สำหรับจังหวัดสงขลา นับเป็นหนึ่งในจังหวัดนำร่อง โดย สศท.9

ได้ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญ ของสินค้าข้าว บริเวณคาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ดำเนินการศึกษาสินค้าทดแทนและปรับเปลี่ยนที่เหมาะสม เช่น ปาล์มน้ำมัน พืชผัก และสินค้าที่ตลาดมีความต้องการ เช่น ดาวเรืองตัดดอก หญ้าหวายข้อ กล้วยหอมทอง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังค้นพบข้อสรุปที่ได้จากการระดมความคิดเห็น โดยพบว่า พืชร่วมยางพาราที่น่าสนใจ ได้แก่ สละ เนื่องจากสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน และพืชสมุนไพร ที่สามารถแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและตลาดมีความต้องการสูง อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังเรื่องการใช้สารเคมีที่ใช้ในสวนยาง เพราะอาจปนเปื้อนได้ สำหรับพืชเสริมและพืชทดแทนชนิดอื่นที่น่าสนใจ เนื่องจากมีศักยภาพในพื้นที่ ได้แก่ กระจับในร่องน้ำ มะพร้าวน้ำหอม มะม่วงเบา

ทั้งนี้ พบว่า เกษตรกรยังมีความต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนการเพิ่มรายได้ โดยการปลูกพืชแซม การเลี้ยง ปศุสัตว์ในสวนยางพารา ซึ่งแนวทางในการเลือกสินค้าทดแทนนั้น ควรพิจารณาหลายด้าน ทั้งโอกาสทางการตลาด ความเหมาะสมทางกายภาพ (ดิน น้ำ) เป็นสินค้าที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าสินค้าที่ทดแทน มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมสนับสนุน และสอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตชุมชนอีกด้วย ซึ่งเกษตรกรและท่านที่สนใจในโครงการบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัดสงขลา สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 โทร.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 จังหวัดนครสวรรค์ ลงพื้นที่สำรวจบัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จังหวัดนครสวรรค์ พบว่าปริมาณผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ลานตากในจังหวัดนครสวรรค์รับซื้อ เป็นผลผลิตที่เพาะปลูก ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ร้อยละ 69.31 และรับซื้อจากจังหวัดอื่น ร้อยละ 30.69 โดยผลผลิตถูกส่งไปยังโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ จังหวัดนครปฐม และลพบุรี เนื่องจากนครสวรรค์ยังไม่มีโรงงานผลิตอาหารสัตว์หรือแปรรูปผลผลิตจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย แต่มีปัญหาด้านราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ หนึ่งในแนวทางที่จะแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร คือ การทำบัญชีสมดุลของสินค้าเกษตร เพื่อใช้เป็นแนวทางใน การบริหารจัดการปริมาณการผลิตไม่ให้มีมากเกินความต้องของตลาดและการบริโภค หรือเพิ่มความต้องการใช้ให้สอดคล้องกับปริมาณการผลิตที่มีมากขึ้น

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 จังหวัดนครสวรรค์ (สศท.12) จึงได้ดำเนินการศึกษาบัญชีสมดุลสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ของจังหวัดนครสวรรค์ โดยลงพื้นที่สำรวจ เก็บข้อมูลบัญชีสมดุลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัด พบว่า เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์ลูกผสมเอกชน เช่น 888 999 339 และ7979 เป็นต้น ไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เองได้ ต้องซื้อจากร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์หรือพ่อค้าที่สนับสนุนการเพาะปลูก โดยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เพาะปลูกในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ คิดเป็นร้อยละ 69.31 ของปริมาณผลผลิตที่ลานตาก/ไซโลจังหวัดนครสวรรค์รับซื้อ ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่นำเข้าจากจังหวัดอื่น คิดเป็นร้อยละ 30.69 ได้แก่ จังหวัดลพบุรี คิดเป็นร้อยละ 0.79 และมาจากพ่อค้ารวบรวม จังหวัดตาก จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดน่าน คิดเป็นร้อยละ 29.90

เกษตรกรเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จะขายให้กับลานตากรับซื้อ/ไซโลโดยตรง คิดเป็นร้อยละ 61.13 มีพ่อค้ารายย่อยรวบรวมให้กับลานตากรับซื้อ/ไซโล คิดเป็นร้อยละ 8.18 โดยลานตากและไซโลที่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่จะทำการตากและคัดเมล็ดเพื่อส่งขายนอกจังหวัดนครสวรรค์ ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดนครสวรรค์ ยังไม่มีโรงงานผลิตอาหารสัตว์หรือแปรรูปผลผลิตจากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิตทั้งหมดจึงส่งไปยังโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ จังหวัดนครปฐม และลพบุรีแทน

ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือ ภาครัฐ เกษตรกร และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ ระดับประเทศ ต้องร่วมกันวางแผนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ป้องกันปัญหาผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เกินความต้องการของตลาดในประเทศ ท่านที่สนใจข้อมูลผลการสำรวจ สามารถขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมและคำแนะนำได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดสรรงบประมาณการวิจัยให้แก่ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. ในการคัดเลือกและบริหารโครงการภายใต้แผนงานวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองความต้องการประเทศโดยเร่งด่วน : กลุ่มเรื่องข้าว ภายใต้ยุทธศาสตร์ในการวิจัย 6 ด้าน ซึ่งได้มีการสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัยแก่โครงการวิจัย เรื่อง เครื่องปลูกข้าวแบบใช้ต้นกล้านาโยน ของ นายสมพร หงษ์กง และนายตะวัน ตั้งโกศล จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร

การทำนาโยน เป็นวิธีการทำนาแบบใหม่ คือการโยนต้นกล้า ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจของเกษตรกร เนื่องจากเป็นนวัตกรรมการทำนาที่ช่วยป้องกันปัญหาการเกิดข้าววัชพืช และการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องใช้สารเคมีทุกชนิด ส่งผลให้คุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น นับว่าเป็นทางเลือกใหม่ของการทำนาแบบยั่งยืนและทำให้อาชีพชาวนาเกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจยิ่งขึ้น ภูมิปัญญาการทำนาโยนมีต้นกำเนิดที่ประเทศญี่ปุ่นและจีน และเข้ามาในประเทศไทยได้ไม่นาน แต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายในวงกว้าง เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่รู้ข้อดีของการทำนาโยนต้นกล้า ซึ่งแตกกต่างจากการทำนาดำ หรือนาหว่านน้ำตมที่นิยมกันทั่วไป ทั้งนี้การทำนาโยนทำให้ต้นข้าวแข็งแรง ต้านทานต่อโรคพืชและแมลงศัตรูพืชระบาด โดยอาศัยเทคนิคการเพาะปลูกระบบชีวภาพ เน้นปรับปรุงบำรุงดินให้มีคุณภาพมากขึ้น ปรับสภาพแปลงนาข้าวให้โปร่งโล่งแสงแดดส่องถึงผิวดินและน้ำ เพื่อทำให้ระบบนิเวศในนาข้าวอุดมสมบูรณ์

ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบและสร้างเครื่องปลูกข้าวแบบใช้ต้นกล้านาโยนแบบที่ปลูกได้ 6 แถว ที่ใช้พ่วงกับรถแทรคเตอร์ สามารถถอนต้นกล้าออกจากถาดและปักดำลงในแปลงได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ปลูกข้าวนาโยนได้เป็นแถวและกอ ซึ่งจากเดิมจะใช้วิธีการโยนกล้าขึ้นแล้วให้ต้นกล้าตกลงแปลง ตามแรงโน้นถ่วง ต้นกล้าจะตกกระจัดกระจายตามแปลงนา ซึ่งไม่เป็นแถว บางจุดอาจจะเจริญเติบโตได้ไม่ดี เพราะมีกอต้นข้าวหนาแน่นจนเกินไป โดยการพัฒนาเทคโนโลยีในงานวิจัยนี้จะประกอบด้วย 1.ระบบการถอนต้นกล้าจากต้นกล้าที่อยู่ในถาดเพาะกล้าแบบถาดหลุม ซึ่งจะมีการถอนต้นกล้าลงไปปักดำในแปลง 2. ระบบเลื่อนตำแหน่งของถาดเพาะกล้าในลักษณะเลื่อนถาดลงเพื่อเปลี่ยนตำแหน่งแถวและเลื่อนถาดด้านข้างสำหรับเปลี่ยนกลุมที่อยู่ในแถวเดียวกัน เพื่อให้ระบบจับถอนต้นกล้าทำงานในตำแหน่งหลุมของต้นกล้าซึ่งจะทำให้การจับต้นกล้าได้อย่างแม่นยำ 3. ระบบต้นกำลังของรถขับเคลื่อนที่ประกอบไปด้วย ระบบนิวแมติกส์ ระบบไฮดรอลิกส์ ระบบไฟฟ้า และเพลาส่งกำลังซึ่งต้นกำลังนี้จะสามารถทำงานขณะเครื่องขับเคลื่อนบนแปลงนาที่มีสภาพเป็นตม

