สำหรับขั้นตอนการประเมินผลสหกรณ์สีขาวนั้น มีเกณฑ์ในการ

พิจารณารวม 9 หลัก คือ หลักประสิทธิผล หลักประสิทธิภาพ หลักการตอบสนอง หลักภาระรับผิดชอบ หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักการมอบอำนาจ หลักนิติธรรม และหลักความเสมอภาค โดยสหกรณ์ต้องผ่านเกณฑ์ในแต่ละหลัก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และรวมทุกหลักอยู่ในระดับคะแนน ตั้งแต่ร้อยละ 85 ขึ้นไป กรมส่งเสริมสหกรณ์คาดหวังว่า สหกรณ์จะเล็งเห็นถึงประโยชน์ในการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงานสหกรณ์ จึงขอเชิญชวนสหกรณ์ทุกประเภทที่สนใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสหกรณ์สีขาวด้วยธรรมาภิบาล ในปี 2562 สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานสหกรณ์จังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ

ปัจจุบัน ทะเลหลายที่เต็มไปด้วยขยะ จากผู้คนที่ไปเที่ยวต่างคนต่างทิ้งโดยไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยของสัตว์ที่อาศัยอยู่ใต้ทะเลหรือความสะอาดของริมชายหาด สัตว์ที่อาศัยอยู่ใต้ทะเลทุกวันนี้ก็มีจำนวนลดลงมาก เพราะถูกจับนำไปบริโภคและไม่มีการทิ้งช่วงให้ขยายพันธุ์เพิ่มแต่อย่างใด น้อยครั้งที่จะมีแกนนำพากันเก็บขยะเหล่านั้น แต่ก็ยังมีคนทิ้งเพิ่มขึ้นไปอีก ครั้งนี้จึงมีหน่วยงานใหญ่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาเรื่องของการเพิ่มที่อยู่อาศัยของสัตว์ใต้น้ำ เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนและวัยเจริญพันธุ์ใต้ท้องทะเล เพิ่มจำนวนสัตว์น้ำและฟื้นคืนความสมบูรณ์ให้ทรัพยากรชายฝั่งทะเล พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนชาวประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน

คุณชลณัฐ ญาณารณพ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี กล่าวว่า เอสซีจี ได้ร่วมกับภาครัฐและชุมชนบริการจัดการน้ำในจังหวัดระยองตั้งแต่ต้นน้ำ ด้วยวิธีการสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่เขายายดา จนถึงปลายน้ำ ซึ่งเป็นโครงการบ้านปลา หัวใจสำคัญที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีตลอดระยะเวลากว่า 6 ปีที่ผ่านมา ไม่ใช่เพียงแค่การวางบ้านปลาหรือการสร้างฝายเท่านั้น แต่เป็นความเข้มแข็งของชุมชนประมงพื้นบ้านที่ช่วยกันสร้างบ้านปลาและดูแลพื้นที่อนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ พลังของจิตอาสาก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ โดยนับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนถึงปัจจุบันมีจิตอาสาเข้าร่วมกิจกรรมสร้างบ้านปลาแล้วกว่า 10,000 คน

ขณะนี้ เอสซีจี ได้พัฒนาการวางบ้านปลาแบบใหม่ คือวางครั้งเดียวเป็นกลุ่ม 10 หลัง โดยผูกเข้าด้วยกันตั้งแต่อยู่บนบกและใช้แพจากทุ่นพลาสติกเพื่อขนส่งบ้านปลาทั้งหมดไปในบริเวณที่ต้องการวางบ้านปลา ระบบนี้ช่วยลดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาที่ใช้ในการวางบ้านปลา รวมถึงหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการวางบ้านปลาแบบเดิม นอกจากนี้ เอสซีจี กำลังอยู่ในขั้นตอนทดลองนำขยะพลาสติกจากทะเลและชุมชนมาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลเพื่อนำมาผลิตเป็นท่อสำหรับสร้างบ้านปลา ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) อีกด้วย

