สำหรับนางสาวสุไลลาได้ทำปุ๋ยมูลไส้เดือนแท้และเพาะเห็ดขาย

มานากว่า 3 ปี โดยไม่มีโรงงาน ไม่มีเครื่องจักร ใช้พื้นที่ของบ้านเป็นที่ผสมวัตถุดิบ โดยใช้วิถีแบบบ้านๆ ใช้กะละมัง ใช้มือผสมปุ๋ย และทำก้อนเห็ด ก่อนบรรจุใส่ถุง โดยจ้างชาวบ้านที่ลำบากมาทำงาน เมื่อมีลูกค้าสั่ง เธอกับคนงาน ต้องใช้รถจักรยานยนต์บรรทุกปุ๋ยและเห็ด น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 60 กิโลกรัม เพื่อส่งตามที่ต่างๆ ทั้งจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส แม้ไม่มีรถยนต์แต่เธอก็ยังสู้ชีวิตโดยมีพี่สาวคนสำคัญคอยให้ทุนและกำลังใจเสมอมา

สำหรับธุรกิจของเธอ เริ่มต้นแทบไม่มีลูกค้าสั่งสินค้าเลย บางวันก็ขายไม่ได้ เธอจึงต้องพึ่งโซเชียลในการขายสินค้า และก็เริ่มที่จะขายได้ ส่วนรายได้รวมกับต้นทุน แต่ละเดือนไม่แน่นอน บางเดือนก็หมื่นกว่าบาท บางเดือนก็สองหมื่นบาท แต่เธอต้องนำเงินที่ได้มานั้น มาใช้จ่ายในส่วนต่างๆ ทั้งใช้จ่ายในการเลี้ยงดูแม่ ค่าเรียนตนเอง และหลานสาวอีก 2 คน และค่าจ้างคนงานอีกด้วย

โดยเธอมีความหวังสักวันจะต้องมีรถยนต์ของตนเองเพื่อไปส่งสินค้า ประกอบกับอยากให้ชาวบ้านมีรายได้ และที่สำคัญจะนำความรู้ที่เรียนมาส่งต่อให้ชาวบ้านและหลานสาวของตนเองให้สามารถไปต่อยอดและเติบโต มีงานทำ มีเงิน และไม่ต้องลำบากอีก เนื่องจากพื้นที่ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ยังมีประชาชนเป็นจำนวนมากที่ลำบาก หลายคนไม่มีงานทำจนถึงปัจจุบันนี้

อย่างไรก็ตาม เธอขายปุ๋ยและก้อนเห็ดมีราคาไม่แพง โดยปุ๋ยมูลไส้เดือนขายถุงเล็ก 25 บาท ถุงใหญ่ 35 บาท เห็ดก้อนละ 10 บาท สามารถสั่งซื้อผ่านเฟซบุ๊กเพจ boss เกษตร หรือโทร. 088-916-2252

นางสาวสุไลลา กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องมาทำปุ๋ยและก้อนเห็ด เพราะอยากมีรายได้เสริมในช่วงกำลังเรียน ลดภาระในครอบครัว อีกทั้งอยากให้หลานๆ หรือชาวบ้านเรียนรู้สามารถไปต่อยอดทำขายเองได้ โดยเริ่มแรกได้ขอทุนจากพี่สาวมาทำก้อนเห็ด ต่อมาก็ขอทุนจากพี่สาวอีกครั้งเพื่อมาทำปุ๋ยมูลไส้เดือนขาย ที่ผ่านมาตนเองเต็มที่ในการทำปุ๋ยมูลไส้เดือนมาก ครั้งแรกทำ 10 กะละมัง ปรากฏว่าขายไม่ได้เลย ทั้งโพสต์ในเฟซบุ๊กขาย เดือนแล้วเดือนเล่ามีเพียงเจ้าเดียวที่สั่งซื้อ จึงเริ่มท้อ แต่ก็ยังสู้และเริ่มโพสต์และแชร์ไปยังเพจต่างๆ ที่คนสนใจเกี่ยวกับเกษตรก็เริ่มที่จะขายได้บ้าง

