สำหรับกิจกรรมร้านค้าสหกรณ์ โรงเรียนวังไกลกังวลได้ดำเนินการ

ร้านค้าสหกรณ์อย่างเป็นทางการ เมื่อปีพ.ศ.2558 โดยทางศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 16 จังหวัดเพชรบุรีได้เข้ามาแนะนำเกี่ยวกับระบบการจัดการร้านค้าในรูปแบบสหกรณ์ เพราะว่าร้านสหกรณ์แห่งนี้เปิดขึ้นมาจากแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงรับสั่งให้ดำเนินการจัดตั้งร้านค้าสหกรณ์ขึ้นในโรงเรียนและดำเนินการในถูกต้องตามรูปแบบร้านค้าสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเข้ามาปรับปรุงร้านค้า จัดทำป้ายภายในร้าน และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่จากศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 16 ทำหน้าที่เป็น พี่เลี้ยง เข้ามาดูแลกิจการร้านค้าสหกรณ์ของโรงเรียนวังไกลกังวลอย่างเต็มรูปแบบ

ผลจาการพัฒนาการดำเนินการร้านค้าสหกรณ์ของโรงเรียนวังไกลกังวลในปีที่ผ่านมา มีกำไรจำนวน 300,000 กว่าบาท เนื่องจากเด็กนักเรียนให้ความสนใจสมัครเข้าเป็นสมาชิกร้านสหกรณ์ของโรงเรียน โดยทางโรงเรียนจะเน้นในเรื่องการปฏิบัติ จะสอนให้รู้จักความพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อหรือฟุ่มเฟือย โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต กิจกรรมต่อจากนี้คือจะมีการเปิดสอนอาชีพเสริมให้กับนักเรียน เช่น การทำผ้าบาติก การปลูกผักอินทรีย์ การทำเกษตรกรรมและการเลี้ยงไก่ เป็นต้น เนื่องจากต้องการให้เด็กได้มีแนวทางในการทำอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ ในกรณีที่บางคนไม่มีโอกาสได้เรียนต่อ ก็ยังสามารถหาเลี้ยงตนเอง ช่วยเหลือครอบครัว สามารถประกอบอาชีพได้ และมีความรู้ในการประกอบอาชีพให้กับตนเอง เพื่อมีรายได้ในการยังชีพ และยังเปิดโอกาสให้นักเรียนนำสินค้าและผลผลิตจากการฝึกทำอาชีพเสริมมาวางขายในร้านค้าสหกรณ์ของโรงเรียนด้วย

กรมส่งเสริมสหกรณ์คาดหวังว่า “โรงเรียนวังไกลกังวล” เป็นโมเดลต้นแบบของการเสริมสร้างการเรียนรู้วิชาสหกรณ์ให้กับนักเรียน เพื่อให้เด็กนักเรียนได้เรียนรู้ และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างเข้มแข็งด้วยแนวทางสหกรณ์ เป็นการเริ่มต้นสังคมเล็กๆ ในโรงเรียน ที่นำวิชาสหกรณ์มาเสริมสร้างพฤติกรรมและลักษณะนิสัยที่ดีให้กับเยาวชนเพื่อที่จะเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่และรับผิดชอบต่อสังคม เพราะหลักการของสหกรณ์เป็นประชาธิปไตยขั้นพื้นฐาน ที่ทุกคนต้องรู้จักการทำงานร่วมกัน คิดวางแผนร่วมกัน เพื่อประโยชน์ของสมาชิก ต้องมีความอดทน เสียสละและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ซึ่งกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียนยังเป็นกระบวนการที่ช่วยเสริมสร้างความสามัคคีของนักเรียนให้งอกงามและแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นด้วย

