สำหรับเรื่องรายได้และค่าใช้จ่ายนั้น ก็จะแยกเป็น ค่าไฟฟ้า ค่าแรง

ส่วนรายได้นั้นก็จะมาจากค่าผัก สัปดาห์ละ 2 รอบ รอบละ 60 กิโลกรัม ขายในราคา กิโลกรัมละ 90 บาท ถ้า 2 รอบ ก็เป็นเงิน 10,800 บาท และ ใน 1 เดือน ส่ง 8 รอบ เป็นเงิน 86,400 บาท

เมื่อหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว จะมีรายได้ตกเดือนละ 56,500 บาท เป็นอย่างต่ำ หรือบางเดือนมียอดสั่งจากลูกค้าเพิ่มขึ้น รายได้ก็จะเพิ่มขึ้น เป็นเดือนละ 70,000 บาท ก็มี และในช่วงเทศกาลสำคัญๆ ยอดสั่งผักจะเยอะหน่อย รายได้ก็จะเพิ่มขึ้นไปอีก

สำหรับการปลูกและการบำรุง ดูแลรักษานั้นเจ้าของบอกว่า อันดับแรกเป็นการเพาะเมล็ดใส่ในฟองน้ำ ใส่ถาดไว้ 7-10 วัน จะเริ่มมีใบเลี้ยง แล้วย้ายลงแปลงอนุบาล อนุบาลหรืออยู่ในแปลงอนุบาล 14 วัน

และเมื่อครบ 21 วัน ก็ย้ายลงแปลงปลูก รวมระยะเวลาตั้งแต่วันปลูก จนถึงวันเก็บเกี่ยว 40-45 วัน ซึ่งที่นี่เลี้ยงด้วยปุ๋ยแบบอ่อน เพื่อไม่ให้เป็นการสะสมไนเตรตในผัก และก่อนการเก็บเกี่ยวจะมีการตรวจไนเตรตทุกครั้ง

ส่วนเรื่องของแมลงและหนอน จะใช้สารชีวอินทรีย์ในการบำรุงพืช เพิ่มผลผลิต กำจัดแมลงและโรคใบจุด ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่าในการกำจัดโรคพืช และใช้เชื้อ บีที น้ำสกัดจากใบยาสูบในการป้องกันแมลง และสารอินทรีย์เข้ามาเสริมในการปลูก เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

ในปัจจุบัน เจริญโชคไฮโดรโปนิกส์ ฟาร์มผักปลอดสารพิษ ของ คุณเจริญโชค ได้รับความสนใจจากชุมชนและหน่วยงานราชการต่างๆ โดยมีกลุ่มอาชีพจากที่ต่างๆ รวมทั้งส่วนราชการมาดูงานกันเป็นระยะๆ อีกทั้งบางหน่วยงานราชการหรือเอกชน ยังได้เชิญเจ้าของไปบรรยายให้ความรู้และสาธิตการปลูก ตลอดจนการดูแลบำรุงรักษาผักไฮโดรโปนิกส์อีกด้วย

สุดท้าย คุณเจริญโชค ฝากเชิญชวนเพื่อนพ้องน้องพี่ชาวเกษตรกรหรือผู้ที่ประกอบอาชีพอื่นให้หันมาปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ว่า ปัจจุบันนี้ ในเมืองที่มีประชากรหนาแน่น อย่างเช่น เนเธอร์แลนด์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น ต่างนิยมปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เนื่องจากว่าเป็นผักที่สดและปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง มีรสชาติดี มีคุณค่าทางโภชนาการสูง

มีพื้นที่น้อยหรือมากก็ปลูกได้ และเป็นผักที่เจริญเติบโตเร็ว ให้ผลผลิตได้เร็วกว่าการปลูกพืชผักในดิน ประมาณ 2 สัปดาห์ อีกทั้งยังประหยัดน้ำกว่าปลูกในดินถึง 10 เท่า ปลูกได้ทั้งในฤดูแล้งหรือนอกฤดูกาล ให้ผลตอบแทนที่สูง ไม่มีวัชพืชมารบกวน ประหยัดต้นทุนต่างๆ เช่น ค่าแรงงาน เพราะไม่ต้องเตรียมดิน ไม่ต้องยกร่อง ไม่มีค่าปุ๋ย ค่ากำจัดวัชพืช

และหากเกษตรกรท่านใด ต้องการมาศึกษาดูงานที่ฟาร์มผัก เจริญโชคไฮโดรโปนิกส์ ของคุณเจริญโชค ก็ขอให้ตรงไปตามที่อยู่ข้างต้น แต่ขอให้โทร.นัดหมายล่วงหน้าก่อน ที่หมายเลขโทรศัพท์ 064-840-1291 เพราะว่าบางวันต้องเดินทางไปเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานราชการ หรือภาคเอกชน ตลอดจนสถานศึกษาต่างๆ หากพี่น้องเกษตรกรมาโดยมิได้นัดหมายอาจจะไม่เจอ

“ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ” คุณเจริญโชค หรือ คุณอู๊ด กล่าวเมื่อวันที่ 27 ก.พ. นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) กล่าวว่า วันนี้ (27 ก.พ.) สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ เปิดสายด่วน 1386 กด 3 เพื่อเป็นช่องทางให้ประชาชนสอบถามปัญหา รายละเอียดเกี่ยวกับกัญชา สืบเนื่องจาก พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) มีผลบังคับใช้และประชาชนหลายภาคส่วนให้ความสนใจในกฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับกัญชา ไม่ว่าจะเป็นการผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก ครอบครองหรือเสพ ประกอบกับขณะนี้มีการนำเรื่องกัญชามากำหนดเป็นนโยบายของพรรคการเมืองในการรณรงค์หาเสียงด้วย อาจทำให้ประชาชนสับสน

เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวอีกว่า กัญชา ยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครอง หรือเสพ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดและมีโทษตามกฎหมายทั้งจำคุกหรือปรับ เพียงแต่กฎหมายผ่อนปรนให้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และการศึกษาวิจัยเท่านั้น ซึ่งการอนุญาตให้ผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออกและครอบครอง ในช่วง 5 ปี ต่อจากนี้รัฐจะดำเนินการเอง หรือหากเป็นเอกชนต้องเป็นการดำเนินการร่วมกับรัฐ ซึ่งจะมีการกำหนดมาตรการกำกับดูแลในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนที่จำเป็นต้องเข้าถึงสารสกัดจากกัญชาในการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยจากโรคที่สามารถบำบัดรักษาได้และเพื่อผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานใดหากยังไม่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะประชาชนทั่วไป ยังไม่สามารถปลูกกัญชา หรือใช้สารสกัดจากกัญชาในการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยได้

“เราเป็นฟาร์มออร์แกนิคแบบครบวงจร ที่ได้รวบรวมผัก ผลไม้ และเห็ดสดนานาชนิด โดยการคัดสรรผลิตผลที่ได้ด้วยคุณภาพมาตรฐาน สด…ใหม่ ปลอดสารพิษ ด้วยมาตรฐานการรับรองเกษตรอินทรีย์ นอกเหนือจากนั้นยังมีผลิตภัณฑ์ Homemade Premium ที่ผลิตสดใหม่ สะอาด และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง

เราจึงภูมิใจในผลิตภัณฑ์คุณภาพ ภายใต้ชื่อแบรนด์ “greenME” ที่พร้อมมอบความมั่นใจสูงสุด ให้แก่ทุกท่านที่ห่วงใยในสุขภาพ อีกทั้งเรายังสร้างสรรค์พัฒนาให้ฟาร์มแห่งนี้…เป็นแหล่งเรียนรู้ สถานที่พักผ่อน และแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ซึ่งเรายินดีต้อนรับ และเปิดบริการให้เข้าเยี่ยมชมทุกวัน”

ประโยคเหล่านี้เป็นคำอธิบายผลิตภัณฑ์ของ กรีนมี ออร์แกนิคฟาร์ม ซึ่งตั้งอยู่ที่ ตำบลหนองสาหร่าย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในเนื้อที่ 43 ไร่ โดย คุณอุบลรัช อาภาพันเลิศ และครอบครัว รวมถึงหุ้นส่วนชาวต่างชาติเป็นเจ้าของธุรกิจ

ที่นี่นอกจากจะปลูกพืชผักนานาชนิดแล้ว ยังเพาะเห็ด เลี้ยงสัตว์ แปรรูปผลิตภัณฑ์ในฟาร์ม เปิดเป็นโฮมสเตย์หรือฟาร์มสเตย์ให้ลูกค้ามาพักและมาเรียนรู้วิถีเกษตรอินทรีย์ ทั้งยังเปิดร้านกาแฟอีกด้วย

คุณอุบลรัช เล่าถึงที่มาที่ไปของการทำฟาร์มดังกล่าวว่า เริ่มต้นจากการที่ตัวเองและครอบครัวบริโภคผัก ผลไม้ ออร์แกนิคกันอยู่แล้ว สมัยก่อนหาซื้อยากมาก เลยอยากปลูกไว้รับประทานเอง ถ้าเหลือถึงค่อยขาย ก่อนหน้านี้ยังไม่มีความรู้ เป็นการทำแบบลองผิดลองถูก และศึกษาหาความรู้จากผู้รู้ทั้งหลาย โดยก่อนลงมือปลูกก็ปล่อยผืนดินไว้ 2 ปี ตามข้อกำหนดของการทำเกษตรอินทรีย์ เพราะชาวบ้านแถวนั้นปลูกพืชเชิงเดี่ยวมานาน

ช่วงแรกขณะที่รอการพัฒนาฟื้นฟูผืนดินให้อุดมสมบูรณ์ ทางฟาร์มใช้วิธีเพาะเห็ดตามคำแนะนำของคุณแม่คุณอุบลรัช ซึ่งเคยมีประสบการณ์ในการเพาะเห็ดมาก่อน โดยทำเป็นโรงเรือน ซึ่งมีเห็ดหลากหลายสายพันธุ์

คุณอุบลรัช บอกว่า ที่ฟาร์มเน้นเรื่องการบริหารจัดการที่ใช้คนน้อย และดูแลง่าย อย่างเช่น จัดทำโซนนิ่งของพืชผักแต่ละชนิด แบ่งตามระยะเวลา อย่างพืชระยะสั้น เช่น ผักสลัดต่างๆ ระยะยาวมี เสาวรส ข้าวนาปี ผลไม้ชนิดต่างๆ เห็ดนางรม นางฟ้า และสัตว์เลี้ยง

พร้อมกับวางระบบน้ำ เพื่อให้พนักงานควบคุมได้ง่าย ใช้น้ำไม่เยอะ และให้ธรรมชาติดูแลกันเอง จนมาถึงตอนนี้ฟาร์มปลูกพืชผัก เห็ด ผลไม้ รวมๆ กันประมาณ 70 อย่าง โดยเน้นให้ปลูกแต่ละชนิดตามฤดูกาล ฉะนั้น ลูกค้าที่มาในแต่ละรอบจะได้รับประทานหรือซื้อพืชผักอินทรีย์ที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปเรื่อยๆ

สำหรับรายได้หลักของฟาร์ม เธอแจงว่า ในส่วนของสินค้าสด เป็นเห็ดนางรม นางฟ้า ที่มีบริษัทมารับซื้อ และผักสลัด ผลไม้ ที่จำหน่ายหน้าฟาร์ม

ในส่วนการเพาะเห็ดให้ได้คุณภาพนั้น คุณอุบลรัช ให้ข้อมูลว่า เริ่มที่ความใส่ใจ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตก้อนเชื้อ ใส่วัตถุดิบอาหารเห็ดที่ดี นึ่งก้อนเชื้อให้สุก คอยดูแลความสะอาดโรงเรือน ควบคุมอุณหภูมิ และความชื้นในโรงเพาะเห็ด ที่สำคัญคือ หลังคาโรงเรือนต้องสูง จะได้ไม่ร้อน วัดกันแบบง่ายๆ คือ พอเข้าไปแล้วรู้สึกสบายตัว อยากอยู่นานๆ เพราะเย็นสบาย ซึ่งจะทำให้เห็ดตระกูลนางรม นางฟ้า ออกดอกดี แต่ถ้าจะให้ดีก็ใช้เครื่องวัดอุณหภูมิด้วย

เจ้าของฟาร์มกรีนมี ออร์แกนิค ถ่ายทอดประสบการณ์ให้ฟังว่า ที่ฟาร์มปลูกผักสลัดแล้วหวานกรอบอร่อย เพราะใช้ก้อนเชื้อเห็ดเก่าเป็นปุ๋ยชั้นดี โดยนำมาหมักกับปุ๋ยคอกและใส่ดินเพิ่มเติม ซึ่งนอกจากจะเป็นวัสดุเพาะชั้นเยี่ยมแล้วยังเป็นการบริหารจัดการของเสียให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย ส่วนปุ๋ยที่ใช้มีทั้งปุ๋ยหมัก และปุ๋ยน้ำ เพราะพืชก็เหมือนคน ใส่ปุ๋ยให้อาหารหลักและอาหารเสริมที่หลากหลาย

อย่างที่เกริ่นไปแต่แรก ฟาร์มนี้เปิดให้ผู้คนได้มาเรียนรู้ด้วย แต่จะรับเฉพาะกลุ่มที่จองมาเท่านั้น ซึ่งล้วนเป็นกลุ่มที่สนใจงานเกษตรจริงๆ จะได้มาเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆ เช่น การดำนา เกี่ยวข้าว เพราะที่ฟาร์มปลูกทุกอย่างตามฤดูกาล มีการทำก้อนเชื้อเห็ด เก็บเห็ด ปลูกผัก ให้อาหารสัตว์เลี้ยง และขับรถไถ

ขายผลผลิตหน้าฟาร์ม

คุณอุบลรัช ว่า ผลผลิตช่วงปีแรกนำไปขายที่ตลาดใกล้ๆ ฟาร์ม รายได้เริ่มต้นที่ร้อยกว่าบาท เพราะทั้งแจกทั้งแถม และเคยนำผลิตภัณฑ์ส่งเข้าห้าง ทั้งในปากช่องและนครราชสีมา แต่ก็ไม่ตอบโจทย์การทำงานของฟาร์ม เนื่องจากไม่ได้ใช้พนักงานเยอะ

การบริหารจัดการจึงต้องมีประสิทธิภาพมากที่สุด ขณะที่การขายสินค้ากับทางห้างนอกจากจะใช้เวลาในการขนส่ง ระยะเวลานานกว่าจะเก็บเงินได้ ยังต้องส่งพนักงานไปประจำบู๊ธ และยังมีการคิดส่วนต่างของสินค้าที่สูง ซึ่งเป็นเรื่องปกติของทางห้าง สรุปเลยขายอยู่ที่หน้าฟาร์ม

“กว่าจะได้ผลผลิตแต่ละอย่างนั้น เราทำทุกกระบวนการด้วยความประณีตและตั้งใจ อยากให้ลูกค้าได้ของที่สดใหม่ มีคุณภาพ จึงเลือกที่จะจำหน่ายที่หน้าฟาร์ม อย่างเห็ดนางรม นางฟ้า ดอกอ่อนหวานกรอบ ขีดละ 25 บาท กิโลละ 250 บาท เริ่มต้น ผักสลัด ขีดละ 30 บาท กิโลละ 300 บาท ลูกค้าสามารถตัดเองได้ ถ้านัดล่วงหน้า”

ว่าไปแล้ว คุณอุบลรัช และครอบครัวแปรรูปผลิตภัณฑ์ทุกอย่างในฟาร์ม อย่างที่เธอเล่า ผู้ที่อยากทำเกษตร ควรต่อยอดเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ เพราะการทำเกษตรโดยฉพาะเกษตรอินทรีย์ ส่วนมากจะได้ผลผลิตที่รูปร่างหน้าตาไม่สวย ซึ่งไม่ได้แปลว่าไม่มีคุณค่า แต่ควรจัดแจงแปลงรูปทำให้คนเข้าถึงอาหารคุณภาพเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น

อย่างของที่ฟาร์ม คุณแม่จะทำของโฮมเมดแนวคลีนๆ ที่ต้องอร่อยและดีต่อสุขภาพ ตั้งแต่เห็ดอบกรอบ แยมผลไม้โฮมเมด หวานน้อย เน้นผลไม้เยอะๆ กล้วยสติ๊ก ชาสมุนไพร น้ำสลัด กิมจิหน่อไม้ และอีกมากมาย ซึ่งเป็นผลผลิตของฟาร์มที่ออกตามฤดูกาล

อาหารแปรรูปที่โดดเด่นของฟาร์ม ซึ่งพูดได้ว่าเป็นจุดเด่นที่ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใครก็คือ “กิมจิหน่อไม้”

คุณอุบลรัช บอกว่า ได้ไอเดียตอนไปดูงานที่เกาหลี ตอนนั้นยังไม่ได้ปลูกผักกาดในฟาร์ม มองไปก็เจอแต่หน่อไม้เพราะทำเกษตรอินทรีย์ต้องมีแนวกันชน คุณแม่จึงได้ไอเดียทำกิมจิหน่อไม้แบบรสชาติถูกปากคนไทยทีเดียว

วิธีการทำไม่ยากเลย เริ่มจากนำหน่อไม้มาปอกเปลือกล้างน้ำหั่นชิ้นตามชอบ แล้วหมักเกลือค้างคืน เช้าล้างน้ำออกให้หายเค็ม แล้วนำไปต้มให้สุกแล้วมาทำพริกปรุง โดยใส่กระเทียม หอมใหญ่ สาลี่ แอปเปิ้ล ต้นหอม กุยช่าย น้ำปลาต้องน้ำปลาเกาหลี หาซื้อได้ตามห้างค่ะ น้ำตาลทรายแดง นำมาคลุกรวมกันชิมดูรสชาติ ชอบแบบไหน แล้วนำหน่อไม้ที่ต้มจืดแล้วนำมาคลุกบรรจุกล่อง เก็บเข้าตู้เย็น จะเก็บได้ 3 เดือน ซึ่งกิมจิ มีโพรไบโอติกธรรมชาติ ช่วยในการย่อยอาหารด้วย

เปิดฟาร์มสเตย์ให้พัก

ในส่วนของฟาร์มสเตย์นั้น เธอระบุว่า ตอนแรกไม่ได้ตั้งใจจะเปิด พอเพื่อนต่างชาติมาพักหลายๆ คน ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าให้ใช้ห้องที่มีอยู่เปิดเป็นที่พัก เลยเริ่มจากการจองใน Airbnb ก่อน เนื่องจากห้องมีแค่ 5 ห้อง คิดค่าห้องพัก รวมอาหารเช้า คืนละ 1,500 บาท และแขกส่วนใหญ่ที่มาพักจะมาทำกิจกรรมกับทางฟาร์ม อยากช่วยตรงไหน ทำอะไร สามารถทำได้หมดเลย เพราะอยากให้ลูกค้าได้ประสบการณ์ที่ดีๆ กลับไป

เธอและหุ้นส่วนชาวต่างชาติ วางแผนในอนาคตของกรีนมี อยากให้เป็นฟาร์มออร์แกนิคที่ทุกคนต้องมา ไม่ใช่แค่มาครั้งเดียว แต่มาหาซ้ำๆ หลายครั้ง ด้วยความที่กรีนมีเป็นหนึ่งในฟาร์มออร์แกนิคของเมืองไทยที่เป็นตัวจริง ที่สำคัญเน้นสไตล์การบริหารจัดการในรูปแบบของการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า โดยกรีนมีกำลังจะปรับโฉมและคาแร็กเตอร์ของฟาร์มให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของครอบครัวให้มากขึ้น

“ตอนนี้กำลังทำคาเฟ่ ตัวตึกจะออกแนวอังกฤษหน่อย จะทำสวนผักสไตล์ฝรั่ง ที่สวย เรียบง่าย และใช้ได้จริง เพื่อให้คนที่มาเยี่ยมเราได้เห็นไอเดียไปทำเอง ภายในปีนี้จะได้เห็นรูปแบบใหม่ของฟาร์ม ที่ผ่านมาเราค่อยๆ ปรับ ตั้งแต่การปลูกทุกอย่างที่เราชอบ ปริมาณไม่ต้องเยอะ แต่คุณภาพต้องได้เน้นๆ เพราะจะดูแลได้ทั่วถึง จากที่เน้นว่าเคยอยากผลิตเพื่อส่งออก จากนั้นก็มาทบทวนแผนธุรกิจใหม่ ด้วยมุมมองใหม่ โดยการปรับให้เป็นออร์แกนิคฟาร์ม & คาเฟ่ และสินค้าเพื่อการส่งออกในอนาคตจะแยกจากกันโดยสิ้นเชิง”

เน้นปรับปรุงดินสม่ำเสมอ

ถามถึงปัญหาอุปสรรคของการทำฟาร์มออร์แกนิค เธอแจกแจงให้ฟังว่า เป็นปัญหาการทำงานกับธรรมชาติ เนื่องจากเป็นฟาร์มออร์แกนิค สัตว์น้อยใหญ่ที่ไม่ได้รับเชิญก็เข้ามาช่วยกินผลผลิต เพราะรู้ว่าที่นี่มีอาหารปลอดภัย ใช้น้ำหมักไล่ ใช้ตาข่ายกั้น ก็ไม่ได้ผล 100% จึงต้องเรียนรู้ในการหาวิธีป้องกันหลายๆ ทาง และมองว่าเป็นการแบ่งๆ กันกิน

คุณอุบลรัช บอกว่า วิธีแก้ปัญหาเรื่องโรคพืชหรือแมลงที่ทางฟาร์มใช้อย่างหนึ่งคือ เน้นให้ธรรมชาติดูแลกันและกัน ปลูกพืชที่พึ่งพาส่งเสริมกัน อีกทั้งการทำเกษตรอินทรีย์คือการไล่ และป้องกัน ไม่ใช่การฆ่า เพราะฉะนั้นเลยทำน้ำหมักสมุนไพร สารสกัดสะเดา น้ำส้มควันไม้บ้าง สลับกันไป

สิ่งสำคัญที่เน้นคือ ต้องทำฟาร์มให้สะอาดไม่รกมาก เพราะถ้ารกจะเป็นที่อยู่อาศัยของสารพัดสัตว์ และโรคต่างๆ ที่สำคัญคือ ต้องปรับปรุงบำรุงดินสม่ำเสมอ เมื่อดินดี ปลูกอะไรเขาก็ให้ผลผลิตดี ขณะเดียวกันการเกษตรสมัยใหม่ต้องหมั่นเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยงาน

นอกจากนี้ ปัญหาการจัดการบริหารทรัพยากรธรรมชาติ ก็เป็นอีกเรื่องที่จัดการไม่ง่ายเลย เช่น น้ำ และพื้นที่ ทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่ใช้คนดูแลน้อยที่สุด ทางฟาร์มเองกำลังวางระบบ ก็มีปรับแก้กันเรียนรู้กันไป อย่างไรก็ตาม คิดว่าปัญหาและอุปสรรคเป็นเรื่องท้าทาย

ในการบริหารจัดการฟาร์มแห่งนี้ คุณอุบลรัช ระบุว่า คนในครอบครัวเป็นเกษตรกรแนวที่ชอบความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะดวกสบายในระดับหนึ่ง และอยากให้คนเข้ามาที่ฟาร์มเห็นความสะอาดและเป็นระเบียบ ด้วยเหตุนี้ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน ระบบน้ำ ระบบไฟ ที่อยู่ใต้ดิน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ถนนและพนักงาน ทางกรีนมีเองมีนโยบายเน้นการใช้พลังงานธรรมชาติ จึงมีการใช้ระบบโซล่าร์เซลล์ ทั้งปั๊มน้ำ ไฟถนน ระบบน้ำร้อน ซึ่งใช้งบประมาณสูงพอสมควรในช่วงเริ่มต้น แต่ถ้ามองระยะยาวแบบไม่คิดมาก เป็นการใช้พลังงานสะอาด อีกทั้งการดูแลไม่ยุ่งยาก

“ส่วนเรื่องการได้ทุนคืนเมื่อไรนั้น ไม่ได้มองเป็นเรื่องสำคัญ เพราะฟาร์มนี้ทำขึ้นมาจากความฝัน ความชอบ และความตั้งใจดีที่อยากจะเป็นแหล่งผลิตอาหารคุณภาพเยี่ยมให้ลูกค้า พร้อมกับความตั้งใจให้ฟาร์มเลี้ยงตัวเองได้ และลูกค้าที่มาหาได้รับความรู้ แรงบันดาลใจ ได้รับประทานอาหารปลอดภัย ที่อร่อยๆ จากกรีนมี เพียงแค่นี้ก็ปลื้มแล้ว”

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงกำลังผลักดันความช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันที่ประสบปัญหาราคาผลปาล์มน้ำมันตกต่ำ จากปริมาณผลปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นกว่า 8% ทำให้ปริมาณสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบในระบบสูงขึ้น

โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คาดมีผลผลิตปาล์มทะลายเพิ่มจาก 15.4 ล้านตัน เป็น 16.8 ล้านตัน สกัดเป็นน้ำมันปาล์มดิบได้ประมาณ 2.7 ล้านตัน ส่วนนี้บริโภครวม 2.5 ล้านตัน ก็จะเหลือสต๊อกส่วนต่าง 2 แสนตัน ถือว่าเหมาะสม

ดังนั้น จึงต้องเร่งระบายสต๊อกส่วนเกินคงค้าง โดยในส่วนนี้เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบงบกลาง 525 ล้านบาท เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อใช้ในการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับซื้อน้ำมันปาล์มดิบส่วนเกิน จำนวน 160,000 ตัน ในราคากิโลกรัมละ 18 บาท นำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยกระทรวงพาณิชย์จัดหาน้ำมันปาล์มดิบให้แก่ กฟผ. เพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า

นางสาวชุติมา กล่าวว่า เปิดรับสมัครผู้ประสงค์จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบให้แก่ กฟผ. ตั้งแต่ วันที่ 2 มกราคม 2562 ล่าสุด มีผู้ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้จำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบให้แก่กฟผ. แล้ว 125,000 ตัน หรือ 78% ของเป้าหมาย 160,000 ตัน

และเพื่อให้ได้ตามเป้าหมายได้ขยายระยะเวลารับสมัครถึงวันที่ 1 มีนาคม 2562 น้ำมันปาล์มดิบที่เสนอขายให้แก่ กฟผ. ทั้ง 160,000 ตัน จะถูกดูดซับออกจากระบบ ไม่นำมาหมุนเวียนจำหน่ายในระบบการค้าปกติ ดังนั้น หลังวันที่ 1 มีนาคม 2562 จะมีสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบคงเหลือในระบบไม่เกิน 215,000 ตัน ซึ่งเป็นระดับสมดุลที่จะช่วยรักษาเสถียรภาพราคาผลปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม และช่วยยกระดับราคาผลปาล์มน้ำมันให้แก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มได้ตามเป้าประสงค์ของรัฐบาล

นางสาวชุติมา กล่าวว่า สำหรับข้อกังวลต่อกระแสข่าวการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์ม เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มและผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม มีความมั่นใจว่าจะไม่มีการลักลอบนำน้ำมันปาล์มเข้ามาสร้างปัญหากระทบต่ออุปสงค์อุปทานในประเทศ กระทรวงพาณิชย์จะส่งหน่วยเคลื่อนที่เร็วออกตรวจสต๊อกน้ำมันปาล์มดิบในแหล่งผลิตสำคัญเป็นกรณีพิเศษอย่างเข้มงวดทุกสัปดาห์ โดยเริ่มตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2562 และจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสกัดกั้นการลักลอบนำเข้าน้ำมันปาล์มทุกรูปแบบ

นางสาวชุติมา กล่าวว่า ท่ามกลางความผันผวนของอุปสงค์อุปทานและราคาน้ำมันปาล์มในตลาดโลก กระทรวงพาณิชย์เชื่อมั่นว่ามาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ โดยใช้น้ำมันปาล์มดิบส่วนเกินผลิตกระแสไฟฟ้า จะช่วยดูดซับน้ำมันปาล์มดิบในระบบและช่วยยกระดับราคาผลปาล์มน้ำมันให้แก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มได้ สำหรับมาตรการป้องปรามการลักลอบนำเข้า จะช่วยสกัดปัญหาจากภายนอกไม่ให้กระทบต่ออุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มในประเทศ พร้อมกันนี้ ขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมมาตรการปรับสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศเพื่อช่วยยกระดับราคาให้เกษตรกรชาวสวนปาล์ม รีบยื่นใบสมัครเพื่อจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบให้แก่ กฟผ. ได้ที่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ หรือโรงงานหรือคลังเก็บน้ำมันปาล์มดิบ ภายในวันที่ 1 มีนาคม 2562

นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมการค้าภายในได้ให้ความสำคัญ ในการรักษาความเป็นธรรมให้กับเกษตรกร จึงได้จัดทีมออกตรวจสอบเครื่องชั่งในการรับซื้อสินค้าเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งผลผลิตกำลังออกสู่ตลาด ทั้งข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา เพื่อให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมในการขายสินค้าและสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการปกป้องประโยชน์ของกลุ่มเศรษฐกิจฐานราก สร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจท้องถิ่นและสร้างความเป็นธรรมทางการค้า โดยได้ปล่อยขบวนรถสายตรวจ ตรวจเครื่องชั่งรับซื้อสินค้าเกษตร จำนวน 23 สาย เจ้าหน้าที่ประจำสายตรวจ จำนวน 70 คน ไปที่จุดรับซื้อใน 20 จังหวัด ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 12-15 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา

ผลจากการตรวจสอบเครื่องชั่งและเครื่องวัดพืชไร่ในพื้นที่ 20 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 526 แห่ง เครื่องชั่ง 643 เครื่อง พบว่ามีเครื่องชั่งถูกต้อง 580 เครื่อง ผิด 63 เครื่อง จึงได้ดำเนินการทำเครื่องหมายห้ามใช้ จำนวน 13 เครื่อง ยึดเครื่องชั่ง จำนวน 10 เครื่อง และดำเนินคดี 40 ราย โดยเปรียบเทียบปรับ จำนวน 39 ราย ฐานความผิด ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง (ไม่มีเครื่องหมายคำรับรอง และคำรับรองสิ้นอายุ) รวมค่าเปรียบเทียบปรับ เป็นจำนวนเงิน 380,000 บาท และส่งพนักงานสอบสวนเพื่อกล่าวโทษ จำนวน 1 ราย ฐานความผิดตามมาตรา 74 (3) ทำลายเครื่องหมายคำรับรองของพนักงานเจ้าหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 280,000 บาท

อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมการค้าภายในมีความเชื่อมั่นว่าการดำเนินการในครั้งนี้จะทำให้เกษตรกรได้รับความเป็นธรรมในการใช้เครื่องชั่งน้ำหนักซื้อขายสินค้าเกษตรที่มีน้ำหนักครบถ้วนถูกต้อง และได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ออกตรวจสอบอย่างต่อเนื่องในทุกท้องที่ ทั้งนี้ หากเกษตรกรไม่ได้รับความเป็นธรรมในการใช้เครื่องชั่งในการซื้อขายสินค้าเกษตร สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน 1569 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ

จนถึงปัจจุบันนี้ คงเข้าใจตรงกันแล้วนะครับ ว่า “พริก” (Chilli) นั้น ไม่ใช่พืชพื้นเมืองของดินแดนแถบนี้ มันมาจากทวีปอเมริกา แพร่เข้ามากับเรือสำเภาค้าขายทางไกลในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 และเป็นที่นิยมนำมาปรุงแต่งรสเผ็ดร้อนในอาหารอย่างรวดเร็ว เพราะขึ้นง่าย ดูแลรักษาไม่ยาก จนชั่วเวลาไม่ถึง 2 ศตวรรษ มันก็เบียดขับ “ของเผ็ด” เดิมๆ อย่าง ดีปลี พริกไทย มะแขว่น ตกขบวนไปหมด แล้วก็เสนอตัวเข้ามาเป็นวัตถุดิบหลักในอาหารไทยและเพื่อนบ้านชาวอุษาคเนย์อย่างเหนียวแน่นจนถึงปัจจุบัน

ผมพูดราวกับว่าพริกมีชีวิต ที่จริงไม่ใช่หรอกครับ เกือบทั้งหมดของความเปลี่ยนแปลงทั้งหลายทั้งมวลในโลกล้วนมาจากคน ในกรณีของพริก มันถูกทดลองเอาไปทำนู่นนี่นั่น ถูกกำหนดราคาสูงต่ำตามคุณภาพของพันธุ์ที่นิยมกันว่าอร่อย แถมยังมีการดัดแปลงปรับปรุงให้มีระดับความเผ็ด เนื้อสัมผัส ความเลื่อมมันของผิว ฯลฯ รองรับวัฒนธรรมอาหารเมืองที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย