ส่วนกัญชงจะสามารถปลูกซ้ำในพื้นที่เดิมได้โดยต่อเนื่อง

ไม่ต้องการมีการดูแลรักษา หรือจัดการพื้นที่มาก ตลอดจนการเก็บผลผลิต และค่าใช้จ่ายในการแปรรูป และการขนส่งต่างๆ ก็สะดวกมาก นอกจากนี้ ยังสามารถดำเนินการได้ โดยกลุ่มชาวบ้านทั่วๆ ไป ในการทำเป็นเชิงธุรกิจ ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและกำไรจึงจะต่างกันเป็นจำนวนมหาศาล

เมล็ดกัญชงจะประกอบไปด้วยโปรตีน ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าโปรตีน จากถั่วเหลือง มีปริมาณเส้นใยสูงและยังมีราคาที่ถูกกว่า น้ำมันในเมล็ดกัญชงยังให้กรดไขมัน Omega-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีอยู่ในน้ำมันจากปลา และกัญชงเท่านั้น

อเมริกามีกฎหมายห้ามปลูกเฮมพ์ตั้งแต่หลังสงครามโลก เพราะมีอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเข้ามา มีไนลอนเกิดขึ้น รัฐบาลอยากรักษาผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่กำลังจะเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเศษฐกิจ จึงบอกว่าเฮมพ์ผิดกฎหมาย หลายประเทศ รวมทั้งไทยและญี่ปุ่นเลยบอกว่า ผิดกฎหมายไปด้วย แต่ปัจจุบัน 22 ใน 28 มลรัฐของอเมริกา ประกาศให้เฮมพ์ถูกกฎหมายแล้ว

เส้นใยกัญชงนั้นเหนียวถึงขั้นว่ามีคนเอาไปทำเสื้อกันกระสุน และตอนนี้เอาไปทำส่วนประกอบรถยนต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กำลังเห่ออีโคโปรดักท์อีโคคาร์กันจ้าละหวั่น เครื่องสำอางบอดี้ช็อปที่ประกาศตนเป็นเครื่องสำอางธรรมชาติ มีน้ำยาล้างมือทำจากเฮมพ์

นักประวัติศาสตร์ค้นพบว่า เมื่อ 3 พันปีก่อน เสื้อของฮ่องเต้จีนทำจากใยกัญชง แม้แต่ใบเรือของเจิ้นเหอ ซึ่งออกเดินทางรอบโลกครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 1964 ก็ทำจากใยกัญชง

ในอนาคตทรัพยากรพืชของประเทศจะขาดแคลนมากขึ้น พืชเส้นใยและเยื่อกระดาษ จะเป็นอีกวัตถุดิบหนึ่งที่ประเทศไทยจะมีการใช้เพิ่มขึ้นอย่างมาก และจะขาดแคลน ทุกวันนี้เราก็สั่งซื้อเยื่อกระดาษจากต่างประเทศ คือ จีน และแคนาดา หลายพันล้านบาทต่อปี

กัญชงจะเป็นพืชหลักอีกชนิดหนึ่งที่จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ และจะสามารถทำรายได้ให้กับประเทศ อย่างมหาศาล เพราะเป็นพืชที่มีอายุสั้น ปลูกได้หลายครั้งต่อปี ใช้ทุนน้อยและไม่ต้องมีการดูแล รักษามาก ไม่ต้องการดินดีและพื้นที่กว้างมาก อีกทั้งยังเป็นพืชที่สามารถปลูกซ้ำได้ในพื้นที่เดิม จึงจะช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่าและรักษาสิ่งแวดล้อมไว้ได้อีกส่วนหนึ่งด้วย

สศก. เกาะติดสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ระบุ ปีนี้ผลผลิตรวมทั้งประเทศ 5 ล้านตัน เผย ผลผลิตรุ่น 1 เริ่มทยอยออกสู่ตลาดแล้วเดือนสิงหาคมนี้ ด้าน นบขพ. ได้กำหนดมาตรการกำหนดสัดส่วนการนำเข้าข้าวสาลีต่อการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และขอความร่วมมือโรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ ณ ความชื้น 14.5% ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 8 บาท เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2561 (ปีเพาะปลูก 2561/62) ข้อมูลผลพยากรณ์ ณ เดือนมิถุนายน 2561 พบว่า เนื้อที่เพาะปลูก รวมทั้งประเทศอยู่ที่ 6.708 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้วที่จำนวน 6.716 ล้านไร่ (ลดลงร้อยละ 0.12) เนื้อที่เก็บเกี่ยว รวมทั้งประเทศ 6.668 ล้านไร่ ลดลงจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 6.673 ล้านไร่ (ลดลงร้อยละ 0.08) ผลผลิต รวมทั้งประเทศ 5.003 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 4.957 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.92) ผลผลิตต่อเนื้อที่เพาะปลูก ทั้งประเทศ 746 กิโลกรัม ต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่ให้ผลผลิต 738 กิโลกรัม ต่อไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.08)

