สำหรับการนำไคโตซานไปใช้ประโยชน์ นำไคโตซาน 10 กรัม

ในน้ำส้มสายชู 1 ลิตร จะได้สารละลายไคโตซาน เมื่อต้องการนำไปใช้กับพืชหรือข้าวให้นำสารละลายไคโตซานที่ได้ จำนวน 20 ซีซี หรือ 1 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 20 ลิตร หรือ ไคโตซาน 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 ส่วน แล้วฉีดพ่นใต้ใบพืช หรือราดบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันโรค ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เป็นตัวกระตุ้นเซลล์ของพืชให้ดูดซึมธาตุอาหารได้ดี ทำให้ ราก ลำต้น ใบ แข็งแรง โตเร็ว ผลดก ขั้วเหนียว ทนต่อโรคและแมลง

ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กรมข้าว รับรองพันธุ์ใหม่ กข 79 ผลผลิตสูง 1.2 ตัน/ไร่ ตอบโจทย์ข้าวนุ่ม ส่งออกอาเซียน ราคาถูกกว่าหอมมะลิ

ข้าวพันธุ์ใหม่ กข 79 ผลผลิตสูง – นายประสงค์ ประไพตระกูล รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณารับรองพันธุ์ข้าว ครั้งที่ 1/2562 ซึ่งประกอบด้วยกรรมการจากหลายส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ สมาคมโรงสีข้าวไทย สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย สมาคมค้าข้าวไทย มีมติรับรองพันธุ์ข้าว กข 79 ซึ่งเป็นข้าวพื้นนุ่มที่มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 118 วัน โดยวิธีปักดำ มีคุณภาพเมล็ดทางกายภาพดี เมล็ดเรียวยาว ท้องไข่น้อย คุณภาพการสีดีมากสามารถผลิตเป็นข้าวสาร 100% ชั้น 1 ได้

ทั้งนี้ ข้าว กข 79 เป็นข้าวอะมิโลสต่ำ 16.82% ข้าวสุกนุ่ม ให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 809 กิโลกรัม ต่อไร่ ศักยภาพสามารถให้ผลผลิตสูง 1,182 กิโลกรัม ต่อไร่ เสถียรภาพผลผลิตดี และค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและโรคไหม้ แต่อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้งและเพลี้ยกระโดดหลังขาว เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่นาชลประทานภาคเหนือและภาคกลาง ข้าว กข 79 มีศักยภาพทั้งในแง่การผลิตและมีตลาดรองรับ หลังจากนี้ กรมการข้าว จะเร่งวางแผนดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรได้เพาะปลูกให้เร็วที่สุด โดยจะใช้เวลาในการขยายพันธุ์ 2 ฤดู ก็จะสามารถมีเมล็ดพันธุ์ชั้นจำหน่ายประมาณ 200 ตัน รองรับพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 500,000 ไร่”

ปัจจุบัน ที่ตลาดมีความต้องการข้าวพื้นนุ่มเพื่อการบริโภคและส่งออกต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน ฮ่องกง และตลาดอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เนื่องจากเป็นข้าวที่มีความนุ่ม ราคาถูกกว่าข้าวหอมมะลิ ในขณะที่การผลิตข้าวพื้นนุ่มในประเทศไทยนั้นยังมีการปลูกในพื้นที่ไม่มากนัก และปลูกอย่างกระจัดกระจาย โดยมีพันธุ์ที่รับรองแล้วให้เลือกเพาะปลูก เช่น กข 21, ปทุมธานี 1, กข 43, กข 47, กข 53, กข 71 เป็นต้น

