สำหรับกิจการเพื่อสังคมทั้ง 11 ทีมที่ผ่านเข้ารอบในโครงการพลัง

เปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม ปีที่ 7 ต่างก็ครอบคลุมปัญหาทางสังคมที่หลากหลาย ประกอบไปด้วย ด้านการเกษตรและพัฒนาชุมชน ได้แก่
ทีม ผัก Done ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจากการจัดการขยะอินทรีย์

ทีม FarmTO ช่องทางการขายผลผลิตของเกษตรกรออนไลน์ด้วยการจับจองแปลงผลผลิตล่วงหน้า

ทีม ภูคราม ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายย้อมครามโดยชุมชนในจังหวัดสกลนคร ทีม The Burrow บ้านโพรงกระต่าย พื้นที่การเรียนรู้แบบบูรณาการในจังหวัดสงขลา

ด้านสุขภาพ ได้แก่
ทีม Art for Cancer ช่องทางในการสร้างอาชีพเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง

ด้านการเงิน ได้แก่
ทีม เชื่อใจ แอปพลิเคชันเครดิตสกอร์ริ่งและบริการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการกู้เงิน

ด้านการศึกษาและศิลปะบำบัดแก่เยาวชนผู้ด้อยโอกาส ได้แก่
ทีม Heartist แบรนด์กระเป๋าที่ผลิตจากเนื้อผ้าถักทอโดยผู้พิการทางสมอง ทีม Unpuzzle สื่อการเรียนรู้สำหรับครูเพื่อเด็กพิเศษ

ทีม Art by Heart Studio สตูดิโอศิลปะบำบัดเพื่อเด็กและผู้ใหญ่

ทีม Blind Theatre School โครงการเรียนรู้เพื่อเชื่อมคนตาบอดและคนตาดีผ่านศิลปะละครเวที

ด้านการศึกษา ได้แก่
ทีม มหาลัย 3 นาที สื่อแนะแนวออนไลน์ที่กระชับและตรงประเด็นแก่เยาวชน ในการคัดเลือกรอบ 11 ทีม นอกจากคณะกรรมการโครงการฯ อย่างคุณอุดมลักษณ์ โอฬาร ผู้อำนวยการสายอาวุโส – องค์กรสัมพันธ์ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) และ คุณสุนิตย์ เชรษฐา ผู้ก่อตั้ง Change Fusion Institute แล้ว โครงการฯ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากสาขาที่เกี่ยวข้องคือ คุณภัทรพร แย้มละออ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดผลทางสังคมและนักการตลาดเพื่อสังคม คุณสินี จักรธรานนท์ ผู้อำนวยการ มูลนิธิอโชก้า องค์กรนานาชาติผู้ริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อสังคม คุณปรัชญ์ จงกิตติสกุล ผู้บริหารระดับสูง บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) รวมไปถึงศิษย์เก่าโครงการฯ ปีที่ 2 อย่าง คุณสมศักดิ์ บุญคำ ผู้ก่อตั้งกิจการเพื่อสังคม

Local Alike ธุรกิจบริการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ท้องถิ่นให้แก่นักท่องเที่ยวทั่วโลก มาช่วยตัดสินและให้คำแนะนำจากมุมมองของรุ่นพี่ที่ผ่านประสบการณ์เดียวกันมาแล้วอีกด้วย นอกจากนี้ ก่อนนำเสนอแผนกิจการเพื่อสังคม ผู้สมัครยังได้รับคำแนะนำ เพื่อตีกรอบความคิดและแนวทางการดำเนินกิจการให้ชัดเจนยิ่งขึ้นกับผู้เชี่ยวชาญ หนึ่งในนั้นคือ คุณปรีห์กมล จันทรนิจกร ผู้ก่อตั้ง Ma:D พื้นที่รวมตัวของผู้ที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงและ co-working space ศิษย์เก่าโครงการฯ ปีที่ 4 นับเป็นข้อพิสูจน์ได้ดีว่าโครงการพลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคมมุ่งที่จะเชื่อมต่อผู้มีอุดมการณ์ร่วมกันเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาวงการกิจการเพื่อสังคมของไทยอย่างยั่งยืน