สำหรับเนื้อที่เพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น 1 (ปลูกระหว่างมีนาคม-ตุลาคม) คาดว่าลดลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูง เช่น ราคาเมล็ดพันธุ์และสารเคมี เป็นต้น เกษตรกรจึงปรับเปลี่ยนพื้นที่ไปปลูกมันสำปะหลังโรงงานและอ้อยโรงงานเพราะราคาจูงใจ และจากการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของ สศก. ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว นครราชสีมา เพชรบูรณ์ และนครสวรรค์ คาดว่าผลผลิตจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อน เนื่องจากฝนไม่ทิ้งช่วง

ปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต โดยเฉพาะจังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มากที่สุดของประเทศ (ร้อยละ 12.5) มีเนื้อที่เพาะปลูก 845,258 ไร่ ลดลงจากปีก่อนซึ่งมีเนื้อที่ 851,132 ไร่ (ลดลงร้อยละ 0.69) มีผลผลิต 655,448 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่จำนวน 654,018 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22) ผลผลิตต่อเนื้อที่เพาะปลูก 775 กิโลกรัม ต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ให้ผลผลิต 768 กิโลกรัม ต่อไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.91) ทั้งนี้ จังหวัดเพชรบูรณ์มีแปลงใหญ่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 8 แปลง เนื้อที่ 14,973 ไร่ ผลผลิตประมาณ 11,140 ตัน

ด้านราคาที่เกษตรกรขายได้ความชื้น 14.5 % ในช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2561 อยู่ที่กิโลกรัมละ 8.23 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.26 บาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 31.47 โดยผลผลิตรุ่น 1 เริ่มทยอยออกสู่ตลาดแล้วในเดือนสิงหาคมนี้ และจะออกมากช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน รัฐบาลโดยคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) กำหนดให้คงสัดส่วนการนำเข้าข้าวสาลีต่อการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศในอัตราส่วน 1 : 3 ยกเว้นเฉพาะช่วงระหว่างวันที่ 15 มิถุนายน-15 สิงหาคม-กำหนดสัดส่วนในอัตรา 1 : 2 เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าวมีผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย และเพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงเดือนกันยายน ซึ่งมีผลผลิตออกสู่ตลาดมาก โดยมาตรการดังกล่าวสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์และตามความเหมาะสม ทั้งยังได้ขอความร่วมมือให้โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ณ ความชื้น 14.5% ในราคาไม่ต่ำกว่ากิโลกรัมละ 8 บาท ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย

สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ ปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ต้องมีการนำเข้าวัตถุดิบทดแทน เช่น ข้าวสาลี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้งหลังนาปี 2561 หรือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ปลูกระหว่างพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์) ในพื้นที่ 32 จังหวัด บริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมหารือกับสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ สมาคมเมล็ดพันธุ์ กรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อให้ภาคเอกชนร่วมมือในการรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาในราคาขั้นต่ำ ณ ความชื้น 30% ที่ราคา 5 บาท ต่อกิโลกรัม พร้อมนี้ได้มีการหารือแนวทางการดำเนินการประกันภัยให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาในพื้นที่ 2 ล้านไร่ ระยะเวลาคุ้มครองเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2561-เมษายน 2562 ดำเนินการผ่านสมาคมประกันวินาศภัยไทย โดยแนวทางและมาตรการดังกล่าวคาดว่าจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกันยายนนี้

เมืองไทยนั้นอุดมสมบูรณ์ เมื่อกินผลไม้สักอย่างหนึ่ง เหลือเมล็ด โยนออกจากนอกชาน หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม อาจจะงอกเป็นต้นใหม่ เจริญเติบโต ออกดอกให้ผลกับเจ้าของได้