ปัจจุบัน บ้านเราประสบปัญหาเรื่องเชื้อเพลิงแทบทุกชนิด โดยเฉพาะแก๊สหุงต้ม หรือที่เรียกกันว่า แอลพีจี ที่ใช้ได้ทั้งในรถยนต์และการหุงต้มอาหาร ที่นับวันจะปรับราคาสูงขึ้นตลอด ในขณะเดียวกันในบ้านเรา ยังมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอีกมากมาย เช่น ฟืน แกลบ ขี้เลื่อย ฯลฯ สามารถนำมาแปรรูปเป็นพลังงานได้เป็นอย่างดี จึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งในการผลิตแก๊สแอลพีจี เพื่อใช้ในครัวเรือน

อาจารย์สุริยงค์ ประชาเขียว สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา เชียงราย ได้ออกแบบและสร้างเตาหุงต้มด้วยการใช้เทคโนโลยีแก๊สซิไฟเออร์ เพื่อใช้ทดแทนเตาอั้งโล่แบบดั้งเดิม ที่มีประสิทธิภาพความร้อนต่ำและเป็นการสูญเสียเชื้อเพลิงเป็นอย่างมาก ซึ่งเตาหุงต้มเทคโนโลยีแก๊สซิไฟเออร์ที่ทำการวิจัยนี้ อาศัยกระบวนการทางเคมี ความร้อนจากการเผาไหม้ในสภาวะจำกัดปริมาณอากาศ เพื่อให้ความร้อนชีวมวลร่วมกับเทคนิคการจำกัดอากาศหรือออกซิเจน เกิดสภาวะที่มีการควบคุมออกซิเจนในสัดส่วนที่ต่ำกว่าปริมาณที่ทำให้เกิดการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์

ทางคณะวิจัย ได้สร้างเตาแก๊สซิไฟเออร์แบบใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง โดยออกแบบเตาเป็นผนังสองชั้นรูปทรงกระบอก ห้องที่หนึ่งเป็นห้องการเผาไหม้เป็นหลัก เจาะรูผนังด้านล่างและด้านบนของผนัง ชั้นที่สองเป็นผนังที่เป็นช่องรับอากาศออกซิเจนเข้ามา ทำให้เกิดกระบวนการเผาไหม้ เมื่อเกิดการเผาไหม้ความร้อนจะถูกบังคับให้ไหลจากด้านล่างสู่ด้านบนของเตา และบางส่วนจะเกิดแก๊สไหลขึ้นไปยังช่องด้านบนของผนังที่มีความสูง ทำให้เกิดการลุกไหม้ของแก๊สชีวมวล อุณหภูมิประมาณ 800-1,000 องศาเซลเซียส ออกแบบให้สามารถเติมเชื้อเพลิงได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพพลังงานความร้อนสูงกว่าเตาอั้งโล่ เฉลี่ยประมาณร้อยละ 30 หลังจากที่ทำการวิจัยและทดสอบแล้ว คณะวิจัยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ให้แก่ผู้สนใจ โดยจัดฝึกอบรมแก่เกษตรกร ชุมชน วิสาหกิจชุมชน ในตำบลดงมะดะ ตำบลจอมหมอกแก้ว อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย เมื่อเร็วๆ นี้

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ (090) 893-6840 ปัจจุบัน ความสวยงามของปลากัด เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้หลายคนหันมาเลี้ยงกันมากขึ้น จากเดิมปลากัดเป็นเพียงแค่ปลาต่อสู้ของเซียนพนันในหมู่บ้านเล็กๆ หลังจากที่มีคนนำปลากัดมาผสม และสร้างสายพันธุ์ใหม่ จนได้ปลากัดที่มีความสวยงาม และไม่เหลือเค้าโครงของปลากัด ทั้งหมดจึงเป็นที่มาของธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลากัดที่สร้างรายได้หลายล้านบาทต่อปี มีตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศรองรับ

อย่างเช่น นางวิไลพร สามพิมพ์ อายุ 36 ปี และ นายคมสันต์ สามพิมพ์ สองสามีภรรยา ชาวบ้านโสน ต.แสลงพันธ์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ หลังว่างเว้นจากการทำนาข้าว ได้หันมาทำอาชีพเสริมโดยการเลี้ยงปลากัดแฟนซี ส่งขายต่างประเทศ และขายผ่านโซเชี่ยล โดยใช้ชื่อเพจ “ปลากัด บ้านปลาฟาร์มสุรินทร์” เพาะปลากัดส่งขายทั้งในไทยและต่างประเทศ

โดยเริ่มต้นครั้งแรกใช้งบประมาณ 5 พันบาท ลงทุนซื้อพันธุ์ปลากัดและวัสดุอุปกรณ์ เพาะเลี้ยงปลากัดแฟนซีขายทำมาปีนี้เป็นปีที่ 2 สร้างรายได้เสริมจากเวลาว่างเว้นจากการทำนาข้าว เฉพาะปลากัดอย่างเดียว จะมีรายได้ประมาณ 12,000 บาท ต่อเดือน หรือมีรายได้หมื่นอัพขึ้นไปจากการขายปลากัดแฟนซีปลากัดสวยงาม นอกจากนี้ ก็ยังรับทำตู้ปลาส่งด้วย ซึ่งก็ทำให้เกษตรกรรายนี้ครอบครัวมีรายได้หลายช่องทาง

ซึ่งการให้อาหารปลากัดจะใช้ไรแดงอนุบาลตั้งแต่เล็ก พอโตก็ใช้หนอนแดงและเต้าหู้ไข่เลี้ยง พร้อมกับอาหารเม็ดที่ใช้ลูกลูกอ๊อด นอกจากนี้ เพจ “ปลากัด บ้านปลาฟาร์มสุรินทร์” ยังได้มีการคัดปลากัดส่งเข้าร่วมในกลุ่มประมูลปลากัดอีกด้วย โดยจะมีลูกค้าในกลุ่มประมูลที่ชื่นชอบปลากัดทั้งจากเม็กซิโก จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย เข้าร่วมประมูลกัน ส่วนราคาประมูลปลากัดที่คัดแล้วจะประมูลกันอยู่ที่ตัวละประมาณ 500 บาทขึ้นไป จนถึง 1,500-1,800 บาท แล้วแต่ประมูลได้ ซึ่งก็ทำให้นางวิไลพร และนายคมสันต์ สองสามีภรรยามีรายได้เพิ่มนอกเหนือจากการขายปลากัดผ่านโซเชี่ยลอีกทางหนึ่งด้วย

นายคมสันต์ สามพิมพ์ เจ้าของฟาร์มปลากัด บอกว่า ตนเองและภรรยาได้เริ่มต้นลงทุนครั้งแรกประมาณ 5,000 บาท เป็นค่าซื้อพันธุ์ปลากัดและวัสดุอุปกรณ์ ทำมาปีนี้เป็นปีที่ 2 ส่วนพันธุ์ปลาที่เพาะก็จะมี แกแล็กซี่ ไทเกอร์ หม้อฮาฟแฟนซี ส่งขายโดยผ่านสื่อโซเชี่ยลและเข้ากลุ่มประมูลปลากัด เมื่อคัดปลากัดสวยงามแล้วราคาต่อตัวไม่ต่ำกว่า 500 บาทขึ้นไป จนถึง 1,500-1,800 บาทก็มี ตนเองและภรรยามีรายได้เฉพาะขายปลากัดแฟนซีอย่างเดียวหมื่นอัพขึ้นไปต่อเดือน ยังไม่รวมการทำอย่างอื่นอีก เช่น ทำนาข้าวและรับทำตู้ปลาและเลี้ยงปลาส่งขายอีก สำหรับตนเองแล้วคิดว่าตลาดปลากัดยังขยายไปได้อีกไกลในอนาคต