นางสาวภัทรพร แย้มละออ ผู้ทำงานด้านการวัดผลทางสังคม นักการตลาดเพื่อสังคม และผู้ก่อตั้งบริษัท ป่าสาละ จำกัด กล่าวว่า “ผู้เข้ารอบ 11 ทีมในปีนี้มีศักยภาพที่ดี ส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงานจึงมีประสบการณ์ว่าสิ่งใดน่าจะเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจ และสังคม อีกทั้งยังมีการเชื่อมโยงกิจการเพื่อสังคมที่พวกเขาริเริ่มขึ้น เข้ากับงานประจำที่ทำอยู่หรือเคยมีประสบการณ์ จึงไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ ทั้ง 11 ทีม สามารถโชว์ศักยภาพของตนเองผ่านแผนธุรกิจที่ชัดเจน ตั้งแต่ไอเดียที่สร้างสรรค์และน่าสนใจ กรอบการทำงานภายใต้แผน และเป้าหมายทางธุรกิจและแนวคิดในการแก้ปัญหาสังคมที่สามารถนำไปปฏิบัติและขยายผลได้จริง ประกอบกับมีการค้นคว้าหาข้อมูลมากขึ้น จึงมีเหตุผลมารองรับ และสามารถตั้งเป้าหมายให้สอดคล้องกัน”

ก้าวต่อไปของทั้ง 11 ทีมใน 3 เดือนนับจากนี้คือ การเข้าร่วมเวิร์คช็อปในหัวข้อแผนธุรกิจและการสื่อสารแบรนด์ ต่อด้วย Passion Test โดยผู้เชี่ยวชาญที่จะมาทดสอบความมุ่งมั่นปรารถนาอย่างแรงกล้าของแต่ละคน (passion) เพื่อวัดผลว่าสิ่งที่กำลังทำนั้นเป็นสิ่งที่ชอบและสนใจจริงๆ อีกทั้งตั้งเป้าหมาย กำหนดทิศทาง ประเมินสถานการณ์กิจการเพื่อสังคมของตัวเอง พร้อมวางแผนสำหรับอนาคต จากนั้น ทุกทีมจะนำทุนสนับสนุนเบื้องต้นไปดำเนินกิจการจริงเป็นระยะเวลา 3 เดือน ก่อนที่จะกลับมานำเสนอความคืบหน้าในรอบชิงชนะเลิศ 5 ทีมสุดท้ายในเดือนสิงหาคม 2560 ต่อไป

คนไทยเชื่อว่าข้าวเป็นพืชศักดิ์สิทธิ์ มีเทพีประจำต้นข้าว คอยพิทักษ์รักษาข้าว เรียกกันว่า แม่โพสพ ข้าวในพิธีแต่งงานและขบวนขันหมาก เช่น ข้าวตอกในพานขันหมาก เพื่อความเป็นสิริมงคล เสริมความมั่งคั่ง เจริญรุ่งเรืองแก่คู่บ่าวสาว ดั่งพืชพรรณธัญญาหารที่เจริญงอกงาม

ข้าว คือชีวิต เป็นอาหารทั้งคาว หวาน ให้พลังงานแก่ร่างกาย เป็นยารักษาสรรพโรค เป็นเครื่องประทินผิว

ประโยชน์จากข้าว

วิตามินบี 1 ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา มีในพวกข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวนึ่งก่อนสี ข้าวเสริมวิตามิน

วิตามินบี 2 ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก คือ อาการเป็นแผลที่มุมปากทั้งสองข้าง ริมฝีปากบวม ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ตาสู้แสงไม่ได้ ฟอสฟอรัส ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน

แคลเซียม ช่วยลดอาการเป็นตะคริว

เหล็ก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจางและช่วยในการสร้างเม็ดเลือด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเป็นนักปลูกต้นไม้ที่ยิ่งใหญ่ในดวงใจของปวงชนชาวไทยและเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลกตลอดมา โครงการพระราชดำริส่วนใหญ่ที่พระองค์ทรงขวนขวายทำให้ราษฎรไทยนั้น คือ โครงการแสวงหาแหล่งน้ำ พัฒนาแหล่งน้ำ รักษาต้นน้ำลำธาร ป้องกันน้ำท่วม และโครงการพัฒนาดิน ไม่ว่าจะเป็นโครงการแกล้งดินหรือโครงการห่มดินย่อมเกี่ยวข้องกับการปลูกต้นไม้โดยตรง

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ตรัสว่า “พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า”

แสดงให้เห็นว่า พระราชกรณียกิจของทั้งสองพระองค์เกี่ยวข้องโดยตรงกับดิน น้ำ และต้นไม้

ทั้งสองพระองค์จึงเป็นนักปลูกต้นไม้และส่งเสริมความชุ่มชื้นของดินและน้ำทั่วประเทศไทย ความเขียวชอุ่มชุ่มชื้นที่ยังคงมีให้เห็นทุกวันนี้ส่วนใหญ่มาจากกระบวนการปลูกต้นไม้ที่พระองค์ทรงปฏิบัติมาอย่างครบถ้วนทั้งในเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด อย่างสวยงามในทุกขั้นตอน ในขณะที่พระองค์เสด็จฯ ทรงเยี่ยมราษฎรเยี่ยมท้องที่ต่างๆ เพื่อหาปัจจัยการผลิตให้ประชาชนได้ปลูกพืชเพื่อใช้ในครัวเรือน และขายเพื่อให้ได้ปัจจัยที่จำเป็นมาส่งเสริมชีวิตให้ดีขึ้น พระองค์ได้ทรงปลูกคุณธรรมและจริยธรรมลงในใจของประชาชนทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่นับไม่ถ้วน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ประชาชนจำนวนมาก มีกำลังใจในการลุกขึ้นมาพัฒนาชีวิตของตนเอง เพิ่มค่าแห่งชีวิตของตนเอง บางคนจบการศึกษาเพียงแค่ประถมปีที่ 4 ได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ท่านตรัสถามว่า

กราบทูลท่านว่า

“จบชั้นประถมปีที่ 4”

ท่านตรัสว่า “ควรจะเรียนต่อนะ”

พระดำรัสเพียงแค่นั้นเป็นกำลังใจพลิกชีวิตจากพนักงานขับรถให้มุ่งมั่นเรียนจบปริญญาตรี ได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ของพระองค์ จากนั้นชีวิตเขาก็เปลี่ยนจากพนักงานขับรถเป็นข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข

เขาเริ่มต้นชีวิตในตำแหน่งพนักงานขับรถ แต่เกษียณชีวิตการทำงานในตำแหน่งข้าราชการกระทรวงสาธารณสุข นับเป็นความอัศจรรย์ของชีวิตที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพระองค์ท่านแท้ๆ พระองค์ทรงเป็นขวัญที่ยิ่งใหญ่ เป็นกำลังใจที่ทรงพลังจริงๆ

นอกจากนี้ ยังมีคนหนุ่มสาวอีกมากมาย แม้มิได้ฟังพระราชดำรัสต่อหน้าพระพักตร์ เพียงชมพระราชกรณียกิจที่พระองค์ทรงบำเพ็ญเป็นตัวอย่างแห่งความขยัน อดทน และได้ยินคำสอนของพระองค์ท่านไกลๆ แต่เปลี่ยนชีวิตจิตใจให้ตั้งใจเดินตามรอยพระบาทของพระองค์ท่านจนมีความสุขสงบและพอเพียง

หนุ่มสาวเหล่านี้มีการศึกษาดี แต่เมื่อได้ฟังพระราชดำรัสและเห็นพระองค์ทรงงานหนัก ก็ประทับใจมีพลังในการใช้ความพากเพียรและสติปัญญา กลับสู่บ้านเกิดเมืองนอน พัฒนาชีวิตและดำรงชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแบบอย่างของปัญญาชนจำนวนมากที่รักบ้านเกิด ลงมือพัฒนาบ้านเกิดด้วยมันสมองและสองแขนจนประสบความสำเร็จในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข เป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ที่เจริญตามความเป็นจริงไม่ทิ้งรากฐาน ไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างมีความสุข ต้นไม้และป่าเจริญมากขึ้น ดินดำน้ำชุ่มเพิ่มขึ้น ผลผลิตตามแนวคิดการจัดการอย่างลงตัวออกมาดีเป็นที่น่าพอใจ

การทำปุ๋ยอินทรีย์ การกลับไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควายเพื่อให้ปุ๋ยอินทรีย์ในท้องไร่ท้องนากำลังเป็นที่นิยมของคนหนุ่มสาวระดับปัญญาชนที่ได้รับการศึกษามาอย่างถูกทางและคิดเรื่องการดำรงชีวิต และการสร้างปัจจัยการผลิตป้อนกระบวนการเศรษฐกิจแบบทางเลือกออกนอกกรอบ นอกระบบที่เป็นกระแสหลักที่ถูกกำหนดและจำกัดเขตโดยระบบทุนนิยม หนุ่มสาวรุ่นใหม่กำลังปฏิวัติระบบเศรษฐกิจและสังคมของพวกเขาด้วยระบบทางเลือกที่ไม่ใช้อำนาจ และไม่ใช้ความรุนแรง แต่ใช้เมตตาและปัญญาเข้ามาแทนที่ การปลดปล่อยมิต้องผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ไม่ต้องใช้อาวุธอย่างในอดีต แต่เป็นการใช้เมตตาและปัญญาที่จะแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ และข้อดีของสิ่งต่างๆ ในสังคมและเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานอย่างกลมกลืนร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่ต้องแบ่งแยกกันด้วยเหตุปัจจัยใดๆ

