สาวสระแก้ว ทำเกษตรแบบคนรุ่นใหม่ ไม่เจ็บด้วยเทคนิคการตลาด

คุณรัฐรินทร์ สว่างสาลีรัฐ หรือ พี่ป๋อมแป๋ม เจ้าของไร่ดีต่อใจ เลขที่ 264 หมู่ที่ 1 ตำบลหนองตะเคียนบอน อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว พ่วงด้วยตำแหน่งประธานยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์จังหวัดสระแก้ว อดีตผู้จัดการฝ่ายพัฒนาระบบของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ตัดสินใจทิ้งเงินเดือนหลักแสน กลับมาพัฒนาบ้านเกิดที่จังหวัดสระแก้ว ด้วยการพัฒนาพื้นที่ทำกินของพ่อแม่จากเมื่อก่อนปลูกพืชเชิงเดี่ยว ด้วยการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ จนสามารถสร้างรายได้จากการทำเกษตรถึงหลักล้านบาทต่อปี รวมถึงเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนวิสาหกิจชุมชนให้เดินไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็ง

พี่ป๋อมแป๋ม เล่าถึงจุดเริ่มต้นการทำเกษตรว่า ตนเองเริ่มเข้ามาอยู่ในวงการเกษตรตั้งแต่ปี 2557 จากเมื่อก่อนทำงานเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์มานานกว่า 10 ปี จนถึงจุดอิ่มตัวเบื่อชีวิตเมืองกรุงอยากกลับมาหางานทำที่บ้าน แต่ด้วยที่บ้านไม่มีธุรกิจอย่างอื่นให้ทำนอกจากการเป็นเกษตรกร มาสานต่อสวนไม้ผลของพ่อกับแม่ที่ปลูกพืชหลักอย่างกระท้อนและมะยงชิดไว้ แต่ถึงแม้ว่าตนเองจะเป็นลูกหลานเกษตรกร มีดีเอ็นเอเป็นเกษตรกรอยู่เต็มสายเลือด แต่ก็ไม่เคยได้ลงมือทำงานด้านการเกษตรแบบจริงจังสักครั้ง เพราะถูกปลูกฝังมาตั้งแต่ตอนเด็กด้วยประโยคที่ว่า

“เรียนให้เก่งๆ นะลูก โตขึ้นมาจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ไม่ต้องมาลำบาก ตากแดด ตากลม เหมือนพ่อกับแม่” และตนเองก็เชื่อแบบนั้นมาตลอด จึงตั้งหน้าตั้งตาเรียนอย่างเดียว จนเรียนจบได้ทำงานในที่ดีๆ ได้เงินเดือนสูงอย่างที่หลายคนหวังไว้ แต่สุดท้ายแล้วเมื่อไปถึงจุดแล้วอิ่มกับงานประจำ เบื่อกับการแข่งขันที่สูงขึ้นๆ ทุกวัน ก็มาถึงวันที่ต้องกลับมาสู่จุดที่ทำแล้วสบายใจคืองานสายเกษตร โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่า การเกษตรในยุคที่ตนเองทำจะต้องไม่เป็นแบบเดิม คือไม่เจ็บ ไม่จน ทุกคนในบ้านจะต้องสบาย ด้วยการทำเกษตรสมัยใหม่ใช้เทคนิคการตลาดนำการผลิต

พี่ป๋อมแป๋ม บอกว่า ถึงแม้พ่อกับแม่ของตนเองจะเป็นเกษตรกรมาก่อน แต่ตนเองไม่ค่อยได้ช่วยหยิบจับอะไรช่วยพ่อกับแม่มากนัก พอมาถึงคราวที่ต้องลงมือทำเองหนทางก็มืดแปดด้านไปหมด จึงต้องมาตั้งหลักใหม่ด้วยการเดินเข้าหาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เพราะมีความคิดที่ว่าถ้าเริ่มต้นถูก ก็ไม่ต้องมาแก้ทีหลัง ก็ใช้เวลาอบรมหาความรู้นานเกือบ 2 ปี กว่าจะได้ลงมือทำแบบจริงจัง

“ช่วงแรกที่พี่เข้าสู่วงการทำเกษตรใหม่ๆ พี่เริ่มต้นจากเป็นเกษตรกรสายอบรม ก็คือมีให้อบรมที่ไหนพี่ไปมาหมดทุกที่ อบรมครบทุกศาสตร์ ทั้งด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรพอเพียง ปลูกผักอินทรีย์ ปลูกผักออร์แกนิก อบรมเรื่องดิน ด้านประมง ปศุสัตว์ พี่ไปมาหมด ตอนนั้นเหมือนมีอาชีพหลักคือการอบรม แล้วอาชีพรองคือการเป็นเกษตรกร อบรมไปอบรมมาจนสุดท้ายได้เข้าไปร่วมโครงการยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์เมื่อกลางปี 2559 ก็เหมือนถูกจริตกับตัวเอง ได้เจอกับคนรุ่นเดียวกัน คุยแล้วเข้าใจกันง่าย และด้วยทักษะของแต่ละคนเมื่อมาผสานกันงานก็ไปได้ไกล

