สำหรับเรื่องการแอบลักลอบขุดดินในบึงสีไฟไปขายนั้น

ขณะนี้มีกลุ่มบุคคล ได้นำสนุ่น หรือหน้าดิน ไปเทกองไว้ที่หน้าบ้านหลายราย โดยใช้ถุงปุ๋ยบรรจุดินมาวางขายข้างถนนในราคาถุงละ 20 บาท ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นนั้น มีกลุ่มที่นำดินมาใส่กระสอบปุ๋ยวางขายริมถนนสายบึงสีไฟ-เมืองเก่าเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น ขณะนี้ทางจังหวัดพิจิตร ได้สั่งการให้นายอำเภอ และป้องกันจังหวัดพิจิตร ออกตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน เพราะถือว่าเป็นการลักทรัพย์สินแผ่นดิน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ให้กับกลุ่มและบุคคลที่แอบเข้าไปลักขุดดินในบึงสีไฟมาบรรจุถุงขาย

วันที่ 18 มีนาคม เข้าสู่ฤดูร้อนเต็มตัว เช้านี้ที่พิษณุโลกได้รับอิทธิพลคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมา เคลื่อนเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคเหนือ ทำให้มีลมพัดแรงและยังคงเฝ้าระวังพายุฤดูร้อน ส่งผลให้ตามถนนสายต่างๆ ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก มีดอกเหลืองปรีดียาธรที่ร่วงหล่นจากต้น เหลืองอร่ามเต็มพื้นถนนและฟุตปาธ กำลังงดงามเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบริเวณสวนชมน่านฯฝั่งตะวันตก ด้านศาลจังหวัดพิษณุโลก ที่ปลูกต้นดอกเหลืองปรีดียาธรเรียงรายริมฝั่งแม่น้ำน่าน ขณะนี้ดอกได้บานสะพรั่งอย่างเต็มที่ ยามเช้าประชาชนเดิน วิ่ง ออกกำลังกาย ผ่านดอกเหลืองปรีดียาธรที่ร่วงหล่นเต็มพื้น

นอกจากนี้ยังมีถนนหลายสายที่ปลูกต้นดอกเหลืองปรีดียาธรไว้ เช่น บริเวณสะพานสูง ถนนมิตรภาพ ถนนเลียบทางรถไฟ ที่คู่ขนานไปกับถนนเอกาทศรถและถนนธรรมบูชา ดอกเหลืองปรีดียาธรที่ปลูกไว้ริมถนนก็ออกดอกเหลืองพร้อมกันในช่วงนี้

วันที่ 18 มีนาคม 2560 นายกฤษฎิ์ พูนเกษม หัวหน้าป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวว่า ในช่วงนี้น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 แห่งของจังหวัดอำนาจเจริญมีปริมาณลดลงมากโดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำห้วยดงสีโทมีปริมาณเก็บกักน้ำไม่ถึงครึ่ง จึงฝากเตือนให้คนอำนาจเจริญช่วยกันประหยัดน้ำกินและน้ำใช้ในปีนี้ให้มากๆ ที่สำคัญในช่วงอากาศร้อนอบอ้าวเช่นนี้ไม่มีใครจะทนอยู่บ้านได้ต้องออกไปหาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจตามป่าเขารำเนาไพรตามแหล่งน้ำต่างๆเพื่อคลายร้อนอย่างเช่นที่อ่างเก็บน้ำห้วยดงสีโทแห่งนี้มีประชาชนมาเที่ยวค่อยข้างมาก สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการที่นำห่วงยางมาวางให้เช้าจากราคา 50 บาทถึง 20 บาทแล้วแต่ขนาดใหญ่เล็กของห่วงยาง บางรายนำมาจากบ้านเพื่อประหยัดเงินในกระเป๋า และผลพวงตามมาก็คือบรรดาร้านค้าที่นำอาหารเครื่องดื่มมาวางจำหน่ายต่างก็ขายดิบขายดีไปตามๆกัน ห่วงยาก็มีคนมาเช่ามากขึ้น และที่สำคัญตนได้ให้มีเสื้อชูชีพก่อนลงเล่นห่วงยางในอ่างน้ำเพื่อป้องกันความปลอดภัยไว้ก่อน

นายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ กล่าวว่า ที่อำนาจเจริญร้อนและแห้งแล้งฝนก็ไม่ตกอีกไม่นานคงประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติภัยแล้งเพราะน้ำตามแหล่งน้ำต่างๆแห้งขอดหมดแล้งอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 แห่งในพื้นที่อำนาจเจริญ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญเป็นแหล่งน้ำหลักของจังหวัดบัดนี้ได้แห้งขอดลงเหลือไม่ถึงครึ่งของอ่างเก็บน้ำทั้ง 4 แห่ง และในช่วงอากาศร้อนวันนี้มีประชาชนไปลงเล่นน้ำที่อ่างห้วยสีโทกันอย่างต่อเนื่องและน้ำที่อ่างห้วยดงสีโทก็แห่งขอดเช่นกันแต่เชื่อมั่นว่าน้ำที่จะเล่นสงกรานต์ยังพอมาให้เล่นอยู่แต่ต้องช่วยกันประหยัดน้ำให้มาก โดยเฉพาะน้ำที่นำมาผลิตเป็นน้ำประปาหากไม่ประหยัดอาจไม่เพียงพอในการที่จะนำมาผลิตเป็นน้ำประปาให้คนในเมืองได้ใช้กัน จึงวอนให้ประชาชนช่วยกันประหยัดน้ำ

วันที่ 18 มีนาคม 2560 ผู้สื่อข่าวรับแจ้งว่า เกิดปรากฏการณ์ผีเสื้อหลายแสนตัวบินว่อนเต็มหมู่บ้าน พื้นที่หมู่ 1 และ หมู่ 2 บ้านมุงเหนือ-บ้านมุงใต้ ต.บ้านมุง อ.เนินมะปราง จ.พิษณุโลก จึงรีบเดินทางไปตรวจสอบพบว่ามีฝูงผีเสื้อสีเหลืองสวยงามบินว่อนวนเวียนเป็นกลุ่มๆ กระจัดกระจายอยู่รอบหมู่บ้าน และริมถนน ตรอกซอยต่างๆ เพิ่มสีสันความสวยงามให้กับธรรมชาติ สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่ชาวบ้าน และดึงดูดนักท่องเที่ยวที่มาพบเห็นเป็นอย่างมาก

การปรากฎตัวของผีเสื้อจำนวนมากนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพทั่วไปของ ต.บ้านมุง อ.เนินมะปราง เป็นเขาหินปูนสลับซับซ้อนอายุหลายล้านปี มีธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ แต่ระยะนี้เริ่มเข้าสู่หน้าแล้งและสภาพอากาศเริ่มร้อนขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้มีผีเสื้อจำนวนมหาศาลเริ่มออกมาหากินเพื่อความอยู่รอด ซึ่งผีเสื้อจำนวนหนึ่งก็จะบินไปเกาะกลุ่มอยู่บริเวณพื้นถนนที่เปียกชื้น เพื่อดูดกินน้ำที่ชาวบ้านใช้สายยางฉีดน้ำราดรดลงไปเป็นแอ่ง นอกจากนี้ยังมีเด็กๆ ออกมาวิ่งเล่นไล่จับผีเสื้อกันอย่างสนุกสนาน ก่อนจะปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ ส่วนผีเสื้อบางตัวหากตายลงก็จะเป็นอาหารของไก่ที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้

นายจงกล พลับพลา อายุ 32 ปี นักท่องเที่ยว กล่าวว่า หลังจากตนเองทราบข่าวว่ามีปรากฏการณ์ฝูงผีเสื้อนับแสนตัวบินว่อนเต็มหมู่บ้านบ้านมุง จึงขับรถมาดูเพราะปีนี้ผีเสื้อออกมาเยอะกว่าทุกปีที่ผ่านมา ที่มักจะออกมาบินอวดโฉมความสวยงามเป็นประจำทุกวันในช่วงหน้าร้อนก่อนเข้าสู่เดือนเมษายน ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่เรียกกันว่า “ผีเสื้อแกลบ” มีสีเหลืองนวลขนาดเล็ก ลำตัวและปีกยาวประมาณ 3 – 4 ซม. แต่ชาวบ้านและเด็กๆ ก็ไม่ได้ทำอันตรายแก่ผีเสื้อแต่อย่างใด ทุกคนอยากจะอนุรักษ์ผีเสื้อสายพันธุ์นี้ไว้ให้คงอยู่คู่ธรรมชาติและหมู่บ้านสืบไป