ในวันที่ไม่มีในหลวง รัชกาลที่ 9 ลูกหลานไทยของพระองค์ท่านที่ได้ติดตามศึกษาพระปัญญา พระกรุณา และพระขันติที่พระองค์ทรงสาธิตให้ดูนั้น คือบรรดากล้าไม้ที่พระองค์ได้ทรงเพาะเป็นล้านๆ ต้น ได้หมั่นรดน้ำพรวนดินด้วยพระเสโทเป็นล้านๆ หยด ที่รดลงแผ่นดินไทย เพื่อเป็นปุ๋ยบำรุงต้นกล้าน้อยของพระองค์ให้เจริญเติบโตด้านสติปัญญาวันแล้ววันเล่า วันนี้ต้นไม้เหล่านี้กำลังสูงตระหง่าน งดงามทั้งใบและกิ่งก้าน บ้างกำลังผลิดอกออกช่ออย่างสวยงามลดหลั่นกันไปตามกาลเวลาที่พระองค์ท่านได้ปลูกได้ฝังไว้ปีแล้วปีเล่า จากรุ่นสู่รุ่น

ไม้พันธุ์ดี ที่ได้รับการขยายพันธุ์ กระจายไปทั่วทุกสารทิศ แม้ถึงเวลาหนึ่ง ต้องล้มลงไปตามกฎธรรมชาติ แต่ทว่ามีต้นไม้ที่เคยเป็นต้นกล้ากำลังโตขึ้นมาทำหน้าที่แทนเป็นล้านๆ ต้น ต้นไม้แห่งความดีเหล่านี้จะผลิดอกออกผลและกระจายพันธุ์ให้ความร่มเย็นต่อไป

ขอพระองค์ผู้ทรงเป็นต้นกำเนิดแห่งเมล็ดพันธุ์แห่งความดีจงเสด็จสู่สวรรคาลัย สถิตในสวรรค์ชั้นดุสิต ด้วยพระหฤทัยที่ไร้ความห่วงใยเถิด ลูกหลานไทยรุ่นใหม่จักได้สืบสานงานของพระองค์กันอย่างกว้างขวาง โดยมีพระองค์ทรงชี้ธรรมนำทางตลอดไป

วันที่ 21 เมษายน 2560 ชาวประมงที่เลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังริมคลองเทพา ซึ่งเชื่อมต่อกับอ่าวไทยในพื้นที่การก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและท่าเรือน้ำลึกสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา หมู่ 4 บ้านคลองประดู่ ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ต่างกังวลถึงความพยายามในการผลักดันโครงการนี้ของส่วนราชการและรัฐบาล ซึ่งหากเกิดโครงการนี้ขึ้นมา ชาวประมงเหล่านี้เชื่อว่าอาชีพที่ทำกินอยู่ทั้งการเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชัง การทำประมงในคลองทะเลและอ่าวไทยก็จะต้องล่มสลายไปอย่างแน่นอน ซึ่งจะทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ที่สำคัญทำให้ไม่มีรายได้

โดยปัจจุบันนี้การออกไปทำการประมงในระยะใกล้ชายฝั่งก็สร้างรายได้ให้อย่างน้อยวันละ 500 บาท แต่หากถูกเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้ชาวประมงที่มีอยู่แถวนี้หลายร้อยคนได้รับความเดือดร้อน กลุ่มชาวประมงจึงเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการผลักดันโครงการโรงไฟฟ้าเทพา เพื่อให้ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติยังคงอยู่ในพื้นที่นี้ต่อไป

ทั้งนี้ บริเวณชุมชนชาวประมงที่เป็นที่ตั้งของโครงการนั้นมีการติดธงสีเขียวและแผ่นป้ายข้อความคัดค้านโครงการ เพื่อให้ผู้ที่เข้ามารวมถึงหน่วยข่าวหรือส่วนราชการได้รับทราบความเห็นของชาวบ้านผ่านแผ่นป้ายข้อความเชิงสัญลักษณ์เหล่านี้ โดยจะร่วมกับเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินในการคัดค้านโครงการนี้ต่อไป

กยท. เตือนเกษตรกรชาวสวนยาง ระวังกรดฟอร์มิกปลอม คุณภาพไม่ตรงตามฉลาก หลังฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง กยท. ลงสุ่มเก็บตัวอย่างสารจับยางในพื้นที่ทางภาคอีสาน พบสารจับยางคุณภาพไม่ตรงตามที่ระบุบนฉลาก เมื่อใช้จับตัวยางทำให้ยางเสียหาย ไม่ได้คุณภาพที่ควรจะเป็น ส่งผลต่อเกษตรกร และประเทศชาติ แนะเกษตรตรวจสอบให้มั่นใจก่อนซื้อใช้

