สำหรับรายชื่อ 5 จังหวัด ที่มีปลูกผักสวนครัวสูงสุด ได้แก่พัทลุง

โดยคาดว่าจะมีจำนวนจังหวัดที่ปลูกผักสวนครัวครบ 100% อีกไม่น้อยกว่า 10 จังหวัดภายในเดือนพฤษภาคมนี้ อย่างไรก็ตาม พช. ยังคงขยายเครือข่ายไปสู่แพลตฟอร์มต่างๆ โดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนทั่วประเทศ เห็นได้จากจำนวนผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกลุ่ม “ปลูกพืช ปลูกผัก ปลูกรัก กับ พช.” กว่า 18,000 คน ภายในเวลาเพียง 45 วัน โดยสมาชิกในกลุ่มเป็นประชาชนทุกกลุ่มอาชีพ เพศทุกวัย เข้ามาร่วมแชร์ภาพการปลูกพืชผัก รวมทั้งเผยแพร่เทคนิคการดูแลพืชผักสวนครัวกันอย่างคึกคัก

นอกจากนี้ ยังมีคนไทยในต่างประเทศเข้ามาร่วมแบ่งปันประสบการณ์การปลูกพืชผักสวนครัวในอีกหลายประเทศ อาทิ เบลเยียม สวีเดน อังกฤษ เยอรมนี และออสเตรเลีย เป็นต้น

ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนของประเทศไทย หรือส่วนไหนของโลก หากมีพื้นที่ว่างเพียงเล็กน้อยก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเทคนิคการปลูกพืชผักสวนครัวได้ โดยร่วมอัปเดตและแชร์ความสุขของการปลูกผักสวนครัวได้ที่กลุ่มเฟซบุ๊ก “ปลูกพืช ปลูกผัก ปลูกรัก กับ พช.”

มาแอ่วเมืองเหนือครั้งนี้ ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณวาท กาไชย เกษตรกรคนเก่งที่ปลูก ฝรั่งกลมสาลี ผสมผสานกับสวนลำไย อยู่บ้านเลขที่ 33 หมู่ 13 ตำบลแม่ลอย อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย

ปัจจุบัน คุณวาท ยึดอาชีพปลูกลำไยเนื้อที่ 2 ไร่ หาเลี้ยงครอบครัวมาโดยตลอด แต่ระยะหลัง ฝนฟ้าไม่เป็นใจ ผลผลิตน้อยจนน่าใจหาย แถมบางปี เจอปัญหาลำไยล้นตลาด ทำให้มีรายได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว คุณวาท จึงตัดสินใจโค่นต้นลำไยลงบางส่วน และปลูกต้นฝรั่งกลมสาลี แซมระหว่างต้นลำไย

ต้นฝรั่ง เป็นพืชที่มีรากตื้นและแผ่กระจายในระดับความลึกจากผิวหน้าดินลงไปประมาณ 20 เซนติเมตร หากน้ำขังจะทำให้รากอ่อนแอง่ายต่อการเข้าทำลายของโรคและตายได้ง่าย คุณวาทจึงต้องยกร่องปลูกฝรั่ง พร้อมขุดสระ 2 บ่อ เพราะโดยปกติ สวนฝรั่งจำเป็นต้องมีแหล่งน้ำเพียงพอในช่วงการออกดอกและการเจริญของผล หรือมีปริมาณฝนไม่ต่ำกว่าปีละ 1,000-2,000 มิลลิเมตร

สาเหตุที่คุณวาทเลือกปลูกต้นฝรั่ง เนื่องจากเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี เหมาะสมสำหรับปลูกไม้ผลแบบผสมผสาน ร่วมกับ ลำไยที่เป็นไม้ผล จุดเด่นประการต่อมาคือ

ฝรั่งกลมสาลี ให้ผลผลิตเร็ว ติดผลง่าย ปลูกได้ดีในดินแทบทุกชนิด และเป็นที่ต้องการของตลาดในวงกว้าง

คุณวาท ซื้อกิ่งฝรั่งตอนมาในราคากิ่งละ 20 บาท รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ประมาณครึ่งก.ก.ต่อหลุม พร้อมเติมดินโดโลไมท์ ประมาณ 3-4 ขีด/หลุม เพื่อช่วยปรับสภาพดินและบำรุงให้ต้นฝรั่งแข็งแรงสมบูรณ์ ปลูกต้นฝรั่งในระยะระหว่างต้น 1.5 เมตร และระหว่างแถว 2 เมตร

โดยทั่วไป ต้นฝรั่งกลมสาลี มีการเจริญเติบโตดี ทรงพุ่มเตี้ยแผ่กว้าง ใบค่อนข้างยาวรี อายุให้ผลหลังปลูกเร็ว ติดผลดก ผลกลมแป้น ผิวเขียวอมเหลือง ขนาดผลปานกลาง รสหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย เนื้อหนาละเอียดแน่นกรอบ สีขาว ผลที่แก่สามารถปล่อยผลไว้บนต้นได้นาน

คุณวาทย้ำว่า การปลูกต้นฝรั่ง น้ำ ถือเป็นตัวช่วยที่สำคัญ ในระยะเริ่มปลูกฝรั่งใหม่ ๆ ควรรดน้ำทุกวันจนกว่าจะตั้งตัวได้ ต้องคอยรดน้ำให้ดินชุ่ม หากปลูกต้นฝรั่ง ในช่วงฤดูฝน ก็จะช่วยประหยัดแรงงานได้อีกทางหนึ่ง เมื่อต้นฝรั่งมีอายุประมาณ 8 เดือนก็จะเริ่มผลิดอกออกผลเป็นจำนวนมาก

คุณวาท กล่าวว่า ระยะนี้ถือว่า ต้นฝรั่งยังไม่โตเต็มที่ ผลฝรั่งยังไม่ค่อยได้คุณภาพ ต้องเด็ดผลฝรั่งส่วนใหญ่ทิ้ง ปล่อยทิ้งอยู่บนต้นแค่ 3- 4 ลูกก็พอแล้ว คุณวาท ปฎิบัติอย่างนี้เรื่อยมา จนกระทั่งต้นฝรั่งมีอายุประมาณ 2- 3 ปี ถือว่าสภาพต้นสมบรูณ์เต็มที่แล้ว

คุณวาท เปิดเผยเทคนิคในการบำรุงต้นฝรั่งว่า หากมีน้ำจำนวนมากเพียงพอสำหรับการเพาะปลูก ต้นฝรั่งจะก็ผลิดอกออกผลออกเรื่อยๆ ที่ผ่านมา คุณวาทสามารถเก็บผลฝรั่งออกขายได้ถึงปีละ 2-3 รอบทีเดียว

ในระยะที่ต้นฝรั่งเริ่มผลิดอก จะดูแลให้น้ำและปุ๋ยสูตร 13-13-21 อย่างเต็มที่ ประมาณต้นละ 2- 3 กำมือโรยรอบทรงพุ่ม ในช่วงปีแรก เมื่อต้นฝรั่งมีอายุครบ 2 ปีก็จะเพิ่ม

สัดส่วนการให้ปุ๋ยเพิ่มขึ้นเป็น 3- 4 กำมือ การดูแลรักษา ปัญหาเรื่องโรคและแมลง มีน้อยมาก ที่เจอคือ เพลี้ยอ่อน เมื่อเจอต้องรีบแก้ไขโดยฉีดสารเคมีเซฟวันตามอัตราที่ระบุไว้ข้างขวด

ขั้นตอนการบังคับการออกดอกของต้นฝรั่ง โดยทั่วไปเกษตรกรนิยมตัดแต่งต้นฝรั่งเป็นทรงพุ่ม เพื่อให้ต้นฝรั่งมีความสมบูรณ์แข็งแรง พร้อมออกดอก ให้ผลผลิตสม่ำเสมอ โดยเริ่มจากตัดปลายยอดกิ่งออกเล็กน้อยเพื่อช่วยกระตุ้นให้มีการแตกกิ่งแขนง และเลือกกิ่งแขนงที่แตกจากลำต้นหลักไว้ จำนวน 3 กิ่ง โดยเลือกกิ่งสมบูรณ์ มุมกิ่งกว้าง สูงจากพื้นประมาณ 30-40 เซนติเมตร แต่ละกิ่งห่างกันพอประมาณ

รวมทั้งตัดแต่งควบคุมความสูงของทรงพุ่มไม่ให้เกิน 1.5 เมตรและความกว้างของทรงพุ่มไม่เกิน 2 เมตร และตัดแต่งภายในทรงพุ่ม โดยเลือกตัดแต่งกิ่งแขนงขนาดเล็กที่ไม่สมบูรณ์ กิ่งไขว้ กิ่งเป็นโรค โดยยึดหลักตัดแต่งเพื่อให้ทรงพุ่มโปร่งขึ้นเพื่อให้แสงแดดส่องได้ทั่วถึงช่วยลดการระบาดของโรค

การไว้ผลในแต่ละรุ่นของฝรั่ง คุณวาทจะไว้ผลเพียง 1 ผล/กิ่งแขนงย่อย 1 กิ่ง เพราะฝรั่งกลมสาลีมีน้ำหนักมากหากไว้ผลตั้งแต่ 2 ผลขึ้นไป จะทำให้กิ่งฉีกหักได้ง่ายและทำให้ต้นโทรมเกินไป หลังดอกบานประมาณ 1-2 วัน ฝรั่งจะเริ่มติดผล

สำหรับมือใหมที่เริ่มหัดปลูกต้นฝรั่ง ควรฝึกสังเกต หากพบว่า ดอกตัวผู้เริ่มโรยและเหี่ยวแห้ง ที่ปลายยอดเกสรตัวเมียจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แสดงว่า ฝรั่งเริ่มติดผลแล้ว ผลฝรั่งจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนมี ขนาดเกือบเท่าผลมะนาวประมาณ 4 สัปดาห์ หลังติดผล ก็ทำการห่อ ผลทันที โดยใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หรือถุงพลาสติกมา คลุมผลฝรั่ง เพื่อช่วยให้ผลฝรั่งมีผิวขาว สวย

คุณวาท นิยมใช้ถุงพลาสติกห่อหุ้มผลฝรั่งมากกว่า เพราะสามารถตรวจเช็คได้ง่ายว่า ผลฝรั่งจะเริ่มสุกในช่วงใด ฝรั่งกลมสาลีจากสวนของคุณวาท มีขนาดผลโต น้ำหนักโดยเฉลี่ย

มากกว่า 6 ขีด -1 ก.ก. ทีเดียว คุณวาทจึงเลี้ยงผลฝรั่งสำหรับเก็บเกี่ยวเพียงต้นละ 40- 50 ผลเท่านั้น

ผลผลิตที่ได้จะเก็บขายส่งให้กับแม่ค้าที่แวะมารับซื้อผลผลิตถึงสวนในราคาก.ก.ละ 10 บาทเท่านั้น ฝรั่งกลมสาลีของสวนแห่งนี้ มีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของแม่ค้า เพราะฝรั่งมีรสชาติหวาน กรอบ อร่อย แถมมีขนาดผลโต เตะตาลูกค้าทำให้ซื้อง่ายขายคล่องกว่าฝรั่งพันธุ์ทั่วๆ ไป

หากใครมีที่ว่าง ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ก็อยากแนะนำให้ลองปลูกฝรั่งเพราะเป็นไม้ผลที่ผลผลิตเร็ว ที่สำคัญมีอนาคตทางการตลาดที่สดใสมาก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรักษาสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง ทุกวันนี้ คนไทยจำนวนมากนิยมกินฝรั่งทั้งผลสดและฝรั่งดอง ฝรั่งสดมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมไปด้วย วิตามินซี แคลเซียม และเหล็ก ในปริมาณสูง และยังมีเยื่อใยสูง หากใครสามารถบริโภคฝรั่งสดได้ทุกวันจะช่วยแก้ปัญหาระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี

หลายคนอาจไม่รู้ว่า กลุ่มเกษตรกรบ้านตอนิมิตร ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น เทศบาลเมืองแพร่ ยืนเป็นหนึ่งในเรื่องของการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2529 โดยได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านตอนิมิตร ตลอดจนขึ้นทะเบียนเป็นศูนย์ข้าวชุมชน ในระหว่าง ปี พ.ศ. 2553-2557 เกษตรกรได้ร่วมด้วยช่วยกันผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อส่งกรมการข้าวมามากกว่า 30 ปี การผลิตพันธุ์ข้าวบ้านตอนิมิตร ผลิตอยู่มี 2 สายพันธุ์ ซึ่งการผลิตเมล็ดพันธุ์มีความแตกต่างจากการปลูกข้าวทั่วไป และต้องใช้หลักวิชาการเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์ดีผ่านมาตรฐานเมล็ดพันธุ์ที่ได้ตั้งเป้าไว้ จนทำให้เป็นชุมชนที่แข็งแกร่ง เข้มแข็ง มีผลผลิตที่ดี มีรายได้เพิ่ม

พันธุ์ข้าวที่ปลูกเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ระดับชุมชนในเขตจังหวัดแพร่และจังหวัดใกล้เคียง ส่วนมากเป็นข้าวนาสวน (พันธุ์ที่ปลูกในเขตที่น้ำขัง) แบ่งตามการตอบสนองต่อช่วงแสงได้ 2 ชนิด คือ

ข้าวไวต่อแสง ได้แก่ พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 (1 ปี ปลูกได้ครั้งเดียว)
ข้าวไม่ไวต่อแสง ได้แก่ สันป่าตอง 1 (ปลูกได้ตลอดปี)
พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ประวัติพันธุ์ : ได้มาโดย คุณสุนทร สีหะเนิน เจ้าพนักงานข้าว รวบรวมจากอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อ พ.ศ. 2493-2494 จำนวน 199 รวง แล้วนำไปคัดเลือกแบบคัดพันธุ์บริสุทธิ์และปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ที่สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง แล้วปลูกเปรียบเทียบพันธุ์ในท้องถิ่นภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนได้สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 4-2-105 ซึ่ง เลข 4 หมายถึง สถานที่เก็บรวงข้าว คือ อำเภอบางคล้า เลข 2 หมายถึง พันธุ์ทดสอบที่ 2 คือ ขาวดอกมะลิ และ เลข 105 หมายถึง แถว หรือรวงที่ 105 จากจำนวน 199 รวง

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการการพิจารณาพันธุ์ให้ใช้ขยายพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2502

ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นข้าวเจ้า สูงประมาณ 140 เซนติเมตร ไวต่อแสง

– ลำต้นสีเขียวจาง ใบสีเขียวยาวค่อนข้างแคบ ฟางอ่อน ใบธงทำมุมกับคอรวงเมล็ดข้าวรูปร่างเรียวยาว ข้าวเปลือกสีฟาง

– อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 25 พฤศจิกายน

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.6 x 2.5 x 1.9 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.5 x 2.1 x 1.8 มิลลิเมตร ปริมาณอะมิโลส 12-17%

– คุณภาพข้าวสุก นุ่ม มีกลิ่นหอม

ผลผลิต : ประมาณ 363 กิโลกรัม ต่อไร่ ลักษณะเด่น : ทนแล้งได้ดีพอสมควร

– เมล็ดข้าวสารใส แกร่ง คุณภาพการสีดี

– คุณภาพการหุงต้มดี อ่อนนุ่ม มีกลิ่นหอม

– ทนต่อสภาพดินเปรี้ยวและดินเค็ม

ข้อควรระวัง : ไม่ต้านทานโรคสีส้ม โรคขอบใบแห้ง โรคไหม้และโรคใบหงิก

-ไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียวและหนอนกอ

พื้นที่แนะนำ : ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนบน

ข้าวสันป่าตอง

ชื่อพันธุ์ : สันป่าตอง 1

ชนิด : ข้าวเหนียว

คู่ผสม : BKNLR75001-B-CNT-B-B-RST-36-2 /กข 2

ประวัติพันธุ์ : ได้จากการผสมพันธุ์ข้าวสายพันธุ์ BKNLR75001-B-CNT-B-B-RST-36-2 กับพันธุ์ กข 2 ที่สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง เมื่อปี พ.ศ. 2527 ปลูกคัดเลือกจนได้สายพันธุ์ SPTLR84051-32-2-2-4

การรับรองพันธุ์ : คณะกรรมการการบริหารกรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2543 ลักษณะประจำพันธุ์ : เป็นพันธุ์ข้าวเหนียว สูงประมาณ 119 เซนติเมตร

– ไม่ไวต่อช่วงแสง

– อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 130-135 วัน

– ทรงกอตั้ง ใบสีเขียว กาบใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาว ระแง้ถี่ รวงแน่น คอรวงสั้น ฟางแข็ง ใบแก่ช้า

– เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง

– ระยะพักตัวของเมล็ด ประมาณ 8 สัปดาห์

– เมล็ดข้าวเปลือก ยาว x กว้าง x หนา = 10.4 x 2.9 x 2.1 มิลลิเมตร

– เมล็ดข้าวกล้อง ยาว x กว้าง x หนา = 7.1 x 2.2 x 1.8 มิลลิเมตร

– คุณภาพข้าวสุก เหนียวนุ่ม

ผลผลิต : ประมาณ 630 กิโลกรัม ต่อไร่

ลักษณะเด่น : ต้านทานโรคไหม้และโรคขอบใบแห้ง

– ให้ผลผลิตสูง

– เป็นข้าวเหนียวที่สามารถปลูกได้ตลอดปี

ข้อควรระวัง : ไม่ต้านทานโรคใบสีส้ม

-ไม่ต้านทานแมลงบั่ว

พื้นที่แนะนำ : พื้นที่นาชลประทานภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คุณสมบัติเมล็ดพันธุ์ที่ดี

เมล็ดพันธุ์ที่จะใช้ทำพันธุ์เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ควรมีลักษณะที่ดี คือ

ตรงตามพันธุ์และมีความบริสุทธิ์สูง
มีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง
มีความแข็งแรงดี
มีขนาด น้ำหนัก รูปร่าง ใกล้เคียงกันและสม่ำเสมอ
ปราศจากโรคและแมลงที่ติดมากับเมล็ด
ไม่ได้รับความเสียหายจากเครื่องจักรกลในขั้นตอนต่างๆ หลังการเก็บเกี่ยว
ประเภทของเมล็ดพันธุ์ข้าว

แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ตามมาตรฐานเมล็ดพันธุ์และวิธีการผลิต คือ