คุณธีรวัฒน์ สุดสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า วิถีประมงเรือเล็กพื้นบ้านเป็นอาชีพดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานและถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดระยองและภาคอุตสาหกรรม คือกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัด การได้เห็นความร่วมมือร่วมใจของทั้งสองฝ่ายในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอย่างเช่นวันนี้ ทำให้ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งและเชื่อว่าโครงการบ้านปลา เอสซีจี จะเป็นหนึ่งในโครงการที่ช่วยผลักดันการพัฒนาจังหวัดระยองให้ประสบความสำเร็จ ตามวิสัยทัศน์ เมืองนวัตกรรมก้าวหน้า พัฒนาอย่างสมดุล บนพื้นฐานความพอเพียง สามารถสนับสนุนการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพของประชาชนควบคู่กับการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมได้เกื้อกูลกันอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ คุณไมตรี รอดพ้น ประธานวิสาหกิจชุมชนชมรมประมงเรือเล็กพื้นบ้าน อำเภอเมือง และอำเภอบ้านฉาง สามัคคี กล่าวเพิ่มเติมว่า การเข้าร่วมโครงการบ้านปลานอกจากจะทำให้เรามีส่วนช่วยสร้างความสมบูรณ์ให้ระบบนิเวศของท้องทะเลแล้ว ยังทำให้เกิดความสามัคคีกันในกลุ่มชาวประมง เกิดเป็นเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง พวกเรามุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดภูมิปัญญาและวิถีในการทำประมงเชิงอนุรักษ์นี้ต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อรักษาอาชีพประมงพื้นบ้านให้อยู่คู่ประเทศไทยสืบไป

ปัจจุบัน โครงการบ้านปลา เอสซีจี ก้าวเข้าสู่ปีที่ 7 และได้จัดวางบ้านปลาสู่ใต้ท้องทะเลไปแล้วกว่า 1,400 หลัง ในจังหวัดระยอง ชลบุรี และจันทบุรี เกิดเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลกว่า 35 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเครือข่ายกลุ่มประมงพื้นบ้านช่วยกันรักษาและดูแลให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์สำหรับเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนและเจริญพันธุ์ ทั้งนี้ การสร้างบ้านปลาของ เอสซีจี นี้ตั้งเป้าหมายที่จะขยายพื้นที่ให้ครอบคลุมกลุ่มประมงพื้นบ้านในบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ภายในปี 2563 โดยในปีหน้าจะจัดทำบ้านปลาเพิ่มขึ้นอีก จำนวน 400 หลัง ขณะนี้ทาง เอสซีจี กำลังมีนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา นั้นก็คือ “บ้านปลารีไซเคิล” ตอนนี้ได้สูตรในการผสมมาแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การนำไปวางในทะเลทดลองจริง แล้วติดตามว่ามีผลดี ผลเสียอย่างไร

รูปร่างเหมือนบ้านปลาทั่วไป แต่ความคงทนของตัวบ้านปลารีไซเคิลนั้น อันนี้ก็เป็นประเด็นที่ต้องตรวจสอบกันต่อไป ส่วนผสมของบ้านปลารีไซเคิลนั้นคงไม่คล้ายกับบ้านปลาตัวเดิม เพราะมันมาจากขยะ พอได้ขยะมาแล้วเราก็มีการนำมาคัดแยกพลาสติกที่ใกล้เคียงกับ PE100 ถ้าเป็นไปได้ สมมติว่ามีค่าใกล้เคียงกับ PE100 ก็สามารถผสมในปริมาณที่มากขึ้น สัดส่วนก็เยอะขึ้น หากไม่มีค่าที่ใกล้เคียงกันอัตราส่วนผสมก็อาจจะน้อยลง เช่น 10-30 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจจะมากกว่านั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับการทดลองว่าเป็นอย่างไร

หากท่านใดสนใจ หรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องของบ้านปลา ติดต่อ คุณเอกภพ พันธุรัตน์ อีเมล : eakkapop.panthurat@ogilvy โทร. (089) 676-6234, (062) 614-5692, (080) 227-1717

ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด เป็นขนมไทยพื้นบ้านที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก

มีข้าวต้มมัด อีกชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มลูกโยน เป็นการห่อข้าวต้มด้วยใบพ้อหรือยอดมะพร้าวเป็นรูปรี ข้างในเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีไส้ ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม

ส่วนข้าวต้มมัดอีกชนิด เป็นข้าวต้มมัดไต้ เป็นข้าวต้มที่ห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ไส้เป็นถั่วทองโขลกกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ใส่หมู มันหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำ น้ำตาลทราย ห่อด้วยใบตองเป็นแท่ง มัดเป็นเปราะ 4-5 เปราะ แล้วนำไปต้ม บางแห่งใช้เป็นขนมไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีนและสารทจีนด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังมีขนมแบบเดียวกับข้าวต้มที่พบได้ในประเทศอื่นอีก เช่น ฟิลิปปินส์ เรียก อีบอส หรือซูมัน และมีขนมชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มญวน มีลักษณะคล้ายข้าวต้มมัดแต่ห่อใหญ่กว่า ทำให้สุกด้วยการต้ม เมื่อจะรับประทานจะหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด เกลือและน้ำตาลทราย

ทั้งข้าวต้มมัดและข้าวต้มลูกโยน มักนิยมทำเป็นขนมในเครื่องไทยทานถวายพระภิกษุในเทศกาลตักบาตรเทโวเทศกาลออกพรรษา และยังนิยมทำเป็นของแจกกันในหมู่ญาติมิตรในเทศกาลออกพรรษาเช่นเดียวกัน และยังเป็นขนมที่ได้รับความนิยมแพร่หลายในการรับประทานเป็นอาหารว่าง

การทำข้าวต้มมัดในแต่ละภาคของประเทศมีความคล้ายคลึงและแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเพณีและวัฒนธรรม อย่างทาง ภาคใต้ ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ไม่มีไส้แต่ใส่ถั่วขาว ไม่นิยมใช้ถั่วดำ ออกรสเค็มเป็นหลัก ห่อด้วยใบพ้อ เรียก “ห่อต้ม” ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียก “ห่อมัด”

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกข้าวต้มมัดว่า “ข้าวต้มกล้วย” ใช้ข้าวเหนียวดิบมาห่อ ปรุงรสด้วยเกลือนิดหน่อย ใส่ถั่วลิสงต้มสุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงห่อเป็นมัด ใส่ไส้กล้วย เอาไปต้มให้สุก ถ้าเป็นแบบผัด จะผัดข้าวเหนียวกับกะทิก่อนแล้วจึงห่อใส่ไส้กล้วย แล้วต้มให้สุก ถ้าต้องการหวานจะเอามาจิ้มน้ำตาล

ส่วนทางภาคเหนือ นิยมนำข้าวต้มมัดที่สุกแล้วมาหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลทราย เรียก “ข้าวต้มหัวหงอก” ฝิ่น บางถิ่นเรียกว่า “แม่ทองดำ”

ประเทศไทย มีถิ่นปลูกที่สามเหลี่ยมทองคำ เขตจังหวัดเชียงราย บริเวณติดต่อกับพม่าและลาว เมื่อประมาณ พ.ศ. 2520 ย้อนขึ้นไป ชาวเขาเผ่าต่างๆ นิยมปลูกฝิ่นกันเป็นล่ำเป็นสัน เพราะเจ้าหน้าที่ยังเข้าไปดูแลไม่ทั่วถึง ประกอบกับชาวบ้านลำบากยากจน นอกจากทำไร่เลื่อนลอยแล้ว ก็ไม่มีรายได้อื่นๆ ที่จะดีไปกว่าปลูกฝิ่น

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ฝิ่นมี 23 สายพันธุ์ แยกย่อยๆ ได้ถึง 250 ชนิด แต่มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่กรีดยางมาทำฝิ่นได้ นั่นคือ Papaver somniferum

สรรพคุณของฝิ่นมีคุณอนันต์ คนโบราณใช้ทำยาท้องร่วง ยาแก้ปวด และส่วนประกอบยาอีกหลายชนิด แต่ก็มีโทษมหันต์ เมื่อผลิตเป็นยาเสพติด และยังเป็นสารตั้งต้นยาเสพติดชนิดร้ายแรงอื่นๆ

ถ้าแม่ทองดำเป็นสาว ถ้าแต่งมาแล้วดูแลเธอในทางถูกต้อง เธอจะเป็นสุดยอดกุลสตรี ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่ดูแลให้ดีเธอย่อมแสดงฤทธิ์เดชร้ายกาจ นำภัยมาสู่ครอบครัวอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง

กว่าจะได้แม่ทองดำมา ชาวบ้านต้องเก็บยางฝิ่นมาก่อน

การเก็บ “ยางฝิ่น” ในประเทศไทยมีเครื่องมือกรีด เรียกว่า มีดกรีดฝิ่น เป็นมีดขนาดเล็ก งอเหมือนเคียวเกี่ยวข้าว แต่ขนาดเล็กกว่ามาก ด้านปลายคม ถัดขึ้นมาใช้เชือกเส้นเล็กๆ พันไว้ ป้องกันคมมีดกดนิ้วมือ และให้ถนัดขณะประคองมีดกดกรีดกระเปาะฝิ่น

