สาวปราจีนบุรี ปลูกหม่อน พร้อมแปรรูปครบวงจร สินค้าดี มีคุณภาพ

สร้างรายได้งาม หม่อน หรือ มัลเบอร์รี่ (Mulberry) เป็นไม้ทรงพุ่มขนาดกลาง เปลือกของต้นมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลแดง ลำต้นตั้งตรงใบเรียงสลับรูปไข่ กว้าง 8-14 เซนติเมตร ยาว 12-16 เซนติเมตร ผิวใบสากปลายเรียวแหลมยาว ฐานใบออกเป็นกลมๆ หรือคล้ายรูปหัวใจ ดอกของไม้ชนิดนี้เป็นดอกช่อรูปทรงกระบอกออกที่ซอกใบและปลายยอด แยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกมีลักษณะเป็นคล้ายหางกระรอก ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อติดเป็นผลแล้วผลจะอวบน้ำ รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียมี 2 อัน ผลเป็นผลรวมรูปทรงกระบอกมีสีเขียว เมื่อผลสุกจะมีสีผลออกม่วงแดงเข้มจนเกือบดำฉ่ำน้ำ มีรสหวานอมเปรี้ยว

ปัจจุบัน ได้มีการปลูกหม่อนเป็นจำนวนมาก เพราะผลของหม่อนถือเป็นผลไม้ที่มีคุณค่าต่อสุขภาพ ส่วนใบก็นำมาทำเป็นชาใบหม่อนหรือใช้เป็นอาหารให้กับหนอนไหมอีกด้วย นอกจากนี้ ผลหม่อนยังนิยมนำมาแปรรูปมากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลหม่อนในการจำหน่าย เช่น น้ำหม่อนพร้อมดื่ม แยม หรือจะนำมาเป็นส่วนผสมรับประทานคู่กับโยเกิร์ตก็เข้ากันได้อย่างลงตัวทีเดียว ไม่เพียงแต่ได้ความอร่อย ยังได้คุณค่าทางอาหารอีกด้วย

คุณเมจิรา สงวนชม เจ้าของสวนชนาภัทร ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 5 หมู่ที่ 16 ตำบลบ้านพระ อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ได้นำต้นหม่อนมาปลูกเพื่อเป็นไม้ขุดล้อม ต่อมาเมื่อไม้สามารถให้ผลผลิตได้ จึงนำมาแปรรูปให้มีความหลากหลาย จึงเกิดเป็นสินค้าติดตลาดสร้างรายได้ให้กับเธอได้เป็นอย่างดีทีเดียว

ทำสวนตั้งแต่สมัยรุ่นคุณพ่อคุณแม่ คุณเมจิรา เล่าให้ฟังว่า การทำสวนเป็นอาชีพที่ทำมานานตั้งแต่รุ่นคุณพ่อคุณแม่ของเธอ แต่ในสมัยนั้นเรื่องเหล่านี้ยังไม่ได้อยู่ในสายตาของเธอเลยก็ว่าได้ เพราะมองว่าเป็นงานที่หนักและไม่น่าจะมีความสุขในสายงานนี้ จึงทำให้ไปหางานทำทางด้านอื่นเพื่อเป็นอาชีพให้กับตนเอง แต่ก็ยังไม่เกิดความสุขในงานบริษัทที่ได้ไปสัมผัส จึงได้ตัดสินใจกลับมาบ้านและลองทำสวนอย่างจริงจังในเวลาต่อมา

“ช่วงแรกที่จะกลับมาทำ คนเขาก็มองว่าเราจะทำได้เหรอ เพราะสมัยก่อนทำงานบริษัทมันน่าจะสบายกว่าการที่มาทำสวน เสร็จแล้วเราก็ลองมาทดลองทำดู เพราะมองว่าของแบบนี้มันก็เหมือนอยู่ในสายเลือด เพราะช่วงที่เรายังเด็กก็จะเห็นแม่เขาปลูกเงาะ มังคุด ทุเรียน ซึ่งของพวกนี้ปีหนึ่งผลผลิตมันก็จะได้ครั้งเดียว เราก็มามองว่ามันน่าจะมีอย่างอื่น ที่ทำแล้วให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปีมาปลูก ช่วงแรกนี่บอกเลยเหนื่อยมากๆ ในการทำสวน ในการเริ่มต้นใหม่ในชีวิตเรา” คุณเมจิรา เล่าถึงที่มา

โดยประมาณปี 2545 เธอบอกว่า ได้ปลูกกะเพราและพืชผักสวนครัวเพื่อตัดส่งขายก่อน แต่ราคาของผลผลิตก็ยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงได้พัฒนานำต้นไม้ที่อยู่บริเวณบ้านทำเป็นไม้ขุดล้อมเพื่อขายให้กับลูกค้า เช่น ต้นมะม่วง และไม้ผลอื่นๆ ก็สามารถทำเงินได้ดี ต่อมาได้ไปรู้จักกับต้นหม่อนจึงได้นำมาทดลองปลูกและศึกษาเรียนรู้วิธีปลูกอย่างจริงจัง จนสำเร็จเกิดเป็นรายได้มาถึงปัจจุบันนี้