คนไทยนั้นมีนิสัยชอบปลูกต้นไม้ มีที่ว่างเป็นไม่ได้ ต้องปลูกพืชผัก ตะไคร้ มะกรูด เมืองใหญ่ แม้แต่หน้าร้าน ก็มีปลูกต้นไม้กัน ไม่มีดินจริงๆก็ปลูกในกระถาง

มะม่วงเป็นไม้ผลที่เจ้าของบ้านนิยมปลูกรอบๆบ้าน จำนวนอาจจะไม่มากต้นนัก ทำไมต้องปลูกมะม่วงไว้รอบบ้าน

เปรียบเทียบกับไม้ผลชนิดอื่น มะม่วงอยู่ใกล้ครอบครัวคนไทยมากที่สุด มีปลูกไว้รอบๆบ้านมากที่สุด

สาเหตุที่มะม่วงมีปลูกไว้ใกล้บ้านนั้นเพราะ

หนึ่ง.มะม่วงมีความทนทานต่อสภาพอากาศที่แห้งแล้ง รวมทั้งน้ำท่วม เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า เมื่อใช้ต้นตอที่แข็งแรงเป็นส่วนขยายพันธุ์ มะม่วงจะเจริญเติบโตในที่ฝนน้อยได้ดี ขณะเดียวกัน หากน้ำท่วม ก็ยืนต้นอยู่ได้นาน ถึงนานที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ชนิดอื่น

สอง.ดูแลไม่ยาก ผู้ปลูกบางคน อาศัยหย่อนต้นลงดินต้นฝน ไม่ต้องรดน้ำ ปล่อยให้เทวดาเลี้ยง ต้นก็เจริญเติบโตได้ อาจจะมีแมลงมากัดกินใบ แต่ก็กินไม่หมด ใบทีเหลือจะช่วยหุงหาอาหารเลี้ยงต้น ให้กิ่งก้านใหม่

สาม.ปลูกได้ในหลายภูมิภาค ตั้งแต่ภาคเหนือ อิสาน กลาง ส่วนภาคใต้อาจจะมีปัญหาเรื่องการออกดอกติดผล แต่ก็มีมะม่วงประจำถิ่น อย่างมะม่วงเบา และมะม่วงนาทับ ที่ไม่กลัวฝน

สี่.ปลูกไปนานๆ พุ่มใบของมะม่วงให้ร่มเงา นอกจากนก กา กระรอก กระแต จะได้อาศัยแล้ว คนยังได้หลบร้อนอีกด้วย

ห้า.สถานที่ ที่มีปัญหาเรื่องเสียง แสง ต้นมะม่วงสามารถลดสิ่งเหล่านี้ลงได้ ขณะเดียวกัน ต้นมะม่วงก็เพิ่มอ็อกซิเจนโดยรอบ หก.หากเจ้าของบ้าน ไม่ต้องการโชว์ในจุดไหน สามารถที่จะปลูกมะม่วงบังสายตาได้

เจ็ด.เป็นไม้ที่ปลูกแล้วอยู่ได้นาน บางต้นอยู่คู่กับชีวิตของคนๆหนึ่งหรือมากกว่า

แปด.หาซื้อต้นพันธุ์มาปลูกได้ง่าย มีพันธุ์หลากหลาย

เก้า.มะม่วงยามติดผล ดูแล้วสวยงาม ยิ่งระยะหลังๆมีพันธุ์แปลกๆ จึงถือว่า เป็นไม้ประดับ ให้ความสวยงามกับเจ้าของได้

สิบ.สำคัญมาก…ผลนำมากินได้อร่อย เป็นผลไม้ที่คนไทยคุ้นเคยกันดี แล้วจะปลูกมะม่วงพันธุ์อะไรดี

มีมะม่วงให้เลือกปลูกมากมาย

แนวทางการเลือกพันธุ์มะม่วงปลูกมีดังนี้

หนึ่ง.เลือกตามความชอบของผู้ปลูก

หากชอบมะม่วงกินดิบ หรือมะม่วงมัน ควรปลูกพันธุ์เขียวเสวย ฟ้าลั่น พิมเสนมันทะวาย เจ้าคุณทิพย์ เพชรบ้านลาด น้ำดอกไม้มัน

ส่วนมะม่วงกินสุก มีพันธุ์น้ำดอกไม้สีทอง น้ำดอกไม้เบอร์ 4 อกร่องทอง มหาชนก อกร่องพิกุลทอง