นางสาวสุไลลา บอกด้วยว่า ตลอดระยะเวลาที่ขายตนเองลำบากมาก เมื่อมีลูกค้าจากจังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส สั่งซื้อ ตนเองก็ต้องใช้รถจักรยานยนต์ไปส่ง แม้มีปริมาณปุ๋ย 100 ถุง มีก้อนเห็ด 100 ก้อน ตนเองก็ต้องพยายามขับไปส่งให้ได้ ซึ่งตนเองไปกับหลานสาว และเมื่อไปทุกครั้งก็จะลำบากมาก ต้องเจอกระทั่งแดดร้อน ฝนตก บางครั้งรถน้ำมันหมด แต่ต้องพยายามไปให้ได้ เพราะตนเองไม่มีรถกระบะ และไม่มีเงินที่จะซื้อรถกระบะได้ ตอนนี้ตนเองก็ขายได้เรื่อยๆ และไม่สามารถควบคุมเงินเพื่อที่จะซื้อรถกระบะ ยอมรับว่าขายได้ แต่ตนเองต้องนำเงินไปใช้จ่ายเลี้ยงดูแม่และหลานสาวอีก 2 คน อีกทั้งส่งตัวเองเรียนให้จบ

และอยากให้อาชีพของตนเองเป็นอาชีพที่กว้าง สามารถให้คนในชุมชนไปต่อยอดนำไปประกอบอาชีพได้ ไม่ใช่ว่าตนเองอยากได้กำไรเยอะ แต่อยากให้คนใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือคนพื้นที่อื่นๆ หันมาสนใจด้านเกษตรเพื่อไปประกอบอาชีพต่อไป

เกษตรกรสาวพิสูจน์ตัวเองจากงานที่ทำ ใบปริญญาไม่ได้ชี้วัดความสำเร็จเสมอไป ความตั้งใจ และการขยันศึกษาหาความรู้พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลาต่างหากที่จะเป็นหนทางสู่ความสำเร็จได้

คุณประกายมาศ น้อยมา (คุณมาศ) อยู่บ้านเลขที่ 8 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร คนรุ่นใหม่หัวใจเกษตร เล่าว่า ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เรียนจบสูง แต่ก็สามารถประสบความสำเร็จในอาชีพที่เลือกอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง เลือกที่จะไม่เรียนต่อ เพราะค้นหาตัวเองเจอตั้งแต่แรกว่า เหมาะกับงานเกษตรมากกว่า จึงตัดสินใจหันมาช่วยพ่อแม่ปลูกข้าวและทำไร่อ้อย

“ปี 2555 เริ่มปลูกข้าวทำนา เพราะตอนนั้นข้าวราคาดี พอมาถึงยุคที่อ้อยแพงก็หันมาทำอ้อย แล้วผันตัวเองเป็นเถ้าแก่อ้อย ออกรถคีบ รถสิบล้อ รถหกล้อ แบบครบวงจร เพื่อทำไร่อ้อย ซึ่งทุกอย่างเป็นไปได้ดี จนกระทั่ง ปี 2559 ราคาอ้อยตกต่ำ สู้ค่าคนงานไม่ไหว ต้องติดหนี้จากการกู้เงินมาทำไร่อ้อยเป็นหลักล้าน จึงคิดว่าถ้าทำไร่อ้อยต่อไปไม่รอดแน่นอนจึงเบนเข็มเปลี่ยนมาทำเกษตรผสมผสาน บนพื้นที่ 24 ไร่ โดยเริ่มจากการปลูกปาล์มน้ำมัน กล้วย พริก พืชผักสวนครัว และมะละกอ เป็นพืชหลัก” คุณมาศ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นทำเกษตรผสมผสาน

ติดหนี้จากไร่อ้อย เปลี่ยนแนวทำเกษตรอินทรีย์ผสมผสานได้ผลดี

คุณมาศ เล่าว่า หลังจากขาดทุนจากการทำอ้อย ก็หันมาทำเกษตรแบบผสมผสาน เริ่มต้นจากแม่เข้าไปเรียนรู้ที่ศูนย์พอเพียงบ้านดาดทองเจริญ เลือกเรียนในเรื่องของการทำน้ำยาอเนกประสงค์ เพราะค่อนข้างมองหาโอกาสต่อยอดได้ไกล หลังจากที่แม่เรียนเสร็จ จึงกลับมาปรึกษากับที่บ้านว่าจะลองทำเกษตรผสมผสาน แล้วก็ทำน้ำยาล้างจาน แชมพูสระผม จากผักผลไม้ที่ปลูกไว้ใช้เองในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายในครอบครัว หลังจากนั้นตนและพ่อก็ได้เข้าไปอบรมเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำน้ำหมักอินทรีย์ และการทำลูกเบญจคุณเพื่อนำมาใช้ในงานสวน

