สาเหตุที่เลือกปลูกมะนาวพันธุ์แป้นพวงนั้นเพราะให้ลูกดอก

และลูกใหญ่ ให้น้ำหอม เป็นที่ต้องการของตลาด เทคนิคการเลือกต้นพันธุ์มาปลูกส่วนสำคัญที่คุณบอยบอกว่าจะต้องใส่ใจมากที่สุดคือ ลักษณะการให้ลูกของมะนาว ว่าจะดอกหรือไม่

“เราจะซื้อต้นพันธุ์มะนาวมาจากที่ไหนสิ่งสำคัญผมมองว่า ต้องไปดูครับ ไปดูถึงสวนเขาเลยว่า มะนาวให้ลูกดกหรือไม่ พอได้เห็นเก็บข้อมูลทุกอย่างแล้วให้เอากลับมาประมวลดูว่าจะตัดสินใจซื้อหรือไม่ ซึ่งถ้าดีตามที่เราต้องการก็ตัดสินใจได้เลย”

อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่เป็นนิยมกันของเกษตรกรชาวสวนมะนาว โดยผ่านมุมมองของบอยคือ เมื่อมีต้นพันธุ์มะนาวมาปลูกไว้ในสวนแล้วหากต้องการปลูกมะนาวให้มากขึ้น จะไม่ใช้วิธีการไปซื้อมาเพิ่มเติม แต่จะใช้วิธีการคัดต้นมะนาวจากปลูกอยู่ในสวน ดูว่าต้นไม้เจริญเติบโตดี ให้ผลดก น้ำมาก จะคัดต้นนั้นเก็บไว้ทำแม่พันธุ์ และขยายพันธุ์มาปลูกเพิ่มเติมตามจำนวนที่ต้องการ

“ในส่วนของกิ่งพันธุ์มะนาวที่เราทำจำหน่ายก็เช่นกัน เราจะคัดต้นพันธุ์ที่สมบูรณ์ที่สุด เมื่อคัดแล้วก็จะดูผลผลิตว่าติดลูกดกดีหรือไม่ ถ้าเป็นไปตามที่เรากำหนดไว้ จึงจะดำเนินการขยายพันธุ์อกมาจำหน่าย ส่วนมากจะดูประมาณ 2 ปีหลังจากเริ่มติดผล ที่ต้องใช้เวลานานสาเหตุเพราะต้องดูให้แน่ใจเพราะบางที่ต้นที่เราคัดมากก็พบว่ามีกลาย ให้ผลไม่ดกก็มี” คุณบอย กล่าว

สำหรับกิ่งพันธุ์ที่ทำบอยจำหน่ายนั้นจะเน้นการตอนกิ่งเป็นหลัก

“ในเขตบ้านแพ้วจะนิยมปลูกด้วยกิ่งตอน ซึ่งจะให้ผลผลิตเร็วกว่า หากกิ่งพันธุ์เลี้ยงสมบูรณ์ดี ประมาณ 18 เดือน ก็สามารถเริ่มมีผลผลิตให้เก็บแล้ว” ถนัดดูแลมะนาวที่ปลูกแบบยกร่อง
สำหรับรูปแบบการปลูกมะนาวของเกษตรกรในเขตอำเภอบ้านแพ้ว คุณบอยบอกว่า จะนิยมปลูกกันแบบยกร่อง มากกว่าการปลูกแบบไร่เหมือนกันในจังหวัดอื่นๆ ด้วยลักษณะเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ราบริมฝั่งคลองดำเนินสะดวกที่เชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำท่าจีนกับแม่น้ำแม่กลอง

“การปลูกในลักษณะยกร่อง ตามความรู้สึกผม นอกจากเป็นความค้นเคยที่คนบ้านแพ้วจะทำการเกษตรแบบยกร่องทั้งการปลูกผัก ไม้ผล นอกจากนี้ ผมยังคิดว่าช่วยทำให้การทำงานของเราง่าย โดยเฉพาะในการขนย้ายมะนาวออกมาจากสวนเพื่อส่งจำหน่ายหรือการนำปัจจัยการผลิตต่างๆ เช่น ปุ๋ยไปใส่ให้กับต้นมะนาว”

