สำหรับชุดกำเนิดคลื่นและบำบัดน้ำชุดนี้ เป็นงานชุดต้นแบบ

อาจารย์พีระจะนำกลับไปพัฒนาให้ง่ายและสะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น โดยจะพัฒนาให้แท็งก์กำเนิดคลื่นเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของตู้ ผู้สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ คุณพีระ อารีศรีสม ภาควิชาเทคนิคการสัตวแพทย์ คณะเทคนิคการสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โทรศัพท์ 02-5798574-5 ในวันและเวลาราชการ

วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2562 นายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ อธิบดีกรมการข้าว ได้รับเชิญจากสมาคมพัฒนาคุณภาพและบริการสินค้าเกษตร (China Good Agri-products Development and Service Association) เข้าร่วมพิธีเปิดงาน 2019 Brand Agriculture Development International Symposium ณ เมืองผู่เจียง มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งผู้เข้าร่วมงานประกอบด้วยผู้แทนระดับผู้บริหารหรือระดับอธิบดีจากประเทศต่างๆ รวมทั้งองค์กรระหว่างประเทศ ทางด้านการค้า การพัฒนาทางการเกษตร

งานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือถึงแนวทางนโยบายและมาตรฐานการรับรอง การพัฒนาการเกษตรนวัตกรรมสมัยใหม่ในอนาคต การส่งเสริมสินค้าเกษตรไปสู่มาตรฐานสากลร่วมกัน แนวทางการเพิ่มความร่วมมือทางวิชาการร่วมกันในสาขาเกษตร โดยในงานประกอบด้วยผู้บริหารจากประเทศต่างๆ ได้แก่ จีน มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น โปรแลนด์ รัสเซีย สเปน ยูเครน และโคลัมเบีย

ในเวลาต่อมา นายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ อธิบดีกรมการข้าว ร่วมเวทีเสวนาแนวทางความร่วมมือสนับสนุนในการยกระดับสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพเพื่อการส่งออก โดยมีผู้แทนเข้าร่วมเวทีเสวนาประกอบด้วย

Mr.Marcela Urueria Gmezรัฐมนตรีช่วยกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทโคลัมเบีย
Mr.Monika Rzepecka อธิบดี กระทรวงเกษตรโปรแลนด์
Mr.Tang Ke ผู้อำนวยการกรมสารสนเทศและการตลาด กระทรวงเกษตรและกิจการชนบทจีน
นายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ อธิบดีกรมการข้าว
Mr.Daniel Owassa เอกอัครราชทูตคองโก
Mr.Yvonne McDowell กงสุลเกษตรของสหรัฐอเมริกา ประจำเมืองเฉิงตู
Mr.Mohammed Alotaishกงสุลพาณิชย์ของซาอุดีอาระเบีย ประจำสาธารณรัฐประชาชนจีน

นายสุดสาคร เปิดเผยภายหลังการเสวนาว่า ผลการเสวนานั้น ผู้แทนแต่ละประเทศส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญและตระหนักร่วมกัน ถึงแนวทางเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางการเกษตร การส่งเสริมการเติบโตทางการเกษตรที่ยั่งยืนในการพัฒนาชนบท เพื่อให้สอดคล้องและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ปี 2030 นอกจากนี้ ยังได้ให้ความสำคัญถึงการปรับปรุงระบบมาตรฐานการผลิตและอุตสาหกรรมทางการเกษตรในประเทศต่างๆ ส่งเสริมการยอมรับร่วมกันของมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นส่วนที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมและขจัดอุปสรรคการส่งออกสินค้า

ระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรอินทรีย์เพื่อการส่งออก การส่งเสริมผลักดันร่วมกันในผลิตภัณฑ์สินค้า GI เพิ่มความร่วมมือ การแก้ไขของระบบกฎระเบียบและมาตรฐานการตรวจสอบและกักกันสินค้าเกษตร รวมทั้งหาแนวทางการศึกษาร่วมกันเกี่ยวกับการตรวจสอบสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งมาตรการกำกับดูแลเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการค้าร่วมกัน ทั้งนี้ ในเวทีเสวนาได้ทราบถึงนโยบายที่ประเทศไทยมีโครงการให้ความสำคัญกับนโยบายการผลิตข้าวอินทรีย์ของไทยซึ่งมีแผนและส่งเสริมการผลิตมาตั้งปี 2560 รวมทั้งเห็นควรที่จะมีความร่วมมือทางวิชาการเพื่อผลักดันมาตรการรองรับข้าวอินทรีย์เพื่อการส่งออกไปยังประเทศผู้นำเข้าต่างๆ