พี่ก็เลยจับเอาเกษตรทฤษฎีใหม่ที่เคยได้ไปอบรมมาใช้ในพื้นที่โดยมองบริบทเดิมว่าที่สวนปลูกอะไรอยู่ก่อนแล้ว ก็คือกระท้อนกับมะยงชิด แล้วยังมีสวนยางพาราอีกประมาณ 20 ไร่ ที่พ่อปลูกแล้วปล่อยทิ้งไว้ตามยถากรรม พี่ก็ไปรื้อแล้วก็ขุดคลองก่อนเลยอันดับแรก และที่สวนเราโชคดีตรงที่มีน้ำจากคลองพระปรง ทำให้มีน้ำใช้ตลอดปี เราก็จะสูบน้ำจากคลองพระปรงมาพักไว้ในบ่อ แล้วเริ่มแบ่งโซนปลูกทั้งผักผลไม้และทำปศุสัตว์ และใช้ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์มาทำการตลาด”

พี่ป๋อมแป๋ม บอกว่า หลังจากที่เริ่มจับทางถูกว่าจะทำเกษตรไปในแนวทางไหน ก็เริ่มมีการจัดสรรพื้นที่ปลูกให้เป็นสัดส่วนบนพื้นที่มีอยู่จำนวน 45 ไร่ แบ่งปลูกพืชเป็นโซนดังนี้ โซนที่ 1 เป็นพื้นที่สำหรับปลูกไม้ผล คือ 1. กระท้อน ปลูกทั้งสายพันธุ์อีล่า ปุยฝ้าย และทับทิม ที่เป็นกระท้อนพันธุ์ดั้งเดิมที่นิยมปลูกกันมายาวนาน 2. มะยงชิดพันธุ์ทูลเกล้า 3. มะม่วงแก้วขมิ้นที่มีตลาดโรงงานรองรับอยู่แล้ว และ 4. พืชสมุนไพร ปลูกไว้ใต้ต้นไม้ผล เช่น ฟ้าทะลายโจร ขิง กระชาย

โซนที่ 3 เป็นพื้นที่สำหรับทำที่อยู่อาศัย

โซนที่ 4 เป็นพื้นที่ทำนา ปลูกข้าวไว้กินเอง ให้มีกินตลอดทั้งปีโดยไม่ต้องซื้อ รวมถึงพื้นที่ทำแปลงนาสาธิต

โซนที่ 5 ขุดบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ทำการเกษตรให้มีพอใช้ตลอดทั้งปี

โซนที่ 6 พื้นที่ทำโรงงานแปรรูปขนาดเล็ก รวมถึงโรงเรือนตากพลังงานแสงอาทิตย์ และสถานที่ฝึกอบรมอาชีพ

การเอื้อประโยชน์กันภายในสวน มีอะไรบ้าง

การเกื้อกูลกันโดยธรรมชาติ วัชพืชที่ขึ้นอยู่ในสวนก็คืออาหารของวัว โดยการปล่อยให้วัวเข้ามากินหญ้าได้โดยการควบคุมพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน ตัวเจ้าของสวนเองก็ไม่ต้องเสียเวลากำจัดวัชพืช เพราะว่าสามารถนำไปเป็นอาหารสัตว์ได้ ส่วนเศษผลไม้ที่อยู่ในแปลงก็นำเอาไปสับให้เป็นอาหารของวัว อาหารหมูป่าได้ด้วย ส่วนฟางข้าว ที่สวนปลูกข้าวอินทรีย์ เพราะฉะนั้นฟางข้าวก็เป็นฟางข้าวอินทรีย์ ก็สามารถเก็บฟางไว้ให้วัวกินช่วงหน้าแล้งที่หญ้าขาดแคลน
มูลสัตว์ที่ได้มาจากการเลี้ยงวัว หมูป่า และไก่พื้นเมือง นำส่วนนี้ไปใส่เป็นปุ๋ยให้กับไม้ผล ช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยไปได้เยอะ ส่วนจุลินทรีย์สังเคราะห์แสงก็จะใช้สมุนไพรและผลไม้ที่เน่าเสียมาหมักฉีดไล่แมลง
ปลูกพืชสมุนไพรไว้บริเวณใต้ต้นไม้ผล ข้อดีคือส่งผลไปถึงการป้องกันกำจัดแมลง สังเกตได้อย่างชัดเจนว่าแมลงจะมารบกวนพืชผักผลไม้ที่ปลูกน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด และเป็นการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เจ้าของบอกว่า เนื่องจากอาชีพเกษตรเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง จากราคาผลผลิตที่ไม่แน่นอน มีการผันผวนไปเรื่อยตามฤดูกาล รวมถึงปัจจัยภายนอก คือพ่อค้าคนกลางที่เข้ามากดราคาซ้ำเติมเกษตรกรไปอีก ทำให้คนส่วนใหญ่ไม่หันมาเหลียวมองมาที่อาชีพเกษตร เพราะทำแล้วได้ผลตอบแทนน้อย แต่เหนื่อยมาก ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แต่ที่ไร่ดีต่อใจตอนนี้ได้ลบคำสบประมาทของใครหลายคนไปแล้ว จากที่ไร่สามารถสร้างรายได้จากการทำเกษตรได้ถึงหลักล้านบาทต่อปี ด้วยการทำเกษตรแบบครบวงจร