ผศ.ดร.พรทิพย์ ไววุฒิ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เปิดเผยถึงการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการแพทย์ธรรมชาติ : จากภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่งานวิจัยระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า การแพทย์พื้นบ้านไทยเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาแต่ดั้งเดิมเพื่อใช้ดูแลรักษาตนเอง โดยได้มาจากการสังเกต ทดลองใช้ เก็บสะสม และประสบการณ์ที่ถ่ายทอดจากคนรุ่นก่อนสู่คนรุ่นหลังอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นรากฐานการดูแลสุขภาพด้วยตนเองที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่ รูปแบบการรักษามีรูปแบบต่างๆ รวมถึงการใช้พิธีกรรมเพื่อช่วยด้านจิตใจ

ผู้ช่วยอธิการบดี ม.อุบลราชธานี กล่าวอีกว่า การรักษาด้วยการแพทย์พื้นบ้านและยาสมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่งที่นิยมแพร่หลายมาช้านาน ได้ถูกพัฒนาและสั่งสมจนเป็นแนวคิดและทฤษฎีภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นที่ยอมรับในแง่ป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ยาสมุนไพรยังมีราคาไม่แพง เหมาะสำหรับเป็นทางเลือกของประชาชน ทั้งนี้ ยาที่ได้รับจากธรรมชาติ ไม่ว่าจากพืช สัตว์ หรือองค์ประกอบอื่นจากธรรมชาติ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาผ่านงานวิจัยหลายสาขา จากหลายประเทศ ทำให้ได้ยาสมุนไพรที่ใช้ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการแพทย์ธรรมชาติดังกล่าวในปัจจุบันอาจมีความแตกต่างกันบ้างในแต่ละภูมิภาคของโลก

“ม.อุบลราชธานีจึงร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมจัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการแพทย์ธรรมชาติ : จากภูมิปัญญาพื้นบ้านสู่งานวิจัยระดับนานาชาติ ในครั้งนี้ขึ้น วัตถุประสงค์เป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็นของนักวิจัยที่ศึกษาด้านการแพทย์ธรรมชาติ ซึ่งนับว่าเป็นความสำเร็จอีกก้าวในการจัดการประชุมวิชาการนานาชาติของมหาวิทยาลัย บูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย และความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในเวทีระดับนานาชาติ ในการแลกเปลี่ยนความรู้สร้างเครือข่ายนักวิจัยการทำงานร่วมกัน นำไปสู่การพัฒนาผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติต่อไป” ผู้ช่วยอธิการบดี ม.อุบลราชธานี กล่าว

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดผลศึกษาศักยภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรระหว่างไทยกับภูมิภาคอาเซียน เจาะแนวทาง 3 ตลาดคู่ค้าสำคัญ มาเลเซีย สิงคโปร์ และเมียนมา เล็งช่องรุกโอกาสสินค้าเกษตร ระบุ ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา ไทยยังเจ๋ง ได้เปรียบดุลการค้ากับอาเซียนมาโดยตลอด

นางสาวจริยา สุทธิไชยา เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากที่สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) ได้ครบรอบการก่อตั้ง 50 ปี เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา

ปัจจุบันอาเซียนมีความแข็งแกร่ง จนทั่วโลกต้องจับตามอง โดยมูลค่าการค้าระหว่างกันขยายตัวมาโดยตลอด สัดส่วนการค้าของไทยกับอาเซียนขยายตัวมากขึ้นจากร้อยละ 20 ในปี 2550 เพิ่มเป็นร้อยละ 22 ในปี 2559 และไทยเกินดุลการค้ากับอาเซียนมาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม สมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา มีสภาพภูมิศาสตร์ที่ใกล้เคียงกัน ผลิตผลทางการเกษตรส่วนใหญ่เป็นชนิดเดียวกัน จึงนับเป็นคู่แข่งทางการค้ากันด้วย

สศก. ได้เล็งเห็นความสำคัญแนวทางการพัฒนาและอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างกัน จึงได้ศึกษาถึงศักยภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรระหว่างไทยและภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเน้นการบริหารจัดการสินค้าไทยกับมาเลเซีย สิงคโปร์ และเมียนมา พบผลการศึกษาที่น่าสนใจในประเด็นต่างๆ ดังนี้

การบริหารจัดการสินค้าเกษตรระหว่างไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ จากปี 2559 ด้านสภาพเส้นทางการขนส่งมีความสะดวกสามารถขนส่งทางรถบรรทุกจากด่านสะเดา จังหวัดสงขลา ถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ใช้เวลาประมาณ 8 ชั่วโมง และถึงสิงคโปร์ ใช้เวลาประมาณ 14 ชั่วโมง โดยเส้นทาง AH2 ด่านสะเดา กัวลาลัมเปอร์ ยะโฮบารู สิงคโปร์ เป็นเส้นทางที่มีศักยภาพในการขนส่งสินค้าเนื่องจากมีความพร้อมทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน และท่าเรือที่สำคัญ ได้แก่ ท่าเรือปีนัง และสามารถขนส่งสินค้าไปยังสิงคโปร์ได้ ทั้งนี้ สินค้าเกษตรนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ ผัก ผลไม้สด สินค้าประมง ส่วนสินค้าส่งออกได้แก่ ยางพารา
การบริหารจัดการสินค้าเกษตรระหว่างไทย สหภาพเมียนมา การค้าสินค้าเกษตรส่วนใหญ่เป็น การนำเข้าสินค้าเกษตรที่ไทยขาดแคลนเพื่อใช้บริโภคภายในประเทศ และเป็นวัตถุดิบในการแปรรูป เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วต่างๆ อาหารทะเล สัตว์มีชีวิต สำหรับสินค้าที่ไทยส่งออกไปยังเมียนมาส่วนใหญ่เป็นอาหารแปรรูป เช่น อาหารกระป๋อง อาหารกึ่งสำเร็จรูป เครื่องดื่มน้ำอัดลม เป็นต้น มีด่านสินค้าที่สำคัญ คือ
1) ด่านระนอง เกาะสอง มะริด ทวาย ด่านบ้านพุน้ำร้อน จ.กาญจนบุรี เป็นจุดสำคัญในการนำเข้าสินค้าประมงจากทางเมียนมา รวมถึงนำเข้าปลาป่นเพื่อนำมาทำอาหารสัตว์

2) ด่านแม่สอด เมาะละแหม่ง ย่างกุ้ง เป็นจุดที่สำคัญในการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ ได้แก่ โคมีชีวิต สินค้าพืช เช่น ถั่วต่าง ๆ พริก หอมใหญ่ รวมถึงสินค้าประมงทะเลสดที่รวบรวมจากท่าเรือย่างกุ้ง เช่น กุ้ง ปู ปลา สินค้าออกที่สำคัญ ได้แก่ น้ำตาล ข้าว น้ำมันพืช สินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น

3) ด่านแม่สอด พะโค มัณฑะเลย์ ตามู เป็นเส้นทางที่เริ่มต้นจากแม่สอดมาแยกตรงพะโค ขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมียนมา เป็นเส้นทางซุปเปอร์ไฮเวย์ลาดยางแปดช่องจราจร ผ่านเมืองหลวงเนปิดอร์ สิ้นสุดที่มัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้าที่สำคัญทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมทั้งสินค้าเกษตรส่งออกและนำเข้าจากต่างประเทศ เช่น ไทย จีน อินเดีย ส่งต่อทางเรือไปยังย่างกุ้ง