และในส่วนของกรมการข้าวได้มีแผนงานการพัฒนาเกษตรที่ยั่งยืนการสนับสนุนโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ให้ได้มาตรฐานทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ปัจจุบันมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 90,550 ราย มีเป้าหมายที่ผลิตสินค้าข้าวตามข้อกำหนดมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ที่มีความปลอดภัยต่อตัวเกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา 3 ปี จึงจะสามารถผลิตข้าวอินทรีย์ได้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งกรมการข้าวได้เริ่มแผนงานระยะเวลา 5 ปี 2560-2564 ตั้งเป้าที่ 1 ล้านไร่

นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้ให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำรวจสหกรณ์การเกษตรว่าต้องการให้มีการช่วยเหลืออย่างไรหลังมีการแบน 3 สารเคมี เพื่อจะได้นำมาเป็นชุดช่วยเหลือเกษตรกรสำหรับการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งเบื้องต้น กรมส่งเสริมสหกรณ์ รายงานว่า เตรียมผลักดันให้สหกรณ์จัดหาเครื่องจักรกลทางการเกษตรเพื่อให้บริการสมาชิกในราคาถูก ซึ่งจะทำรายละเอียดเพื่อเสนอรัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ พิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรี

“ขณะนี้กรมส่งเสริมสหกรณ์อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียด เดี๋ยวดิฉันจะเร่งดู แล้วเสนอรัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ทันที ว่าจะใช้งบจากไหน เท่าไร โดยยอมรับว่าการเลิกใช้ 3 สาร เกษตรกรอาจมองว่าเป็นเรื่องยาก แต่สามารถทำได้และจะต้องเริ่มทำเพื่อความปลอดภัยของเกษตรกรและผู้บริโภคและลดการป่วยของคนไทย” นางสาวมนัญญา กล่าว

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า ก่อนหน้าที่จะมีการลงมติแบน 3 สารเคมี 1 เดือน ได้ให้ทีมเจ้าหน้าที่ กสส. ลงสอบถามสหกรณ์ถึงความต้องการของสมาชิกสหกรณ์ หากมีการแบน 3 สาร ซึ่งต้องเตรียมล่วงหน้า ไม่ว่าผลการพิจารณาของคณะกรรมการวัตถุอันตรายจะออกมาอย่างไรก็ตาม จะได้มีการช่วยเกษตรกรทันที เพราะช้าไม่ได้ แม้ขณะนั้นไม่มีใครคาดว่าจะแบนสารเคมีทั้ง 3 ตัวได้

ทั้งนี้ ในการลงพื้นที่ปลูกอ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ยางพารา พบว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต้องมีการปรับรูปแบบการปลูกเรื่องระยะห่างเพื่อให้ใช้เครื่องจักรได้ และขณะนี้เกษตรกรหลายพื้นที่เริ่มมีการเตรียมปรับเปลี่ยนแล้ว

“มาตรการที่สำคัญที่เสนอให้รัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์ พิจารณา คือการสนับสนุนให้สหกรณ์การเกษตร 700 อำเภอ จัดหาเครื่องจักรกลทางการเกษตรไปบริการเกษตรกรในราคาถูก โดยกรมสนับสนุนเงินจ่ายขาดให้สหกรณ์ในการจัดหา ในเงื่อนไขที่กรมกำหนดคือราคาบริการต่อไร่ต้องถูก เพื่อลดการใช้แรงงานคน ทั้งนี้ ในหลักการคือให้แต่ละสหกรณ์แจ้งความจำนงเข้ามา เพราะสหกรณ์จะทราบว่าสมาชิกแต่ละแห่งต้องใช้เครื่องจักรอะไรบ้าง เมื่อรัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตรและสหกรณ์เห็นชอบจะเร่งทำรายละเอียดเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา” นายพิเชษฐ์ กล่าว