“เมื่อเริ่มมีความรู้จากการที่เข้าอบรม ก็เริ่มจัดการพื้นที่เตรียมปลูกขุดร่องน้ำ แต่พื้นที่ค่อนข้างมีปัญหาแห้งแล้ง ดินแห้งจึงแก้ปัญหาด้วยการทำน้ำหมักจากผักผลไม้และลูกเบญจคุณตามสูตรที่เรียนมา เข้ามาปรับใช้ในดิน มีการทำน้ำหมักจาวปลวก และน้ำหมักจุลินทรีย์ต่างๆ เข้ามาช่วยฟื้นฟูสภาพดิน โดยจะเน้นไปที่ลูกเบญจคุณเป็นหลัก”

คุณมาศ บอกต่อว่า ลูกเบญจคุณ มาจาก คำว่า เบญจ แปลว่า 5 หมายความว่า ลูกเบญจคุณลูกเดียว สามารถทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ทั้งช่วยบำบัดน้ำเสีย บำรุงดิน บำรุงต้นไม้ หรือเป็นอาหารสัตว์ก็ได้ ขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก

นำมาผสมคลุกเคล้ากันแล้วปั้นเป็นลูกขนาดเท่าลูกเทนนิส เสร็จแล้วบ่มหมักนำกะละมังคลุมทิ้งไว้ 4 วัน มาเปิดดูจะมีเชื้อราสีขาวขึ้นรอบลูก จากนั้นทิ้งไว้อีก 10 วัน นำมาผึ่งลม แล้วสามารถนำไปใช้ได้ ฟื้นฟูบำรุงดิน หรือบำบัดน้ำเสียก็ได้

เทคนิคทำสวนผสมผสาน เลือกปลูกพืชหลัก พืชแซม
แล้วค่อยปลูกไม้ยืนต้น
ทำสวนผสมครั้งแรก คุณมาศ บอกว่า เริ่มจากปลูกปาล์มน้ำมัน ขุดร่องเป็นฟันปลา ได้แนวคิดมาจากคนที่ตำบลทุ่งทราย

“ตอนนั้นมีคนมาจ้างให้ไปตัดอ้อย บังเอิญว่าที่สวนเขาปลูกปาล์มด้วย เขาจึงชวนเราไปดู เราจึงได้แนวคิดการปลูกปาล์มมาจากเขา คือตอนที่ปาล์มต้นเล็กจะสามารถปลูกอะไรขายได้บ้าง ข้างล่างเขามีพริกขี้หนู และกล้วย พูดให้เข้าใจง่ายคือ ครึ่งบนเป็นปาล์ม รองลงมาเป็นกล้วย ชั้นล่างคือ พริกขี้หนู ผักสวนครัว เลี้ยงไก่ และบ่อปลารวม เมื่อวางแผนปลูกพืชหลักเสร็จ จากนั้นปลูกพืชล้มลุกแซม แล้วจึงปลูกไม้ยืนต้นต่อ จำพวก ไม้พะยูง ไม้สัก ไม้ยูคา 3 ปี ตัดขายได้”

ระบบการจัดการ พืชหลักคือ มะละกอ กับปาล์มน้ำมัน ปลูกปาล์ม 12 ไร่ ระยะห่างระหว่างร่องปาล์มจะปลูกกล้วยน้ำว้า และกล้วยหอมชุมพร เป็นพืชพี่เลี้ยง เพราะกล้วยโตเร็ว ให้ผลผลิตเร็ว และเป็นร่มเงาให้พืชระดับล่างได้ ระหว่างต้นกล้วยจึงปลูกพริก และระหว่างพริกจะปลูกไม้ยืนต้น ไม้ยูคา พะยูง

การดูแล ด้วยความที่สวนทำเป็นเกษตรอินทรีย์ ตอนแรกคิดว่ายากมาก จะสู้กับแมลงไหวไหม ก็ลองทำมาเรื่อยๆ ปรากฏว่าก็ไม่แย่อย่างที่คิด ผลผลิตทุกอย่างออกมาเป็นที่น่าพอใจ