จากการศึกษาทั้ง 3 ประเทศ มีกฎระเบียบ และแนวทางการบริหารจัดการที่สำคัญ ดังนี้ มาเลเซีย ดำเนินการโดย Federal Agricultural Marketing Authority (FAMA) ทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาด้านการตลาดสินค้าเกษตรเพื่อการนำเข้าและการส่งออก มีระเบียบการส่งออกและนำเข้าผลไม้สด ผักสด และไม้ตัดดอก ที่บังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 รวม 3 ขั้นตอน คือ การคัดแยกเกรด (Grading) การบรรจุสินค้า (Packaging) และการติดฉลาก (Labeling) ซึ่งตรวจสอบสินค้าโดยเจ้าหน้าที่ของ FAMA ตามจุดชายแดน, ด่านศุลกากร และท่าเรือขนส่งสินค้า ซึ่งหากสินค้าไม่ผ่านการตรวจสอบ ผู้ประกอบการจะต้องนำสินค้ากลับภายในเวลาที่กำหนด และหากไม่มีผู้ใดรับผิดชอบ เจ้าหน้าที่ของ FAMA สามารถทำลายหรือดำเนินการใดๆ กับสินค้าดังกล่าวได้ หากไม่ปฏิบัติตามระเบียบฯ มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 ริงกิต หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ

สิงคโปร์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีประกาศ เรื่อง กำหนดพืชควบคุมเฉพาะ พ.ศ. 2556 การส่งออกพืช ได้แก่ พริก ขิง ถั่วฝักยาว คะน้า กวางตุ้ง หน่อไม้ฝรั่ง ผักชีไทย กระเจี๊ยบเขียว ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ มังคุด ส้มโอ มะม่วง ไปยังสิงคโปร์ จะต้องผ่านการตรวจสอบเชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด ต้องแนบใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) ไปกับสินค้า

สหภาพเมียนมา กำหนดจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศ อัตราร้อยละ 30 เก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้สำหรับบุคคลที่ทำงานกับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยเมียนมา ไม่มีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่จัดเก็บภาษีการค้าอัตราร้อยละ 5 – 10 และไม่มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต พร้อมดำเนินนโยบายปฏิรูปภาคการเงิน โดยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ต่างชาติเข้ามาตั้งสำนักงานตัวแทนและเปิดให้บริการอย่างเสรี

เมียนมา มีนโยบายที่สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของภาคเกษตร โดยสนใจความร่วมมือการลงทุนเรื่องการเกษตรทุกรูปแบบ ได้แก่ ข้าว อ้อย/น้ำตาล ปลา/อาหารทะเล ผลไม้(มะม่วง กล้วย) โคนม/โคเนื้อ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ยังผลิตสินค้าเกษตรแบบใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เทคโนโลยีการผลิตในระดับต่ำ ยังใช้แรงงานคนและสัตว์เป็นหลัก ซึ่งขณะนี้มีการกำหนดเขต Zoning ส่งเสริมการทำการเกษตร ตามความเหมาะสมของศักยภาพพื้นที่ ภายใต้การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการเกษตร 5 ปี ของเมียนมา โดยได้กำหนดเขตการจัดการพื้นที่ ออกเป็น เขตการทำเกษตรกรรม เขตการทำปศุสัตว์ เขตการทำประมง และเขตการทำป่าไม้

ทั้งนี้ เมียนมา มีความต้องการให้เกิดความร่วมมือด้านการเกษตรในด้าน Improvement, Transfer Technology และ Processing Development สินค้าเกษตรสำคัญที่ต้องการพัฒนาในลำดับแรก คือ สินค้าข้าว โดยเฉพาะในด้านการตลาด และการร่วมลงทุนโรงสี และโคนม ที่ต้องการส่งเสริมการลงทุนผลิตน้ำนม อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ เมียนมาได้เริ่มจัดทำ Cattle Zoning บริเวณรัฐฉาน และเอยะวดี เพื่อเชื่อมโยงกับการทำ Contract Farming กับบริษัทการเกษตรของไทย และมีความร่วมมือกับต่างประเทศ ในด้านปศุสัตว์ ในโครงการความร่วมมือภายใต้กรอบ ACMECS, JICA, FAO, IFAD ส่วนด้านประมง มีการร่วมลงทุนกับประเทศเวียดนาม ไทย ฮ่องกง สหภาพยุโรป และเนเธอร์แลนด์ ในด้านสินค้าพืชมีโครงการความร่วมมือกับ FAO, CABI และเกาหลีใต้