ทั้งนี้ระยะปลูก จะใช้ระยะปลูกระหว่างต้นตั้งแต่ 8ศอกขึ้นไป แต่บางคนก็จะปลูกระหว่างกว่านี้ เพื่อเพิ่มระยะเวลาในการชนกันของกิ่งต้นมะนาวที่ปลูก

“อย่างของผมระยะ 8 ศอก ประมาณ ปีที่ 5 กิ่งก็เริ่มชนกันแล้ว แต่บางคนก็ปลูก 10 ศอก ซึ่งระยะการชนกันของกิ่งก็จะนานขึ้น ถ้ากิ่งมาชนกัน จะมีปัญหาว่าไม่ค่อยออกดอกติดผล เพรากิ่งมันทึบ ดังนั้นจึงต้องมีการตัดแต่งกิ่ง”

คุณบอย กล่าวต่อว่า สำหรับต้นมะนาว ถ้ามีการดูแลรักษาดีๆ ก็จะมีระยะเวลาการให้ผลผลิตได้นานถึง 8 ปี

“พอต้นแก่แล้วจะเหมือนเป็นกับเชื้อราเข้าทำลาย จะมีทยอยตายไปเรื่อยๆ ดังนั้นเมื่อถึงระยะเวลาที่เห็นว่าต้นมะนาวแก่แล้วจะมีการปลูกใหม่”

สำหรับการปลูกมะนาวในช่วงแรก สิ่งที่บอยกล่าวเสริมว่าเป็นเรื่องสำคัญ คือ การดูแลป้องกันเรื่องแมลงมากัดกินยอดอ่อน รวมถึงกากรป้องกันเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคแคงเกอร์ การป้องกันจะให้ยากันรา โดยจะฉีดพ่นทุก 7 – 8 วัน

นอกจากนี้จะต้องมีการให้ปุ๋ยเคมี โดยจะให้สูตร 16-16-16 หรือสูตรที่ตัวหน้าสูง ตามปกติจะให้ปุ๋ยเคมีเดือนละ 1 ครั้ง รวมถึงการให้ปุ๋ยคอก โดยเน้นการใช้ขี้ไก่อัดเม็ด โดยใส่ประมาณ 3 – 4 เที่ยว ให้ต้นหนึ่งประมาณ 1 กิโลกรัม

การสังเกตว่ามะนาวที่ปลูกอยู่ในภาวะขาดปุ๋ยหรือไม่ คุณบอยมีข้อแนะนำว่า ให้สังเกตสีของใบ ต้นมะนาวที่ขาดปุ๋ยนั้นจะเริ่มแสดงอาการตั้งแต่ส่วนยอดก่อน โดยมีใบสีเหลืองปรากฏให้เห็นไล้ลงมา หากเห็นว่าส่วนยอดใบเริ่มเหลืองก็จะต้องใส่ปุ๋ยเคมีให้กับมะนาว

“ส่วนมากต้องอาศัยการเรียนรู้จากประสบการณ์ ทำไปศึกษาไป รวมถึงการแลกลเปลี่ยนพูดคุยกับเพื่อนฝูงที่ทำมะนาวเหมือนกัน แล้วนำมาปรับใช้ในสวนของเรา หากให้ผมมอง ผมก็มองว่าเรื่องการป้องกันโรคแมลงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด”

ขณะที่การเก็บผลผลิตมะนาว คุณบอยบอกว่า วงจรของมะนาวจะเก็บผลเดือนละ 1 ครั้ง

“หลังจากเก็บมะนาวเสร็จ ก็จะเริ่มใส่ปุ๋ยเคมีให้กับต้นมะนาว วงจรการดูแลเรื่องปุ๋ยจะเป็นแบบนี้คือ เก็บผลผลิตเสร็จก็ใส่ปุ๋ย” คุณบอย กล่าว

ปลูกแบบร่องก็ทำนอกฤดู
ตามปกติโดยธรรมชาติ มะนาวจะออกผลมาในช่วงเดือนสิงหาคม – ตุลาคม ซึ่งคุณบอยบอกว่า เป็นหน้ามะนาวปี ส่วนช่วงมะนาวขาดแคลนและมีราคาแพงจะอยู่ประมาณเดือนมีนาคม – พฤกษาคม ซึ่งเป็นช่วงที่เกษตรกรจะทำมะนาวให้ออกนอกฤดูตรงกับช่วงที่มะนาวแพง

