สูตรน้ำหมักชีวภาพแทนเคมี ลดต้นทุนในสวนยางฯ ที่เปิดกรีดแล้ว

ปัจจุบัน การทำสวนยางพารามีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นมาก เนื่องจากปุ๋ยเคมีราคาแพง เกษตรกรรายย่อยไม่มีเงินทุนเพียงพอที่จะซื้อปุ๋ยเคมีใส่ยางพาราให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเกษตรกร ทำให้ได้รับผลผลิตตกต่ำ รายได้ลดลง สร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกรเป็นอย่างมาก

แต่มีเกษตรกรหัวไว ใจสู้ ที่ไม่ยอมแพ้ คิดค้นวิธีการที่จะลดต้นทุนการผลิตในเรื่องของปุ๋ยเคมี โดยหันมาใช้น้ำหมักชีวภาพแทน คุณลุงสุริยา เพชรเกษม อยู่บ้านเลขที่ 46/2 หมู่ที่ 4 ตำบลท่านา อำเภอกะปง จังหวัดพังงา เป็นเกษตรกรหัวไว ใจสู้ ซึ่งได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย ทำการเกษตรไร่นาสวนผสม โดยการเลี้ยงสัตว์ ปลูกไม้ผลและยางพารา ได้ตัดสินใจเลิกใช้ปุ๋ยเคมี มาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบัน โดยยึดหลักการทำเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยทำน้ำหมักชีวภาพใช้เอง ต้นทุน 2,000 บาท/พื้นที่ปลูกยางพารา 10 ไร่ ผลผลิตที่ได้รับ 26 กิโลกรัม/วัน

สูตรน้ำหมักชีวภาพที่ใช้บำรุงต้นยางพารา ประกอบด้วย

1. กล้วย จำนวน 1 กิโลกรัม ราคา 5 บาท
2. ปลา จำนวน 1 กิโลกรัม ราคา 30 บาท
3. ฟักทอง จำนวน 1 กิโลกรัม ราคา 20 บาท
4. มะละกอ จำนวน 1 กิโลกรัม ราคา 20 บาท
5. กากน้ำตาล จำนวน 1 กิโลกรัม ราคา 5 บาท
6. สารเร่ง พด.2 จำนวน 1 ซอง
7. น้ำ จำนวน 10 ลิตร

รวมต้นทุนการผลิต 80 บาท ใช้เวลาหมัก จำนวน 21 วัน จะได้หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 10 ลิตร ผสมน้ำใช้กับสวนยางพาราได้ 2,000 ลิตร เคล็ดลับในการทำน้ำหมักชีวภาพให้ได้ผลดี
1. ควรเลือกใช้เศษผัก ผลไม้ ที่ยังไม่เน่าเสีย สับให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ภาชนะที่มีปากกว้าง เช่น ถังพลาสติก หรือโอ่ง หากมีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้ว ให้เทผสมลงไปแล้วลดปริมาณกากน้ำตาลลง ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพ จากนั้นกรอกใส่ขวด ปิดฝาให้สนิทรอการใช้งานต่อไป

2. ในระหว่างการหมักห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิท เพราะอาจทำให้ระเบิดได้ เนื่องจากระหว่างการหมักจะทำให้เกิดแก๊สต่างๆ ขึ้น เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน เป็นต้น

3. ไม่ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้มใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกส้มจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลาย การทำน้ำหมักชีวภาพไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องอาศัยเวลาและความอดทน ที่สำคัญน้ำหมักชีวภาพไม่มีสูตรตายตัว เราสามารถทดลองปรับเปลี่ยนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับต้นไม้ของเรา เพราะสภาพแวดล้อมแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ต้นไม้แต่ละท้องถิ่นก็ต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน น้ำหมักชีวภาพจึงจำเป็นต้องมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่น

วิธีใช้ให้ได้ผลดี

– ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร ผสมน้ำ 200 ลิตร ใส่ยางพาราได้ 1 ไร่