สอง.ควรเป็นมะม่วงที่ออกผลทะวายโดยธรรมชาติ ไม่ต้องใช้สารบังคับ ทั้งนี้ผลผลิตอาจจะไม่ออกเป็นชุดใหญ่ มะม่วงที่ออกดอกติดผลทะวายโดยธรรมชาติได้แก่มะม่วงโชคอนันต์ เพชรปทุม พิมเสนมันทะวาย ศรีสยาม น้ำดอกไม้เบอร์ 4 ศาลายา สามฤดู โชควิเชียร เป็นต้น

สาม.ออกดอกติดผลง่าย เช่นมะม่วงแม่ลูกดก จัดเป็นมะม่วงที่ออกผลอย่างต่อเนื่อง แต่รสชาติเมื่อกินสุกไม่อร่อย เหมาะทำเป็นมะม่วงยำ มะม่วงกินกับน้ำปลาหวาน

สี่.มีผลใหญ่ยักษ์ เจ้าของตื่นเต้น เมื่อมีผลผลิต โดยที่รสชาติก็ดี มะม่วงที่ผลใหญ่สีสวย ได้แก่มะม่วงอาร์ทูอีทู น้ำดอกไม้มัน เขียวใหญ่ จักรพรรดิ เขียวสามรส งาช้างแดง ไต้หวัน 1 เป็นต้น

ปลูกมะม่วงอย่างไรให้เจริญเติบโตดี

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการปลูกมะม่วงคือพื้นที่ปลูกรอบๆบ้าน

ในชนบท พื้นที่อาจจะเหลือเฟือ แต่หากเป็นเมืองใหญ่ โดยเฉพาะบ้านจัดสรรด้วยแล้ว ต้องระวังเมื่อปลูกไปแล้ว อย่าให้กิ่งก้านไปรบกวนข้างๆบ้านเขา

ทางที่ดีควรปลูกหน้าบ้าน ให้กิ่งเจริญเติบโตออกไปยังถนนจะดีกว่า

ดินปลูก หากเป็นที่ถม จะไม่รู้ที่มาของดิน บางครั้งพบว่าดินแข็งเป็นดาน มีเศษปูนชิ้นใหญ่ๆฝังอยู่ ทางที่ดีควรขุดหลุมให้กว้างและลึก จากนั้นใช้ดินบนผสมปุ๋ยคอกเก่า รองก้นหลุม

หากมีใบก้ามปูก็ใช้ผสมระหว่างดินบน ปุ๋ยคอกเก่า สัดส่วนแล้วแต่ที่มี อาจจะเน้นใบก้ามปูมากหน่อยก็ได้

เมื่อหลุมปลูกพร้อม ก็นำต้นพันธุ์ลงปลูก

ควรปลูกให้รอยต่อของการทาบกิ่งอยู่เหนือดินเล็กน้อย จากนั้นใช้หลักปักยึด เพื่อป้องกันการโยกคลอน สุดท้ายควรรดน้ำให้

ต้นพันธุ์ที่ปลูกส่วนใหญ่ขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง

หากเป็นกิ่งเก่ารอยต่อระหว่างต้นตอกับกิ่งพันธุ์ดีสมานกันดีแล้ว สามารถกรีดหรือดึงพลาสติกที่พันออกได้เลย หลังจากปลูกไปแล้ว

แต่หากต้นพันธุ์ยังใหม่อยู่ ควรกรีดหรือดึงพลาสติกออก หลังปลูกไปแล้ว 2-3 เดือน แต่อย่าลืมเอาออก หากลืมต้นจะแคระแกร็น โตช้า หรือไม่อาจจะตายได้ หากพลาสติกไม่ขาด

ดูแลพอประมาณ ใช้สารเคมีไม่ดีแน่

การดูแลรักษามะม่วงหลังปลูก ไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด เนื่องจากมะม่วงมีความอดทน ขอให้ต้นรอดตายหลังจากปลูกใหม่ๆ เขาก็จะเจริญเติบโตเป็นปกติ

หากเจ้าของว่าง หรือวันเสาร์และอาทิตย์ ช่วงแล้งก็อาจจะให้น้ำมะม่วงบ้าง

หากมีปุ๋ยคอกหรือใบก้ามปู ซึ่งมีไนโตรเจนสูง ก็นำกองไว้ที่โคนต้นมะม่วง

บ้านใดที่ปลูกมะม่วงหลายต้น อยากใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ให้บ้าง เมื่อต้นยังเล็กอยู่ ใช้สูตร 25-7-7 เน้นตัวหน้า คือไนโตรเจน