เครื่องปลูกข้าวแบบใช้ต้นกล้านาโยนที่พัฒนาขึ้นมานี้ สามารถตอบสนองกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เปลี่ยนจากการดำนาเป็นนาโยงซึ่งจะสามารถปลูกข้าวได้เป็นแถว เหมือนนาดำสามารถกำจัดวัชพืชได้ง่าย รวมถึงสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และการเกิดโรคระบาดที่เกิดขึ้นในแปลงนา ถือเป็นทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรไทยที่จะส่งผลต่อผลผลิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเทคโนโลยีสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต

นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีกระแสข่าวเกี่ยวกับประเทศมาเลเซียสนับสนุนให้มีการผลิตผลิตภัณฑ์จากพืชกระท่อม ทำให้ไทยเสียโอกาสการใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมนั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ขอชี้แจงว่า กฎหมายของประเทศมาเลเซีย การนำเข้า ส่งออก ผลิต ขาย หรือครอบครองสารไมทราไจนีน (Mitragynine) ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์สำคัญในใบกระท่อม เป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย สำหรับข่าวการจดสิทธิบัตรพืชกระท่อมของประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันข้อมูลจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศมาเลเซีย มีมหาวิทยาลัยได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับกระบวนการใช้ประโยชน์สารไมทราไจนีนสำหรับป้องกันการติดฝิ่น ซึ่งการจดสิทธิบัตรดังกล่าว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจดสิทธิบัตรพืชและสารสำคัญในพืชกระท่อม ทั้งนี้ เว็บไซต์ที่มีการโฆษณาจำหน่ายพืชกระท่อมมีจำนวนมาก ซึ่งอาจมีปัญหาในแง่ความน่าเชื่อถือ

นพ.วันชัย กล่าวอีกว่า สำหรับข้อเสนอการควบคุมพืชกระท่อมของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อให้พืชกระท่อมสามารถนำไปใช้ในทางการแพทย์ได้ มีดังนี้ 1. ไม่กำหนดพืชกระท่อมเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ตามร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งผลจากการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว เมื่อร่างประมวลกฎหมายฯ มีผลบังคับใช้พืชกระท่อมก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ หรือนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาวิจัยในมนุษย์ก็สามารถทำได้ตามกฎหมาย 2. เสนอประกาศควบคุมสารไมทราไจนีน (Mitragynine) ซึ่งเป็นสารสำคัญของพืชกระท่อม เป็นวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภท 2ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2518 ซึ่งมีการควบคุมที่เข้มงวด โดยหากมีการแปรสภาพ เช่น นำใบกระท่อมไปต้มเอาน้ำมาเป็นส่วนผสม 4 x 100 ก็จะได้รับโทษตามกฎหมาย

“อันที่จริงแล้วการควบคุมพืชกระท่อมในประเทศต่างๆ ปัจจุบันสหประชาชาติยังมิได้มีการประกาศควบคุมพืชกระท่อมตามอนุสัญญาฯ ระหว่างประเทศ แต่ได้ขอให้ประเทศสมาชิกเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การใช้พืชกระท่อมด้วย จากการสืบค้น พบว่า ประเทศต่าง ๆ เช่น เดนมาร์ก ลัตเวีย ลิทัวเนีย โปแลนด์ โรมาเนีย สวีเดน มีการควบคุมพืชกระท่อม และสารไมทราไจนีน (Mitragynine) และเซเว่นไฮดรอกซี่ไมทราไจนีน (7-Hydroxymitragynine) สำหรับประเทศออสเตรเลีย พม่าและมาเลเซีย ก็มีการควบคุมพืชกระท่อม เช่นกัน”เลขาธิการ อย.กล่าว

