สำหรับพื้นที่ปลูกกล้วยหอมทองของบริษัท จำนวน 3,000 ไร่

ถูกควบคุมการปลูก อย่างเป็นระบบ โดยใช้วิธีปลูกหมุนเวียน ครั้งละ 300 ไร่ หรือประมาณ 100,000 ต้น ต่อรุ่น เพื่อให้มีผลผลิตป้อนเข้าสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ กล้วยแต่ละรุ่น จะใช้ระยะเวลาปลูก 9 เดือน -1 ปี ตัดขายได้ เมื่อความแก่ความอ่อนของกล้วยอยู่ที่ 80% ทำให้กล้วยมีรสชาติหวานสม่ำเสมอ หลังเก็บเกี่ยวจะคัดขนาดของผลกล้วยให้ตรงกับความต้องการของตลาด

ยกตัวอย่างเช่น กล้วยหอมทองที่ส่งขายการบินไทย สำหรับเสิร์ฟให้ลูกค้าชั้นเฟิร์สคลาสนั้น ต้องคัดกล้วยหอมเกรด A ผิวสวย น้ำหนักลูกละ 180 กรัม ผิวของกล้วยต้องไม่มีรอยช้ำ รสชาติต้องหวานสม่ำเสมอ ส่วนกล้วยหอมทองที่ส่งขายร้านเซเว่นอีเลฟเว่นนั้น จะคัดเลือกกล้วยหอมทองที่มี น้ำหนักเฉลี่ย 120 กรัมต่อผล โดยมียอดขายประมาณ วันละ 70,000 ชิ้น

กล้วยหอมมีขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก นอกจากจะขึ้นอยู่กับการดูแลที่เอาใจใส่อย่างดีแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นหลัก หากใครอยากปลูกกล้วยหอมทองให้ได้เกรด A คุณเกรียงศักดิ์ แนะว่า ธรรมชาติของกล้วยชอบปุ๋ย ชอบน้ำ ต้องรดน้ำทุกวัน ระวังเรื่องน้ำท่วมขัง ปลูกดินตื้นจะโตไว แต่ล้มง่ายต้องมีไม้ค้ำ เมื่อออกปลี ให้ใช้ไม้ค้ำทุกเครือ ออกปลีได้ 70-90 วัน จะให้ลูก ใช้ถุงหรือกระดาษคลุมลูกเพื่อให้ผิวกล้วยสวย เมื่อตัดผลผลิต กล้วยจะมีอายุได้ราว 1 ปี ให้โค่นทิ้ง นำหน่อใหม่จากต้นเดิมลงปลูกแทน ทว่าราวเดือนเมษายน-มิถุนายน เป็นช่วงฤดูฝน มีลมพายุ ช่วงนี้กล้วยหอมมักขาดตลาด

เปิดรับ “เกษตรกรลูกไร่” ทั่วไทย

คุณเกรียงศักดิ์ บอกว่า ทางบริษัทยินดีเปิดรับสมัครเกษตรกรลูกไร่ทั่วประเทศ โดยพิจารณาจากความพร้อมของสถานที่ตั้งเป็นสำคัญ เช่น มีแหล่งน้ำเพียงพอสำหรับใช้ในการเพาะปลูกตลอดทั้งปี หากเป็นเกษตรกรรายย่อย จะส่งเสริมให้รวมกลุ่มกันปลูกกล้วยไม่ต่ำกว่า 20 ไร่ เพื่อรวบรวมผลผลิตส่งขายไม่ต่ำกว่า 10-15 ตัน/ครั้ง

คุณเกรียงศักดิ์ บอกว่า เรานำเสนอสิ่งดีๆ ให้เป็นทางเลือกของเกษตรกร สมาชิกเครือข่าย “คิง ฟรุทส์” จะมีเจ้าหน้าที่วิชาการของบริษัทให้คำแนะนำวางแผนการปลูก ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด สามารถซื้อปัจจัยการผลิตในราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป เช่น หน่อพันธุ์ ถุงห่อเครือกล้วย ทำให้ เป็นการลดต้นทุนการผลิต สามารถจำหน่ายสินค้าได้ตามเกรดคุณภาพของสินค้ามากกว่าการขายแบบคละเกรด หรือเหมารวม สามารถขายผลผลิตได้ทุกผล ทุกต้น ลดปัญหาการขายสินค้า ด้อยคุณภาพเข้าสู่ท้องตลาด โดยเฉพาะช่วงที่ผลผลิตเข้าตลาดจำนวนมากพร้อมกัน

