สำหรับเงื่อนไขโครงการนั้น ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครง

การจะต้องเต็มใจไม่ก่อหนี้เพิ่มในระยะเวลา 5 ปี และพร้อมเรียนรู้การสร้างวินัยทางการเงินที่ดี โดยจะมีการติดตามประเมินผล โครงการนี้เป็นระยะเพื่อปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

“จากข้อมูลล่าสุดหนี้ภาคครัวเรือน ณ สิ้นปี 2559 อยู่ที่ 79.9% ของจีดีพี ประเด็นที่น่ากังวลคือคนไทยเป็นหนี้เร็ว และเป็นหนี้นาน โดยเฉพาะคนอายุ 29-30 ปี คิดเป็น 50% หรือ 1 ใน 5 ของลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสีย และระดับหนี้ไม่ลดลงมากแม้จะเข้าสู่วัยใกล้เกษียณ รวมทั้งมีหนี้มูลค่ามากขึ้น โดยค่ากลางของหนี้ต่อหัว ณ สิ้นปี 2559 เฉลี่ยอยู่ที่ 1.5 แสนบาท” นายวิรไท กล่าว

ดีเดย์รุกล้ำลำน้ำให้แจ้งขออนุญาตเจ้าท่าภายใน 22 มิ.ย. 60 นายกสมาคมประมงฯชี้วิถีริมน้ำป่วนทั่วไทย ร่อนหนังสือถึงนายกฯ เรียกร้องใช้ ม.44 เลื่อนใช้กฎหมาย จี้ตั้งคณะทำงานแก้ พ.ร.บ.การเดินเรือฯใหม่ให้กระทบประชาชนน้อยที่สุด ขณะที่หมู่บ้านชาวประมงตราดแจ็กพอตเข้าข่าย 5 พันหลังคาเรือน คาดค่าปรับทะลุ 200 ล้านบาท เจ้าท่าตราดห่วงชาวบ้านเดือดร้อนหนัก แนะจังหวัดระดมหน่วยงานหาทางออกร่วมกัน

ทันทีที่ พ.ร.บ.การเดินเรือน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นกฎหมายเพื่อควบคุมการปลูกสร้างอาคาร หรือสิ่งอื่นใดลงไปในแม่น้ำลำคลอง ทะเล ชายหาดสาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการรักษาลำน้ำสำหรับการพาณิชยนาวี การเกษตรกรรม และการป้องกันอุทกภัย มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา มีผลให้เจ้าของที่ปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำทั้งที่เคยได้รับอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาต ต้องไปแจ้งขออนุญาตกรมเจ้าท่าภายในวันที่ 22 มิถุนายน 2560 หากไม่มาแจ้งตามกำหนดจะมีโทษปรับโดยคำนวณตามพื้นที่ของอาคารอัตราตารางเมตรละไม่น้อยกว่า 500 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ไม่มีโทษจำคุก และต้องรื้อถอนภายใน 1 ปี

นายมงคล สุขเจริญคณา นายกสมาคมประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การประกาศใช้กฎหมายการเดินเรือฯ ขณะนี้สร้างความปั่นป่วนอย่างมาก โดยเฉพาะกรณีที่อยู่อาศัยของพี่น้องประชาชนที่อยู่ริมแม่น้ำลำคลอง หรือชายทะเล เข้าข่ายรุกล้ำลำน้ำทั้งสิ้น เท่าที่สำรวจไม่ว่าจะแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีน หรืออัมพวา หลายหมู่บ้านริมน้ำสร้างขึ้นมาโดยมีโฉนด แต่เมื่อเวลาผ่านไปน้ำกัดเซาะจนที่ดินหาย ถามว่ากรณีนี้จะทำอย่างไร แม้กระทั่งหมู่บ้านชายทะเลที่ไม่มีโฉนด แต่เป็นท่าเทียบเรือที่อยู่อาศัยกันมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ไม่ว่าจะเป็นที่ระนองหรือระยอง หากมีการรื้อถอนคาดว่าจะเสียหายหลายหมื่นล้านบาท