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะปรึกษาและลองเลี้ยงปลากัด สามารถเข้ามาดูได้ที่เพจ “ปลากัด บ้านปลาฟาร์มสุรินทร์” หรือโทร.สอบถามได้ที่หมายเลข 09-4659-4187จังหวัดพะเยา เป็นแหล่งปลูกหอมแดงที่สำคัญอันดับสองของภาคเหนือตอนบน รองจากจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ปลูกหอมแดง รวมทั้งสิ้น 9,628 ไร่ (สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา, 2560) กระจายอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอแม่ใจ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอดอกคำใต้ อำเภอเชียงคำ และอำเภอภูซาง โดยตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา มีพื้นที่ปลูกหอมแดงมากที่สุด และเป็นหอมแดงที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพะเยา เนื่องจากเป็นหอมแดงคุณภาพ รสเผ็ด หัวโต สีสวยสด เป็นที่ต้องการของตลาด

ในช่วงต้นเดือนมกราคมของปี 2560 กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ประสบปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน มีฝนตกติดต่อกันเกือบ 10 วัน ประกอบกับมีหมอกลงจัดในช่วงเช้าและกลางคืน ทำให้เกิดโรคระบาดในแปลงปลูกหอมแดง จำนวน 13 หมู่บ้าน ส่งผลกระทบต่อผลผลิตหอมแดงเสียหายกว่า 1,400 ไร่

เกษตรกรได้รับผลกระทบ จำนวนกว่า 800 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 2,374,450 บาท ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจความเสียหายของกลุ่มงานอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า หอมแดง ที่ได้รับความเสียหายแสดงอาการเหี่ยวเฉา เน่า และเป็นเชื้อรา ซึ่งโรคของหอมแดงที่สำคัญ ได้แก่ โรคหัวและรากเน่า โรคเหี่ยว โรคใบเน่าหรือแอนแทรกโนส โรคหอมเลื้อย โรคใบจุดสีม่วง โรคใบแห้ง โรคใบไหม้ และโรคราน้ำค้าง

การศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสด
ในการควบคุม โรคหอมแดง

คุณนเรศ ฝีปากเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ทางสำนักงานได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการร่วมกับศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพะเยา และเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) จังหวัดพะเยา ทำการศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสด ในการควบคุมโรคหอมแดง ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

โดยศึกษาทดลองกับเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) จังหวัดพะเยา จำนวน 3 ราย ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา ด้วยวิธีการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design; RCBD) มี 4 กรรมวิธี วิธีละ 3 ซ้ำ ดังนี้
1. วิธีปฏิบัติของเกษตรกร (control)
2. แช่หัวพันธุ์หอมแดงก่อนปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เป็นเวลา 15 นาที
3. หว่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมกับปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูก และ
4. ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าหลังปลูก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 6 ครั้ง

จากผลการทดลองวิธีการต่างๆ พบว่า การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสดในกรรมวิธีที่ 3 โดยการหว่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมกับปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูก สามารถควบคุมโรคหอมแดงได้ดีที่สุด ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเฉลี่ยน้อยที่สุด 0.05% ส่วนโรคที่ตรวจพบ ได้แก่ โรคหัวและรากเน่า โรคเหี่ยว และโรคหอมเลื้อย ซึ่งมีเชื้อสาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum นอกจากนี้ การหว่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมกับปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูก สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่และลดต้นทุนการผลิตต่อไร่ โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,762.67 กิโลกรัม ต่อไร่ และลดต้นทุนการผลิต 1,900 บาท ต่อไร่

เมื่อเทียบกับกรรมวิธีปฏิบัติโดยทั่วไปของเกษตรกร และยังเป็นวิธีที่เกษตรกรมีความพึงพอใจในระดับมาก ทั้งในด้านการป้องกันและควบคุมโรค การเจริญเติบโตทางลำต้น ผลผลิต และต้นทุนการผลิต ตลอดจนยังส่งเสริมให้ผลผลิตหอมแดงมีคุณภาพ เนื้อแน่น สีสด กลิ่นฉุน เก็บรักษาได้นานขึ้น