“เมื่อก่อนพ่อกับแม่ของพี่ปลูกกระท้อนเป็นหลัก มีมะยงชิดแซมอยู่เล็กน้อย ก็จะมีรายได้แค่ช่วงไม่กี่เดือน แล้วหลังจากนั้นก็ไม่มีอะไรทำ ไม่มีรายได้เข้ามา และยิ่งถ้าช่วงไหนเกิดเจอวิกฤตราคากระท้อนที่เป็นพืชหลักตกต่ำก็แย่ พี่จึงเข้ามาปรับเปลี่ยนวิถีการทำเกษตรแบบเดิม ด้วยการปลูกพืชให้หลากหลาย เพื่อกระจายความเสี่ยง หากผลไม้ชนิดใดตกก็ยังมีตัวอื่นมาช่วยพยุง รวมถึงการต่อยอดทำท่องเที่ยวเชิงเกษตร มีโฮมสเตย์ให้พักแบบครบวงจร ก็ถือว่ามีรายได้เข้ามาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดมือเลย”

โดยแนวคิดที่กล่าวมานี้เกิดจากการนำแนวทางของเกษตรทฤษฎีใหม่มาประยุกต์ใช้กับการทำตลาด มีการแบ่งสัดส่วนการตลาดออกเป็น 30 : 30 : 30 : 10 คือ 30 แรกคือการขายผลผลิตให้กับพ่อค้าคนกลางที่มาซื้อหน้าสวน ตรงนี้จะทิ้งเขาไม่ได้เพราะว่าบางทีการที่เจ้าของสวนไปเทขายไว้ตลาดที่เดียวหากเกิดปัญหาขึ้นมาจะไปขายให้ใคร 30 ถัดมาคือการแบ่งขายให้กับห้างโมเดิร์นเทรด เช่น แม็คโคร โลตัส และอีก 30 คือการขายส่งเข้าโรงงานแปรรูป ส่วน 10 สุดท้าย คือทำตลาดขายปลีกเอง

นำประสบการณ์จากงานเก่า
มาประยุกต์ใช้กับงานเกษตรยังไงบ้าง

สำหรับการนำประสบการณ์จากงานเก่าที่ทำเกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์มาประยุกต์ใช้กับงานเกษตรยังไงได้บ้าง พี่ป๋อมแป๋ม บอกว่า นำมาใช้ได้เยอะมาก 1. คือเรื่องของคอนเน็กชั่น “คนเก่งไม่กลัว กลัวคนมีคอนเน็กชั่น” เพราะงานที่ตนเองเคยทำมาช่วยต่อยอดให้งานการเกษตรไปได้เร็วมาก อย่างน้อยมีฐานลูกค้าที่เคยติดต่อไว้ ซึ่งประโยชน์ส่วนนี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นกับสวนเราสวนเดียว แต่กระจายไปถึงวิสาหกิจชุมชน เครือข่าย และกลุ่มเพื่อนๆ ที่ดึงมา เนื่องจากผลผลิตของสวนเจ้าเดียวมีไม่เพียงพอ

คือการนำกลยุทธ์การขายมาใช้กับงานเกษตร คือต้องมีการรีเสิร์ชข้อมูลคู่แข่งก่อน แล้วนำเอาข้อมูลที่ได้มาประมวลผลทำออกมาเป็นโปรเจ็กต์ในการนำเสนอขาย มีโมเดลเหมือนกับการขายอสังหาริมทรัพย์ จากนั้นทำการประชาสัมพันธ์การตลาด แต่จะทำอย่างไรให้คนรู้จัก เพราะเราไม่มีต้นทุนการตลาดแบบสินค้าแบรนด์ใหญ่ และทุนก็ไม่หนาเท่า เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะทำให้คนรู้จักสินค้าของเราเร็วที่สุดคือ การสร้างตัวตนให้เป็นที่รู้จัก สร้างตนเองขึ้นมาให้เป็นไอดอล จึงใช้ตัวเองประชาสัมพันธ์ ด้วยการเข้าประกวด นำสินค้าและผลผลิตที่มีเข้าประกวด รวมถึงการออกบู๊ธโชว์สินค้าขายสินค้า มีตรงไหนเราไปหมด ด้วยเหตุนี้ที่ไร่ดีต่อใจถึงเติบโตเร็ว