นางปรีดิ์เปรม ทัศนกุล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้มีการรณรงค์และสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยาง หันมาใช้กรดฟอร์มิกแทนกรดซัลฟิวริกมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นสารอินทรีย์ที่สลายตัวง่าย ไม่มีผลตกค้างในยางและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรกรสามารถผลิตยางที่มีคุณภาพดี ขายได้ราคา ทำให้ที่ผ่านมาเกษตรกรตระหนักและหันมาใช้กรดฟอร์มิกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในตลาดที่ผลิตและขายสารจับตัวยางบางราย มีการผลิตสารจับตัวยางที่มีส่วนผสมของซัลเฟตและเกลือคลอไรด์เพื่อช่วยให้ยางจับตัวเร็ว และมีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง

ทำให้เกษตรกรเกิดความเข้าใจผิด และนำมาใช้จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งคุณภาพยาง และสุขภาพของเกษตรกร ซึ่งจากการลงพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่างสารจับตัวยางในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งสิ้น 22 ตัวอย่าง พบว่า มีเพียง 1 ตัวอย่างเท่านั้นที่เป็นกรดฟอร์มิกแท้ความเข้มข้น 94% ตรงตามที่ระบุในฉลาก ส่วนอีก 8 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 36.4 เป็นกรดฟอร์มิกที่มีความเข้มข้นไม่เป็นไปตามที่ระบุบนฉลาก มีความเข้มข้นเพียง 17.89 – 82.92 เท่านั้น และอีก 7 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 31.8 ที่เป็นกรดซัลฟิวริกพบระดับความเข้มข้นระหว่าง 36.17 – 99.74 โดยที่บนฉลากจะตั้งชื่อทางการค้าเป็นชื่ออื่นทั้งหมด และยังมีอีก 5 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 22.7 เป็นกรดฟอร์มิกผสมแคลเซียมคลอไรด์ และกรดซัลฟิวริกผสมแคลเซียมคลอไรด์ และที่เหลืออีก 1 ตัวอย่างเป็นแคลเซียมคลอไรด์ล้วนๆ ที่มีความเข้มข้นสูงถึง 36.78%

นอกจากนี้ จากการตรวจสอบปริมาณโลหะด้วยเครื่อง Atomic Absorption Spectroscopy ทั้งกรด ฟอร์มิกปลอมและกรดอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุชนิดของสารเคมี พบโลหะธาตุของแคลเซียมตั้งแต่ระดับ 0.17 – 5,340 ppm แมกนีเซียมระหว่าง 0.11 – 49.28 ppm ธาตุเหล็ก 0.02 – 0.53 ppm และทองแดงน้อยกว่า 0.01ppm ซึ่งจากการศึกษาพบว่า หากน้ำยางมีปริมาณแคลเซียมเกิน 500 ppm ขึ้นไป จะทำให้ยางขาดความยืดหยุ่น มีความหนืดต่ำ และมีความชื้นสูง ซึ่งปริมาณโลหะธาตุที่อยู่ในน้ำยางจะส่งผลต่อรอยตำหนิ เป็ยรอยแตกที่เกิดขึ้นบนผลิตภัณฑ์ได้ทำให้แรงรับน้ำหนักบริเวณนั้นเสียไป โดยประเด็นสำคัญคือ เกษตรกรไม่สามารถแยกแยะได้ว่าขวดไหนเป็นกรดฟอร์มิกจริง ขวดไหนเป็นกรดฟอร์มิกปลอม ทำให้สร้างความสับสนให้เกษตรกร เพราะสารจับตัวยางที่ระบุว่ากรดฟอร์มิกนั้น ก็ยังไม่ใช่กรดฟอร์มิกตามที่ระบุ แต่ถึงแม้ว่าบางยี่ห้อเป็นกรดฟอร์มิกแต่ก็มีความเข้มข้นน้อยกว่าตามที่ระบุอยู่มาก รวมถึงมีการแจ้งจากกลุ่มเกษตรกรบางรายที่ใช้กรดฟอร์มิกปลอมดังกล่าว พบว่าเกิดผลกระทบต่อผิวหนังอย่างรุนแรง เป็นแผลลึกเข้าไปในเนื้อ สร้างความเสียหายต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางอีกด้วย

นางปรีดิ์เปรม กล่าวย้ำว่า จากผลการศึกษาในครั้งนี้ นอกจากส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางแล้ว ยังเข้าข่ายการหลอกลวงผู้บริโภค และส่งผลในภาพรวมที่เสียหายต่อประเทศชาติ เพราะผลผลิตยางทางภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปีที่ผ่านมา มีปริมาณยางทั้งสิ้นประมาณ 636,531 ตัน และจากการใช้กรดปลอมทำให้ยางไม่ได้มาตรฐานกว่าร้อยละ 50 ซึ่งเป็นความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศผู้ส่งออกยางที่มีคุณภาพประเทศหนึ่งของโลก และเป็นความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ อย่างไรก็ตาม กยท. ในฐานะหน่วยงานหลักในการดูแลคุณภาพยางระดับประเทศ จะดำเนินการตรวจสอบคุณภาพสารจับตัวยางเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อทราบถึงการปลอมปนสารที่ไม่ได้มาตรฐาน และในอนาคตอาจมีมาตรกรในการควบคุมสารจับตัวยางทุกชนิดในเชิงการค้า ซึ่งอาจจะต้องหารือร่วมกับหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ผู้ผลิตและจำหน่ายขึ้นทะเบียนกับ กยท. เพื่อทำการควบคุมคุณภาพยางในอนาคต

เมื่อวันที่ 19 เมษายน นพ. ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ฤดูร้อน พบว่าประชาชนมักจะป่วยด้วยโรคท้องร่วง สาเหตุเนื่องจากรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ถูกสุขลักษณะ มีเชื้อโรคปนเปื้อน จึงแนะนำตำรับยาแผนไทยที่ประชาชนควรมีไว้ประจำบ้าน หรือพกติดตัวไว้ใช้เมื่อเกิดอาการท้องร่วง คือ ตำรับยาที่ใช้สมุนไพรรสฝาดซึ่งสมุนไพรส่วนใหญ่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค เช่น ยาธาตุเด็กและยามันทธาตุ ใช้แก้อาการท้องเสียร่วมกับอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้ปวดมวนท้อง แก้บิดมูกเลือด ยาธาตุบรรจบและยาเหลืองปิดสมุทร ใช้แก้อาการท้องเสียชนิดไม่ติดเชื้อและท้องเสียชนิดไม่มีไข้ ยามหาจักร ใช้แก้อาการท้องเสียชนิดติดเชื้อ เช่น อุจจาระมีสีเขียว กลิ่นบูดเปรี้ยวเป็นฟอง

นพ. ปราโมทย์ กล่าวอีกว่า สำหรับผลไม้ที่มีสรรพคุณแก้อาการท้องร่วง สมุนไพรรสฝาดมีสารแทนนิน มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ กล้วยน้ำว้า โดยเลือกใช้ผลดิบ นำมาหั่นและตากแห้ง หลังจากนั้นให้บดเป็นผงแป้ง ใช้ในปริมาณ 10 กรัม ต่อครั้ง ชงดื่มแก้อาการท้องร่วง วิธีการปฏิบัติตัวเมื่อเกิดอาการท้องร่วง ส่วนใหญ่อาการจะหายได้เองโดยการรักษาอาการขาดน้ำและเกลือแร่ ด้วยการดื่มน้ำมากๆ ในระหว่างท้องร่วงให้รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก แกงจืด ฯลฯ และไม่ควรงดอาหาร หรือรับประทานอาหารรสเผ็ดจัด

“การป้องกันจากโรคท้องร่วงนั้น ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุก ใช้วัตถุดิบที่สด สะอาด ปราศจากแมลงวันตอม หรือสัมผัสกับฝุ่นละออง หากต้องการเก็บอาหารที่เหลือจากรับประทาน ควรเก็บไว้ในตู้เย็น และนำมาอุ่นร้อนทุกครั้งก่อนรับประทาน ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่คุ้นเคย เช่น อาหารทะเลบางชนิด ผักและผลไม้ควรล้างให้สะอาดก่อนรับประทานทุกครั้ง ดื่มน้ำสะอาด ต้มสุก หากต้องดื่มน้ำนอกบ้าน ควรเลือกดื่มน้ำเปล่าที่ใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่สะอาด ฝาปิดผนึกเรียบร้อย และควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนเตรียมอาหาร รับประทานอาหารและหลังจากเข้าห้องน้ำ” นพ. ปราโมทย์ กล่าว

แพร่ – นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงาน “มหกรรมควายไทยล้านนา ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2560” ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ – แพร่ เฉลิมพระเกียรติ อำเภอร้องกวาง เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า แพร่มีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางการอนุรักษ์พันธุ์ควายของภาคเหนือ เนื่องจากมีเกษตรกรเลี้ยงจำนวนมาก โดยเฉพาะที่บ้านแม่ทราย อำเภอร้องกวาง และเกษตรกรในอำเภอต่างๆ ก็นิยมเลี้ยงด้วยเช่นกัน รวมทั้งชาวแพร่ยังนิยมบริโภคเนื้อควายมากกว่าเนื้อวัว ซึ่งจังหวัดพร้อมสนับสนุนเพื่อให้แพร่เป็นแหล่งอนุรักษ์ควายไทยล้านนาต่อไป

ด้าน นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่า ควายไทยนับเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่เลี้ยงกันมานานในอดีต แต่ปัจจุบันมีจำนวนลดลงจนไม่เพียงพอในตลาดบริโภค ซึ่งควายไทยนับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีสายพันธุ์ดีกว่าที่อื่นๆ ของโลก แต่นักปศุสัตว์ไทยในอดีตให้ความสำคัญกับสัตว์เลี้ยงที่เป็นสายพันธุ์ต่างประเทศมากกว่า เวลานี้ควายไทยได้รับการพัฒนาจนกลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่ตลาดต้องการสูงและที่สำคัญเป็นพันธุกรรมท้องถิ่นที่ดี ซึ่งอนาคตควายจะสามารถสร้างเศรษฐกิจได้เนื่องจากในจีนและเวียดนามให้ความสนใจนำเข้าควายไทยเป็นจำนวนมากจนไม่เพียงพอ

สำหรับการจัดงานอนุรักษ์ มหกรรมควายไทยล้านนา ครั้งที่ 2 มีการประกวดควายประเภทต่างๆ ตั้งแต่ลูกควาย แม่ควาย และควายเพศผู้ โดยมีการแบ่งประเภทควายไทยล้านนา เป็นสายเลือดท้องถิ่นจริงๆ รวมทั้งประเภททั่วไปคือ ประกวดควายที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ควายไทยที่มีขนาดใหญ่ เป็นการพัฒนาสายเลือดที่เป็นเอกลักษณ์ควายไทย โดยไม่มีสายเลือดควายต่างประเทศมาปะปน ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกรทั่วประเทศส่งประกวดและโชว์นับ 1,000 ตัว ในจำนวนนี้ควายที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์มีมูลค่าตัวละ 1,000,000 บาทขึ้นไป

สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลชลประทาน (ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ ชลประทาน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) จัดโครงการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านโดยหมอจิ๋ว จังหวัดสระแก้ว อบรมการดูแลสุขภาพให้ผู้สูงอายุ และฟื้นฟูความรู้ด้านการดูแลสุขอนามัยให้หมอจิ๋วรุ่นที่ 1 ซึ่งผ่านการอบรมหลักสูตรหมอจิ๋วมาแล้ว 1 ปี

แพทย์หญิงภัทร์ สิทธิการิยกุล หัวหน้าสาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว นำทีมนักสุขศึกษาลงพื้นที่ให้บริการชุมชนให้ความรู้ด้วยการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการสร้างสุขในผู้สูงอายุ, โรคเรื้อรัง, กิจกรรมฐานความรู้ ซึ่งประกอบด้วย การกินดีมีสุข, สิทธิผู้สูงอายุและผู้พิการ, ฝึกสมอง ลดเศร้า เร้าปัญญา, หัวเราะบำบัด, ฝึกจิต โดยมีผู้เข้าอบรมแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 90 คน 2. เด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 60 คน จากตำบลบ้านท่าช้าง อำเภอวัฒนานคร, ตำบลหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ, ตำบลหนองแวง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ซึ่งการอบรมในครั้งนี้มุ่งหวังให้ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ โรคพื้นฐานต่างๆ ที่คนไทยส่วนใหญ่มักเป็นในวัยสูงอายุ และที่สำคัญคือโครงการนี้จัดขึ้นเพื่อปลูกฝังให้เยาวชนเกิดแรงบันดาลใจอยากจะเป็นหมอช่วยดูแลสุขภาพของคนในครอบครัวและเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างสังคมแบบครอบครัว เด็กๆ จะสนุกกับการทำหน้าที่หมอจิ๋ว และผลพลอยได้คือคนในครอบครัวรวมถึงคนในหมู่บ้านจะมีปฏิสัมพันธ์มีการพบปะพูดคุยกันมากขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุคลายเหงาและมีสุขภาพจิตดี มีแรงกระตุ้นช่วยส่งเสริมให้เกิดการดูแลซึ่งกันและกัน

เด็กหญิงศุจินธรา วงค์บุตรดา royalweddingcharityfund.org นักเรียนโรงเรียนบ้านหนองสังข์ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรือ หมอจิ๋วรุ่นที่ 1 เผยว่า “หนึ่งปีที่ผ่านมาที่ได้เป็น อสม.จิ๋ว ได้ทำหน้าที่ต่างๆ ในการดูแลผู้สูงอายุญาติผู้ใหญ่ ซึ่งการดูแลผู้สูงอายุนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ควรละทิ้ง รู้สึกประทับใจในการดูแลผู้สูงวัยผู้สูงอายุภายในบ้านและในหมู่บ้าน ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ผู้สูงอายุทุกท่านได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีการตรวจสุขภาพและเขียนรายงานทุกเดือน ผู้สูงอายุที่ดูแลส่วนมากก็เป็นคนในครอบครัวและคนบ้านใกล้เรือนเคียง เพราะทำให้เข้าถึงง่าย รู้จักกิจวัตรประจำวันของแต่ละคน ได้ดูแลพวกเขาอย่างเต็มความสามารถ ได้นำความรู้จากการอบรม อสม.จิ๋ว เกี่ยวกับเรื่องของร่างกายของเรา, โรคไข้เลือดออก, และการดูแลสุขอนามัยต่างๆ ไปบอกเล่าสู่พ่อ แม่ และญาติผู้ใหญ่ ทำให้ได้ประสบการณ์จริงในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ขอขอบคุณคุณหมอทุกท่านที่สละเวลามาให้ความรู้แก่เด็กๆ อย่างพวกเรา ดิฉันจะทำหน้าที่หมอจิ๋วให้ดีที่สุด”

นายนิรุจน์ อุทธา หัวหน้าสำนักสภาเกษตรกรจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวว่า สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดอำนาจเจริญ ได้จัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบลร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐและภาคประชาสังคม ขับเคลื่อนกลุ่มผักอินทรีย์บ้านหนองเม็กยกระดับให้เป็นอุตสาหกรรมผักอินทรีย์เมืองธรรมเกษตร ด้วยแนวทางการตลาดนำการผลิต และคุณภาพผลผลิตที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจะสามารถแก้ปัญหาการตลาดให้กับเกษตรกรได้ถือเป็นหลักสำคัญของเกษตรกรยุคใหม่ ให้เกษตรกรมีความมั่นคงต่อการประกอบอาชีพได้ในอนาคต ทั้งนี้ จังหวัดอำนาจเจริญได้ประกาศวาระจังหวัดจัดการตนเองให้เป็น “เมืองธรรมเกษตร” ซึ่งหมายถึงจังหวัดที่ทำการเกษตรอินทรีย์อย่างมีคุณธรรม ไม่เบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น สิ่งแวดล้อมและประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ตามวิสัยทัศน์ของจังหวัดว่า “เมืองธรรมเกษตร เขตพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียง”

จากแนวทางดังกล่าวผักอินทรีย์เมืองธรรมเกษตร บ้านหนองเม็ก ต.คึมใหญ่ อ.เมือง เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น ผู้บริโภคที่ทดลองซื้อผักอินทรีย์เมืองธรรมเกษตรไปรับประทานจะติดใจในรสชาติและคุณภาพของผักที่ผลิตอย่างมีมาตรฐานเกษตรอินทรีย์รับรองสมกับคำว่า “สะอาดปลอดภัยมาตรฐานระดับสากล อร่อยระดับโลก” โดยเฉพาะปัจจุบันเริ่มมีกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวชิมผักอินทรีย์เมืองธรรมเกษตรที่บ้านหนองเม็กเพิ่มมากขึ้น ซึ่งหากทุกภาคส่วนร่วมกันสนับสนุนและพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดได้ในอนาคต ล่าสุดกลุ่มผักอินทรีย์เมืองธรรมเกษตรบ้านหนองเม็กได้มอบให้สภาเกษตรกรจังหวัดอำนาจเจริญนำตราสัญลักษณ์ที่กลุ่มออกแบบนำไปสอบถามความคิดเห็นจากภาคประชาสังคมและหน่วยงานของรัฐเพื่อร่วมพิจารณา โดยจะมอบตราสัญลักษณ์ที่ผ่านความเห็นชอบร่วมกันให้กับกลุ่มฯในวันที่ 27 เมษายน 2560 ในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการ

ประธานกลุ่มผักอินทรีย์บ้านหนองเม็ก นางจำปา สุวะไกร ได้เปิดเผยว่า กลุ่มปลูกผักอินทรีย์บ้านหนองเม็ก มีความตั้งใจที่จะพัฒนาให้ผักอินทรีย์บ้านหนองเม็กเป็นสัญลักษณ์ผักอินทรีย์เมืองธรรมเกษตรของจังหวัดอำนาจเจริญ โดยเฉพาะการควบคุมมาตรฐานแปลงผลิตให้ได้การรับรองตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ระดับสากล เพื่อให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจและได้ผักที่สดสะอาดปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างสมบูรณ์