สิ่งที่จะขอคุยคุณสมบัติพิเศษอีกประการคือ ส่วนของดอกและเมล็ด

ก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์อย่างดีเยี่ยม โดยดอกจะมีสารสีชื่อ anthocyanin ซึ่งจะให้สีติดนาน ดังนั้น ที่เห็นเด็กๆ ชอบเด็ดดอกเทียนมาขยี้กลีบดอกแล้วทาเล็บก็ติดอยู่นาน แต่พี่จะบอกให้นะจ๊ะเด็กๆ ทั้งหลาย ระวังอย่าให้เปื้อนเสื้อผ้า จะซักไม่ออกนะ สำหรับเมล็ดก็นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยบีบอัด จะได้น้ำมันนำมาหุงต้ม หรือจุดตะเกียงก็ได้ เพราะสารสำคัญมีไขมัน และกรดไขมัน เช่น Palmatic linoleic.ในสาร B-sitosterol ที่เป็นประโยชน์ เห็นไหมคะว่าใช้หนูได้ทุกส่วนเลยจริงจริ๊ง…?

ข่าวดีปีใหม่สำหรับ “นางพญาผมขาว” หรือชายหญิงผมหงอกสีดอกเลา หนูขอแนะนำสูตรยาย้อมสีผมที่มี “เทียนกิ่ง” หรือที่คนรู้จักชื่อ “เฮนน่า” ซึ่งมีสาร lawsone เป็นสารสีที่ย้อมเส้นผมติดสีได้แบบกึ่งถาวร ติดนานเป็นเดือน รับรองใช้สูตรนี้แล้วไม่ต้อง “เวียนเทียน” ใส่วิกแน่นอน

ยิ่งโตยิ่งหยุดพัฒนาไม่ได้ สำหรับงานปลูกข้าวโพดฝักอ่อนของ คุณณัฐพล ทองร้อยยศ

ปัจจุบัน คุณณัฐพล ทองร้อยยศ เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8 และยังเป็นผู้รวบรวมผลผลิตข้าวโพดฝักอ่อนที่ตำบลยางม่วง อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี คุณณัฐพล เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยรุ่นพ่อและแม่ โตขึ้นมาจึงมารับสานต่อกิจการที่พ่อแม่เคยทำไว้ หากแต่ว่าแต่เดิมนั้นยังไม่ได้มีความหลากหลาย ทำเพียงแค่เก็บฝักมากรีด (ปอก) ส่งโรงงาน แต่เดิมส่งโรงงานเพียงแค่ 1-2 โรงงานเท่านั้น แต่เมื่อคุณณัฐพลมารับช่วงต่อแล้ว เขาเริ่มทำหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น มีการทำการตลาด การส่งโรงงาน บรรจุใส่ถาดเองและมีส่งออกไปต่างประเทศ

ปัจจุบัน พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน ที่ปลูกอยู่ก็คือ พันธุ์แปซิฟิค 271 เป็นพันธุ์หลักที่เกษตรกรใช้ เพราะเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตดี เนื้อสวย ปลายเรียว เป็นที่ต้องการของตลาด

ขั้นตอนในการปลูกและเก็บผลผลิตนั้น ในการเก็บผลผลิต จะใช้เวลาในการเก็บทั้งหมดอยู่ที่ 7-10 วัน เมื่อเก็บผลผลิตเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถตัดต้นเพื่อเอาต้นไปเลี้ยงวัวหรือนำไปขายได้ พักแปลงประมาณ 1 สับดาห์ ต่อมาให้ชักร่องแล้วเริ่มปลูกใหม่ได้เลย โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดที่ใช้นั้น ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 5 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ ในการให้ปุ๋ยระยะแรกใช้ 46-0-0 ในระยะเวลา 15 วันแรก

เมื่อข้าวโพดอายุได้ 45 วัน ให้ถอดยอด ก่อนถอดยอดต้องใส่ปุ๋ย 21-0-0 แต่บางคนจะใช้สูตรเสมอ คือ 15-15-15 ต้องให้น้ำในทุก 7 วัน แต่ถ้าอยู่ในช่วงแล้งจะต้องให้น้ำทุก 5 วัน ในช่วงข้าวโพดอายุ 45-50 วัน คือช่วงที่ถอดยอด เว้นระยะห่าง 5 วัน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้เลย 1 ต้น จะให้ฝักได้ทั้งหมด 4 ฝัก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่ที่การดูแลของเกษตรกรด้วย โดยขั้นตอนการปลูกรวมเบ็ดเสร็จแล้วจะไม่เกิน 2 เดือน ข้าวโพดจะสามารถปลูกได้ทั้งปี ใน 1 ปี สามารถปลูกได้ขั้นต่ำ 5 รอบ

ปริมาณผลผลิตที่ได้ จะได้ 2-2.5 ตัน ต่อ 1 ไร่ ราคาขายจะอยู่ที่ 4.50 บาท ต่อกิโลกรัม (ทั้งเปลือก) แต่ถ้าช่วงไหนข้าวโพดราคาสูง จะขายอยู่ในราคา 8-10 บาท เลยทีเดียว

“เมื่อเก็บฝักมาแล้ว จะมีกลุ่มคนที่มากรีดฝักข้าวโพด บางคนกรีดเอาไปให้วัว บางคนกรีดเอาเปลือกไปขาย โดยส่วนนี้เราไม่ต้องจ้างเขา เขามาทำด้วยตัวของเขาเอง อย่างเก็บข้าวโพดอันนี้ ผมจ้างเขามาเก็บกิโลกรัมละ 1 บาท วันหนึ่งก็จะเก็บได้ 300-400 กิโลกรัม ก็เป็นรายได้ของพวกเขา ส่วนต้นจะขายได้ตันละ 500 บาท ยอดก็สามารถขายได้กิโลกรัมละ 1 บาท เหมือนกัน” คุณณัฐพล พูดถึงการสร้างรายได้ที่ได้ทั้งตนเองและกลุ่มคนในชุมชนที่อยู่ร่วมกัน

ในเรื่องของศัตรูพืช คุณณัฐพล เล่าว่า ในปีนี้เกษตรกรประสบปัญหาเรื่องหนอนเจาะยอด ดังนั้น จะต้องฉีดยาในช่วงที่ข้าวโพดมีอายุได้ประมาณ 10-15 วัน ขึ้นไป

เรื่องการตลาด ต้องตื่นตัวอยู่เสมอ

“เรื่องการตลาด ต้องทำการบ้านตลอด ต้องดูแลในเรื่องของความต้องการของตลาดต่อจำนวนผลผลิตที่เรามี ว่าโรงงานสามารถรับผลผลิตทั้งหมดได้หรือเปล่า ถ้าไม่หมดต้องเตรียมหาพื้นที่สำรองไว้รองรับผลผลิตของเราเอาไว้ด้วย” คุณณัฐพล กล่าว

การส่งออกนั้น ช่วงที่มีข้าวโพดฝักอ่อนมาเยอะๆ จะมีส่งมาที่แหล่งรวบรวมที่นี่ ถึงวันละ 10 ตัน ต่อวัน ราคาขายก็ขายตามราคาท้องตลาด อย่างเช่น ช่วงนี้ราคาจะอยู่ที่ ประมาณ 25-26 บาท ต่อกิโลกรัม แต่ในเรื่องของราคานั้นอาจจะมีปัจจัยอย่างอื่นมาเป็นตัวแปรด้วย เช่น เรื่องฤดูกาลต่างๆ ปัจจุบันแหล่งรวบรวมข้าวโพดฝักอ่อนแห่งนี้มีสมาชิกทั้งหมดกว่า 100 ราย เฉลี่ยแล้วตกอยู่ที่ รายละ 3-4 ไร่ รวมทั้งหมดก็มีประมาณ 300-400 ไร่ ณ ตอนนี้

พันธุ์ข้าวโพดฝักอ่อน ที่มีหลักๆ ก็คือ พันธุ์แปซิฟิค 271 และ พันธุ์แปซิฟิค 371 แต่ว่าปริมาณของพันธุ์แปซิฟิค 271 จะมากที่สุด

ถ้านับตั้งแต่สมัยก่อนมาจนถึงสมัยปัจจุบัน ในเรื่องของการเปลี่ยนพันธุ์ข้าวโพด คุณณัฐพล เล่าว่า “ก็มีเปลี่ยนบ้างนะครับ พอมีข้าวโพดพันธุ์ใหม่มา ลูกไร่ก็จะนำไปลองปลูกเรื่อยๆ แต่ว่าแต่ละพันธุ์มันก็จะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป”

แหล่งรวบรวมผลผลิตของข้าวโพดฝักอ่อน ย้ายมาดูในฝั่งกระบวนการรวบรวมกันบ้าง คุณณัฐพล ให้รายละเอียดว่า “ที่นี่จะเป็นจุดรวบรวมให้โรงงาน ตลาด และลูกค้าประจำ โดยที่เราจะเป็นคนเข้าไปหาเขา แต่จะมีบางรายที่จะโทร.มาเมื่อต้องการสินค้าจากเรา แต่ส่วนมากเราจะเป็นฝ่ายติดต่อเขาไปเองมากกว่า ช่วงนี้ก็ส่งออก วันละ 5-6 ตัน หรือ 2,000 กว่าแพ็ก”

ลักษณะข้าวโพดฝักอ่อนที่ดี ต้องมีความสวยของฝัก ขนาดต้องไม่ยาวมาก ความยาวประมาณ 10-11 เซนติเมตร แต่ขนาดและความยาวของฝักจะขึ้นอยู่กับการควบคุมของการเก็บฝักของตัวเกษตรกรเองมากกว่า ถ้าข้าวโพดตกเกรดราคาจะอยู่ที่ 4 บาท ต่อกิโลกรัม ราคาจะต่ำมากเมื่อเทียบกับข้าวโพดไซซ์มาตรฐานที่มีราคาอยู่ที่ประมาณ 25-26 บาท ต่อกิโลกรัม

การตลาด และการส่งออก

“ตลาดหลักที่ส่งออกจะอยู่ที่ไต้หวันและโรงงานกระป๋อง โดยที่ไต้หวันจะเป็นรถบริษัทมารับข้าวโพดถึงที่บ้าน ส่วนที่แพ็กสดจะส่งตลาดไท แต่ถ้าเป็นที่อื่นต้องดูเรื่องความคุ้มของภาระรายจ่ายต่อรายได้ที่ได้รับ ซึ่งส่วนมากจะไม่คุ้ม ก็เลยทำตลาดหลักคือ ส่งออกไต้หวัน และโรงงานกระป๋อง”

ราคาขายส่งออกกับขายในประเทศราคาจะใกล้เคียงกันมาก แต่ส่งออกต่างประเทศจะต้องใช้ปัจจัยหลายอย่าง เช่นการทำ GMP (มาตรฐานผลิตภัณฑ์ เป็นเกณฑ์ควบคุมการผลิต) GHP (มาตรฐานสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร) และจำเป็นที่จะต้องมีความชำนาญเรื่องของการตลาดควบคู่กันไปด้วย เรื่องภาษาก็เป็นสิ่งสำคัญ

หลักการบริหารการตลาด ส่วนมากจะเป็นไปในแนวทางของการคุยและเจรจากับคู่ค้าเสียมากกว่า “บางทีเขาก็มีความต้องการในเรื่องของขนาด เราก็ต้องเอาขนาดที่เขากำหนดไปต่อรองราคากับเขา…ในช่วงที่สินค้าล้นตลาด ส่วนมากแล้วจะส่งไปที่แกรนด์เอเชียและโรงงานที่ลำปาง ของขาดตลาดเองก็มีบ้าง แต่ช่วงนี้ปริมาณของจะอยู่ในจุดที่พอดี ช่วงที่ของจะล้นตลาดจะอยู่ในช่วงของเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ขณะที่ของล้นตลาดจะส่งไปที่โรงงานที่ลำปาง ส่งไปเที่ยวละ 6 ตัน ใน 1 สัปดาห์ จะส่ง 2 ครั้ง ก็ตกอาทิตย์ละ 12 ตัน” คุณณัฐพล เล่า

ถ้ามีเกษตรกรอยากจะลองเริ่มทำดูบ้าง คุณณัฐพล แนะนำว่า ให้มองหาตลาดหลักที่ส่งออกเยอะ ยิ่งช่วงเวลาของขาดราคาจะยิ่งดีขึ้นมาก แต่ต้องยอมรับว่าอาจจะมีปัญหาในช่วงที่ของตายบ้าง ดังนั้น ผู้ที่จะเริ่มทำต้องดูเรื่องปริมาณความต้องการของตลาดกับจำนวนผลผลิตที่มีควบคู่กันไปด้วย

สนใจติดต่อซื้อขาย สามารถติดต่อ คุณณัฐพล ทองร้อยยศ ได้โดยตรง โทร. 085-297-5087 บ้านเลขที่ 33/1 หมู่ที่ 8 ตำบลยางม่วง อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี หรือติดต่อได้ที่ เจ้าของพันธุ์…บริษัท แปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ จำกัด เลขที่ 1 หมู่ที่ 13 ถนนพหลโยธิน ตำบลพระพุทธบาท อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 18120 โทรศัพท์ 036-266-316-9, 036-267-877-8 เฟซบุ๊ก Fanpage: Pacific Seeds

กระแส สับปะรดผลสด เริ่มมาแรง หลังจากที่สถานการณ์สับปะรดส่งโรงงานอุตสาหกรรมมีปัญหาด้านราคารับซื้อมาตลอด ด้วยระบบการซื้อและราคาที่ไม่แน่นอน มักจะต่ำกว่าต้นทุน เสมอต้นทุน หรือแค่ปริ่มต้นทุน ลุ้นได้ยากแล้ว แถมแนวโน้มดูจะไม่สดใส ล่าสุดลูกค้านำเข้ารายใหญ่ประเทศสหรัฐอเมริกา เปลี่ยนใจตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ต่อสินค้าเกษตรไทยหลายรายการ

งานเข้ายาวแน่ๆ ผู้พ่ายแพ้และบอบช้ำมากกว่าใคร เห็นจะเป็นชาวไร่สับปะรด ต้นน้ำที่ปลูกสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวียเพื่อส่งขายโรงงาน ทางออกหนึ่งเพื่อลดความเสี่ยงด้านราคา จึงต้องแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ที่ดูจะสดใสมากกว่า, MG-3 สับปะรดผลสดพันธุ์ใหม่ที่มีการนำเข้ามาจากประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อนบ้านใกล้ชิดเราเผ่าอาเซียน เป็นอีกพันธุ์ที่ตอบสนองตลาดผลสดได้ดี เพราะคุณสมบัติที่โดดเด่นเหนือกว่าพันธุ์ปัตตาเวียในหลายด้าน เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศและคนไทย ตามไปดูข้อมูลกันครับ

ผู้เขียนได้ทดลองปลูกสับปะรดหลากหลายพันธุ์ เพื่อศึกษาข้อมูลและค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่างๆ รวมถึงสัมภาษณ์ชาวไร่สับปะรดระดับแนวหน้าผู้มีประสบการณ์ตรงกับสับปะรดพันธุ์ MG-3 สรุปได้ว่า แหล่งที่มาของสับปะรดพันธุ์นี้ นำเข้าโดย บริษัท Dole Thailand จำกัด อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยนำเข้ามาจากประเทศฟิลิปปินส์ เพื่อใช้ผลิตป้อนโรงงานแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สับปะรดส่งออกและขายผลสดในประเทศ ด้วยคุณลักษณะที่โดดเด่นด้านเนื้อสีเหลืองทอง และรสชาติที่หวานนำ มีกลิ่นหอม ชาวไร่ได้ทดลองปลูกส่งตลาดผลสดซึ่งมีการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี จึงมีการขยายพันธุ์กันต่อมาในหมู่ชาวไร่ นับว่าเป็นอีกทางเลือกของคนสายสับปะรดที่ยังมีความหวังจากสับปะรดพันธุ์ MG-3

คำถามที่ว่า สับปะรดพันธุ์ MG-3 กับ พันธุ์ MD-2 แตกต่างกันอย่างไร/ตรงไหน จากแหล่งข้อมูล, การสังเกตและข้อมูลจากชาวไร่ที่ปลูกพันธุ์นี้มาระยะหนึ่ง พอสรุปได้ว่า ทั้งสองพันธุ์นี้เป็นสับปะรดลูกผสมที่เกิดจากสายพันธุ์พ่อแม่เดียวกัน และได้มีการแบ่งปันต้นพันธุ์กันไประหว่างผู้ร่วมดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาสับปะรดพันธุ์นี้ ซึ่งเป็นเอกชนรายใหญ่ที่อยู่ในสายธุรกิจอุตสาหกรรมแปรรูปสับปะรด แล้วไปตั้งชื่อพันธุ์เป็นการค้าของแต่ละบริษัท หากดูลักษณะทั่วไปโดยรวมอาจมองเห็นว่า สับปะรดสองพันธุ์นี้ดูเหมือนหรือคล้ายกันมาก จนแยกไม่ออกหากไม่สังเกตถี่ถ้วนหรือมีประสบการณ์ตรง แต่มีการยืนยันจากชาวไร่ที่ปลูกสับปะรดพันธุ์ MG-3 ตรงกันว่า ทั้งสองพันธุ์นี้มีความแตกต่างกันทั้งจุดเด่นและจุดด้อย และจากที่ได้ปลูกทดลอง/ศึกษา ของผู้เขียน เห็นด้วยว่า เป็นจริง ทั้งในเชิงวิชาการและประสบการณ์ที่ผ่านการคลุกคลีกับงานส่งเสริมสับปะรดมาบ้าง จึงขอสรุปลักษณะเด่นของสับปะรดพันธุ์ MG-3 ไว้ ดังนี้

– ลำต้น/ทรงต้นใหญ่ สะโพกใหญ่ แข็งแรง ทนแล้ง และโรคต้นเน่าได้ดี

– ใบกว้าง หนา ออกสีเขียวนวล ใบสั้น ไม่ยาวเรียว เทียบกับสับปะรดทั่วไป ขอบใบเรียบ อาจมีหนามที่ขอบปลายใบบ้างเล็กน้อยกับบางต้น

– ผลใหญ่มาตรฐาน ตาย่อยใหญ่เด่นชัด การเรียงของตาตามแนวตั้งค่อนข้างเป็นระเบียบตรงไม่เอนมาก จำนวนตาแนวตั้ง 6-8 ตา น้ำหนักผล 1.2-3 กิโลกรัม – เนื้อสีเหลืองทองตลอดผล เนื้อแน่นไม่มีโพรง เส้นใยนุ่มมาก แกนเล็ก มีกลิ่นหอมเด่นชัด รสชาติหวานนำ อมเปรี้ยวเล็กน้อย (สัดส่วนความหวาน : เปรี้ยวจากลิ้นสัมผัส อยู่ประมาณ ร้อยละ 80:20, 90:10)

– ตอบสนองต่อปุ๋ยได้ดี เจริญเติบโตเร็ว และตอบสนองต่อฮอร์โมนเร่งการออกดอกได้ดีมาก ฉีดพ่นหรือหยอดเพื่อบังคับการออกดอกเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

– ผลผลิตใช้ในอุตสาหกรรมแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้หลากหลาย และมีคุณสมบัติที่โดดเด่นด้านสีสัน กลิ่นหอม เนื้อละเอียด เส้นใยอ่อนนุ่ม

– การแตกหน่อดี ขยายพันธุ์ได้เร็ว หน่อใหญ่ แข็งแรง โตเร็ว ทนแล้งได้ดี – อายุเก็บเกี่ยว 135-140 วัน หลังจากบังคับดอก เร็วกว่าพันธุ์ปัตตาเวีย 15-20 วัน

– ผลผลิตเก็บในห้องเย็นอุณหภูมิต่ำได้นาน และไม่เกิดอาการไส้สีน้ำตาล (IB) จึงเหมาะกับการขนส่งระยะทางไกลๆ ด้วยระบบห้องเย็นที่ใช้อุณหภูมิต่ำได้ดี

– ทรงผลรูปทรงกระบอก (CS) สวยงาม ผลสุกเปลือกสีเหลืองทอง จุกยาวได้สัดส่วน ค่าความหวาน 17-20 องศาบริกซ์ จัดเป็นสับปะรดในกลุ่มซุปเปอร์สวีท ในยุคที่สายสับปะรดมีปัญหามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับระบบการซื้อขายผลผลิต ที่ขาดอำนาจการต่อรองใดๆ ภาครัฐก็ดูจะห่างไกล ไร้เจ้าภาพหลัก ทิศทางการพัฒนา ไม่ค่อยแน่นอน, ระบบกลุ่มของชาวไร่ก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก เพราะไม่เข้มแข็งพอจะต่อรองกับคู่ค้าขาย จึงจำเป็นที่ชาวไร่แต่ละคนต้องช่วยตัวเองให้มากขึ้น ทำอะไรได้ก็ต้องทำ นอกจากความอดทนแล้วต้องขยันให้มากกว่าเดิม และต้องมองหาทางเลือกใหม่ที่มั่นใจในข้อมูลที่เชื่อถือได้ ต้องกล้าตัดสินใจเปลี่ยนแปลงบ้าง ไม่วนอยู่ในอ่างแบบที่เขาเปรียบเปรย ประสบการณ์มีมากแล้ว แค่ลองมาปลูกสับปะรดพันธุ์ MG-3 หรือพันธุ์ใหม่ๆ ดูบ้าง ค่อยๆ เรียนรู้ไป ไม่ยากอะไร ไม่ไหวก็ตัดออกบอกเลิก พันธุ์ใหม่สำหรับคนที่พร้อม อยู่ที่ว่าจะสู้หรือถอย ต้นทุนไม่มาก ปลูกไปขยายพันธุ์ไปใช้เวลาไม่นาน จำนวนต้นพันธุ์ที่ได้ก็จะมากพอ

สำหรับคนที่สภาพคล่องมีจำกัด ไปทางลัดอาจไม่ไหว ไปช้าๆ แต่ก็ชัวร์ได้เหมือนกัน สับปะรดพันธุ์ MG-3 หากไม่มีคุณลักษณะโดดเด่นที่ดีมากพอ บริษัทใหญ่ๆ และชาวไร่ฟิลิปปินส์คงไม่เก็บไว้ทำมาหากินเป็นแน่ครับ…

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

-มนตรี กล้าขาย, 2562, งานทดสอบและศึกษาพันธุ์สับปะรดผลสดที่ปลูกเป็นการค้าในประเทศไทย ข้อมูลจำเพาะ สับปะรด MG-3

แหล่งผลิตใหญ่อยู่ในประเทศฟิลิปปินส์ จากข้อมูลของ บริษัท โดลฟิลิปปินส์ ระบุว่า ในปี 2015 มีพื้นที่ปลูกสับปะรด 3 พันธุ์ แบ่งเป็นพันธุ์ MG-3 จำนวน 16,481 acres (6,672.47 ha), พันธุ์ F 200 จำนวน 6,647 acres (2,691.09 ha) และพันธุ์ Dole 14 จำนวน 60 ha. โดยปลูกอยู่ในเขต Polomolok and Tupi, South Cotabato. บริษัท โดลฟิลิปปินส์ ส่งออกพันธุ์ MG-3 เป็นหลัก ในรูปสับปะรดผลสด ไปยังประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง จีน รัสเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ จอร์แดน กาตาร์ บาห์เรน เลบานอน และอิหร่าน

ในปี 2015 ประเทศจีน นำเข้าสับปะรดผลสดจากประเทศฟิลิปปินส์ จำนวน 700 ตู้คอนเทนเนอร์ คิดเป็นร้อยละ 88 ของผลผลิตรวมที่นำเข้า โดยเป็นพันธุ์ MG-3 และ พันธุ์ MD-2 ลักษณะเด่นของสับปะรดพันธุ์ MG-3 มีรสชาติหวาน (super sweet) ตาย่อยใหญ่ ผลแก่ผิวเปลือกสีเขียวสดใส และผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเข้ม เนื้อสีเหลืองทองตลอดผล ปริมาณกรด ร้อยละ 50, ขนาดของผลมีน้ำหนักระหว่าง 1-2.5 กิโลกรัม, บรรจุกล่องมาตรฐานได้กล่องละ 4-10 ผล มีคุณสมบัติที่มีอายุการวางขาย (shelf life) ได้นานกว่าสับปะรดพันธุ์อื่นๆ และเก็บไว้ได้ในห้องควบคุมอุณหภูมิต่ำได้นาน โดยไม่แสดงอาการไส้สีน้ำตาล ที่เป็นปัญหาใหญ่ที่เกิดกับสับปะรดพันธุ์อื่นๆ จึงเหมาะสมต่อการขนส่งระยะทางไกลได้เป็นอย่างดี ซึ่งต่อมาได้มีการนำจุกสับปะรดพันธุ์ MG-3 เข้ามายังประเทศไทยจำนวนหนึ่ง เพื่อขยายพันธุ์และส่งเสริมการปลูกสู่เกษตรกร

ระยะนี้เข้าสู่ช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อดอกจนถึงระยะพัฒนาผล กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนมะม่วงให้เฝ้าระวังสังเกตการเข้าทำลายของเพลี้ยจักจั่นมะม่วง มักพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยเข้าทำลายใบอ่อน ช่อดอก ก้านดอก และยอดอ่อน โดยระยะที่มะม่วงกำลังออกดอกจะเกิดความเสียหายมากที่สุด เพลี้ยจักจั่นมะม่วงจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ทำให้ดอกแห้ง ดอกร่วง และติดผลน้อยหรือไม่ติดผล ขณะที่เพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงจะถ่ายมูล เป็นน้ำหวานเหนียวๆ ติดตามใบ ช่อดอก ผล และรอบทรงพุ่ม ทำให้ใบเปียก เกิดราดำปกคลุมมาก ส่งผลต่อการสังเคราะห์แสงของใบ ส่วนใบอ่อน (ใบเพสลาด) จะบิดงอโค้งลง ให้สังเกตด้านใต้ใบมีอาการปลายใบแห้งได้

หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตมะม่วง เว็บ SBOBET ให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่งทรงพุ่มต้นมะม่วงให้โปร่งอยู่เสมอ เพื่อช่วยลดที่หลบซ่อนต่อการแพร่ขยายพันธุ์ของเพลี้ยจักจั่นมะม่วง จากนั้น ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงแลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยให้การพ่นสารฆ่าแมลงมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น เกษตรกรควรปรับหัวฉีดให้เป็นแบบละอองฝอย และพ่นให้ทั่วถึงทั้งลำต้นในระยะก่อนที่มะม่วงจะออกดอก 1 ครั้ง มิฉะนั้น ตัวเต็มวัยจะย้ายไปหลบซ่อนยังบริเวณที่พ่นสารฆ่าแมลงไม่ทั่วถึง ส่วนในระยะที่ช่อดอกบานแล้วไม่ควรพ่นสารฆ่าแมลง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อแมลงผสมเกสร และเกษตรกรควรหมั่นตรวจดูตามช่อดอกอยู่เรื่อยๆ ซึ่งหากไม่มีการป้องกันกำจัดแล้ว มะม่วงจะไม่ติดผลเลย

นอกจากนี้ ให้เกษตรกรใช้วิธีในการป้องกันกำจัดเพลี้ยจักจั่นมะม่วงแบบผสมผสาน โดยให้เกษตรกรใช้น้ำ ฉีดล้างช่อดอกและใบ เพื่อช่วยแก้ปัญหาช่อดอกและใบดำจากโรครา หากแรงอัดฉีดของน้ำแรงพอก็ช่วยให้เพลี้ยในระยะตัวอ่อนกระเด็นออกจากช่อดอกได้ แต่ให้ระมัดระวังอย่าฉีดน้ำไปกระแทกดอกมะม่วงแรงจนเกินไป เพราะอาจทำให้ดอกหรือผลที่เริ่มติดร่วงได้ และให้เกษตรกรใช้กับดักแสงไฟดักจับตัวเต็มวัยเพลี้ยจักจั่นมะม่วงที่บินมาเล่นไฟ เพื่อช่วยลดความความเสียหาย

กรมวิชาการเกษตร เตรียมป้อนพืชไร่พันธุ์ใหม่ใช้น้ำน้อย “ถั่วลิสงขอนแก่น 9” สร้างรายได้ให้เกษตรกรช่วงวิกฤตภัยแล้ง โชว์ลักษณะเด่นโดนใจเกษตรกรครบวงจร ทั้งขนาดเมล็ดโต ฝักดก ผลผลิตสูง แถมปลิดฝักง่าย เผยปี 63 เตรียมความพร้อมเมล็ดพันธุ์ไว้รองรับความต้องการเกษตรกรแล้ว

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ถั่วลิสง เป็นพืชตระกูลถั่วที่ปลูกได้ตลอดปี เป็นพืชที่มีอายุเก็บเกี่ยวค่อนข้างสั้น ปลูกได้ทั้งต้นฤดูฝน ปลายฤดูฝน และฤดูแล้ง เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของรายได้ให้เกษตรกร และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยมีพื้นที่ปลูกที่สำคัญคือ ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซี่งผลผลิตถั่วลิสงสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งใช้เป็นแหล่งอาหารโปรตีน ต้นใช้เลี้ยงสัตว์และปรับปรุงบำรุงดิน

ประเทศไทยนิยมใช้ถั่วลิสงเพื่อการบริโภคโดยตรง หรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ซึ่งในกลุ่มถั่วลิสงใช้เมล็ดนี้จัดกลุ่มตามขนาดเมล็ด คือ กลุ่มเมล็ดโต มีน้ำหนัก 100 เมล็ด มากกว่า 60 กรัม พันธุ์มาตรฐานในกลุ่มนี้ ได้แก่ ขอนแก่น 6 กลุ่มเมล็ดปานกลางมีน้ำหนัก 100 เมล็ด 35 -60 กรัม พันธุ์มาตรฐานในกลุ่มนี้ ได้แก่ ไทนาน 9 และขอนแก่น 5 โดยในกลุ่มที่มีขนาดเมล็ดปานกลางเกษตรกรต้องการพันธุ์ที่มีฝัก และเมล็ดที่มีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งเหมาะกับการบริโภค ซึ่งพันธุ์มาตรฐานที่นิยมปลูกในปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไทนาน 9 ยังมีขนาดเมล็ดค่อนข้างเล็ก และถึงแม้จะมีพันธุ์ขอนแก่น 5 ทีมีขนาดเมล็ดโตกว่าพันธุ์ไทนาน 9 แต่ก็ยังสามารถที่จะปรับปรุงพันธุ์ถั่วลิสงให้มีขนาดโตและให้ผลผลิตที่สูงขึ้นได้อีก