ปัจจุบัน บริษัทรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรเครือข่ายตามคุณภาพสินค้า เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10-20 บาท หากใครมีข้อสงสัยประการใด สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจาก บริษัท คิง ฟรุทส์ จำกัด 55/12 ม.4 ต.บึงคำพร้อย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150 โทร 02-159-9770, 02-159-9772-73 แฟกซ์ 02-159-9771

เทศกาล “เจียไต๋ แฟร์ 2018 FARMNIVAL…ฟาร์มนี้ ว้าว!” ที่จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 22 ธันวาคม 2561-13 มกราคม 2562 ณ ชนม์เจริญฟาร์ม ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งกิจกรรมงานเจียไต๋ แฟร์ ได้จัดติดต่อกันมาเป็นครั้งที่ 9 แล้ว เน้นโชว์มหัศจรรย์พันธุ์พืช-ดอกไม้ ละลานตา ที่สุดความฟินแห่งปี โดยกำหนดคอนเซ็ปต์งานแบบสนุกๆ เนรมิตฟาร์ม ผัก-ผลไม้ ให้กลายเป็นวันเดอร์แลนด์ดินแดนแสนสนุก ชวนให้ร้องว้าวๆ หลายครั้งกับความอลังการงานแสดงโชว์สายพันธุ์พืชผัก อันดับ 1 ของประเทศไทย ดอกไม้นานาพรรณที่มาอวดความงามพร้อมๆ กัน

โซนกิจกรรมเขาวงกตข้าวโพดนานาสายพันธุ์ มีหอคอยข้าวโพดที่สามารถเห็นทัศนียภาพจากมุมสูงของงาน เมื่อลงมายังจะได้รับประทาน “ข้าวโพดฮอกไกโด” ข้าวโพดหวานอร่อย ที่รับประทานสดได้อย่างปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ รวมไปถึงข้าวโพดซูพรีม ข้าวโพด 3 สี ข้าวโพดขาวหวาน ข้าวโพดหวานอัญชัน สายพันธุ์ข้าวโพดหวานม่วง 737

อีกจุดที่ต้องแวะชมคือ โรงเรือนปลูกพืชสายพันธุ์แปลก ที่มีตั้งแต่ขนาดเท่ากำปั้นไปถึงขนาดยักษ์ อาทิ ฟักทองขนาดใหญ่มหึมา ฟักทองรูปทรงประหลาด ฟักทอง Mix จานบิน ฟักทองสองสี ซูกินีสีทอง ข้าวโพดหลากสีสัน ซึ่งเจียไต๋ได้รวบรวมเมล็ดพันธุ์พืชแปลกจากทั่วทุกมุมโลกมาปลูกโชว์ให้เห็นผลผลิตของจริงภายในงานนี้โดยเฉพาะ

อีกจุดที่หลายคนร้องว้าว คือ โซน Smart farm เทคโนโลยีโรงเรือน ร้านค้าต้นกล้าและอุปกรณ์โรงเรือน จุดแสดงความก้าวหน้าการเพาะปลูกในโรงเรือน โดยการใช้เทคโนโลยี ระบบ Smart Watering และระบบ Smart Greenhouse พร้อมให้คำแนะนำจากวิศวกรมืออาชีพบริเวณงาน มหัศจรรย์พรรณไม้และเทคโนโลยีการเพาะปลูกที่ทันสมัย ดึงดูดคนไทยและต่างชาติกว่า 50 ประเทศ มาเปิดหู เปิดตา ได้ทั้งความรู้และความเพลิดเพลินกับการท่องเที่ยวเชิงเกษตรตลอดระยะเวลา 22 วัน ของการจัดงาน คาดว่า ผู้เข้าชมงานจำนวนมาก จะได้ไอเดียเด็ดๆ จากนวัตกรรมการเพาะปลูกพืชของเจียไต๋ไปปรับใช้กับการทำการเกษตรของตนเองที่บ้าน