สำหรับการทำมะนาวนอกฤดูของเกษตรกรในเขตบ้านแพ้ว คุณบอยกล่าวว่า จะเริ่มทำกันตั้งแต่หมดฤดูฝน เริ่มด้วยการตากน้ำ ซึ่งหมายถึงการปล่อยน้ำออกจากร่องมากที่สุด เพื่อทำให้ผิวหน้าดินบริเวณร่องแห้ง

“การตากน้ำ บางก็ใช้วิธีการปล่อยน้ำแห้งเลย แต่บางคนก็ใช้วิธีการยุบน้ำในสวนหน่อยแล้วไม่ต้องรดน้ำให้กับต้นมะนาว โดยการตากน้ำจะใช้เวลาประมาณ 10 กว่าวัน แต่การจะตากน้ำหรือไม่ รวมถึงจะตากน้ำกี่วันนั้น ยังต้องมาดูอีกว่า ต้นมะนาวของเราเป็นอย่างไร อย่างของผมถ้าปีไหนมีลูกมะนาวติดอยู่เยอะจะไม่ตากน้ำ ถ้าเราตากไปลูกที่มีอยู่ก็จะเสียไป ถ้ามีเยอะจะปล่อยตามธรรมชาติ ซึ่งมะนาวนั้นจะมีการทยอยติดลูกทั้งปี เพียงแต่ว่ามีมากมีน้อยแล้วแต่ช่วงจังหวะที่มีดอก”

“โดยมากจะทำกันตั้งแต่พฤศจิกายน แต่ถ้ามีความสามารถ สามารถตากน้ำได้ก่อนและทำให้มะนาวออกดอกได้ในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม จะสามารถไปเก็บผลผลิตได้ในช่วงแพงพอดี แต่ถ้าฝนชุกทำไม่ได้ จะเน้นการใส่ปุ๋ยสะสมทางดิน โดยเน้นให้สูตรปุ๋ยตัวหน้าสูง เช่น ยูเรีย และหากช่วงจังหวะต้นเบาๆ หรือติดลูกน้อย มะนาวก็จะออกดอก ถ้าเราทำออกมาได้ จะสามารถไปเก็บได้ในช่วงราคาแพง”

“หลังจากใส่ปุ๋ยตากน้ำไว้ประมาณ 1 อาทิตย์ ก็จะเห็นแล้วว่า มะนาวจะแตกออกมาเป็นยอดหรือตาดอก วิธีการสังเกต ถ้าเป็นดอกจะเป็นตุ่มกลมอกมา ถ้าเป็นยอดเป็นใบจะมีลักษณะแหลมออกมา”

ทั้งนี้ มะนาวที่เก็บมาจากต้นนั้น ด้วยวิธีการใช้ตระกร้อสอย เมื่อถูกลำเลียงมาสู่โรงคัด จะมีการนำมาเข้าเครื่องคัดขนาดมะนาว เพียงคัดขนาด ซึ่งมีด้วยกัน 5 ขนาดคือ หนึ่ง ลอย สอง จัมโบ้ สาม ใหญ่ สี่ พิเศษ และห้า เบอร์คัดออก ซึ่งเป็นมะนาวที่สุกเหลืองและเป็นโรคแคงเกอร์ ซึ่งมะนาวแบบนี้แม่ค้าร้านส้มตำจะนำไปใช้

“มะนาวจากสวนจะมีพ่อค้าจากปากคลองตลาดมารับ ซึ่งในเขตนี้ส่วนมากจะมีพ่อค้าเจ้าประจำกัน หรือถ้ามีคนปลูกใหม่ ก็จะมีพ่อค้ามาติดต่อซื้อมะนาวจากสวน” คุณบอย กล่าว

ทั้งนี้คุณบอยบอกว่า ตลาดที่ร้องรับมะนาวนั้นไม่มีปัญหา แต่ที่มีปัญหาคือ ราคาที่ชาวสวนได้รับนั้น ถ้าเป็นช่วงมะนาวมาก บางปีอาจจะต่ำถึงกับไม่ได้กำไรเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายทั้งสวนหมดแล้วต่อการเก็บมะนาว 1 ครั้ง

