สำหรับคนที่อยากปลูกเน้นว่าต้องมาจากสายพันธุ์ที่เสียบยอดถึง

ปลูกโดยเตรียมดิน ขุดหลุมกว้างxลึก 50 เซนติเมตร เพราะต้นไม่ใหญ่มาก ปุ๋ยลองก้นหลุมยังไม่จำเป็นเท่าไหร่เพราะส่วนใหญ่ที่ร้านเขาจะหยอดปุ๋ยมาอยู่แล้ว เมื่อขุดหลุมเสร็จจากนั้นฝังต้นห้ามฝังลึกเด็ดขาดต้องฝังเท่าดินเดิมไม่ว่าจะซื้อพันธุ์อะไรมาปลูกก็แล้วแต่ เตรียมไม้ค้ำให้แข็งแรง แล้วก็ท่องว่าไม้ผลของไทยทั่วไปชอบอากาศร้อนชื้น ห้ามแฉะ ห้ามรดน้ำเยอะมิฉะนั้นรากจะเน่า

การดูแลรักษา

หลังจากปลูกไปแล้ว 15-30 วัน ให้โรยปุ๋ยบริเวณรอบต้น แล้วรดน้ำให้ซึมเข้าไป

ระยะเวลาในการให้ผลผลิต2-3 ปี ขนุนชอบแสงแดดโปร่งๆ ไม่ใช่ร่มทึบ หากใครมีโอกาสไปเที่ยวหัวหิน และแวะช็อปปิ้งที่ “ตลาดฉัตรไชย” ตลาดเก่าแก่ที่อยู่คู่หัวหินมานานกว่า 80 ปี ขอแนะนำให้ลองซื้อ “กล้วยหอมกะเหรี่ยง” ติดมือกลับบ้านด้วย เนื่องจากผลไม้ชนิดนี้มีลักษณะพิเศษกว่ากล้วยหอมทั่วไป กล้วยหอมกะเหรี่ยง มีรสชาติหวานหอมปนเปรี้ยวนิดๆ เนื้อสุกเหนียวหนึบอร่อยมาก รสชาติไม่หวานจัด เผลอกินมาก ก็ไม่ต้องห่วงว่าจะเกิดอาการจุกแน่นหน้าอกเหมือนกับกินกล้วยหอมทั่วไป ทำให้ กล้วยหอมกะเหรี่ยง ขายดีเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้บริโภคคนไทยและต่างชาติจำนวนมาก

เอกลักษณ์เด่นประจำสายพันธุ์อีกอย่างของกล้วยหอมกะเหรี่ยงก็คือ เมื่อผลสุกงอม เปลือกเปลี่ยนเป็นสีดำ เมื่อปอกเปลือกสีดำออกไป เนื้อกล้วยที่อยู่ภายในยังคงเหนียวหนึบรับประทานได้ มีรสชาติอร่อยเช่นเดียวกับผลสุกใหม่ๆ ทุกอย่าง

ขณะที่กล้วยหอมทั่วไป เมื่อเปลือกเปลี่ยนเป็นสีดำ เนื้อในมักจะเน่าเสีย จนกินไม่ได้เลย กล้วยหอมกะเหรี่ยงมีวิตามินซี แคลเซียม ในปริมาณสูง ช่วยรักษากระดูก ฟัน และเหงือก ให้แข็งแรงแล้ว ที่สำคัญมีวิตามิน A มากที่สุด ถือว่า กล้วยชนิดนี้มีวิตามิน A มากกว่ากล้วยไข่เสียอีก ทำให้ช่วยบำรุงสายตาและผิวพรรณได้อย่างดีเยี่ยม

ความจริง กล้วยหอมกะเหรี่ยง ไม่ได้ปลูกเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ประเทศฟิลิปปินส์ ก็ปลูกกล้วยหอมกะเหรี่ยงเช่นกัน ชาวฟิลิปปินส์เรียกผลไม้ชนิดนี้ ในภาษาท้องถิ่นว่า “Lakatan” ชาวฟิลิปปินส์ปลูกกล้วยหอมกะเหรี่ยงเพื่อบริโภคภายในประเทศ และส่งออกไปขายในตลาดโลก

กล้วยหอมกะเหรี่ยง อยู่ในวงศ์ MUSACEAE เป็นสายพันธุ์กล้วยที่ได้กลายพันธุ์จากกล้วยป่า มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น กล้วยหอมพิจิตร กล้วยหอมน้ำผึ้ง กล้วยหอมแม้ว และกล้วยหอมเชียงราย