3 สมาคมค้ามันสำปะหลังเตรียมลงนามเอ็มโอยูร่วมมือไม่ขายมันเส้นส่งออกตัดราคากัน ต้นเหตุทำชาวไร่มันถูกกดราคา พบรายใดผิดข้อตกลงขับออกจากสมาชิกสมาคม หมดสิทธิส่งออกมันไปต่างประเทศ จี้ พณ.แก้ลักลอบนำเข้ามันเส้นจากประเทศเพื่อนบ้าน
นายบุญชัย ศรีชัยยงพานิช นายกสมาคมผู้ค้า มันสำปะหลังไทย เปิดเผยว่า ภายหลังหารือร่วมกับกรมการค้าต่างประเทศ เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา สมาคม ผู้ค้ามันสำปะหลัง 3 สมาคม ประกอบด้วย สมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย ภาคตะวันออก และสมาคมผู้ค้ามันสำปะหลังไทย ตกลงมีมาตรการดูแลไม่ให้ผู้ส่งออกมันเส้นขายตัดราคากัน

โดยกำหนดราคาแนะนำเอฟโอบีทุก 2 สัปดาห์ ไม่ให้ผู้ส่งออกมันเส้นตั้งราคาขายต่ำกว่าทุน โดยปีก่อนพบว่ามีผู้ส่งออกมันเส้นไปขายในตลาดจีน บางรายขายตัดราคากัน และตั้งราคาส่งออกต่ำกว่าต้นทุนของเกษตรกร ทำให้เกษตรกรเดือดร้อนและตลาดส่งออกมันเส้นเสียหาย
ต้นทุนหัวมันสดเฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัมละ 1.90 บาท แต่มี ผู้ส่งออกบางรายไปขายตั้งราคาเอฟโอบีตัดราคา เมื่อทอนเป็นราคาหัวมันสด ที่ซื้อจากเกษตรกร เฉลี่ยในบางพื้นที่ ตกเพียง กิโลกรัมละ 1.30-1.40 บาท ทำให้เกษตรกรขายขาดทุน

ในปีนี้ทางผู้ส่งออกมันเส้นทั้ง 3 สมาคม จะมีการลงนามเอ็มโอยูร่วมมือกันไม่ขายตัดราคา ช่วงที่จะมีประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรที่นครราชสีมา วันที่ 20 สิงหาคมนี้ โดยมี รมว.พาณิชย์ (พณ.) เป็นประธานและสักขีพยาน
ปัจจุบัน มีผู้ส่งออกมันเส้น 30-40 ราย ตลาดส่งออกหลักคือประเทศจีน หากพบมีผู้ส่งออกรายใดไม่ทำตามที่ตกลงกัน ยังขายตัดราคา ทางสมาคมจะมีมาตรการควบคุมกันเอง โดยตั้งคณะอนุญาโตตุลาการมาตรวจสอบ หากพบว่าสมาชิกรายใดทำให้ตลาดบิดเบือนเสียหาย จะใช้มาตรการตักเตือนก่อน หากยังทำซ้ำอีกก็จะให้ออกจากการเป็นสมาชิก และไม่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังได้ และถูกตัดสิทธิการส่งออกไปโดยปริยาย
สมาคมยังให้ภาครัฐเข้มงวดการลักลอบนำเข้ามันเส้นจากประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันไทยผลิตหัวมันสดได้ 30 ล้านตัน ต่อปี พบว่าผู้ประกอบการมันเส้นใช้หัวมันสดเพียง 20% ผลิตมันเส้นในประเทศได้ 2 ล้านตัน ขณะที่ส่งออกมันเส้นถึง 6 ล้านตัน ต่อปี ควรให้โรงงานแป้ง มันสำปะหลังร่วมซื้อหัวมันสดในประเทศในราคาที่ดีขึ้นด้วย

การลักลอบนำเข้ามันเส้นมาจากกัมพูชาประมาณ 1 ล้านตัน ต่อปี มาจากลาวอีก 1 ล้านตัน ต่อปี พะเยา – นายไพรณรงค์ บัวเทศ นักปั่นจักรยานชมรมจักรยานจอมทองไบค์ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เผยว่า กรณีโครงการเส้นทางจักรยานริมกว๊านพะเยาด้านทิศตะวันออก ในเขตพื้นที่ของเทศบาลเมือง (ทม.) พะเยา ที่ประชาชนในพื้นที่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ประชาชนและนักท่องเที่ยว เนื่องจากทำให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่การจราจรลดลง ที่จอดรถน้อยลง ทำให้นัก ท่องเที่ยวหายไปเพราะไม่มีที่จอดรถ และส่งผลกระทบต่อการค้าขายของพ่อค้าแม่ค้าริมกว๊านพะเยาดังกล่าวนั้น

ในฐานะเป็นกลุ่มนักปั่นจักรยานขอตอบในฐานะชาว นักปั่นเลยว่า เส้นทางดังกล่าวไม่ปลอดภัย ไม่น่าปั่น ถึงแม้ว่าทัศนียภาพริมกว๊านพะเยาจะสวยงาม แต่ความปลอดภัยในชีวิตก็สำคัญอย่างยิ่ง
“ดังนั้น ผมเห็นว่าควรคืนพื้นที่เส้นทางจักรยานริมกว๊านพะเยาให้แก่สาธารณะใช้ดังเดิม ทั้งเป็นที่จอดรถยนต์ รถจักรยานยนต์ สามารถจอดได้ดังเดิม บรรเทาความเดือดร้อน และทำให้กว๊านพะเยาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ชวนให้นักท่องเที่ยวมาชมความงดงาม สิ่งใดประชาชนได้รับผลกระทบก็ต้องทบทวน เส้นทางจักรยานริม กว๊านพะเยาเป็นเส้นทางสั้นนักปั่นไม่นิยม ส่วนใหญ่ นักปั่นจะปั่นระยะทางไม่ต่ำกว่า 20 กิโลเมตรขึ้นไป

หลักของการสร้างเส้นทางจักรยาน คือ การทำเป็นเส้นทางเฉพาะให้จักรยานปั่นสะดวกและปลอดภัย โดยพื้นผิวถนนที่มีเส้นทางจักรยานจะต้องไม่ทำให้ลดพื้นที่การจราจรปกติ แต่ควรเป็นการขยายถนนให้มีพื้นที่การจราจรเพิ่มขึ้น แต่ในกรณีที่ไม่มีพื้นที่การจราจรให้ขยายได้ก็ต้องเลือกเส้นทางที่รถน้อย ปลอดภัยสำหรับนักปั่น เส้นทางที่เหมาะสมในเขต อำเภอเมืองพะเยา ที่ปั่นและเห็นว่าปลอดภัยคือ 1. เส้นทางป่าแดง-ห้วยบง และ 2. เส้นทางรอบกว๊านพะเยา ด้านทิศตะวันตก เป็นเส้นทางระยะยาว อีกทั้งรถยนต์ไม่หนาแน่น นักปั่นจักรยานสามารถปั่นได้ปลอดภัย ส่วนเส้นทางอื่นก็ขอใช้เป็นทางร่วมเหมือนปกติ