ส่วนสาเหตุที่ปีนี้มีฝูงผีเสื้อจำนวนมาก คาดว่าเกิดจากสภาพอากาศเริ่มแล้งและร้อนอบอ้าวเร็วกว่าปีที่ผ่านมา ผีเสื้อจึงบินออกมาจากแหล่งอาศัยภายในถ้ำต่างๆ อาทิ ถ้ำนาง 12 ถ้ำบุปผาสวรรค์ ถ้ำหลวงพ่อบุญมี ออกหาแหล่งน้ำในหมู่บ้านเพื่อความอยู่รอดนั่นเอง ถ้าหากใครต้องการชมความงามของฝูงผีเสื้อชนิดนี้ หรือจะถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก ก็สามารถเดินทางมาเที่ยวชมกันได้เป็นประจำทุกวัน

วันที่ 18 มีนาคม 2560 เมื่อเวลา 08.00 น. ที่จังหวัดบึงกาฬ มีอากาศร้อนอบอ้าว ชาวบ้านพาครอบครัวพร้อมกับนำอุปกรณ์จับปลานานาชนิดมาลงแขกจับปลาการกุศล บริเวณหนองผือ ภายในหมู่บ้านแสนสำราญ หมู่ที่ 10 ต.บึงกาฬ อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ที่เปิดให้ประชาชนมาลงแขกจับปลาเพื่อหารายได้ไปเป็นค่าใช้จ่ายในสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ของหมู่บ้าน โดยการจำหน่ายบัตร คิดราคาแหปากละ 50 บาท สะดุ้ง หรือยอ 1 ตัวคิด 50 บาท ส่วนสวิงและสุ่มจับปลาคิด 20 บาทเท่ากัน ส่วนใหญ่มาเป็นครอบครัว เมื่อได้ปลาตัวเล็กก็จะปิ้ง ต้ม กินกันริมหนองน้ำ

ส่วนปลาตัวใหญ่ก็จะมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อไปประกอบอาหารขายอีกทอด ส่วนปลาที่ชาวบ้านจับได้ก็มีทั้งปลาค้าว ปลาปลาช่อน ชะโด ปลายี่สกเทศ ปลานิล ปลาตองกรายฯลฯ และปลาที่จับได้ตัวใหญ่สุดคือปลาตองกรายมีน้ำหนักถึง 6 กิโลกรัม

สำหรับการลงแขกจับปลาในครั้งนี้นอกจากจะนำรายได้เข้าในชุมชนแล้ว ยังเป็นการสร้างความสนุกสนาน ความรัก ความสมัครสมานสามัคคีของคนในหมู่บ้านอีกด้วย เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงคืนที่ผ่านมาที่ บริเวณอุทยานแห่งชาติดอยผาตั้ง ตำบลปออำเภอเวียงแก่นจังหวัดเชียงรายได้เกิดพายุลูกเห็บกระหน่ำตกลงมาในพื้นที่และมีบ้านเรือนของประชาชนได้รับความเสียหายซึ่งพายุลูกเห็บดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงเวลากลางคืนใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงจึงยุติลง โดยในช่วงเช้าวันนี้ ในพื้นที่ยังคงมีลูกเห็บคงค้างอยู่ ตามพื้นเนื่องจากพื้นที่บริเวณดังกล่าว อยู่บนยอดดอยมีอุณหภูมิต่ำ ทำให้ลูกเห็บยังไม่ละลาย

ทางด้านนายสิทธิศักดิ์ แย้มพรายภิรมย์ นายอำเภอเวียงแก่น ได้สั่งการให้ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตรวจสอบความเสียหายของพื้นที่ โดยเบื้องต้นพบว่ามีพื้นที่ประสบภัยจำนวน 3 หมู่บ้านแต่บ้านเรือนของประชาชนไม่ได้รับความเสียหายมากนักเพราะส่วนใหญ่เป็นชาวม้งบ้านได้สร้างด้วยไม้ไผ่และสังกะสีถูกลมพัดและลูกเห็บตกใส่ได้รับความเสียหายจำนวน 3 หลัง อย่างไรก็ตามได้ให้ทางเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความเสียหายอย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อจะได้ให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว

สิงห์บุรีส่งปลาช่อนแม่ลาขึ้นทะเบียน จีไอ เพิ่มมูลค่าสินค้า ประมงจังหวัดเร่งเก็บข้อมูล ส่งเสริมครบวงจรเลี้ยง-แปรรูป ตั้งเป้าสิ้นปีจดทะเบียนเรียบร้อย ยอมรับภัยแล้ง-สารเคมีกระทบปลาธรรมชาติเหลือน้อย ไม่เพียงพอบริโภค เตรียมฟื้นฟูสายพันธุ์ใหม่ พร้อมส่งเสริมทำเกษตรอินทรีย์แปลงใหญ่ในพื้นที่ช่วยปรับระบบนิเวศ

