สำหรับการนำไคโตซานไปใช้ประโยชน์ นำไคโตซาน 10 กรัม

ในน้ำส้มสายชู 1 ลิตร จะได้สารละลายไคโตซาน เมื่อต้องการนำไปใช้กับพืชหรือข้าวให้นำสารละลายไคโตซานที่ได้ จำนวน 20 ซีซี หรือ 1 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 20 ลิตร หรือ ไคโตซาน 1 ส่วน ต่อน้ำ 100 ส่วน แล้วฉีดพ่นใต้ใบพืช หรือราดบริเวณโคนต้น เพื่อช่วยให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันโรค ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน เป็นตัวกระตุ้นเซลล์ของพืชให้ดูดซึมธาตุอาหารได้ดี ทำให้ ราก ลำต้น ใบ แข็งแรง โตเร็ว ผลดก ขั้วเหนียว ทนต่อโรคและแมลง

ผู้สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สถาบันบริการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดพะเยา เป็นแหล่งปลูกหอมแดงที่สำคัญอันดับสองของภาคเหนือตอนบน รองจากจังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ปลูกหอมแดง รวมทั้งสิ้น 9,628 ไร่ (สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา, 2560) กระจายอยู่ในอำเภอเมือง อำเภอแม่ใจ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอดอกคำใต้ อำเภอเชียงคำ และอำเภอภูซาง โดยตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา มีพื้นที่ปลูกหอมแดงมากที่สุด และเป็นหอมแดงที่ขึ้นชื่อของจังหวัดพะเยา เนื่องจากเป็นหอมแดงคุณภาพ รสเผ็ด หัวโต สีสวยสด เป็นที่ต้องการของตลาด

ในช่วงต้นเดือนมกราคมของปี 2560 กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ประสบปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน มีฝนตกติดต่อกันเกือบ 10 วัน ประกอบกับมีหมอกลงจัดในช่วงเช้าและกลางคืน ทำให้เกิดโรคระบาดในแปลงปลูกหอมแดง จำนวน 13 หมู่บ้าน ส่งผลกระทบต่อผลผลิตหอมแดงเสียหายกว่า 1,400 ไร่

เกษตรกรได้รับผลกระทบ จำนวนกว่า 800 ราย คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 2,374,450 บาท ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจความเสียหายของกลุ่มงานอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา สำนักงานเกษตรอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืชจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า หอมแดง ที่ได้รับความเสียหายแสดงอาการเหี่ยวเฉา เน่า และเป็นเชื้อรา ซึ่งโรคของหอมแดงที่สำคัญ ได้แก่ โรคหัวและรากเน่า โรคเหี่ยว โรคใบเน่าหรือแอนแทรกโนส โรคหอมเลื้อย โรคใบจุดสีม่วง โรคใบแห้ง โรคใบไหม้ และโรคราน้ำค้าง

การศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสด
ในการควบคุม โรคหอมแดง

คุณนเรศ ฝีปากเพราะ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ทางสำนักงานได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการร่วมกับศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพะเยา และเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) จังหวัดพะเยา ทำการศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสด ในการควบคุมโรคหอมแดง ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

โดยศึกษาทดลองกับเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer) จังหวัดพะเยา จำนวน 3 ราย ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม 2561 ที่ผ่านมา ด้วยวิธีการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อก (Randomized Complete Block Design; RCBD) มี 4 กรรมวิธี วิธีละ 3 ซ้ำ ดังนี้
1. วิธีปฏิบัติของเกษตรกร (control)
2. แช่หัวพันธุ์หอมแดงก่อนปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เป็นเวลา 15 นาที
3. หว่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมกับปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูก และ
4. ฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าหลังปลูก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 6 ครั้ง

จากผลการทดลองวิธีการต่างๆ พบว่า การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสดในกรรมวิธีที่ 3 โดยการหว่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมกับปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูก สามารถควบคุมโรคหอมแดงได้ดีที่สุด ซึ่งมีเปอร์เซ็นต์การเกิดโรคเฉลี่ยน้อยที่สุด 0.05% ส่วนโรคที่ตรวจพบ ได้แก่ โรคหัวและรากเน่า โรคเหี่ยว และโรคหอมเลื้อย ซึ่งมีเชื้อสาเหตุจากเชื้อรา Fusarium oxysporum นอกจากนี้ การหว่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมกับปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูก สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่และลดต้นทุนการผลิตต่อไร่ โดยให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,762.67 กิโลกรัม ต่อไร่ และลดต้นทุนการผลิต 1,900 บาท ต่อไร่

เมื่อเทียบกับกรรมวิธีปฏิบัติโดยทั่วไปของเกษตรกร และยังเป็นวิธีที่เกษตรกรมีความพึงพอใจในระดับมาก ทั้งในด้านการป้องกันและควบคุมโรค การเจริญเติบโตทางลำต้น ผลผลิต และต้นทุนการผลิต ตลอดจนยังส่งเสริมให้ผลผลิตหอมแดงมีคุณภาพ เนื้อแน่น สีสด กลิ่นฉุน เก็บรักษาได้นานขึ้น

ในด้านต้นทุนการผลิตต่อไร่ โดยทั่วไปการปลูกและการดูแลรักษาหอมแดงของเกษตรกรที่ใช้สารเคมี ต้นทุนการผลิตต่อไร่ 14,400 บาท ต่อไร่ แต่เมื่อทดลองด้วยวิธีการหว่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมกับปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูกและการแช่หัวพันธุ์หอมแดงก่อนปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เป็นเวลา 15 นาที มีต้นทุนการผลิต 12,500 บาทต่อไร่ สำหรับวิธีการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าหลังปลูก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 6 ครั้ง มีต้นทุนการผลิต 14,200 บาท ต่อไร่

ความพึงพอใจของเกษตรกร
ต่อการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า

การหว่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมกับปุ๋ยหมักรองพื้นก่อนปลูก เกษตรกรมีความพึงพอใจมาก รองลงมาคือ แช่หัวพันธุ์หอมแดงก่อนปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า เป็นเวลา 15 นาที และวิธีปฏิบัติของเกษตรกรแบบทั่วไป ความพึงพอใจอยู่ในระดับพึงพอใจปานกลางและในส่วนการฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าหลังปลูก สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 6 ครั้ง เกษตรกรมีความพึงพอใจด้านการป้องกันและควบคุมโรคอยู่ในระดับเล็กน้อย

สรุปผลการทดลอง

1. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมกับปุ๋ยหมักหว่านรองพื้นก่อนปลูกหอมแดงเป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการควบคุมโรคหอมแดง ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา

2. โรคที่สำคัญของหอมแดง ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum ที่ก่อให้เกิดโรคหัวและรากเน่า โรคเหี่ยว และโรคหอมเลื้อย (หมานอน) ซึ่งพบตั้งแต่ระยะกล้าไปจนถึงระยะเก็บเกี่ยว

3. เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าไม่มีผลในการส่งเสริมการเจริญเติบโตทางลำต้นของหอมแดง (ความสูงต้น และจำนวนหัวต่อกอ)

4. การใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าที่ถูกวิธี (ผสมปุ๋ยหมักหว่านรองพื้นก่อนปลูกหอมแดง) สามารถเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิตของหอมแดงได้ เนื่องจากสามารถป้องกันการเกิดโรคในหอมแดงทำให้ผลผลิตไม่ได้รับความเสียหายจากการเข้าทำลายของโรค และประหยัดค่าจ้างแรงงานในการฉีดพ่น

ข้อเสนอแนะ

1. การปลูกหอมแดง ควรมีการเตรียมดินก่อนปลูก โดยการไถตากดิน อย่างน้อย 15 วัน เพื่อกำจัดเชื้อโรคที่อยู่ในดิน และควรปรับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ให้เหมาะสม (5.5-6.5 ) ด้วยปูนขาว

2. ควรหว่านเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าในแปลงก่อนปลูก ร่วมกับปุ๋ยหมัก โดยใช้อัตราส่วนเชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสด 1 กิโลกรัม : ปุ๋ยหมัก 40 กิโลกรัม : รำละเอียด 5 กิโลกรัม ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วหว่านรองพื้นก่อนปลูกหอมแดง ในพื้นที่ 1 งาน (100 ตารางวา)

3. ควรยกร่องแปลงปลูกหอมแดง อย่างน้อย 50 เซนติเมตร และปรับพื้นที่บนแปลงให้เรียบสม่ำเสมอกัน เพื่อป้องกันน้ำขังเวลาฝนตก

4. การฉีดพ่นเชื้อราไตรโคเดอร์ม่า ควรใช้อัตราตามคำแนะนำและผสมสารจับใบด้วย เพื่อช่วยในการยึดเกาะกับใบหอมได้ดีขึ้น และควรฉีดพ่นเพื่อการป้องกันเท่านั้น ไม่ควรฉีดพ่นในช่วงที่เกิดโรคระบาด

ขอขอบคุณ ทีมงานการศึกษาทดลอง คุณศราวุธ พานทอง คุณนุชจารี วนาศิริ คุณยงยุทธ ดาวตาก คุณธราดล ปัญญาวิชา คุณเสาวภาคย์ ดาวตาก คุณจุลัยรัตน์ ยาฝั้น และ คุณท้าย สุนนท์ ที่ได้ศึกษาการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าชนิดสดในการควบคุมโรคหอมแดง ตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและให้คำแนะนำเกษตรกรในการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าเพื่อควบคุมโรคในหอมแดง เพื่อขยายผลสู่พื้นที่อื่นและพืชชนิดอื่นต่อไป

สภาพอากาศเย็นมีความชื้นสูงในช่วงเช้าและตอนกลางคืน ส่วนในตอนกลางวันอากาศร้อนอบอ้าว กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมะเขือเฝ้าระวังการระบาดของหนอนเจาะผลมะเขือ ที่สามารถพบได้ในระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต

สำหรับในระยะเจริญเติบโตให้เกษตรกรสังเกตติดตามการระบาดของหนอนเจาะผลมะเขือ ตัวหนอนเจาะผลมะเขือจะเข้าทำลายยอดมะเขือ ทำให้ยอดเกิดความเสียหาย โดยตัวหนอนจะเจาะเข้าไปกัดกินภายในลำต้นมะเขือที่สูงจากยอดประมาณ 10 เซนติเมตร ทำให้ยอดมะเขือมีอาการเหี่ยวในเวลาที่มีแสงแดดจัด ระยะติดผล ตัวหนอนเจาะผลมะเขือจะเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในผลมะเขือ ทำให้ผลผลิตมะเขือเสียหาย

แนวทางการป้องกันและกำจัดหนอนเจาะผลมะเขือ ให้เกษตรกรหมั่นสำรวจตรวจแปลงปลูก และเก็บยอดหรือผลมะเขือที่ถูกทำลายนำออกจากแปลงมาเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูก เพื่อช่วยลดการแพร่ระบาด

หากพบยอดมะเขือเหี่ยว 3-5 เปอร์เซ็นต์ หรือพบผลอ่อนมะเขือถูกทำลาย 5-10 เปอร์เซ็นต์ ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารเบตาไซฟลูทริน 2.5% อีซี อัตรา 80 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยเกษตรกรควรเลือกใช้สารเคมีชนิดใดชนิดหนึ่ง และควรพ่นสารเคมีติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 ครั้ง พ่นห่างกัน 1 สัปดาห์

เงาะ เป็นผลไม้ที่สำคัญของภาคตะวันออกและภาคใต้ และปัจจุบันได้ถูกนำมาปลูกในพื้นที่จังหวัดต่างๆ รวมทั้งจังหวัดหนองบัวลำภูด้วย สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอยู่ในระดับที่น่าพอใจ อย่างเช่น

คุณสง่า สารพัฒน์ อายุ 51 ปี อยู่บ้านเลขที่ 120 หมู่ที่ 9 บ้านต่างแคน ตำบลบ้านโคก อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู โทรศัพท์ (085) 456-5990 และ (063) 056-2688 (ภรรยา)

คุณสง่า เล่าให้ฟังว่า มีพื้นที่การเกษตรกว่า 100 ไร่ เป็นที่ นส. 3 และ ส.ป.ก. โดยได้ทำการเกษตรหลายอย่าง ได้แก่ ยางพารา ประมาณ 50 ไร่ มีรายได้ปีละ 4 แสน ถึง 5 แสนบาท และแนวโน้มมีรายได้ลดลงเรื่อยๆ ทำไร่อ้อย 20 กว่าไร่ มีรายได้ปีละประมาณ 20,000 บาท และมีแนวโน้มรายได้ลดลงเช่นกัน

ปี 2541 ได้ทดลองปลูกเงาะโรงเรียน จำนวน 200 ต้น โดยใช้ระยะปลูก 7×7 เมตร พื้นที่ประมาณ 6 ไร่ ได้จัดทำระบบน้ำไปยังต้นเงาะทุกต้น ลงทุนประมาณ 40,000 บาท สามารถให้น้ำเงาะได้ตลอดปี ในระยะแรกได้มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แซมช่องว่างระหว่างของเงาะ ทำให้มีรายได้เสริมในระหว่างที่ยังไม่ให้ผลผลิต

การให้ปุ๋ย ได้นำแม่ปุ๋ยมาผสมใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยใช้สูตร 46-0-0 อัตรา 50 กิโลกรัม สูตร 18-46-0 อัตรา 15 กิโลกรัม และ 0-0-60 อัตรา 30 กิโลกรัม ผสมให้เข้ากัน ใส่บริเวณทรงพุ่ม ปีละ 2 ครั้ง

คุณสง่า บอกอีกว่า หลังจากปลูก 3 ปี ก็เริ่มไว้ดอกไว้ผล โดยเงาะออกดอกในเดือนมีนาคมถึงเมษายน ในช่วงนี้ได้ฉีดพ่นอาหารเสริมเพื่อให้ติดดอกออกผลดีขึ้น และจะเก็บเกี่ยวได้ในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม

หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วต้องตัดแต่งกิ่ง ให้ปุ๋ย เพื่อบำรุงต้นให้พร้อมสำหรับให้ผลผลิตในฤดูต่อไป เมื่อเข้าสู่เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคมทุกปี จะนำฟางข้าวที่เหลือจากการเก็บเกี่ยวข้าว มาคลุมโคนต้นเพื่อเก็บความชุ่มชื้นแก่ต้นเงาะ ลดการให้น้ำ โดยใช้ฟางข้าวปีละไม่น้อยกว่า 9 ตัน จากนั้นเมื่อถึงฤดูฝนก็จะย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย

“เมื่อผลผลิตเริ่มออกใหม่ๆ ได้นำไปให้ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน และบุคคลทั่วไปได้ชิม จากนั้นเริ่มเป็นที่รู้จักกันปากต่อปาก ทำให้เงาะของตนเป็นที่เลื่องลือของเกษตรกรชาวอำเภอสุวรรณคูหา เมื่อถึงฤดูที่เงาะออกสู่ตลาดจะมีผู้บริโภคสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ ผลเล็ก เนื้อล่อนไม่ติดเมล็ด กรอบ รสหวาน และปลอดสารพิษ เพราะไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือถ้าจำเป็นก็ใช้บ้าง แต่ไม่อยู่ในระยะติดผล” คำยืนยันของคุณสง่า ผู้บุกเบิกเงาะแห่งหนองบัวลำภู

ตลาดและรายได้เงาะ ปัจจุบัน ขายในชุมชนและมีคนมาซื้อที่สวน ไม่พอกับความต้องการของตลาด ราคา กิโลกรัมละ 20-35 บาท แต่ส่วนใหญ่จะขาย 3 กิโลกรัม ต่อ 100 บาท มีรายได้จากการขายปีละประมาณ 340,000 บาท

ปัจจุบัน ได้ปลูกเงาะเพิ่มอีกประมาณ 100 ต้น เริ่มให้ผลแล้ว และได้โค่นยางพารา ประมาณ 10 ไร่ สำหรับปลูกโกโก้ 200 ต้น ลองกอง 60 ต้น และทุเรียน 80 ต้น

ท่านที่เคารพครับ!!! จากการที่ คุณสง่า ได้เป็นผู้บุกเบิกนำเงาะโรงเรียนมาปลูกในพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อ 20 ปีที่แล้ว จนประสบผลสำเร็จ สามารถทำรายได้ ประมาณ 40,000-60,000 บาท ต่อไร่ ซึ่งนับว่ารายได้ดีมาก ดีกว่าพืชเศรษฐกิจในพื้นที่หลายเท่าตัว (อ้อยโรงงาน 6,000-10,000 บาท, มันสำปะหลัง 4,000-6,000 บาท, ข้าว 4,000-6,000 บาท)

อย่างไรก็ตาม การที่เกษตรกรจะพิจารณาปลูกพืชอะไร ควรศึกษาข้อมูลด้านการตลาดให้ดี อย่าปลูกพืชตามกระแส และควรทำการเกษตรหลายอย่าง ที่เรียกว่าไร่นาสวนผสม หรือเกษตรผสมผสานให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดทั้งรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี จะลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและลดความเสี่ยงด้านการตลาดและราคา พร้อมทั้งน้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นแนวทางปฏิบัติด้วย

มะเฟือง เป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่รู้จักกันดี และสังเกตได้ง่าย แปลกกว่าผลไม้ชนิดอื่น มีเนื้อแยกออกเป็นห้าแฉก เนื้อ

นอกจากนี้ ยังนับเป็นผลไม้ที่ทรงคุณค่าไม่น้อย โดยในเนื้อแท้ของผลไม้ชนิดนี้จะประกอบไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย นักโภชนาศาสตร์ได้วิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของมะเฟืองแล้วพบว่า อุดมไปด้วย วิตามิน เอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอะซีน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันเส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และพลังงาน ในปริมาณไม่น้อยเลย

ในผลมะเฟืองสด มีน้ำอยู่ประมาณ 91% นอกจากนั้น ก็มีกรดซิตริก น้ำตาล และวิตามินหลายชนิด เมล็ดมีน้ำอยู่เพียง 25% และน้ำมันอยู่ 37% ผลมะเฟืองมีรสหวาน เปรี้ยว ฝาด เย็น ผลเป็นยาเย็น ดับร้อน ถอนพิษ ทำให้มีน้ำหล่อเลี้ยง แก้ไอ ขับนิ่วในทางปัสสาวะ ใบมะเฟือง มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ บดให้แหลก ใช้พอกฝีบวมแดงแก้ปวด

มะเฟือง เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยคล้ายใบมะยม ดอกช่อสั้น กลีบดอกสีขาวปนม่วง ผลมีลักษณะเป็นสันเหลี่ยม 3-5 สัน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวอมเหลือง เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองออกส้ม ในผลจะมีเมล็ดเล็กๆ อยู่ประมาณ 10-12 เมล็ด

สำหรับพันธุ์ของมะเฟืองนั้นเช่นเดียวกับผลไม้อื่นๆ ที่มีหลากหลายพันธุ์ แต่ที่ขึ้นชื่อและเป็นที่นิยมคือ พันธุ์ บี 17 หรือที่มีอีกชื่อว่า Honey Star

มะเฟืองบี 17 ผลมีขนาดใหญ่ และมีน้ำหนักมาก ชั่งได้ 3-4 ผล ต่อกิโลกรัม

ทรงผลค่อนข้างยาว สล็อต UFABET และมีความกว้างสม่ำเสมอตลอดผล ผลมีความยาวประมาณ 8-10 เซนติเมตร กลีบผลหนา มีฐานกว้าง ร่องระหว่างผลตื้น ที่ผิวของกลีบ มีจุดประเห็นได้ชัด

นอกจากนี้ ยังมีเปลือกบาง เมื่อแก่จัดมีสีเหลืองเข้ม จนถึงเหลืองอมส้ม เนื้อนิ่มฉ่ำน้ำ มีกลิ่นหอม รสหวาน

ความหวานวัดได้ 11.5 องศาบริกซ์ รสไม่ฝาด มี 5-10 เมล็ด ต่อผล

มะเฟือง บี 17 จะให้ผลผลิตตลอดทั้งปี แต่เก็บผลผลิตได้มาก ช่วงเดือนิมถุนายน-กันยายน

วิธีการปลูกมะเฟือง ในส่วนระยะปลูก ใช้ระยะ 4×4 เมตร (หลังปลูกปีที่ 3 จะตัดต้นเว้นต้น) แต่ถ้าขุดหลุม ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ทั้งนี้ ในการปลูกนั้นควรรองก้นหลุมด้วย โดโลไมต์ : 0-3-0 : 15-15-15 : ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 100 กรัม : 100 กรัม : 100 กรัม : 100 กรัม : 50 กรัม : 3 กิโลกรัม ต่อหลุม

วิธีการปลูก มี 2 วิธี คือ

ใช้สต๊อกพันธุ์เปรี้ยวพื้นเมือง อายุ 4 เดือน ปลูก 2 เดือน แล้วเปลี่ยนยอดใหม่เป็นพันธุ์ที่ต้องการ เช่น บี 17 (หลังจากปลูก Stock แล้ว 15 เดือน จะเริ่มเก็บผลผลิตได้)
ใช้กิ่งพันธุ์ที่เปลี่ยนยอดไว้แล้วปลูก (หลังจากปลูก 12 เดือน) จะสามารถเก็บผลผลิตได้ (หลังจากปลูกจะให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
การดูแลรักษา โดยหลังจากปลูกจะให้น้ำวันเวันวันในฤดูแล้ง

นอกจากนี้ หลังจากปลูก 1 เดือน จะใส่ปุ๋ย 21-0-0 อัตรา 50 กรัม ต่อต้น เมื่ออายุปลูก 2 เดือน ขึ้นไป จะใส่ปุ๋ย สูตร 13-13-13 หรือ 15-15-15 อัตรา 50-100 กรัม ต่อต้น ต่อเดือน และใช้เมธามิโตฟอส : เบนเลท : 21-21-21 อัตรา 30 : 10 : 30 ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 สัปดาห์ ต่อครั้ง

หลังจากปลูก 8-10 เดือน จะเริ่มแต่งกิ่งเพื่อเลี้ยงทรงพุ่ม หลังจากตัดแต่งกิ่งเสร็จ มะเฟืองจะเริ่มแทงช่อดอก เมื่อแทงช่อดอก 10-15 วัน จะพ่นยาฆ่าแมลงอัตราเดิม 2 สัปดาห์ ต่อครั้ง พอดอกบาน 40 วัน จะปลิดแต่งผลเหลือไว้เฉพาะผลที่ต้องการ แล้วใช้ถุงพลาสติกสีขาวขุ่น หรือถุงกระดาษ ห่อผลไว้ ถุงละ 1 ผล

ทั้งนี้ ต้นที่มีอายุ 12 เดือน สามารถห่อผลไว้ได้ ประมาณ 10-20 ผล ต่อต้น ในขณะที่ต้นที่มีอายุ 3 ปีขึ้นไป สามารถเก็บผลผลิตได้รุ่นละไม่ต่ำกว่า 15 กิโลกรัม ต่อต้น สำหรับในช่วงห่อผลมะเฟือง จะใส่ปุ๋ย สูตร 12-12-19 อัตรา 100 กรัม ต่อต้น สำหรับมะเฟืองอายุ 12 เดือน และอัตรา 300 กรัม ต่อต้น สำหรับมะเฟืองอายุ 3 ปี ขึ้นไป