ในด้านต้นทุนการผลิตต่อไร่ โดยทั่วไปการปลูกและการดูแลรักษาหอมแดงของเกษตรกรที่ใช้สารเคมี ต้นทุนการผลิตต่อไร่ 14,400 บาท ต่อไร่ แต่เมื่อทดลองด้วยวิธีการหว่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมกับปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูกและการแช่หัวพันธุ์หอมแดงก่อนปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เป็นเวลา 15 นาที มีต้นทุนการผลิต 12,500 บาทต่อไร่ สำหรับวิธีการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าหลังปลูก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 6 ครั้ง มีต้นทุนการผลิต 14,200 บาท ต่อไร่

ความพึงพอใจของเกษตรกร
ต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

การหว่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมกับปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูก เกษตรกรมีความพึงพอใจมาก รองลงมาคือ แช่หัวพันธุ์หอมแดงก่อนปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เป็นเวลา 15 นาที และวิธีปฏิบัติของเกษตรกรแบบทั่วไป ความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจปานกลางและในส่วนการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าหลังปลูก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 6 ครั้ง เกษตรกรมีความพึงพอใจด้านการป้องกันและควบคุมโรคอยู่ในระดับเล็กน้อย

การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมกับปุ๋ยหมักหว่านรองพื้นก่อนปลูกหอมแดงเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการควบคุมโรคหอมแดง ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

2. โรคที่สำคัญของหอมแดง ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum ที่ก่อให้เกิดโรคหัวและรากเน่า โรคเหี่ยว และโรคหอมเลื้อย (หมานอน) ซึ่งพบตั้งแต่ระยะกล้าไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว

3. เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าไม่มีผลในการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางลำต้นของหอมแดง (ความสูงต้น และจำนวนหัวต่อกอ)

4. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าที่ถูกวิธี (ผสมปุ๋ยหมักหว่านรองพื้นก่อนปลูกหอมแดง) สามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตของหอมแดงได้ เนื่องจากสามารถป้องกันการเกิดโรคในหอมแดงทำให้ผลผลิตไม่ได้รับความเสียหายจากการเข้าทำลายของโรค และประหยัดค่าจ้างแรงงานในการฉีดพ่น

1. การปลูกหอมแดง ควรมีการเตรียมดินก่อนปลูก โดยการไถตากดิน อย่างน้อย 15 วัน เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่อยู่ในดิน และควรปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ให้เหมาะสม (5.5-6.5 ) ด้วยปูนขาว

2. ควรหว่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าในแปลงก่อนปลูก ร่วมกับปุ๋ยหมัก โดยใช้อัตราส่วนเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสด 1 กิโลกรัม : ปุ๋ยหมัก 40 กิโลกรัม : รำละเอียด 5 กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วหว่านรองพื้นก่อนปลูกหอมแดง ในพื้นที่ 1 งาน (100 ตารางวา)

3. ควรยกร่องแปลงปลูกหอมแดง อย่างน้อย 50 เซนติเมตร และปรับพื้นที่บนแปลงให้เรียบสม่ำเสมอกัน เพื่อป้องกันน้ำขังเวลาฝนตก

4. การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ควรใช้อัตราตามคำแนะนำและผสมสารจับใบด้วย เพื่อช่วยในการยึดเกาะกับใบหอมได้ดีขึ้น และควรฉีดพ่นเพื่อการป้องกันเท่านั้น ไม่ควรฉีดพ่นในช่วงที่เกิดโรคระบาด

ขอขอบคุณ ทีมงานการศึกษาทดลอง คุณศราวุธ พานทอง คุณนุชจารี วนาศิริ คุณยงยุทธ ดาวตาก คุณธราดล ปัญญาวิชา คุณเสาวภาคย์ ดาวตาก คุณจุลัยรัตน์ ยาฝั้น และ คุณท้าย สุนนท์ ที่ได้ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสดในการควบคุมโรคหอมแดง ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและให้คำแนะนำเกษตรกรในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเพื่อควบคุมโรคในหอมแดง เพื่อขยายผลสู่พื้นที่อื่นและพืชชนิดอื่นต่อไป