“พ่อทำน้ำหมักและฮอร์โมนใช้เอง ถือว่าได้ผลดีมาก ช่วงหน้าแล้งมีการนำฟางมาคลุมหน้าดินเก็บความชื้น กำจัดวัชพืชโดยการตัดถอนเอง โดยไม่พึ่งสารเคมีแม้แต่น้อย” คุณมาศ บอก

สร้างรายได้จากสวนผสมผสาน
1 สัปดาห์ มีรายได้หลายพันบาท
เจ้าของบอกว่า ทุกวันนี้ที่สวนมีรายได้เข้าทุกวัน แบ่งเป็น รายวัน รายสัปดาห์ รายปี

รายวัน เป็นผักสวนครัว พริกขี้หนู ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกขี้หนู 2 วัน เก็บขาย 60-70 กิโลกรัม ราคาขาย กิโลกรัมละ 60-70 บาท

รายสัปดาห์ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า 10 วัน เก็บขายครั้งละ 150-160 กิโลกรัม และปลูกชะออมอีก 900 ต้น เก็บขายสัปดาห์ละ 60 กำ

รายเดือน ปลูกเองขายเอง ข้าวหอมดงคณฑี ลักษณะคล้ายข้าว กข 43 ทนโรค ทนแล้ง ทนน้ำ 85 วัน เก็บเกี่ยวได้ จำหน่าย ถังละ 450 บาท

รายครึ่งปี วิดปลาบ่อรวมขาย มีการขุดร่องปล่อยปลาไว้ในสวน ปลาที่ปล่อยเป็น ปลาตะเพียน ปลานิล ปลานวลจันทร์ และมีบ่อเล็ก เรียกว่า บ่อขนมครก ขุดไม่ลึกมาก จะปล่อยปลานิล ปลาจีน ปลาจะละเม็ด ปลาหมอ ปลาดุก เผื่อให้นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมสวนตกปลามาทำอาหารกินเอง

รายปี เป็นรายได้ระยะยาว จะปลูกเป็นไม้พะยูง ไม้สัก และไม้ยูคา 3 ปี ตัดขาย 1 ครั้ง การตลาด สร้างคุณภาพ สร้างจุดเด่น ให้เป็นที่จดจำ
การตลาดสมัยใหม่ คุณมาศ บอกว่า ต้องหาจุดเด่นของผลผลิตตัวเองให้ได้ และพรีเซนต์ออกมาให้ผู้บริโภคได้รู้ว่าของเราดีอย่างไร ต้องทำด้วยใจ ใส่ใจลูกค้า ลูกค้าต้องการอะไร อยากให้ลองนำเกษตรสมัยใหม่กับสมัยพ่อแม่มาประยุกต์รวมกัน ทุกวันนี้ช่องทางการขายมีเยอะมาก อยู่ที่การปรับเปลี่ยนพัฒนา

“การตลาดคนรุ่นเก่าแต่ก่อนต้องเดินหาบเร่ขายตามบ้าน ต้องขนผลผลิตไปส่งในเมืองให้พ่อค้าเขากดขี่ แต่คนรุ่นใหม่อย่างเราปรับรูปแบบการขายนิดหน่อยให้ดูน่าซื้อ ไม่ต้องสิ้นเปลืองอะไร แล้วขายสร้างมูลค่าให้สินค้า ของที่สวนจะเน้นแสดงเอกลักษณ์ว่าผักที่ปลูกปลอดสารพิษทุกชนิด มีการรายงานบนเพจเฟซบุ๊กตลอดว่า ใช้อะไรในการปลูกและดูแลผัก เช่นวันนี้จะฉีดฮอร์โมนข้าว ส่วนผสมของฮอร์โมนมีอะไรบ้าง และปลอดภัยไหม เมื่อผลผลิตปลอดภัย ก็มาพัฒนาในเรื่องของแพ็กเกจจิ้งต่อ ถ้าของดีมีคุณภาพแล้ว บวกกับรูปลักษณ์ผลผลิตที่น่าซื้อ ของจะขายได้ราคาเพิ่มขึ้นไปอีก การเพิ่มมูลค่าก็ไม่ยาก เราจะหาวัสดุที่เป็นธรรมชาติมาแพ็ก ใช้กาบกล้วยรองเป็นถาดแล้วหุ้มด้วยซีล ต้นทุนไม่กี่บาท แต่สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าได้ง่ายๆ จาก 10 เป็น 20 บาท โดยลงทุนเพียงนิดเดียว ข้อนี้เกษตรกรต้องคิดให้เป็นด้วย” คุณมาศ บอก

