สำหรับการเตรียมพร้อมให้การช่วยเหลือนั้น กรมชลประทาน

ได้ติดตั้งและเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือไว้ในพื้นที่ภาคใต้ ไว้ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูฝนแล้ว อาทิ เครื่องสูบน้ำ 453 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 300 เครื่อง และเครื่องจักรกลอื่นๆ รวมทั้งสิ้น 1,106 หน่วย พร้อมกันนี้ ได้เน้นย้ำให้ทุกโครงการชลประทาน ตรวจสอบอาคารและระบบชลประทาน ให้มีความพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ยังได้นำรถกระจายสัญญาณวิทยุสื่อสารลงไปประจำในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม

เพื่อเพิ่มศักยภาพให้เจ้าหน้าที่ชลประทาน ในด้านการสื่อสารด้วยวิทยุสื่อสารระยะไกล ซึ่งจะช่วยให้การปฏิบัติงานในพื้นที่ห่างไกลมีความสะดวก รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ พร้อมกำชับให้เจ้าหน้าที่ให้ประสานงานบูรณาการทำงานร่วมกับจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำ เพื่อประชาสัมพันธ์และแจ้งเตือนประชาชนให้รับทราบสถานการณ์น้ำอย่างทั่วถึงแล้ว

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ศนส.) ยกระดับขีดความสามารถงานบริการ ทดสอบ ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ยา วัสดุทางการแพทย์/เครื่องมือแพทย์ ได้รับการรับรองรับรองมาตรฐานงานเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลองเพื่องานทางวิทยาศาสตร์

ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ (AAALAC International หรือ The Association for Assessment and Accreditation of Laboratory Animal Care International) นับเป็นหน่วยงานแรกในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเป็นหน่วยงานลำดับที่ 9 ของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าว ย้ำ วว. พร้อมนำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ยกระดับผลิตภัณฑ์ฯ แบบเบ็ดเสร็จครบวงจร พร้อมเป็น “หุ้นส่วนความสำเร็จผู้ประกอบการไทย” เสริมสร้างขีดความสามารถการแข่งขันได้ในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ

ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. ชี้แจงว่า ในแต่ละปี ศนส. มีงานโครงการด้านสัตว์ทดลองทั้งการทดสอบประสิทธิภาพและการประเมินความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 100 การทดลองต่อปี มีทั้งงานวิจัยและงานบริการทดสอบจากภาครัฐและเอกชน มีปริมาณสัตว์ทดลองที่นำเข้ามาเลี้ยงดูแลในอาคารแห่งนี้ไม่น้อยกว่า 3,000 ตัวต่อปี โดยที่ตัวอย่างที่ส่งมาทดสอบจะเป็นทั้งสารสกัดจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์สุขภาพและผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ต่างๆ ขณะนี้ ศนส. ได้ดำเนินการยกระดับมาตรฐานด้านการเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

เพิ่มความมั่นใจในผลการทดลองที่มีการดำเนินการต่อสัตว์ว่ามีความน่าเชื่อถือ โดยยื่นขอรับรองมาตรฐาน AAALAC International ของอาคารเภสัชวิทยาและพิษวิทยา (อาคารสัตว์ทดลอง) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2561 และคณะผู้ตรวจประเมินจาก AAALAC International ได้มาตรวจเยี่ยมอาคาร เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2561 โดยคณะผู้ตรวจเยี่ยมสรุปว่า ไม่พบข้อบกพร่องที่สำคัญที่ขัดกับมาตรฐานงานเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลองขององค์กร รวมทั้งได้ให้ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนางานเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลองของอาคาร ซึ่งคณะทำงานได้ดำเนินการต่างๆ ตามข้อเสนอแนะ ภายในเวลาที่กำหนด

“…ผลจากการประชุมคณะกรรมการบริหาร AAALAC International ได้มีมติเห็นชอบให้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับการรับรองจาก AAALAC International ในระดับ Full Accreditation เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของหน่วยงานใหม่ที่ยื่นขอการรับรอง และนับเป็นหน่วยงานแรกในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและเป็นหน่วยงานลำดับที่ 9 ของประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานนี้…ผู้ว่าการ วว. กล่าวเพิ่มเติม