หลงรักต้นหม่อน ถึงขั้นจับเป็นอาชีพด้านนี้โดยเฉพาะ

ในช่วงแรกที่เริ่มปลูกหม่อน คุณเมจิรา บอกว่า ได้เดินทางไปในหลายๆ พื้นที่ เพื่อหาซื้อต้นพันธุ์มาปลูก และเรียนรู้วิธีการขยายพันธุ์ ลองผิดลองถูกจนประสบผลสำเร็จ ซึ่งระยะห่างการปลูกหม่อนไม่มีระยะห่างที่ตายตัวสำหรับสวนของเธอ เพราะสวนทำไม้ขุดล้อมอยู่ก่อน ดังนั้น เมื่อนำหม่อนมาปลูกก็จะปลูกลงในพื้นที่ว่างให้เต็มบริเวณสวน

“การปลูกไม้ ถ้าระยะห่างที่ดี ก็ควรอยู่ที่ 4×4 เมตร แต่ที่นี่ก็ไม่มีอะไรที่ตายตัว ตรงไหนที่ไม้ขุดล้อมเราขุดขายไปแล้ว ก็จะเอาหม่อนลงไปปลูก มันก็จะมีคละกันไป โดยที่นี่ปลูกหม่อน การใส่ปุ๋ยจะไม่มีใช้ปุ๋ยเคมีเลย จะใส่เฉพาะขี้ไก่อย่างเดียว บำรุงหลังช่วงที่เราเก็บผลผลิตหมดไป โดยที่นี่สามารถบังคับให้มีผลได้ตลอดทั้งปี ซึ่งหม่อนจริงๆ จะออกผลได้ปีละ 2 ครั้ง แต่เราทำให้ออกได้ตลอดทั้งปี” คุณเมจิรา บอก

ซึ่งวิธีการทำให้หม่อนออกผลได้ตลอดทั้งปีนั้น คุณเมจิรา เผยเทคนิคว่า หลังจากเก็บผลผลิตหมดแล้ว จะตัดยอดเพื่อเป็นการตัดแต่งต้นก่อน จากนั้นลิดใบออกจากต้นให้หมด เพื่อให้ไม้แตกกิ่งและแตกยอดใหม่ เมื่อต้นหม่อนมีกิ่งและยอดใหม่ออกมาก็จะทำให้มีผลตามมาด้วย

ซึ่งหม่อนที่ให้ผลผลิตได้เต็มที่ อายุไม้ควรอยู่ที่ 6 เดือน ขึ้นไป ก็จะทำให้ผลผลิตที่ได้ เก็บได้แบบจำนวนมากๆ และนอกจากนี้ ยังมีการแบ่งโซนเก็บเกี่ยวเพื่อให้มีผลผลิตในปริมาณที่คงที่ และเก็บผลมาแปรรูปได้ตลอดทั้งปี เพื่อเป็นการดึงลูกค้าในการซื้อขายไม่ให้ผลผลิตขาดช่วงตลาด

“ที่สวนก็จะปลูกหม่อนอยู่ประมาณ 2,000 ต้น บางส่วนก็จะเอาไว้เก็บผลมาแปรรูป และบางส่วนก็จะทำเป็นไม้ขุดล้อม ขายให้กับคนที่เขาสนใจนำไปปลูก ตรงไหนขุดไปก็นำต้นใหม่ที่เราชำไว้มาปลูก มันก็จะหมุนเวียนอยู่แบบนี้ เรียกว่าหม่อนทำรายได้ให้กับเราได้หลากหลาย ขายต้นก็ได้ ผลนำมาแปรรูปก็สร้างมูลค่าได้ค่อนข้างดีอีกด้วย” คุณเมจิรา บอก

จากขายผลสด พัฒนาเป็นสินค้าแปรรูป

ในช่วงทำการตลาดระยะแรก คุณเมจิรา บอกว่า จะเน้นขายแบบผลสด โดยไปขายยังตลาดคลองถมที่อยู่ภายในตัวเมืองปราจีนบุรี ซึ่งช่วงนั้นคนในพื้นที่ยังไม่มีใครรู้จักผลของหม่อนมากนัก เพราะคิดว่าเป็นผลไม้ที่ขึ้นอยู่ตามที่สูงอย่างเช่น ภาคเหนือ ต่อมาเธอก็นำผลผลิตออกขายเรื่อยๆ ทำให้ลูกค้ารู้ว่าไม้ชนิดนี้สามารถปลูกได้ในจังหวัดปราจีนบุรี