ความพอเพียง เปลี่ยนชีวิต จากเคยมุ่งมั่นหาเงินตรา เปลี่ยนเป็นหาความสุขที่อยู่ใกล้ตัว
“เมื่อก่อนเคยมุ่งมั่นอยากจะรวย แต่ตอนนี้ไม่ใช่แล้ว ความสุขต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง ทุกวันนี้แม้ไม่มีเงินตรามากมายก็มีความสุขได้ สุขจากการที่ได้เห็นครอบครัวอยู่กันพร้อมหน้า สุขจากการได้สูดอากาศบริสุทธิ์ สุขจากการได้เห็นความสามัคคีในครอบครัว สุขจากที่ได้ปลูกผักปลอดสารพิษให้เพื่อนมนุษย์ได้กิน และจะสุขที่สุดถ้ารอดพ้นจากการเป็นหนี้” คุณมาศ กล่าวทิ้งท้าย

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม คุณประกายมาศ น้อยมา ได้ เบอร์โทร. 061-370-1393 หรือ FB : สวนคุณพงษ์ควายยิ้ม คุณสมทรง แสงตะวัน อยู่บ้านเลขที่ 9/3 หมู่ที่ 4 ตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ผลักดันให้ชาวบ้านในชุมชนบ้านบางพลับหันมาปลูกส้มโอขาวใหญ่เชิงการค้ากันแบบมีคุณภาพตามแนวทางอินทรีย์ พร้อมไปกับการรวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาต่างๆ เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสงคราม แล้วดึงนักท่องเที่ยวร่วมกิจกรรมต่างๆ ในรูปแบบท่องเที่ยวเชิงเกษตร สร้างรายได้ให้ทุกครัวเรือน

ความจริง ส้มโอ เป็นไม้ผลท้องถิ่น ที่รุ่นพ่อ-แม่ ปลูกกันมาก่อน สมัยนั้นชาวบ้านปลูกส้มโอกันหลายพันธุ์ สำหรับขาวใหญ่ไม่นิยมปลูก เนื่องจากให้ผลผลิตน้อย แต่สำหรับคุณสมทรงกลับมองว่า ขาวใหญ่ เป็นพันธุ์ส้มโอที่มีคุณลักษณะเด่นหลายอย่างควรอนุรักษ์ไว้ ดังนั้น จึงให้ความสำคัญกับการปลูกส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่มาตั้งแต่ ปี 2520 คุณสมทรง เล่าว่า ที่ดินที่ปลูกส้มโออยู่ตอนนี้ซื้อมาจากการเป็นสวนมะพร้าวเก่า แล้วมีส้มโอขาวใหญ่อยู่ในแปลงจำนวน 3 ต้น เมื่อคุณสมทรงเห็นว่าต้นส้มโอมีสภาพสมบูรณ์จึงขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอนกิ่ง จำนวน 300 กิ่ง แล้วแบ่งปลูกในพื้นที่ 7 ไร่ โดยใช้ระยะปลูก 6 คูณ 6 เมตร แบบยกร่องสวน ใช้น้ำจากธรรมชาติหล่อเลี้ยงผสมกับการจัดระบบน้ำขึ้น-ลง ทางธรรมชาติ การดูแลต้นส้มโอจะเน้นใส่ปุ๋ยคอกแล้วใช้กระบวนการทางอินทรีย์เป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยหมักและน้ำชีวภาพ ก่อนถึงช่วงมีดอกจะใส่ปุ๋ยคอก ต้นละ 1-2 กิโลกรัม แล้วเพิ่มจำนวนมากขึ้นเมื่อต้นโตขึ้นเรื่อยๆ จนเวลา 3 ปี จึงเริ่มมีดอก

ภายหลังที่ คุณสมทรง มีโอกาสได้ไปอบรมการใช้ปุ๋ยชีวภาพ ทำให้เขามองว่าแนวทางนี้จะช่วยสร้างคุณภาพส้มโอและขณะเดียวกันยังช่วยลดต้นทุน จากนั้นจึงกลับมาชักชวนชาวบ้านในพื้นที่เพื่อตั้งกลุ่มปลูกส้มโอขาวใหญ่จำนวน 57 คน ในชุมชนตำบลบางพรม มีพื้นที่รวม 300 กว่าไร่ และถือเป็นกลุ่มแรกของจังหวัดสมุทรสงครามที่ปลูกส้มโอขาวใหญ่

