สำหรับในเรื่องของการเลี้ยงด้วงสาคูนั้น คุณสมเกียรติ

เล่าขั้นตอนการเลี้ยงให้ฟังว่า จะมีการสร้างโรงเรือนสำหรับใช้เลี้ยงด้วงสาคูโดยเฉพาะ เพื่อเก็บวัตถุดิบและอาหารของด้วงให้อยู่เป็นสัดส่วน ส่วนกะละมังที่ใช้เลี้ยงเป็นกะละมังเบอร์ 20 ที่สามารถหาซื้อได้จากท้องตลาดทั่วไป โดยบนกะละมังที่เลี้ยงด้วงสาคูจะต้องมีฝาปิดด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงอื่นที่เป็นแมลงศัตรูเข้าไปทำลายด้วงที่เลี้ยงอยู่ภายใน

โดยก่อนที่จะนำด้วงสาคูไซซ์พ่อแม่พันธุ์เข้าไปเลี้ยงภายในกะละมัง ขั้นตอนแรกจะต้องเตรียมวัตถุดิบสำหรับการเลี้ยงใส่ลงไปในกะละมังเสียก่อน ประกอบด้วย ต้นสาคูบด 2 กิโลกรัม อาหารหมู 400 กรัม น้ำ 2.5 ลิตร และเปลือกมะพร้าว โดยใส่ดูตามความเหมาะสม ซึ่งวัตถุดับทั้งหมดจะอยู่ด้วยกันและมีความชื้นภายในกะละมังพอสมควร จากนั้นนำพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคูมาใส่ภายในกะละมังละ 3-5 คู่

“หลังจากใส่พ่อแม่พันธุ์ลงไปแล้ว ปิดฝาบนกะละมังให้สนิท อย่าให้แมลงอื่นเข้าไปภายใน ปล่อยอยู่แบบนี้ประมาณ 20 วัน เราก็จะเอาพ่อแม่พันธุ์ออกจากกะละมัง และเติมอาหารใหม่เข้าไป เป็นต้นสาคูบดและอาหารหมูเหมือนเดิม เพราะว่าในระยะนี้ จะมีตัวอ่อนกินอาหารหมดแล้ว หลังจากนี้นับไปอีก 7 วัน ก็เติมอาหารเหมือนเดิมอีกครั้งหนึ่ง เป็นครั้งสุดท้าย โดยในช่วงวันที่ 27 ถ้าตัวไหนใหญ่ก็คัดออกมาได้เลย แต่ถ้ายังไม่ได้ไซซ์ ก็เลี้ยงต่อไปอีก 7-9 วัน หนอนด้วงทั้งหมดก็จะโตเท่ากันหมด สามารถจับขายยกทั้งกะละมังได้เลย” คุณสมเกียรติ บอก

ซึ่งพ่อแม่พันธุ์ด้วงสาคูสามารถนำมาเพาะพันธุ์ได้ประมาณ 5 ครั้ง ก็จะทำการปลดระวางและเพาะพันธุ์หนอนด้วงตัวอื่นขึ้นมาเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ต่อไป ส่วนแมลงศัตรูอื่นๆ ที่ต้องระวังก็จะเป็นแมลงวันเข้ามาไข่ เพราะหนอนแมลงวันจะเข้ามากัดกินด้วง และที่ต้องระวังเป็นพิเศษอีกชนิดหนึ่งคือมด เพราะชอบเข้ามากัดกินตัวหนอนด้วง วิธีที่ป้องกันที่ดีที่สุดคือ อย่าปล่อยให้ภายในกะละมังแห้ง ต้องทำให้ภายในกะละมังมีความชื้นและแฉะอยู่เสมอ

การบรรจุภัณฑ์ที่ดี

ช่วยให้ทำตลาดง่ายขึ้น

ในเรื่องของตลาดเพื่อจำหน่วยด้วงสาคูที่เลี้ยงนั้น คุณสมเกียรติ เล่าว่า เมื่อมีผลผลิตใหม่ๆ ก็จะโพสต์ตามหน้าเฟซบุ๊กเพื่อจำหน่ายเป็นหลัก ทำให้เพื่อนๆ ที่รู้จักสนใจเข้ามาสั่งซื้อ จากที่บางคนไม่เคยกินด้วงสาคูมาก่อน ถึงกับติดใจในรสชาติและบอกกันไปปากต่อปาก ทำให้เวลานี้ด้วงสาคูที่เขาเลี้ยงมีออกจำหน่ายไม่ทันกันเลยทีเดียว ต่อมาเริ่มมีลูกค้าจากต่างจังหวัดสนใจ จึงได้ทำการบรรจุภัณฑ์ด้วงให้ได้มาตรฐานมากขึ้น และมีระบบขนส่งรถห้องเย็นที่ทันสมัย ช่วยให้การจำหน่ายทั้งในพื้นที่และออนไลน์สะดวกมากขึ้น

โดยด้วงสาคู 1 กะละมัง ที่ผ่านการเลี้ยง 1 รอบการผลิต จะได้ด้วงที่มีน้ำหนักอยู่ที่ 1-1.2 กิโลกรัม ซึ่งราคาที่จำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 200 บาท ส่วนจำหน่ายให้กับลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัดจะมีการจัดส่งด้วยรถห้องเย็นที่มีมาตรฐาน โดยลูกค้าเป็นผู้ออกค่าขนส่งเอง

“ตอนนี้ผมก็ถือว่าด้วง เป็นแมลงที่เลี้ยงแล้วสร้างเงินได้ดี เพราะตอนนี้ผมเองก็ทำแบบครบวงจร มีพ่อแม่พันธุ์ไว้ใช้เอง ซึ่งต่อไปในอนาคต จะมีการผลิตชุดทดลองสำหรับผู้ที่สนใจเลี้ยง เพราะด้วงสาคูเป็นแมลงที่เลี้ยงง่าย สามารถทำอาหารได้หลายเมนู ก็ฝากถึงคนที่อยากทำเป็นอาชีพนะครับ เกษตรกรถ้าอยากทำให้ประสบผลสำเร็จ สิ่งแรกเลยต้องมีใจรัก จากนั้นก็ศึกษาว่าเราอยากทำอะไร ตลาดไปได้ไหม เท่านี้ก็ประสบผลสำเร็จได้ไม่ยาก” คุณสมเกียรติ บอก

สำหรับท่านใดที่สนใจในเรื่องของการเลี้ยงด้วงสาคู หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ คุณสมเกียรติ นุชนงค์ หมายเลขโทรศัพท์ 082-607-2234 จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเมืองมหัศจรรย์แห่งผลไม้ เพราะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้หลากหลายชนิด ทั้งทุเรียน ลางสาด สับปะรดห้วยมุ่น ฯลฯ โดยผลไม้ที่สร้างชื่อเสียงมากที่สุดคือ ทุเรียนพันธุ์หลงลับแล และหลินลับแล ซึ่งมีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ที่อำเภอลับแลและอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีผลผลิตเข้าสู่ตลาดประมาณเดือนเมษายน-สิงหาคม ของทุกปี

“ทุเรียนพันธุ์หลินลับแล” เป็นสายพันธุ์ทุเรียนพื้นเมืองของอำเภอลับแล มีขนาดเล็กถึงปานกลาง ทรงกระบอก ฐานผลเว้าลึก น้ำหนักเฉลี่ย 1-2.5 ก้านผลขนาดเล็ก เปลือกบาง เนื้อสีเหลืองเข้ม เนื้อละเอียดเหนียวแห้ง เมล็ดลีบเล็ก รสชาติหวานมัน กลิ่นอ่อน รับประทานแล้วไม่ทำให้เกิดอาการร้อนใน

“ทุเรียนหลงลับแล” เป็นทุเรียนสายพันธุ์พื้นเมืองของอำเภอลับแล มีเอกลักษณ์ประจำพันธุ์ คือ เนื้อสีเหลืองอ่อนนุ่ม ไม่มีเสี้ยน กลิ่นอ่อน รสชาติหวาน มีผลขนาดเล็ก 1-2 กิโลกรัม เมล็ดลีบ เนื้อแห้ง เจริญเติบโตได้ดีบนที่เชิงเขา ทนทานต่อโรครากเน่าโคนเน่า แม้ว่าจะนำไปปลูกในแหล่งปลูกทุเรียนอื่นๆ ก็ไม่มีรสชาติดีเท่าที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

ปัจจุบัน ทุเรียนอำเภอลับแลมีราคาสูง และได้รับความนิยมมาก แต่ประสบปัญหามีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ เนื่องจากขาดธาตุอาหาร หรือปริมาณธาตุอาหารที่มีในดินไม่เพียงพอต่อการผลิต การไว้ผลต่อต้นไม่เหมาะสม รวมทั้งปัญหาการแพร่ระบาดของหนอนผีเสื้อกลางคืนเจาะเมล็ดทุเรียนในขณะที่ผลอ่อน โดยตัวหนอนเจาะเข้าไปกัดกินเมล็ดภายในผลทุเรียน ถ่ายมูล ทำให้ทุเรียนเปรอะเปื้อน สร้างความเสียหายแก่ผลทุเรียนในช่วงฤดูฝนเป็นจำนวนมาก

สถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว คณะเกษตรศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ดำเนินโครงการ “การจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนหลงลับแลเพื่อการส่งออก” แก่สหกรณ์การเกษตร อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการการค้า และผู้ส่งออก

สำหรับการดูแลต้นทุเรียนในระยะให้ผลผลิต มหาวิทยาลัยนเรศวร มีคำแนะนำดังนี้

การให้น้ำ ควรให้น้ำสม่ำเสมอในช่วงที่มีการเจริญเติบโตทางใบ และงดน้ำในช่วงปลายฝนเพื่อเตรียมการออกดอก เมื่อต้นทุเรียนออกดอกแล้วให้ควบคุมปริมาณน้ำที่จะให้ โดยค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้ดอกทุเรียนมีพัฒนาการที่ดี จนเมื่อดอกทุเรียนพัฒนาถึงระยะหัวกําไล (ก่อนดอกบาน 1 สัปดาห์) ให้ลดปริมาณน้ำลง โดยให้เพียง 1 ใน 3 ของปกติ เพื่อช่วยให้มีการติดผลดีขึ้น และให้น้ำในปริมาณนี้ไปจนดอกบานและติดผลใน 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำขึ้นเรื่อยๆ และต้องให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอตลอดช่วงพัฒนาการของผลทุเรียน

การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยและวัสดุปรับปรุงดินตามผลการตรวจวิเคราะห์ดิน หรืออาจใส่ปุ๋ยตามแนวทางดังนี้

ใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ต้นหลังเก็บเกี่ยว โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์ จํานวน 20-50 กิโลกรัม ต่อต้น ส่วนปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ใส่อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้น เท่ากับ 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม
ใส่ปุ๋ยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของผล เมื่อผลมีอายุ 7 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-12-17 หรือ 13-13-21 อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้น เท่ากับ 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม
ใส่ปุ๋ยเพื่อเพิ่มคุณภาพเนื้อ เมื่อผลมีอายุ 10-11 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 0-0-50 อัตรา 1 ถึง 2 กิโลกรัมต่อต้น
การตัดแต่งดอก ทำการตัดแต่งดอกหลังจากออกดอก 5 สัปดาห์ ควรตัดแต่งช่อดอกบนกิ่งขนาดเล็ก (เส้นผ่าศูนย์กลางกิ่งน้อยกว่า 2 เซนติเมตร) หรือดอกที่อยู่ปลายกิ่งทิ้งให้เหลือเฉพาะดอกรุ่นในกิ่งเดียวกัน ให้มีจํานวนช่อดอก ประมาณ 3-6 ช่อดอก ต่อความยาวกิ่ง 1 เมตร แต่ละช่อดอกห่างกัน ประมาณ 30 เซนติเมตร

ครั้งที่ 1 เมื่อผลอายุ 4-5 สัปดาห์ หลังดอกบาน ตัดแต่งผลที่มีขนาดเล็ก รูปทรงบิดเบี้ยว และไม่อยู่ในตําแหน่งที่ต้องการออก เหลือผลไว้ประมาณ 2-3 เท่า ของจำนวนผลที่ต้องการไว้จริง ครั้งที่ 2 เมื่อผลอายุ 6 สัปดาห์ หลังดอกบาน ระยะนี้ผลที่ปกติจะมีการขยายตัวด้านยาว สีผิวเขียวสดใส หนามมีขนาดปกติเรียวเล็ก ถ้าตรวจพบผลที่มีพัฒนาการผิดปกติ มีขนาดเล็ก หนามแดง หรือมีโรคแมลงเข้าทำลายให้ตัดทิ้ง

การเก็บเกี่ยวผลผลิต ใช้วิธีนับอายุ โดยประมาณ ตั้งแต่ดอกบานจนถึงผลแก่พร้อมที่จะตัดได้ พันธุ์กระดุม 90-100 วัน พันธุ์ชะนี 100-110 วัน พันธุ์ก้านยาว, พันธุ์กบ 120-135 วัน พันธุ์หมอนทอง 115-120 วัน พันธุ์หลงลับแล 105-110 วัน พันธุ์หลินลับแล 110-115 วัน

หวังเจาะตลาดพรีเมียม อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์และวิทยาการในเรื่องการเพาะปลูก ทำให้ประเทศไทยเป็นผู้ปลูกและผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ของโลก แต่ถึงกระนั้นการส่งออกทุเรียนผลสดก็ยังประสบปัญหา เพราะผู้บริโภคไม่สามารถมองเห็นคุณภาพเนื้อทุเรียนได้ เกิดความไม่เชื่อมั่นในผลผลิต จึงมีแนวโน้มว่าผู้บริโภคจะเปลี่ยนรสนิยมไปบริโภคทุเรียนแบบแกะพูมากขึ้น เช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มีผู้ขายทุเรียนสดแบบแกะพูเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้น งานวิจัยจึงมีบทบาทสำคัญในการสร้างนวัตกรรม และสร้างแนวทางใหม่ๆ ที่ช่วยส่งเสริม สนับสนุน และขยายตลาดส่งออกให้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ประกอบการในการส่งออกทุเรียนไปสู่ตลาดระดับพรีเมียมที่มีมูลค่ามากกว่าเดิม

ผศ.ดร. พีระศักดิ์ ฉายประสาท คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า ทางมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เรื่อง “การบริหารจัดการสายโซ่คุณค่ามะม่วงน้ำดอกไม้สีทองและทุเรียนหมอนทอง” จนสามารถพัฒนาและยืดอายุการเก็บรักษาทุเรียนสดแบบแกะพูเพื่อการส่งออกจนเป็นผลสำเร็จ

วิธีดำเนินการเริ่มจากคัดเลือกผลทุเรียนที่ได้มาตรฐาน ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งทุเรียนเกรดดีที่มีเปลือกสวย และทุเรียนที่มีตำหนิ และเป็นทุเรียนที่สุกพอดี เพื่อนำมาแกะเอาเฉพาะเนื้อ โดยจะคัดเลือกแต่พูที่สวยน่ารับประทาน ได้มาตรฐาน แล้วนำไปบรรจุกล่องที่โรงงานมาตรฐานส่งออกในจังหวัดปทุมธานี ในกล่องที่บรรจุทุเรียนจะใส่ซองบรรจุสารดูดซับก๊าซเอทิลินเพื่อชะลอให้ทุเรียนสุกช้าลง (“เอทิลีน” เป็นสารที่ผลไม้แก่เต็มที่ เช่น ทุเรียน มะม่วง กล้วย สร้างขึ้นเองโดยธรรมชาติเพื่อเร่งการสุก)

กล่องที่บรรจุจะต้องเป็นกล่องพลาสติกแบบแอนตี้ฟ็อก ที่ป้องกันการเกิดหยดน้ำและป้องกันไม่ให้เกิดฝ้าขึ้นในกล่อง วิธีการนี้จะช่วยยืดอายุทุเรียนแกะพู จากไม่เกิน 3 วัน ให้เป็น 7-10 วัน ดังนั้น จึงมีเวลาเพียงพอสำหรับการขนส่ง การส่งออกสินค้าสำหรับผู้ค้าที่อยู่ปลายทาง และมีเวลาเพียงพอที่จะวางสินค้าให้อยู่ในตลาด สำหรับประเทศที่ส่งออกคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นตลาดระดับพรีเมียมที่ผู้บริโภคสั่งซื้อด้วยระบบพรีออเดอร์ จึงไม่มีสินค้าเหลือตกค้าง

ข้อดีของการส่งออกทุเรียนแบบแกะพู คือ สามารถนำทุเรียนที่เปลือกไม่สวยแต่เนื้อดีมาใช้ได้ แต่ข้อเสียคือ ในทุเรียนหนึ่งผลอาจจะคัดทุเรียนเนื้อดีได้ไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ทุเรียนส่วนที่เหลือที่ไม่ได้คุณภาพก็จะถูกนำไปแยกขายตามเกรด ดังนั้น ราคาขายปลายทางของทุเรียนแบบแกะพูจึงค่อนข้างสูง เช่น ในสหรัฐอเมริกา ผู้บริโภคซื้อในราคากล่องละประมาณ 30-40 เหรียญสหรัฐ ขณะที่ต้นทุนทุเรียนที่ออกจากสวนอยู่ที่ประมาณ 150 บาท ต่อกิโลกรัม เมื่อบวกค่าดำเนินการต่างๆ เช่น บรรจุกล่อง ค่าขนส่งทางเครื่องบิน ผู้ส่งออกจะได้กำไรไม่ต่ำกว่า 50 เปอร์เซ็นต์

แต่ปัญหาของการส่งออกด้วยวิธีแกะเนื้อ คือ มีปริมาณผลทุเรียนคุณภาพดีไม่เพียงพอ เพราะทุเรียนผลส่วนใหญ่ถูกส่งออกไปประเทศจีน ดังนั้น เพื่อให้มีผลทุเรียนเพียงพอสำหรับใช้งานจึงต้องดำเนินการแบบครบวงจรจากต้นทางคือ ส่งเสริมกระบวนการเพาะปลูกที่ได้มาตรฐานให้แก่เกษตร ซึ่งเป็นโครงการที่ศูนย์วิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องในการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนเพื่อการส่งออกให้แก่เกษตรกรในจังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการส่งออกทุเรียนแบบแกะพูไม่มาก ในขณะที่ตลาดในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีความต้องการสูงมาก จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ส่งออกของไทย

ด้าน คุณประนอม ใจใหญ่ เจ้าของสวนใจใหญ่ จังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ทุเรียนตกเกรดที่มีปัญหาหนอนเจาะผล ผลทุเรียนมีเชื้อราสีดำ ทำให้ขายสินค้าไม่ได้ราคา นอกจากนี้ ทุเรียนหลินลับแล และหลงลับแล เกษตรกรตัดทุเรียนที่ความสุก 90-95 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มีอายุการขายสั้น 3-4 วันเท่านั้น แต่นวัตกรรมใหม่ของมหาวิทยาลัยนเรศวร ช่วยแก้ไขปัญหาทุเรียนตกเกรดได้เป็นอย่างดี เพราะนวัตกรรมดังกล่าวช่วยยืดอายุการขายการแกะทุเรียนสดได้ยาวนานขึ้น ลูกค้ามีความมั่นใจในคุณภาพสินค้ามากขึ้น เพราะได้มองเห็นด้วยสายตาว่า เนื้อทุเรียนที่นำมาขายนั้นมีคุณภาพอย่างไร การขายทุเรียนสดแบบแกะพูจึงเป็นทางเลือกของผู้ซื้อที่ต้องการบริโภคทุเรียนที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นสินค้าในระดับพรีเมียม และเป็นโอกาสสำหรับผู้ผลิต ผู้ส่งออกที่จะเปิดตลาดใหม่ๆ ที่มีมูลค่าสูงในอนาคต

นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันจังหวัดชุมพรนับเป็นแหล่งผลิตกาแฟพันธุ์โรบัสต้า อันดับ 1 ของประเทศไทย ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ณ เดือนตุลาคม 2564 มีพื้นที่ปลูกทั้งหมด 81,929 ไร่ ให้ผลผลิตรวมทั้งจังหวัด 8,322 ตัน/ปี เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมปลูกแซม หรือผสมผสานในสวนผลไม้ เนื่องจากกาแฟเป็นพืชเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าให้กับจังหวัดปีละ 573.71 ล้านบาท กาแฟพันธุ์โรบัสต้าที่ได้รับความนิยมของจังหวัดชุมพรมีหลายกลุ่ม เช่น กาแฟเขาทะลุ เอสที กาแฟชุมพร และกาแฟถ้ำสิงห์ชุมพร

สำหรับกาแฟถ้ำสิงห์ชุมพรของกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ซึ่งมีจุดเด่นเฉพาะ พื้นที่ปลูกเป็นพื้นที่ราบเชิงเขาหินปูนระดับความสูง 85-120 เมตร จากระดับน้ำทะเล สามารถนำกาแฟผลสดมาบ่มแล้วคัดด้วยกรรมวิธีเฉพาะที่มีมาตรฐานเป็นกาแฟสาร และแปรรูปเป็นกาแฟคั่ว กาแฟคั่วบด มีรสชาติเข้มกลมกล่อม มีกลิ่นหอม ซึ่งนอกจากจุดเด่นด้านรสชาติแล้ว กาแฟถ้ำสิงห์ชุมพรยังได้รับการ ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ วันที่ 27 กันยายน 2564 ในรูปของสินค้ากาแฟสาร กาแฟคั่ว และกาแฟคั่วบด

จากการลงพื้นที่ของ สศท.8 เพื่อติดตามการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ชุมพร ตำบลถ้ำสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการรวมกลุ่มเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการแปรรูปกาแฟโรบัสต้า โดยเริ่มดำเนินตั้งแต่ปี 2551 มีสมาชิกทั้งหมด 651 ราย และมีสมาชิกที่มีการซื้อขายผ่านกลุ่ม 125 ราย มีพื้นที่ปลูกรวม 1,250 ไร่ ทางกลุ่มจะรับซื้อเมล็ดกาแฟสดจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิกในราคากิโลกรัมละ 30 บาท ซึ่งสิ่งที่กลุ่มให้ความสำคัญมากที่สุดคือเรื่องคุณภาพและมาตรฐานของเมล็ดกาแฟต้องสุก เป็นสีเหลือง สีส้ม สีแดง และต้องเป็นเมล็ดกาแฟในพื้นที่ปลูก GI หลังจากนั้นทางกลุ่มจะนำเมล็ดกาแฟสดมาแปรรูปเป็นสารกาแฟ กาแฟคั่ว และกาแฟคั่วบด สำหรับการดำเนินงานปี 2564 ทางกลุ่มได้รับซื้อเมล็ดกาแฟสดจากเกษตรกรที่เป็นสมาชิก จำนวน 50 ตัน แปรรูปและจำหน่ายในรูปของสารกาแฟ จำนวน 10 ตัน ราคา 170-200 บาท/กิโลกรัม แปรรูปเป็นกาแฟคั่ว จำนวน 24 ตัน จำหน่ายในราคา 450-500 บาท/กิโลกรัม ส่วนที่เหลืออีก 16 ตัน นำมาแปรรูปเป็นกาแฟคั่วบด จำหน่ายในราคา 450-500 บาท/กิโลกรัม

นอกจากนี้ ทางกลุ่มยังมีผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสต้า 4 in 1 จำหน่ายในราคาถุงละ 110 บาท, กาแฟโรบัสต้า 3 in 1 จำหน่ายในราคาถุงละ 85 บาท, กาแฟเกล็ดแบบขวด 120 กรัม จำหน่ายในราคาขวดละ 100 บาท แบบถุง 150 กรัม จำหน่ายในราคา 120 บาท และกาแฟดริป จำหน่ายในราคากล่องละ 100 บาท เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค โดยปี 2564 ทางวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ชุมพร มีผลตอบแทนสุทธิ (กำไร) 21.18 ล้านบาท/ปี

สำหรับด้านการตลาด ทางกลุ่มมีการส่งผลิตภัณฑ์ให้ศูนย์โอท็อปกาแฟถ้ำสิงห์เพื่อกระจาย จำหน่าย 5 ช่องทาง ได้แก่ ตัวแทนจำหน่าย บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จำหน่ายตรงให้กับผู้ซื้อ จำหน่ายโดยการเข้าร่วมนิทรรศการต่างๆ ภายในประเทศของหน่วยงานภาครัฐ และจำหน่ายออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกลุ่ม ได้แก่ (http://www.coffeethamsing.com) ผ่าน Facebook Application Line Instagram ปัจจุบัน ทางกลุ่มอยู่ระหว่างการยื่นข้อรับการสนับสนุนจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) จากส่วนบริหารกองทุนภาคเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เพื่อนำไปใช้เป็นเงินลงทุนก่อสร้างอาคารแปรรูป พร้อมทั้งจัดซื้อเครื่องทำแห้งแบบพ่นฝอย (Spray Dryer) ในการแปรรูปเพิ่มมูลค่ากาแฟ ซึ่งคาดว่าจะทำให้สามารถรับซื้อกาแฟจากเกษตรกร และเพิ่มกำลังผลิตได้อีก ร้อยละ 80 อีกทั้งมีแผนการตลาดในปี 2565 จะเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กาแฟของกลุ่มที่ห้างสรรพสินค้าโดยมีเป้าหมายการขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 20

ทั้งนี้ กาแฟยังเป็นพืชทางเลือกในการปลูกแซมหรือผสมผสานพืชเศรษฐกิจที่ทำรายได้ให้เกษตรกร ซึ่งเกษตรกรเองต้องมีการผลิตกาแฟที่มีคุณภาพ และนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทั้งด้านการผลิต แปรรูป และด้านตลาด รวมถึงภาครัฐควรเข้ามาส่งเสริมการรวมกลุ่มการผลิต และแปรรูป เพื่อลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างอำนาจการต่อรอง และยังสอดรับกับนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคเกษตรด้วย BCG Model ผู้สนใจหรือต้องการศึกษาดูงานสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ นายนิคม ศิลปศร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟบ้านถ้ำสิงห์ชุมพร ตำบล ถ้ำสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร โทร. 093-578-0281 หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ผมหลงเสน่ห์กลิ่นอายทะเล หาดทราย สายลม SBOBETSIX.COM หากกรุงเทพฯ เป็นจุดเริ่มต้น จุดที่ใกล้คงจะเป็น บางแสน พัทยา ชะอำ หัวหิน สงกรานต์นี้ชายหาดบางแสนคึกคัก เพราะสามารถใช้ทางด่วนลอยฟ้า บางนา-ชลบุรี หรือมอเตอร์เวย์ หมายเลข 7 และไม่น้อยกว่าครึ่งของผู้ไปเยือนบางแสนต้องแวะ “ตลาดหนองมน” ตำนานแห่ง “ดงข้าวหลาม” หอมกลิ่นข้าวเหนียวหน้ากะทิหุ้มเยื่อไผ่ในกระบอกไม้ไผ่ถูกเผา จนลืมกลิ่นไอคละคลุ้งแห่งทะเล “ข้าวหลามหนองมน” จึงเกี่ยวข้องกับตัวผมโดยตรง

มีคนถามว่าชื่อ “ข้าวหลามดง” ของผมเกี่ยวอะไรกับ “ดงข้าวหลาม” แห่งตลาดหนองมน เรื่องนี้ผมถามบรรพบุรุษแล้ว ชื่อผมนี้มาจากกลิ่นของลำต้น กิ่ง เมื่อถูกไฟไหม้หรือถูกเผาจะมีกลิ่นไหม้คล้ายๆ กลิ่นกระบอกข้าวหลามที่เผาสุกใหม่ๆ ส่วนคำว่า “ดง” นั้น เพื่อระบุว่าเป็นต้นไม้ที่อยู่ใน “ป่าดงพงไพร” มาต่อท้ายให้ต่างจากญาติสกุลเดียวกัน ชื่อ “ต้นข้าวหลาม” ชื่อผมจึงแปลกดีเมื่อต่อท้ายด้วย “ดง” และสอดคล้องกับการหุงข้าวแบบโบราณ ที่ต้องรินน้ำข้าวทิ้งเมื่อเดือด แล้วอุ่นไฟอ่อนๆ ให้ข้าวสุก วิธีนี้เรียกว่า “ดงข้าว” เหมือนหุงข้าวหลาม

พูดถึงข้าวหลาม ก็ขอยกเรื่องข้าวหลามหนองมน มานินทาแบบชื่นชมว่า มนต์เสน่ห์ของข้าวหลามนั้น ผู้คนสัมผัสทั้งชื่อและรสชาติ ยอมรับว่าเป็นของเรียกหาและของฝาก เป็นเสน่ห์แห่งสินค้าท้องถิ่น เปรียบสัญลักษณ์ GI ข้าว ผลไม้ หรือไวน์ เดิมทีพื้นที่หนองมนทำนา เมื่อหมดหน้านาก็ทำข้าวหลามเป็นของว่าง ของหวานกิน หรือนำข้าวเหนียวไปแลกน้ำตาลหรือมะพร้าวกับหมู่บ้านอื่น ส่วนไม้ไผ่ก็หาตัดกันทั่วไป เมื่อมีงานประจำปีก็ขายข้าวหลามคู่อ้อยควั่น ถั่วคั่ว ต่อมามีการตัดถนนสุขุมวิทสายเก่า ผู้คนแวะเวียนเที่ยวชายทะเลบางแสนมากขึ้น จึงมีการขยายแผงขายเรียงราย คนแวะซื้อกลับบ้าน เริ่มพัฒนาสูตรใส่ไส้หลากหลาย กระทั่งมีการสร้างสนามบินอู่ตะเภา ชาวต่างชาติเต็มพัทยา คนผ่านเส้นทางนี้มากขึ้น กลายเป็นเส้นทาง “ต้องแวะ” ขยายตัวทั้งสูตรไส้ และวิธีการเผาเดิม จากบนดินแบบเผาฟืนและพัฒนาแบบเตาเผาแก๊ส ขยายตลาดรายทาง แผงทางแยก ตลาดนัด รวมทั้งตลาดใหญ่ ที่เป็นตัวแทนท้องที่ตลาดหนองมน ก็คือจุดพักรถมอเตอร์เวย์ไปพัทยา (ขาเข้า-ขาออก) ใกล้บางปะกง

อย่างไรก็ตาม ข้าวหลามตลาดหนองมน หรือส่งขายตลาดชุมชนอื่นๆ ก็รับมาจากแหล่งเผาในท้องถิ่น แต่หน้าร้านขายจะตอบว่า “เผาเอง” เกือบทุกร้าน ไม้ไผ่ข้าวหลาม ก็ใช้ทั้งไม้ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ปัจจุบันหายากขึ้น มีการสั่งไม้ไผ่จากกาญจนบุรี จันทบุรี และกัมพูชา แม้ว่าจะพัฒนาภาชนะหุงข้าวหลาม เช่น ถ้วยคัพเค้ก ได้รสชาติข้าวเหนียวกะทิ แต่ขาดเอกลักษณ์เสน่ห์แห่ง “เยื่อไผ่” จึงได้พัฒนาขนาด เป็น “ข้าวหลามช็อต” คือกระบอกสั้นๆ ที่เหลือตัดจากปล้องไม้ไผ่ข้าวหลามทั่วไป เมื่อเหลือเศษก็นำมาทำข้าวหลามกระบอกสั้น เป็นสีสันอีกแบบ แถม “ไม้พาย” เล็กๆ ตักกินได้เลย จะเห็นว่ามีข้าวหลาม “แม่” ต่างๆ หลายชื่อ ดูคล้ายๆ แม่ต่างๆ ที่ขายขนมหม้อแกงเมืองเพชร ปัจจุบัน ใส่ไส้สารพัดชนิด ใส่กลิ่นข้าวญี่ปุ่นผสม ใส่กลิ่นหอมชาเขียว สงกรานต์ปีนี้ ผมว่าอาจจะได้ชิม “ข้าวหลามกลิ่นกัญชา” กันบ้างหรือเปล่า