การกรีดฝิ่น ต้องจับมีดให้กระชับ จรดปลายลงบนกระเปาะฝิ่น ให้ยางไหลจากแผลกระเปาะนั้นออกมา เวลากรีดฝิ่นทำในยามบ่าย วิธีกรีดผิวกระเปาะฝิ่น ต้องทำในแนวตั้ง โดยเรียงเป็นแนวขนานกันไปบนกระเปาะนั้น แต่ละแผลห่างกัน ประมาณ 1 ซ.ม.

หลังกรีดแล้ว ปล่อยให้ยางเยิ้มไหลออกมาตามรอยกรีด รอให้จับอยู่กับผิวกระเปาะ รอจนถึงรุ่งเช้าค่อยออกไปเก็บยาง ยางฝิ่นสดแรกกรีดมีสีชมพู สีจะเข้มขึ้นเมื่อถูกลม ในที่สุดจะกลายเป็นสีดำ

ฝิ่นแต่ละกระเปาะกรีดได้ 2-3 ครั้ง

ยางฝิ่นต้องนำไปเคี่ยว ผ่านขั้นตอนต่างๆ จนกระทั่งปั้นให้เป็นก้อนกลม เพื่อเก็บไว้ หรือนำออกไปจำหน่าย

การใช้ฝิ่นของมนุษยชาติ ตามหลักฐานโบราณคดี พบว่า คนเรารู้จักการใช้ฝิ่นมาไม่ต่ำกว่าสมัยอียิปต์รุ่งเรือง และยังพบหลักฐานสมัยโรมันเรืองอำนาจ นั่นคือ เมื่อหลายพันปีมาแล้ว

ใกล้ตัวเราเข้ามา เมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ 21 จีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซื้อฝิ่นจากอินเดียเพื่อใช้ปรุงยา

ส่วนชาวยุโรป ปรากฏว่าพ่อค้าชาวโปรตุเกสเข้ามารับซื้อฝิ่นจากอินเดีย เข้ามาซื้อครั้งแรก ใน พ.ศ. 2202 เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเครื่องเทศ ต่อจากนั้น 100 ปี บริษัทอีสอินเดียของชาวดัทช์ได้ขนฝิ่น 1,400 หีบ สู่ชวา

ความรุ่งเรืองในการค้าของชาวดัทช์ ทำให้อังกฤษได้กลิ่น ห้วงนั้นอังกฤษนักล่าอาณานิคมได้เข้าปกครองอินเดีย และใช้บริษัทอีสอินเดียแห่งอังกฤษ ผูกขาดการซื้อฝิ่นจากอินเดีย แล้วกดดันให้จีนเป็นผู้ซื้อฝิ่นจากบริษัทของอังกฤษ

การกระทำตัวเป็น “พ่อค้าฝิ่น” ของอังกฤษ นอกจากทำให้อังกฤษร่ำรวยแล้ว ยังทำให้เกิดสงครามกับจีน เรียกว่า “สงครามฝิ่น”

ฝิ่นแม้โดยทั่วไปจะเป็นสินค้าผิดกฎหมาย แต่บางประเทศก็ปลูกได้ เพราะต้องนำไปเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยา ประเทศที่ปลูกฝิ่นขายในปัจจุบัน ได้แก่ ประเทศอินเดีย เป็นต้น ส่วนประเทศไทยนั้น การปลูกฝิ่นเป็นการกระทำผิดกฎหมายไปแล้วอย่างสมบูรณ์

ดังนั้น มีดกรีดฝิ่น จึงไม่ใช่เครื่องมือของใช้ที่พบได้ทั่วไป อาจเห็นได้แต่รูปภาพ หรือไม่ก็ในพิพิธภัณฑ์เท่านั้น

เครื่องมือผลิตขึ้นมาใช้ในอาชีพใดก็ตาม เมื่ออาชีพนั้นหมดไป เครื่องมือก็พลอยหายไปด้วย ผิดกันกับคนและการกระทำ แม้คนหนึ่งคนใดจะสิ้นไป แต่ผลของการกระทำยังเหลืออยู่