เมล็ดพันธุ์จากรวง คือ เมล็ดพันธุ์ที่ได้เก็บรวงมาจากพันธุ์หรือสายพันธุ์ที่ได้มาจากแปลงเปรียบเทียบพันธุ์และจะต้องเป็นพันธุ์ที่คณะกรรมการพิจารณาประกาศให้ขยายพันธุ์ได้
เมล็ดพันธุ์คัด คือ เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากเมล็ดพันธุ์จากรวงต่อแถว และได้รับการควบคุมตรวจสอบสายพันธุ์อย่างใกล้ชิดจากนักปรับปรุงพันธุ์ เมล็ดพันธุ์คัดนี้ผลิตโดย ศูนย์วิจัยข้าวของสถาบันวิจัยข้าว กรมการข้าว ทุกปีเพื่อนำไปปลูกเป็นเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์หลักในปีต่อไป
เมล็ดพันธุ์หลัก คือเมล็ดที่ได้จากการปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์คัดตามหลักวิชาการของกรมการข้าว เมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์หลักนี้ผลิตโดย ศูนย์วิจัยข้าวของสำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว ทุกปี เพื่อนำไปจำหน่ายให้ชาวนาพันธุ์ขยายปลูกเป็นพันธุ์ชั้นพันธุ์ขยายในปีต่อไป
เมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์ขยาย คือ เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์หลักและปฏิบัติตามวิธีการที่ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ศูนย์พันธุ์ข้าวของสำนักเมล็ดพันธุ์ข้าว เมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์ขยายที่ปลูกโดยชาวนาฝีมือดี คือชาวนาพันธุ์ขยายทุกปีและจะจำหน่ายให้ชาวนาพันธุ์จำหน่ายปลูกเป็นเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์จำหน่ายในปีต่อไป
เมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์จำหน่าย คือ เมล็ดพันธุ์ที่ได้จากการปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์ขยายและปฏิบัติตามวิธีที่ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวของสำนักเมล็ดพันธุ์ข้าวเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์จำหน่ายนี้ ปลูกโดยชาวนาฝีมือดี คือชาวนาพันธุ์จำหน่ายทุกปีและจำหน่ายให้ชาวนาทั่วไปปลูกในปีต่อไป

การผลิตเมล็ดพันธุ์ ต้องมีการไถดะ ไถแปร เพื่อกำจัดวัชพืชและข้าวเรื้อที่เป็นสาเหตุของพันธุ์ข้าวเสื่อมหรือไม่มีคุณภาพ มีหลักในปฏิบัติคือ จำนวนครั้งในการไถ ขึ้นอยู่กับพื้นที่และจำนวนวัชพืช ถ้าปลูกข้าวพันธุ์อื่นๆ แตกต่างจากฤดูก่อน ต้องไถดะ ไถแปร มากครั้งขึ้น และควรหมักดินเพื่อสลายอินทรียวัตถุให้หมด และพืชยังสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้ และควรแบ่งแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์เป็นแปลงย่อย แปลงละ 4.50 เมตร เพื่อง่ายต่อการเข้าไปปฏิบัติงาน

สาเหตุของพันธุ์ข้าวเสื่อม

พันธุ์ข้าวที่มีคุณสมบัติผิดไปจากมาตรฐานพันธุ์เดิม เกิดจากสาเหตุใหญ่ 2 ประการ คือ เกิดขึ้นตามธรรมชาติที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ เกิดได้ประมาณ 0.3 เปอร์เซ็นต์ การทำนาพันธุ์ไม่ควรปลูกพันธุ์ข้าวที่ออกดอกพร้อมกัน หรือใกล้เคียงกันไว้ใกล้กัน และเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือการกลายพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดกับพันธุ์ข้าวลูกผสม หรือพันธุ์ข้าวที่ได้มาโดยการชักนำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุ์กรรม เช่น พันธุ์ กข 1 กข 6 กข 10 และ กข 15

ประการที่ 2 คือ เกิดขึ้นจากความบกพร่องในการปฏิบัติงาน คือ ข้าวเรื้อ เมล็ดข้าวที่ร่วงหล่นในนาและงอกขึ้นมาปะปนกับข้าวพันธุ์ใหม่ที่นำไปตกกล้าหรือแปลงปักดำ ดังนั้น ควรจะเตรียมแปลงปักดำให้ประณีต เพื่อช่วยลดปัญหานี้ได้ และข้าวปน นับว่าเป็นสาเหตุใหญ่ของพันธุ์ข้าวเสื่อม ข้าวปนสามารถเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน พาหนะขนย้าย ยุ้งฉาง ตลอดถึงเครื่องนุ่งห่มของผู้ปฏิบัติงาน จะต้องมีการตรวจสอบทำความสะอาดให้แน่ใจว่า ไม่มีเมล็ดพันธุ์อื่นหลงเหลือตกค้างอยู่

การตกกล้า และปักดำ

การตกกล้า จะต้องเตรียมดินและแบ่งแปลงย่อยแล้วตกกล้า สมัคร Joker Gaming โดยแช่เมล็ดพันธุ์ 1 คืน และนำไปหุ้ม 2 วัน จึงนำไปหว่านในแปลงกล้า อัตรา 50 กรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ 5 กิโลกรัม ในส่วนของการปักดำ แปลงปักดำควรแบ่งแปลงเล็กๆ กว้าง 4.5 เมตร ความยาวตามพื้นที่ที่ปักดำ จับละ 3-5 ต้น ระยะ 25 x 25 เซนติเมตร ใช้อายุ 25-30 วัน

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ย ต้องใส่ 2 ครั้ง คือ ใส่ ครั้งที่ 1 ปุ๋ยสูตร 16-20-0 ในดินเหนียว หรือ 16-16-8 ในดินทราย ไร่ละ 25 กิโลกรัม ใส่ก่อนปักดำหรือใส่หลังปักดำ ไม่เกิน 10 วัน ควบคุมระดับน้ำให้อยู่ในระดับ 5-10 เซนติเมตร ใส่ ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา 10-15 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือปุ๋ยยูเรีย (16-0-0) อัตรา 5-10 กิโลกรัม ต่อไร่ ใส่ระยะก่อนข้าวออกรวง 30 วัน (ตั้งท้อง) ก่อนใส่ควรกำจัดวัชพืชและรักษาระดับน้ำ 5-10 เซนติเมตร โดยเลือกสูตรใดสูตรหนึ่งเพียงสูตรเดียว

มาตรฐานเมล็ดพันธุ์

เมล็ดพันธุ์ที่ผลิตได้ต้องผ่านกระบวนการการวิเคราะห์มาตรฐานเมล็ดพันธุ์ที่กำหนด เพื่อรับรองว่า พันธุ์ข้าวที่ผลิตได้นั้น ผ่านหรือไม่ผ่านมาตรฐาน งานผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มาตรฐานกำหนดชั้นของเมล็ดพันธุ์ไว้ ดังนี้

เมล็ดพันธุ์หลัก

เมล็ดพันธุ์แท้ อย่างน้อย 98 เปอร์เซ็นต์
ข้าวแดง ไม่มี
ข้าวพันธุ์อื่นปน มีไม่เกิน 5 เมล็ด ใน 500 กรัม
สิ่งเจือปน ไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์
ความงอก อย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์
ความชื้น ไม่เกิน 14 เปอร์เซ็นต์
เมล็ดพันธุ์ขยาย

เมล็ดพันธุ์แท้ อย่างน้อย 98 เปอร์เซ็นต์
ข้าวแดง มีไม่เกิน 5 เมล็ด ใน 500 กรัม
ข้าวพันธุ์อื่นปน มีไม่เกิน 15 เมล็ด ใน 500 กรัม
สิ่งเจือปน ไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์
ความงอก อย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์
ความชื้น ไม่เกิน 14 เปอร์เซ็นต์
เมล็ดพันธุ์จำหน่าย

เมล็ดพันธุ์แท้ อย่างน้อย 98 เปอร์เซ็นต์
ข้าวแดง มีไม่เกิน 10 เมล็ด ใน 500 กรัม
ข้าวพันธุ์อื่นปน มีไม่เกิน 20 เมล็ด ใน 500 กรัม
สิ่งเจือปน ไม่เกิน 2 เปอร์เซ็นต์
ความงอก อย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์
ความชื้น ไม่เกิน 14 เปอร์เซ็นต์
การผลิตเมล็ดข้าวของบ้านตอนิมิตร เป็นการผลิตที่ลดต้นทุน เพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร สร้างความมั่นคงยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสร้างสุขสยามคูโบต้า-ตอนิมิตร ตำบลร่องกาศ อำเภอสูงเม่น เทศบาลเมืองแพร่ 54130 โทร. 085-029-0991 หรือ FACEBOOK : กลุ่มเกษตรกรผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านตอนิมิตร