เกษตรผสมผสาน
รายได้ไม่ธรรมดา

การสร้างรายได้ของไร่ดีต่อใจ พี่ป๋อมแป๋มอธิบายให้ฟัง เริ่มต้นจาก

มะยงชิด ปลูกแซมไว้ในสวนกระท้อน จำนวน 50-60 ต้น เก็บขายในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
มะม่วงแก้วขมิ้น จำนวน 400 กว่าต้น จะออกให้เก็บผลผลิตปีละ 3 ครั้ง เก็บครั้งที่ 1 ช่วงเดือนตุลาคม เก็บครั้งที่ 2 ช่วงเดือนมกราคม เก็บครั้งที่ 3 ช่วงเดือนเมษายน ขายทั้งผลสดและส่งโรงงานแปรรูป
กระท้อน จำนวน 25 ไร่ ผลผลิตออกช่วงปลายเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม ขายคละไซซ์ราคาเริ่มต้นที่ 35-60 บาท ต่อกิโลกรัม จากนั้นเข้าสู่ฤดูทำนา
พืชสมุนไพร สืบเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาส่งผลทำให้รายได้จากการขายสมุนไพรทะลุทะลวง สร้างรายได้ให้กับคนทั้งชุมชนยิ้มได้
ปศุสัตว์ เลี้ยงใช้มูลสัตว์มาทำเป็นปุ๋ย และในอนาคตวางแผนเลี้ยงวัวเพิ่มอีก 70 ตัว เพื่อผลิตมูลให้เพียงพอกับการใช้ในสวนเกษตรอินทรีย์

แนะทำเกษตรยังไงให้รอด

“เทคนิคแรกเลยคือต้องใช้การตลาดนำการผลิต ไม่ใช่ว่าปลูกตามกระแส กว่าพี่จะจับจุดได้มาถึงวันนี้ก็ยากเหมือนกัน อย่างเช่นกระท้อนเมื่อก่อนขายราคาไม่ได้ขนาดนี้ คือพ่อค้าเขามาซื้อเท่าไหร่เราไม่มีสิทธิ์โต้แย้งเลย แต่พอเราเริ่มมาจับกระบวนการถูก เราเริ่มรวมกลุ่มกัน เริ่มถือไพ่เหนือกว่าเริ่มมีทางเลือก ไม่ได้มีแค่เจ้าเดียว แต่เราไปขายให้แม็คโครได้ ขายให้ตลาดไทได้ เริ่มแบ่งขายให้เขาน้อยลง เราก็เริ่มบอกราคาได้เองละว่าจะขายราคาเท่าไหร่ ต่างจากเมื่อก่อนที่ไม่เคยได้ว่าราคาได้เองเลย เขาจะซื้อเท่าไหร่เราต้องขายเท่านั้น เรื่องการตลาดจึงสำคัญมาเป็นอันดับแรก

ต่อมาคือดูว่าต้นทุนเรามีอะไร เราทำอันนั้นให้ดี อย่างเช่นของพี่ ทุนเดิมคือเกษตร มีกระท้อนกับมะยงชิด พี่ก็เอาสิ่งที่เป็นแนวเดียวกันมาเพิ่มอีก แล้วก็ไปเน้นหนักให้ไม้ผล ส่วนอย่างอื่นเป็นรายได้แบบผลพวงตามมา และก็ต้องจับกลุ่มเกษตรกรให้ได้เปลี่ยนจากคู่แข่งมาเป็นพันธมิตรแล้วขายร่วมกัน อันนี้คืออยากจะบอกเกษตรกรว่าอย่าไปมองสวนข้างเคียงคือคู่แข่ง อย่างของพี่มีสมาชิกอยู่ 30 กว่ารายที่เขาปลูกกระท้อน ตอนแรกอาจจะยากนิดหนึ่งกว่าจะมาเป็นก๊วนเดียวกันได้ แต่ถ้าพอสำเร็จแล้วมันตกไปถึงลูกถึงหลานว่าต่อไปพวกเขาไม่ต้องลำบาก ไม่ต้องมาแข่งขันกัน มาคุยกันว่าเราขายราคากลางไหม ไม่ว่าสวนนอกสวนในขายเท่านี้ แล้วเรามีตลาดเราก็เอามาเผื่อแผ่เขา เราอยู่ได้เขาอยู่ได้พึ่งพากันไป แบบนี้ถึงจะเป็นเกษตรที่ยั่งยืน และอยู่รอด” พี่ป๋อมแป๋ม กล่าวทิ้งท้าย

“ชีวภัณฑ์” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะมาจาก พืช สมุนไพร จุลินทรีย์ มีหลายรูปแบบ ที่คุ้นเคยและเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ EM (Effective microorganisms) เป็นกลุ่มจุลินทรีย์มีหน้าที่ในด้านการย่อยสลายเศษซากพืช ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการผลิตปุ๋ย เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ผลิตฮอร์โมน หรือเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักร่วมกับสมุนไพรเพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ยนำ หรือใช้ป้องกันกำจัดแมลง มีหลายหน่วยงานภาครัฐที่ผลิต EM และนำไปใช้ในเชิงสังคม อาทิ พด. 1-12 ของกรมพัฒนาที่ดิน ปม.1 และ ปม. 2 ของกรมประมง และ PGPR 1 PGPR 2 และ PGPR 3 ของกรมวิชาการเกษตร เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีจุลินทรีย์เดี่ยวๆ โดยทั่วไปที่ผลิตขายเชิงพาณิชย์และผ่านการขึ้นทะเบียนกับสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร จะมี 5 สายพันธุ์หลัก คือ ไตรโคเดอร์มา บิววาเรีย เมธาไรเซียม บีที และบีเอส ซึ่งจุลินทรีย์ทั้ง 5 ชนิดนี้จะนำไปใช้ในการควบคุมศัตรูพืช คือ โรคและแมลงของพืช

ปัจจุบัน ภาครัฐรณรงค์ให้เกษตรกรทำการเกษตรมุ่งเน้น ระบบการผลิตพืชแบบเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ โดยใช้ชีวภัณฑ์ในการควบคุมศัตรูพืชมากขึ้นเพื่อการขับเคลื่อนเกษตรกรรมของประเทศให้ยั่งยืน

ศ. (วิจัย) ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวถึงข้อดีของสารชีวภัณฑ์ที่ วว. ผลิตว่า ผ่านการวิจัยและพัฒนาในเรื่องของประสิทธิภาพในการควบคุมศัตรูพืช รวมถึงทดสอบความเป็นพิษในห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ISO/IEC 17025 ตามหลัก OECD GLP GUILDLINE และผ่านการผลิตในโรงงานด้วยเครื่องจักรระดับกึ่งอุตสาหกรรมที่ได้มาตรฐาน กระบวนการผลิตสะอาด ปราศจากเชื้ออื่นปนเปื้อน

ทั้งนี้ วว. ได้นำสารชีวภัณฑ์ที่วิจัย พัฒนาและผลิต ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานพื้นที่ “กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัด” รวมจำนวน 1.3 ล้านลิตร เพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืชทดแทนสารเคมีทางการเกษตร ลดสารพิษตกค้าง เพิ่มความปลอดภัย ยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่เกษตรกรผู้ใช้ ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และลดการนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศ โดย วว. ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสารชีวภัณฑ์ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา ครอบคลุม 4 กลุ่มพืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ไม้ผล พืชไร่ (ข้าว อ้อย มันสำปะหลัง) พืชสมุนไพร และพืชผัก รวมทั้งได้พัฒนากระบวนการขยายชีวภัณฑ์ทั้งในระดับห้องปฏิบัติการเพื่อขยายสู่การผลิตเชิงพาณิชย์และระดับชุมชน

นอกจากนี้ วว. ยังได้เข้าร่วมดำเนิน โครงการภายใต้แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ “โครงการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลางตะวันตก ด้วย BCG โมเดล” ในปีงบประมาณ 2564 จากการดำเนินงานดังกล่าวได้ส่งผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้

1) มีเกษตรกรกว่า 200 ราย นำเทคโนโลยีไปใช้ในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยการพัฒนาปัจจัยการผลิตหมุนเวียนสำหรับเกษตรกรแปลงใหญ่เพิ่มขึ้นได้ 5 ปัจจัยการผลิต จำนวน 6 ทคโนโลยี ดังนี้ เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการหน่อไม้ฝรั่งเพื่อการส่งออก เทคโนโลยีการผลิตข้าวเสริมซีลีเนียม เทคโนโลยีการพัฒนาวัสดุเพาะเห็ด (ฟางข้าวเสริมซีลีเนียม กากมันสำปะหลัง) เทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพผลผลิตอ้อยด้วยปุ๋ยอินทรีย์เคมีเสริมจุลินทรีย์ละลายฟอสเฟต เทคโนโลยีการเพิ่มคุณภาพและเพิ่มผลผลิตพืชด้วยสารควบคุมการเจริญเติบโต (มันสำปะหลัง กล้วย) และเทคโนโลยีขยายชีวภัณฑ์ในถังชุมชนโมเดล วว.

2) สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตทางการเกษตร โดยมีเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และบริษัท รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต functional food และบรรจุภัณฑ์

3) มีผู้ประกอบการร่วมลงทุนด้าน R&D ภายใต้ BCG Model

4) เกิดต้นแบบผลิตภัณฑ์ functional food และเวชสำอาง จำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ และต้นแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 2 ต้นแบบ ส่งผลให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการดำเนินงานจำนวน 370 ล้านบาท

“ชมรมผู้ปลูกมะม่วงอำเภอเนินมะปราง” จังหวัดพิษณุโลก เกิดจากการรวมตัวของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง จำนวน 14 คน เมื่อปี 2532 ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเกือบ 200 ราย ทางชมรมฯ จะบริหารงานในรูปคณะกรรมการกลุ่ม มี “อาจารย์ศิลป์ชัย ตระกูลทิพย์” ทำหน้าที่เป็นประธานชมรมฯ พวกเขาติดต่อสื่อสารกันผ่านการประชุมกลุ่ม ที่จัดขึ้นทุกเสาร์ที่สองของเดือน รวมทั้งผ่านหัวหน้ากลุ่มย่อย ซึ่งได้จากการแบ่งกลุ่มสมาชิกออกตามพื้นที่เป็น 10 กลุ่ม สมาชิกทั้งหมดเป็นเกษตรกรชาวสวนมะม่วง ที่มีพื้นที่ทำกินเฉลี่ย 45 ไร่/ครัวเรือน

อาจารย์ศิลป์ชัย กล่าวว่า ทางชมรมฯ วางเป้าหมายพัฒนาองค์กรเป็น “ศูนย์เรียนรู้ชุมชนมะม่วง” เพื่อ ส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการเกษตรให้แก่สมาชิกและผู้สนใจ เพื่อผลิตสินค้าคุณภาพดีป้อนตลาดทั้งในประเทศและส่งออก ที่ผ่านมาทางชมรมฯ ได้ร่วมกับ อาจารย์ธวัชชัย รัตน์ชเลค และ อาจารย์รุ่งทิพย์ อุทุมพันธ์ แห่งศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำวิจัยเกี่ยวกับการทำสวนมะม่วงของสมาชิก ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จนได้ข้อสรุปที่เป็นวิธีปฎิบัติที่ดีที่สุด จำนวน 10 ขั้นตอน เรียกว่า “บันได 10 ขั้นสู่ความสำเร็จในการผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออก”

บันไดขั้นที่ 1 การพักฟื้นต้น
หลังเก็บเกี่ยว เกษตรกรจะให้ต้นมะม่วงได้พักเพื่อฟื้นฟูตนเอง 1 เดือน ประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม เป็นระยะการให้ปุ๋ยก่อนการตัดแต่งกิ่ง ทั้งนี้ ต้นมะม่วงจะผลิใบชุดที่หนึ่งตามธรรมชาติ จะเริ่มต้นให้ปุ๋ยเคมีทางใบ เพื่อเร่งใบชุดที่หนึ่งพร้อม “บ่มตา” เพื่อสร้างความสมบูรณ์ให้ตา เพื่อผลิใบชุดที่สองออกมาพร้อมกัน โดยใช้ (ต่อน้ำ 200 ลิตร) โพแทสเซียมไนเตรต อัตรา 1,000 กรัม ร่วมกับจิบเบอเรลลิน 2% อัตรา 30-50 มิลลิลิตร (ช่วยล้างพาโคลบิทราโซลที่ตกค้างบนปลายยอด) หลังจากนั้นจึงค่อยให้ปุ๋ยทางดิน ในช่วงที่ฝนยังไม่ตก กรณีปุ๋ยคอก (มูลวัวแห้ง) หรือปุ๋ยหมัก ใส่ตามร่องที่ขุดไว้เป็นวงรอบชายพุ่มแล้วกลบปิดใช้ 5-10 กิโลกรัม/ต้น