ในอดีตกล้วยหอมกะเหรี่ยงนิยมปลูกเฉพาะหมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงตามตะเข็บชายแดน ไทย-พม่า ในแถบ จ.กาญจนบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาโครงการหลวงได้แนะนำให้ชาวบ้านในพื้นที่อำเภอหัวหินปลูกกล้วยชาวกะเหรี่ยง เพื่อบริโภคภายในครอบครัว ปัจจุบัน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลหินเหล็กไฟ ได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มแปรรูปกล้วยหอมกะเหรี่ยง ในลักษณะกล้วยหอมกะเหรี่ยงทอดกรอบ ถือเป็นของฝากรสอร่อยที่น่าลิ้มลองอีกชนิดของอำเภอหัวหิน

“ คุณโอม – สุภิณยา สันตะกิจ” นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรอำเภอหัวหิน เล่าว่า กล้วยหอมกะเหรี่ยงมีลักษณะลำต้นแข็งแรง เมื่อตกเครือ ไม่จำเป็นต้องใช้ไม้ค้ำเหมือนกับกล้วยหอมทอง ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี ลำต้นสูง 2.5-3 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร ก้านใบเปิดกว้าง มีปีก กาบลำต้นด้านนอกมีปื้นหนาสีดำ ด้านในมีสีชมพู ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่สีม่วงเข้ม ปลายแหลมและม้วนขึ้น ดอกตัวผู้สีงาช้าง จะหลุดร่วงหลังจากใบประดับหลุดแล้ว

ส่วนดอกตัวเมีย มีสีเหลือง ก้านตรง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียมีความยาวใกล้เคียงกัน กลีบรวมใหญ่สีเหลืองอ่อน ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวสีขาวใส มีรอยหยักที่ปลายในหนึ่ง เครือจะมี 8-12 หวี หวีละ 14-18 ผล มีขนาดใกล้เคียงกับกล้วยหอมทองแต่สั้นกว่าและปลายผลทู่ เมื่อสุกผลมีสีเหลืองทอง เนื้อสีส้มอ่อน ไม่มีเมล็ด มีรสชาติหวานหอมปนเปรี้ยว เปลือกหนา ทนทานต่อการขนส่ง สามารถเก็บได้นาน ไม่เน่าเสียง่าย

เกษตรกรนิยมปลูกขยายพันธุ์ด้วยหน่อ หลังแยกหน่อมาจากต้นแม่ต้น จะขุดหลุมปลูก ขนาด 50 x 50 ซม. ความลึก ประมาณ 50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก หลังจากนำหน่อปลูกลงไปจะใช้ดินกลบรอบโคนต้น และรดน้ำให้ชุ่ม กล้วยหอมกะเหรี่ยง เป็นพืชที่ชอบน้ำ หลังปลูกประมาณ 1 เดือน หน่อกล้วยจะแทงยอดขึ้นมา ใช้มีดเฉือนให้ได้ระยะจากพื้นดิน ประมาณ 50 ซม. เพื่อจะง่ายในการดูแล หลังจากนั้นดูแลให้ปุ๋ยและน้ำตามปกติ หลังปลูกใช้เวลาเพียง 8 เดือน ต้นกล้วยหอมกะเหรี่ยงก็จะตกเครือ

“ด้วงงวงสีดำ” นับเป็นศัตรูพืชที่สำคัญของกล้วยหอมกะเหรี่ยง โดยเจาะบริเวณโคนใบแล้วไข่ลงไป ตัวอ่อนจะชอนไชเข้าไปตามก้านใบ จนถึงเนื้อเยื่อของกล้วยหอมเพื่อดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ลำต้นมีน้ำยางไหลออกมา อาหารที่จะไปเลี้ยงกล้วยหอมไม่พอ ทำให้ต้นกล้วยให้ผลผลิตไม่สมบูรณ์ จึงต้องหมั่นตรวจบริเวณโคนต้น หรือลำต้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการรบกวนของโรคแมลงศัตรู

นอกจากนี้ ยังมีแมลงศัตรูพืช ที่ชาวบ้านเรียกว่า “ตัวไถเปลือก” เข้าทำลายเปลือกกล้วยให้เป็นลายทาง ทำให้จำหน่ายผลสดไม่ได้ราคา จึงจำเป็นต้องฉีดยาฆ่าแมลง ในช่วงกล้วยเริ่มตั้งท้อง เพื่อป้องกันล่วงหน้า เพราะถ้าฉีดตอนกล้วยออกเครือแล้ว จะทำให้ผลมีสีเหลือง หรือเกิดอาการไหม้ได้