“พอคนเริ่มสนใจมากขึ้น มีความสงสัยมากขึ้นว่า ไม้ชนิดนี้สามารถปลูกได้จริงไหมที่นี่ ทีนี้เราก็เลยมองไปเป็นอนาคต ทำสวนเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้คนได้มาศึกษา ว่าการปลูกหม่อนทำยังไง เพื่อให้เห็นการปลูกและการแปรรูปแบบครบวงจร ซึ่งเดี๋ยวนี้เราก็จะไม่เน้นขายผลสดเท่าไร เพราะจะเน้นเอามาแปรรูปมากกว่า ก็ทำให้สินค้ามีมูลค่าและทำได้หลากหลายรูปแบบมากขึ้น” คุณเมจิรา บอกถึงหลักการทำตลาด

โดยผลจากหม่อนที่สวนของเธอนั้น สามารถนำมาทำเป็นน้ำหม่อน แยม และเป็นหม่อนที่ผสมรับประทานรวมกันกับโยเกิร์ต สินค้าแปรรูปขายตั้งแต่ราคา 20 บาท ไปจนถึงหลักร้อยบาท นอกจากนี้ ยังขายกิ่งพันธุ์ที่ปักชำเองหรือแบบเป็นไม้ขุดล้อมที่ต้นใหญ่หน่อย ราคาอยู่ที่หลักสิบไปจนถึงหลักร้อยบาท จึงนับได้ว่าหม่อนที่เธอสนใจและชื่นชอบสามารถสร้างรายได้ให้กับเธอหลายหลากช่องทางเลยทีเดียว

“สำหรับเรามองว่า การขายผลสด ตลาดอาจจะไม่ดีนัก เพราะหม่อนผลเก็บไว้ได้ไม่เกิน 2 วัน ดังนั้น การนำมาแปรรูปไม่มีทางตัน สามารถต่อยอดและพัฒนาสินค้าไปได้เรื่อยๆ และบางส่วนเราก็ขายต้นได้แบบไม้ขุดล้อม ซึ่งควรที่จะสนใจอยากจะทำอาชีพทางการเกษตร ก็จะบอกว่าความอดทนถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก ซึ่งการทำสวนสำหรับเราไม่ต้องขยันอะไรมาก แต่ต้องทำให้สม่ำเสมอ ทำให้ทุกวันวันละนิดละหน่อย ความเครียดก็จะไม่เกิด เราก็จะมีแต่ความสุข และมองเห็นช่องทางต่างๆ ไปเอง” คุณเมจิรา กล่าวแนะนำ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณเมจิรา สงวนชม หมายเลขโทรศัพท์ (087) 157-7352 “ปลูกผักแลกค่าเทอม” เป็นโครงการยุทธศาสตร์หนึ่งของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ในการนำความรู้ ภาคทฤษฎีมาทำการผลิตพืช ผัก ผลไม้ ไข่ เนื้อสัตว์ ปลา โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา/นักวิชาการทำหน้าที่พี่เลี้ยง นำเทคนิค องค์ความรู้ มาสอนแนะแก่นักศึกษา ซึ่งมาจากทุกคณะ ทุกชั้นปี ที่สนใจ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ แบ่งเบาภาระให้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครองในค่าเล่าเรียน ปัจจุบันมีนักศึกษาที่สมัครใจเข้าร่วมในโครงการจำนวน 467 คน จาก 11 คณะ

สำหรับโครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคทางการเกษตรจากการปฏิบัติงานจริงนอกห้องเรียน รวมทั้งมีรายได้เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองในการลงทะเบียนเรียน ขณะที่ทางคณะและสำนักได้บูรณาการการเรียนการสอน เพื่อการสร้างบัณฑิตที่มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ ทั้งยังเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม และเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการผลิตสินค้าสำหรับผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ป้อนเข้าสู่กาดแม่โจ้ 2477

ผลการดำเนินงานในภาคเรียนที่ผ่านมา (ภาคเรียนที่ 2/2559) นักศึกษาสามารถจำหน่ายผลผลิตที่ผลิตจากพื้นที่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัย จัดสรรให้ดำเนินการผลิต (สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และคณะต้นสังกัด) โดยให้นักศึกษานำผลผลิตมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ในกาดแม่โจ้ 2477 เป็นประจำทุกวันศุกร์และเสาร์ สร้างรายได้ เพื่อชำระเป็นค่าลงทะเบียนเรียน จำนวน 77 คน มูลค่า 215,880 บาท

นางสาวหฤทธิ์ชนัน ดีดวง หรือ น้องแนน นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ เผยความรู้สึกภายหลังที่ได้เข้าร่วมโครงการนี้เป็นครั้งแรกว่าโครงการปลูกผักเลี้ยงปลาแลกค่าเทอมสอนให้เกิดทักษะการทำงานที่สามารถนำไปประกอบอาชีพในชีวิตจริงได้

โดยเฉพาะในตัวโครงการที่มุ่งเน้นการให้ความรู้ในทางทฤษฎีและปฏิบัติจากความรู้ที่ได้จากในห้องเรียน รวมถึงยังสอนให้รู้จักนำวัตถุดิบจากในพื้นที่เพื่อนำทำเกษตรกรรม ไม่ว่าจะปลูกผัก เลี้ยงปลา ขณะเดียวกัน ยังได้รับความรู้จากการสร้างมูลค่าด้วยการแปรรูป แล้วยังชี้นำในการตลาดด้วยการนำไปขายที่กาดแม่โจ้ 2477 เพื่อนำรายได้กลับมาเป็นค่าเทอม