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศ ประจำวันที่ 28 มิถุนายน 2560 ดังนี้

ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันตอนบนและประเทศไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาวและเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นในระยะนี้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ และน่าน อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดหนองคาย เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี ขอนแก่น และชัยภูมิ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียสอุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงบ่ายถึงค่ำ บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี ชัยนาท และนครสวรรค์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฏร์ธานีลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดระนองขึ้นมา: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 2-3 เมตร ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตลงไป: ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม/ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

เมื่อเวลา 8.30 น. วันที่ 27 มิถุนายน นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน จัดการอบรมเสวนา “สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ” ที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจ มติชนอคาเดมี โดยมีนาย ดร.วุฒิชัย กปิลกาญจน์ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวเปิดงาน

ดร.วุฒิชัย กล่าวว่า เกษตรกรรมเป็น 1 ใน 9 อุตสาหกรรมหลักในอนาคต ซึ่งประเทศไทยสามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ได้ หากพิจารณาดูแล้วกลุ่มเกษตรและอาหารเป็นกลุ่มที่เรามีต้นทุนมากที่สุด คือ มีสภาพอากาศ สภาพภูมิประเทศที่เหมาะสม และที่สำคัญที่สุดเกษตรกรความสามารถมีภูมิปัญญาชาวบ้าน แต่โลกปัจจุบันมีการแข่งขันสูงมาก สภาพอากาศก็มีความเปลี่ยนแปลงไป ยังมีเรื่องโลกร้อนขึ้น ส่งผลต่อวงจรชีวิตของพืชและสัตว์ เกษตรกรรมในประเทศไทยจึงต้องปรับเปลี่ยนไป การใช้จุลินทรีย์ก็เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่มีประโยชน์ทั้งต่อตัวเกษตรกร พืชผล และยังไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม

นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ รองประธานกรรมการ บมจ.มติชน กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เป็นการอบรมเสวนาเรื่องสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ โดยมีนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน นิตยสารรายปักษ์ในเครือมติชนที่นำเสนอเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับอาชีพหลักของไทย เเละอาชีพเสริมของเกษตรกร โดยครั้งนี้นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน ร่วมกับพันธมิตรโดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับจุลินทรีย์ ให้ชุมชนได้ประยุกต์ใช้ รวมทั้งสานต่อปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ 9 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงให้ใช้ชีวิตอย่างยั้งยืน นอกจากจะเน้นทางด้านทฤษฏีเเล้ว ยังนำผู้เสวนาลงพื้นที่จริง เพื่อได้เห็นการปฏิบัติและการใช้งานจริงด้วย

พลเอกพิเชษฐ์ วิสัยจร อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก กล่าวบรรยายและสาธิตอีเอ็มว่า อีเอ็มเป็น จุลินทรีย์ที่เลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งช่วยให้พืชเจริญงอกงามโดยไม่ใช้สารเคมีและเป็นไปอย่างยั่งยืน ซึ่งจุลินทรีย์ ยังมีอีกหลายชนิด ใช้จุลินทรีย์อะไรก็ได้ขอให้เป็นจุลินทรีย์กลุ่มที่ดี ซึ่งอีเอ็มเป็นจุลินทรีย์ที่ กฟผ. และตนใช้มานานแล้ว เพราะมองว่าตรงนี้เป็นกระบวนการที่ดีที่สุดที่เจอมา นอกจากจะใช้ในการเกษตรเพื่อให้ได้ผลผลิตดีและมีคุณภาพ อีเอ็มยังช่วยให้สิ่งเเวดล้อมดีขึ้น

“ตอนนี้การใช้อีเอ็มในประเทศไทยยังเหมือนป่าล้อมเมืองคือ มีการใช้เริ่มเยอะแต่สู้นายทุนใหญ่ไม่ได้ แต่อยากจะบอกว่าตอนนี้มี 165 ประเทศทั่วโลกที่ใช้จุลินทรีย์ อย่าง อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ขณะนี้เขาคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาก วันนี้เราต้องช่วยกันถ้าเราไม่ใช้ต่อไปสินค้าเกษตรของไทยอาจจะถูกต่อต้าน”