ทั้งนี้ กรมยังได้เตรียมประชาสัมพันธ์ให้ร้านค้าสหกรณ์เตรียมนำสารเคมีออกจากร้านค้าตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดนายสุดสาคร ภัทรกุลนิษฐ์ อธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ที่ได้เกิดโรคไหม้ระบาดในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดศรีสะเกษ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมการข้าวได้มีความห่วงใยชาวนา โดยเตรียมการอย่างเร่งด่วน เพื่อให้การช่วยเหลือ โดยให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค หาแนวทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนและประสานหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อเป็นการทำงานแบบบูรณาการ และขอความร่วมมือหน่วยงานในพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ว่าราชการจังหวัด เกษตรและสหกรณ์จังหวัด และเกษตรจังหวัด ซึ่งจากการทำงานในครั้งนี้ คาดว่าจะช่วยแบ่งเบาความเดือดร้อนให้แก่ชาวนาที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไหม้ในครั้งนี้ได้

นายสุดสาคร กล่าวต่อไปว่า โรคไหม้ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา พบทุกภาคของประเทศไทย ในสภาพข้าวนาสวนและข้าวไร่ ทั้งฤดูนาปีและฤดูนาปรัง ลักษณะอาการที่พบในต้นข้าวระยะต่างๆ มี ดังนี้ ระยะกล้า ใบมีแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ 2-5 มิลลิเมตร และความยาวประมาณ 10-15 มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตายอาการคล้ายถูกไฟไหม้ ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลําต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ ระยะออกรวง เรียกว่าโรคไหม้คอรวง ข้าวที่เพิ่งจะเริ่มให้รวงเมื่อถูกเชื้อราเข้าทําลายเมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยวจะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวงทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่น เสียหายมาก

การแพร่ระบาด จะพบโรคไหม้ระบาดในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูง มีสภาพแห้งในตอนกลางวัน และชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนานถึงตอนสายราว 9 โมง อากาศค่อนข้างเย็นอุณหภูมิประมาณ 22-25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์สูงมากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ และลมพัดแรงจะช่วยให้โรคแพร่กระจายได้ดี

การป้องกันกำจัด มีดังนี้ 1. ในกรณีที่พบโรคไหม้มีอาการรุนแรง หรือพบพื้นที่ใบเสียหายจากการเป็นโรคถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ในข้าว ระยะกล้าถึงแตกกอเต็มที่ และ 5 เปอร์เซ็นต์ ในข้าวระยะตั้งท้อง หรือพบแผลโรคไหม้ที่ใบธง ควรใช้สารป้องกันกําจัดโรคพืช เช่น ไตรไซคลาโซล ไอโซโปรไธโอเลน (ควรใช้เฉพาะในระยะกล้าถึงแตกกอ) ตามอัตราที่ระบุ 2. ในฤดูกาลต่อไป ควรปฏิบัติดังนี้

1. ใช้ข้าวพันธุ์ค่อนข้างต้านทานโรค ได้แก่ 1) ภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 ชัยนาท 1 ปราจีนบุรี 1 พลายงาม และข้าวเจ้าหอม พิษณุโลก 1 เป็นต้น 2) ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ข้าวเจ้าหอมพิษณุโลก 1 สุรินทร์ 1 เหนียวอุบล 2 สันปาตอง 1 หางยี 71 กู้เมืองหลวง ขาวโป่งไคร้ น้ํารู และ กข 33 เป็นต้น 3) ภาคใต้ เช่น ดอกพะยอม และ กข 55 เป็นต้น ส่วนข้อควรระวัง คือ ข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 60 และชัยนาท 1 ที่ปลูกในภาคเหนือตอนล่าง พบว่าแสดงอาการรุนแรงในบางพื้นที่และบางปี โดยเฉพาะเมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออํานวย เช่น ฝนพรำ มีหมอก น้ำค้างจัด อากาศเย็น ใส่ปุ๋ยมากเกินความจําเป็น หรือเป็นดินหลังน้ำท่วม เป็นต้น

2. หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม คือ 15-20 กิโลกรัม ต่อไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการระบายอากาศที่ดี และไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงเกินไป ถ้าสูงถึง 50 กิโลกรัม ต่อไร่ โรคไหม้จะพัฒนาอย่างรวดเร็ว

3. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกําจัดเชื้อรา เช่น ไตรไซคลาโซล คาซูกาไมซิน ตามอัตราที่ระบุรมว.คลัง ร่วมประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. เร่งเสริมมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย ปี 62 ทั้งขยายเวลาชำระหนี้ 2 ปี และลดดอกเบี้ยเงินกู้อีกร้อยละ 3 ติดตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสู่ภาคชนบท ทั้งการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว การดำเนินโครงการประกันรายได้ปาล์ม ข้าว ที่จ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรไปแล้วกว่า 34,600 ล้านบาท พร้อมเตรียมโอนประกันรายได้ยาง งวดแรก 1 พฤศจิกายนนี้

วันนี้ (28 ตุลาคม 2562) ณ ธ.ก.ส.สำนักงานใหญ่ นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการ ธ.ก.ส. เป็นประธานในการประชุม ติดตามการดำเนินงานของธนาคารในการช่วยเหลือเกษตรกรและกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก โดย นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. ได้สรุปมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในระยะสั้นที่ดำเนินการไปแล้ว (ข้อมูล ณ 24 ตุลาคม 2562) ประกอบด้วย โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ในอัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ วงเงิน 24,810 ล้านบาท เป้าหมายเกษตรกร 4.31 ล้านครัวเรือน ดำเนินการโอนเงินแล้ว จำนวน 3.99 ล้านครัวเรือน เป็นเงิน 23,929 ล้านบาท โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2562-2563 วงเงิน 13,000 ล้านบาทเป้าหมายเกษตรกร 263,107 ครัวเรือน ดำเนินการโอนเงิน รอบที่ 1 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ไปแล้ว 254,667 ครัวเรือน เป็นเงิน 1,351 ล้านบาท โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปี 2562/63 รอบที่ 1 วงเงิน 20,940 ล้านบาท เป้าหมายเกษตรกร 4.31 ล้านราย มีเกษตรกรที่มีคุณสมบัติถูกต้องได้รับเงินในรอบที่ 1 ทั้งสิ้น 349,300 ครัวเรือน โดย ธ.ก.ส. โอนเงินเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 ไปแล้วกว่า 9,411 ล้านบาท รวมเงินที่โอนไปแล้วทั้ง 3 โครงการ จำนวน 34,691 ล้านบาท

สำหรับการประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ในครั้งนี้ นายอุตตม สาวนายน ได้พิจาณาเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและแจ้งข้อมูลการปลูกยางกับการยางแห่งประเทศไทย ระยะที่ 1 เพื่อเป็นการให้ช่วยเหลือแก่เกษตรกรชาวสวนยาง วงเงิน 24,278 ล้านบาท โดยเป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไป ที่เปิดกรีดแล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่ ปริมาณผลผลิตยาง (ยางแห้ง) 240 กิโลกรัม/ปี หรือ 20 กิโลกรัม/ไร่/เดือน กำหนดราคาประกันยางแผ่นดินคุณภาพดี 60 บาท/กิโลกรัม น้ำยางสด (DRC 100%) 57 บาท/กิโลกรัม และยางก้อนถ้วย (DRC 50 %) 23 บาท/กิโลกรัม ซึ่งแบ่งสัดส่วนการจ่ายเงินให้กับเจ้าของสวนยาง 60% และ คนกรีดยาง 40% โดยคาดว่าจะสามารถโอนเงินในงวดแรกให้เกษตรกรได้ในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้

นายอภิรมย์ กล่าวต่อไปว่า คณะกรรมการ ธ.ก.ส. ยังเตรียมพิจารณาให้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม ปี 2562 จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการขยายเวลาชำระหนี้ต้นเงินกู้เป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่ 1 กันยายน 2562 – 31 สิงหาคม 2564 และขยายเวลาชำระดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 – 31 สิงหาคม 2563 และโครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่เกษตรกรลูกค้า โดยคิดดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตรา MRR-3 (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ 6.875 ต่อปี) วงเงินกู้ไม่เกิน 300,000 บาทแรก เป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 – 31 สิงหาคม 2563 และมอบหมายให้ ธ.ก.ส. เตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลเพื่อดูแลเกษตรกรตามมาตรการต่างๆ ที่จะทยอยออกมา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตโดยเฉพาะพืชหลักชนิดต่างๆ ให้สามารถแข่งขันในตลาดได้

ทั้งนี้ ในวันที่ 30 ตุลาคมนี้ กระทรวงการคลัง ธ.ก.ส. และหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ร่วมจัดโครงการประชารัฐสร้างไทย พัฒนาล้านนา ซึ่งมีชุมชนจาก 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนเข้าร่วม ตามนโยบายการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีพิธีมอบสินเชื่อให้ลูกค้าของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ การจัดตลาดชุมชนทางน้ำ และการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน ณ เทศบาลตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