กล้วยหอมกะเหรี่ยง มีลักษณะ “กล้วยหวงหน่อ” เพราะแตกหน่อน้อยกว่ากล้วยชนิดอื่นๆ จุดอ่อนนี้ สามารถแก้ปัญหาได้โดยใช้วิธีการพูนโคนกล้วยอยู่เสมอ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาโคนลอย และคอยใส่ปุ๋ยคอกบำรุงตลอดเวลา เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณธาตุอาหารแก่ต้นแม่ ให้เจริญเติบโตไวและแตกหน่อได้ดี

เมื่อต้องการแยกหน่อไปปลูกในแหล่งใหม่ ควรขุดแยกหน่อที่มีสภาพสมบูรณ์ และไม่ติดกับต้นแม่จนเกินไป เพื่อไม่ให้การขุดหน่อกระทบต่อต้นแม่ หลังจากนั้นให้ตัดยอดออก เพื่อลดการคายน้ำ หากใครสนใจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ กล้วยหอมกะเหรี่ยง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานเกษตรอำเภอหัวหิน โทร. 032-512-458 ได้ ในวันและเวลาราชการ

จากสถิติของกรมส่งเสริมการเกษตร ปัจจุบัน ประเทศไทยผลิตกาแฟได้ประมาณ 3 หมื่นตัน ลดลงจากในอดีตที่เคยผลิตได้ 7 หมื่นตัน ทั้งนี้ เนื่องจากทางภาคใต้ได้ตัดโค่นกาแฟลง เพื่อปลูกยางพารา และปาล์มน้ำมันทดแทน ทั้งนี้ กาแฟที่ปลูกในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ อะราบิก้า และ โรบัสต้า ชนิดแรกไทยเราผลิตได้เพียง 5 เปอร์เซ็นต์ ของทั้งหมด ส่วนโรบัสต้าผลิตได้มากถึง 95 เปอร์เซ็นต์

กาแฟอะราบิก้า ให้กลิ่นและรสชาติ ต้องปลูกบนที่สูงอากาศเย็นในบางช่วง จึงปลูกกันมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก และแม่ฮ่องสอน ลักษณะอะราบิก้า มีทรงต้นเล็ก พุ่มเตี้ย สูงประมาณ 2-5 เมตร ใบมีขนาดเล็กเขียว ผิวบนเป็นมัน มีความสามารถต้านทานโรคศัตรูต่ำ ตั้งแต่เริ่มผลิดอกถึงระยะเก็บเกี่ยว ประมาณ 5-9 เดือน

กาแฟโรบัสต้า มีทรงต้นใหญ่กว่าอะราบิก้า มีความสูง 3-6 เมตร มีข้อปล้องยาว ใบมีขนาดใหญ่สีเขียว แต่ไม่เป็นมัน ชอบอากาศร้อนชื้น ฝนตกสม่ำเสมอ มีปลูกกันมากที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ระนอง และพังงา

จากรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ประเทศไทยต้องเปิดตลาดนำเข้ากาแฟตามข้อตกลงของ WTO ระหว่างปี พ.ศ. 2555-2557 เป็นเมล็ดกาแฟในปริมาณ 5.25 ตัน และกาแฟสำเร็จรูปอีก 134 ตัน ในช่วงเวลาเดียวกัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยวิธีส่งเสริมการใช้ทรัพยากรดินอย่างมีประสิทธิภาพ และปรับปรุงสวนที่เสื่อมโทรมให้ดีขึ้น ที่สำคัญส่งเสริมการขายเมล็ดกาแฟตามชั้นและคุณภาพ ก็คงต้องติดตามกันต่อไป

คุณปรุง ป้อมเกิด เกษตรกรผู้ปลูกมะละกอสายพันธุ์แขกดำ ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เริ่มจากดูที่ผลมีความยาวพอประมาณ โคนผลเล็ก ตรงกลางใหญ่ ปลายเรียว แต่ไม่แหลมจนเกินไป ปลายควรทู่พอสมควร ผิวผลสวย ขนาด 1.5-2 กิโลกรัมต่อผล นี่เป็นลักษณะภายนอก เมื่อผ่าผลสีเนื้อต้องแดง สำคัญที่สุดรสชาติต้องหวาน คุณปรุงคัดพันธุ์มานานกว่า 20 ปี สามารถบอกได้เลยว่า มะละกอสวนนี้เป็น”มะละกอแขกดำสายพันธุ์นายปรุง”

คุณปรุงปลูกมะละกออยู่ริมถนนสายพุทธมณฑล-นครชัยศรี คนทั่วไปรู้จักกันดี ซึ่งเป็นละที่กับบ้านัพักอาศัย นอกจากคุณปรุงแล้ว ปัจจุบันทายาทของเขา คุณสมจินต์ ป้อมเกิด ได้มาช่วยพ่อปลูกมะละกอ ขณะเดียวกันก็ขยายพื้นที่ออกไปไม่น้อย

คุณสมจินต์ เล่าให้ฟังว่า ตนเองช่วยพ่อปลูกมะละกอตั้งแต่ยังเล็ก เมื่อเรียนจบก็ไปทำงานเปลี่ยนบรรยากาศอยู่ที่นวนครพักหนึ่ง เมื่อแต่งงาน จึงกลับมาหาพ่อ พร้อมลงมือปลูกมะละกออย่างจริงจัง ซึ่งรายได้นั้น ปลูกมะละกอดีกว่ามาก

คุณสมจินต์เล่าถึงการปลูกมะละกอว่า เมื่อได้เมล็ดจากผลสุก นำมาล้างน้ำเอาเมือกที่หุ้มเมล็ดออก ผึ่งลมในสภาพห้อง 2-3 คืน แล้วคลุกยากันรา จึงห่อด้วยผ้าที่ชุบน้ำ เป็นเวลา 4 คืน ทุกวันนี้ทางสวนเพาะในถาดที่มี 60 หลุม หยอดเมล็ดลงหลุมละ 2 เมล็ด ตั้งแต่เพาะเมล็ดจนปลูกได้ใช้เวลาราวเดือนครึ่ง

ดินที่ปลูก เจ้าของบอกว่า ระดับน้ำควรห่างจากสันแปลงไม่น้อยกว่า 1 เมตร หากน้ำใกล้รากมะละกอเกินไป อาจเหี่ยวเฉาได้ มะละกอต้องการความชื้น แต่ไม่ชอบดินแฉะ วิธีเตรียมดิน ใช้รถตีดิน เป็นการพรวนดินนั่นเอง

เกษตรกรรายนี้ ปลูกมะละกอโดยใช้ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 2 เมตร

ใน 1 หลุม ปลูกมะละกอ 2 ต้น เมื่อมีดอกก็คัดเพศ ดอกที่มีลักษณะรูปขวดเรียวๆ เหมือนขวดเหล้า เป็นดอกกระเทย ผลออกมายาว เป็นที่ต้องการของผู้ปลูก ต้นที่ดอกเหมือนดอกบัวตูม เป็นต้นตัวเมีย ผลที่ออกมาอ้วนป้อม ขายไม่ได้ เจ้าของจะตัดทิ้ง

ใน 1 หลุม มี 2 ต้น เมื่อพบว่ามีดอกกระเทยทั้งสองต้น ตัดทิ้งต้นหนึ่ง หากพบว่ามีดอกกระเทยและดอกตัวเมีย ตัดต้นตัวเมียทิ้ง แต่หากพบว่า มีเป็นต้นตัวเมียทั้งคู่ ตัดทิ้งทั้งคู่แล้วปลูกใหม่ ในระยะเวลา 3 เดือน เจ้าของบอกว่า เร่งให้ทันกันได้ แต่หากช้ากว่านั้น เจ้าของบอกว่าไม่ทัน

เรื่องการดูแลรักษา หน้าแล้งเจ้าของรดน้ำให้วันเว้นวัน ปุ๋ย ต้นเล้กๆใส่สูตร 25-7-7 ปริมาณขนาด 1 ช้อนกาแฟทุกๆ 7 วัน เมื่อมีผลใส่สูตร 8-24-24 เดือนละครั้ง ต้นละ 1 ช้อนโต๊ะ เมื่อเก็บผลผลิตใส่สูตร 13-13-21 จำนวน 2 ครั้งต่อเดือน ส่วนปุ๋ยคอก ใส่ขี้ไก่ ช่วงที่ยังไม่เก็บผลผลิต เมื่อมีผลผลิตใส่ขี้ค้างคาว ช่วยให้เนื้อมีคุณภาพดี รสชาติหวาน ข้อควรพิจารณาในการใส่ปุ๋ย หากต้นมะละกอใบยังเขียวเข้มอยู่ แสดงว่าอาหารยังมีมาก อาจจะลดปริมาณปุ๋ยลง หากผลผลิตดก ใบไม่สมบูรณ์ อาจจะเพิ่มปุ๋ยให้มากขึ้น

โรคมะละกอที่น่ากลัวมาก คือโรคใบด่างวงแหวน ไม่มีทางรักษา เพียงแต่ป้องกัน โดยป้องกันแมลงที่เป็นพาหะ หากพบว่ามะละกอเป็นโรคต้องรีบตัดทิ้ง ห้ามเสียดายเป็นอันขาด

คุณปรุงและลูกชาย ปลูกมะละกอแล้วห่มผ้าให้ที่ผลมะละกอ โดยใช้ผ้าซับในกระโปรง สีขาว(ยังไม่เคยใช้ ซื้อมาใหม่) ห่อรอบบริเวณที่ติดผล ผ้าที่ห่อหรือห่มให้ ช่วยป้องกันแมลงได้ส่วนหนึ่ง ทำให้คุณภาพของผลผลิตดีขึ้น ป้องกันแสงแดดที่ร้อนจัดทำลายผิวผล เริ่มเก็บผลผลิตได้ เจ้าของเก็บอยู่ได้นาน 14 เดือน เท่ากับว่าตั้งแต่ปลูกจนตัดต้นทิ้งแล้วปลูกใหม่ ใช้เวลา 22 เดือน ระยะเวลาที่เก็บผลผลิตอยู่ 14 เดือน เจ้าของบอกว่า น้ำหนักผลผลิตที่สมบูรณ์จำหน่ายได้ราคาดี มีราว 100 กิโลกรัมต่อ 14 เดือนต่อต้น

คุณณรงค์ หงษ์วิชุลดา อยู่บ้านเลขที่ 122หมู่8 ต.กาบเชิง อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ประกอบอาชีพเป็นช่างทำประตูม้วน และมีอาชีพเสริมคือการรับจ้างเก็บมะพร้าว คุณณรงค์ เล่าว่า ที่บ้านอยู่ติดกับชายแดนเขมร-ช่องจอม เวลาต้องไปเก็บมะพร้าวจะเจอกับปัญหาแรงงานที่หายาก จำเป็นต้องใช้แรงงานเขมร จ้างเก็บในราคาลูกละ 1.50-2 บาท แต่ช่วงหลังๆ มาแรงงานกลับบ้านเริ่มหาคนงานยาก ด้วยความที่ตัวเองเป็นช่างอยู่แล้วจึงคิดดัดแปลงหาวิธีพัฒนามาเป็น จักรยานปีนมะพร้าว ใช้งานสะดวก ใครก็สามารถปีนได้

“จักรยานปีนมะพร้าว” ตั้งมาจากที่ชาวบ้านชอบเรียก เมื่อเอาไปขึ้นที่ไหนชาวบ้านเขาก็จะเรียกว่าจักรยานปีนมะพร้าวเพราะระบบการทำงานคล้ายกัน ปั่นขึ้นไปเรื่อยๆ ในตอนแรกกะว่าจะทำแค่ใช้เอง แต่มีอยู่ครั้งหนึ่งลูกน้องยืมเอาเครื่องนี้ไปใช้แล้วมีคนถ่ายคลิปมาลงเราไปเห็นในเฟซบุ๊กจำได้ว่าเป็นของเรา มีคนเข้าไปดูกดถูกใจกันเยอะแยะ ผมจึงลองโพสขาย ในราคา 1800 บาท ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ

วัสดุอุปกรณ์ ทำจากเหล็กหนาอย่างดี ใช้งานได้นานถ้าเก่าให้ทาสีใหม่ อุปกรณ์เราแน่นหนา เพราะการขึ้นที่สูงจะทำเล่นๆ กันไม่ได้ ตกมาแขนขาหักไม่คุ้ม และก่อนที่จะทำขายมีการทดลองใช้มาก่อนหน้านี้นานแล้ว

วิธีการใช้งาน ที่เน้นๆ คือมะพร้าวและต้นหมาก แต่หากอยากใช้ปีนตัดติ่งกิ่งต้นไม้ธรรมดาก็สามารถทำได้ หรือใช้ขึ้นต้นหมาก ต้นตาลก็ดี แนะนำสำหรับจะขึ้นต้นตาล ต้นตาลมีโคลนใหญ่ต้องมีการต่อผะองขึ้นไปประกอบเครื่องบนนั้น

การตลาด คุณณรงค์จำหน่าย จักรยานปีนมะพร้าวมา 6 เดือนแล้ว ผลตอบรับดี ลูกค้าส่วนใหญ่จะติดต่าเข้ามาทางเฟซบุ๊ก อีกกลุ่มที่โทรมาเป็นลูกค้าจากทางภาคใต้เป็นส่วนมาก

กล้วยยังเป็นสินค้าเกษตรยอดนิยม สร้างรายได้ให้กับคนไทยอยู่ ณ ปัจจุบัน ด้วยเพราะปลูกง่าย ขายได้ทั้งแบบเป็นลูก นำไปแปรรูป หรือเพาะพันธุ์ขายก็ได้ทั้งนั้น

คุณสมบัติ สุขนันท์ อายุ 52 ปี หนึ่งในเกษตรกรที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับกล้วย และเป็นเจ้าของสวน “สมบัติอาณาจักรกล้วย” เล่าว่า เป็นคนชอบสะสม เมื่อเห็นกล้วยสายพันธุ์แปลกๆ ก็เริ่มหลงใหล ตนจึงสะสมเรื่อยมานับเวลาแล้วกว่า 20 ปี ซึ่งกล้วยที่สะสมเป็นสายพันธุ์กล้วยหายากจากทั่วประเทศ ซื้อพันธุ์มาแล้วเพาะพันธุ์เพิ่ม ขยายไปเรื่อยๆ ซึ่งตอนนี้มีประมาณ 220 กว่าสายพันธุ์ และนำออกจำหน่ายได้ 10 กว่าปีแล้ว

“ผมขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ จะไม่ใช้การเพาะเนื้อเยื่อ”

คุณสมบัติ เล่าอีกว่า กล้วยทั้งหมดปลูกในพื้นที่กว่า 1 พันไร่ โดยกระจายอยู่ในหลายจังหวัด ทั้งนนทบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี พิษณุโลก เชียงใหม่ เป็นต้น

“ที่ผมกระจายพื้นที่ปลูกไว้หลายจุดแบบนี้เพราะเคยปลูกไว้ที่เดียวกันปรากฏว่าน้ำท่วม กล้วยเสียหายหมด 3 หมื่นกว่ากอ” โดยก่อนหน้านี้คุณสมบัติไม่ได้คิดนำพันธุ์กล้วยออกจำหน่าย แต่ด้วยธุรกิจโรงงานทำนั่งร้านก่อสร้าง ประสบปัญหาโดนโกงจนหมดตัว เป็นหนี้สิบกว่าล้าน จึงหันมาจำหน่ายพันธุ์กล้วย ปัจจุบันหนี้สินทั้งหมดถูกชำระหมดแล้วด้วยเงินจากอาชีพนี้

ส่วนเส้นทางการจำหน่าย คุณสมบัติจะออกตามงานเกษตรทั่วๆ ไป ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีจำหน่ายที่สวนในจังหวัดนนทบุรีอีกด้วยหากลูกค้าสนใจ

“อย่างลูกค้าบางรายมาเจอแต่ซื้อกลับไม่ได้ ก็ให้เบอร์ติดต่อ นัดแนะมาซื้อที่บ้านที่จังหวัดนนทบุรีก็มี” ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ที่ซื้อ มีหลายกลุ่ม บางคนซื้อเก็บสะสม บางคนเลือกเฉพาะพันธุ์ที่ชอบ รสชาติอร่อยไปปลูกกินเอง หรือปลูกเพื่อขายต่อไป

ราคาแต่ละสายพันธุ์ไม่เท่ากัน อย่างพันธุ์หายากจะมีราคาสูง เช่น กล้วยขนุน ราคา 800 บาท เป็นพันธุ์จากจังหวัดยะลาที่เกือบสูญพันธุ์แล้ว เวลาสุกแล้วจะมีกลิ่นหอมเหมือนขนุน เนื้อจะกรอบเหมือนขนุน ลูกมีขนาดใหญ่กว่ากล้วยหอมทอง

อีกชนิดที่ราคาสูงไม่แพ้กันคือกล้วยร้อยปลี ซึ่งกล้วยชนิดนี้มีแต่หัวปลี ทานอร่อย และอีกชนิดที่ราคารองลงมา คือกล้วยเทพพนม ราคา 500 บาท เป็นกล้วยมงคลปลูกไว้เสริมบารมี ทานอร่อยรสชาติคล้ายกล้วยน้ำว้า

นอกจากจะจำหน่ายพันธุ์กล้วยแล้ว คุณสมบัติยังแปรรูปกล้วยเป็นกล้วยตาก นำกล้วยเล็บมือนางจากสวนชาวบ้านในละแวกและสวนของตนเอง มาร่วมกันแปรรูปสร้างรายได้อีกทาง

“ผมแปรรูปเองแล้วจึงไปสอนให้ชาวบ้านทำ เพื่อเป็นรายได้อีกทาง เพราะบางทีชาวบ้านมักโดนพ่อค้ากดราคากล้วย” ถามถึงรายได้จากการขายพันธุ์กล้วย คุณสมบัติ บอกว่า แล้วแต่งาน บางงานได้ถึงหลักแสนบาท หรือบางงานหลักหมื่นบาทก็มี

“รายได้ขึ้นอยู่กับงาน งานไหนโปรโมตดี คนมาเยอะก็ขายได้เยอะ อย่างทางอีสานเคยขายได้แตะหลักล้านบาท”

ซึ่งในการขายแต่ละครั้ง ไม่ได้นำทุกพันธุ์ไปขาย คัดๆ เอาพันธุ์ที่เหมาะกับพื้นที่และดูจากความต้องการของลูกค้า ขนไปแต่ละครั้ง ก็ 2-3 คันรถ คุณสมบัติ ทิ้งท้าย

ต่อจากฉบับที่แล้ว

ทำไม ต้องงดน้ำ เพื่อให้มะนาวออกดอก ในช่วงกลางเดือนกันยายน หากไม่มีฝนตกต่อเนื่อง ก็ไม่ต้องรดน้ำต้นมะนาวเลย เป็นการเร่งให้ต้นมะนาวเกิดความเครียด จะออกดอกได้ง่าย ตามธรรมชาติแล้ว หากมะนาวขาดน้ำซักระยะแล้ว ได้รับน้ำใหม่ติดต่อกัน ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็จะออกดอกตามมา ถ้าต้นมะนาวยังไม่ออกดอก แนะนำให้ใช้สูตรการเร่งการสะสมอาหารและสูตรเร่งการออกดอก โดยอาจจะเติมสารโพลีเอไซม์ อัตรา 50 ซีซี กับ เทรนเนอร์ อัตรา 10 ซีซี ฉีดร่วมกับปุ๋ย สูตร 10-52-17 อีก 1-2 ครั้ง
ต้นเดือนตุลาคม เร่งการออกดอก ในการเร่งการออกดอกนั้น ต้นมะนาวจะต้องพร้อม โดยให้สังเกตที่ใบมะนาวเป็นหลัก ใบมะนาวที่พร้อมจะออกดอก จะต้องมีสีเขียวเข้ม ใบยกตั้งขึ้นคล้ายผีเสื้อ หากเรามองไปในแปลงจะมองเห็นท้องใบมะนาวเป็นสีขาว อาการแบบนี้ จะดึงดอกได้ง่าย การดึงดอกจะใช้ปุ๋ยโพแทสเซียมไนเตรต (13-0-46) อัตรา 250 กรัม ร่วมกับฮอร์โมนกลุ่มสาหร่าย-สกัด เช่น แอ็กกรีน อัตรา 20 ซีซี ฉีดพ่น 1-2 ครั้ง มะนาวจะออกดอกตามมา หลังเปิดตาดอกจะต้องให้น้ำติดต่อกันทุกวัน เป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ มะนาวจะเริ่มพัฒนาตาดอก โดยดอกของมะนาวจะออกตามใบอ่อนชุดใหม่ หรือออกดอกที่ซอกใบแก่ก็ได้

ช่วงออกดอก จะพบศัตรูทำลายดอกที่สำคัญ คือ เพลี้ยไฟ จะเข้าทำลายดอกตั้งแต่ดอกตูม จะทำให้ดอกแตกผสมไม่ติด นอกจากนั้น เพลี้ยไฟจะลงทำลายผิวของผลอ่อน ทำให้ผิวผลเป็นรอยสีน้ำตาล ผิวไม่สวย เสียหาย ถ้าลงทำลายมาก ผลอ่อนจะร่วง เสียหายมาก แนะนำให้ฉีดพ่นสารโปรวาโด (ชื่อสามัญ อิมิดาคลอพริด 70% WG) อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร (สารโปรวาโด เป็นยาเย็นไม่ทำลายดอก) หรือเลือกใช้สารเอ็กซอล (ชื่อสามัญ สไปนีโทแรม) อัตรา 5-10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร จำไว้เสมอ ช่วงดอกบานให้หลีกเลี่ยงการใช้ยาฆ่าแมลงกลุ่มยาน้ำมัน และยาเชื้อรากลุ่มคอปเปอร์ เพื่อไม่ให้ความร้อนจากยาที่ฉีดพ่นไปทำลายดอกมะนาว