พลเอกพิเชษฐ์ กล่าวอีกว่า ตอนนี้มีการลงไปเผยเเพร่ความรู้ให้กับเกษตรกรหลายจังหวัด ให้หันมาใช้จุลินทรีย์ทำเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากต้นทุนต่ำ ผลผลิตสูง ทำให้ดินไม่เสียหาย สิ่งมีชีวิตอย่างปลา กบ เขียดกลับคืนมา รวมถึงเรื่องสุขภาพที่ดี เพราะโรคส่วนใหญ่ ล้วนแล้วแต่มาจากอาหารที่เรากิน อย่างการปลูกข้าวหอมมะลิ เขาใช้ยาคลุมหญ้าป้องกันไม่ให้หญ้าขึ้น แล้วถ้ามันเข้าไปในท้องเรา เราก็แย่ แล้วยังทำให้ข้าวไม่อร่อย กลิ่นหอมหายหมด ถ้าจะให้กลับมามีกลิ่นหอมสู้กับประเทศเพื่อนบ้านได้ต้องเลิกใช้สารเคมี เลิกเผาฟาง เรื่องนี้ได้ลงไปให้ความรู้กับชาวบ้าน

นายวิรัตน์ กาญจนพรหม อาจารย์มหาวิทยาลัยการเกษตรและเทคโนโลยี จ.ตรัง กล่าวว่า จุลินทรีย์เหมาะอย่างยิ่งกับประเทศไทยเพราะต้องการความร้อนประมาณ 35-40 องศาในการเจริญเติบโตและขยายตัวที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้นประเทศไทยไม่ต้องใช้ปุ๋ยได้เลย แค่เอามูลสัตว์มาตั้งไว้เฉยๆ ในอุณภูมิปกติไม่ต้องตากแดดตากฝน จุลินทรีย์จะย่อยสลายเป็นปุ๋ยได้เอง เหมือนต้นไม้ในป่าไม่ต้องมีคนไปใส่ปุ๋ย ต้นไม้เจริญเติบโตงอกงาม ถ้าเรากลับมาใช้จะช่วยหลายเรื่อง ที่ชัดที่สุดคือเรื่องอาหารการกินที่ปลอดภัย ไม่มีโรคภัยจากสารเคมีตกค้าง ถ้าชาวบ้านหันมาใช้วิธีธรรมชาติ มาทำเกษตรปลูกเท่าที่กิน ปลูกผักที่กินในบ้านในครอบครัว อาหารการกินจะสะดวก สุขภาพก็จะดี ซึ่งอาชีพที่สบายใจที่สุดคืออาชีพเกษตรประเทศไทย

นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า ประเทศไทยยังไม่เเยกการทำมาหากิน คือจะไม่พูดเรื่องครอบครัว แต่พูดเรื่องชุมชนเเละเน้นเรื่องขาย แต่จริงๆ แล้วตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง บอกว่า ทำเพื่อกินก่อน แล้วแบ่งปัน เหลือจึงขาย สิ่งไหนที่ปลูกได้ ทำได้ก็ทำ แต่บางอย่างทำไม่ได้ก็ซื้อบ้าง อย่างน้ำตาล หรือเกลือ มันจะช่วยลดต้นทุนได้อย่างมหาศาล

“การที่เราซื้อกินทุกวันทำให้เราต้องหาสิ่งที่เป็นตัวเงินอย่างเดียว career-evolution.net แล้วการออมเราก็มองแต่เรื่องเงินอย่างเดียว แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ การปลูกพริก ปลูกมะเขือ เหล่านี้คือการออมหมดเลย แต่ไม่มีใครพูดถึง ถามว่ากลับมาอยู่ต่างจังหวัดอยากได้เงินปีละเเสนบาทก็ไม่ยาก อาจจะลงทุนสัก 5 หมื่นบาท ซื้อวัวสัก 3-4 ตัว ลงแรงตัดหญ้า ปลูกพืชกินปลายปีขายได้ 150,000 บาทไม่ยาก แล้วปลูกผักกินเองวันนี้อาจจะไม่มีรายได้สักบาท แต่คุณกินอิ่มแล้ว ไม่ต้องใช้เงินสักบาท แล้วอยากให้ถามด้วยว่าปีนี้เหลือเงินเท่าไหร่ นี่แหละคือเศรษฐกิจพอเพียง” นายวิรัตน์ กล่าว

เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน นายอรรถพล เจริญชันษา รองอธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ตามประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 106/2557 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ ได้ระบุว่าไม้หวงห้ามประเภท ก. มีทั้งหมด 5 ชนิด คือ ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง และไม้กระพี้เขาควาย

หากแบ่งเป็นรายชื่อที่เรียกตามพื้นถิ่นของแต่ละภาคจะมี 17 รายชื่อ ได้แก่ ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ชิงชัน ไม้เก็ดแดง ไม้อีเม่ง ไม้พะยุงแกลบ ไม้กระพี้ ไม้แดงจีน ไม้ขะยุง ไม้กระซิก ไม้กระซิบ ไม้พะยูง ไม้หมากพลูตั๊กแตน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้เก็ดดำ ไม้อีเฒ่า และไม้เก็ดเขาควาย และได้กำหนดไว้ว่าหากผู้ใดมีไว้ครอบครองโดยผิดกฎหมาย จะมีโทษจำคุกตั้งแต่ 1 – 20 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 – 2,000,000 บาท ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลในการสั่งลงโทษ ซึ่งคำสั่งคสช.ดังกล่าวนี้ ได้ออกมาเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้ในพื้นที่ป่าอย่างผิดกฎหมาย

“สำหรับกรณีของนางหนึ่งฤทัย สารภัคคี ชาวจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ถูกต้นพะยูงล้มทับบ้านนั้น ซึ่งไม้พะยูงเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ชาวบ้านจึงไม่กล้าตัดไปโดยพลการ และได้ไปแจ้งยังหน่วยงาน แต่อาจเกิดความล่าช้าเนื่องจากไม่มีเอกสารโฉนดที่ดินมายืนยันต่อเจ้าหน้าที่ และไม่ได้มาติดต่อใหม่ ซึ่งกรมป่าไม้อยากจะแจ้งให้ชาวบ้านรับทราบว่า กรณีที่เกิดภัยธรรมชาติจนทำให้ไม้หวงห้ามหักล้มทับบ้านเรือน รถยนต์ หรือทรัพย์สินมีค่า ซึ่งต้องเร่งตัดหรือเคลื่อนออกโดยเร่งด่วนนั้น มี 2 แนวทางในการดำเนินการ คือ 1.หากมีเอกสารโฉนดที่ดินยืนยันว่าไม้หวงห้ามได้ขึ้นในพื้นที่ของตน ชาวบ้านสามารถไปแจ้งยังสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) หรือ สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ กรมป่าไม้ ในพื้นที่เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตัดหรือเคลื่อนย้ายได้ทันที และ 2.กรณีที่ไม่มีเอกสารโฉนดที่ดินมาเป็นหลักฐาน เนื่องจากนำโฉนดที่ดินไปเข้าธนาคารอย่างกรณีนางหนึ่งฤทัย หรือกรณีใดๆ ชาวบ้านสามารถแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งทั้งฝ่ายปกครอง ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ หรือทสจ. จะร่วมลงพื้นที่เพื่อเป็นสักขีพยานการตัดไม้หรือเคลื่อนไม้ดังกล่าว และให้เก็บไม้หวงห้ามนั้นไว้เป็นไม้ของกลางจนกว่าชาวบ้านจะนำเอกสารโฉนดที่ดินมายืนยันเป็นเจ้าของ”นายอรรถพล กล่าว

รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวอีกว่า ส่วนการแก้ไขกฎระเบียบกระทรวงตามพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 นั้น จะมีการแก้ไขระเบียบในกรณีหากเกิดภัยธรรมชาติ ทำให้มีไม้หวงห้ามล้มทับ และต้องเร่งตัดหรือเคลื่อนย้ายโดยด่วนนั้น สามารถกระทำได้ทันทีใน 2 แนวทางดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ได้เสนอร่างกฎกระทรวงฯ ต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว หากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบก็จะยื่นให้รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรฯ แก้ไขกฎระเบียบดังกล่าว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ แต่ระหว่างนี้ทางกรมป่าไม้ได้ออกหนังสือชี้แจงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินการตาม 2 แนวทางได้เลย