นายวัชระ ช่างบุญศรี นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญการ จังหวัดสิงห์บุรี เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จากนโยบายการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications) หรือ GI ให้ครบ 77 จังหวัด ภายในปี 2560 ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์นั้น เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2560 ที่ผ่านมา ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประชุมทำความเข้าใจและให้ข้อมูลกับกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงปลา กลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปปลาเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปลาช่อนแม่ลาให้เป็นสินค้า GI

สำหรับขั้นตอนต่อไปคือ การให้สำนักงานประมงจังหวัดดำเนินการรวบรวมข้อมูล ทั้งถิ่นที่อยู่ของปลา ผู้เพาะเลี้ยง และข้อมูลความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ของปลาช่อนแม่ลากับที่อื่น เพื่อยื่นขอจดทะเบียนมายังกรมทรัพย์สินทางปัญญาต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถขึ้นทะเบียน GI ได้ภายในปีนี้ โดยนอกจากปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติแล้ว ยังรวมถึงเกษตรกรที่เลี้ยงปลาในบ่อดินบริเวณรอบๆ ใกล้ลำน้ำแม่ลาด้วย

“การขึ้นทะเบียนน่าจะไม่มีปัญหา เนื่องจากโครงการนี้ทางหัวหน้าประมงจังหวัดสิงห์บุรีคนก่อนเป็นผู้มาเสนอกับทางพาณิชย์จังหวัด ต้องการจดทะเบียนปลาช่อนแม่ลาให้เป็น GI ด้วยตัวเอง แต่จากสภาพอากาศที่สิงห์บุรีประสบภัยแล้ง ส่งผลทำให้ปริมาณปลาช่อนแม่ลาในสิงห์บุรีลดจำนวนลงไป อาจส่งผลต่อการขึ้นทะเบียนบ้าง เพราะการขึ้นทะเบียนนั้นต้องครบห่วงโซ่ ตั้งแต่การเลี้ยง การแปรรูป ดังนั้น จึงต้องเน้นที่การฟื้นฟูสายพันธุ์ด้วย” นายวัชระ กล่าว

ส่วนการป้องกันการนำปลาจากแหล่งอื่นมาสวมสิทธิ์นั้น เมื่อปลาช่อนแม่ลาได้รับการขึ้นทะเบียน GI แล้ว ต้องมีการกำหนดระบบการควบคุมห้ามนำสินค้าจากเขตอื่นเข้ามาจำหน่ายในพื้นที่ ซึ่งอาจควบคุมไม่ได้ 100% แต่น่าจะสามารถควบคุมได้ในระดับหนึ่ง จึงพยายามให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้รู้สึกว่าตัวเองเป็นเจ้าของ GI ช่วยเป็นหูเป็นตา ป้องกันการสวมสิทธิ์ได้

ด้าน นายศุกรี บุญกอง หัวหน้ากลุ่มพัฒนาและส่งเสริมการประมง สำนักงานประมงจังหวัดสิงห์บุรี กล่าวว่า ขณะนี้ประมงจังหวัดกำลังสืบค้นคุณลักษณะปลาช่อนแม่ลา เพื่อหาความแตกต่างระหว่างปลาช่อนสายพันธุ์จากสิงห์บุรี อ่างทอง และชัยนาท รวมถึงระบบภูมิศาสตร์ ซึ่งปลาช่อนแม่ลานั้นมีลักษณะพิเศษคือ ตัวป้อมกว่า เกล็ดมีสีแดง เนื้อมีรสชาติอร่อย เกิดจากแร่ธาตุที่มีอยู่ในลำน้ำแม่ลา คาดว่าจะใชเวลาประมาณ 4-5 เดือน จึงจะทราบผล

ส่วนกรณีที่ปลาช่อนแม่ลาได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในช่วงที่ผ่านมานั้น ทางประมงจังหวัดได้นำปลาช่อนไปปล่อยลงในลำน้ำ เพื่อเป็นการรักษาระบบนิเวศของปลาช่อน แต่ปริมาณปลายังมีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการ ปัจจุบัน จังหวัดสิงห์บุรียังต้องนำเข้าปลาจากจังหวัดอ่างทอง ชัยนาท เดือนละประมาณ 10 ตัน เพื่อมาใช้ในร้านค้า ร้านอาหาร รวมถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาช่อน