“ช่วงแพงไม่มีปัญหาพออยู่ได้ แต่ถ้าช่วงราคาถูกเหลือเพียงลูกละ 30 สตางค์ ราคาแบบนี้อยู่ลำบากครับ เพราะหักค่าใช้จ่ายแล้วไม่เหลือเลย” คุณบอย กล่าวในที่สุด ที่สวนแม่หม่อน ใช้วิธีการปลูกแบบแบ่งโซน มีการจัดกิ่งให้โน้มเข้าหากันคล้ายอุโมงค์ เพื่อง่ายต่อการดูแลเก็บเกี่ยวผลผลิต และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชม เก็บผลสดถ่ายรูปได้ตลอดทั้งปี วิธีการไม่ยาก แบ่งพื้นที่เป็น 4 โซน ถ้าปลูกที่บ้าน ให้ปลูกแค่ 4 ต้น สมมุติว่า ที่สวนมี 400 ต้น ให้แบ่งปลูกเป็นโซน โซนละ 100 ต้น

100 ต้นแรก ให้ตัดแต่งกิ่งและยอด เอาใบออก แล้วจับกางออกให้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง แล้วนับตั้งแต่วันตัดแต่งกิ่ง 50 วัน จะเริ่มเก็บลูกได้ ระยะเวลาในการเก็บลูก 20 วัน ถึง 1 เดือน ลูกจะหมด เพราะฉะนั้น 100 ต้นแรก แต่ง วันที่ 1 ของเดือนมกราคม เว้นไว้ 1 เดือน วันที่ 1 ของเดือนกุมภาพันธ์ มาแต่งอีกโซน ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ 4 โซน พอครบก็จะกลับมาโซนที่ 1 ใหม่ 1 ต้น 1 ปี จะตัดได้ 3 ครั้ง ด้วยวิธีนี้มัลเบอร์รี่ที่นี่จึงไม่ขาดลูกเลยตลอดทั้งปี

ระยะห่างระหว่างแถว 4×4 เมตร
ต้นโตดี ให้ผลผลิตดก
“จากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้สอนให้เจ้าของรู้ เริ่มต้นเคยปลูกห่างกันแค่ 2 เมตร ผ่านมา 1 ปี ต้นโตชนกัน พอชนเรามาคิดละว่า ทำไงดี จึงใช้วิธีขุดล้อมยกทั้งเบ้าไปปลูกที่อื่น หลังจากนั้น จึงค้นพบว่า ระยะห่างที่เหมาะสมคือ 4×4 เมตร เพื่อให้กิ่งแผ่รับแสงแดดได้เต็มที่ นอกจากนี้ ยังช่วยให้ทำงานสะดวก เก็บผลง่ายเวลาเดินเก็บไม่ต้องก้มให้ปวดหลัง” ครูไก่ บอก

ระบบน้ำ เนื่องจากอำเภอวังน้ำเขียว เป็นอำเภอที่มีหมอกหนา น้ำค้างเยอะ ที่สวนจึงใช้สปริงเกลอร์สูง รดจากด้านบนลงมา ตั้งแต่ตี 5 ข้อดีคือ ชุ่มชื้น ล้างใบป้องกันโรคได้ดี แต่ข้อเสียของสปริงเกลอร์คือ เปลืองน้ำ หญ้าขึ้นเยอะ

ตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ย
เจ้าของบอกว่า ให้นับตั้งแต่วันที่เก็บลูกรุ่นแรกหมด พักไว้แล้วใส่ปุ๋ยคอก รดน้ำ พักทิ้งไว้ให้ต้นเก็บอาหารอย่างน้อย 2 เดือน แล้วตัดใหม่ ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก ตามสูตรของวิศวกรรมแม่โจ้ ลงสม่ำเสมอ เยอะไม่เป็นไร จะเป็นมูลอะไรก็ได้ ที่นี่จะใช้มูลวัว เพราะโดยแวดล้อมเกษตรกรเลี้ยงวัวเยอะ ถ้าที่อื่นมีฟาร์มหมูหรือฟาร์มไก่ ก็ใช้ได้เช่นกัน

ศัตรูพืชน้อย
ป้องกันและกำจัดโรคแมลงไม่ยาก
ที่สวนแม่หม่อน จะไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดแมลง เพียงแค่ปรับวิธีคิดใหม่ ขยันมากขึ้น ถึงเวลาตัดแต่งกิ่ง เมื่อทำเสร็จจะเก็บไปทำปุ๋ยทันที จะไม่กองทิ้งไว้ในแปลง เพราะหัวใจหลักของการป้องกันโรคแมลงคือ ความสะอาด คือ

เมื่อตัดกิ่งและใบ อย่าทิ้งไว้ ให้นำไปทิ้งหรือทำปุ๋ย เพราะการที่กองกิ่งและใบไว้ถือว่าเป็นการสะสมโรคแมลง
ตัดหญ้าให้เตียน เพื่อไม่ให้แมลงหวี่ขาวมารุม
ใช้สารชีวภัณฑ์ไตรโคเดอร์มาที่ป้องกันเชื้อรา

ปุ๋ยหมักคุณภาพ
สูตรวิศวกรรมแม่โจ้ ประหยัดต้นทุนได้เยอะ
ปุ๋ยหมักที่นี่ทำไม่ยาก ใช้สูตรวิศวกรรมแม่โจ้ ค้นหาตามอินเตอร์เน็ตได้เลย ทำง่าย นำใบและกิ่งที่ตัดทิ้งมาเข้าเครื่องย่อย ให้ได้ 1 กอง ตั้งกองสามเหลี่ยมขึ้นสลับกับมูลวัวเป็นชั้น ที่ตั้งเป็นสามเหลี่ยมเพราะน้ำจะไม่เข้าไปข้างใน สามารถทำกลางแจ้งได้ ไม่ต้องกลับกอง 10 วันแรก รดน้ำทุกวัน หลังจากนั้น เอาไม้แหลมเจาะรูทั่วกอง ห่างกันประมาณ 40 เซนติเมตร เจาะแล้วเอาน้ำกรอกเข้าไป กรอกเสร็จให้ปิดรู เพื่อให้มีความชื้นอยู่ข้างใน 3 เดือน ใช้ได้ ถือว่าเป็นการประหยัดต้นทุน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ผลผลิตดก 75 กิโลกรัม ต่อต้น
ผลผลิตออกตลอดทั้งปี 1 ต้น ใน 1 รุ่น ให้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 25 กิโลกรัม ต่อต้น 1 ปี สามารถเก็บผลผลิตได้ 3 ครั้ง ใน 3 รุ่น ได้ผลผลิต 75 กิโลกรัม ต่อต้นพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 100 ต้น

ผลหม่อนส่วนใหญ่แล้วลูกดำจะหวาน แต่บางคนก็ชอบแดง จะมีรสเปรี้ยวเล็กน้อย ทางสวนเปิดให้เดินเก็บเอง ส่วนที่ชิมไม่คิดเงิน แต่จะมีตะกร้าให้เดินเก็บ ตะกร้าละ 50 บาท ถ้าเบื่อแล้วเก็บไม่เต็ม เจ้าของจะเติมให้เต็ม ขจร ปลูกง่าย ต้นทุนต่ำ ปลูกครั้งเดียวเก็บได้นาน 5 ปี
ขจร ถือเป็นพืชทนแล้ง ชอบแสงแดดร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ชอบที่แฉะน้ำท่วมขัง ชอบดินร่วน ระบายน้ำได้ดี ปลูกได้ทุกฤดู แต่จะแนะนำให้ปลูกช่วงปลายฝนต้นหนาว หลังจากปลูก 3 ถึง 4 เดือน เริ่มให้ดอก ดอกจะออกให้เก็บช่วงหน้าร้อนถึงหน้าฝน ก็คือถ้าเราปลูกช่วงปลายฝนต้นหนาว ระยะที่เราจะได้เก็บ จะประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ยาวไปถึงเดือนตุลาคม

การเตรียมดิน…เหมือนกับปลูกพืชทั่วไป ไถตากดินทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แล้วไถอีกครั้งจากนั้นขุดหลุมปลูกได้เลย หลุมขุดลึกแค่พอกลบกิ่งชำ 1 ไร่ ปลูกได้ 400 ต้น ระยะห่างระหว่างต้น 1.50 เมตร

วิธีปลูก… ขจร เป็นพืชไม้เลื้อย ก่อนปลูกต้องทำค้างก่อน ค้างที่ทำแล้วได้ผลดีเรียกว่าค้างโต๊ะ ลักษณะเป็นรูปตัวยูคว่ำ มีไม้ด้านข้างยาวไปตลอดแนว และใช้ตาข่ายคลุมด้านบน ช่วยลดลมปะทะ ถ้าเป็นค้างแบบแนวตั้งเมื่อลมมาจะต้านลมเยอะ อาจทำให้ต้นล้มได้

ระบบน้ำ…เป็นระบบสปริงเกลอร์ ใน 2 สัปดาห์แรกเปิดน้ำรดทุกวัน ช่วยให้โตเร็ว รากเดินดี หลังจากนั้นสังเกตว่าใบเริ่มแตก ให้ลดน้ำลงเหลือ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ตามสภาพอากาศ

โรคแมลง…ส่วนใหญ่ที่เจอคือ เพลี้ยไฟ ขจรเป็นพืชที่ต้องดูแลทุกวัน ถ้าเดินเจอให้ตัดเอาไปทิ้ง เพื่อป้องกันการระบาด ผลผลิตดก 2 ไร่
สร้างรายได้เฉียดแสนต่อเดือน
ดอกขจรเป็นพืชใช้เงินลงทุนน้อย ปลูกครั้งเดียวสามารถเก็บผลผลิตได้นาน 5 ปี ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลด้วย ในการปลูกจะมีค่าใช้จ่ายหลักๆ คือ ค่าต้นพันธุ์ ส่วนค่าทำค้างขึ้นอยู่กับวัสดุ ถ้าเกษตรกรท่านใดมีไม้เป็นอุปกรณ์เดิมอยู่แล้วก็ไม่ต้องซื้อหา จะช่วยลดต้นทุนไปได้เยอะ จะเสียเฉพาะค่าตาข่าย

ส่วนในเรื่องของผลผลิต ปลูก 2 ไร่ ถือว่าสร้างรายได้ดีเลี้ยงครอบครัวได้สบาย รายได้แซงงานประจำไปแล้ว

“ตอนปลูกที่นี่จะเริ่มปลูกช่วงปลายฝนต้นหนาว ดอกขจรปลูกครั้งหนึ่งเก็บผลผลิตได้นาน 3-5 ปี เก็บดอกได้ตลอดยกเว้นช่วงหน้าหนาว” ช่วงหน้าหนาวของทุกปี คือฤดูกาลตัดแต่งทำสาวต้นขจร เพื่อให้ดอกจะได้ช่อใหญ่และดก

เริ่มให้ดอกเดือนที่ 3-4 แต่ในช่วงแรกดอกจะยังไม่ติดหมด อาจจะมีร่วงบ้าง จะเริ่มเก็บดอกได้จริงจังช่วงเดือนที่ 5 เก็บไปตลอด ให้ผลผลิตนาน 7-8 เดือน หยุดให้ดอกช่วงหน้าหนาว

ช่วงพีคๆ เก็บดอกได้รอบละกว่า 80-90 กิโลกรัม

“เก็บแบบวันเว้นสองวันเพราะจะได้มีเวลาไปทำงานอย่างอื่นด้วย งานอย่างอื่นคืองานตัดแต่งกิ่ง ดูแลสวนเช็คความเรียบร้อยต่างๆ ภายในสวน ผลผลิตที่นี่ถือว่าดก แต่ในความดก เกี่ยวกับช่วงอายุของต้นด้วย สมมติว่าของผมที่ผ่านมา ต้นยังสดใหม่ ช่วงปีแรกอาจจะยังไม่เยอะมาก จะไปเยอะปีที่สองและสาม พอปีสี่ปีห้าดอกจะเริ่มลดลง” เจ้าของบอก

การตลาดไปได้สวย
ราคาดีมาตลอด 5 ปี
ปลูกดอกขจรขายมานานกว่า 5 ปี ราคาดีมาโดยตลอด ราคาขายส่งมีพ่อค้ามารับซื้อถึงสวน กิโลกรัมละ 50-100 บาท หากมีเวลาแบ่งไปขายที่ตลาดจะได้ราคาดี เพราะเราสามารถแบ่งขายได้ขีดละ 20 บาท 1 กิโลกรัม ก็ได้เงิน 200 บาท และนอกจากการขายดอก เจ้าของยังทำกิ่งพันธุ์ขายด้วย

ตอนนี้ขายอยู่ 3 แบบ

1. กิ่งสดแช่น้ำยาเร่งราก ราคากิ่งละ 10 บาท

2. ตุ้มตอนเหมือนกิ่งตอนทั่วไป เอาขุยมะพร้าวไปห่อ อันนี้ตุ้มละ 8 บาท

3. แบบชำพร้อมปลูก ถ้าเป็นชำพร้อมปลูกถ้าส่งต่างจังหวัดไกลๆ จะส่งแบบล้างรากเอาดินออก คิดราคาต้นละ 10 บาท แต่ถ้าหากมารับที่สวนต้นสมบูรณ์พร้อมปลูกราคาต้นละ 25 บาท ตลาดของดอกขจร ส่วนใหญ่จะเป็นแถบภาคอีสาน ด้วยดอกขจรทำอาหารได้หลายประเภท ต้ม ทอด แกง ผัด ทำได้หมด ตลาดไปได้อีกไกล เพราะคนทำดอกขจรแบบจริงจังยังมีน้อย แล้วดอกขจรจะมีเสน่ห์เฉพาะตัว บริโภคได้ทุกกลุ่ม รสชาติจะออกหวานนิดๆ กินง่าย ประกอบอาหารได้หลายอย่าง เจ้าของบอก

คนเราแก่ตัวไปเมื่อถึงช่วงวัยหนึ่ง ก็ต้องรู้จักพอ เหมือนเช่น คุณสมัย พลสันศรี ในวัย 58 ปี อดีตเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เมื่อแข้งขาอ่อนล้าก็ต้องวางมือ แล้วหันหน้าเข้าสู่วิถีทำเกษตรผสมผสาน ท่ามกลางบรรยากาศที่เรียบง่าย บนพื้นที่ 10 ไร่ ใกล้ๆ ด่านเก็บเงินทางขึ้นเขาใหญ่ นครนายก

กว่า 10 ปี บนพื้นที่ 10 ไร่ ที่ คุณสมัย พลสันศรี เข้าสู่วิถีเกษตร ทำสวนมะม่วง ส้มโอ มะยงชิด อีกทั้งพืชผักที่ปลูกไว้กินไว้ขาย และก็มาเน้น จริงๆ จังๆ แบ่งพื้นที่ 2 ไร่ ทำสวนไผ่ปักกิ่ง โดยนำกิ่งพันธุ์มาจากชลบุรี ในราคากิ่งชำละ 200 บาท ลงปลูกครั้งเดียว 200 กิ่ง ปลูกเว้นระยะห่าง 3 เมตรกว่าๆ พอประมาณ เพื่อการจัดการให้เหมาะสมกับพื้นที่

ผ่านไป 5 ปี ทั้งกิ่ง ทั้งหน่อ แตกกอมากมาย กอขยายใหญ่เก็บกินเก็บขายไม่ทัน เพราะคุณสมัยทำสวนอยู่กันเพียงสองสามีภรรยา ในขณะที่ความอุดมสมบูรณ์บนพื้นที่เขาใหญ่ ได้ช่วยเกื้อกูลให้ไผ่พันธุ์ปักกิ่งเจริญเติบโตทั้งหน่อทั้งลำใหญ่มโหฬารจริงๆ

ถึงวันที่ได้ขายหน่อ ช่วงปลายเดือนพฤษภาคมเป็นฤดูกาลที่ลูกค้า ทั้งขาประจำและขาจรวนเวียนมารับซื้อไม่ขาดสายที่หน้าสวน โดยขายกิโลกรัมละ 20 บาท แต่ละหน่อขอบอกว่า น้ำหนัก 5-6 กิโลกรัม เลยทีเดียว

คุณสมัย บอกว่า หน่อไผ่พันธุ์ปักกิ่ง มีรสชาติหวาน กรอบ อร่อยกว่าพันธุ์ไหนๆ เนื้อจะกรอบอมหวานนิดๆ ไม่ติดขม เสี้ยนก็ไม่มี และที่สำคัญหน่อจะใหญ่ได้น้ำหนักมาก เพราะความเกื้อกูลบนผืนดินที่อุดมสมบูรณ์ของแนวเขาใหญ่