แนวทางการพัฒนาวิธีปลูกส้มโอขาวใหญ่จนมีคุณภาพนั้น คุณสมทรง เผยว่า อย่างแรกเมื่อนำต้นพันธุ์ปลูกลงดินไม่จำเป็นต้องลึกเหมือนอย่างคนสมัยก่อนปลูก เนื่องจากรากของต้นพันธุ์จากกิ่งตอนจะเจริญเติบโตขนานไปกับพื้นแล้วกลบดินให้นูนเป็นก้นกระทะ นำเลนในร่องตักขึ้นมาสาดบนคันปลูกทุกปี ก็ทำให้เป็นการพอกพูนเนื้อดินให้เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันในเลนจะมีธาตุอาหารสมบูรณ์มาก ช่วยในการเจริญเติบโตเป็นอย่างดี

“ลักษณะการปลูกแบบกระทะคว่ำ คือขุดหลุมวางต้นแล้วกลบดินให้นูนสูงคล้ายก้นกระทะ เพราะเท่าที่สังเกตวิธีปลูกแบบเดิมจะขุดหลุมลึกมาก รากต้องใช้เวลาการเจริญเติบโตเพื่อหาอาหาร จึงส่งผลให้ได้ผลผลิตจำนวนน้อยจึงเข้าใจว่า ส้มโอพันธุ์นี้ไม่มีคุณภาพ เลยหันไปปลูกพันธุ์อื่น อย่าง ขาวจีน ขาวแป้น ขาวพวง”

คุณสมทรง ถือเป็นเกษตรกรชาวสวนสมุทรสงครามที่สามารถกำหนดผลผลิตส้มโอนอกฤดูกาลได้ ด้วยการแกล้งต้นส้มโอโดยงดให้น้ำส้มโอ ประมาณ 3-4 สัปดาห์ เพื่อปล่อยให้ต้นขาดน้ำ พอต้นส้มโอดูทรุดโทรมเหี่ยวเฉา ดินแห้งแตก ใบเหลืองร่วงสัก 30-40 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นค่อยปล่อยน้ำเข้าไปในร่องให้เต็ม รดน้ำทุกวัน เกิดรากอ่อน แตกใบอ่อน แล้วมีดอก โดยใช้ระยะเวลารวมทั้งสิ้น 8 เดือน จึงสามารถเก็บผลผลิตขาย

“วิธีนี้ทำมาแล้วไม่เคยพลาด ถือว่าเป็นการควบคุมเพื่อให้มีผลผลิตตรงกับความต้องการของตลาด อันจะนำมาสู่ราคาขายที่สูงกว่าในช่วงปกติหลายเท่า ซึ่งแต่เดิมส้มโอพันธุ์นี้มีลูกน้อย โดยให้ผลผลิตเพียงปีละ 25 ผล ต่อต้น แต่ภายหลังเมื่อปลูกอย่างจริงจังด้วยการบริหารจัดการวิธีปลูกอย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ใช้เวลาเพียง 3 ปีสามารถติดดอกให้ผลดกมาก พอทำได้เช่นนี้ก็มีชาวบ้านสนใจจำนวนมาก จึงชวนกันตั้งเป็นกลุ่มเพื่อสร้างผลผลิตป้อนตลาด”

คุณสมทรง ชี้ว่า ต้นส้มโออายุ 5 ปีขึ้นไป จะเก็บผลไว้ไม่เกินต้นละ 80 ผล ผลใดที่ไม่สมบูรณ์จะตัดออก แล้วนำไปเพิ่มมูลค่าเป็นสินค้าอย่างอื่นโดยไม่มีการทิ้งให้เสียเปล่า ไม่ว่าจะเป็นการนำผลส้มโอไปเผาเป็นถ่าน ใช้สำหรับดูดกลิ่น หรือทำส้มโอแช่อิ่ม ฯลฯ แล้วหากเสียหายมากก็จะนำไปผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ

ไม่เพียงเท่านั้นชาวสวนส้มโอรายนี้ยังสร้างความหวานให้ผลผลิตด้วยการนำขี้แดดนาเกลือมาใส่ คุณสมทรง เล่าว่า ขี้แดดนาเกลือ เป็นผลมาจากเมื่อชาวบ้านที่ต้องการทำนาเกลือในพื้นที่จะจัดการขูดผิวที่เป็นขี้นาเกลือออกเพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้พร้อมกับการเริ่มทำนาเกลือรอบใหม่

ฉะนั้น สิ่งที่ขูดออกเป็นตะกอนจากน้ำทะเลที่สะสมไว้แล้วตกผลึก ซึ่งชาวบ้านมักนำขี้แดดนาเกลือไปทิ้ง คุณสมทรง มองว่า ขี้แดดนาเกลือเหล่านี้เป็นแหล่งรวมสารอาหารที่ดีของพืช จึงนำไปใส่ที่โคนต้นส้มโอ จากนั้นเมื่อได้ผลผลิต พบว่า รสชาติส้มโอมีความหวาน แล้วได้ส่งเข้าประกวด ได้รางวัล เลยทำให้เป็นที่สนใจจากชาวบ้านในชุมชนหันมาใช้วิธีเดียวกัน

สำหรับขี้แดดนาเกลือจะใส่กับต้นส้มโอในช่วงเดือนที่ 6 ก่อนเก็บผลผลิต 2 เดือน จะใส่ต้นละ 2 กิโลกรัม รอบชายพุ่ม รดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง จนถึงเดือนที่ 8 แล้วจึงเก็บผลผลิต ก็จะพบว่าส้มโอมีรสชาติหวานชื่นใจ ไม่แห้ง ไม่เป็นข้าวสาร เนื้อจะล่อนจากเปลือกได้ง่าย

นอกจากนั้น ยังต่อยอดนำขี้แดดนาเกลือไปใช้กับผลไม้ชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น แก้วมังกร ฝรั่ง ชมพู่ มะพร้าวน้ำหอม ส่วนทางภาคใต้นำไปใส่ปาล์ม ดังนั้น จากสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ทิ้งขว้างกลับกลายมาเป็นของที่มีมูลค่าขายได้

ลิ้นจี่ เป็นไม้ผลอีกชนิดที่ชาวสมุทรสงครามปลูกกันไว้เป็นเวลาหลายสิบปี ในอดีตถือว่าลิ้นจี่ในจังหวัดนี้ได้รับความนิยม เพราะมีความหวานที่พอเหมาะ ล่อน เนื้อมาก

คุณสมทรง ปลูกลิ้นจี่มานานกว่า 30 ปี เป็นพันธุ์ค่อม ปลูกไว้จำนวนกว่า 300 ต้น แต่ในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมาลิ้นจี่ประสบปัญหาทางธรรมชาติ จึงไม่มีผลผลิตเลย จึงทำให้ต้องตัดทิ้งออกเป็นส่วนใหญ่แล้วปลูกไม้ผลชนิดอื่นแทน อย่างไรก็ตาม ในปี 2561 เพิ่งมาติดผล ทำให้ชาวบ้านที่ยังเก็บต้นลิ้นจี่ไว้พอมีรายได้

เวลาพูดถึง กัญชาเสรี คนมักอ้างประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศเล็กๆ ที่ก้าวหน้ามาก เพราะเป็นประเทศแรกในโลกที่อนุญาตให้คนเพศเดียวกันแต่งงานกันได้ ตั้งแต่ ปี 2544 คนจึงเชื่อทันทีว่า เมื่อก้าวหน้าเปิดกว้างขนาดนี้ เนเธอร์แลนด์ก็เปิดให้เสพกัญชาเสรีได้

ที่จริงไม่ใช่ จนถึงวันนี้ กัญชายังเป็นสิ่งผิดกฎหมายในเนเธอร์แลนด์ พูดอีกอย่างคือ เขายังไม่ได้เอากัญชาออกจากบัญชีสิ่งเสพติด ยังคงมีโทษระบุว่า ใครครอบครองหรือค้ายังผิดกฎหมาย