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ นายวันชัย นิลวงศ์ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้ส่งเสริมการปลูกทุเรียนพันธุ์ทองบางสะพาน หลังจาก นายธวัชชัย เทศรำลึก เกษตรกรในพื้นที่ ต.กำเนิดนพคุณ อ.บางสะพาน นำกิ่งพันธ์ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง จาก จ.นนทบุรี มาปลูกในสวนตั้งแต่ปี 2526

แต่หลังจากปลูกในระยะแรกยอดของต้นทุเรียนหัก แต่ต้นตอจากการเพาะเมล็ดทุเรียนไม่ทราบพันธุ์แตกยอดใหม่ขึ้นมา จากนั้นได้ปล่อยให้ต้นเจริญเติบโตจนกระทั่งออกดอกและติดผลในปี 2533 จึงพบว่าเกิดการกลายพันธุ์ เนื่องจากผลมีลักษณะที่แตกต่างไปจากต้นพันธุ์เดิม โดยมีเนื้อละเอียด เหนียว สีเหลืองเข้ม มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติมันอมหวาน น้ำหนักผลประมาณ 2.0–5.4 กิโลกรัม

“จากนั้นเกษตรกรได้ติดตามความคงตัวของลักษณะประจำพันธุ์นานกว่า 25 ปี จึงตั้งชื่อพันธุ์ว่าทองบางสะพานและยื่นจดทะเบียนรับรองพันธุ์จากกรมวิชาการเกษตร ปัจจุบันเกษตรกรเจ้าของสวนได้ขยายพันธุ์ทุเรียนทองบางสะพานด้วยการเสียบยอดและจำหน่ายกิ่งพันธุ์ให้กับเกษตรกรรายอื่นที่สนใจนำไปเพาะขยายพันธุ์ ในราคากิ่งละประมาณ 400 บาท เนื่องจากผู้บริโภคนิยมรสชาติและกลิ่นต่างจากทุเรียนทุกสายพันธ์ุดั้งเดิมทั้งทุเรียนคลองลอยและทุเรียนป่าละอู สำหรับผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอบางสะพาน ผู้สนใจต้องสั่งจองล่วงหน้า” นายวันชัย กล่าว

ทุกวันนี้ ภาคเกษตรของไทยได้รับผลกระทบจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เจอปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม พายุฝนและอากาศหนาวที่มาผิดฤดู ทำให้ปริมาณฝนลดลง อากาศขาดความชุ่มชื้น ส่งผลกระทบทำให้พืชขาดน้ำ ชะงักการเจริญเติบโต ปริมาณผลผลิตลดลง และมีคุณภาพต่ำ เพื่อความอยู่รอด เกษตรกรจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ำ และพืช เพื่อปรับปรุงแผนการใช้ทรัพยากรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการของพืชแต่ละชนิด เพื่อจะได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพป้อนเข้าสู่ตลาดในอนาคต

ประชารัฐร่วมแก้วิกฤติน้ำแล้ง จากวิกฤตภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในจังหวัดขอนแก่น เมื่อปี 2560 ศูนย์ปฏิบัติการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ ได้ร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัดกรมชลประทาน กำลังพลในสังกัดมณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร์ กองพลทหารม้าที่ 3 ค่ายเปรมติณสูลานนท์ ได้บูรณาการร่วมกันบรรเทาภัยทั้งน้ำแล้งและน้ำท่วม โดยน้อมนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ในการก่อสร้างนวัตกรรมแห่งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อถ่ายทอดให้กลุ่มเกษตรกรสามารถทำขึ้นใช้เองได้