การจัดงานในครั้งนี้ เจียไต๋ ได้ตอกย้ำบทบาทผู้นำด้านเกษตรกรรม ยุค 4.0 โดยนำเสนอเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยและน่าสนใจทั่วบริเวณจัดงาน เริ่มจาก “แอปพลิเคชั่น Chia Tai Fair” แค่ผู้เข้าชมงานโหลดแอปพลิเคชั่น “เจียไต แฟร์” เทคโนโลยี AR จะนำเที่ยวชมงานในรูปแบบ 3 มิติ แค่ยกโทรศัพท์ทุกเครือข่ายส่องไปบนตัวแผนที่ จุดไฮไลต์ต่างๆ เด้งออกมาเป็น 3 มิติ มี “ลุงยิ้ม” ตัวการ์ตูนเป็นไกด์นำทางเสริมความสนุกในการเที่ยวชมงานในครั้งนี้ นักท่องเที่ยวจะไม่พลาดทุกโซนสำคัญในงาน เจียไต๋ แฟร์ เรียกว่าเดินชมงานสนุกเพลิดเพลินแบบไม่รู้เบื่อ

นอกจากนี้ เจียไต๋ ยังนำเทคโนโลยี AR มาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ช่วยให้การปลูกผักเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว ด้วยไอเดีย “ฉลากพูดได้” ลูกค้าที่ซื้อเมล็ดพันธุ์พืชผักเจียไต๋ซองเล็กกว่า 300 สายพันธุ์ ไปใช้งานพร้อมโหลดแอปพลิเคชั่น “Chia Tai Fun” เมื่อนำโทรศัพท์มือถือทุกระบบไปส่องที่บาร์โคดหน้าซองเมล็ดพันธุ์เจียไต๋ จะมีตัวการ์ตูน “ลุงยิ้ม” เด้งออกมาสอนวิธีปลูกผักแบบ 3 มิติ ที่สดใส เข้าใจง่าย ทำให้การปลูกผักกลายเป็นเรื่องสนุกสำหรับคนทุกเพศทุกวัย สนุกแค่ไหน ต้องลองไปหาซื้อเมล็ดพันธุ์เจียไต๋ซองเล็กมาทดลองเล่นกัน

เทคโนโลยี Plant factory

ปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลกสนใจพัฒนาเทคโนโลยีโรงงานผลิตพืช (Plant Factory) ที่มีมูลค่าสูง และสามารถเพิ่มปริมาณพืชอาหารให้เพียงพอต่อการบริโภคของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีโรงงานผลิตพืชตอบโจทย์ดังกล่าวได้อย่างดี ขณะเดียวกันยังช่วยยกระดับการเพาะปลูกแบบดั้งเดิม สู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นด้านการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) ด้านการผลิตที่เน้นคุณภาพ (Value-Based Product) และด้านการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation) และมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly)

เทคโนโลยีโรงงานผลิตพืช (Plant Factory) ที่เจียไต๋นำมาจัดแสดงในครั้งนี้ เป็นเทคโนโลยีการปลูกพืช ที่ประเทศญี่ปุ่นได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 20 ปี เป็นฟาร์มปลูกพืชผักระบบปิด ที่สามารถปลูกพืชได้จำนวนมาก ในพื้นที่จำกัด โดยปลูกผักบนโต๊ะปลูกที่มีมากกว่า 5 ชั้น ช่วยให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เทคโนโลยีโรงงานผลิตพืช สามารถปลูกพืชผักสมุนไพรได้หลากหลายชนิด โรงเรือนปลูกพืชระบบปิดนี้ สามารถควบคุมอุณหภูมิ ความชื้น ความเข้มแสง แร่ธาตุอาหารสำหรับพืช ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่พืชใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างครบถ้วน ภายในโรงเรือนติดตั้งหลอดไฟแอลอีดี (LED) เป็นแหล่งกำเนิดของแสง ซึ่งให้ความร้อนน้อยกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์และประหยัดไฟมากกว่า และใช้ชนิดสีของแสงไฟเป็นตัวกำหนดการเจริญเติบโต ยกตัวอย่าง เช่น ใช้แสงไฟสีน้ำเงินเร่งการเจริญเติบโตช่วงทำใบ แสงไฟสีแดง เร่งการทำดอก เป็นต้น