ที่จ.สงขลา มีขนมโบราณชนิดหนึ่ง ที่ใช่ว่าจะหารับประทานได้ง่ายๆ และขนมเช่นนี้ก็สืบทอดกันในครอบครัวมาตั้งแต่บรรพบุรุษมาปัจจุบันนี้ก็เป็นรุ่นที่ 9 แล้ว

ขนมที่ว่านี้คือ ขนมบอก ซึ่งคุณกัลญา อินเจริญ ทายาทรุ่นที่ 9 เล่าความเป็นมาให้ฟังว่า ขนมชนิดนี้มีมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 วัตถุดิบที่นำมาประกอบเป็นขนมบอก มาจากของที่มีอยู่บริเวณบ้าน ไม่ว่าจะเป็นมะพร้าว ข้าวเหนียว น้ำตาลโตนด เป็นขนมที่ทำกันในครอบครัว จวบจนปัจจุบันที่นำมาสู่รายได้ ให้กับครอบครัวเป็นกอบเป็นกำ

คุณกัลญา เผยว่า สูตรขนมบอก ได้มาจากแม่ของตนเอง เพราะช่วยแม่ทำตั้งแต่อยู่ชั้นประถมปีที่ 3 จนปัจจุบันนี้อายุกว่า 40 ปีแล้ว มีความคลุกคลีกับขนมบอกมาตลอด เพราะแม่ทำขาย แต่ปัจจุบันมาทำขายเอง แต่ยังใช้สูตรดั้งเดิมของแม่ไม่เปลี่ยน โดยใช้แป้งข้าวเจ้า 1 กิโลกรัม แป้งข้าวเหนียว 1 กิโลกรัม น้ำผึ้งเหลว 1 ลิตร ผสมกันนวดแล้วหมักทิ้งไว้ 1 คืน

สูตรนี้สามารถทำขนมได้ 200 ชิ้น แต่เป็นสมัยโบราณจะใช้ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว มาแช่ค้างคืน ก่อนทีจะโม่ ปัจจุบันรวดเร็วขึ้น ใช้แป้งข้าวเจ้าที่มีขายตามท้องตลาด คนโม่แป้งคนรุ่นเก่าล้มตายกันหมด จึงต้องหันมาใช้แป้งสำเร็จรูป แต่รสชาติยังเหมือนเดิมทุกอย่าง

1.ต้มน้ำให้เดือด

2.เอาแป้งที่เตรียมไว้ใส่กระบอกไม่ไผ่

3.วางแผ่นกระดานสำหรับนึ่งผิดฝากระบอก ใช้เวลานึ่งประมาณ 1 นาที 4.เมื่อขนมสุกใช้ไม้กระทุ้งขนมออกจากกระบอก

5.คลุกขนมกับมะพร้าวที่ขูดฝอยโรยด้วยเกลือที่ เตรียมไว้

คุณกัลญา บอกด้วยว่า ขนมบอกของครอบครัวยังคงยืนยันที่จะใช้กระบอกไม้ไผ่บาง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้ว ความยาวประมาณ 1 คืบ บรรจุแป้งสำหรับนึ่ง เพราะเป็นที่มาของขนมกระบอกไม้ไผ่ ผู้รับประทานก็จะได้ความหอมของผิวไม้ไผ่ มีการเปลี่ยนกระบอกทุก 3 เดือน เพราะกลิ่นไม้ไผ่จะหมดและแตกออก จะมีกระบอกไม้ไผ่สำหรับทำขนมประมาณ 3 ชุด สำหรับหมุนเวียนในการทำขนม นอกจากนี้มะพร้าวที่มานำคลุกโรยหน้าต้องขูดด้วยมือที่จะอร่อย อีกทั้งน้ำตาลโตนดจะต้องสดและใหม่เท่านั้นจำนวน 5 ชิ้น 20 บาท

คุณกัลญา ยืนยันว่าจะยังคงอนุรักษ์การทำขนมบอกตลอดไป ซึ่งได้ถ่ายทอดการทำขนมให้ลูกชาย เอาไว้สืบทอดให้ลูกหลาน ไว้ค้าขายเลี้ยงชีพ รายได้การขายขนมบอกโบราณอยู่ในระดับดีพอสมควร และที่อยู่ได้ส่วนหนึ่งมาจาก วัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่น เริ่มจากมะพร้าวซึ่งปลูกบริเวณบ้าน อีกส่วนหนึ่งเป็นวัตถุดิบที่หาซื้อได้ในราคาไม่สูงนัก

“ชีวิตเราอยู่ชนบทดังนั้น ทำแค่ไหนเราก็อยู่กันได้ หากอยู่ในเมืองขายขนมอย่างเดียวคงจะอยู่ไม่ได้ เพราะค่าใช้จ่ายมันสูง”

ทุกวันนี้ อุปกรณ์ที่หายาก คือ ไม้ไผ่บาง ไม่มีเหมือนสมัยก่อนไม้ไผ่บาง หรือไม้ไผ่ป่า จะมีอยู่ทั่วไป ปัจจุบันคนตัดทิ้งเป็นส่วนใหญ่ ปัญหาที่ประสบขณะนี้ คือ หาไม้ไผ่บาง มาใช้เป็นกระบอกได้ยาก บางครั้งต้องไปถึงจังหวัดพัทลุง หรือจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามป่าและภูเขา

และต้องใช้ไม้ไผ่แก่ หากไม้ไผ่อ่อนจะใช้ไม่ได้ เพราะไม้ไผ่จะแตก ซึ่งหากขนมบอกโบราณไม่มีขาย ส่วนหนึ่งเกิดจากการหากระบอกไม้ไผ่มาใช้ในการเผาไม่ได้

“ปัจจุบันนอกจะขายตามตลาดนัดแล้ว ยังรับออกงานด้วย เพราะมีหน่วยงานติดต่อให้ไปแสดงให้ชมและชิม ซึ่งถือว่าเป็นการเผยแพร่ให้รู้จักขนมบอกโบราณ ส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียจะซื้อ เพราะขนมมีความคล้ายกับขนมพื้นบ้านของมาเลเซีย ที่ผ่านมาหน่วยราชการเคยให้ไปแสดงถึงกรุงเทพฯ เพื่อเผยแพร่ให้สังคมทั่วไปได้เห็นขนมโบราณของชาวสงขลา และมีบางเจ้าใช้ข้าวเหนียวทำ เรียกว่า ข้าวเหนียวบอก”

สถานที่ตั้งขายช่วงเช้าวันเสาร์ ที่ตลาดนัดเกาะหมี ต.คลองแห อ.หาดใหญ่ และที่ตลาดควนหิน หายนะครั้งประวัติศาสตร์ – เมื่อ 7 ส.ค. เอเอฟพีรายงานความคืบหน้าเหตุไฟป่าที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าไฟป่าทั้ง 2 จุด ที่เกิดขึ้นพร้อมกันทางภาคเหนือของรัฐลุกลามกลายเป็นเหตุไฟป่าครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของแคลิฟอร์เนีย กินพื้นที่กว่า 1,148 ตารางกิโลเมตร ใหญ่เกือบเท่านครลอสแองเจลิส มีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย และเจ้าหน้าที่สามารถควบคุมเพลิงไว้ได้เพียง ร้อยละ 30 เท่านั้น

สำนักงานดับเพลิงแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย หรือแคลไฟร์ ระบุว่า ความกดอากาศใหม่ที่กำลังมาจะทำให้อากาศอุ่นมากขึ้น แห้ง และมีลมแรง เจ้าหน้าที่จะพยายามอาศัยอุณหภูมิที่ลดลงต่ำในช่วงกลางคืนเพื่อตรึงแนวไว้ไม่ให้ไฟลุกลามมากขึ้นไปอีก ขณะที่ไฟป่าอีกจุดหนึ่งทางเหนือของรัฐกินพื้นที่กว่า 665 ตร.กม. ประกอบกับกระแสลมรุนแรงทำให้เปลวไฟในบางจุดนั้นลุกโชนมีสภาพราวกับพายุทอร์นาโดไฟ

โดยสาเหตุของไฟป่าจุดนี้ที่ลุกลามมาตั้งแต่ วันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมานั้น มาจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรในรถยนต์คันหนึ่งก่อให้เกิดเพลิงไหม้ มีอาคารเสียหายกว่า 1,600 หลัง ในจำนวนนี้ เป็นบ้านที่อยู่อาศัยกว่า 1,000 หลัง ทางรัฐแคลิฟอร์เนียต้องระดมนักผจญเพลิงกว่า 14,000 นาย เข้าแก้ไขสถานการณ์ แต่ก็ยังไม่สามารถควบคุมการลุกลามของไฟป่าได้