“ผมได้ยื่นหนังสือขอให้นายกรัฐมนตรีใช้ ม.44 เลื่อนการใช้ พ.ร.บ.การเดินเรือฯ มาตรา 18 ที่กำหนดระยะเวลาการแจ้งเจ้าท่า และการเสียค่าปรับออกไปก่อน 1 ปี จากนั้นขอให้ตั้งคณะทำงานแก้กฎหมาย โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยยื่นผ่านเลขานุการของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีไปแล้ว อยู่ระหว่างรอคำตอบ ถ้ารัฐบาลไม่แสดงท่าทีอะไร รับรองว่าหน้าทำเนียบรัฐบาลไม่พอจุพี่น้องประชาชนที่เดือดร้อนในครั้งนี้อย่างแน่นอน”

ด้านนางเรวดี ประเสริฐเจริญสุข ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กล่าวว่า ได้รวบรวมข้อมูลบ้านที่รุกล้ำลำน้ำมีความผิดตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย เบื้องต้นได้สำรวจพื้นที่ อ.เมืองตราด อ.คลองใหญ่ อ.แหลมงอบ ได้ประมาณ 80-90% โดยพื้นที่ อ.คลองใหญ่ มีการรุกล้ำมากที่สุด พื้นที่ทั้งหมด 111,871 ตารางเมตร ถ้าเสียค่าปรับอัตรา 500 บาท/ตร.ม. จะเป็นจำนวนเงินกว่า 55,901,995 บาท อ.เมืองตราด พื้นที่ 39,707 ตารางเมตร ค่าปรับ 19,853,912 บาท อ.แหลมงอบ พื้นที่ 13,360 ตารางเมตร ค่าปรับ 6,680,000 บาท ส่วน อ.เกาะช้าง อ.เกาะกูด อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล และปลายเดือนพฤษภาคมนี้จะมีการประชุมหารือกับตัวแทนเครือข่ายจังหวัดชายทะเลทั้ง 23 จังหวัด ที่มีปัญหาร่วมกัน เพื่อนำเสนอปัญหาแนวทางแก้ไขกับหน่วยงานภาครัฐ

“สิ่งที่ต้องแก้ปัญหาเร่งด่วนที่สุด คือ ขอขยายเวลาขึ้นทะเบียนกับกรมเจ้าท่า จากวันที่ 22 มิถุนายนนี้ออกไปก่อน และหน่วยงานภาครัฐควรเป็นแกนหลักจัดเวทีเสวนาสาธารณะ มีนักวิชาการ นักกฎหมาย องค์กรภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหาข้อสรุปเพื่อแก้ไขกฎหมายในสภาพที่สามารถนำไปใช้ได้จริง จากนี้จะมีการทำหนังสือถึงหน่วยงานต่าง ๆ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด กระทรวงคมนาคม ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดตราด สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน” นางเรวดีกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลจากมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระบุอีกว่า สภาพบ้านเรือนที่ปลูกสร้างรุกล้ำลำน้ำใน จ.ตราด มีจำนวนมากกว่า 5,000 หลังคาเรือน รวมพื้นที่ประมาณ 350,000-400,000 ตารางเมตร ซึ่งหากมีต้องเสียค่าปรับอัตราตารางเมตรละ 500 บาท จะเป็นจำนวนเงินถึงกว่า 200 ล้านบาท