แสงไฟเทียมสำหรับการปลูกพืชระบบโรงงานผลิตพืช คือวัตถุดิบของกระบวนการสังเคราะห์แสง พลังงานจะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมีเพื่อให้พืชใช้ในการเจริญเติบโตในโรงงานผลิตพืช แสงไฟเทียมที่ผลิตจากหลอดไฟ เช่น หลอดแอลอีดี หลอดฟลูออเรสเซนต์ สามารถใช้ในการเพาะปลูกพืชได้ ทั้งนี้พบว่า แสงไฟแอลอีดี เข้ากันได้ดีกับตัวรับแสงในพืช เนื่องจากพืชจะนำเฉพาะแสงที่มองเห็นได้ด้วยตา (Visible light wavelength) ไปใช้ในการสังเคราะห์แสงเพื่อผลิตสารอาหาร แร่ธาตุ หรือวิตามินให้เกิดผลิตภาพที่ดีที่สุด

สำหรับแสงไฟสีแดง (625-700 nm) จะเพิ่มปริมาณแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ในกะหล่ำใบแดง เพิ่มปริมาณ สารลูทีน (Lutein) ในผักเคล (Kale) ผักใบสีเขียวเข้มที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นสุดยอดของอาหาร หรือ Super Food นอกจากนี้ ยังช่วยลดปริมาณไนเตรตในผักสลัด แกรนด์แรปิดส์ (Grand Rapids Lettuce) ซึ่งเป็นผักที่มีสารต้านทานอนุมูลอิสระหลายชนิด

แสงไฟสีเขียว (490-550 nm) ลดปริมาณไนเตรตในผักสลัด Baby leaf. ผักสลัดพันธุ์ใหม่ ไซซ์เล็ก กะทัดรัดที่ตลาดให้ความนิยม ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มปริมาณวิตามินซี (ascorbic acid) ในผักกาดแก้ว ซึ่งวิตามินซีจัดเป็นสารสำคัญที่มีผลต่อการทำงานหลายระบบของร่างกาย ส่วนแสงไฟสีน้ำเงิน (425-490) เพิ่มเบต้าแคโรทีนในผักเคล (Kale) เพิ่มปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในผักสลัดใบแดง

เทคโนโลยีโรงงานผลิตพืช สามารถเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ คาร์บอนไดออกไซด์ นับเป็นวัตถุดิบสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์แสงเช่นเดียวกับแสงและน้ำ ดังนั้น การเพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในโรงงานผลิตพืชที่ระดับ ประมาณ 1,000 ส่วน ในโรงเรือน จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณผลผลิตได้

ผักไมโครกรีน… ตลาดนี้น่าจับจอง

ภายในโรงเรือนแห่งนี้ นำเสนอการปลูกผักไมโครกรีน (micro. Greens) คือ ต้นกล้าต้นอ่อนขนาดเล็ก เพาะจากเมล็ดพืชผักสมุนไพร เจริญเติบโตจนมีใบสองถึงสามใบ จึงสามารถนำไปรับประทานได้ ผักไมโครกรีน มีคุณค่าสารอาหารมากกว่าผักทั่วไป 5-40 เท่า ผักไมโครกรีนมีรูปทรงและสีสันสวยงามน่ารับประทาน อายุการเติบโตสั้น ใช้เวลา 7-10 วันก็สามารถเก็บผักนำมารับประทานหรือนำออกขายได้