จุรินทร์ เคาะราคาประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง 2.50 บาทต่อกิโลกรัม วงเงินรวม 9,400 ล้านบาท คาดเสนอ ครม.เห็นชอบ 12 พฤศจิกายนนี้

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวภายหลังลงพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ประชุมร่วมกับหน่วยงาน 3 ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชนและเกษตรกร เพื่อหารือแนวทางการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังปี 2562/63 ว่า ที่ประชุมเห็นชอบเคาะราคาประกันรายได้สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังปี 2562/63 วงเงินรวม 9,442 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดแหล่งเพาะปลูกมันสาปะหลังทั้งประเทศ ประมาณ 8.9 ล้านไร่ ครอบคลุมเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรประมาณ 5.23 แสนครัวเรือน

โดยจะประกันครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ หรือไม่เกิน 100 ตัน ให้กับสำปะหลังสดเชื้อแป้ง 25 เปอร์เซนต์ ที่ราคาประกันที่ 2.50 บาทต่อกิโลกรัม โดยกำหนดราคาเป้าหมายต้นทุนไว้ที่ 1.85 บาทต่อกิโลกรัม ค่าขนส่ง 25 สตางค์ต่อกิโลกรัม และ ผลตอบแทน 20 เปอร์เซนต์ ระยะเวลาดำเนินโครงการตั้งแต่ตุลาคม 2562 ถึงกันยายน 2563

สำหรับราคาอ้างอิงจะมีการประกาศจากราคาตลาดทุก 30 วัน ซึ่งเกษตรกรจะได้ส่วนต่างจากราคาอ้างอิงเทียบกับราคาประกันรายได้ และจะโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยคาดว่าจะนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) พิจารณาหลักเกณฑ์เงื่อนไขของโครงการได้ในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้ และจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบได้ในการประชุม ครม.สัญจร ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2562

ทั้งนี้ เมื่อ ครม.ให้ความเห็นชอบแล้ว จะสามารถเริ่มจ่ายเงินส่วนต่างงวดแรกให้กับเกษตรกรได้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2562 โดยจะจ่ายเป็นงวด รวมจำนวน 6 งวด จนกว่าจะสิ้นสุดโครงการ

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบมาตรการเสริม ได้แก่ การส่งเสริมการใช้มันสะปะหลังในประเทศเพิ่มขึ้น เร่งรัดการส่งออกไปยังตลาดที่มีศักยภาพ เช่น จีน อินเดีย ตุรกี นิวซีแลนด์ มาตรการชะลอการขุดกรณีผลผลิตออกมากและชดเชยรายได้ให้แก่เกษตรกร มาตรการควบคุมการขนย้ายและคุมเข้มการลักลอบการนำเข้ามันฯจากประเทศเพื่อนบ้าน เป็นต้น

นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวถึง กรณีที่สหรัฐอเมริกายกเลิก GSP ในสินค้าจากไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าว่า สินค้าที่บริษัทส่งออกจากประเทศไทยในกลุ่มที่จะโดนตัด GSP มีเพียงบะหมี่เกี๊ยวกุ้งที่มียอดขายประมาณ 0.2% ของยอดขายรวมที่จะต้องเสียภาษีในอัตราประมาณ 6% เท่านั้น

บริษัทได้ปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญในการขยายธุรกิจในต่างประเทศ โดยเข้าไปลงทุนผลิตเพื่อรองรับการบริโภคในประเทศนั้นๆ ทำให้ยอดขายส่วนใหญ่ในส่วนกิจการต่างประเทศนี้มีสัดส่วนประมาณ 70% ของยอดขายรวม และเป็นกิจการที่มีการเติบโตอย่างดีมาตลอด เช่นเดียวกับการขยายธุรกิจในประเทศอเมริกา ซีพีเอฟได้เข้าไปลงทุนผลิตสินค้าอาหารพร้อมรับประทานและมีการเติบโตตามเป้าที่ตั้งไว้ และยังคงมีโอกาสในการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

สำหรับภาวะราคาสุกรได้มีการปรับตัวดีขึ้นโดยลำดับ จากการที่มีการปรับตัวลดลงในช่วงที่ผ่านมาจากความกังวลเรื่องโรค ASF ปัจจุบันนี้ราคาสุกรในเวียดนามขึ้นมาอยู่ที่ระดับราคาประมาณ 55,000-57,000 ด่อง ซึ่งถือเป็นระดับราคาที่สูงสุดของปี ส่วนราคาสุกรในไทยก็เริ่มปรับตัวดีขึ้น

นายประสิทธิ์ได้กล่าวถึงผลการดำเนินงานปีนี้ว่า ธุรกิจน่าจะเติบโตได้ตามเป้าหมาย และยังคงมั่นใจปีหน้าผลการดำเนินงานของบริษัทจะเติบโตต่อเนื่อง

นอกจากนั้น ได้เสริมว่า เรื่องมาตรฐานการบันทึกบัญชีเกี่ยวกับ Perpetual Bond ที่บริษัทมีอยู่นั้น ไม่มีผลกระทบต่อผลการดำเนินงานและผลการจัดอันดับเครดิตของบริษัทดังเช่นที่มีหน่วยงานหนึ่งได้ให้ข้อมูลต่อสาธารณะ

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า การเชื่อมโยงเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักกับห้าง Modern trade นับว่าเป็นการเพิ่มโอกาสทางการตลาดและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและชุมชน ตามแนวนโยบายตลาดนำการเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมได้มุ่งเน้นความร่วมมือในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการผลิตและการตลาด รวมทั้งเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านต่างๆ เมื่อทราบความต้องการของตลาดแล้ว จึงนำมาวางแผนให้เกษตรกรผลิต ทำให้เกษตรกรลดความเสี่ยงจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ เพราะมีตลาดรองรับแน่นอน พร้อมกำชับการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ต้องเร่งสร้างการรับรู้ถึงคุณภาพสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มความต้องการ (Demand) ให้แก่ผู้บริโภคได้รับทราบด้วย

ด้าน นายอภิรักษ์ หลักชัยกุล ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมธุรกิจเกษตร สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กรมได้ร่วมกับ นางสาวกังสดาล ชัยยศ เกษตรอำเภอเมืองลำพูน และตัวแทนจากบริษัท Tesco Lotus ในการจัดการพืชผักสด ณ สถานที่ผลิตอาหาร ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน เลขที่ 51-2-01762 ภายใต้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดภัยตำบลอุโมงค์ อเภอเมือง จังหวัดลำพูน ซึ่งพัฒนาจากกลุ่มส่งเสริมแปลงใหญ่พืชผักตำบลอุโมงค์ จำนวนสมาชิก 33 ราย พื้นที่ปลูกผัก 107 ไร่ 3 งาน ผลิตพืชผัก เช่น กวางตุ้ง คะน้า ผักกาดหอม สะระแหน่ กะเพรา โหระพา ขึ้นฉ่าย ผักชี พริกต่างๆ มะเขือต่างๆ มะละกอดิบ มะนาว และพืชผักต่างๆ ตามฤดูกาล ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำพูน สำนักงานเกษตรจังหวัดลำพูน กรมส่งเสริมการเกษตร

บริหารจัดการโดยสมาชิกกลุ่ม จัดส่งผลผลิตให้บริษัท Tesco Lotus เพื่อกระจายสินค้าดังกล่าว จากสถานที่รวบรวมสินค้าของบริษัท ณ ศูนย์กระจายสินค้า (DC) อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กระจายสู่ห้างร้านในเครือของ Lotus จำนวน 133 สาขาทั่วเขตภาคเหนือ โดยมีอัตราการส่งผักจำนวน 4-5 ตัน ต่อสัปดาห์ ในเบื้องต้น และรถห้องเย็นมารับสินค้า ณ สถานที่ผลิตอาหาร วิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผักปลอดภัยตำบลอุโมงค์ใน 5 วัน ต่อสัปดาห์ ซึ่งเป็นช่องทางการจำหน่ายสินค้าคุณภาพจากมือเกษตรกรสู่ผู้บริโภคตามนโยบายตลาดนำการเกษตรของรัฐบาล มีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) นโยบายในการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรโดยตรงจากเกษตรกร กับ Tesco Lotus เพื่อให้สมาชิกกลุ่มเกษตรกรปลูกผักปลอดภัยมีรายได้มั่นคงตลอดทั้งปี