เสพกลิ่นวัฒนธรรมชนเผ่าโบราณ สัมผัสธรรมชาติแสนบริสุทธิ์ จิบกาแฟแก้วโปรดท่ามกลางวิวหลักล้าน กับฝรั่งยิ้มกว้าง “แดเนียล เฟรเซอร์” เอาใจคอกาแฟสายชิลล์ พาชมโรงต้มกาแฟ พร้อมลิ้มรสชาติกาแฟโบราณหอมกรุ่น ณ บ้านแม่กลางหลวง จังหวัดเชียงใหม่

ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะเข้าถึงชุมชนแม่กลางหลวงแล้ว แต่คนในชุมชนนั้นกลับยังให้ความสำคัญและรักษาวัฒนธรรมจากคนรุ่นก่อน สู่คนรุ่นหลัง ไม่ว่าจะเป็น โรงต้มกาแฟโบราณ ที่อยู่คู่กับชาวแม่กลางหลวงมานาน อีกทั้งยังมีเอกลักษณ์บนเครื่องนุ่งห่มของชาวปกากะญอ อย่างเสื้อผ้าที่สวมใส่ด้านหน้าและด้านหลังจะมีความยาวเท่ากัน เพราะมีความเชื่อว่า เสื้อผ้าที่ยาวเท่ากันคือความดีต่อหน้าและลับหลัง การไม่โกหก หรือความเสมอภาค นอกจากนี้ ยังมีวิถีเกษตรกรรมดั้งเดิม อย่างการทำนาข้าวขั้นบันได อันเป็นภูมิปัญญาของชาวปกากะญอ ซึ่งคนในสมัยก่อนเริ่มทำขึ้นเพื่อจัดแจงทิศทางการเดินน้ำ

บ้านแม่กลางหลวงแหล่งชมนาขั้นบันไดอันกว้างใหญ่ สามารถมองเห็นดอยอินทนนท์ มีที่พักแบบโฮมสเตย์ รองรับนักท่องเที่ยวที่อยากสัมผัสวิถีชีวิตดั้งเดิม และธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ติดตามชมความงดงามของบ้านแม่กลางหลวง ในรายการหลงรักยิ้ม วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม 2561 เวลา 16.30 น. ทางช่อง 28 (3SD) หรือสอบถามรายละเอียดได้ทาง Facebook: https://www.facebook.com/longrukyim/

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่หน้าพระอุโบสถ วัดจอมสุทธาวาส ตำบลเมืองที อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ว่าที่ร.ต.นิรันดร์ ดุจจานุทัศน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นายกฤษณุ เหลืองพิบูลกิจ นายอำเภอเมือง นายสุทธิโรจน์ เจริญธนะศักดิ์ นายอำเภอกาบเชิง และ นางอุดมลักษณ์ ประชุมรักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวโครงการเที่ยวงานวัด 55 เมืองรอง สุรินทร์บ้านเรา ภายใต้ชื่องานว่า “ขอเชิญเที่ยวงานวัด มะขามลายศิลป์ ถิ่นสุรินทร์”

ซึ่งกำหนดจัดขึ้น ระหว่าง วันที่ 9-11 สิงหาคม ที่วัดจอมสุทธาวาส และโครงการวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวต้นไม้ใหญ่ รุกขมรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี ที่จะจัดขึ้น ในวันที่ 18 สิงหาคม ที่วัดเขาดาร์สปวง บ้านช้างหมอบ หมู่ที่ 14 ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ โดยแต่ละงานจะมีกิจกรรมที่น่าสนใจจัดขึ้นอย่างมากมาย

โดยเฉพาะงาน โครงการเที่ยวงานวัด 55 เมืองรอง สุรินทร์บ้านเรา ที่วัดจอมสุทธาวาส จัดขึ้น เนื่องจากที่วัดแห่งนี้ มีต้นมะขามยักษ์โบราณ อายุกว่า 300 ปี ตั้งตระหง่านอยู่กลางวัด ซึ่งเป็นต้นมะขามที่มีขนาดใหญ่จนน่าทึ่ง เชื่อว่ามีอายุราว 300 ปีขึ้นไป มีเส้นรอบวงกว่า 8 เมตร สูงกว่า 50 เมตร ลำต้นมีขนาดใหญ่ มีผิวลำต้นเป็นริ้วรอย ร่องลึก ลวดลายสวยงามแปลกตา ให้ความรู้สึกเข้มอลังการ ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ที่พบเห็นและผู้มาเยือนเป็นอย่างมาก