– วิธีการใช้น้ำหมักใส่แปลงยางพาราที่เปิดกรีดแล้ว ใช้น้ำหมักเข้มข้นใส่ถ้วยรับน้ำยาง เมื่อกรีดครั้งต่อไปก็จะเทน้ำหมักที่ผสมน้ำแล้ว ในถ้วยรับน้ำยางลงในแปลงยางพาราโดยไม่ต้องจ้างแรงงาน

– การใส่น้ำหมักชีวภาพในสวนยางพารา ใส่เดือนละ 3 ครั้ง

ประโยชน์ที่ได้รับ

– ลดต้นทุนในการผลิตยางพารา โดยใช้แทนปุ๋ยเคมี

– ปรับปรุงดินให้มีคุณภาพดีขึ้น เหมาะสมแก่การปลูกพืช

– รักษาสภาพแวดล้อม

– เปลือกยางพารานิ่ม กรีดง่าย

– ใช้ทาหน้ายางเพื่อรักษาโรคหน้ายางตายนึ่ง ผมสนใจอยากปลูกมะรุมไว้บริโภคในครอบครัว แต่ผมไม่มีพื้นที่มากพอ จึงอยากทราบว่า ผมจะปลูกนกระถางจะได้หรือไม่ ถ้าหากปลูกได้ต้องปฏิบัติอย่างไร คุณหมอเกษตรโปรดอธิบายให้เข้าใจด้วย แล้วผมจะติดตามอ่านในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านต่อไปครับ

มะรุม มีประโยชน์มากมาย ใช้บริโภคได้ตั้งแต่ใบอ่อน ดอก ฝักอ่อน และฝักแก่ หรือแม้แต่เมล็ดยังสามารถนำไปสกัดน้ำมันได้อีกด้วย นอกจากนี้ มะรุมยังปลูกง่าย เติบโตเร็ว และทนต่อโรค แม้แต่ปลูกในกระถางก็ให้ผลดีและอยู่ได้หลายปี

วิธีปลูก คัดเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ และแก่เต็มที่ หากหาพันธุ์อินเดียจะยิ่งดี เพาะเมล็ดที่เตรียมไว้ลงในถุงเพาะชำ สีดำ มีวัสดุปลูกที่ร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี หลังเมล็ดงอกประมาณ 2 เดือน ต้นกล้าจะเลื้อยและทอดยอดสูง หรือยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ให้ใช้มีดคมและสะอาดตัดต้นให้เตี้ยลง เหลือเพียง 12 เซนติเมตร ผูกกับหลักไม้ขนาดพอเหมาะ ให้ต้นตั้งตรง อีกไม่นานต้นกล้าจะแตกยอดใหม่ออกมาด้านข้างใต้รอยตัดลงมาเล็กน้อย

บำรุงต่อไปอีก 2-3 เดือน ต้นกล้าจะแข็งแรง สมบูรณ์ ลำต้นมีขนาดใกล้เคียงกับแท่งดินสอดำ พร้อมนำลงปลูกในกระถางมังกร ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15-18 นิ้ว หรือใหญ่กว่าก็ได้ ใส่ดินผสมประกอบด้วยดินร่วนสะอาด และกาบมะพร้าวสับขนาดเล็ก หรือแกลบดิบอย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 3 : 1 พร้อมเติมปุ๋ยคอกเก่าเล็กน้อย คลุกเคล้าจนเข้ากันดีแล้วใส่เกือบเต็มกระถาง ฉีกถุงเพาะชำต้นกล้าที่เตรียมไว้ ระวังอย่าให้ระบบรากฉีกขาด ปลูกลงที่กลางกระถาง กลบดินพอแน่น ปักหลักไม้ผูกกับต้นกล้า ป้องกันลมพัดโยก ใส่ปุ๋ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1 ช้อนโต๊ะ โรยบางๆ รอบต้นกล้าแล้วรดน้ำตาม วางกระถางในตำแหน่งที่รับแดดได้เต็มที่

แต่ช่วง 3-5 วันแรก ควรพรางแสงให้บ้าง ครบกำหนดแล้วเปิดให้รับแสงได้ หมั่นดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากกระถางมีพื้นที่ขนาดเล็ก ระบบรากจึงถูกกำจัดพื้นที่ ทำให้ประสิทธิภาพการหาอาหารต่ำลง ปุ๋ยจึงขาดไม่ได้ จึงจำเป็นต้องให้ปุ๋ยสูตรเดิม อัตรา 1-2 ช้อนโต๊ะ เดือนละ 2 ครั้ง แต่อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม เมื่อต้นมะรุมมีอายุ 5-6 เดือน ต้นจะเติบโตอย่างรวดเร็ว ต้องตัดต้นให้เตี้ยลง เหลือความสูงไว้เพียง 50-80 เซนติเมตร ทาแผลด้วยปูนแดง ป้องกันเชื้อโรค บำรุงต้นต่อไป ภายใน 1 สัปดาห์ ต้นมะรุมจะแตกยอดใหม่ออกทางด้านข้าง ใต้รอยตัด

หมั่นรดน้ำใส่ปุ๋ย เมื่อต้นมะรุมมีอายุ 7 เดือน หลังจากปลูกลงในกระถาง ต้นมะรุมจะออกดอกสะพรั่ง ระยะนี้ให้โชยน้ำเป็นละอองไปที่ดอก จะช่วยให้ติดฝักดีขึ้น ทอดระยะไปอีกประมาณ 1-2 เดือน ฝักมะรุมจะสมบูรณ์เต็มที่ สามารถเก็บเกี่ยวไปบริโภคได้ตามต้องการ

ไปอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา หวนให้คิดถึง “ส้มจุก” ที่เรียกกันติดปากว่า “ส้มจุกจะนะ” ผลไม้ที่จัดว่าเป็นผลไม้โบราณไปแล้ว เพราะหาซื้อกินยาก ไม่ได้มีวางขายตามแผงผลไม้ทั่วไป หากจะซื้อกินให้ได้ก็น่าจะต้องเดินทางไปให้ถึงสวน ในพื้นที่อำเภอจะนะ เพราะผลผลิตที่ออกมาในแต่ละขั้ว ถูกจับจองเกือบหมดตั้งแต่ยังไม่ถึงแผงค้าเสียด้วยซ้ำ และหากเดินทางไปถึงสวน ก็อาจจะต้องรอคิว เพราะแม้แต่คนในพื้นที่เองก็เป็นหนึ่งในลูกค้าเข้าคิวซื้อส้มจุกจะนะด้วยเหมือนกัน

สำนักงานเกษตรอำเภอจะนะ นำทีมเทคโนโลยีชาวบ้านเข้าถึงสวนส้มจุกที่ยังมีผลผลิตต่อเนื่อง และเป็นสวนที่ปราศจากเคมี มีการดูแลโดยวิธีธรรมชาติ และได้ผลผลิตดีมีคุณภาพ

สำนักงานเกษตรอำเภอจะนะ ให้ข้อมูลพื้นที่ปลูกส้มจุกจะนะ ว่า ปัจจุบันในพื้นที่อำเภอจะนะ มีเกษตรกรมาขึ้นทะเบียนเป็นผู้ปลูกส้มจุกจะนะไว้ทั้งสิ้น 65 ราย คิดเป็นพื้นที่ 162 ไร่ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่เน้นปลูกส้มจุกจะนะปลอดสารเคมี แต่ยังพบปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง รวมถึงปัญหาแมลง ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงอนุมัติงบประมาณ 200,000 บาท สำหรับขุดบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง และการส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ถุงห่อส้มจุกป้องกันแมลง ทั้งนี้ ส้มจุกจะนะเป็นผลไม้โบราณที่หากินได้ยาก และมีพื้นที่ปลูกน้อย อีกทั้งรสชาติของส้มจุกที่ปลูกในพื้นที่อำเภอจะนะยังมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร ทำให้สำนักงานเกษตรอำเภอ ร่วมกับ จังหวัด ยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณา

ความพิเศษของ “ส้มจุกจะนะ” คือ ผิวส้มมีกลิ่นหอม ผลสุกจะหวานอมเปรี้ยว ไม่หวานจัด สุกจัดด้านในผลจะกลวง ด้านบนของผลเป็นจุกขึ้นไป จึงเรียกตามลักษณะว่า ส้มจุก

คุณดนกอนี เหลาะหมาน เจ้าของสวนส้มจุกจะนะที่เข้าถึงง่ายที่สุด ให้เราเรียกเขาด้วยความสนิทสนมว่า “บังนี” มีสวนส้มจุกอยู่ที่ หมู่ที่ 7 ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา บังนี มีภูมิลำเนาเป็นชาวอำเภอจะนะ เติบโตมาพร้อมๆ กับต้นส้มจุกที่เขาบอกว่า เห็นมีรายรอบบ้าน ทั้งบ้านตนเอง บ้านญาติ และละแวกใกล้เคียง ขึ้นในลักษณะไม่ใช่สวน แต่เป็นต้นไม้ที่มีไว้ประดับและเก็บผลกินเป็นผลไม้ข้างจานข้าว หลังอิ่มจากมื้อหลัก

บังนี เรียนจบจาก สาขาพืชศาสตร์ (พืชสวน) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพราะรักในการทำสวนมาตั้งแต่เด็ก แต่หลังเรียนจบก็ทำงานตามสาขาที่เรียนมาในบริษัทเอกชน กระทั่งมีเหตุให้ต้องกลับมาอยู่บ้าน ก็ยังทำงานบริษัทเอกชนใกล้บ้าน ส่วนความสนใจด้านการทำสวนที่ยังมีอยู่ก็ยังไม่ทิ้ง

“ภาพที่มีเด็กวิ่งขายส้มจุกจะนะ ร้อยด้วยเส้นลวด หิ้วขายตามสถานีรถไฟจะนะ เป็นภาพที่ติดตา อยากให้มีแบบนี้อีก เลยคิดว่าวันหนึ่งผมจะปลูกส้มและทำแบบนั้นบ้าง” ปี 2544 บังนี เริ่มคิดจริงจังกับการทำสวน และส้มจุกเป็นสิ่งที่เขาตั้งใจ

พื้นที่เพียง 1 ไร่เศษ บังนี ปรับให้เป็นสวนส้มจุกทั้งหมด ปลูกแบบยกร่อง ระยะห่าง 5×5 เมตร ซึ่งระยะที่เหมาะจริงควรเป็น 5×6 เมตร ติดตั้งระบบสปริงเกลอร์ หากผู้ปลูกไม่ได้ยกร่อง ก็ควรพูนโคกให้กับต้น เพื่อการระบายน้ำที่ดี เพราะส้มจุก เป็นพืชที่ชอบน้ำ แต่ไม่ชอบแฉะ ดังนั้น หากน้ำมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรครากเน่าหรือโคนเน่าได้

พื้นที่ 1 ไร่เศษ ของบังนี ปลูกส้มจุกได้มากถึง 50 ต้น

ในสวนที่ดูแลใกล้ชิด เพียง 4-5 ปี ก็เริ่มติดผล แต่ระยะแรกสำหรับบังนี ดูเหมือนจะไม่ได้ผล ทำให้บังนีเริ่มท้อ และนึกถึงเหตุที่คนไม่นิยมปลูกส้มจุกในพื้นที่ ว่าเป็นเพราะการดูแลที่ยุ่งยากและการเอาใจใส่ที่ใกล้ชิด หากปล่อยปละละเลยจะได้ผลผลิตส้มจุกที่ไม่มีคุณภาพ แต่ด้วยใจรักของบังนีที่มีต่อการทำสวนส้มจุก ทำให้สวนส้มจุกไม่ได้ถูกปรับไปปลูกพืชชนิดอื่น และหมั่นดูแลอย่างใกล้ชิดจนส้มจุกให้ผลผลิตออกจำหน่ายได้

“น้ำ เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปลูกส้ม แม้ส้มจะชอบน้ำเยอะ แต่ก็ไม่ควรให้แฉะจนเกินไป เพราะจะเกิดปัญหาโรคตามมา ช่วงที่ฝนตกอย่างต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องรดน้ำเลย ให้สังเกตจากใบ หากใบเหี่ยว ม้วน งอ หมายถึง ขาดน้ำ ควรให้น้ำจนสภาพใบสดชื่น หรือดูจากสภาพดินมีความชุ่มชื้นก็เพียงพอแล้ว”

การดูแลสวนส้มจุกโดยบังนี เน้นการปลูกแบบปลอดสารเคมี จึงใช้ปุ๋ยคอก และ ปุ๋ยชีวภาพ เป็นตัวเสริม

ปุ๋ยคอก เป็นปุ๋ยมูลไก่ ก่อนนำมาใช้ต้องนำมูลไก่ไปหมักก่อนจึงนำมาใช้ ส่วนมูลวัวนำมาใช้ได้ทันที การใส่ปุ๋ยควรให้ช่วงก่อนติดดอก ประมาณเดือนมกราคมของทุกปี จากนั้นงดให้น้ำ ภายใน 60 วัน จะเริ่มแตกยอดใหม่และติดดอก หลังติดดอกประมาณ 30 วัน จะเริ่มติดผล

การติดผลของส้มจุก จะติดช่อละ 2-3 ผล

หลังออกดอกประมาณ 8 เดือน เก็บผลจำหน่ายได้

แมลงและหนอนเจาะผล มักจะเจาะผลก่อนผลสุก ประมาณ 60 วัน ดังนั้น การห่อควรเริ่มตั้งแต่ผลส้มจุกขนาดเท่าผลมะนาว ใช้ถุงกระดาษห่อ หรือจะใช้โฟมก็ได้ ไม่ต่างกัน เพราะแม้จะห่อผลไว้ ก็ไม่สามารถป้องกันแมลงเจาะผลได้ 100 เปอร์เซ็นต์

“แมลงเจาะผล เป็นแมลงปีกแข็งคล้ายบุ้ง จะเจาะเข้าไปในผล ดูดน้ำเลี้ยงในผลและทำลายผล ภายใน 15-20 วัน ผลจะหลุดจากขั้ว ร่วงทิ้ง การกำจัดใช้สมุนไพรฉีดพ่น ช่วยไล่แมลงได้เช่นกัน”

การตัดแต่งกิ่งหลังเก็บผลผลิตเป็นสิ่งที่ควรทำ แต่สำหรับบังนี มีเวลามากบ้างน้อยบ้าง จึงตัดแต่งบ้างและปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติบ้าง ก็ไม่ใช่เรื่องผิด

การขยายพันธุ์ส้มจุก ทำได้ 2 วิธี คือ การเพาะเมล็ด และ การตอนกิ่ง ซึ่งทั้ง 2 วิธี แตกต่างกันเพียงแค่การปลูกด้วยการเพาะเมล็ดจะเจริญเติบโตได้ช้ากว่าเท่านั้น

ต่อข้อสงสัยว่า เพราะเหตุใดจึงมีชาวสวนปลูกส้มจุกไม่มากนัก บังนี บอกว่า น่าจะเป็นเพราะการดูแลที่ต้องใส่ใจในรายละเอียด มีหลายรายที่คิดปลูก แต่ไม่นานก็ล้มเลิก ต้องมีใจรักการทำสวนผลไม้จริงๆ จึงจะอยู่ได้ โดยเฉพาะเมื่อสำนักงานเกษตรอำเภอ ต้องการให้การปลูกส้มจุกปลอดสารเคมี จึงเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุนให้งดใช้สารเคมี แต่เมื่อเกิดโรคและแมลงเข้าทำลาย ชาวสวนส่วนใหญ่ไม่อดทน เพราะเห็นว่าการใช้สารเคมีทำให้ผลผลิตอยู่รอดจากโรคและแมลง ทำให้หลายรายเปลี่ยนปลูกพืชชนิดอื่น เหลือเพียงไม่กี่สิบรายที่ปลูกส้มจุกโดยไม่ใช้สารเคมี

นับจากปีที่เริ่มปลูกมาถึงปัจจุบัน บังนีทำสวนส้มจุกมานาน 16 ปีแล้ว เมื่อได้ผลผลิตก็จำหน่ายให้กับผู้สนใจ เข้ามาซื้อถึงสวน ในราคากิโลกรัมละ 100 บาท ผลผลิตที่ได้ในแต่ละปี แทบไม่เหลือพอจะนำไปร้อยเส้นลวดเดินขายที่สถานีรถไฟจะนะ ตามที่บังนีฝัน ส่วนใหญ่จะถูกจับจองไว้ตั้งแต่เริ่มติดผล และมีมากจนต้องรอคิวกันทีเดียว

“ปี 2558 ผลผลิตได้เยอะมาก มีพ่อค้าคนกลางมารับถึงสวน ส่งไปขายที่มาเลเซีย ก็ได้รับการตอบรับดี เพราะส้มจุกเป็นผลไม้ที่รูปทรงสวย เปลือกมีกลิ่นหอม ทั้งยังถือว่าส้มจุกเป็นผลไม้มงคล นำไปไหว้เจ้าหรือเทพมงคลจะดี ที่ผ่านมาเคยได้ปริมาณผลผลิตมากถึงตันกว่าๆ ต่อพื้นที่ไร่เศษที่ปลูก”

ทุกปี ส้มจุกที่สวนบังนี ถูกจองล่วงหน้าไว้เรียบร้อย ทำให้บังนี เริ่มขยายพื้นที่ปลูก โดยลงปลูกไปแล้วแต่ยังไม่ถึงอายุให้ผลผลิต อีกเกือบ 3 ไร่ แต่ก็ปลูกลองกอง ทุเรียน มังคุด และเงาะร่วมด้วย

ความพิเศษที่มั่นใจได้ว่า สวนส้มจุกของบังนี มีให้ได้มากกว่าคุณภาพ คือ ปลอดสารพิษ และดูแลโดยยึดธรรมชาติเป็นตัวหลัก และมั่นใจได้ว่าเป็นส้มจุกจะนะโดยคนอำเภอจะนะ 100 เปอร์เซ็นต์

ท่านใดสนใจศึกษาวิธีการปลูก การดูแล ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณดนกอนี เหลาะหมาน โทรศัพท์ 098-671-4066 หรือเข้าไปชมถึงสวน ที่ หมู่ที่ 7 ตำบลป่าชิง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

จากสาวพนักงานโรงงานที่จังหวัดชลบุรี คุณอำพร เหล่าลุมพุก ปัจจุบันอาศัยอยู่ หมู่ที่ 5 ตำบลปงน้อย อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ผันตัวเองกลับภูมิลำเนาพร้อมสามี มาทำการเกษตร จากเดิมปลูกข้าว ประสบปัญหาราคาข้าวตกต่ำ และภัยแล้ง จึงหันมาปรับเปลี่ยนพื้นที่นา หันมาปลูกอ้อยคั้นน้ำ เมื่อปี 2562 สายพันธุ์สุพรรณบุรี 50 ที่ให้ผลผลิตสูง ทนแล้ง รสชาติดี สีสวย หอม หวานอร่อย คั้นขายเอง สร้างรายได้หลักแสนต่อไร่ นับว่าเป็นเกษตรกรตัวอย่างที่คิดต่าง และลงมือปลูกเอง ค้นหาข้อมูลและปรึกษากับนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร แล้วขายด้วยตนเอง ถือว่าเป็น Smart Farmer คนเก่งของจังหวัดเชียงราย

อ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50 นั้น เป็นอ้อยที่มีลักษณะลำต้นสีเขียวอมเหลือง ลำปล้องทรงกระบอก หัวท้ายเสมอค่อนข้างยาวถึงยาวมาก ไม่มีร่องหรือรอยบุ๋มบริเวณตาหรือข้อ อายุเก็บเกี่ยว 8-10 เดือน หลังปลูก ซึ่งถือว่าเป็นระยะให้น้ำอ้อยที่มีคุณภาพ และปริมาณมากที่สุด สามารถปลูกได้ในทุกภาคของประเทศไทย มีการปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศท้องถิ่นได้ดี เจริญเติบโตได้เร็ว อัตราการแตกกอดี ได้มาก 12,000-12,500 ลำ ต่อ พื้นที่ปลูก 1 ไร่ รวมทั้งสามารถไว้ตอปล่อยให้แตกหน่อเป็นต้น โดยไม่ต้องปลูกใหม่ดี มีความต้านทานโรคแส้ดำ โรคราใบขาว โรคลำต้นหรือไส้เน่าแดง และหนอนกออ้อยได้ดี หากปลูกในเขตชลประทานหรือมีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจะให้ผลผลิต 18-20 ตัน ต่อ พื้นที่ 1 ไร่ หรือคั้นเป็นน้ำอ้อยสดได้มาก 4,900-5,000 ลิตร ต่อ พื้นที่ 1 ไร่ และการออกดอกมักเกิดกับอ้อยตอช่วงเดือนธันวาคม ซึ่งมีการออกดอกน้อยมาก ทั้งนี้อ้อยเมื่อออกดอกปริมาณความหวานจะลดลง

อ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี 50 เป็นอ้อยที่ปลูกได้ทั้งแบบสวนยกร่อง ในร่องมีน้ำหล่อเลี้ยงตลอด และแบบพื้นราบให้น้ำด้วยสายยาง โดยสวนแบบยกร่องเริ่มด้วยการไถพรวนดิน ใส่อินทรียวัตถุแล้วปรับเรียบ แต่สวนแบบพื้นราบหลังจากไถพรวนดินใส่อินทรียวัตถุแล้ว ชักร่องลูกฟูก ระยะห่างระหว่างสันลูกฟูก 50-75 เซนติเมตร ท้องร่องระหว่างสันลูกฟูกลึกประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อใช้ขังน้ำตอนให้น้ำ อ้อยคั้นน้ำชอบดินเหนียวมีอินทรียวัตถุมากๆ ดินอุ้มน้ำได้ดีแต่ไม่ขังแฉะ ไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช เพราะอ้อยเป็นพืชรากลอยหรืออยู่ที่ผิวดิน อาจได้รับความกระทบกระเทือนได้ ทั้งนี้สารกำจัดวัชพืชหรือสารเคมีทุกประเภทล้วนแต่มีสถานะเป็นกรดทั้งสิ้น

การบำรุงดินอ้อยควรใช้วิธีลอกกาบอ้อย แล้วปล่อยให้คลุมหน้าดิน รอเวลาย่อยสลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์ต่อไป ในเศษใบพืชแห้ง มีปุ๋ยฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม (ตัวกลางและตัวท้าย) สูง จะช่วยเพิ่มความหวานแก่อ้อยได้เป็นอย่างดี

วิธีปลูก ให้ตัดต้นพันธุ์เป็นท่อน แต่ละท่อนมีตา 2-3 ตา สังเกตตำแหน่งตาเมื่อวางท่อนพันธุ์ราบลงกับพื้นแล้วให้มีตา 1 ตา อยู่ด้านบนกับอีก 2 ตา อยู่ด้านข้าง แต่ค่อนมาข้างบน การที่ตาใดตาหนึ่งชี้ลงล่างหรือค่อนไปทางด้านล่าง เมื่อแตกออกมาเป็นหน่อๆ นั้น จะค่อยๆ เลี้ยวขึ้นด้านบนทำให้เสียเวลา ในขณะที่ตาบนสุดโตนำไปก่อนแล้ว หรือบางครั้งตาด้านล่างชี้ลง 90 องศา เมื่องอกออกมาหน่อก็จะปักดิ่งลงดิน ไม่สามารถงอชี้ขึ้นบนได้ และอาจจะเน่าเสียหาย ที่เหมาะสมควรใช้วิธีวางท่อนพันธุ์ราบกับพื้นธรรมดาๆ เปิดหน้าดินลึกประมาณ 1 ฝ่ามือ แล้วกลบด้วยดินหลวมๆ ระยะห่างระหว่างกอ 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 80 เซนติเมตร

หลังจากฝังกลบท่อนพันธุ์แล้ว สล็อตออนไลน์ ควรมีเศษพืชคลุมหน้าดินรักษาความชุ่มชื้น ท่อนพันธุ์จะงอกเร็ว และได้ต้นที่สมบูรณ์แข็งแรงต่อไป ระยะแรกที่เริ่มปลูกให้น้ำ 3-5 วัน ต่อครั้ง ให้ปุ๋ยระยะเริ่มแตกหน่อ-3 เดือน ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ 1-2 ลิตร หรือปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 จำนวน 1 กิโลกรัม ต่อ น้ำ 200 ลิตร อายุต้น 6 เดือน ถึงเก็บเกี่ยว ให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพอัตราเดิม ร่วมปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 จำนวน 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 200 ลิตร เป็นการให้ทางรากด้วยการผ่านไปตามร่องหรือพื้นระหว่างแถวปลูกทุกๆ 15 วัน โดยให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพอย่างเดียวทุกกลางเดือน และให้ปุ๋ยน้ำชีวภาพร่วมกับปุ๋ยเคมีทุกสิ้นเดือน

การตัดมาใช้ประโยชน์ ควรตัดให้ติดพื้นดินมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หลังตัดใช้ปูนกินหมากทาแผลจะช่วยป้องกันเชื้อโรค และช่วยให้อ้อยแตกกอใหม่เร็วขึ้น ซึ่งอ้อยคั้นน้ำสุพรรณบุรี-50 สามารถไว้ตอให้แตกใหม่ได้มาก 3-4 รุ่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติบำรุง หากปฏิบัติดีอาจจะได้มากกว่าก็ได้

คุณอำพร เล่าว่า เมื่อปลูกและดูแลอย่างดีมาตลอด เมื่อถึงอายุที่จะเก็บเกี่ยวได้ ก็จะตัดแล้วนำมาคั้นน้ำขาย อยู่ริมถนนใกล้ๆ กับแปลงปลูก โดยปอกอ้อยแล้วนำไปเข้าเครื่องคั้นน้ำอ้อยที่มีอยู่ บริการลูกค้าที่แวะเวียนมาอุดหนุน หลายคนชิมแล้วติดใจในรสชาติ ความหอมหวานและกลิ่นหอมของอ้อยคั้นสด มีการบอกต่อทำให้ขายได้ตลอด คิดรายได้ต่อไร่จะตกไม่ต่ำกว่าแสนบาท ซึ่งแน่นอนว่ารายได้ดีกว่าการปลูกข้าวเป็นสิบเท่า

อยากจะฝากถึงเกษตรกรรายอื่นๆ ให้มองถึงพืชอื่นที่สามารถสร้างรายได้ และเหมาะสมกับพื้นที่ ไม่ควรยึดติดกับพืชใดพืชหนึ่ง หรือกับความเคยชิน ต้องวิเคราะห์ถึงการเพิ่มมูลค่า รวมถึงต้นทุนการผลิตว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ หากเราทำก่อน แน่นอนว่าประสบความสำเร็จ หากจะมีคนลอกเลียนแบบ เราอาจไปต่อจนคนอื่นตามไม่ทันก็ได้ ใครอยู่แถวใกล้ๆ อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย แวะมาอุดหนุน หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้