ขณะที่ นายชูศักดิ์ เพ็ชร์พูล ประธานกรรมการวิสาหกิจชุมชน ศูนย์ผลิตข้าวอินทรีย์ลำแม่ลา จังหวัดสิงห์บุรี กล่าวว่า แม้ว่าปัจจุบันปลาช่อนแม่ลายังไม่ถึงกับสูญพันธุ์ เพราะปัจจุบันยังมี 2 พื้นที่ที่อนุรักษ์ไว้ คือบริเวณหมู่ที่ 10 ตำบลทับยา ที่มีแหล่งสงวนพันธุ์ปลา มีปลาหลากหลายสายพันธุ์ รวมทั้งปลาช่อนแม่ลาด้วย และบริเวณสวนสมเด็จย่า หน้าวัดแหลมคาง ตำบลบางระจัน ที่มีการอนุรักษ์พันธุ์ไว้ ซึ่งขณะนี้มีความพยายามจะฟื้นฟูและขยายพันธุ์ปลาช่อนแม่ลาขึ้นมาใหม่ รวมทั้งการฟื้นฟูระบบนิเวศโดยรอบลำน้ำแม่ลาด้วย โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม

“เนื่องจากที่ผ่านมาการปลูกข้าวที่ใช้สารเคมีในสองฟากฝั่งลำน้ำ ส่งผลต่อคุณภาพน้ำและปริมาณปลาในลำน้ำแม่ลาให้น้อยลงกว่าในอดีต ตอนนี้ได้จัดทำ “แม่ลาโมเดล” โครงการนาแปลงใหญ่ของจังหวัด ในพื้นที่หมู่ที่ 12 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มและทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ขณะนี้มีพื้นที่ที่ลงทะเบียนไว้ จำนวน 1,600 ไร่ มีเกษตรกร 65 ราย เพื่อให้เกษตรกรปลูกข้าวนาปีที่มีคุณภาพ มีรายได้ และส่งเสริมให้ทำอาชีพอื่น เช่น เลี้ยงปลาในช่วงที่ไม่ได้ปลูกข้าวด้วย” นายชูศักดิ์ กล่าว

นายนิติกร ปะจิราพัง ประธานกลุ่มทำอาชีพปั้นปูนลายไม้ หมู่ที่ 12 ตำบลวังแดง อำเภอตรอน เผยว่า จากความชอบศิลปะเป็นการส่วนตัว และเล็งเห็นว่าต้นไม้ลดน้อยลงทุกที อีกทั้งยังประสบปัญหาภัยแล้งและราคาข้าวก็ตกต่ำ จึงหันมาทำอาชีพปั้นปูนลายไม้ ทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้ง ชุดโต๊ะ เก้าอี้ กระถางต้นไม้ พื้นปูถนน โดยทำมา 5 ปีแล้ว ทำให้มีรายได้เพิ่มเป็นหลักหมื่นบาทต่อเดือน วิธีการทำ มี 7 ขั้นตอน คือ 1. เตรียมโครงลวดชิ้นงานเพื่อเป็นที่ยึดปูนตามขนาดที่ต้องการ 2. ผสมปูนอัตราส่วนทรายละเอียด 2 ส่วน ต่อปูน 1 ส่วน 3. เทปูนที่ผสมแล้วเพื่อเป็นพื้นกระถาง แล้วรอให้แห้ง 4. ใส่ทรายในชิ้นงานเพื่อจะได้ขึ้นรูปได้สะดวก 5. ฉาบปูนตามโครงลวด หนาประมาณ 1 เซนติเมตร 6. ฉาบปูนชั้นที่ 2 อัตราส่วน ทรายละเอียด 1 ส่วน ต่อปูน 1 ส่วน และขั้นตอนสุดท้าย ทำลายไม้ เปลือกไม้ ตามแบบซิลิโคน จากนั้นรอแห้ง แล้วลงสีให้แสงเงาได้งานปูนลายไม้ที่สวยงามเหมือนของจริง

ด้าน นายสายชล ชมน้อย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 12 ตำบลวังแดง กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอตรอน เข้ามาสนับสนุนโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน จึงเสนอให้รวมกลุ่มทำอาชีพปั้นปูนลายไม้ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านที่ว่างเว้นจากการทำนา โดยเริ่มรวมกลุ่มกันตั้งแต่ต้นปี 2560 พิจารณาจากผู้ที่มีรายได้น้อย ด้อยโอกาส และมีความสมัครใจ ลงผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทางโซเชี่ยลมีเดีย 2 เดือนกว่า มีคำสั่งซื้อเข้ามา เป็นทางเลือกที่ดีในการสร้างรายได้เสริม โดยพาะในช่วงหน้าแล้ง

นางสาววารุณี ศิริเจริญ พัฒนาการอำเภอตรอน กล่าวว่า กลุ่มปูนปั้นลายไม้ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอตรอน เข้ามาสนับสนุนโครงการสร้างสัมมาชีพชุมชน กลุ่มนี้ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างดี เพิ่งเริ่มต้นแต่ก็ได้รับการตอบรับดี และมีตลาดรองรับที่ดีอีกด้วย

หนอนหัวดำและแมลงดำหนามระบาดหนักช่วงฤดูร้อน ประจวบคีรีขันธ์จังหวัดเดียวมะพร้าวถูกทำลาย 6 หมื่นกว่าไร่ ชี้ยังแก้ไม่ตกจากเหตุฉีดยาฆ่าไม่พร้อมกันและมีการปล่อยสวนให้รกร้างสะสมโรค แมลง “ฉัตรชัย” เตรียมเสนอ ครม.ของบปราบ พร้อมใช้กฎหมายกักกินพืช ดัดหลังเจ้าของสวนที่ปล่อยปละละเลยแก้ปัญหาถาวร

นายมงคล จอมพันธ์ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ภายหลัง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่ตรวจสอบพื้นที่ปลูกมะพร้าวใน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดของประเทศกว่า 4.5 แสนไร่ กำลังถูกแมลงดำหนามและหนอนหัวดำเข้าทำลายหนักช่วงฤดูร้อนนี้ 6 หมื่นกว่าไร่ ว่า การที่ศัตรูมะพร้าวยังระบาดอยู่ในจังหวัดกินพื้นที่ค่อนข้างมาก คือ การฉีดยาฆ่าไม่พร้อมกันของชาวสวนและบางสวนไม่มีการดูแลปล่อยให้รกร้าง ทำให้เป็นแหล่งสะสมของโรคแมลง ซึ่งพื้นที่ 6 หมื่นกว่าไร่ แยกเป็นต้นมะพร้าวที่มีความสูง 12 เมตรขึ้นไปประมาณ 5-6 แสนต้น ที่จะต้องใช้ยาฉีดเข้าลำต้น 2 ข้างและต้นต่ำกว่า 12 เมตรอีกประมาณ 6 แสนต้นที่จะต้องใช้วิธีฉีดพ่น

ทางจังหวัดจะเสนอให้กรมวิชาการเกษตร พิจารณางบประมาณ สารเคมีที่จะใช้และการจัดจ้างผู้เจาะลำต้นฉีดยาไปให้กรมรวบรวมพร้อมกับอีก 27 จังหวัดเพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เสนอของบประมาณต่อคณะรัฐมนตรีภายในเร็ว ๆ นี้ ขณะเดียวกันก็จะมีการออกตรวจสอบล้งมะพร้าว ว่ามะพร้าวที่นำเข้ามาจากต่างประเทศมีศัตรูมะพร้าวติดมาด้วยหรือไม่ มีการนำเข้าถูกต้องหรือไม่ ซึ่งในส่วนนี้หลายหน่วยงานต้องร่วมมือกัน และในส่วนของสวนที่ปล่อยรกร้างทางภาครัฐจะมีการใช้กฎหมายเพื่อเข้าตรวจสอบ พื้นที่ รวมทั้งการกักกันพืชห้ามนำผลผลิตออกจากพื้นที่ด้วย

พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดหนอนหัวดำในมะพร้าว ณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา พร้อมด้วยนายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พบว่าพื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งประเทศ 1,240,874 ไร่ ใน 55 จังหวัด พบการระบาดของหนอนหัวดำ 28 จังหวัด พื้นที่รวม 78,954 ไร่ หรือประมาณ 6% ของพื้นที่ปลูกมะพร้าวทั้งประเทศ เบื้องต้นกระทรวงเกษตรฯ ได้กำหนดแนวทางการไขปัญหาระยะสั้น และระยะยาว 5 แนวทางหลัก คือ 1) เร่งตัดทางใบที่ถูกหนอนหัวดำทำลายและนำมาเผา 2) พ่นด้วยเชื้อ BT 3) ปล่อยแตนเบียน 4) พ่นสารเคมีทางใบ และ 5) ฉีดสารเคมีเข้าต้นตามหลักวิชาการที่ไม่ส่งผลต่อผู้บริโภค

ด้านนายสุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้วางแผนการดำเนินงาน 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ควบคุมการแพร่ระบาดของหนอนหัวดำ โดยดำเนินการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่พบการระบาด