สำหรับโครงการนี้ทำหน้าที่ในการเลี้ยงปลานิล ปลูกผัก และการแปรรูปทำปลานิลแดดเดียว ปลาส้ม โดยนำผลผลิตทุกอย่างไปขายที่กาดแม่โจ้ 2477 น้องแนนบอกว่าจะพบปัญหาจากครั้งแรกที่เริ่มเลี้ยงปลาและปลูกผักเนื่องจากตัวเองยังไม่เคยมีความรู้มาก่อน แต่ภายหลังที่ทำกิจกรรมบ่อยๆ พร้อมไปกับการเรียนวิชาการในห้องเรียนทำให้มีความเข้าใจเพิ่มมากและเกิดความชำนาญเป็นอย่างดี ไม่เพียงเท่านั้นยังได้นำสิ่งที่ได้จากโครงการมาช่วยทางบ้านในเรื่องการเลี้ยงปลาและการแปรรูป ยิ่งทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

“สิ่งที่ได้จากโครงการจะสอนในรู้ถึงวิธีการสร้างทักษะ ความชำนาญในการนำความรู้มาใช้ประกอบอาชีพในชีวิตจริง รวมถึงยังได้ข้อคิดเรื่องการประกอบอาชีพเพื่อให้มีความรอบคอบมากขึ้น นอกจากนั้น ยังช่วยเสริมสร้างภาวะผู้นำ” น้องแนน กล่าว

ขณะที่ นายนราธิป ทิพย์มณี หรือ น้องต้น นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะผลิตกรรมการเกษตร ได้บอกเล่าว่า โครงการปลูกผักแลกค่าเทอมเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ความรู้แก่นักศึกษาเพื่อนำไปประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้จริง ขณะเดียวกัน ยังช่วยให้สามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ แล้วยังช่วยทำให้มีรายได้เกิดขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นค่าเทอม ช่วยแบ่งเบาภาระได้มาก

“กิจกรรมนี้มีหน้าที่เผาถ่านไบโอชาร์หรือถ่านชีวภาพ ซึ่งสามารถนำไปใช้ผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ ใช้ในอุตสาหกรรมความงาม การดับกลิ่น โดยขั้นตอนวิธีการทำถ่านไบโอชาร์ จะต้องนำเศษไม้แห้ง หรือเปลือกผลไม้แห้งบางชนิดมาอบในถังโดยใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง จากนั้นปล่อยให้เย็นแล้วนำมาตากแห้ง นำมาบดให้ละเอียดแล้วจึงนำไปใช้งาน”

น้องต้นชี้ถึงประโยชน์ของกิจกรรมในโครงการปลูกผักแลกค่าเทอมว่า มีส่วนช่วยในเรื่องการสร้างความสามัคคี การทำงานเป็นทีมเพื่อให้ประสบความสำเร็จที่นอกเหนือจากรายได้จากการขาย

“ช่วยให้มีความรู้ทางวิชาชีพมากขึ้น ได้นำความรู้ ทักษะต่างๆ กลับมาช่วยงานทางบ้าน เพราะที่บ้านทำปุ๋ยหมักมูลสุกรจากที่เลี้ยงไว้จำนวนกว่า 40 ตัว ทั้งนี้ ได้นำมูลสุกรมาผสมกับถ่านไบโอชาร์เพื่อผลิตเป็นปุ๋ยชีวภาพเพราะได้ราคาสูงกว่าการผลิตปุ๋ยมูลสุกรล้วน อย่างถ้าขายปุ๋ยสุกรราคากระสอบละ 50-60 บาท แต่พอนำมาผสมกับถ่านไบโอชาร์สามารถเพิ่มมูลค่าขายได้ราคาสูงกว่าหลายเท่า” น้องต้น กล่าว

ร่วมอุดหนุนผลิตภัณฑ์สินค้าทางการเกษตร แวะไปที่ กาดแม่โจ้ 2477 ได้เป็นประจำทุกวันศุกร์และเสาร์ ทั้งนี้ ไม่เพียงท่านจะได้เลือกซื้อสินค้าพืชผักอาหารที่สะอาดปลอดภัยต่อสุขภาพจากฝีมือการผลิตของน้องนักศึกษาจากแม่โจ้แล้ว ท่านยังได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนค่าเทอมให้แก่น้องนักศึกษาอีกด้วย

ผมติดตามผลงานของพี่ณรงค์ วิมา ปราชญ์ชาวบ้านและหมอดินอาสาแห่งจังหวัดสิงห์บุรีมานานแล้ว ผลงานเด่นๆ มีมากมาย ขึ้นบรรยายให้ความรู้มาหลายเวที และไม่ต้องถามเลยว่าที่บ้านมีคนมาหาไหม เพราะคิวรับแขกแต่ละวันยาวเหยียด ทั้งมาเรียนรู้ดูงาน มาซื้อผลผลิต กระทั่งมาหาแรงบันดาลใจในการเริ่มลงมือทำอาชีพเกษตร

พี่ณรงค์เป็นมนุษย์สารพัดช่าง สารพันความสามารถ หากลองไล่เรียงจากงานประจำที่ทำอยู่ก็จะได้ประมาณนี้ ช่างไฟฟ้า ระบบไฟฟ้าในบ้าน ในสวน ทั้งไฟฟ้ากระแสตรงหรือกระทั่งไฟฟ้าจากพลังงานทางเลือกโซล่าร์เซลล์

– ช่างประปา ระบบน้ำใช้ ระบบน้ำในสวนเกษตร มีการออกแบบ ผลิต และพัฒนาวัสดุอุปกรณ์มากมาย

– ช่างเชื่อม งานหลายๆ อย่างทั้งที่บ้านและสวน ล้วนฝีมือพี่ณรงค์ทั้งนั้น ช่างก่อสร้าง ทั้งบ้าน กรงไก่แบบคอนโดฯ หรือกระทั่งโดมแปลงผักกางมุ้งในสวน

– นักออกแบบ หลายๆ อย่างในสวน ผ่านการวางแผนและออกแบบมาอย่างสวยงามและใช้งานง่าย

– หมอดิน ปุ๋ยในสวนล้วนผ่านการปรุงจากเชฟณรงค์ทั้งนั้น

– ประมง ด้วยเป็นคนแม่น้ำ การหาอยู่หากินทางน้ำถือว่าไม่เป็นรองใครเลย นักวิจัย พัฒนา จากขวดน้ำพลาสติก สามารถพัฒนามาเป็นวัสดุในงานสวนได้อย่างดี

– เกษตรกรหัวก้าวหน้า มีการเรียนรู้ พัฒนา ปรับปรุงจากเดิมๆ จนทำอาชีพเกษตรได้อย่างมั่นคง ผมเชื่อว่าหากนับไปนับมาอาจต้องมอบรางวัลสารพัดช่างให้อีกเป็นแน่

ผมนัดพี่ณรงค์ไว้วันเสาร์ เราจะไปถ่ายรายการโทรทัศน์ ทิดโสok กันด้วย พี่ณรงค์เตรียมการรอไว้ตั้งแต่เนิ่น ลงเบ็ดราวในแม่น้ำได้ปลาตะโกก ปลากด ปลาตะเพียน ไว้รอให้ปรุงอาหารกันแล้ว ในช่วงค่ำๆ จึงจะพาไปลงเรือไปถ่ายกันอีกครั้ง

ด้วยพื้นที่อันจำกัด ในสวนพี่ณรงค์จึงต้องวางแผนปลูกพืชผลอย่างดี พื้นที่ประมาณ 1 งาน ทำแปลงปลูกชะอมไว้ตัดยอด

“ปกติชะอมจะเก็บยอดยังไงครับพี่”

“ชะอมจะให้ยอดใหม่ได้ในทุก 4 วันครับ ผมให้น้ำให้ปุ๋ยไปพร้อมๆ กัน ทั้งปุ๋ยหมักและปุ๋ยไส้เดือน ทำให้ยอดชะอมอวบและแตกยอดได้ดี ผมจะเก็บเวียนกันในแต่ละแปลง ให้เก็บยอดได้ 3 วันพัก 1 วัน”

“อ้าว แล้วจะมีรายได้หรือพี่”

“เยอะแยะ วันที่ 4 ผมก็มีผักอื่น นั่นผักหวานบ้าน พริก ชะพลู ถั่วฝักยาว ถั่วพู ข่า ตะไคร้ สลิด สลับกันเก็บ เท่านี้เราก็หมุนเวียนผักไปขายได้ทุกวันแล้ว”

“รายได้พอไหมพี่”

“แต่ละวัน ผมแทบไม่ได้ซื้ออะไรมากนัก ชะอมได้ประมาณ 15-20 กำขายกำละ 10 บาท ผักอื่นๆ ผสมผสานกันอีก แต่ละเช้าได้เงินเข้าบ้าน 3-400 ก็พอแล้ว”

จากการเดินชมสวนของพี่ณรงค์ นอกจากแปลงชะอมประมาณ 1 งานแล้ว พื้นที่รอบรั้วก็ปลูกผักหวานบ้าน ตามเสารั้วก็มีถั่วฝักยาว ถั่วพู สลิดเลื้อยอยู่ทุกเสา ในพื้นที่ยังมีมะกรูด มะนาว ข่า ตะไคร้ พริก ชะพลู กะเพรา โหระพา แมงลัก ผักชีฝรั่ง ปลูกแซมกันอยู่ทั่ว ผลไม้ก็ยังมีฝรั่ง น้อยหน่า มะม่วง กระท้อน แถมยังปลูกทุเรียนต้นน้อยๆ ไว้อีก 4 ต้น ตามโคนต้นไม้ผลก็ปลูกผักกูด แถมตามกิ่งต้นไม้ผลก็ยังมีกล้วยไม้แทรกแซมอยู่เสมอ