จากลักษณะที่โดดเด่นแปลกตาและเป็นไม้ที่มีอายุมาก จังหวัดสุรินทร์ โดยวัฒนธรรมจังหวัด จึงได้ดึงเข้าร่วมโครงการวัฒนธรรมสู่การท่องเที่ยวต้นไม้ใหญ่ รุกขมรดกของแผ่นดิน ใต้ร่มพระบารมี ต้นมะขามลายศิลป์ และโครงการเที่ยวงานวัด 55 เมืองรอง สุรินทร์บ้านเรา เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชม

ทั้งนี้ จังหวัดสุรินทร์ ได้รับการคัดเลือกต้นไม้ที่ทรงคุณค่า จำนวน 2 ต้น คือต้นมะขามลายศิลป์ที่วัดจอมสุทธาวาส ได้รับคัดเลือก 1ใน 65 ต้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้ายู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2560 ต้นที่ 2 คือต้นจันทน์ผา ที่สำนักปฏิบัติธรรมวัดเขาดาร์สปวง บ้านช้างหมอบ หมู่ที่ 14 ตำบลแนงมุด อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ได้รับคัดเลือก 1 ใน 63 ต้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเฉลิมพระชนมายุ 63 พรรษา 2 เมษายน 2561 ต้นจันทน์ผาดังกล่าว นับว่าเป็นต้นจันทน์ผาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

วันที่ 8 สิงหาคม รายงานข่าวจาก กรมชลประทาน แจ้งว่า ขณะนี้มี 3 จังหวัด ที่กรมฯ อยู่ระหว่างเฝ้าระวัง ประกอบด้วย จังหวัดเพชรบุรี ล่าสุดเขื่อนแก่งกระจานมีปริมาณน้ำ 734 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 103% กรมชลประทาน ได้ติดตั้งกาลักน้ำ จำนวน 15 ชุด เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำออกจากอ่างฯ

น้ำเริ่มล้นทางระบายน้ำล้นเมื่อวันที่ 6 ส.ค. 61 ปัจจุบันมีน้ำล้นออกทางระบายน้ำล้นสูง 53 เซนติเมตร ทำให้มีปริมาณน้ำไหลออกท้ายเขื่อนแก่งกระจานรวม 78.10 ลบ.ม./วินาที (6.75 ล้าน ลบ.ม./วัน) ปริมาณน้ำดังกล่าวไหลผ่าน อ.แก่งกระจาน และ อ.ท่ายาง จนถึงเขื่อนเพชร ระดับน้ำยังต่ำกว่าตลิ่ง 1.08-2.20 ม.

ทั้งนี้ คาดว่า วันที่ 10 สิงหาคม 2561 ระดับน้ำสูงสุดเหนือทางระบายน้ำล้น ประมาณ 65 เซนติเมตร อัตราการไหล 106 ลบ.ม./วินาที เมื่อรวมกับปริมาณน้ำที่ระบายผ่านอาคารชลประทาน ทำให้มีน้ำไหลผ่านท้ายเขื่อนแก่งกระจานรวม 224 ลบ.ม./วินาที

ปริมาณน้ำดังกล่าวจะเกินความจุลำน้ำ ที่สถานี B.3A บ้านสองพี่น้อง อ.แก่งกระจาน เล็กน้อย ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมตลิ่ง ทำให้มีระดับน้ำท่วมสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร โดยวันที่ 11 สิงหาคม 2561 มีปริมาณน้ำสูงสุดที่ไหลรวมหน้าเขื่อนเพชร ในเกณฑ์ 230-250 ลบ.ม./วินาที

กรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำโดยการหน่วงน้ำหน้าเขื่อน ตัดน้ำเข้าระบบชลประทานฝั่งซ้าย-ฝั่งขวา รวม 55 ลบ.ม./วินาที และผันเข้าคลองระบาย D9 อัตรา 35 ลบ.ม./วินาที รวมปริมาณน้ำที่ตัดเข้าระบบทั้งสิ้น 90 ลบ.ม./วินาที และระบายผ่านท้ายเขื่อนเพชร ในอัตรา 140-160 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำนี้จะไหลผ่าน อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด โดยไม่มีผลกระทบ ไหลผ่านเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี