สำหรับโรงเรือนของสวนอากง จะมี 3 โรงเรือน โรงใหญ่ขนาด

ความกว้างโรงเรือนเล็ก 2 โรง มีขนาดกว้าง 11 เมตร ยาว 24 เมตร โรงใหญ่จะวางกระถางมังกรได้ จำนวน 500 กระถาง ปลูกกระถางละ 2 ต้น ในหนึ่งโรงเรือนจึงจะได้ 1,000 ต้น เมื่อต้นมะเขือเทศตั้งตัวได้ก็จะเริ่มให้ปุ๋ยเคมีผ่านทางน้ำ โดยมากน้อยตามขนาดต้น แต่ให้เพียงเจือจางทุกวัน เช้า กลางวัน เย็น ส่วนหน้าฝนอาจให้เพียงบางเวลา เพราะอากาศชื้นเพียงพอ

ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ถึง 2 เดือนครึ่ง ก็จะเริ่มเก็บผลได้ เก็บได้ 6 สัปดาห์ ก็จะหยุดเก็บเนื่องจากผลผลิตมีน้อยลง โดยจะรื้อต้นและวัสดุปลูกออกจากโรงเรือนทั้งหมด ซึ่งถ้าเป็นแปลงปลูกมะเขือเทศอื่นจะบำรุงต้นเพื่อรอผลผลิตรุ่นสอง แต่ทางสวนอากงเลือกที่จะหยุดการปลูก เนื่องจากศัตรูพืชและโรคพืชเริ่มเข้ามารบกวน โดยเลือกปลูกใหม่ดีกว่าการประคบประหงมต้นอีกครั้ง

เมื่อขนกระถางออกหมด ก็จะล้างทำความสะอาดโรงเรือนทั้งหมด ใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน ก็จะฉีดยาฆ่าเชื้อโรคและพักโรงเรือนไว้ 7 วัน หลังจากนั้น ก็จะนำกระถางและดินปลูกเข้าในโรงเรือนและนำต้นกล้าที่เพาะไว้มาปลูกใหม่หมุนเวียนแบบนี้เรื่อยๆ

รสชาติของมะเขือเทศสายพันธุ์นี้จะมีกลิ่นน้อย และไม่มีเมล็ด เนื้อไม่เละ หวานติดเปรี้ยว ต่างกับมะเขือเทศทั่วไปที่มีกลิ่นไส้ในเละ มะเขือเทศองุ่นจะขายอยู่หน้าเพจ อากงฟาร์ม และที่กรูเมต์มาร์เก็ต ในสยามพารากอน เอ็มควอเทียร์ และ เอ็มโพเรียม 3 สาขา ราคาขายปลีก แพ็กละ 160 บาท มีน้ำหนัก 400 กรัม หรือกิโลกรัมละ 400 บาท ส่วนในเพจจะมีค่าส่ง กล่องละ 50 บาท 2 กล่องขึ้นไป 100 บาท ผลผลิตมะเขือเทศองุ่นจะเก็บสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในวันพฤหัสบดี ปัจจุบัน ผลผลิตยังน้อยอยู่ เฉลี่ยประมาณคราวละ 60 กิโลกรัม

สนใจติดต่อ คุณพรศักดิ์ ชัยศักดานุกูล อากงฟาร์ม หมู่ที่ 10 ตำบลดำเนินสะดวก อำเภอ ปัญหา หนอนหัวดำ แมลงดำหนาม ด้วงแรด ด้วงงวง ล้วนแล้วแต่เป็นแมลงศัตรูมะพร้าวที่เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวไม่ต้องการให้เกิดขึ้นทั้งในสวนของตนเองและสวนของเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อพบแล้ว ปัญหาการระบาดของแมลงศัตรูพืชเหล่านี้จะแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว หากไม่มีการควบคุมหรือกำจัดที่ดีพอ

คุณวิชาญ บำรุงยา เกษตรกรชาวสวนมะพร้าวในพื้นที่ตำบลโป่ง อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ผู้ที่เคยได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่น ประจำปี 2558 ในสาขาอาชีพทำสวน และเราให้คำจำกัดความเขาว่า “ปราชญ์ชาวบ้าน” ในมุมของเกษตรกรทำสวนมะพร้าว

มุมมองของ คุณวิชาญ คือ การแก้ปัญหาแมลงศัตรูพืชทุกอย่างด้วยการงดใช้สารเคมี หรือใช้สารเคมีให้น้อยที่สุดในกรณีที่จำเป็น เพื่อไม่ให้เกิดการตกค้างไปถึงผู้บริโภค แม้สารเคมีบางชนิดที่ได้รับการประเมินปริมาณในการใช้แล้วว่า ไม่ตกค้างจนก่อให้เกิดโทษต่อผู้บริโภคก็ตาม

“หนอนหัวดำ และแมลงดำหนาม เป็นแมลงศัตรูพืชที่ในอดีตไม่เคยมี เกษตรกรของไทยไม่เคยประสบ กระทั่งปีที่เกิดการระบาดในภาคใต้ และไม่นานก็แพร่ระบาดมาถึงภูมิภาคอื่นๆ การแก้ปัญหาที่ภาครัฐแนะนำขณะนั้นคือ การใช้สารเคมีกำจัด เพราะต้องการให้การแพร่ระบาดหมดไปโดยเร็ว อีกทั้งเป็นปัญหาใหม่ที่เพิ่งพบ ทำให้ไม่มีงานวิจัยใดมารองรับการแก้ปัญหาศัตรูพืชชนิดนี้มาก่อน”

ระยะที่พบการระบาด เมื่อได้รับคำแนะนำจากภาครัฐ สิ่งที่เกษตรกรทำได้คือ การทำตาม เพื่อแก้ปัญหาโดยเร็วที่สุด แต่เมื่อภาวะระบาดผ่านพ้นไป การทบทวนถึงวิธีแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนจึงมีขึ้น

ไม่เพียงแต่การป้องกันหรือกำจัด แต่มองไปถึงต้นทุนการผลิตที่เป็นปัจจัยหนึ่งที่ตอบโจทย์เกษตรกรให้ได้รู้ว่า กำไรจากการทำสวนมีมากหรือน้อย

คุณวิชาญ มองว่า การใช้สารเคมีกำจัดหนอนหัวดำและแมลงดำหนาม มีต้นทุนที่สูงมาก สารเคมีปริมาณ 250 มิลลิลิตร ราคาไม่ต่ำกว่า 1,000 บาท เมื่อใช้ในปริมาณที่แนะนำ สามารถใช้ในมะพร้าว จำนวน 8 ต้น และควบคุมได้ในระยะเวลาเพียง 6-8 เดือน เมื่อคิดเป็นต้นทุนแล้ว เฉลี่ยมีค่าใช้จ่ายต่อต้นอยู่ที่ 150 บาท ต่อ 6-8 เดือน

“แตนเบียนบราคอน” เป็นแมลงตามธรรมชาติที่มีความสามารถในการกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวได้ ตามทฤษฎีการใช้แตนเบียนกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว คือ การปล่อยแตนเบียน จำนวน 200 ตัว (1 กล่อง มี 200 ตัว) จะสามารถควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวได้ ในพื้นที่ 1 ไร่

ที่ผ่านมา มีเกษตรกรหลายรายทำตาม หวังผลที่ดีขึ้น แต่การควบคุมและกำจัดก็ยังไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด แม้จะลดลง แต่ก็ยังพบการระบาดอยู่ และหากสวนใกล้เคียงไม่ทำไปพร้อมๆ กัน โอกาสควบคุมและกำจัดได้จะประสบความสำเร็จได้ก็ค่อนข้างยาก แต่ถึงอย่างไร “แตนเบียน” ก็เป็นความหวัง

คุณวิชาญ ใช้ทฤษฎีการปล่อยแตนเบียนเป็นตัวตั้ง แล้ววิเคราะห์จากปัจจัยโดยรอบ พบว่า เมื่อสวนรอบข้างไม่ได้พร้อมใจกันปล่อยแตนเบียนไปกำจัดแมลงศัตรูพืชพร้อมกัน ก็เกิดช่องโหว่ เพราะพื้นที่จะกว้างมากขึ้น จำนวนแตนเบียนที่ปล่อยไปตามพื้นที่สวนของเกษตรกรแต่ละรายก็ไม่เพียงพอ ดังนั้น หากเกษตรกรไม่พร้อมใจกัน เจ้าของสวนที่ปล่อยแตนเบียนก็จำเป็นต้องปล่อยแตนเบียนเพิ่มจำนวนมากขึ้นหรือปล่อยจำนวนเท่าเดิมแต่ระยะเวลาถี่ขึ้น และเริ่มใช้แตนเบียนกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556

คุณวิชาญ ปล่อยแตนเบียนสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 10-20 กล่อง ได้ผลดีเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ “ถ้าจะให้ได้ผลดี สวนข้างเคียงต้องทำไปด้วยกัน ไม่อย่างนั้นแตนเบียนจากสวนเราก็กระจายไปสวนอื่นด้วย ยังไงก็ไม่ได้ผล”

เมื่อแตนเบียนจำเป็นต้องใช้จำนวนมากในการปล่อย คุณวิชาญจึงเป็นโต้โผในการเพาะเลี้ยงแตนเบียน เพื่อให้ได้ปริมาณมากพอสำหรับปล่อยทุกสัปดาห์ ทุกสวน เพื่อให้การควบคุมและกำจัดได้ผล

การรวมกลุ่มกันของเกษตรกรสวนมะพร้าวในอำเภอบางละมุงจึงเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทั้งหมด เพราะพื้นที่บางละมุงมีมากถึง 8 ตำบล ปัจจุบัน เกษตรกรสวนมะพร้าวที่พร้อมใจกันรวมกลุ่มผลิตแตนเบียนมีมากถึง 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลห้วยใหญ่ ตำบลหนองปรือ และ ตำบลตะเคียนเตี้ย

การรวมกลุ่มเกิดขึ้นได้ไม่เพียงแค่เห็นผลว่า แตนเบียนสามารถควบคุมและกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าวได้ แต่เพราะเป็นการทำที่ต้นทุนต่ำกว่าการใช้สารเคมีมาก การผลิตแตนเบียน ควรเพาะหนอนข้าวสาร (แทนหนอนหัวดำ) สำหรับใช้เป็นอาหารของแตนเบียน การเพาะหนอนข้าวสาร จำเป็นต้องใช้รำ ปลายข้าว ไข่ผีเสื้อ หมักไว้รวมกัน จากนั้นเมื่อได้หนอนข้าวสาร ก็นำมาวางไว้ให้เป็นอาหารของแตนเบียน เพื่อเพิ่มจำนวนแตนเบียน กระบวนการตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงได้แตนเบียนตามจำนวนที่ต้องการ ใช้ระยะเวลา 45 วัน

ปัจจุบัน ปัญหาการระบาดของหนอนหัวดำ ศัตรูมะพร้าวตัวฉกาจ ยังไม่หมดไป แต่ก็พบได้น้อยมาก

เทคนิคการดูแลมะพร้าวอื่นๆ ปราชญ์มะพร้าวท่านนี้ แนะนำไว้ ดังนี้ ใส่ปุ๋ยขี้ไก่แกลบปีละครั้ง จำนวน 2 กิโลกรัม ช่วงต้นหรือปลายฤดูฝน ขึ้นอยู่กับความสะดวก

ทำน้ำหมักชีวภาพจากมูลสุกร นำไปพ่นที่ใบมะพร้าวทุกเดือน ช่วยป้องกันแมลงรบกวนได้ดีระดับหนึ่ง

เทคนิคที่คุณวิชาญใช้และเชื่อว่าทุกคนเห็นด้วย คือ การทำให้ต้นมะพร้าวแข็งแรง การป้องกันโรคจากการใช้สารชีวภาพ และการบำรุงต้นด้วยการใส่ปุ๋ยขี้ไก่ รวมถึงการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ แม้ว่าจะเกิดภาวะแล้ง ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้มะพร้าวให้ผลผลิตดีอย่างต่อเนื่องแน่นอน

แต่ก็ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่ใช้สารเคมีกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว และมองข้ามการใช้แตนเบียนกำจัด คุณวิชาญ วิเคราะห์ว่า น่าจะเป็นเพราะความไม่พร้อมในการหาอุปกรณ์ผลิตแตนเบียน รวมถึงการรวมตัวของกลุ่มเกษตรกรในตำบลเดียวกันที่ยังไม่เข้มแข็งพอ เพราะการผลิตแตนเบียนให้เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรที่รวมกลุ่มกันนั้น ต้องมีการกำหนดวันเวลาที่ทำไว้ชัดเจน ไม่อย่างนั้นจำนวนแตนเบียนที่ผลิตได้อาจไม่เพียงพอ รวมถึงขณะนั้นเกษตรกรเห็นว่ามีพืชอื่นที่ขายได้ราคาดีกว่า จึงไม่ให้ความสำคัญกับการทำสวนมะพร้าว

นอกเหนือจากหนอนหัวดำแล้ว ศัตรูพืชที่สำคัญของมะพร้าว ยังมีด้วงแรดและด้วงงวง ที่จัดว่าเป็นศัตรูพืชที่สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งแตนเบียนไม่สามารถกำจัดด้วงเหล่านี้ได้

คุณวิชาญ ไม่ได้เป็นปราชญ์ชาวบ้านที่เก่งกาจไปทุกสิ่ง ปัญหาด้วงแรดและด้วงงวงก็ยังพบอย่างต่อเนื่อง แต่เพราะการทำการเกษตรด้วยปัญญา ทำให้ปัญหาต่างๆ ทุเลาลง “ตัวร้ายจริงๆ คือ ด้วงงวง ที่เข้าไปวางไข่ในยอดอ่อนของมะพร้าว แต่ถ้าไม่มีด้วงแรด ด้วงงวงก็ไม่สามารถเข้าไปวางไข่ได้ เพราะด้วงแรดเป็นตัวกัดกินยอดอ่อนของมะพร้าว เป็นศัตรูพืชที่ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน ดังนั้น หากกำจัดด้วงแรดได้ ด้วงงวงก็ไม่สามารถเข้าไปวางไข่ในยอดอ่อนของมะพร้าว ปัญหาด้วงก็หมดไป”

เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับคำแนะนำให้ซื้อสารฟีโรโมน เป็นตัวล่อ ผูกล่อไว้กับถังน้ำ เมื่อด้วงได้กลิ่นก็บินเข้ามาหาที่ถังน้ำ เมื่อบินลงไปก็ไม่สามารถบินขึ้นมาได้ เป็นการกำจัดด้วงแรด แต่ประสิทธิภาพการกำจัดด้วงแรดด้วยวิธีนี้ก็ไม่ได้ผล 100 เปอร์เซ็นต์ ในบางรายใช้ก้อนเหม็นแขวนไว้ตามยอดมะพร้าว ใช้กลิ่นไล่ด้วงแรด แต่ลูกเหม็นก็ไม่สามารถวางกระจายได้ครอบคลุมทั่วทั้งสวน

วิธีหนึ่งที่คุณวิชาญแนะนำ คือ การหมั่นบำรุงรักษาต้นมะพร้าว โดยการให้น้ำ ให้ปุ๋ย อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มะพร้าวแข็งแรง นอกจากนี้ ควรหมั่นสังเกตต้นทุกระยะ โดยเฉพาะระยะ 3-4 ปี เป็นช่วงที่แมลงศัตรูพืชชอบมากที่สุด เพราะมะพร้าวกำลังแตกใบอ่อน หากพบให้ทำลายด้วยวิธีชีวภาพหรือกำจัดด้วยมือตามความสามารถที่ทำได้

ทุกวันนี้ เฉลี่ยมะพร้าวแกงที่เก็บจำหน่ายได้ในสวนของคุณวิชาญ อยู่ที่ 1 ตัน ต่อไร่ ต่อปี ไม่เคยน้อยไปกว่านี้ ซึ่งพื้นที่ปลูกมะพร้าวของคุณวิชาญและครอบครัวรวมกัน กว่า 100 ไร่ ผลมะพร้าวแกงที่เก็บได้ มีพ่อค้าเข้ามาเก็บถึงสวน ราคาขายหน้าสวน ลูกละ 17 บาท

ดูเหมือนการป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าวด้วยวิธีข้างต้น จะเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จดีในระดับหนึ่ง แต่คุณวิชาญก็ยังไม่วางใจ เพราะยังมีอีกหลายพื้นที่ที่เกษตรกรปลูกมะพร้าวแบบทิ้งขว้าง เพราะมีรายได้จากพืชชนิดอื่นในสวนมากกว่า และหากทำได้ คุณวิชาญ จะใช้เวลาว่างเท่าที่มีเข้าไปส่งเสริมการป้องกันและกำจัดศัตรูมะพร้าว เพื่อให้เกษตรกรที่ทำสวนมะพร้าวอย่างไม่กังวล ทั้งยังเป็นการลดต้นทุน ปลอดภัยกับเกษตรกรและผู้บริโภคอย่างแท้จริง

ปราชญ์มะพร้าว บางละมุง ท่านนี้พร้อมถ่ายทอดให้ข้อมูล หากเกษตรกรสวนมะพร้าวท่านใดต้องการ สอบถามเพิ่มเติม โทรศัพท์ 062-956-3629 ยินดีเป็นอย่างยิ่ง หากเอ่ยถึง จังหวัดกำแพงเพชร ผู้อ่านหลายท่านคงนึกถึง “กล้วยไข่” ขึ้นมาทันที เพราะเป็นผลไม้ที่เลื่องชื่อ ดังคำขวัญของจังหวัด “กรุพระเครื่องเมืองคนแกร่ง ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ”

“กล้วยไข่” คือ ผลไม้พื้นเมืองที่ปลูกกันมาแต่ดั้งเดิมของจังหวัดกำแพงเพชร และได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย (GI : thai geographical indication) ที่มีคุณลักษณ์พิเศษด้านความหวาน เหนียวนุ่ม ละมุนลิ้น กินแล้วไม่เลี่ยน เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกล้วยไข่โดยทั่วไป ฉะนั้น เรื่องราวต่อจากนี้ ผู้เขียนจึงหนีไม่พ้นที่จะนำเสนอเรื่อง กล้วยไข่ ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูของการเก็บเกี่ยว และตรงกับการจัดงานประเพณีวันสารทไทย กล้วยไข่ ของดีเมืองกำแพงเพชร ระหว่าง วันที่ 28 กันยายน – 7 ตุลาคม 2562 ซึ่งเป็นงานประเพณีอันยิ่งใหญ่ของชาวกำแพงเพชร ที่จัดต่อเนื่องกันมาเป็นประจำทุกๆ ปี

หนึ่งในกิจกรรมของการจัดงานครั้งนี้ ที่เป็นหัวใจหลักคือ การประกวดกล้วยไข่ เพื่อเฟ้นหาความเป็นเลิศว่า เกษตรกรท่านใด จะปลูกกล้วยไข่ได้สมบูรณ์ สวยงาม ตรงตามพันธุ์กล้วยไข่พื้นเมืองของดีจังหวัดกำแพงเพชร และเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ได้ตื่นตัวพัฒนาคุณภาพกล้วยไข่ในแปลงของตัวเองให้ได้คงเส้นคงวา

คุณวุฒิ แตงดารา อีกหนึ่งตัวอย่างเกษตรกรผู้ที่คว้ารางวัลชนะเลิศในการประกวดกล้วยไข่ เมื่อปี 2561 ที่ผ่านมา และเคยผ่านการประกวดกล้วยไข่มาอย่างต่อเนื่องกว่า 20 ปี เคยคว้ารางวัลชนะเลิศ มาแล้ว 7-8 ครั้ง นอกจากจะเป็นเกษตรกรระดับแชมป์การประกวดกล้วยไข่แล้ว เขายังเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลลานดอกไม้ (อบต.) มาตั้งแต่ ปี 2551 จวบจนถึงปัจจุบัน

“ผมเริ่มเข้าสู่อาชีพผู้ปลูกกล้วยไข่ ตั้งแต่อายุ 30 ปี และปลูกต่อเนื่องยาวนานจน อายุ 62 ปี ถึงทุกวันนี้ บนพื้นที่ของตัวเอง 10 ไร่ แบ่งเป็นปลูกกล้วยไข่ 5 ไร่ สลับกับการปลูกมันสำปะหลัง 5 ไร่ และอีก 10 ไร่ เป็นการเช่าพื้นที่ของชาวบ้านเพื่อปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ สลับหมุนเวียนกับการปลูกกล้วยไข่ ทุกๆ 3 ปี ไม่ปลูกซ้ำที่เดิม”

เริ่มต้นสอบถามข้อมูล ก็ทำให้รับรู้ได้ว่าคุณวุฒิเป็นเกษตรกรอย่างแท้จริง…!

จากคุณวุฒิ ผู้เขียนพูดคุยจนเริ่มสนิทใจ และให้เกียรติของการเป็นสมาชิก อบต. จึงขอเรียกท่านว่า “อบต. วุฒิ” อบต. วุฒิ บอกว่า ไม่มีอะไรพิเศษมาก ดูแลเหมือนกันหมดทั้งแปลงที่ปลูกอยู่ 5 ไร่ ปัจจัยสำคัญอยู่ที่เรื่องของดินและน้ำมากกว่า โดยเฉพาะที่ตำบลลานดอกไม้ มีพื้นที่ติดกับริมแม่น้ำปิง จึงมีความได้เปรียบมากกว่าใคร ถ้าเริ่มต้นฤดูการปลูกครั้งแรกหรือปีแรก ชาวสวนกล้วยไข่จะเริ่มปลูกกันในเดือนตุลาคม โดยขุดหลุมระยะห่าง 2×2 เมตร ที่ความลึก 40-50 เซนติเมตร ความกว้างสองหน้าจอบ หรือ 30-40 เซนติเมตร จากนั้นใส่ปุ๋ยรองก้นหลุม สูตร 15-15-15 ครึ่งกำมือ ส่วนการให้น้ำ เมื่อฝนทิ้งช่วง หรือหมดหน้าฝน ให้ 10 วันครั้ง

ส่วนการใส่ปุ๋ย ยังคงใช้สูตรเดิม คือ สูตรเสมอ 15-15-15 หลังจากลงปลูก 3 เดือนผ่านไป จึงเริ่มให้ใหม่ ทุกๆ 15-20 วันครั้ง โดยโรยรอบๆ โคนต้น หนึ่งกำมือ เมื่อมีหญ้าขึ้นก็ควรกำจัดเป็นเรื่องปกติ และข้อสำคัญเลยสำหรับแปลงกล้วยไข่ระดับแชมป์ ที่ อบต. วุฒิ เน้นเป็นพิเศษคือ การเลี้ยงหน่อ กล้วยจะสมบูรณ์สวยงามอยู่ที่การเลี้ยงหน่อ ใน 1 กอ จะเลี้ยงหน่อไว้ไม่เกิน 2 หน่อ โดยเลือกหน่อที่อวบสมบูรณ์เพื่อเลี้ยงไว้ให้ผลผลิตในรุ่นที่สอง หรือปีที่ 2 เมื่อหน่อเจริญเติบโตที่ความสูง 50 เซนติเมตร ใช้มีดตัดปาดขนานกับพื้น ส่วนหน่ออื่นๆ ที่ไม่สมบูรณ์ให้ตัดทิ้ง หรือปาดแนวเฉลียงยาวๆ ทแยงให้สั้นเกือบติดพื้น แต่ไม่ควรใช้วิธีการขุดหน่อออก เพราะจะกระทบราก ทำให้กล้วยต้นแม่ชะงักการเจริญเติบโตได้

ส่วนใครจะเลี้ยงหน่อกล้วยไข่ มากกว่า 2 หน่อ ในกอเดียว เพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเลยไปถึงปีที่ 3 ก็ไม่ผิดกติกา ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดีเรื่องปุ๋ยเรื่องน้ำ และที่สำคัญคือ ดินต้องดี ซึ่งในปีที่ 3 นี้ คุณภาพกล้วยจะด้อยกว่าปีแรกๆ และต้องบำรุงดูแลมากเป็นพิเศษ ไม่เช่นนั้นกล้วยก็จะออกมาไม่สมบูรณ์ คุณภาพก็จะด้อยลงไป

คราวนี้ก็มาถึงการจัดการดูแลบำรุงกล้วยไข่ ก่อนถึงวันประกวด ในระยะ 45 วัน อบต. วุฒิ เปิดเผยว่า ในแปลงกล้วยไข่ จำนวน 5 ไร่ ของตนเอง จะบำรุงดูแลได้คุณภาพเหมือนๆ กันหมด แต่จะคัดเลือกต้น หรือเครือที่สมบูรณ์ที่สุด ตามหลักเกณฑ์การประกวด โดยใน 1 เครือ จะต้องมีกล้วยไข่ไม่น้อยกว่า 8 หวี ก็จะได้ 10 คะแนนเต็ม ถ้าจำนวนหวีในเครือมีน้อยกว่านี้ คะแนนก็จะถูกหักลดหลั่นลงไป และที่สำคัญในจำนวน 8 หวี กล้วยจะต้องมีลูกสมบูรณ์สม่ำเสมอ เท่าๆ กันทุกหวี ตั้งแต่หวีแรกจนถึงหวีท้ายๆ และแต่ละหวีกล้วยจะต้องเรียงสวยเป็นระเบียบ ลูกกลมสมบูรณ์ ผิวเรียบไม่ลาย ลูกไม่แตก ไม่มีลูกแฝด และเครือต้องตรงไม่คด ไม่งอ

เมื่อกล้วยเริ่มออกปลี ในระยะ 45 วัน อบต. วุฒิ ก็จะออกเดินสำรวจต้นกล้วยไข่ในแปลงแต่ละต้นที่ทรงต้นสมบูรณ์แล้วคัดเลือกกล้วยที่ออกครบ 8 หวี ตามหลักเกณฑ์ จากนั้นตัดปลีกล้วย นำถุงมาคลุมห่อเครือกล้วยไข่ ซึ่งที่สวนจะใช้ถุงปุ๋ยตัดก้นถุงแล้วคลุมห่อมัดข้างบนเพื่อป้องกันแมลง และแสงแดดที่แผดเผาทำให้ผิวกล้วยลายไม่สวยงามสม่ำเสมอ ส่วนการให้น้ำใส่ปุ๋ยก็ตามรอบเป็นปกติ ทุกๆ 15-20 วัน

อบต. วุฒิ ให้ข้อมูลอีกว่า ผมจะคัดต้นกล้วยไข่เผื่อเลือกไว้ 10 เครือ หรือ 10 ต้น และจะคอยสอดส่องบำรุงดูแลเป็นพิเศษจนถึงวันตัด ก่อนส่งเข้าประกวด 4 วัน เมื่อเหลือเวลาอีก 4 วัน จึงมีตัวเลือกกล้วยไข่ 10 เครือ แล้วคัดเครือกล้วยที่ดีที่สุดแล้วตัดมาพักไว้ 1 คืน ตอนเช้าถึงเอามาบ่มทิ้งไว้ 30 ชั่วโมง กล้วยก็จะเหลืองพอดี ในรุ่งเช้าวันใหม่ถึงเอาไปส่งเข้าประกวด ในงานประเพณีสารทไทย กล้วยไข่ ของดีเมืองกำแพงเพชรได้เลยสำหรับกล้วยไข่สุก ส่วนกล้วยไข่ดิบไม่ต้องบ่มสามารถส่งเข้าประกวดได้เลย…

ส่วนรางวัล การประกวดในปีก่อนๆ หน้านี้ เขาให้เงินรางวัล ชนะเลิศ 5,000 บาท 3,500 บาท 2,500 และ 1,500 บาท ตามลำดับ แต่มาปีหลังๆ เงินรางวัลลดลงมา ชนะเลิศ ได้ 3,500 บาท 2,500 บาท และ 1,500 ส่วนรางวัลชมเชยได้ 1,000 บาท ซึ่ง อบต. วุฒิ ระบุว่า เงินรางวัลไม่ใช่เรื่องสำคัญ สิ่งสำคัญคือ ถ้าเราสามารถบำรุงดูแลกล้วยไข่จนติดรางวัล 1 ใน 3 เท่านี้ ก็เป็นความภาคภูมิใจที่สุดแล้ว สำหรับเกษตรกรคนทำสวนกล้วยไข่ที่ได้คุณภาพ และยังเป็นเครื่องการันตีพันธุ์กล้วยไข่ที่ดีในแปลงของเราด้วย

อบต. วุฒิ นอกจากจะเป็นมือนักปั้นกล้วยไข่ส่งประกวดแล้ว เขายังเป็นพ่อค้ากล้วยไข่ รับซื้อกล้วยไข่จากแปลงอื่นๆ ของชาวบ้านมาทำตลาดส่งขายเอง เนื่องจากในแปลงกล้วยไข่ที่ปลูกอยู่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ที่มีปลูกอยู่เพียง 5 ไร่ เฉลี่ยผลผลิตที่เก็บได้ ไร่ละ 2 ตัน โดยไช้รถกระบะบรรทุกกล้วยไข่ขับส่งขายเอง ครั้งละ 1.5-2 ตัน ทุกๆ 5 วัน ในฤดูเก็บผลผลิต วิ่งส่งประจำที่จังหวัดพิจิตร และก็ที่ มอกล้วยไข่ ซึ่งเป็นตลาดซื้อขายกล้วยไข่ที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร

ปีนี้ 2562 จะเป็นความโชคดี หรือโชคร้าย สมัคร Royal Online ไม่แน่ใจสำหรับชาวสวนกล้วยไข่ เนื่องจากราคากล้วยไข่ขยับมาที่กิโลกรัมละ 22 บาท แต่ก่อนหน้านี้ ในปี 2560-2561 ปีที่ผ่านมา ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 10-15 บาท หากย้อนไปในปี 2559 ราคากล้วยไข่เคยขยับไปสูงสุดถึงกิโลกรัมละ 27 บาท เนื่องด้วยสภาวะปัญหาภัยแล้งนั่นเอง จึงนับเป็นความผันผวนในเรื่องของพืชผลทางการเกษตร ตามดีมานด์ ซับพลาย (Demand Supply) และภัยธรรมชาติที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ อบต. วุฒิ ว่าอย่างนั้น

จากข้อมูลสถิติ ในปี 2561 โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ระบุว่า พื้นที่เพาะปลูกกล้วยไข่ โดยรวมจาก 11 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 3,204 ไร่ โดยเฉพาะในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร มีพื้นที่การปลูกกล้วยไข่มากสุดถึง 1,238 ไร่ และสามารถเก็บผลผลิตได้เฉลี่ย 2,634 ตัน ต่อปี (เฉพาะในเขตอำเภอเมือง) ฉะนั้น กล้วยไข่ จึงนับว่าเป็นผลไม้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร ที่สร้างรายได้เฉลี่ย 70,400,000 บาท ในปี 2561 (เฉลี่ยผลผลิตที่เก็บได้ 22,000 บาท ต่อไร่ ต่อปี)

ส่วนรายได้ของ อบต. วุฒิ จากการเก็บผลผลิตกล้วยไข่ ในแปลงของตัวเอง 5 ไร่ และรับซื้อกล้วยไข่แปลงข้างเคียงของชาวบ้าน ทำรายได้ต่อปีไม่น้อยกว่า 500,000 บาท อีกหนึ่งความภาคภูมิใจสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ด้านพืชผลไม้ “กล้วยไข่” เมืองกำแพงเพชร หากนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนผ่านไปมาเมืองมรดกโลกกำแพงเพชร ที่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหน้าด่าน ตาก สุโขทัย พิษณุโลก และเชื่อมต่อนครสวรรค์ลงสู่พระนคร ไม่ควรพลาดจัดคิวมาเที่ยวชมงานประเพณีวันสารทไทย กล้วยไข่ ของดีเมืองกำแพงเพชร ระหว่าง วันที่ 28 กันยายน – 7 ตุลาคม 2562 จึงขอเชิญชวน

อนึ่ง…หากท่านใด สนใจเข้าเยี่ยมชมสวนกล้วยไข่คุณภาพ ระดับแชมป์ประกวด คุณวุฒิ แตงดารา หมู่ที่ 4 ตำบลลานดอกไม้ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองกำแพงเพชร หรือกริ๊งกร๊างสอบถามเพิ่มเติมได้