้าพืชผักเพื่อเป็นวิทยาทานให้เด็กนักเรียนรุ่นใหม่ๆ ต่อไป

หากเกษตรกร หรือผู้อ่านท่านใดประสงค์ขอความรู้หรือต้องการศึกษาดูงาน สถานที่ตั้ง “ไร่ทรัพย์คำหอม” เพาะกล้าพันธุ์ไม้ อยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน นครปฐม มุ่งหน้าไปทางอำเภอพนมทวน ประมาณ 21 กิโลเมตร กับอีก 400 เมตร ที่ตั้งเลขที่ 79 หมู่ที่ 7 หมู่บ้านอยู่เจริญ ตำบลหนองลาน อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

ช่วงที่เชื้อโควิดได้แพร่ไปทั่วประเทศรอบที่สอง เป็นเรื่องที่น่ากลัว สมัยหลายปีก่อนเรากลัวโรคเอดส์ แต่นั่นไม่ได้มีผลในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะเอดส์เป็นโรคที่เราต้องเข้าไปหามันถึงจะมีโอกาสติด แต่เชื้อโควิดติดได้แค่สัมผัส หรือลมหายใจ เราไม่มีโอกาสรู้ ไม่มีโอกาสระวังตัว นอกจากป้องกันโดยใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น หรือสิ่งของที่ถูกคนทั่วไปจับต้อง

การดำรงชีวิตในปัจจุบันจึงเปลี่ยนไป กิจการร้านขายอาหารก็ลำบากขึ้น มีการแนะนำให้ทำอาหารกินเองในบ้าน และแนะนำให้ปลูกผักกินเอง เพราะเราต้องกักตัวอยู่ในบ้านระยะหนึ่ง การปลูกผักเป็นการฆ่าเวลาที่ดีและเป็นการผ่อนคลาย นอกจากนี้ ยังมีผักมาทำอาหารกินอีก

ผักสลัดเป็นผักที่ปลูกได้ทุกฤดูและปลูกได้ทุกภาคในประเทศไทย สมัยก่อนเข้าใจผิดกันว่าผักสลัดสามารถปลูกได้เฉพาะในพื้นที่เขตภาคเหนือ แต่ความจริงผักสลัดสามารถปลูกได้ในทุกภาค ปัจจุบัน ผักสลัดจึงมีการปลูกกันในแทบทุกพื้นที่ กลายเป็นผักที่หารับประทานกันได้ง่าย จากเมื่อก่อนที่ผักชนิดนี้มีวางจำหน่ายเฉพาะในห้าง หรือร้านผักที่ขายผักราคาแพง ในวันนี้พบว่าตามตลาดสดหรือตลาดนัดชุมชนตามต่างจังหวัดมีผักสลัดวางจำหน่ายทั่วไป แถมยังสดกว่าผักที่ขายตามตลาดในเมือง เนื่องจากเป็นผักที่ปลูกใกล้ๆ ชุมชนนั้นๆ

อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่ติดต่อกัน ภูมิอากาศใกล้เคียงกัน อาชีพเกษตรและเลี้ยงสัตว์ก็คล้ายๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงโคนม ปลูกองุ่น หรือการปลูกพืชผักเมืองหนาว จะเห็นได้ว่าแถบบริเวณดังกล่าวเป็นแหล่งปลูกผักสลัดเพื่อส่งเข้ากรุงเทพฯ และบริโภคในท้องถิ่นกันมาก

ช่วงปีใหม่ ได้มีโอกาสไปแวะชมสวนฟาร์มฮิลด์ ในอำเภอมวกเหล็ก ซึ่งมี คุณบัญญัติ และ คุณภาธรทนัท (เหมียว) จันทร์เทียน เจ้าของสวนผักสลัดฟาร์มฮิลด์

คุณบัญญัติ เล่าให้ฟังว่า “เดิมเป็นคนบางขุนเทียน กรุงเทพฯ เรียนจบทางด้านช่างอิเล็กทรอนิกส์ หลังจากจบได้ทำงานอยู่ในร้านซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้าได้ปีกว่า เห็นว่าอาชีพไม่ก้าวหน้าไปไหน จึงไปทำสวนผสมอยู่ที่จังหวัดปราจีนบุรี พื้นที่ทำสวนผสมตอนนั้นมีอยู่ 20 ไร่ ปลูกผัก ปลูกต้นไม้ เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ ทำแบบผสมผสาน ใช้วัตถุดิบในสวนเป็นอาหารสัตว์ แต่พอหมู ไก่ ปลา เริ่มโตกลับไม่อยากขาย เนื่องจากสงสารมัน ต้องทำใจอยู่นานกว่าจะขายได้ จนระยะเวลาเลยมานานทำให้เปลืองอาหารโดยใช่เหตุ ทำอยู่ได้ 3 ปี บางครั้งก็เสมอทุนบางครั้งก็ขาดทุนเพราะเหตุสงสารสัตว์ที่เลี้ยง เลยตัดสินใจเลิกเลี้ยงกลับมาอยู่บางขุนเทียนตามเดิม”

แถบบางขุนเทียนสมัยนั้น เริ่มมีโรงงานผลิตอะไหล่รถจักรยานยนต์หลายโรงงาน จึงมีความคิดจะซื้ออะไหล่ใส่รถกระบะนำไปเร่ขายตั้งแต่ทางฝั่งธนฯ นนทบุรี ปทุมธานี สระบุรี ลพบุรี สุดท้ายที่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา แล้วซื้อชิ้นส่วนจากร้านอั้งย่งไถ่ โคราช กลับมาทางเก่า ขายตั้งแต่โคราช ลพบุรี จนกลับถึงบางขุนเทียน ใช้เวลา ประมาณ 20-25 วัน พักอยู่ไม่กี่วันก็เริ่มรอบใหม่อีก ตลอดระยะเวลาที่ไปขายไม่เคยนอนโรงแรมเลย แต่นอนในปั๊มน้ำมันแทนเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย จนโดนเพื่อนล้อว่า คืนนี้จะนอนไหนดีระหว่างโรงแรมเอสโซ่ โรงแรมเชลล์ โรงแรมคาลเท็กซ์ สมัยนั้นปั๊ม ปตท.ยังเป็นปั๊มชั้นรองอยู่ ในช่วงนั้นต้องซื้อเงินสดจนกระทั่งเจ้าของโรงงานไว้ใจจึงสามารถซื้อเครดิตได้ ของที่เอาไปขายจึงเพิ่มจำนวนจนเต็มคัน ทำให้มีกำไรเพิ่มขึ้น

จนถึงปี 2543 ในตลาดมวกเหล็ก มีตึกขายจึงซื้อไว้สำหรับเก็บสินค้าเพราะเห็นว่าราคาไม่แพง ต่อมาลูกค้าได้ถามซื้ออะไหล่อยู่บ่อยๆ จึงคิดที่จะเปิดเป็นร้านค้าเสียเลย จนบัดนี้เป็นเวลา 20 ปีแล้ว ร้าน หจก.บัญญัติยนต์ กลายเป็นร้านค้าอะไหล่และซ่อมรถจักรยานยนต์คู่กับตลาดมวกเหล็กมานาน แต่การส่งอะไหล่ให้กับลูกค้าต่างๆ ก็ยังมีอยู่แต่ก็ลดลงเพราะมีการขายตรงจากโรงงาน ขายออนไลน์ ทำให้ออเดอร์ลดลงแต่รายได้ที่ทดแทนคือการขายหน้าร้านและการซ่อม

ในช่วงโควิดและช่วงที่เศรษฐกิจซบเซาทำให้คุณบัญญัติ มองหาแนวทางทำอย่างอื่น ประกอบกับอายุมากขึ้นและมีโรคประจำตัวคือหอบหืด เมื่อมีหลานที่มีประสบการณ์การทำสวนผักมาแนะนำเรื่องการปลูกผัก ด้วยความที่ชอบด้านการเกษตรอยู่แล้ว จึงสนใจไปดูงานปลูกตามสวนต่างๆ แต่คราวนี้บอกตัวเองว่าจะไม่เลี้ยงสัตว์อีกเด็ดขาด การปลูกผักสลัดจนเป็นสิ่งที่ได้ตัดสินใจทำในที่สุด

จากบ้านอยู่อาศัยนอกเมืองมวกเหล็ก สมัคร Royal Online มีที่ว่างอยู่ข้างบ้าน 120 ตารางวาง จึงได้ทดลองปลูกผักสลัดจากความรู้ที่หลานแนะนำ และศึกษาตามสื่อออนไลน์ต่างๆ ได้เริ่มปลูกเมื่อตอนหน้าฝนเดือนกันยายน 2563 ที่ผ่านมา ปรากฏว่านำไปเสนอขายแล้วลูกค้าชอบใจ เพราะช่วงหน้าฝนผักมักขาดตลาดอยู่เป็นประจำเนื่องจากโรคโคนเน่าและใบช้ำจากเม็ดฝน แต่ผักที่สวนกลับไม่มีปัญหาเรื่องนี้

ผงถ่านผสมดิน ปลูกในแปลง

ด้วยความรู้ที่เสาะหาในสื่อออนไลน์ คุณบัญญัติ ได้นำเอาผงถ่านที่ชาวบ้านเผาถ่านนำมาผสมบนแปลง เนื่องจากต้องการให้ดินโปร่ง รากเจริญเติบโตได้ดี ไม่อุ้มน้ำ จึงน่าจะเป็นเหตุให้ผักที่สวนไม่เสียหายตอนฤดูฝน ทำให้ผู้เขียนนึกถึงตอนที่เคยได้มีโอกาสคุยกับ อาจารย์เกศรินทร์ แสงมณี อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เคยเล่าให้ฟังถึงการเอาถ่านก้อนเล็กผสมดินปลูกเมล่อนบนดาษฟ้า และได้เขียนเรื่องผักดาดฟ้า ของอาจารย์เกศรินทร์ ในเทคโนโลยีชาวบ้านเมื่อหลายปีก่อน อาจารย์เคยกล่าวให้ฟังเรื่องการใช้ถ่านปลูกผักแต่ยังไม่สอบถามความรู้เรื่องนี้เพื่อนำมาเขียนเลย น่าจะเป็นปัจจัยนี้ที่ทำให้ผักในสวนฟาร์มฮิลด์เป็นผักที่มีคุณภาพแห่งหนึ่งของมวกเหล็ก ในโอกาสต่อไปจะพยายามติดต่ออาจารย์เกศรินทร์นำเรื่องราวนี้มาถ่ายถอดให้ผู้อ่านฟังอย่างละเอียด

คุณบัญญัติ จะเพาะต้นกล้าในถาดหลุม โดยใช้ดินพร้อมปลูกที่ซื้อโดยทั่วไป หยอดเมล็ดช่องละ 1-2 เมล็ด แล้วเอาซาแรน 2 ชั้น ปิดด้านบน แล้วรดน้ำด้วยฝักบัว นำไปวางไว้ในโรงเรือนเพาะไม่ให้โดนฝน รดน้ำเช้า-เย็น ประมาณ 5 วัน ก็จะเอาซาแรนออกให้รับแสง ใช้เวลาอีก 10 วัน รวมเป็น 15 วัน ก็จะนำไปปลูกในแปลง โดยการเตรียมแปลงด้วยรถไถ เป็นร่องความกว้าง ขนาด 120 เซนติเมตร ส่วนความยาวขึ้นอยู่กับพื้นที่ของสวน จะใช้ในระยะ 30 เมตร และ 60 เมตร หลังจากเตรียมแปลงแล้วก็จะนำผงถ่านและขี้วัวหมักโรยใส่ปนคลุกเคล้าลงหน้าแปลง แล้วนำฟางมาปูให้หนาพอสมควรก่อนปลูก เพราะฉะนั้นในการปลูกต้นกล้าก็จะพอมีร่มเงาให้ต้นผักฟื้นตัวได้เร็ว เนื่องจากที่สวนไม่ได้ใช้ซาแรนกางเพื่อบังแดดในแปลง