2) สร้างความมั่นใจในการใช้สารเคมี และวิธีการทางวิชาการที่เหมาะสมในการควบคุมการแพร่ระบาด 3) การขอความร่วมมือจากเกษตรกรเจ้าของสวน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่จะช่วยผลักดันไม่ให้หนอนหัวดำแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่น นอกจากนี้ยังมีมาตรการควบคุมการระบาดจากต่างประเทศ โดยอนุญาตให้นำเข้ามะพร้าวจาก 4 ประเทศเท่านั้น

คือ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และเวียดนาม ซึ่งต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กรมวิชาการเกษตรกำหนดอย่างเคร่งครัด รวมทั้งกำลังเร่งดำเนินการประกาศเขตควบคุมศัตรูพืช โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบาดของหนอนหัวดำ และมาตรการสำรอง หากพบพื้นที่อื่นที่มีการแพร่ระบาดของหนอนหัวดำ และไม่ได้รับความร่วมมือจากเจ้าของสวน ก็จะใช้ พ.ร.บ.กักพืช ประกาศเป็นเขตควบคุมศัตรูพืช และบังคับใช้กฎหมายในระยะหนึ่ง เพื่อขจัดปัญหาการแพร่ระบาดของหนอนหัวดำให้หมดไปจากพื้นที่ที่มีการระบาด นายสุวิทย์กล่าว

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 เปิดอบรมพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจการเกษตรอาสาภาคใต้ ชูตัวอย่าง ผู้ประสบความสำเร็จ กล้าคิดและตัดสินใจ พลิกวิกฤตราคายางพาราตกต่ำ ให้เป็นโอกาส หันมาปลูกพืชผสมผสาน 6 ชนิด จำนวน 1,300 ต้น พร้อมนำศาสตร์ของพระราชามาเป็นแนวคิด ในการทำการเกษตร ประกอบกับแนวคิดเชิงนวัตกรรม ส่งผลให้ผลผลิตออกมาอย่างสม่ำเสมอ ได้คุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด

นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการสัมมนาโครงการพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจการเกษตรอาสา (ศกอ.) เพื่อขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ของพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของศกอ. ในพื้นที่ ให้เป็นแกนนำและถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกรยุคไทยแลนด์ 4.0

สำหรับองค์ความรู้สำคัญที่ ศกอ. www.sbobetsix.com ต้องมีเพื่อพัฒนาศักยภาพนั้น สศก. ได้ให้ความสำคัญให้ครอบคลุมอย่างรอบด้าน ทั้งด้านนโยบายของภาครัฐเพื่อให้ก้าวทันสถานการณ์ ตั้งแต่ภาคเกษตรไทยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาภาคการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) ที่สำคัญ ศกอ. จะต้องเป็นผู้ชี้นำในเรื่องของการนำเทคโนโลยี/นวัตกรรม มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับภาคการเกษตร สามารถนำเทคโนโลยี/นวัตกรรม มาใช้ในการทำกิจกรรมทางการเกษตรให้ได้กำไรสูงสุด โดยเฉพาะการนำแอพพลิเคชั่นกระดานเศรษฐีเกษตรกรมีโอกาส (OAE RCMO) มาใช้เพื่อสามารถดูชุดความเหมาะสมของชุดดิน และสามารถคำนวณต้นทุนกิจกรรมการผลิตได้ด้วยตนเอง ผ่านโทรศัพท์มือทั้งระบบ IOS และระบบ Android

ด้านนายพลเชษฐ์ ตราโช ผู้อำนวยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 9 จังหวัดสงขลา (สศท.9) กล่าวถึงการอบรมของ ศกอ. ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 9-10 มีนาคมที่ผ่านมาว่า มีตัวอย่างของ ศกอ. ที่ประสบความสำเร็จอย่าง คุณนัน ชูเอียด ประธานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านในกอย อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ได้เล่าสู่กันฟังถึงประสบการณ์ ที่ได้ตัดสินใจโค่นยางพารา 3 ไร่ มาปลูกพืชผสม ผสาน 6 ชนิด จำนวน 1,300 ต้น ประกอบด้วยต้นมะละกอ สละ หมาก กล้วย จำปาทอง และพริก ซึ่งเป็นการพลิกวิกฤตราคายางพาราตกต่ำ ให้เป็นโอกาส โดยนำศาสตร์ของพระราชามาเป็นแนวคิด ในการทำการเกษตร ประกอบกับแนวคิดเชิงนวัตกรรม ผสานกับการเปิดเพลงให้ต้นไม้ฟัง ส่งผลให้ผลผลิตออกมาอย่างสม่ำเสมอ และมีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งนับว่าเป็นแนวทางที่นำมาใช้ในการเกษตรได้จริง ถือเป็นปราชญ์เกษตรที่เป็นแบบอย่างในการทำการเกษตรยุคไทยแลนด์ 4.0 หากเกษตรกร ที่สนใจในการทำการเกษตรตามแนวทางของคุณนัน ชูเอียด หรือต้องการปรึกษา สามารถติดต่อได้ที่เบอร์ 087 837 7042

ผู้ว่า กยท.กลับลำ ยืนยันเปิดประมูลยางครั้งที่ 4 วันที่ 21-22 มี.ค.นี้ กลุ่มเกษตรกร-พ่อค้าสต๊อกยางส่อขาดทุนระนาว เหตุราคายางขึ้น-ลงวูบวาบเกินไป ระบุหลังประมูลครั้งก่อนทุบราคาหล่นกว่า 20 บาท/กก.

นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้ลงนามเรื่องยืนยันการประมูลขายยางแผ่นรมควันอัดก้อน ยางแท่ง STR20 และยางอื่น ๆ ครั้งที่ 4 และมีหนังสือด่วนที่สุดถึงผู้สนใจเข้าร่วมประมูลยางดังกล่าวเมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมา พร้อมทั้งมีประกาศของการยางแห่งประเทศไทยยืนยันการประมูลขายยางดังกล่าว โดยมีสาระดังนี้ ตามที่มีการนำเสนอข้อมูลผ่านสื่อสังคมออนไลน์เรื่องการเลื่อนประมูลยางแผ่นรมควันอัดก้อน ยางแท่ง STR20 และยางอื่น ๆ ครั้งที่ 4 ซึ่งอาจทำให้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง กยท.จึงขอยืนยันว่าการดำเนินการประมูลยางแผ่นรมควันอัดก้อน ยางแท่ง STR20 และยางอื่น ๆ ครั้งที่ 4 ในวันที่ 21-22 มีนาคม 2560 มิได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด

แหล่งข่าววงการยางพาราเปิดเผยว่า การประชุมของคณะอนุกรรมการระบายสต๊อกยางพาราของ กยท.เรื่องการเปิดประมูลยางในโกดังหลายแห่งที่ภาคใต้ ครั้งที่ 4 จำนวน 1.2 แสนตัน เมื่อวันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมาไร้ข้อสรุปว่าจะเปิดประมูลเมื่อใด แต่จะมีการประชุมอีกครั้งก่อนที่คณะกรรมการบริหาร กยท.จะเดินทางไปดูงานยางที่ประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 22 มีนาคมนี้ ขณะที่นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการ กยท.ยอมรับว่า จำเป็นต้องเลื่อนเวลาประมูล เนื่องจากราคายางต่างประเทศตกลงเมื่อวันที่ 14 มีนาคมที่ผ่านมา แต่ล่าสุดในช่วงเย็นวันที่ 16 มีนาคม นายธีธัชได้กลับลำกะทันหัน ประกาศประมูลยางครั้งที่ 4 ในวันที่ 21-22 มีนาคมนี้

“เรื่องนี้สร้างความประหลาดใจให้กับวงการยางมาก โดยเฉพาะมติของอนุกรรมการระบายสต๊อกยางวันที่ 9 มีนาคมเป็นอย่างไรกันแน่ เพราะเป็นเรื่องได้เสียในวงการยางมากพอสมควร ว่าทำไมคณะอนุกรรมการฯและนายธีธัชต้องกลับลำกะทันหัน กลัวว่าถ้าเลื่อนไปประมูลปลายเดือนมีนาคมนี้จะได้ราคาต่ำกว่านี้หรือไม่ เพราะการประมูลครั้งนี้จะอ้างอิงราคาซื้อขายยางในตลาด SICOM ของสิงคโปร์วันที่ 17 มีนาคมนี้เป็นหลัก ซึ่งล่าสุดราคายางในตลาดซื้อขายล่วงหน้าที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน วันที่ 17 มีนาคม 2560 เพิ่มขึ้น 530 หยวน/ตัน เป็น 18,230 หยวน/ตัน ดังนั้น นายธีธัชต้องออกมาอธิบายในเรื่องนี้ให้ชัดเจนอีกครั้ง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือต่อวงการยาง”