ด้านนายสุรศักดิ์ อินทรประเสริฐ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด กล่าวว่า บ้านริมน้ำลำคลองที่ตราดเป็นประมงพื้นบ้าน อยู่อาศัยมาเกือบ 60 ปี เป็นทั้งบ้านและที่จอดเรือ เมื่อปี 2535 กรมเจ้าท่าเคยออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้ไปแจ้งขออนุญาต แต่ชาวบ้านไม่ได้ไป เนื่องจากการสื่อสารช่วงนั้นไม่สะดวก ดังนั้นเมื่อ พ.ร.บ.การเดินเรือฉบับใหม่ประกาศใช้ ทำให้ชาวบ้าน ต.ไม้รูด 765 หลังคาเรือนเดือดร้อน เป็นพื้นที่ทั้งหมด 75,106 ตารางเมตร ค่าปรับ 37.5 ล้านบาท ชาวบ้านไม่มีแน่นอน อีกทั้งต้องเสียค่าเช่ารายปีอัตราตารางเมตรละ 50 บาท ถือว่ายังสูงมาก ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขอเสนอให้ลดค่าเช่าเหลือตารางเมตรละ 5 บาท

นายจักรกฤชณ์ สลักเพชร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะช้างใต้ กล่าวว่า การออกกฎหมายออกมาบังคับรวดเร็ว สร้างความตกใจให้กับชาวบ้าน ส่วนใหญ่เป็นชาวประมงต้องทำมาหากินอยู่กับทะเล บางคนอยู่มาเป็น 100 ปี การแก้ปัญหาควรมีการสำรวจความเดือดร้อนก่อน เช่น ชาวบ้านหลายรายอยู่มาก่อนปี 2525 ที่ประกาศเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ควรได้สิทธิอยู่ต่อ จากนั้นจำกัดเขตไม่ให้มีผู้รุกล้ำรายใหม่ ๆ

นายอำนาจ สอนหมวก ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาตราด กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้มายื่นเอกสารบ้างแล้ว ส่วนมากเป็นประเภทสิ่งที่ล่วงล้ำพึงอนุญาตได้ ขณะที่ปัญหาสภาพบ้านเรือนของชาวบ้านที่อพยพมาอยู่ตามชายฝั่ง หรือเกาะ และบางพื้นที่ เช่น เกาะช้าง ซึ่งเป็นพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ ไม่ได้อยู่ในลักษณะอาคารที่พึงอนุญาตได้ ดังนั้นการปฏิบัติตามกฎหมายของกรมเจ้าท่า หากมีการรื้อถอนชาวบ้านจะเดือดร้อนกันมาก จังหวัดควรหาทางออก โดยให้หน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาดูแลไกล่เกลี่ยเพราะมีผลกระทบหลายด้าน ทั้งที่อยู่ที่ทำมาหากิน ทั้งนี้มองว่าทางออกภาครัฐกับภาคเอกชนต้องคุยกัน เช่น การยกที่ดินให้กรมธนารักษ์ดูแลให้ชาวบ้านที่ปลูกสร้างบ้านไปแล้วเช่า เพื่อควบคุมพื้นที่ถูกรุกล้ำ เป็นต้น

นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคมนี้จะหารือกับ พล.อ. ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถึงความร่วมมือการทำตลาดออนไลน์ขายข้าวให้นักท่องเที่ยว เนื่องจากกระทรวงเกษตรฯ มีโครงการสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ ซึ่งเป็นเกษตรกรยุคใหม่ ที่มีความรู้ความสามารถหันกลับไปปลูกข้าว ทำอาชีพการเกษตรมากขึ้น ซึ่งกระทรวงเห็นว่ารัฐบาลควรเข้าไปสนับสนุน ถือเป็นการเพิ่มช่องทางการขายข้าวให้เกษตรกรมากยิ่งขึ้น