อุบลราชธานี – นางจำปี มรดก njcarpet-cleaning.com แกนนำชาวบ้านชุมชนเกตุแก้ว อำเภอวารินชำราบ กล่าวว่า ร่วมกลุ่มชาวบ้านเพาะต้นกล้าพืชผักแจกฟรี เนื่องจากในอดีตก็เคยเป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วมมาก่อน จึงเข้าใจว่าขณะถูกน้ำท่วมจะมีหน่วยงานบรรเทาทุกข์นำสิ่งของมาแจกช่วยเหลือ ซึ่งพอประทังกินไปจนกว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะคลี่คลาย แต่หลังน้ำลดลงแล้วปัญหาที่ตามมาก็คือ ชาวบ้านไม่มีอาชีพ เพราะพืชผักเสียหายจากน้ำท่วม บางรายถึงขั้นไม่เหลือเงินซื้อเมล็ดพันธุ์มาเพาะปลูกได้ เพราะน้ำท่วมในเขตจังหวัดอุบลราชธานีแต่ละครั้งจะนาน 1-3 เดือน จึงมาร่วมกันเพาะต้นกล้าไว้เตรียมแจกให้กับชาวบ้านที่มีอาชีพปลูกผัก กลับมาประกอบอาชีพอีกครั้งหลังน้ำลด โดยจะขยายพันธุ์ต้นกล้าให้ได้มากที่สุด เพื่อแจกช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบภัยฟรี
สำหรับพันธุ์ต้นกล้าที่เตรียมไว้แจกมี ตะไคร้ กะเพรา โหระพา พริก กว่า 300 ถุง นำมาจัดเรียงไว้บริเวณหลังชุมชน หลังน้ำลดแล้วชาวบ้านจะได้ปลูกสร้างรายได้

ตามที่คณะกรรมการได้พิจารณาเห็นชอบกำหนดนโยบายมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่เชิงพาณิชย์ (ไก่ไข่และไก่ไข่พันธุ์) เป็นมาตรฐานบังคับ สำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติงานด้านการจัดการฟาร์ม และพัฒนาการเลี้ยงไก่ไข่ เพื่อเพิ่มความสามารถและศักยภาพการแข่งขัน โดยให้สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ทำประชาพิจารณ์เพื่อออกประกาศมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่เป็นมาตรฐานบังคับนั้น

นายสันติ วิโรจน์บริสุทธิ์ ประธานกรรมการ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า มาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ถือเป็นนโยบายที่รัฐมีความพยายามยกระดับมาตรฐานสู่สากล แต่ในทางปฏิบัติอาจจะเป็นไปได้ยาก และยิ่งสร้างช่องว่างความเหลื่อมล้ำต่ออุตสาหกรรมผู้เลี้ยงไก่ไข่ โดยเฉพาะผลกระทบต่อผู้เลี้ยงรายย่อยที่มีกำลังผลิตน้อยถึงปานกลางจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานสากลที่ไม่สอดคล้องกับบริบทการเลี้ยงของไทย แม้ว่าเบื้องต้นจะกำหนดให้ฟาร์มที่มีไก่ไข่ไม่ต่ำกว่า 10,000 ตัว สามารถผ่อนปรนได้ แต่ฟาร์มที่ไม่ถึงแสนปัจจุบันเป็นรายเล็กทั้งหมด จะค่อนข้างเกิดช่องว่าง เนื่องจากข้อเท็จจริงอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ของไทย 1 ล้านตัว จัดเป็นรายกลางไปถึงรายใหญ่แทบทั้งหมด หากกฎหมายออกมาบังคับใช้ รายใหญ่ย่อมมีความพร้อมอยู่แล้ว สามารถลงทุนเครื่องจักรได้ ส่วนรายเล็กมีกำลังผลิตและกำลังทรัพย์ที่ไม่มากพอ รัฐควรต้องให้เวลาและทบทวนการจัดแบ่งกำลังผลิต และต้องรับฟังผู้เลี้ยงให้ทั่วถึง

“สหกรณ์เองขอตั้งคำถาม มกอช.ว่า ได้อธิบายให้ทุกฟาร์มเข้าใจหรือไม่ว่า บางอย่างเป็นเรื่องข้อกีดกันทางการค้า หากปฏิบัติตามหลักสากลมากเกินบริบทเกษตรกรรายย่อยนั้นจะกระทบตรงไหนอย่างไร เพราะจะให้กู้ธนาคารก็คงไม่คุ้ม ขณะเดียวกันธนาคารตั้งเงื่อนไขว่าลงทุนไปคุ้มหรือไม่ มีความเสี่ยงหรือไม่ บอกได้เลยว่า วอลุ่มของผู้ประกอบการรายเล็กไม่เหมาะกับการลงทุนที่มากเกินไป ทั้งต้นทุนสูงอาจไม่คุ้มทุนแน่นอน จะเห็นได้จากปัจจุบันสหกรณ์มีสมาชิกลดลงจาก 100 ราย เหลือเพียง 80 ราย เนื่องจากรับต้นทุนที่สูงขึ้นไม่ไหว ธุรกิจนี้รายใหญ่แข่งขันกันในตลาดอยู่แล้ว หากยิ่งไปสร้างเงื่อนไขแบบนี้ ยิ่งบีบให้ผู้เลี้ยงบางรายที่วอลุ่มเล็กๆ ต้องเลิกกิจการ แนวทางดี แต่ต้องมีระยะเวลา ทุกคนพร้อมปรับตัว ไม่ได้เพิกเฉย เราทำธุรกิจ เราต้องปรับตัว ไม่อย่างนั้นอยู่ไม่ได้”

ทางด้าน นายพิศาล พงศ์ศาพิชณ์ รองเลขาธิการ มกอช. กล่าวว่า มกอช.อยู่ระหว่างทำประชาพิจารณ์รายภาค เพื่อรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากการจัดเวทีในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความคิดเห็นค่อนข้างตรงกันว่า หากออกประกาศเป็นมาตรฐานบังคับในปี 2561 ฟาร์มรายย่อยขนาดเล็กที่มีจำนวนแม่ไก่ไข่น้อยกว่า 1 หมื่นตัว ไม่ต้องขอใบอนุญาตใหม่ แต่ต้องปฏิบัติตามระเบียบมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ และหลังจากออกกฎหมายบังคับแล้ว ให้ฟาร์มขนาดกลางสามารถผ่อนปรนได้ 3 ปี และฟาร์มขนาดใหญ่ให้ผ่อนปรนได้ 1 ปี ทั้งนี้ จะมีการทำประชาพิจารณ์รายภาคอีก 2 ครั้ง เพื่อสรุปและประกาศเป็นมาตรฐานบังคับให้ทันในต้นปี 2561

พัฒนาชุมชนชู 4 แนวทางยกเครื่องผลิตภัณฑ์โอท็อป “สตอรี่-ดีไซน์-มาตรฐาน-อีคอมเมิร์ซ” หวังปลุกเศรษฐกิจฐานราก หนุนตั้งเทรดเดอร์ 77 จังหวัดปิดจุดอ่อนการตลาด ผนึกกำลังสร้างแบรนด์ “โอท็อปไลฟ์สไตล์” ทั่วประเทศ 30 แห่งภายในสิ้นปีนี้ พร้อมส่ง “โอท็อปเอาท์เลต” ลุยตลาดต่างประเทศ จับมือลาซาด้า ไทยแลนด์มอลล์ ญี่ปุ่นเปิดตลาดออนไลน์ เทรดเดอร์แก้ปมสินค้าไม่มีตลาด

นายณรงค์ บุ่ยศิริรักษ์ รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีผู้ผลิต/ ผู้ประกอบการโอท็อปประมาณ 40,000 กว่าราย มีสินค้าที่ขึ้นทะเบียนโอท็อป 83,000 รายการ ซึ่งแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยสินค้าที่ได้ดาวตั้งแต่ 1-5 ดาว มีเพียง 15,000 รายการเท่านั้น ซึ่งสินค้าจำนวนนี้สามารถทำการตลาดได้ ขณะที่สินค้า 1-2 ดาวบางรายการ หรือที่ไม่มีดาว สามารถทำตลาดได้ยาก เนื่องจากหลายปัจจัย ได้แก่ ความไม่พร้อมของผู้ผลิต มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น หากปล่อยให้ 60,000 กว่าผลิตภัณฑ์ ยังขายได้บ้าง ไม่ได้บ้าง ก็จะสะท้อนว่าการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากยังไม่สมบูรณ์ตามนโยบายของรัฐบาล