ผักไมโครกรีน มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า “ต้นอ่อน” เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ยิ่งกล้ามีอายุมากขึ้น สารอาหารก็จะถูกใช้ไปในการเจริญเติบโตเก็บเกี่ยวในระยะเวลาที่เหมาะสม เมื่อนำไปทำอาหาร ผู้บริโภคจะได้รับคุณค่าทางอาหารสูงไปด้วย พืชผักไมโครกรีนเหมาะสำหรับคนทุกเพศทุกวัยผู้ที่ชอบรับประทานผักอยู่แล้ว การเพิ่มพืชผักไมโครกรีนในอาหารจะยิ่งช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารเพิ่มมากขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผักแค่ใส่พืชผักไมโครกรีนในอาหารเล็กน้อย ก็ได้รับสารอาหารเทียบเท่ากับรับประทานผักจานใหญ่เช่นกัน

วิธีการให้น้ำแก่สวนลําไย ที่ชาวสวนทํากัน แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ วิธีให้น้ำทางผิวดิน วิธีโดยสปริงเกลอร์ และวิธีโดยน้ำหยด โดยการให้น้ำทั้ง 3 วิธี มีเป้าหมาย คือ ต้องการให้น้ำซึมลงเปียกดินในทรงพุ่ม ถึงความลึกประมาณ 40 เซนติเมตร ขึ้นไป เพราะรากลําไยส่วนใหญ่แพร่กระจายอยู่ในดินที่ระดับความลึกนี้

การให้น้ำแก่ต้นเล็กที่มีอายุ 1-2 ปี การให้น้ำแก่ต้นลําไยปลูกใหม่ในระยะ 2 ปีแรก เกษตรกรจะให้โดยวิธีใดก็ได้ตามความเหมาะสมของพื้นที่ แหล่งน้ำ และทุนทรัพย์ที่จะลงทุน ตั้งแต่การหาบน้ำรด ใช้ปั๊มน้ำท่อยางหรือวางระบบสปริงเกลอร์เล็กหรือน้ำหยด ถ้าจะวางระบบสปริงเกลอร์หรือน้ำหยดก็ควรพิจารณาวางระบบเผื่ออนาคตที่ต้นโตขึ้นด้วย โดยทั่วไปแล้วปริมาณน้ำที่ต้องรดให้แก่ต้นที่ปลูกในปีแรกประมาณ 20 ลิตร ต่อระยะ 4-5 วัน (รดให้ดินเปียกน้ำกว้าง 0.5 เมตร) และปีที่ 2 ประมาณ 60 ลิตร ต่อระยะ 4-5 วัน (รดให้ดินเปียกกว้าง 1.0 เมตร)

การให้น้ำทางผิวดิน กรณีที่สวนลําไยอยู่ในบริเวณที่ลุ่ม และมีลําเหมืองไหลผ่านสวน การให้น้ำโดยทางผิวดินเป็นการให้น้ำที่ให้ครั้งหนึ่งๆ ปริมาณมาก เพื่อให้ดินที่ควรลึกอย่างน้อย 40 เซนติเมตร อุ้มน้ำไว้ให้มากที่สุด ทําให้ต้นลําไยค่อยๆ ใช้ได้หลายวัน ปริมาณน้ำที่ต้องให้ ครั้งหนึ่งๆ จึงขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม และปริมาณน้ำที่ต้นลําไยใช้ประโยชน์ได้ของดินลึก 40 เซนติเมตร นํ้าที่ใช้ประโยชน์ได้ของดินแตกต่างกันไปตามความหยาบละเอียดของดิน โดยทั่วไปแล้วปริมาณน้ำเป็นความลึกของน้ำที่ใช้ประโยชน์ได้ที่ดิน เนื้อต่างๆ อุ้มไว้ให้พืชใช้ในความลึก 40 เซนติเมตร ต่อการให้นํา้หนึ่งครั้ง

การให้น้ำทางผิวดินที่ง่ายที่สุดคือ การไขน้ำเข้าท่วมขังในพื้นที่ทั้งสวนลําไย ให้ได้น้ำลึกเท่ากับความสูงที่ต้องการของดินเนื้อต่างๆ ตามตารางที่ 1 การที่จะทําเช่นนี้ได้พื้นที่สวนต้องราบเรียบเสมอกัน ถ้าสวนไม่ราบเรียบเสมอกันทั้งสวน ให้ทําคันดินรอบทรงพุ่มของต้นลําไยแต่ละต้น แล้วไขน้ำเข้าขัง ในคันให้ได้สูงตามต้องการของดินเนื้อต่างๆ ถ้าน้ำในเหมืองอยู่ต่ำกว่าสวน เกษตรกรก็ต้องสูบน้ำ กรณีเช่นนี้ยิ่งมีความจําเป็นต้องทําคันดินรอบทรงพุ่ม เพราะจะทําให้ประหยัดน้ำมากกว่าสูบน้ำใส่ทั้งสวน เมื่อให้น้ำทางผิวดิน ดินในความลึก 40 เซนติเมตร จะอุ้มน้ำไว้ให้พืชค่อยๆ ใช้ได้หลายวัน ความบ่อยถี่ของการให้น้ำขึ้นกับฤดูกาล และเนื้อดินที่อุ้มน้ำไว้ได้มากน้อยต่างกัน ในฤดูร้อนที่กลางวันยาวและอากาศร้อน พืชย่อมดูดน้ำจากดิน และคายน้ำมากกว่าในฤดูหนาวที่กลางวันสั้น และอากาศเย็น ดินที่อุ้มน้ำไว้ได้น้อย เช่น ดินร่วนปนทรายจึงต้องให้น้ำถี่กว่าดินที่อุ้มน้ำไว้ได้มาก เช่น ดินเหนียว สวนลําไยในจังหวัดเชียงใหม่-ลําพูน ประมาณว่าควรมีรอบการให้น้ำในเดือน และดินเนื้อต่างๆ

การให้น้ำโดยใช้ท่อและสายยาง สําหรับสวนลําไยในที่ดอนมักต้องใช้น้ำบาดาล และสูบให้น้ำโดยใช้ท่อหรือสายยาง ถ้าดินเป็นดินร่วนหรือเหนียวที่ซึมน้ำได้ช้าก็อาจทําเช่นเดียวกับที่ลุ่ม คือทําคันดินรอบทรงพุ่มแล้วเอาน้ำขังในคันดินสูง ตามตารางที่ 1 แต่ถ้าเป็นดินที่น้ำซึมได้เร็ว (อาจจะเป็นดินทรายร่วนปนทรายหรือดินเหนียวสีแดง) การให้น้ำทางสายยางลงในคันให้ได้น้ำสูง 4-6 เซนติเมตร จะต้องใช้น้ำเกินความต้องการมากและจะสูญเสียโดยการซึมลึก ในกรณีเช่นนี้เกษตรกรควรจับเวลาและตวงวัดว่าท่อหรือสายยางนั้นให้น้ำได้นาทีละกี่ลิตร จากนั้นจึงคํานวณเวลาที่ต้องให้น้ำต้นละกี่นาที จึงจะได้น้ำเป็นจํานวนลิตร

การประหยัดน้ำเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับสวนเช่นนี้ เพราะต้นทุนค่าสูบน้ำจะแพงกว่าสวนในที่ลุ่ม และน้ำมีจํากัด เกษตรกรควรปรับดินในทรงพุ่มให้ราบเรียบเพื่อให้น้ำที่ให้กระจายซึมลงในดินในทรงพุ่มอย่างสม่ำเสมอ รอบการให้น้ำในกรณีให้โดยใช้ท่อ และสายยางเหมือนกับการให้น้ำโดยใส่น้ำเข้าขังในสวน หรือในทรงพุ่ม สําหรับความถี่ห่างนั้นขึ้นอยู่กับฤดูกาล และเนื้อดิน

การให้น้ำโดยสปริงเกลอร์และสปริงเกลอร์เล็ก สปริงเกลอร์ที่นําเข้าจากต่างประเทศมักมีราคาแพง แต่สปริงเกลอร์ และสปริงเกลอร์เล็ก (มินิสปริงเกลอร์) ทีผลิ่ตในประเทศไทยมีราคาพอซื้อหามาใช้ได้ สปริงเกลอร์ที่ผลิตในไทย เช่น เรนดรอป และดําน้ำหยด ให้น้ำได้ชั่วโมงละ 400 – 1,000 ลิตร เป็นพื้นที่วงกลมกว้าง 4 – 6 เมตร เมื่อใช้ความดันของน้ำเหมาะสม คือความดันที่ทําให้น้ำกระจายได้กว้างที่สุด โดยที่น้ำไม่แตกเป็นละออง ความดันน้ำ 8 – 12 เมตร ปัจจุบันมีหัวสปริงเกลอร์เล็ก และหัวพ่นนํ้า (หัวเจ็ท) ไทยทําที่มีขนาดเล็กกว่าเดิมอีกหลายยี่ห้อ เช่น อะกรู สามารถจ่ายน้ำอัตราต่างๆ กัน ตั้งแต่ 50 – 200 ลิตร ต่อชั่วโมง ในพื้นที่กว้าง 1 – 3 เมตร เกษตรกรสามารถเลือกซื้อหัวสปริงเกลอร์ สปริงเกลอร์เล็ก และสปริงเกลอร์หัวพ่นน้ำ (หัวเจ็ท, หัวผีเสื้อ) มาใช้หรือให้ผู้ขายออกแบบ และติดตั้งให้เหมาะสมกับสวนได้

เกษตรกรต้องรู้ว่าโดยเฉลี่ยหัวสปริงเกลอร์หรือหัวเจ็ทแต่ละหัวให้น้ำได้นาทีละกี่ลิตร แล้วคํานวณเวลาที่ต้องให้น้ำแต่ละครั้งเพื่อให้ได้น้ำ นอกจากนี้ การเลือกใช้หัวสปริงเกลอร์ยังต้องคํานึงถึงอัตราการซึมน้ำของดินอีกด้วย โดยต้องเลือกหัวสปริงเกลอร์ที่ให้น้ำด้วยอัตราที่ไม่เร็วกว่าน้ำซึมเข้าในดินได้ ไม่เช่นนั้นจะมีน้ำไหลล้นออกนอกทรงพุ่มและสูญเสียนํ้า เนื่องจากการให้นํ้าโดยสปริงเกลอร์และหัวพ่นนํ้า สามารถทําได้สะดวก เกษตรกรสามารถให้นํ้า เป็นราย 3 วัน 5 วัน หรือ 7 วัน ได้โดยง่าย ดังนั้น แทนที่จะให้นํ้าแต่ละครั้งมากที่สุดที่ดินในความลึก 40 เซนติเมตร จะอุ้มไว้ได้ โดยให้เป็นระยะ 4 – 10 วัน ต่อครั้ง แล้วแต่ฤดูกาลและชนิดดิน เกษตรกรสามารถเลือกให้นํ้าทุก 3 – 4 วัน แล้วแต่เนื้อดิน ถ้าเป็นดินร่วนปนทรายให้ 3 วันครั้ง ถ้าเป็นดินเหนียวให้ 4 วันครั้ง เป็นต้น และให้แต่ละครั้งมากน้อยตามความต้องการนํ้ารายวันใน ตารางที่ 4 และคูณด้วยจํานวนวัน

การให้นํ้าโดยวิธีนํ้าหยด การให้นํ้าโดยวิธีนํ้าหยดมีเป้าหมายเพื่อให้ดินในทรงพุ่มเปียกชื้นประมาณ 50 เซนติเมตร เช่นเดียวกับสองวิธีที่กล่าวแล้ว การให้นํ้าโดยวิธีนํ้าหยดสามารถควบคุมให้นํ้าเปียกเฉพาะที่ที่ต้องการได้ ดีกว่าและมักให้นํ้าหยดตลอดเวลาแต่เกษตรกรก็สามารถดัดแปลงวิธีการให้เป็นการหยดเป็นระยะทุกวัน หรือ 2 วันก็ได้ ขึ้นอยู่กับอัตราการหยดของนํ้า หัวนํ้าหยดมีหลายแบบ และมีอัตราการหยดตั้งแต่ 4 – 10 ลิตร ต่อชั่วโมง ขึ้นอยู่กับแรงดันนํ้าในท่อ ชนิดของหัวนํ้าหยด และความต้องการนํ้ารายวันของทรงพุ่มลําไย

การตรวจสอบการให้น้ำ สล็อตออนไลน์ เพื่อให้แน่ใจว่าการให้น้ำได้ผลดี คือดินเปียกชื้นลึกประมาณ 40 เซนติเมตร จึงควรมีการตรวจสอบว่าดินเปียกชื้นตามต้องการหรือไม่ โดยการเจาะหลุมดู สําหรับการให้นํ้าแบบผิวดินและสปริงเกลอร์ การเจาะหลุมดูความชื้นดินต้องทําเมื่อหลังจากให้นํ้าแล้ว 24 ชั่วโมง สําหรับดินร่วน และ 48 ชั่วโมง สําหรับดินเหนียว สําหรับการให้นํ้าแบบนํ้าหยดสามารถเจาะดูได้ตลอดเวลาหลังให้นํ้า 24 – 48 ชั่วโมง ถ้าพบว่าดินเปียกไม่ถึง 40 เซนติเมตร ก็ต้องให้นํ้าเพิ่ม แต่ถ้าพบว่ามีนํ้าขังแฉะในดินล่างก็ต้องลดการให้นํ้า

ผักหวานป่า จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5-10 เมตร ต้นที่โตเต็มที่สูงถึง 13 เมตร ที่พบ ทั่วไปมักมีลักษณะเป็นไม้พุ่มใหญ่อายุหลายปี เนื่องจากมีการตัดแต่งกิ่ง การหักกิ่งเด็ดยอด เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิ่งและยอดอ่อน ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้บริโภค

ใบผักหวานป่า มีสีเขียวเข้ม เนื้อใบกรอบ เนื้อมาก ขอบใบเรียบ ปลายใบป้าน ฐานใบเรียวสอบถึงแหลม ขนาดของใบ ประมาณ 2.5-5 x 6-12 เซนติเมตร ในยอดและใบสดที่รับประทานได้ 100 กรัม ประกอบด้วย น้ำ 76.6 กรัม โปรตีน 8.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 10 กรัม เยื่อใย 3.4 กรัม เถ้า 1.8 กรัม แคโรทีน 1.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 115 มิลลิกรัม และพลังงาน 300 กิโลจูล (KJ)

จากการพูดคุยกับแม่ค้าที่ขายผักหวานป่าโดยตรง พบว่าราคาผักหวานป่าค่อนข้างดีมาตลอด โดยราคาผักหวานป่าจะแพงมากในช่วงเดือนพฤศจิกายนเรื่อยมาจนถึงเดือนมกราคม หลังจากนั้น ราคาจะเริ่มตกลงเล็กน้อย และมีราคาทรงตัวจนไปถึงช่วงเดือนพฤษภาคมราคาจะลดลงไปอีก เพราะเข้าสู่ช่วงฤดูฝนที่มีผลผลิตผักหวานป่าออกมามาก

จากข้อมูลราคาผักหวานป่าของตลาดสี่มุมเมือง พบว่า ราคาโดยเฉลี่ยของผักหวานป่า ในปี 2553 อยู่ที่ 120 บาท ต่อกิโลกรัม ส่วนในปี 2554 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 123 บาท ต่อกิโลกรัม ถือว่าราคาดีพอสมควรเลยนะคะ ส่วนต้นกล้าผักหวานป่าก็มีราคาดีไม่แพ้กัน ราคาต้นกล้าสูงประมาณ 10 เซนติเมตร ขายอยู่ที่ราคาต้นละ 15-20 บาท แล้วแต่ฤดูกาล

เมื่อมีราคาดี ผักหวานป่าจึงเป็นพืชที่มีคนสนใจกันมากทำให้ต้นผักหวานป่ามีราคาสูง สิ่งหนึ่งที่ทำให้ต้นผักหวานป่าราคาสูงก็เพราะพืชชนิดนี้ขยายพันธุ์ได้ยากมากๆ ปกติแล้ววิธีการขยายพันธุ์ให้ได้ต้นผักหวานป่ามีหลายวิธี ซึ่งล้วนแต่มีปัญหาจุกจิกกวนใจและให้ผลผลิตน้อย เช่น การตอนกิ่งผักหวานป่าต้องใช้เวลานานกว่าพืชชนิดอื่น คือต้องใช้เวลาประมาณ 3 เดือนขึ้นไป การออกรากก็จะไม่ออกมากเหมือนพืชชนิดอื่น