“เราต้องมีทั้งอาหารท้อง อาหารตา และอาหารใจ เดินในสวนเก็บผัก ก็มองดอกไม้ได้ด้วย”

“พี่ให้น้ำแบบไหนครับ”

“พื้นที่ไม่มาก ทำให้เราจัดระบบน้ำได้อย่างปราณีตครับ อย่างมะม่วงต้นนี้เป็นแฟนซี ต้นเดียวมี 7 สายพันธุ์ ผมก็ต่อท่อสูงให้น้ำถึงยอดมะม่วง พอน้ำตกลงมาก็รดให้กล้วยไม้ตามคบได้ด้วย พอน้ำตกถึงพื้นก็ทำให้ดินชุ่มแถมรดผักกูดได้อีกต่อหนึ่ง เรียกว่าเปิดให้น้ำครั้งเดียวต้นไม้ได้ทั่วถึงเลย” “เปลืองไฟไหมพี่”

“ผมใช้โซล่าร์เซลล์ครับ แดดมาก็เปิดปั๊มได้เลย ไม่เสียค่าไฟซักบาท”

อีกหนึ่งกิจกรรมในพื้นที่น้อยๆ ที่ทำเอาต้องทึ่งก็คือ คอนโดฯ ไก่ไข่ พี่ณรงค์สร้างกรงไก่ยกสูงจากพื้น 1 เมตร มีเสาคู่กันทั้ง 4 เสา หลังคามุงหญ้า ไม้ไผ่ตีเป็นไม้ระแนง มีตะแกรงรองพื้นให้ไก่เหยียบและขี้ไก่ร่วงลงพื้นได้ง่าย ไก่ 7 ตัว ในคอนโดฯ ดูมีความสุขดี พัดลมจากพลังงานโซล่าร์เซลล์เปิดให้ลมพัดเย็นสบาย

“ไก่ 7 ตัว ให้ไข่วันละกี่ฟองครับพี่”

“อย่างน้อยก็ 5 ฟองครับ กินไม่ไหวหรอก ได้เก็บไข่ขายทุกวันแหละ บางวันอยากกินค่อยเก็บมากิน เรามีของกินเยอะแยะ จะให้กินแต่ไข่ก็เบื่อแย่”

“ให้อาหารยังไงพี่”

“ก็ไม่มีอะไรมาก ข้าวเปลือกบ้าง ให้จิกกินหญ้ากินแมลงบ้าง”

“อยู่บนคอนโดฯ แบบนี้อ่ะนะ”

“ห้าโมงเย็นผมก็ปล่อยลงไปหากินหญ้ากินแมลง พอใกล้มืดเขาก็จะพากันบินมาขึ้นบันไดเดินเข้ากรงกันเอง”

“ฮ้า! จริงอ่ะ ขนาดนั้นเลย” พี่ณรงค์ยังมีเตาเผาถ่านเล็กๆ ไว้เผาวัตถุดิบที่เสียหายทางการเกษตร เรียกว่ามีผลอะไรก็เผาให้คงรูปทรงแบบเดิมได้ ได้ทั้งน้ำส้มควันไม้ ได้ควันไล่แมลงในสวน และได้ถ่านผลไม้ไว้ขายให้นำไปดูดกลิ่นในตู้เย็นกันได้ทั้งสวยและแปลกตา

“แพงไหมพี่”

“ไม่แพงครับ มีงบฯ 3,000 ก็ทำได้แล้ว อยู่ที่เราว่าจะทำเตาเล็กใหญ่ขนาดไหน เพราะอิฐทนไฟจะราคาสูงหน่อย”

“ทำขายไหมพี่”

“ไม่ทำครับ แต่ใครอยากได้ก็มา เดี๋ยวจะพาทำ ไม่ยากหรอกครับ ทำแล้วใช้งานได้จริง”

“นอกจากงานในสวนแล้ว รายได้อีกทางของพี่ยังมาจากแม่น้ำใช่ไหมครับ”

“ใช่ครับ ผมก็ลงเบ็ดหาปลาทั้งไว้กินเองและขายไปบ้างพออยู่ได้”

“ส่วนมากปลาอะไรครับพี่”

“ก็ที่เห็นนี่แหละครับ ปลาตะเพียน ตะโกก ปลากด ปลาหมู ปลาสายยู ที่นี่ยังอุดมสมบูรณ์ครับ พอหาอยู่หากินได้ไม่เดือดร้อนนัก”

“แล้วผลผลิตทั้งจากในสวนและที่หาได้ในแม่น้ำ พี่ขายที่ไหนครับ”

“ที่ตลาดครับ ตอนแรกก็ขนไปขายตลาดอย่างเดียว เพราะบ้านผมห่างจากตลาด 2 กิโล แต่ตอนหลังๆ คนเริ่มรู้ มาซื้อที่บ้านบ้าง รอซื้อตามรายทางบ้าง เหลือไปขายตลาดแค่ไม่ถึงครึ่งหรอกครับ บางทีก็สั่งซื้อล่วงหน้ากันเลยเชียวแหละ”

“เคยเหนื่อย เคยท้อไหมพี่” “เราท้อไม่ได้ ต้องทำงานทั้งเลี้ยงครอบครัวและต้องส่งต่อความรู้ให้คนอื่นๆ หากเราหมดแรงแล้วใครจะมาทำต่อ ที่สำคัญ เป็นงานที่ผมทำแล้วสนุก มีความสุขทุกงาน ก็เลยไม่เหนื่อย ไม่ท้อ แถมยังทำต่อเนื่องไม่ได้หยุดอีกต่างหาก”

“เห็นพี่คัดสายพันธุ์ผักไว้ด้วย”

“ตรงนี้สำคัญมากครับ เราต้องคัดและเก็บเมล็ดพันธุ์ ของเราพันธุ์เปิด เอาไปปลูกต่อได้ไม่สิ้นสุด ต้องช่วยกันครับ หากวันหนึ่งเราไม่มีเมล็ดพันธุ์แล้ว ก็จะตกเป็นทาสนายทุนที่เขามีเมล็ดพันธุ์ ที่สำคัญเมล็ดพันธุ์ของผมตอบสนองกับปุ๋ยหมักปุ๋ยอินทรีย์แบบนี้ ใครเอาไปปลูกแล้วทำแบบผม ยังไงก็งามแน่นอน”

“สักนิดพี่ หากมีคนสนใจอยากมาขอความรู้หรือแบ่งซื้อเมล็ดพันธุ์ จะติดต่อพี่ได้อย่างไรครับ”

“ผมอยู่บ้านท่างาม อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี โทร.หาได้ครับ (084) 012-7306 หากไม่ติดธุระที่ไหนก็นัดมาเจอกันได้เลย” คุณบุญศรี แสนกล้า อยู่บ้านเลขที่ 13 บ้านแมด หมู่ที่ 4 ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู เล่าให้ฟังว่า มีภรรยาชื่อ คุณสะอาด แสนกล้า มีบุตร 2 คน เป็นหญิง 1 คน จบจากมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง จังหวัดราชบุรี ปัจจุบันรับราชการครู และอีกคนเป็นผู้ชาย กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาควิชาการเกษตร

เดิมทีมีอาชีพทำการเกษตร โดยเฉพาะการทำนาเป็นอาชีพหลัก จำนวน 18 ไร่ แต่การทำนาทุกปีมักจะประสบปัญหาในเรื่องภัยธรรมชาติ เช่น บางปีน้ำท่วมบ้าง ราคาผลผลิตตกต่ำบ้าง ฝนทิ้งช่วงบ้าง ผลผลิตเกิดความเสียหาย ทำให้เกิดการขาดทุนในการทำนา และจะต้องหาเงินส่งให้ลูกเรียน ทำให้ไม่มีรายได้พอเพียงในการส่งลูกเรียน ประกอบกับได้มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยลำบอง ซึ่งทำให้ราษฎรในพื้นที่บ้านตาดไฮ ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสัง จำนวน 200 ครัวเรือน มีน้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร มีพื้นที่รับประโยชน์ จำนวน 12,000 ไร่ รวมทั้งลดปัญหาอุทกภัยในพื้นที่บ้านตาดไฮและพื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ราษฎรสามารถทำการเกษตรได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ ทำให้ราษฎรมีอาชีพเสริม และมีรายได้เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังมีน้ำเพื่อสร้างความชุ่มชื้นและมีระดับน้ำใต้ดินเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ระบบนิเวศมีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

คุณบุญศรี ให้ข้อมูลว่า ตนเองมีพื้นที่ทำการเกษตรในบริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยลำบอง จำนวน 4 ไร่ ได้มีการปลูกมะเขือเปราะ จำนวน 2 ไร่ ปลูกพริก จำนวน 1 ไร่ ถั่วฝักยาว จำนวน 2 งาน ปลูกที่อยู่อาศัย 2 งาน โดยส่วนใหญ่จะปลูกพืชปีละ 2 ครั้ง โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 เดือน จะเริ่มปลูกในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หลังเก็บเกี่ยวมะเขือเปราะแล้ว จะไถตากดินไว้และปลูกพืชหมุนเวียน เช่น ผักบุ้ง ผักกาด คะน้า และประมาณเดือนพฤษภาคมจะเริ่มปลูกมะเขือเปราะอีกครั้ง ซึ่งเป็นพืชที่ทำรายได้ให้แก่ครอบครัวเป็นอย่างดี และเป็นพืชหลักซึ่งเป็นพระเอกในการทำรายได้ดีมากคือ มะเขือเปราะ โดยปลูกจำนวน 2 ไร่ ขายได้เงิน 120,000 บาท

คุณบุญศรี บอกว่า การปลูกมะเขือเปราะ ขั้นตอนแรกมีการเพาะกล้าใส่ถาด ประมาณ 20 วัน ถอนแล้วนำไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ระยะการปลูก 1×1.5 เมตร ใน 1 ไร่ จะปลูกมะเขือเปราะได้ประมาณ 1,060 ต้น

วิธีการดูแลรักษา

ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-5-15 อัตรา ต้นละ 1 ช้อนแกง เว็บเดิมพันออนไลน์ หลังจากปลูกมะเขือเปราะประมาณ 20 วัน ใส่โดยการแทงลงตรงดิน ห่างจากต้นมะเขือเปราะประมาณ 20 เซนติเมตร และให้น้ำเพื่อให้ปุ๋ยละลาย
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 ผสมกับปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 อัตราส่วน ผสม 3 ต่อ 1 จะใส่ในช่วงมะเขือเปราะอายุ 30 วัน หรือ 1 เดือน ใส่ในอัตรา 1 ช้อนแกง
ใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-16 ผสมกับปุ๋ยเคมี สูตร 0-0-60 ผสมกันในอัตรา 3 ต่อ 1 ใส่ในช่วงที่มะเขือกำลังออกดอก อัตรา 1 ช้อนแกง
หลังจากปลูกได้ประมาณ 45-60 วัน มะเขือเปราะก็จะทยอยให้ผลผลิต เก็บจำหน่ายได้
หลังจากเก็บผลผลิตไปแล้ว ประมาณ 2 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งหรือลำต้นส่วนที่เคยให้ผลผลิตแล้วออก แล้วบังคับให้แตกกิ่งใหม่ขึ้นมาแทน และมะเขือเปราะจะให้ผลผลิตรุ่นใหม่ได้อีก และควรตัดแต่งกิ่งและบำรุงรักษาต้นมะเขือเปราะทุกๆ 2-3 เดือน

พบว่า มีการระบาด ได้แก่ เพลี้ยไฟ ไรแดง แมลงหวี่ขาว ก็จะใช้พวกน้ำหมักชีวภาพ ได้แก่ น้ำส้มสายชู ยาสูบ ใบสะเดา ข่า ตะไคร้หอม เหล้าขาว นำไปหมักทิ้งไว้ 1 เดือน แล้วนำไปฉีดพ่น โดยใช้ฉีดพ่น อัตรา 150 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร

คุณวีรสุทธิ์ โฮสูงเนิน เกษตรอำเภอโนนสัง บอกว่า จากการออกไปเยี่ยมแปลงปลูกมะเขือเปราะ ส่วนใหญ่แล้ว คุณบุญศรี แสนกล้า จะไม่ค่อยใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดโรคและแมลง เพราะพบมีการระบาดไม่ค่อยรุนแรงมากเท่าไร แต่แมลงที่สำคัญที่พบคือ ไรแดง ได้แนะนำให้ตัดแต่งกิ่งที่แมลงทำลายนำไปทำลาย โดยนำไปฝังหรือเผา และแนะนำให้ใช้กาแฟยกล้อ ซึ่งประกอบด้วย ยาสูบ (ยาฉุน) จำนวน 2 ขีด ต้มในน้ำ 1 ลิตร ให้มันเดือดแล้วกรองเอาแต่น้ำยาสูบ เสร็จแล้วเทกาแฟดำ จำนวน 500 กรัม ลงไป แล้วคนให้เข้ากัน แล้วนำกะทิ จำนวน 1 กล่อง (250 ซีซี ผสมลงไป แล้วคนให้เข้ากัน ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น แล้วนำไปฉีด ในอัตรา 1 กระป๋องกาแฟ ผสมน้ำ 20 ลิตร ทดลองไปฉีดในช่วงตอนเย็นหรือตอนเช้าจะได้ผลดี เพราะแมลงจะอาศัยอยู่ในต้นพืชในช่วงตอนเช้า กำจัดได้ผลดีและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คุณบุญศรี ให้ข้อมูลอีกว่า การปลูกมะเขือเปราะ จำนวน 2 ไร่ ลงทุนทั้งหมดประมาณ 20,000 บาท สำหรับการจำหน่าย ส่วนมากจะมีพ่อค้าจะมารับซื้อที่สวน จะนำไปขายตามตลาดนัดคลองถม และจะนำส่งให้ลูกค้าที่โทร.สั่ง ตามหมู่บ้านภายในตำบลโคกม่วง โนนเมือง หรือตำบลใกล้เคียง เช่น ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอศรีบุญเรือง จำหน่ายในราคากิโลกรัมละ 20 บาท ผลผลิตเฉลี่ยต้นละ 5 กิโลกรัม เก็บได้จำนวน 13 ครั้ง ซึ่งทำรายได้ในช่วงหน้าแล้ง ได้เงินจากการปลูกมะเขือเปราะ ในพื้นที่ 2 ไร่ เป็นเงินจำนวน 120,000 บาท