แต่ในทางปฏิบัติ สมัครสโบเบ็ต เขาให้คนครอบครองเพื่อบริโภคส่วนตัวได้ คนละ 5 กรัม คือถ้าเจอใครครอบครองกัญชาปริมาณต่ำกว่า 5 กรัม ถ้าเป็นบุหรี่พันลำก็ราว 4-5 มวน อันนี้เขาไม่จับ เขาอนุโลมให้ใช้ได้ จะเพื่อการแพทย์หรือเพื่อความสำราญ ได้ทั้งนั้น แต่ต้องเสพในที่ส่วนตัว ที่บ้าน หรือสถานที่เขาจัดไว้ให้เท่านั้น ประเทศเขาจะมีร้านขายกัญชาให้เราเข้าไปนั่งเสพเหมือนร้านกาแฟ ร้านเหล้า และก็มีพื้นที่สาธารณะที่เขาห้ามเสพ ก็เหมือนกับเมืองไทยห้ามดื่มเหล้าในที่สาธารณะในวัด ในโรงเรียน อะไรแบบนั้น เมืองไทยจนถึงปัจจุบันถ้าเจอครอบครองกัญชานับว่าผิดทันที มีโทษปรับ 1 แสนบาท จำคุก 5 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าครอบครองหลายกิโล จัดเป็นการครอบครองเพื่อการค้า เจอโทษหนักเป็นเท่าตัว ส่วนที่เริ่มอนุโลมเพื่อการรักษาตัวนั้น ก็ให้ในปริมาณที่จำเป็น ต้องแจกแจงอาการป่วย พร้อมใบรับรองแพทย์ และต้องได้รับอนุญาตเป็นรายๆ ไป ไม่ใช่เปิดเสรี

นโยบายอนุโลมของเนเธอร์แลนด์นี้ เรียกเป็นภาษาเขาว่า “Gedogen” แปลว่า พยายามไม่เข้าไปยุ่ง อารมณ์ประมาณเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ เท่านี้เขาก็ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องไปแก้กฎหมายอะไรต่อมิอะไร และคนเสพก็จะต้องประมาณตนอยู่ตลอดเวลาว่า อยู่ภายใต้การอนุโลมนะ ถ้ากล้ำเกินไปหรือทำปัญหาอะไรขึ้น ก็จะเจอกฎหมาย ไม่ได้เสรีไร้กังวลไปเสียร้อยเปอร์เซ็นต์ เขาใช้นโยบายนี้กับการครอบครองกัญชา ตั้งแต่ ปี 2519 คือจะครึ่งศตวรรษอยู่รอมร่อ ในระยะที่ว่านี่ไม่เคยมีคนเสพกัญชาแล้วถูกจับเลย

คนเลยเข้าใจว่า เขาเปิดเสรีให้เสพกัญชาไง นโยบายแบบนี้ เขานำมาใช้กับสิ่งที่เคยผิดกฎหมายมาก่อน แต่มีความพยายามที่จะไม่ให้ผิดกฎหมายอีกต่อไป เขาก็จะเริ่มด้วยการ “Gedogen” นี้ คือ ไม่พยายามจะไปเอาเรื่องเอาราวอะไร ปล่อยให้ดำเนินการกันไป เพียงแต่มีกรอบให้ แล้วเมื่อดูระยะเวลาหนึ่งถ้ามันไปได้ดี เขาก็เปิดให้ถูกกฎหมายเลย อันนี้เขาก็ใช้กับการประกอบอาชีพโสเภณี ซึ่งในที่สุดก็ได้รับการประกาศให้เป็นอาชีพถูกกฎหมาย ในปี 2543 ตามด้วยกฎหมายเสรีแก่การแต่งงานกับคนเพศเดียวกันในปีต่อมา

นี่คือ การขยับทีละก้าวของเขา ขยับไปดูปฏิกิริยาของทุกฝ่ายไป ค่อยๆ ผ่อนเชือกทีละเปลาะๆ จนที่สุดก็คลายโดยที่ไม่ต้องเผชิญหน้ากัน ไม่เหนื่อย ในอเมริกาเอง แต่ละรัฐใช้เวลานับสิบปีเพื่อการต่อรอง หลายรัฐที่เปิดให้ใช้กัญชาได้เพื่อการแพทย์ หรืออย่างเสรี ล้วนผ่านการเผชิญหน้ากันอย่างหนักมาแล้วทั้งสิ้น จนทุกวันนี้ก็ยังขัดแย้งกันอยู่ เพียงแต่จำเป็นต้องยอมรับ เพราะเป็นกฎหมาย และหลายรัฐที่อยากจะเปิดเสรีบ้าง ก็ยังติดแหง็กกับการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้าน