นางศิรินันท์ ทับทิมเทศ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ศนส.) ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ศนส. พร้อมให้บริการวิเคราะห์ทดสอบดังกล่าวแก่ผู้ประกอบการในด้านทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยในสัตว์ทดลอง ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร เสริมอาหาร ยา วัสดุทางการแพทย์และเครื่องมือแพทย์ สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจะหลีกเลี่ยงการทดสอบในสัตว์ทดลอง แต่ วว. ได้พัฒนาวิธีทดสอบทางเลือกโดยใช้เซลล์ เช่น การทดสอบการแพ้และการระคายเคืองของผลิตภัณฑ์ต่อผิวหนัง ซึ่งผลการวิเคราะห์ทดสอบจาก วว. นั้น ผู้ประกอบการสามารถนำผลการวิเคราะห์ทดสอบ ไปประกอบการยื่นขอจดทะเบียนกับ อย. ได้ เนื่องจาก วว. เป็นหน่วยงานที่ อย. ให้การยอมรับ ในด้านการวิเคราะห์ทดสอบดังกล่าว

นอกจากนี้ ศนส.กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการยกระดับห้องปฏิบัติการให้ได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และ OECD GLP คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณ ปี 2562 นับเป็นการเพิ่มคุณภาพของผลิตภัณฑ์ด้วยมาตรฐานการทดสอบที่มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือและตรวจสอบได้ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปประกอบการขึ้นทะเบียน ทั้งนี้ หากประเทศไทยมีห้องปฏิบัติการทดสอบความปลอดภัยที่ได้รับการรับรองตามหลัก OECD GLP นั้นจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมและลดค่าใช้จ่ายในการส่งผลิตภัณฑ์ไปทดสอบยังต่างประเทศ ช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์ฯ แบบเบ็ดเสร็จครบวงจร เสริมสร้างขีดความสามารถผู้ประกอบการ แข่งขันได้ในตลาดในประเทศและต่างประเทศ

อนึ่ง AAALAC International (The Association for Assessment and Accreditation of Laboratory Animal Care International) มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นองค์กรที่สนับสนุนการปฏิบัติต่อสัตว์ทดลองเพื่อใช้ในงานด้านวิทยาศาสตร์อย่างมีจริยธรรมและให้การรับรองมาตรฐานแก่องค์กร สถาบันหรือสถานศึกษาต่างๆ ที่ตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างมาตรฐานงานเลี้ยงและการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์และการพัฒนาบุคลากรอย่างมีแบบแผนและต่อเนื่อง ในการใช้สัตว์ทดลองเพื่อการวิจัย การสอนหรือการทดลองต่างๆ ซึ่งการได้รับการประกันคุณภาพเป็นตัวชี้วัดว่า องค์กรนั้นมีการดูแลและใช้สัตว์ทดลองอย่างถูกต้อง​ ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับทั่วโลก อีกทั้งยังเพิ่มความเชื่อมั่นได้ว่า ผลงานค้นคว้าทดลองต่างๆ ขององค์กรนั้นมีความถูกต้อง มีคุณภาพและเชื่อถือได้

หลังสยายปีกทั่วประเทศในปีที่ผ่านมา พร้อมงัดกลยุทธ์สู้มาตรการกีดกันทางการค้า เชื่อ ปี 62 รุนแรงทั่วโลก

ดร. อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ซีอีโอเมืองนวัตกรรมอาหาร หรือ ฟู้ดอินโนโพลิส กล่าวว่า ในปี 2561 ที่ผ่านมา เมืองนวัตกรรมอาหารได้ดำเนินการในหลากหลายด้าน เพื่อสนับสนุนให้เกิดการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารในทุกขนาด ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ในรูปแบบการให้บริการ One stop service เพื่อให้ผู้ประกอบการอาหารของไทยเข้าถึงแหล่งทรัพยากร บุคลากรการวิจัย การบริการ แหล่งเงินทุน สิทธิประโยชน์ รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของหน่วยงานภาครัฐ และภาคมหาวิทยาลัย เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารนวัตกรรมอาหารออกสู่ตลาดได้รวดเร็ว มีคุณภาพตามมาตรฐาน และตรงกับความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารอีกด้วย โดยในปี 2561 เมืองนวัตกรรมอาหารได้ให้บริการผู้ประกอบการไปแล้วกว่า 100 บริษัท

นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาแพลตฟอร์มที่จำเป็นต่อการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมที่จำเป็น อาทิ การพัฒนาความเชี่ยวชาญทางด้านกลิ่นรส และประสาทสัมผัส การลงทุนในโรงงานต้นแบบแปรรูปอาหาร เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการในการพัฒนาต้นแบบ และผลิตผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับการทดสอบตลาด และการจำหน่าย การลงทุนเครื่องมือ อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ด้านบริการการวิเคราะห์ทดสอบ รวมทั้งได้จัดเตรียมพื้นที่สำหรับโครงการ Future Food Lab เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดเล็ก และขนาดกลาง ได้มีโอกาสทำวิจัย พัฒนาและนวัตกรรม ในพื้นที่เมืองนวัตกรรมอาหารโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภายใต้การดูแลและให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร นำโดย ผศ.ดร.บัณฑิต อินณวงศ์ ซึ่งท่านเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับผู้ประกอบการมายาวนาน โดยในปีนี้มีบริษัทเข้าร่วมโครงการและเข้ามาทำวิจัยใน Future Food Lab แล้วเกือบเต็มพื้นที่

ขณะเดียวกันก็ได้จัดกิจกรรมอบรม สัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ และเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างๆ อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี จากวิทยากร นักวิชาการระดับแนวหน้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้รับความรู้ ข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัย เทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งรู้จักเครื่องมือต่างๆ ที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อการวิจัย พัฒนาและการสร้างนวัตกรรมใหม่ เช่น การจัดสัมมนา Cutting Edge Technology ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่มุ่งเน้นการนำเสนอข้อมูล เทคโนโลยีที่ทันสมัยในอุตสาหกรรมอาหาร

การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการทางด้านกลิ่นรส ร่วมกับ 6 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยนเรศวร และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการ และผู้สนใจอย่างมาก และที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เมืองนวัตกรรมอาหารได้จัดให้มีการประชุมวิชาการนานาชาติ Food Innopolis International Symposium 2018 ขึ้นเป็นปีแรก โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรระดับแนวหน้าจากสถาบันด้านอาหาร และอุตสาหกรรมอาหารของโลก จากประเทศต่างๆ รวม 15 ประเทศ ในการประชุมดังกล่าวได้พูดถึงแนวโน้มนวัตกรรมอาหารโลกในหลากหลายแง่มุม รวมถึงเทคโนโลยี หรือความต้องการด้านอาหารในอนาคต ซึ่งในการประชุมวิทยากรจากแต่ละภูมิภาคทั่วโลก ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และมุมมองของแต่ละประเทศที่มีจุดแข็งที่แตกต่างกัน

ดร. อัครวิทย์ กล่าวด้วยว่า เมืองนวัตกรรมอาหารให้ความสำคัญต่อการพัฒนาผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ และผู้ประกอบการวิสาหกิจด้านนวัตกรรมอาหาร จึงได้จัดให้มีโครงการสนับสนุน และส่งเสริมในหลากหลายรูปแบบ เช่น การประกวดนวัตกรรมด้านอาหาร (Food Innovation Contest) ร่วมกับบริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มนิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาได้แสดงออกด้านความรู้ ความสามารถทางวิชาการ มาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหารที่ตอบโจทย์ความต้องการของ

ผู้บริโภค และความต้องการของตลาดในปัจจุบัน และอนาคต การจัดอบรมหลักสูตร PADTHAI ร่วมกับวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้กับผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร เพื่อพัฒนารูปแบบธุรกิจเดิมโดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการขยายตัวของธุรกิจ การจัดการแข่งขัน IDE Competitions 2018 ร่วมกับศูนย์การสร้างผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนโดยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในการประกวดแผนธุรกิจในการแข่งขัน MIT Enterprise Forum ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจากทีมในเครือข่ายของเมืองนวัตกรรมอาหาร ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2 และ 3 จากประเทศสหรัฐอเมริกา

สำหรับการขยายเครือข่ายการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนนั้น ดร. อัครวิทย์ กล่าวว่า เมืองนวัตกรรมอาหารให้ความสำคัญมาก ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกันในอนาคต เช่น การจัดสัมมนา “The Power of Packaging” และการเยี่ยมชมบริษัท ทีพีบีไอ จำกัด (มหาชน) การสร้างแบรนด์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมเยี่ยมชมหน่วยงานภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัยในเครือข่ายของเมืองนวัตกรรม พร้อมกันนี้ก็ได้ขยายเครือข่ายไปยังต่างประเทศด้วย โดยปีที่ผ่านมาได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานวิจัย มหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ จากหลายประเทศทั่วโลก เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ

และการสร้างระบบนิเวศน์การวิจัยในประเทศไทย เช่น การทำบันทึกความร่วมมือกับหน่วยงาน Future Food Institutes ประเทศอิตาลี เพื่อเสริมสร้างการพัฒนานวัตกรรมทางด้านอาหาร ภายใต้โครงการ Food Innovation Global Mission ซึ่งทำให้ประเทศไทยได้รับเลือกเป็น 1 ใน 10 ประเทศในปีนี้ ที่นักศึกษาภายใต้โครงการฯ เดินทางมาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ความรู้ จากประเทศไทย เพื่อพัฒนานวัตกรรมอาหาร รวมทั้งมีการจัดทำสื่อเผยแพร่ ที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในระดับโลก และเป็นการตอกย้ำความเป็นศูนย์กลาง นวัตกรรมอาหารของโลกอีกทางหนึ่ง ความร่วมมือกับหน่วยงานโตเกียวเอส เอ็ม อี ประจำประเทศไทย และหน่วยงานโตเกียวเอส เอ็ม อี ประเทศญี่ปุ่น โดยได้จัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันมากมาย

ซีอีโอเมืองนวัตกรรมอาหาร กล่าวว่า เมืองนวัตกรรมอาหารเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2559 และได้บูรณาการความร่วมมือ ขยายเครือข่าย เพื่อให้เกิดนวัตกรรมอาหารขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารของประเทศ ในปี 2561 โดยได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน มหาวิทยาลัย สถาบันอาหารชั้นนำของโลก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และได้ประกาศโครงการเมืองนวัตกรรมอาหารส่วนขยาย ในส่วนภูมิภาคอีก 15 แห่ง และได้จัดกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

“ปี 2561 ถือเป็นปีทองของเมืองนวัตกรรมอาหาร เพราะผลงานที่ได้ดำเนินงานมาตลอดทั้งปีเป็นไปตามเป้าหมาย และมีหลายเรื่องที่สำเร็จเกินกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งๆ ที่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน ซึ่งหากได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่แล้วคาดว่าจะสามารถสร้างผลงานได้มากยิ่งขึ้น ส่วนทิศทางในอนาคตนั้น ก็มองว่า แนวโน้มของความต้องการอาหารของโลก และพฤติกรรมผู้บริโภค ตลอดจนมาตรฐานและข้อกำหนดต่างๆ จะมีความเข้มงวดมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร

จำเป็นต้องมีการปรับตัว และรู้เท่าทันสถานการณ์ความต้องการอาหารโลก และการนำเอาเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน มาปรับใช้เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะได้รับผลกระทบจากการกีดกันทางการค้า หรือการไม่ยอมรับของผู้บริโภค ในส่วนของเมืองนวัตกรรมอาหารเองมุ่งเน้นการพัฒนาเครือข่ายฯ ส่วนขยายทั้งหมดให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินการ และการสร้างความร่วมมือระหว่างเครือข่ายฯ ทั้งในและต่างประเทศ พัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารในทุกระดับ ตลอดจนการกำหนดทิศทางและนโยบายการพัฒนาเมืองนวัตกรรมอาหารในระยะกลางและระยะยาว” ดร. อัครวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย

นางดาเรศร์ กิตติโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากการติดตามนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ตรวจราชการที่จังหวัดนนทบุรีเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า จังหวัดนนทบุรีถือเป็นจังหวัดที่มีความอุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่ง ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มและมีคูคลองน้ำเป็นจำนวนมาก ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากการขุดขึ้นมาใหม่ จึงเหมาะแก่การปลูกพืชและทำสวนผลไม้ เกษตรกรมีจุดเด่นและความพร้อมในการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างจุดสนใจและอนุรักษ์พืชพื้นถิ่นในการเพิ่มมูลค่าสินค้า ปัจจุบันมีพืชที่เป็นสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์และขึ้นทะเบียน GI (Geographical Indication) ทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มะม่วงยายกล่ำ และกระท้อนห่อบางกร่าง โดย GI เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงแหล่งผลิตเฉพาะเจาะจงในพื้นที่การเพาะปลูก จึงเปรียบเสมือนเป็นแบรนด์ประจำท้องถิ่นที่บ่งบอกถึงคุณภาพและแหล่งที่มาของสินค้า