ดูแลผลอ่อน ถ้ามะนาวออกดอกได้ในช่วงเดือนตุลาคมก็จะเก็บขายได้ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน การดูแลผลอ่อนหลังดอกโรยแล้ว จะต้องคอยดูเพลี้ยไฟให้ดี เพราะเพลี้ยไฟจะคอยทำลายผิว ทำให้ขายไม่ได้ราคา ดูแลเรื่องการให้น้ำดีๆ ป้องกันผลร่วง เมื่อเห็นดอกมะนาวแล้ว จะต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันผลอ่อนหลุดร่วง ทางดิน อาจใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น สูตร 16-16-16 หรือหากไม่มี อาจใช้ปุ๋ยสูตรสะสมที่เราเหลืออยู่ก็ได้ ดอกมะนาวจากเริ่มบานจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ใช้เวลา 4 เดือนขึ้นไป (แต่ถ้าราคาซื้อขายมะนาวแพง ผลมะนาวมีน้ำก็สามารถเก็บขายได้เลย ไม่จำเป็นต้องรอให้ผลมะนาวครบอายุแต่อย่างใด) และผลมะนาวจะเริ่มร่วงหล่นเมื่อมีอายุผลได้ 5 เดือนครึ่ง ถึง 6 เดือน ช่วงเลี้ยงผลอ่อนก็จะฉีดพ่นด้วยฮอร์โมน เช่น แคลเซียมโบรอน จิบเบอเรลลิน (เช่น จิพแซด) เพื่อช่วยขยายขนาดผลให้ผลมะนาวโตเร็วขึ้นให้ทันราคาขายที่แพง
ตัวอย่าง การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดแมลงศัตรูในสวนมะนาว

หนอนชอนใบ ชื่อสามัญ อะบาแม็กติน สมัครเว็บพนันออนไลน์ (ชื่อการค้า แจคเก็ต, โกลแจ็กซ์) ชื่อสามัญ อิมิดาคลอพริด (ชื่อการค้า โปรวาโด, โคฮีนอร์) ชื่อสามัญ ไทอะมีโซแซม (ชื่อการค้า มีโซแซม) ชื่อสามัญ โคลไทอะนิดิน (ชื่อการค้า แดนท็อซ) เลือกใช้และไว้สลับตัวยาในการฉีดรอบต่อๆ ไป เพื่อป้องกันการดื้อยา

เพลี้ยไฟ ชื่อสามัญ อิมิดาคลอพริด (ชื่อการค้า โปรวาโด), (เพลี้ยไฟ จะใช้อัตราที่สูงกว่าการฉีดกำจัดหนอนชอนใบ) ชื่อสามัญ สไปนีโทแรม (ชื่อการค้า เอ็กซอล) ชื่อสามัญ อะเซททามิพริด (ชื่อการค้า โมแลน) ชื่อสามัญ คาร์โบซัลแฟน (ชื่อการค้า ไฟท์ช็อต, พอสซ์) ชื่อสามัญ อีไธออน ชื่อสามัญ ไธอะมีโซแซม (ชื่อการค้า มีโซแซม) เลือกใช้และไว้สลับตัวยาในการฉีดรอบต่อๆ ไป เพื่อป้องกันการดื้อยา

เพลี้ยไก่แจ้ ชื่อสามัญ โคลไทอะนิดิน (ชื่อการค้า แดนท็อซ) ชื่อสามัญ อิมิดาคลอพริด (ชื่อการค้า โปรวาโด) ชื่อสามัญ ไดโนทีฟูแรน (ชื่อการค้า สตาร์เกิล) ชื่อสามัญ แลมป์ดาไซฮาโลทริน (ชื่อการค้า เคเต้, คาราเต้) เลือกใช้และไว้สลับตัวยาในการฉีดรอบต่อๆ ไป เพื่อป้องกันการดื้อยา

ไรแดง ชื่อสามัญ โพรพาริไกด์ (ชื่อการค้า โอไมท์) ชื่อสามัญ อามีทราซ ชื่อสามัญ สไปนีโทแรม (ชื่อการค้า เอ็กซอล) เลือกใช้และไว้สลับตัวยาในการฉีดรอบต่อๆ ไปเพื่อป้องกันการดื้อยา

ไรสนิม ชื่อสามัญ กำมะถัน (ชื่อการค้า กำมะถันทอง) ชื่อสามัญ โพรพาริไกด์ (ชื่อการค้า โอไมท์) ชื่อสามัญ อามิทราซ ชื่อสามัญ ไพริดาเบน (ชื่อการค้า แซนไมท์) เลือกใช้และไว้สลับตัวยาในการฉีดรอบต่อๆ ไป เพื่อป้องกันการดื้อยา

หนอนแปะใบ ชื่อสามัญ บาซิลลัส ทูริงเยนซิส หรือ เชื้อ “บีที” ถ้าเป็นชนิดน้ำ ใช้อัตรา 80-100 ซีซี ต่อน้ำ 20 ซีซี ถ้าเป็นชนิดผง ใช้อัตรา 60-80 กรัม ต่อน้ำ 20 ซีซี