อาจารย์สุภัทรดิส ราชธา อดีตวิศวกรที่ผันตัวมาเป็นจิตอาสาคอยช่วยเหลืองานของโครงการก่อสร้าง สำนักงานชลประทานที่ 6 โดยให้ความรู้ และคำแนะนำเกี่ยวกับโครงการฝายชะลอน้ำเพื่อบรรเทาภัยแล้ง โครงการชลประทานระบบน้ำหยด โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ยึดตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9

อาจารย์สุภัทรดิส ที่ปรึกษาศูนย์ปฏิบัติการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ (โทร. 081-2600794 ) กล่าวว่า ทางศูนย์ได้น้อมนำเอาแนวพระราชดำริเกี่ยวกับการสร้างฝายชะลอน้ำมาประยุกต์ใช้ออกแบบและพัฒนาตามหลักวิศวชลประทาน และคิดค้นนวัตกรรมซอยซีเมนต์ (Soil Cement) มาใช้ในการก่อสร้างฝายชะลอน้ำประชารัฐแบบมีร่องแกนซอยซีเมนต์ เพื่อเสริมความแข็งแรงยิ่งขึ้นกว่าฝายชะลอน้ำแบบอื่นๆ และสามารถรับน้ำหนักของตัวฝายได้มากกว่า 3 ตัน ต่อตารางเมตร ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณน้ำที่เก็บกักในตัวฝายได้มาก และช่วยให้ฝายชะลอน้ำแบบนี้มีอายุการใช้งานยืนยาวมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรที่อยู่อาศัยนอกเขตชลประทานมีน้ำใช้ในการทำเกษตรได้ตลอดทั้งปี นวัตกรรมนี้ช่วยเก็บกักน้ำได้ดี โดยเฉพาะสภาพดินทรายในพื้นที่ภาคอีสาน

ฝายชะลอน้ำประชารัฐ แก้ไขภัยแล้งได้ดี

ปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำในการทำเกษตรกรรมเป็นปัญหาใหญ่ในหลายพื้นที่ หนองแวงโมเดล อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ทำฝายชะลอน้ำประชารัฐตามแนวพระราชดำริ เป็นหนึ่งในการบูรณาการตามแบบประชารัฐ ด้วยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกับหน่วยงานท้องถิ่น และภาคเอกชน โครงการ “หนองแวงโมเดล” ตำบลหนองแวง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ เป็นการสร้างฝายชะลอน้ำตามแนวพระราชดำริ หนึ่งในการบูรณาการตามแบบประชารัฐ ด้านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนกับหน่วยงานท้องถิ่น และภาคเอกชนในพื้นที่ เกิดเป็นฝายชะลอน้ำที่ช่วยกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร และชะลอน้ำในฤดูน้ำหลาก ราคาประหยัด มีความคงทนแข็งแรง เพื่อช่วยให้ประชาชนมีน้ำใช้ในการทำเกษตรได้ทั้งปี

หนองแวงโมเดล ฝายชะลอน้ำประชารัฐ ทำให้ชาวบ้านที่นี่มีน้ำใช้ทำการเกษตร อีกทั้งในชุมชนยังมีการส่งเสริมการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ การปลูกพืชใช้น้ำน้อยตามรูปแบบชลประทานน้ำหยด รวมถึงการนำพลังงานโซลาร์เซลล์มาใช้ในการสูบน้ำเพื่อการเกษตร ช่วยให้คนในชุมชนสามารถบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ตนเองได้ตลอดทั้งปีด้วยสร้างสระกักเก็บน้ำนวัตกรรมซอยซีเมนต์

อาจารย์สุภัทรดิส กล่าวว่า เนื้อดินภาคอีสานส่วนใหญ่มีสภาพเป็นดินทราย ทำให้มีปัญหาในการกักเก็บน้ำ จึงขอแนะนำให้เกษตรกรทดลองใช้นวัตกรรมซอยซีเมนต์ (Soil Cement) ในการสร้างสระกักเก็บน้ำไว้ใช้งานได้ตลอดทั้งปี

นวัตกรรมซอยซีเมนต์ คือการปรับปรุงดินด้วยปูนซีเมนต์ โดยการผสมผงปูนซีเมนต์เข้าไปในเนื้อดินให้เข้ากัน ในอัตราส่วน 1 : 20 – 1 : 40 ให้กำหนดอัตราส่วนของดินที่ใช้ผสมตามคุณสมบัติและสัดส่วนจำนวนคละแล้วสเปรย์น้ำให้ทั่ว จากนั้นจึงบดอัดแน่น เพื่อเป็นการปรับปรุงดินให้มีคุณสมบัติต่างๆ ทางวิศวกรรมของดินในหลายๆ ด้านได้ดีขึ้น เช่น กำลังต้านแรงทานแรงเฉือนสูงขึ้น กำลังรับน้ำหนักแบกทานเพิ่มมากขึ้น การยึดเกาะระหว่างเม็ดดินมีความหนาแน่นมากยิ่งขึ้น ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของน้ำลดลง มีความทนทานต่อการกัดเซาะและทนทานต่อการเปลี่ยนรูปมากยิ่งขึ้น และคุณสมบัติอื่นๆ ที่เป็นผลดีทางด้านวิศวกรรมของดิน

ขั้นตอนการสร้างสระน้ำด้วยนวัตกรรมซอยซีเมนต์ ได้แก่ การขุดบ่อก่อสร้างและพรวนดินก้นบ่อให้มีความลึก 20 เซนติเมตร

2. ทำซอยซีเมนต์ก้นบ่อ โดยนำดินมาผสมปูนซีเมนต์ ในสัดส่วน 1 : 20 – 1 : 40 ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน

3. ใช้เครื่องพรวนคลุกเคล้าดินกับปูนซีเมนต์ให้เข้ากัน พร้อมรดน้ำให้มีความชื้นพอประมาณ (ปั้นเป็นก้อนได้)

4. บดอัดดินให้แน่นด้วยเครื่องตบดินแบบเขย่าและปรับให้พื้นมีขนาดความสูงก้นบ่อเท่ากัน 5. พรวนดินด้านข้างหรือถากดินด้านข้างด้วยจอบหรือพลั่ว

6. นำดินที่ถากออกจากด้านข้างผสมกับปูนซีเมนต์ ในอัตราส่วนผสมปูนซีเมนต์กับดิน อยู่ระหว่าง 1: 20 – 1 : 40 ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน คลุกเคล้าดินและปูนให้เข้ากัน พร้อมรดน้ำให้มีความชื้นพอประมาณ (ปั้นเป็นก้อนได้)

7. นำดินที่ผสมปูนซีเมนต์แล้วสาดขึ้นบริเวณด้านข้าง ให้มีความหนา 10-15 เซนติเมตร และบดอัดด้วยเครื่องตบดินแบบเขย่าหรือใช้สองเกลอกระทุ้งดินให้แน่น

8. ทำตามตัวอย่าง ข้อที่ 7 ให้ทั่วบริเวณด้านข้างขอบบ่อ
9. ขอบบ่อด้านบนให้ทำเหมือนก้นบ่อ มีความกว้าง 1 เมตร และเอียงออกนอกบ่อโดยรวม

10 . เมื่อทำเสร็จแล้วสามารถปล่อยน้ำเข้ากักเก็บได้ทันที และสามารถเลี้ยงสัตว์น้ำได้โดยไม่ต้องพักบ่อ เพราะมีตะไคร่น้ำเกาะ อาจารย์สุภัทรดิส กล่าวว่า การสร้างสระน้ำด้วยนวัตกรรมซอยซีเมนต์ใช้เงินลงทุนไม่มาก มีความแข็งแรงทนทาน มากกว่าการสร้างสระน้ำรูปแบบอื่นๆ มีอายุการใช้งานยาวนาน เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานในพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานทั่วประเทศ