กรมส่งเสริมการเกษตรเล็งเห็นว่าการขึ้นทะเบียนสินค้า GI ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าการเกษตร และเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับสินค้าได้ ทำให้เกิดความมั่นใจในการเลือกซื้อสินค้าเกษตรเพื่อการบริโภค นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด โดยการเพิ่มมูลค่าสินค้าให้กับชุมชน สร้างรายได้และความสามัคคีให้เกิดขึ้น ทำให้คนในชุมชนไม่ต้องเดินทางออกไปทำงานต่างถิ่น รวมถึงพัฒนาพื้นที่ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเกษตรในการเยี่ยมชมการผลิตสินค้า GI ช่วยสร้างโอกาส สร้างจุดแข็งให้แบรนด์ในชุมชน

สำหรับแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตร GI มี 2 แนวทาง คือ 1. ส่งเสริมการขึ้นทะเบียนสินค้าเกษตร GI กับเกษตรกร โดยขยายพื้นที่การปลูกพืช GI ที่มีกระแสตอบรับจากผู้บริโภคเพิ่มขึ้น รวมทั้งอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นถิ่นที่มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์และภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร และ 2. ส่งเสริมการตลาด โดยสร้างโอกาส/จัดพื้นที่ เพิ่มช่องทางการขายสินค้า GI ในโมเดิร์นเทรด และศูนย์การค้าชั้นนำ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การจำหน่ายสินค้าของเกษตรกร

ทั้งนี้ กรมได้ให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรในการให้ความสำคัญ เรื่องการพัฒนาต่อยอดและขยายสินค้าเกษตร GI เพื่ออนุรักษ์พืชท้องถิ่นที่มีความโดดเด่น โดยเฉพาะ “ทุเรียนเมืองนนท์” ที่มีคุณภาพดี รสชาติหวานอร่อย มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จัก และมีมูลค่าทางการตลาดสูง โดยปัจจุบันมีพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนทั้งหมด 2,899 ไร่ รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร และเผยแพร่ข้อมูลของสินค้า GI ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคเห็นความสำคัญและเลือกซื้อสินค้าที่ได้มาตรฐาน ช่วยเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรต่อไป

ธุรกิจผู้นำเข้าส่งออกผักผลไม้ โอดถูกทุนจีนบุก ทยอยเช่าแผงตลาดไทขายแข่ง ตัดราคาแหลก ทำยอดลดวูบ “ไชยเฟื่องฟู เทรดดิ้ง” ดิ้นปรับตัว ตัดแต่ง-แปรรูป ผัก เจาะตลาดบีทูบี รับออเดอร์ก้อนใหญ่ป้อนบริษัทในเครือ ซี.พี.-เบทาโกร

นายใช้ ชุน ฝาน ประธานกรรมการ บริษัท ไชยเฟื่องฟู เทรดดิ้ง จำกัด ผู้นำเข้า-ส่งออก และตัดแต่ง แปรรูปผัก-ผลไม้ จ.ปทุมธานี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันตลาดนำเข้าผักและผลไม้ เป็นตลาดที่มีการแข่งขันค่อนข้างสูง โดยเฉพาะการแข่งขันของผู้ประกอบการชาวจีนที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา มีนักธุรกิจจีนนำเข้าผักและผลไม้จากจีนมาขายในไทย เช่น ตลาดไท ที่ตอนนี้มีเป็นจำนวนมาก

“เมื่อก่อนชาวจีนจะทำธุรกิจผ่านผู้ประกอบการไทย ที่เป็นผู้นำเข้าจากจีน แต่ตอนนี้เขามาทำเอง เช่าแผง จ้างลูกน้อง สร้างห้องเย็นเอง ปัจจุบัน คาดว่าจะมีไม่ต่ำกว่า 100 ราย ส่วนใหญ่ใช้วิธีการตัดราคา และการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกสบาย การขนส่งสินค้าใช้เวลาสั้นลง ทำให้ผู้ประกอบการไทยค่อนข้างเหนื่อยและมียอดขายที่ลดลง และต้องปรับตัวมาอย่างต่อเนื่อง”

นายใช้ กล่าวว่า ที่ผ่านมาบริษัททยอยปรับตัวเป็นระยะๆ นอกจากเน้นการนำเข้า-ส่งออก ได้ขยายธุรกิจด้วยการให้บริการตกแต่งแปรรูปผักและผลไม้ ซึ่งมีการลงทุนการผลิตเพื่อให้สินค้ามีมาตรฐานตามที่ลูกค้าต้องการ เช่น มาตรฐาน GMP HACCP หรือ ISO สินค้าที่บริษัทแปรรูป อาทิ กระเทียม เมื่อก่อนขายเป็นถุง ปอก แต่ตอนนี้จะทำเป็นการขูดและแช่แข็ง หรือการแพ็ก-แปรรูป กระเทียม หอม แครอต ขิง พริกแห้ง เป็นต้น

“ตอนนี้เรามีการพัฒนาโปรดักต์ เช่น พริก กระเทียม พริกแห้ง มีคัดแยกแพ็กทำให้สวยงาม มีการอบแห้ง เช่น ตะไคร้อบแห้ง ใบมะกรูดอบแห้ง และมีแผนจะทำเป็นผง โดยมีแผนขยายโรงงานไป อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เนื้อที่ 24 ไร่ แต่ทั้งนี้ยังอยู่ระหว่างพิจารณาในรายละเอียดของการลงทุน”

นายใช้ ย้ำว่า ลูกค้าเป้าหมายจะเป็น B2B (business to business) เป็นโรงงานผลิตอาหารขนาดใหญ่ ทั้งสั่งซื้อประจำและตามออเดอร์ เช่น บริษัทในเครือ ซี.พี.และเ บทาโกร รวมถึงโมเดิร์นเทรดต่างๆ เช่น บิ๊กซี, เทสโก้ โลตัส, แม็คโคร, สยามพารากอน โดยปัจจุบันบริษัทมีโรงงานแปรรูป 1 แห่ง และมีพาร์ตเนอร์มากกว่า 10 แห่ง ในจังหวัดต่างๆ ที่เป็นแหล่งวัตถุดิบ เช่น เชียงราย สับปะรด เชียงใหม่ ลำไย เป็นต้น

โดยวัตถุดิบที่นำมาตัดแต่งและแปรรูป ส่วนใหญ่ซื้อตามฤดูกาลจากแหล่งผลิตสำคัญในประเทศ ได้แก่ สับปะรดภูแล จ.เชียงราย, ลำไย จ.ลำพูน, ลองกอง จ.จันทบุรี, กระเทียม จ.ศรีสะเกษ และเชียงใหม่, หอมใหญ่ จ.นครสวรรค์ กาญจนบุรี และเชียงใหม่ ทุเรียน จ.จันทบุรี ชุมพร และสุราษฎร์ธานี รวมถึงนำเข้าผักจากต่างประเทศ และกว่า 80% นำเข้าจากจีน เช่น กวางตุ้ง ปวยเล้ง แครอต หอมใหญ่ และอีก 20% มาจากประเทศอื่น ได้แก่ อินเดีย เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ขณะที่ผลไม้นำเข้าหลักๆ มาจากจีนประมาณ 70% และอีก 30% จากประเทศอื่น เช่น อเมริกา เปรู เป็นต้น

นายใช้ กล่าวต่อไปว่า ส่วนการส่งออกที่ยังทำอยู่หลักๆ จะเป็นผัก ผลไม้ และเครื่องเทศ ส่วนผลไม้จะเน้นตามฤดูกาล โดยเฉพาะทุเรียน ลำไย มะม่วง กล้วยไข่ ที่ทำทั้งผลไม้สดและแปรรูป เช่น ทุเรียนกรอบ ทุเรียนฟรีซดราย ลำไยแช่แข็ง ลำไยอบแห้ง เป็นต้น ตลาดหลักๆ มีฮ่องกง จีน เวียดนาม ปัจจุบัน บริษัทมีสัดส่วนธุรกิจนำเข้าส่งออก และแปรรูปผัก-ผลไม้ ประมาณร้อยละ 50/50