สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EcoStruxure สำหรับภาคอุต

EcoStruxure คือสถาปัตยกรรมระบบเปิดของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ที่ให้ความสามารถในการทำงานร่วมกับ IoT เพื่อมอบคุณค่าที่เหนือชั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ ให้ประสิทธิภาพ ให้ความสามารถในการสร้างความยั่งยืน และความสามารถในการเชื่อมต่อสำหรับลูกค้า โดย EcoStruxure ใช้เทคโนโลยี IoT โมบิลิตี้ การตรวจจับ (Sensing) คลาวด์ ระบบวิเคราะห์ และระบบรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ เพื่อนำเสนอนวัตกรรมในทุกระดับ (Innovation at Every Level)

ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อกัน, การควบคุมเอดจ์ และแอปพลิเคชัน ระบบวิเคราะห์ รวมถึงการบริการ EcoStruxure ถูกนำมาใช้ในการติดตั้งกว่า 450,000 โครงการ ให้การสนับสนุนผู้วางระบบกว่า 9,000 ราย และใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์กว่า 1 พันล้านอุปกรณ์ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EcoStruxure สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากโบรชัวร์ EcoStruxure

เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านการบริหารจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชัน โดยมีรายได้ประจำปีงบประมาณ 2559 คิดเป็นมูลค่า 25 พันล้านยูโร บริษัทฯ มีพนักงาน 144,000 คน ไว้คอยให้บริการลูกค้าในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก เพื่อช่วยให้ลูกค้าบริหารจัดการพลังงาน และกระบวนการทำงานได้อย่างปลอดภัย มีเสถียรภาพ ประสิทธิภาพ และสร้างความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ นับตั้งแต่สวิตช์ไฟที่เรียบง่ายที่สุด ไปจนถึงระบบการทำงานที่ซับซ้อน ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ยังเป็นเจ้าของเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ และการบริการ ที่ช่วยให้ลูกค้ายกระดับประสิทธิภาพด้านการบริหารจัดการ และการดำเนินงานได้แบบอัตโนมัติ เทคโนโลยีที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อของเรา จะช่วยปรับโฉมอุตสาหกรรม เปลี่ยนเมือง และช่วยให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สำหรับชไนเดอร์ อิเล็คทริค เราเรียกสิ่งนี้

หน่วยงานรัฐยก “ซีพีเอฟ โมเดล” ปลูกป่าชายเลน ต.บางหญ้าแพรก จ.สมุทรสาคร เป็นต้นแบบในการส่งเสริมชาวบ้านและชุมชน ให้ร่วมมือกันปกป้องและรักษาสิ่งแวดล้อม สอดรับนโยบายทางการเร่งฟื้นฟูพื้นที่ป่าทั่วประเทศ สนับสนุนชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน

พ.อ.เกรียงชัย สุวรรณทัต รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน จ.สมุทรสาคร กล่าวว่า ผลสำเร็จจากการที่บริษัทเอกชนอย่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ เข้ามาดำเนินการปลูกป่าชายเลนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ใน 1 ตำบล คือ ที่ตำบลบางหญ้าแพรก ซึ่งเห็นผลเป็นรูปธรรม คือ พื้นที่ป่าชายเลนที่สมบูรณ์เพิ่มขึ้น ชุมชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดูแลและอนุรักษ์ป่า อัตราการรอดของต้นไม้ที่ปลูกมีอัตรารอดถึง 70 % ทางกอ.รมน. จึงเห็นควรใช้ความสำเร็จของซีพีเอฟเป็นต้นแบบในการขยายพื้นที่ปลูกป่ากับอีก 7 ตำบลที่ติดชายฝั่งทะเลคือ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ โคกขาม บางกระเจ้า บ้านบ่อ บางโทรัด กาหลง นาโคก

“กอ.รมน. จ.สมุทรสาคร เห็นว่า ซีพีเอฟ โมเดล ปลูกป่าชายเลนได้ผลเป็นรูปธรรม ซึ่ง ทางกอ.รมน.ส่วนกลาง ให้คำชมว่าอัตราการรอดของต้นไม้สูงและใช้เวลาไม่นาน จึงจะใช้โมเดลนี้กับพื้นที่อื่นๆอีก 7 ตำบล ในจ.สมุทรสาคร ซึ่งทางกอ. รมน. ได้ลงไปประสานกับชาวชุมชนแล้ว มีความพร้อมที่จะร่วมกันขยายพื้นที่ปลูกป่าชายเลน” พ.อ.เกรียงชัยกล่าว

ด้านนายเชิดชัย จริยะปัญญา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสำนักสิ่งแวดล้อม จ.สมุทรสาคร กล่าวว่า พื้นที่จ.สมุทรสาครมีปัญหาเรื่องคลื่นทะเลกัดเซาะ ทำให้พื้นดินลดน้อยลงไป ทางจังหวัดจึงมีนโยบายฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนให้มีสภาพสมบูรณ์เพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันมีป่าชายเลนที่สมบูรณ์ในพื้นที่จ.สมุทรสาครประมาณ 1,000 ไร่ ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนโดยเฉพาะซีพีเอฟเข้ามาร่วมปลูกป่าชายเลน 100 ไร่ ซึ่งดำเนินการเสร็จแล้ว และอยู่ในระหว่างบำรุงดูแลไม่ให้กล้าไม้สูญหายหรือโดนคลื่นทะเลซัด ด้วยการปลูกซ่อมมาโดยตลอด ซึ่งนโยบายของทางจังหวัดจะพยายามเชิญชวนภาคเอกชนเข้ามาร่วมปลุูกป่าชายเลนให้มากขึ้น

“ซีพีเอฟเข้ามาปลูกป่าชายเลน ที่ ต.บางหญ้าแพรก ถือว่าเป็นตัวอย่างและเป็นโมเดลที่ดี เนื่องจากมีอัตราการรอดสูง ซึ่งจ.สมุทรสาคร ภาคภูมิใจที่ซีพีเอฟเข้ามาร่วมดำเนินการ โดยเฉพาะบริเวณนั้นมีป่าสมบูรณ์อยู่แล้ว และมีการขยายการปลูกป่าออกไป ทำให้เห็นว่าส่วนอื่นๆที่มีป่าชายเลนอยู่บ้าง ก็สามารถขยายให้เป็นป่าสมบูรณ์ได้เช่นเดียวกัน”นายเชิดชัยกล่าว

นายปรีชา มีนิล รองกรรมการผู้จัดการ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทฯดำเนินโครงการ“ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” ต่อเนื่องในปีนี้เป็นปีที่ 3 เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชายเลนตลอดจนเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ โดยจังหวัดสมุทรสาครเป็น 1 ใน 5 พื้นที่ยุทธศาสตร์(ชุมพร สมุทรสาคร ระยอง สงขลา และพังงา) ปลูกป่าชายเลนกว่า 2 พันไร่ ภายใต้เป้าหมาย 5 ปี ซึ่งปัจจุบันขยายพื้นที่ปลูกป่าชายเลนในจ.สมุทรสาครเสร็จตามเป้าหมาย 100 ไร่ พร้อมเดินหน้าบูรณาการสู่การเป็น“ศูนย์การเรียนรู้ ซีพีเอฟ ปลูก ปัน ป้อง ป่าชายเลน” และพัฒนาชุมชนให้ร่วมกันดูแลป่า

กรมอุตุนิยมวิทยารายงานสภาพอากาศ ประจำวันที่ 4 กรกฏาคม 2560 ดังนี้

ลักษณะอากาศทั่วไป พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่อง ส่วนบริเวณภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับภาคใต้มีฝนน้อยในระยะนี้

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลงในระยะนี้ อนึ่ง พายุโซนร้อน “นันมาดอล” บริเวณตอนล่างของประเทศญี่ปุ่น คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นในวันนี้ (4 ก.ค.60) ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางด้วย

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก

ลำพูน ลำปาง และตาก

อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส

ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

บริเวณจังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ นายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า มีแนวคิดจัดตั้งกองทุนประกันภัยพืชผล หรือบริษัทประกันภัยพืชผล หารือกระทรวงการคลังแล้ว ตามระเบียบ ธ.ก.ส. ดำเนินการได้ วงเงินเบื้องต้นประมาณ 3,000 ล้านบาท

การตั้งกองทุนหรือบริษัทประกันภัยดังกล่าว เกษตรกรต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการจ่ายเบี้ยประกันด้วย จากการประกันภัยในปัจจุบันที่รัฐบาลและ ธ.ก.ส. จะเป็นผู้จ่ายเบี้ยประกันแทนทั้งหมด แต่จะเป็นอัตราส่วนที่เกษตรกรรับได้ รวมทั้งต้องพิจารณาการประกันภัยที่ครอบคลุมการทำนาทั้งหมด หรือกำหนดเพดานเอาไว้

การประกันภัยนาข้าวในปี 2560 ธ.ก.ส. กำหนดจำหน่ายกรมธรรม์ตั้งแต่ 31 สิงหาคม เป็นต้นไป ยกเว้นภาคใต้เริ่มตั้งแต่ 15 ธันวาคม กำหนดจ่ายเบี้ยประกัน ไร่ละ 90 บาท เกษตรกรที่สนใจร่วมโครงการต้องจ่ายเบี้ยประกันเอง 36 บาท ต่อไร่ ที่เหลือรัฐบาลอุดหนุน 54 บาท ต่อไร่ ยกเว้นเกษตรกรที่เป็นสมาชิก ธ.ก.ส.ทางธนาคารจะเป็นผู้จ่ายแทนคุ้มครองความเสียหายภัยพิบัติธรรมชาติ 1,260 บาท ต่อไร่ ศัตรูพืชและโรคระบาด 630 บาท ต่อไร่

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็งเผย องค์การอนามัยโลกยกย่องประเทศไทยจัดการโรคมะเร็งได้ดีที่สุด ชี้ปัจจัยความสำเร็จคือกลไกการต่อรองราคายา

ศ.นพ. อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง กล่าวว่า หลักการของแพทย์ทุกคนก็คือต้องการรักษาคนไข้ให้ดีที่สุด คำถามก็คือจะทำอย่างไรเพื่อให้ผู้ป่วยทุกคนได้รับการรักษาเหมือนกันหมด ยกตัวอย่างในอดีตยามะเร็งในเด็กที่ราคาแพงมาก หากมีเงินจ่าย 3 แสนบาท ผู้ป่วยจะมีโอกาสรักษาหายขาดได้ถึง 80% แต่ถามต่อว่า ชาวบ้านจะมีเงินจ่ายหรือไม่ จนกระทั่งมีการตั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขึ้นมา มีระบบการส่งต่อและตามจ่ายก็พบว่าเกิดปัญหาโรงพยาบาลต้นสังกัดไม่ยอมส่งต่อ เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลแพงถึงหัวละ 3 แสนบาท

“ถ้าจะรักษาด้วยวงเงิน 1 แสนบาท อัตราการรอดชีวิตจะอยู่เพียง 20% ของผู้ป่วยทั้งหมด นั่นคือความไม่คุ้มค่า จนกระทั่งมาถึงปี 2551 มีการขายไอเดียเรื่องมะเร็งเด็กให้กับ สปสช. เพื่อสร้างมาตรฐานการรักษาให้เหมือนกันทุกโรงพยาบาล หากโรงพยาบาลใดรักษาตามเกณฑ์นี้ก็จะได้เงินจาก สปสช. นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นให้เด็กไทยได้รับการรักษาเหมือนกันหมด” ศ.นพ.อิศรางค์ กล่าว

ศ.นพ. อิศรางค์ กล่าวว่า ในส่วนของมะเร็งผู้ใหญ่ เมื่อพูดถึงโรคมะเร็งมีมากถึงหลายร้อยโรค ซึ่งทั้งหมดรักษาไม่เหมือนกันและโอกาสหายจากโรคก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ฉะนั้น ในการดูแลมะเร็งจึงให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าในการรักษา ส่วนตัวได้คุยกับ สปสช.ว่าไม่ได้รักษาทุกโรค เพราะนั่นเป็นการหาเสียงของรัฐบาลยุคนั้น แต่เราต้องมีหลักประกันให้กับทุกคน อะไรที่รักษาได้ก็รักษา อะไรที่รักษาไม่ได้ก็ไม่ต้องรักษา เพราะต้องยอมรับว่ามีโรคที่ถึงจะจ่ายหนึ่งแสน หรือหนึ่งล้าน ก็ต้องตายอยู่ดี โดยโรคใดที่รักษาได้หรือรักษาไม่ได้จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญประเมิน ภายใต้หลักการคือทุกคนต้องมีหลักประกันและเข้าถึงบริการ