กระแสปัจจุบันนักท่องเที่ยวนิยมทานข้าวไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากอาเซียนและจีน ซึ่งกระทรวงเห็นว่านอกจากมาทานที่เมืองไทยแล้ว ก็ควรให้นักท่องเที่ยวมีตัวเลือก โดยการใช้ออนไลน์ซื้อข้าวไทยได้ นอกจากนี้ยังเตรียมร่วมกับโครงการประชารัฐจัดทำโครงการอเมซิ่ง ไทยเทสต์ ดึงโรงแรมและร้านอาหารในประเทศไทย จัดทำลิสต์รายชื่อข้าว 6 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ชั้นเยี่ยมในไทย ประกอบด้วย 1. ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ 2. สินเหล็ก 3. ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 4. ข้าวมะลินิลสุรินทร์ 5. ข้าวทับทิมชุมแพ และ 6. ข้าวสังข์หยด ปัจจุบันได้เริ่มนำร่องในกลุ่มโรงแรมระดับ 5 ดาว คือ โรงแรมดุสิตธานี ซึ่งใช้ข้าวมาเป็นอาหารจานหลักในส่วนเมนูบุฟเฟ่ต์

นางกอบกาญจน์ กล่าวว่า วันที่ 16 พฤษภาคม ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่องที่ต่างชาติชื่นชมสตรีตฟู้ด จึงต้องยกระดับคุณภาพให้ดีมากขึ้น และไม่ใช่กระจุกตัวเฉพาะกรุงเทพฯ แต่ควรมีเมืองอื่นด้วย เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต ทั้งนี้ ตั้งแต่มกราคม-15 พฤษภาคม มีนักท่องเที่ยวสะสม 13.12 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.33% ก่อให้เกิดรายได้ 6.74 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.1%

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 ลุยสำรวจข้อมูลบัญชีสมดุลสินค้าเกษตร ปี 2560 เจาะสินค้าสำคัญ ข้าวเหนียว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ในจังหวัดชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ ปูแนวทางกำหนดนโยบาย และบริหารจัดการสินค้าเกษตรให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกร

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลบัญชีสมดุลสินค้าเกษตรที่สำคัญ ปี 2560 ใน 3 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา (สศท.5) ดำเนินการสำรวจสินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวเหนียว มันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสถานการณ์การผลิต วิถีการตลาด อุปสงค์ อุปทาน เพื่อนำข้อมูลไปพิจารณาการจัดทำบัญชีสมดุลระดับจังหวัด ปี 2560 ที่จะส่งผลให้การผลิตสินค้าเกษตรดังกล่าวเกิดความสมดุลด้าน Demand-Supply เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ในราคายุติธรรม ซึ่งผลสำรวจตัวอย่างแต่ละจังหวัด พบว่า

ข้าวเหนียว จังหวัดชัยภูมิ ผลผลิตภายในจังหวัด มีปริมาณ 251,153 ตันข้าวเปลือก นำเข้าจากต่างจังหวัด 87,903 ตันข้าวเปลือก รวมผลผลิตทั้งหมด 339,056 ตันข้าวเปลือก ซึ่งผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่ช่วงปลายเดือนสิงหาคมจนถึงเดือนเมษายนของทุกปี ในขณะที่ความต้องการใช้ข้าวเปลือกเหนียวของจังหวัดมีปริมาณทั้งหมด 295,678 ตันข้าวเปลือก เก็บไว้ทำพันธุ์ 25,689 ตันข้าวเปลือก ส่งเข้าโรงสีเพื่อสีแปรรูปเป็นข้าวสาร 100,461 ตันข้าวเปลือก และส่งออกข้าวเปลือกเหนียวไปยังจังหวัดเพชรบูรณ์ ขอนแก่น นครราชสีมา ปริมาณ 169,528 ตันข้าวเปลือก ทั้งนี้ ผลผลิตส่วนเกินความต้องการใช้ในจังหวัด มีปริมาณ 43,377 ตันข้าวเปลือก หากไม่มีการนำเข้าข้าวเปลือกจากจังหวัดอื่น จึงส่งผลให้ปริมาณข้าวเปลือกเหนียวที่ผลิตได้ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ภายในจังหวัด