เหตุที่คุณสมัยเลือกไผ่สายพันธุ์ปักกิ่งมาปลูก สมัครยูฟ่าเบท เพราะตลาดยังไม่กว้าง ขายได้กำไรดีกว่าหน่อไผ่สายพันธุ์ไหนๆ และที่สำคัญยังไม่มีการปลูกกันอย่างแพร่หลาย เกษตรกรก็ยังกล้าเสี่ยง เพราะเนื่องจากต้นทุนที่สูง เพียงแค่กิ่งพันธุ์ที่คุณสมัยซื้อมาก็ 200 บาท ต่อกิ่ง สิ่งที่สำคัญไผ่พันธุ์ปักกิ่งนั้นปลูกยากกว่าไผ่สายพันธุ์อื่นๆ จึงเป็นความท้าทาย ที่เลือกปลูกไผ่สายพันธุ์นี้ อีกทั้งราคาขายหน่อก็ดีกว่า และเมื่อได้ประเมินความเสี่ยงเทียบกับเกษตรกรรายอื่นๆ จึงเป็นความท้าทายที่เลือกปลูกไผ่พันธุ์ปักกิ่งสายพันธุ์นี้

คุณสมัย เล่าต่ออีกว่า เมื่อหมดฤดูขายหน่อ คุณสมัยก็จะวนมารื้อกอไผ่ ไม่ให้มากไปกว่า 5 ลำ ในแต่ละกอ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำ เขาเรียกว่าการแต่งกอในทุกๆ ปี เพื่อการออกหน่อสร้างลำไผ่รุ่นใหม่ขึ้นมาทดแทน

วิธีการรื้อกอตัดเหง้าไผ่ของคุณสมัยใช้เลื่อยยนต์ตัดตรงโคนเหง้า ปาดซ้าย ปาดขวา ตัดให้ถึงโคนดิน แล้วโยกเหง้าต้นไผ่ให้หักออกจากกอแท้ จากนั้นก็นำมาตัดแต่งรากฝอยอย่าให้ไปโดนตา แล้วนำไปแช่ในถังน้ำยาเร่งราก ทิ้งไว้อย่างน้อย 3 ชั่วโมง หรือแช่ค้างคืนทิ้งไว้ จนรุ่งสางก็เอาขึ้นมาใส่ถุงเพาะชำขายเหง้าต้นไผ่ได้อีก ในราคาเหง้าไผ่พันธุ์ปักกิ่ง เริ่มต้นที่ราคา 100-300 บาท ขึ้นอยู่กับความเล็กใหญ่

คุณสมัย ตอกย้ำว่า ความได้เปรียบปลูกจากเหง้าไผ่ต้นตอแท้ จะทำให้ไผ่ปักกิ่งติดง่าย 1 ปี ก็ได้กินหน่อ แต่ข้อควรระวังที่เขาเตือนไว้ เพราะไผ่ปักกิ่งใจเสาะ ตายง่าย ต้องดูแลเป็นอย่างดี ในช่วงเริ่มต้นปลูก ปีแรกๆ น้ำต้องสม่ำเสมออย่าให้ขาด เมื่อผ่านปีแรกไป เข้าสู่ปีที่สองก็รอดตาย ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำอีก สิ่งสำคัญคือ ปุ๋ย ก็ต้องบำรุง อย่าง ปุ๋ยขี้ไก่ กับ ปุ๋ยยูเรีย ที่คุณสมัยใช้อยู่เป็นประจำจะช่วยเร่งแทงหน่อออกมาได้เร็วขึ้น

ส่วนการปลูกจากกิ่งชำไผ่พันธุ์ปักกิ่งที่ว่านี้ คุณสมัย ไม่รับประกันความแน่นอน เมื่อนำปลูกลงดินใหม่ๆ ถ้าไม่เตรียมระบบน้ำไว้รองรับ อัตราความเสี่ยงก็มีสูง โอกาสเจริญเติบโตสร้างกอติดหน่อก็เป็นไปได้ยาก และทำเงินได้ช้า แต่ถ้ามีระบบน้ำที่ดีพร้อมไว้รองรับแล้ว เปรียบเทียบจากสถิติ การปลูกด้วยต้นเหง้า จะใช้ระยะเวลา 1 ปี ก็ได้กินหน่อ ส่วนการปลูกจากกิ่งชำก็ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี เลยทีเดียว

วิธีเลือกตัดเหง้าไผ่ออกจากกอ ก่อนนำมาลงถุงชำ คุณสมัยจะใช้เหง้าไผ่ที่อายุ 1 ปี ไม่ควรเกิน 2 ปี เพราะลำแก่เกินไปการแตกตาจะไม่ดีเท่าที่ควร และเลือกตัดเฉพาะตรงส่วนกลางกอไผ่เพื่อให้ลำไผ่ด้านข้างขยายกอแตกหน่อออกมาได้ง่าย