“ประเทศไทยได้รับคำชื่นชมจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ว่าเป็นประเทศที่จัดการโรคมะเร็งได้ดีที่สุด สำหรับเหตุผลที่เขาชื่นชม ประกอบด้วย 1. ประชาชนทุกคนเข้าถึงการรักษามะเร็งทั้งหมด 2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่ำมาก 3.ประชาชนเข้าถึงยารักษาได้อย่างแท้จริง โดยความสำเร็จดังกล่าวเกิดขึ้นได้เพราะเรามีสถิติและข้อมูลทะเบียนราษฎรที่แข็งแรง มากไปกว่านั้นก็คือมีแนวทางและมาตรฐานการรักษาว่าสิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ แต่เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ WHO ให้ความสนใจกับการได้มาซึ่งยา เพราะ เรามีระบบการต่อรองราคายารวม ซึ่งทำให้ราคายาลดลงมาได้จำนวนมาก โดยเฉพาะยาราคาแพงที่พบว่าประเทศที่เข้าถึงได้คือประเทศที่มีความสามารถในการต่อรองราคายาเท่านั้น ซึ่งหลายประเทศยังไม่กล้าทำ ประชาชนของเขาจึงเข้าไม่ถึงยา” ศ.นพ. อิศรางค์ กล่าว

กรมส่งเสริมการเกษตร ประกาศจัดงานชุมนุมยุวเกษตรกรและที่ปรึกษายุวเกษตรกรระดับประเทศ ประจำปี๒๕๖๐ หวังสร้างเครือข่ายยุวเกษตรกร พัฒนาการเกษตรของประเทศให้ยั่งยืน ระหว่างวันที่ ๑-๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า การจัดงานชุมนุมยุวเกษตรกรและที่ปรึกษายุวเกษตรกรระดับประเทศ ประจำปี ๒๕๖๐ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑-๕ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของการดำเนินงานด้านการเกษตร ศึกษาและการส่งเสริมงานด้านเยาวชนเกษตรที่ดำเนินงานมายาวนานกว่า ๑ ทศวรรษ และสืบสานพระราชปณิธานในการพัฒนาด้านการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มยุวเกษตรกร สร้างแรงจูงใจและกระตุ้นจิตสำนึกรักการเกษตรด้วยกลุ่มยุวเกษตรกรต้นแบบ สร้างความภาคภูมิใจในการเป็นยุวเกษตรกร และเชื่อมโยงเครือข่ายสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรและที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกร ขับเคลื่อนการพัฒนางานยุวเกษตรกร และเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายด้านการพัฒนางานเยาวชนในภาคการเกษตร รวมถึงเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานดีเด่นของกลุ่มยุวเกษตรกรต้นแบบ และนำเสนอผลการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนายุวเกษตรกรของกรมส่งเสริมการเกษตร

สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานเปิดงานในวันจันทร์ที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๐ พร้อมพระราชทานธงยุวเกษตรกร ให้กับตัวแทนยุวเกษตรกร ๔ สถาบัน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับในปีนี้ได้กำหนดรูปแบบงาน คือ I’m proud to be a 4 H’er

โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานไม่น้อยกว่า ๗๕๐ รายจาก ๗๗ จังหวัด ในส่วนงานจะแบ่งออกเป็นส่วนของการจัดแสดงนิทรรศการแสดงผลงานและเผยแพร่ความรู้ของกลุ่มยุวเกษตรกรต้นแบบ และหน่วยงานภาคีจากภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาในด้านการพัฒนาเยาวชนในภาคการเกษตร รวมถึงผู้เข้าร่วมงานค่ายเยาวชนเกษตร (4-H Summer Camp) กิจกรรมด้านวิชาการ กิจกรรมการประกวดแข่งขันด้านการเกษตรของสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ นันทนาการ เป็นต้น

การจัดงานดังกล่าวกรมส่งเสริมการเกษตร หวังให้ยุวเกษตรกรได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ สร้างโครงข่ายที่เชื่อมโยงกัน รวมถึงยังเป็นการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาคีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษาและองค์กรอิสระในการพัฒนางานด้านเยาวชนเกษตรให้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งยังส่งเสริมให้เยาวชนไทยภาคภูมิใจในวิถีเกษตร และพร้อมที่จะสืบทอดอาชีพด้านการเกษตรกรรมต่อไป

เบื้องหลังไข่-ไก่ไทยไปเกาหลี เกษตรกรและผู้ส่งออกไข่ไก่ไทยยิ้มแก้มปริด้วยความภาคภูมิใจ เมื่อเดือน (มิถุนายน) ที่ผ่านมามีข่าวทางการเกาหลีใต้ได้ออกประกาศอนุญาตให้มีการนำเข้าไข่ไก่จากประเทศไทยเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

ตอกย้ำสถานะ “ครัวไทยสู่โลก” ของอุตสาหกรรมอาหารไทย ไปอย่างเต็มๆ

เพราะถ้าตรวจดูรายชื่อประเทศที่ทางการเกาหลีใต้อนุญาตให้ส่งไข่ไก่สดเข้าไปขาย เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเนื่องจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก ตามการรายงานข่าวของสำนักข่าว Yonhap ของเกาหลีใต้จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันมีเพียง 6 ประเทศเท่านั้น ได้แก่ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย แคนาดา เดนมาร์ค เนเธอร์แลนด์ และสเปน ที่เกาหลีใต้ยอมให้ส่งไข่ไก่สดเข้าไปขาย

เมื่อต้นปีนี้สหรัฐอเมริกาก็ได้รับอนุญาตให้มีการส่งออกไข่ไก่สดไปเกาหลีเช่นกัน แต่ต้องถูกระงับไปเมื่อพบปัญหาไข้หวัดนกในสหรัฐ

มองในมุมของผู้บริโภคชาวไทยเราควรจะอุ่นใจและภูมิใจได้เช่นกันว่าผลิตภัณฑ์ไข่ของประเทศไทยเรามีมาตรฐาน ที่เชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับจากประเทศผู้นำเข้าที่มีมาตรฐานสูงปรี๊ดอย่างเกาหลีใต้ จากข้อมูลสถิติ Livestock and Poultry: World Markets and Trade 2557-2559 และการคาดการณ์ของสมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ พบว่าไข่ไก่ไทยมีส่วนแบ่งเพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของตลาดโลก โดยมีปริมาณการส่งออก 0.42 พันล้านฟองในปี 2559 ขณะที่ประเทศผู้ส่งออกอันดับหนึ่ง ตุรกีมีการส่งออก 11 พันล้านฟอง ตามด้วยเนเธอร์แลนด์ 9.0 พันล้านฟอง หรือแม้กระทั่งประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียก็มีการส่งออกไข่ไก่ถึง 4 พันล้านฟองในปีที่ผ่านมา

มองอีกนัยหนึ่งไทยเรายังมีโอกาสอีกมากที่จะเพิ่มการส่งออกไข่ไก่ หากสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ อาทิ ต้นทุนการผลิต และการขาดแคลนอุปทานของไข่ไก่ในประเทศได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะนี้ที่เกาหลีใต้เข้ามาช่วยตอกย้ำคุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัยของไข่ไทย

จากการวิเคราะห์ขีดความสามารถในการแข่งขันไข่ไก่ไทยโดย สมาคมผู้ผลิต ผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ จุดแข็งของอุตสาหกรรมไข่ไก่ไทยคือ มีระบบตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มที่มีประสิทธิภาพ ความสามารถในการผลิตไข่ไก่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการเป็นผู้นำด้านมาตรฐานการจัดการฟาร์ม ความปลอดภัยด้านอาหารและระบบมาตรฐานฟาร์มในอาเซียน ขณะที่มีจุดอ่อนคือ ต้นทุนการผลิตที่สูงเนื่องจากต้องนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์จากต่างประเทศ นอกจากนี้การส่งออกไข่ไก่ไทยเป็นเพียงการส่งออกเพื่อระบายผลผลิตส่วนเกินและรักษาระดับราคาภายในประเทศ

แต่ในส่วนของไก่เนื้อนั้นประเทศไทยเป็นผู้นำการส่งออกในระดับโลกมาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งส่วนหนึ่งต้องยกเครดิตให้กับกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่เป็นผู้บุกเบิกในเรื่องนี้ จนได้รับการขนานนามจาก นิตยสาร Nikkei Asian Review ประเทศญี่ปุ่นว่าเป็น “บริษัทที่ปฏิวัติโต๊ะอาหารของประเทศญี่ปุ่น” โดยเริ่มต้นจากการบุกเบิกส่งออกเนื้อไก่ไปญี่ปุ่นเมื่อกว่า 40 ปีมาแล้วของ คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์

Nikkei Asian Review ระบุว่า “ซีพี เริ่มส่งออกเนื้อไก่ไปยังญี่ปุ่นตั้งแต่ปีพ.ศ. 2516 และในราวทศวรรษที่ 2520 หลังจากที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในประเทศไทยได้เริ่มธุรกิจเลี้ยงกุ้งจนประสบความสำเร็จแล้ว ซีพี ก็ได้เริ่มส่งออกกุ้งไปยังญี่ปุ่น ตั้งแต่นั้นมา ซีพี ก็ได้ขายเนื้อไก่และกุ้งในราคาที่เป็นธรรมให้ชาวญี่ปุ่น ทำให้ไก่ทอดและกุ้งทอดกลายเป็นเมนูประจำบนโต๊ะอาหารของชาวญี่ปุ่น”

ปัจจุบันประเทศไทยสามารถส่งออกไก่ได้เป็นอันดับ 4 ของโลกรองจาก บราซิล สหรัฐอเมริกา และยุโรป ด้วยปริมาณการส่งออกมากกว่า 700,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าเกือบแสนล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว

ประเทศญี่ปุ่น ถือว่าเป็นตลาดส่งออกไก่เป็นหลักไทย คือราว 50% ของปริมาณไก่ส่งออกทั้งประเทศ ทั้งนี้จากรายงานการวิเคราะห์หลักทรัพย์ของ บล.เอเซีย พลัส บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF มีส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ที่ 20% จากปริมาณการส่งออกไก่ไทยไปญี่ปุ่นทั้งหมด ทิ้งห่างคู่แข่งอันดับ 2 และ3 ที่มีส่วนแบ่ง13% และ 3% ตามลำดับ

ส่วนทางรัฐบาลเกาหลีใต้ walkoffbalk.com ได้อนุมัติให้นำเข้าไก่สดแช่แข็งไปเกาหลีใต้ ได้ เมื่อ 9 พ.ย. 59 นับเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่จ.พิษณุโลก หลังเข้าสู่ช่วงฤดูฝนฃ ชาวบ้านหลายพื้นที่เดินทางขึ้นภูเขาไปหาของป่า พืชผลที่ผลิดอกออกหน่อในฤดูฝนนำออกมาขายกันจำนวนมาก เนื่องจากตามป่าเขาในเขต อ.วังทอง มีความชุ่มชื้นจากฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะที่บ้านวังดินสอ ต.วังนกแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ชาวบ้านใช้เวลาว่างหลังจากทำนาแล้ว ขึ้นภูเขาไปหาหน่อไม้ป่า เห็ดต่างๆจากเขาห้วยฟอง- ซำประดู่ ซึ่งเป็นเขาที่อยู่ติดหมู่บ้านลงมาขายตามเพิงขายของริมถนนสาย 12 พิษณุโลก-หล่มสัก หมู่ที่ 1 ต.วังแอ่น อ.วังทอง จ.พิษณุโลก ได้รับความสนใจจากประชาชน นักท่องเที่ยวที่ผ่านทางอุดหนุนสินค้าสดๆจากป่าสร้างรายได้งาม โดยเฉพาะเห็ดโคน มีราคากิโลกรัมละ 200-300 บาท ขณะที่หน่อไม้ขายดีถึงกิโลกรัมละ40 บาท

นางปรียา ลองแก้ว อายุ 43 ปี ชาวบ้านบ้านวังดินสอ อ.วังทอง ที่นำของป่ามาวางขาย กล่าวว่า หลังว่างจากการทำนา ตนและเพื่อนบ้าน จะขึ้นเขาไปหาของป่า ทั้งเห็ดโคน หน่อไม้ ยอดผักต่างๆ ลงมาวางขายหมุนเวียนกันไปเพื่อสร้างรายได้เสริม โดยช่วงเดือนนี้หน่อไม้ป่ากำลังแตกหน่อ จึงขึ้นไปขุดหาหน่อไม้ที่เขาห้วยฟอง-ซำประดู่ ลงมาขายในกิโลกรัมละ 40 บาทแม้ขนาดไม่ใหญ่มาก แต่กำลังรับประทาน และมีรสชาติ อร่อย หวานกว่าหน่อไม้พันธุ์อื่นๆ

“เห็ดโคนป่าแบบตูมขายราคากิโลกรัม 300 บาท แบบดอกบานราคากิโลกรัมละ 200 บาท ส่วนยอดบุก กำละ 10 บาทเท่านั้น ทำให้ในช่วงนี้ผู้ขับรถผ่านไปมาตามถนนทางหลวงหมายเลข 12 ต่างแวะเลือกซื้อยอดผักและหน่อไม้ป่ากันจำนวนมาก สร้างรายได้ให้กับชุมชนคนท้องถิ่นเป็นอย่างดี” นางปรียา กล่าว

เมืองน่านแม้จะเป็นจังหวัดเล็ก ๆ แต่มีความสำคัญอย่างมากในฐานะเป็นพื้นที่ต้นน้ำของประเทศ โดยสัดส่วนของปริมาณน้ำ 40% ของแม่น้ำเจ้าพระยามาจากแม่น้ำน่าน

ทว่าปัญหาที่สะสมเรื้อรังมานานก็คือพื้นที่ต้นน้ำกลายเป็นภูเขาหัวโล้น พื้นที่ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ลดลงอย่างน่าใจหายหลังจากมีการกระตุ้นส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาเพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยว“ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” ที่มีพื้นที่ปลูกมากอันดับต้น ๆ ของประเทศปีละเกือบ 1 ล้านไร่

แม้ภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชนจะปลุกกระแสไปช่วยกันปลูกป่าเพิ่ม หรือไปส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ทดแทน เช่น กาแฟ แต่ก็ถือว่ายังผิดกฎหมายเหมือนเดิม เพราะทำกินในพื้นที่ป่า วันนี้รากเหง้าของปัญหาจึงยังไม่ถูกปลดชนวน “ไพศาล วิมลรัตน์” ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน จะมีแนวทางแก้ไขปัญหานี้อย่างไร

Q : ปัญหาที่แท้จริงของเมืองน่านคืออะไร

ปัญหาของน่านวันนี้คือ ที่ทำกินถูกกฎหมายมีน้อย พื้นที่จังหวัดน่านเป็นพื้นที่ป่า 85% เหลือพื้นที่อยู่อาศัยและทำกินมีน้อยมากเพียง 15% เท่านั้น และปัญหาอีกด้านคือ คนอยู่ในป่ามาก่อนที่รัฐจะประกาศเขตป่าครอบทับลงไป ซึ่งเดิมเป็นป่าอุดมสมบูรณ์และมีสถานการณ์การสู้รบในอดีต ประชาชนเหล่านี้จึงไม่มีหลักฐานมาแสดง ทำให้ติดอยู่ในป่ามาจนถึงทุกวันนี้ ขณะเดียวกันก็ทำให้ราชการเข้าไปช่วยเหลือหรือสนับสนุนไม่ได้

ฉะนั้นเมื่อไม่มีพื้นที่ทำกิน ประชาชนจึงไม่มีทางเลือก แต่ต้องกินต้องใช้ เขาไม่รู้จะทำอะไรจึงหันมาปลูกข้าวโพด เมื่อไม่มีพื้นที่ทำกินจึงต้องปลูกบนดอย เพราะเป็นพืชระยะสั้น 6 เดือน ทำเร็ว เกี่ยวเร็ว ได้เงินเร็ว และที่ผ่านมามีระบบตลาดที่มาเกื้อหนุน เป็นแรงจูงใจให้ปลูก น่านจึงเป็นแบบนี้

ดังนั้นยุทธศาสตร์การพัฒนาของจังหวัดน่านจึงพยายามที่จะปรับเปลี่ยนโครงสร้างอาชีพใหม่โดยให้เขาหันกลับมาทำเกษตรในพื้นที่ที่ถูกกฎหมาย ซึ่งรัฐจะต้องหาพื้นที่รองรับให้ได้ก่อน