หัวมันสำปะหลังสด จังหวัดบุรีรัมย์ มีผลผลิต ทั้งสิ้น 829,069 ตัน ไม่มีการนำเข้าจากจังหวัดอื่น เนื่องจากภายในจังหวัดไม่มีโรงงานประกอบการแปรรูปมันสำปะหลัง ปริมาณความต้องการใช้ของโรงงานภายในจังหวัด จำนวน 660 ตัน ซึ่งเป็นผลผลิตที่สหกรณ์การเกษตรมีพันธะสัญญาส่งผลผลิตมันเส้นให้กับ สหกรณ์โคนม เพื่อนำไปเป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ และที่เหลือจำนวน 828,409 ตันหัวมันสด เป็นการส่งให้กับเป็นโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปมันสำปะหลังนอกจังหวัด หากพิจารณาถึงความต้องการของตลาดรับซื้อหัวมันสำปะหลังสด สามารถรับซื้อได้อย่างต่อเนื่อง

อ้อยโรงงาน จังหวัดสุรินทร์ มีปริมาณ ทั้งสิ้น 2,224,161 ตัน เป็นอ้อยที่ผลิตได้ภายในจังหวัด 1,024,161 ตัน และเป็นอ้อยโรงงานที่นำเข้าจากจังหวัดนครราชสีมา ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี จำนวน 1,200,000 ตัน ในขณะที่ความต้องการใช้ของโรงงาน มีปริมาณ 2,224,161 ตัน โดยส่งเข้าโรงงานน้ำตาลในจังหวัด 2,174,161 ตัน และส่งออกไปยังโรงงานในจังหวัดอื่นที่ใกล้เคียง 50,000 ตัน ซึ่งหากพิจารณาถึงกำลังการผลิตของโรงงานที่มีอยู่ภายในจังหวัด สามารถรองรับผลผลิตอ้อยโรงงานได้ประมาณ 3,840,000 ตันต่อปี

ทั้งนี้ การวิเคราะห์บัญชีสมดุลสินค้าเกษตรนั้น ต้องอาศัยองค์ประกอบหลากหลายด้านจึงจะสามารถนำมากำหนดเป็นนโยบาย และแนวทางในการบริหารจัดการสินค้าเกษตรทั้งในด้านอุปทาน (Supply) และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ (Utilization) ต่อไปได้ โดยเกษตรกรและผู้ที่สนใจในพื้นที่สามารถขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมและคำแนะนำได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 5 โทร.044-465079 , 044-465120ในวันและเวลาราชการ

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผย ผลติดตามโครงการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรทดแทนแรงงานเกษตร ระบุ มีช่างเกษตรท้องถิ่นได้รับการอบรมแล้วจนถึงมีนาคม จำนวน 2,275 ราย โดยเกษตรกรในหลักสูตรช่างเกษตรท้องถิ่น ระดับ 1 สามารถลดรายจ่ายค่าบำรุงรักษาเครื่องจักรฯ ได้ 304 บาท/เครื่อง พร้อมนำความรู้ไปใช้และขยายต่อไปยังเพื่อนเกษตรกรในชุมชน

นางสาวรังษิต ภู่ศิริภิญโญ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการติดตามโครงการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลการเกษตรทดแทนแรงงานเกษตร ซึ่งมีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้ดำเนินการหลัก โดย สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ติดตามผล 3 กิจกรรม พบว่า

กิจกรรมสร้างช่างเกษตรท้องถิ่น ปี 2560 กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการจัดอบรมเกษตรกรในหลักสูตรช่างเกษตรท้องถิ่น ระดับ 1 2 และ 3 แล้ว (ณ เดือน มีนาคม 2560) จำนวน 2,275 ราย โดยเกษตรกรในหลักสูตรระดับ 1 (40 ราย) และระดับ 2 (24 ราย) จำนวนร้อยละ 70 มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเครื่องจักรกลการเกษตรมาก่อน และมีการเปลี่ยนแปลงหลังนำความรู้ไปปฏิบัติใช้ โดยช่างเกษตรท้องถิ่น ระดับ 1 จำนวนร้อยละ 95 นำความรู้ไปใช้และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลการเกษตรได้เฉลี่ย 304 บาท/เครื่อง มีการขยายผลความรู้ไปยังเกษตรกรใกล้เคียงในสัดส่วน 1 : 5 ราย ส่วนช่างเกษตรท้องถิ่น ระดับ 2 ที่เพิ่งเสร็จสิ้นจากการอบรม ร้อยละ 100 คาดว่าจะนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพเสริมและถ่ายทอดให้เกษตรกรในชุมชน

กิจกรรมบริการสาธิตเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ปี 2560 มีการจัดกิจกรรมวันถ่ายทอดเทคโนโลยี ในจังหวัดร้อยเอ็ด (22 ธ.ค.59) และจังหวัดมหาสารคาม (17 ม.ค. 60) รวมเกษตรกรเข้าร่วมทั้งสองแห่ง 231 คน ซึ่งพบว่า เกษตรกร ร้อยละ 97 ที่เข้าร่วมงาน เห็นว่ากิจกรรมการสาธิตเป็นประโยชน์และตรงตามความต้องการ โดยเฉพาะการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวด้วยเครื่องจักรกลการเกษตร (การไถกลบตอซังฟางข้าว) การสาธิตการเตรียมดิน และการใช้งานเครื่องจักรกลการเกษตรชนิดต่างๆ และได้รับการสนับสุนนวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน เช่น สารปรับปรุงบำรุงดิน ปูนขาว และน้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการไถกลบตอซังในพื้นที่ของเกษตรกร ตำบลบึงนคร อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 210 ไร่ รวม 49 ราย และพื้นที่ตำบลดงใหญ่ อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 116 ไร่ รวม 23 ราย

กิจกรรมบริการการเตรียมดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2559 พบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการ เกษตรกร ร้อยละ 76 ใช้วิธีเตรียมดินด้วยวิธีจ้างรถเตรียมดินของเอกชน และร้อยละ 24 ใช้รถเตรียมของตนเอง แต่หลังเข้าร่วมโครงการในปี 2559 เกษตรกรร้อยละ 71 มีการใช้บริการเครื่องจักรกลการเกษตรของศูนย์ฯ ส่วนร้อยละ 29 ยังไม่ได้ใช้บริการ เนื่องจากบางราย ไถระเบิดดินดานในพื้นที่ของตนเองไปแล้วก่อนเข้าโครงการ และยังไม่ได้ทำการผลิตมันสำปะหลัง ทั้งนี้ ภาพรวมเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ มีความพึงพอใจต่อตัวโครงการในระดับมาก ทั้งในด้านการประชาสัมพันธ์โครงการ ด้านการถ่ายทอดความรู้ และด้านการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ เนื่องจากเห็นว่าความรู้ที่ได้รับสามารถนำมาปรับใช้และลดค่าใช้จ่ายได้จริง

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินงานในระยะต่อไปมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กิจกรรมสร้างช่างเกษตรท้องถิ่น ควรเพิ่มระยะเวลาการอบรมในแต่ละหลักสูตร สถานที่จัดฝึกอบรมควรอยู่ในหมู่บ้านเพื่อสะดวกในการเดินทาง และเพิ่มเนื้อหาหลักสูตรให้มีความหลากหลาย ส่วนกิจกรรมบริการสาธิตเครื่องจักรกลการเกษตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ควรเพิ่มพื้นที่เป้าหมายในการให้บริการสาธิตการไถกลบตอซังให้มากขึ้น เพิ่มความรู้ในเรื่องการป้องกันและแก้ปัญหาภัยแล้ง ในพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำ และในส่วนของศูนย์บริการการเตรียมดินเพื่อเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ควรพัฒนาบริการได้ทันต่อความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ เชื่อมโยงการให้บริการระหว่างผู้ประกอบการกับเกษตรกรสมาชิก และร่วมมือกับเกษตรกรในชุมชนใกล้เคียงให้มีส่วนร่วมในโครงการให้มากขึ้น รองเลขาธิการ กล่าวทิ้งท้าย

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี พร้อมด้วยคณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดินทางไปติดตามการดำเนินงานโครงการก่อสร้างฝายบ้านเขาแดงพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่บ้านเขาแดงพัฒนา ต.ทับช้าง อ.สอยดาว จ.จันทบุรี ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 ด้วยทรงห่วงใยราษฎรบ้านเขาแดงพัฒนา ที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร อาทิ ปลูกมันสำปะหลัง ลำไย ข้าวโพด และเลี้ยงโคนม เมื่อถึงฤดูแล้งราษฎรจะประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร และการอุปโภคบริโภค จึงจำเป็นต้องมีแหล่งน้ำเป็นต้นทุนที่เพียงพอเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต ปัจจุบันโครงการดังกล่าว เริ่มขุดลอกหน้าฝายพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ และขุดลอกคลองตาโนดระยะทางประมาณ 1 พัน 400 เมตร ซึ่งคาดว่าจะสามารถเพิ่มปริมาณความจุน้ำได้ 8 หมื่นลูกบาศก์เมตรและช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรได้ประมาณกว่า 2 พันไร่

ต่อจากนั้น คณะได้เดินทางไปติดตามการดำเนินงานโครงการก่อสร้างทำนบดินบ้านไทรนอง 2 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ต.สองพี่น้อง อ.ท่าใหม่ โครงการนี้เป็นโครงการที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมา เพื่อสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร อุปโภค บริโภค เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่บนพื้นที่สูง เกษตรกรพยายามสร้างสระเก็บกักน้ำ แต่ยังไม่พอ ปัจจุบันสำนักงาน กปร. กรมชลประทาน และจ.จันทบุรี ตลอดจนผู้นำชุมชนและราษฎรในพื้นได้ร่วมกันดำเนินงาน จัดสร้างทำนบดินบ้านไทรนอง ความจุ 6 หมื่น ลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะได้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นกว่า 5 หมื่น 4 พันลูกบาศก์เมตร ช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรได้ประมาณ 55 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่ทำสวนผลไม้ ปลูกทุเรียน เงาะ และมังคุด

ทั้งสองโครงการนี้ เป็นโครงการทางด้านแหล่งน้ำที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการชุดแรกๆที่ทรงสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อช่วยเหลือให้ราษฎรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี

วันที่ 18 พฤษภาคม 2560 นายนิพนธ์ วิชัยรัตน์ lebron-james-shoes.us ผู้อำนวยการสวนสัตว์เชียงใหม่ กล่าวถึงความคืบหน้าในการติดตามการตั้งท้องของแพนด้าเพศเมีย ‘หลินฮุ่ย’ ว่า หลังจากทีมวิจัยทำการฉีดน้ำเชื้อผสมเทียมหลินฮุ่ยในรอบปี 2560 ไปแล้ว และมีการติดตามเฝ้าดูการตั้งท้องของหลินฮุ่ยอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากมีการนำตัวหลินฮุ่ยตรวจอัลตราซาวด์ไปแล้ว 1 ครั้ง ผ่านมาจนถึงขณะนี้เป็นระยะเวลากว่า 3 เดือนแล้ว ทางทีมวิจัยแพนด้ายังคงติดตามดูอาการของแพนด้าหลินฮุ่ยอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุดพบว่าหลินฮุ่ยยังมีอาการคล้ายกับแพนด้าตั้งท้อง คือกินอาหารน้อยลงและนอนตลอดเวลา ในด้านการตรวจหาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนของการตั้งท้อง ทีมพี่เลี้ยงรายงานว่าตัวเลขเริ่มสูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งต้องจับตาดูว่าจะขึ้นสูงถึงขีดสุดในรอบนี้หรือยัง ล่าสุดวันนี้พบว่าฮอร์โมนอยู่ที่ 527.43 นาโนกรัม/มิลลิกรัมครีตินีน หากขึ้นถึงจุดสูงสุดเต็มที่แล้ว จะเป็นจุดที่แสดงถึงจุดที่มีการฝังตัวของตัวอ่อนแล้วจะมีการตกลูกต่อไป