บันไดขั้นที่ 2 การล้างต้น
เพื่อกำจัดศัตรูพืชออกไปจากต้น เกษตรกรจะ “ล้างต้นด้วยสารเคมี” แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ หลังการพักต้น ก่อนและหลังการตัดแต่งกิ่ง ระยะที่สอง ก่อนการเปิดตาดอก (ดึงดอก) อาจารย์ศิลป์ชัย อธิบายความว่า ระยะแรกจะเริ่มตั้งแต่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม จะฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชประเภทมด ต่อ แตน ฯลฯ ที่เป็นอุปสรรคต่อการตัดแต่งกิ่งและจัดทรงต้น สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ ไซเพอร์เมทริน คลอร์ไพริฟอส อะบาเมคติน เมทโธมิล หรือคาร์บาริล สำหรับสารเคมี 3 ชนิดแรก เลือกใช้ในช่วงตัดแต่งกิ่งเท่านั้น ห้ามใช้ทุกกรณีหลังจากมะม่วงติดผลแล้ว การพ่นก่อนตัดแต่งกิ่งจะช่วยลดปัญหาศัตรูพืชที่สะสมอยู่ในกิ่งและใบที่ตัดแต่งลงมา

หลังตัดแต่งกิ่งเสร็จ เกษตรกรจะพ่นกำมะถันในอัตรา 500 กรัม/น้ำ 200 ลิตร เพื่อกำจัดเพลี้ยไฟ ไรแดง รวมทั้งเชื้อราบางชนิด สาเหตุที่ต้องแยกการพ่นสารเคมี 2 ครั้ง เพราะครั้งแรกทรงพุ่มมีกิ่งใบแน่นทึบ สารเคมีฉีดพ่นไม่ทั่วถึง และหากใช้กำมะถันร่วมกับยาฆ่าแมลงกลุ่มอื่นที่ระบุไว้ข้างต้น อาจเป็นพิษกับพืชได้

บันไดขั้นที่ 3 การตัดแต่งกิ่ง และการจัดทรงต้น
สำหรับต้นมะม่วงที่ให้ผลผลิตแล้ว ให้เลือกตัดแต่งกิ่งที่ไม่เหมาะสมออกไป เช่น กิ่งที่โคนต้น กิ่งทับซ้อน กิ่งมุมแคบ (ทำมุมกับลำต้นหรือกิ่งหลักน้อยกว่า 45 องศา) กิ่งในทรงพุ่ม กิ่งแห้ง กิ่งที่เป็นโรค กิ่งกระโดงที่ทำให้ทรงพุ่มสูงขึ้นไป รูปทรงเปิดยอด อาจารย์ศิลป์ชัย กล่าวว่า เน้นตัดแต่งกิ่งให้เป็นทรงพุ่มโปร่ง โดยตัดแต่งกิ่งออกไม่เกิน ร้อยละ 40 ระวังอย่าตัดแต่งกิ่งเกินร้อยละ 50 เพราะจะทำให้มีปัญหาหลังกิ่งแตก (เพราะถูกแสงแดดที่ส่องทะลุลงมาเผา) หากตัดแต่งกิ่งน้อยกว่าร้อยละ 40 จะส่งผลให้พุ่มต้นทึบเกินไป เกิดปัญหาการระบาดของศัตรูพืชได้ง่าย

การจัดทรงต้น ควรจัดทรงพุ่มเป็นรูปครึ่งวงกลมหรือสุ่มไก่คว่ำ ความสูงหลังจากการตัดแต่งกิ่งกำหนดไว้ไม่เกิน 2.50 เมตร การควบคุมความสูง จะเริ่มทำเมื่อต้นมะม่วงอายุ 4-5 ปี ควรตัดแต่งกิ่งให้เสร็จภายใน 7 วัน เพื่อไม่ให้กระทบต่อแผนการชักนำการออกดอก หากมีพื้นที่มาก ควรแบ่งสวนออกเป็นแปลงย่อยเพื่อให้แต่ละแปลงเสร็จงานตามเวลาที่กำหนด

การทำมะม่วงนอกฤดูแบบก่อนฤดูของอำเภอเนินมะปราง สำหรับมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ จะตัดแต่งกิ่งช่วงเดือนมิถุนายน ให้เสร็จช้าที่สุดไม่เกินปลายเดือนมิถุนายน ขณะที่พันธุ์อื่นๆ เช่น ฟ้าลั่น จะทำได้จนถึงเดือนกรกฎาคม เพราะตอบสนองต่อสารพาโคลบิวทราโซลง่ายกว่าพันธุ์น้ำดอกไม้ ส่วนพันธุ์ฟ้าลั่น พร้อมถูกดึงดอกได้ประมาณ 28-30 วันหลังราดสาร แต่พันธุ์น้ำดอกไม้ใช้เวลาตั้งแต่ 45-60 วัน หลังการราดสาร