ทางพี่เลี้ยงและทีมวิจัยฯเราทำงานกันอย่างเต็มที่ ซึ่งใน 2-3 วันนี้ ทีมผู้เชี่ยวชาญจากกรุงเทพฯจะเดินทางมาดำเนินการตรวจอัลตร้าซาวนด์เพื่อตรวจหาตัวอ่อน เพื่อยืนยันการตั้งท้องต่อไป พาณิชย์มั่นใจราคาข้าวปีนี้ดีขึ้นแน่นอน ส่วนจะถึง 1 หมื่นบาท/ตัน หรือไม่ต้องดูหลายปัจจัย แต่เชื่อว่าดีกว่าปีที่แล้วแน่นอน พาณิชย์พร้อมช่วยหาตลาดและคุยกับกระทรวงเกษตรฯ หาทางลดต้นทุนทั้งเรื่องปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ เป็นการเพิ่มรายได้ให้ชาวนาอีกทาง

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมช.พาณิชย์ กล่าวในงาน “ตัดสินและมอบรางวัลการประกวดข้าวหอมมะลิของประเทศ การประกวดข้าวตราคุณภาพดีเด่น ประจำปี 2560 และการประกาศเกียรติคุณข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ” ว่า ทิศทางราคาข้าวในปีนี้พาณิชย์คาดการณ์ว่าจะปรับตัวดีขึ้น แต่จะถึง 10,000 บาท ต่อตัน หรือไม่นั้นต้องดูจากหลายปัจจัย แต่เชื่อว่าแนวโน้มและทิศทางน่าจะดีขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

พร้อมกันนี้พาณิชย์หารือกับกระทรวงเกษตรฯ และสหกรณ์หาช่องทางในการลดต้นทุนการปลูกข้าว ทั้งเรื่องปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ หรือผู้ประกอบการต่างๆ ลดราคาสินค้าเพื่อลดต้นทุนการเพาะปลูกข้าวได้ ซึ่งส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น พร้อมกันนี้ก็จะหาแนวทางหรือมาตรการผลักดันราคาข้าวให้ปรับสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ดูเรื่องของตลาด หรือความต้องการของผู้บริโภคเพียงอย่างเดียว แต่ต้องหามาตรการที่จะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

“จากปัจจัยการสนับสนุนเรื่องของการลดต้นทุนแล้ว ตัวเกษตรกรเองก็ต้องปรับตัวและพัฒนาตัวเองด้วยเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ รวมไปถึงให้ตัวสินค้าข้าวมีคุณภาพมากขึ้น ส่วนกรณีปัญหาการวัดความชื้น หรือเครื่องชั่ง มอบหมายให้กรมการค้าภายในติดตามอย่างใกล้ชิด หากเกษตรกรพบปัญหาก็แจ้งสายด่วน 1569 ได้” นายสนธิรัตน์ กล่าว

รมช.พาณิชย์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ การมอบรางวัลข้าวหอมมะลิเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างความเชื่อมั่นและมั่นใจให้กับตลาดและผู้ซื้อเอง อีกทั้งช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าข้าวหอมมะลิไทยด้วย ทั้งในการแข่งขันในตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยในงานมีพิธีมอบรางวัลให้แก่เกษตรกร โรงสี ผู้ผลิต มีผู้เข้าร่วมรับรางวัลจำนวนทั้งสิ้น 99 ราย