บันไดขั้นที่ 4 การบำรุงรักษาต้นและใบ
หลังการตัดแต่งกิ่งเสร็จในเดือนมิถุนายน SBOBET SLOT นับตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ควรให้ต้นมะม่วงได้สะสมอาหาร สมบูรณ์ แข็งแรง และผลิใบใหม่ได้ 1 ชุด อย่างสม่ำเสมอกันทั้งต้น และทั้งแปลง (ถือเป็นชุดที่สอง เมื่อนับการผลิใบใหม่ตามธรรมชาติตั้งแต่ในระยะพักฟื้นต้นเป็นชุดแรก) และรอเวลาประมาณ 15-21 วัน ให้ใบชุดนี้เจริญสู่ระยะใบเพสลาด (เปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีเขียวอ่อนแล้ว) เตรียมพร้อมสำหรับการราดสารได้ มักทำในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ดังนั้น ช่วงเดือนมิถุนายนถึงกรกฎาคมจึงเร่งให้ปุ๋ย บำรุงต้น สะสมอาหาร ดึงใบอ่อน พร้อมรักษาใบให้สมบูรณ์ สอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ

การให้ปุ๋ยหลังตัดแต่งกิ่ง เน้นให้ปุ๋ยทางใบ ตั้งแต่ 7 วันหลังตัดแต่งกิ่งเสร็จ จนถึงก่อนการราดสาร เพื่อเร่งใบอ่อนให้ผลิพร้อมกัน (ดึงใบอ่อน) และเพิ่มความสมบูรณ์ให้ใบใหม่ยิ่งขึ้น อาจารย์ศิลป์ชัย บอกว่า การดึงใบโดยทั่วไป มี 2 กรณี กรณีแรก ตัดแต่งกิ่งออก 40% โดยไม่ตัดปลายยอดออก พ่นดึงใบก่อนการตัดแต่งกิ่ง กรณีที่สอง ตัดแต่งปลายยอดบริเวณใต้ข้อที่ 1 ออก (วิธีนี้ดีกว่าวิธีแรก เพราะช่วยตัดยอดซึ่งมีสาร พาโคลบิวทราโซลสะสมอยู่ออกไป ลดปัญหาการสะสมที่ปลายยอด จุดอ่อนคือ หาแรงงานยาก) พ่นดึงใบหลังตัดแต่งกิ่ง ภายใน 7 วัน และใช้ไทโอยูเรีย 500 กรัม ร่วมกับโพแทสเซียมไนเตรต (13-0-46) จำนวน 2,500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

การบำรุงใบ เมื่อต้นมะม่วงผลิใบอ่อน (พ่นหลังตัดแต่งกิ่ง 7 วัน ซึ่งเป็นระยะตาใบเริ่มโผล่) ให้ใช้ปุ๋ยทางใบ สูตรที่มีไนโตรเจนสูง เช่น ปุ๋ยเกร็ด 30-20-10 อัตรา 500 กรัม หรือ น้ำตาลทางด่วน อัตรา 200 มิลลิลิตร หรือ ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ 20-20-20 อัตรา 500 กรัม หรือ 21-21-21 อัตรา 500 กรัม ผสมกับสารฆ่าเชื้อรา เช่น คาร์เบนดาซิม 50% WP อัตรา 200 กรัม ตามด้วยสารฆ่าแมลง เช่น คาราริล 85% WP อัตรา 500 กรัม หรือ อิมิดาคลอพิด 70% WG อัตรา 30 กรัม หรือ เมทโทมิล 40% SP อัตรา 200 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร

เมื่อตาเริ่มผลิใบออกมาให้หมั่นตรวจสอบ ถ้ามีแมลงศัตรูพืชมากัดยอดให้ฉีดพ่นใหม่ รวมพ่นได้ 3-4 ครั้ง ห่างกัน 5-7 วัน ต้นก็จะเข้าสู่ระยะใบเพสลาดสำหรับการราดสาร กรณีต้องการทำใบ 2 ชุดหลังตัดแต่งกิ่ง เมื่อใบชุดแรกแก่ ให้ดึงใบใหม่อีกรอบ (หนึ่งรอบชุดใบจะใช้เวลาประมาณ 28 วัน) หลังจากมีการผลิใบ ให้ดูแลรักษาเหมือนชุดแรก จนกระทั่งถึงใบเพสลาดจึงพร้อมราดสารอีกครั้ง หากใบอ่อนผลิออกมาสม่ำเสมอพร้อมกันทั้งต้นและใบมีความสมบูรณ์จะเลือกใช้ใบเพียงชุดเดียวแล้วราดสารเลย หลังราดสารครบเวลาตามเป้าหมาย เมื่อดึงดอกแล้วออกเป็นใบด้วยเหตุผลใดก็ตาม ให้บำรุงรักษาใบใหม่ต่อเนื่องจนสะสมอาหารไว้อย่างเต็มที่จึงค่อยดึงดอกใหม่อีกครั้งโดยไม่ต้องราดสารอีก