ศัตรูมะม่วงที่พบเห็นอยู่ และมองด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน คือแมลงมากัดใบจนขาด การใช้สารเคมีกำจัดคงไม่สะดวกแน่เพราะปลูกแค่ต้นสองต้น ซื้อสารเคมีมาราคาขวดละ 200-300 บาท อีกทั้งรอบๆบ้าน หากใช้สารเคมีก็เป็นอันตรายแก่คนและสัตว์ เมื่อพบว่าแมลงมากัดใบก็ปล่อยให้กัด เพราะบางช่วง มะม่วงแตกใบอ่อนไม่ตรงกับระยะทำลายของแมลง ใบเหล่านั้นก็จะปลอดภัย คอยปรุงอาหารให้ต้นเจริญเติบโตตามปกติ

ดูอย่างไรมะม่วงเก็บเกี่ยวผลผลิตได้

ยุคเก่าก่อนสมัยปู่ย่าตายาย หลังจากปลูกมะม่วง อาจจะต้องรอนานถึง 7-8 ปี จึงจะมีผลผลิตให้เก็บกิน เพราะต้นพันธุ์ได้จากการเพาะเมล็ด

แต่ทุกวันนี้หลังปลูกเพียงปีเดียวก็อาจจะมีผลผลิตให้เก็บได้ โดยเฉพาะผู้ที่ซื้อกิ่งใหญ่ๆสูงท่วมหัวมาปลูก

โดยทั่วไปแล้ว หากปลูกด้วยกิ่งทาบ เมื่อต้นมีขนาดใหญ่พอประมาณ พุ่มใบพอเลี้ยงผลได้ 3 ปีก็ไว้ผลผลิตได้ จะไว้มากหรือน้อย ก็แล้วแต่ดุลพินิจของเข้าของ เมื่อมีผลผลิต เจ้าของจะรู้ได้อย่างไรว่า มะม่วงสามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว

ชาวสวนที่อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร แนะนำว่า เด็ดผลผลิตมาจุ่มลงไปในน้ำ หากผลมะม่วงจม ถือว่าแก่จัด

การเปลี่ยนสีผิวของผลก็เป็นตัวชี้วัดว่ามะม่วงสุกแก่แล้ว คือเปลี่ยนจากผิวเขียวเป็นเหลือง หากเป็นพันธุ์ที่ผลสีแดง ตรงขั้วผลก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เมื่อผลสุก อย่างมะม่วงอาร์ทูอีทู

ยามใดที่มีกระรอกมาแทะกินมะม่วง ก็จะรู้ว่าผลผลิตบนต้นเริ่มเก็บได้แล้ว มะม่วงบางพันธุ์ อย่างมหาชนก การออกดอก ติดผลบนต้น จะพร้อมกัน เมื่อผลที่ 1 สุกแก่ ผลที่ 2-20 ก็แก่เช่นกัน

วิธีการหนึ่งที่ทำได้ คือนับจากวันที่ดอกบาน เช่นเขียวเสวย ดอกบาน 120 จึงเก็บเกี่ยวได้ น้ำดอกไม้แก่เต็มที่หลังดอกบาน 110 วัน

ชิม…เป็นวิธีการหนึ่งที่ดีไม่น้อย อยากรู้ว่าเขียวเสวยแก่จัดหรือไม่ก็ปอกชิม หากหวานมัน ผลอื่นๆก็ทะยอยเก็บได้ สาเหตุที่มะม่วงไม่ติดผล

เจ้าของบ้านที่ปลูกมะม่วงส่วนใหญ่ต้องการผลผลิตไว้กิน หลายคนที่ปลูกช่วงปีที่ 4-5 พอมีผลผลิตบ้าง แต่จากนั้น มะม่วงให้ร่มเงาอย่างเดียว ไม่มีผลผลิตให้เจ้าของเลย

มะม่วงไม่ให้ผลผลิตแก่เจ้าของมีหลายสาเหตุด้วยกัน

หนึ่ง.ดูแลดีเกินไป ช่วงปลายปีต่อกับต้นปี มะม่วงต้องการพักตัวสะสมอาหาร แต่เจ้าของไปรดน้ำ ความสมดุลของธาตุอาหารจึงไม่เหมาะสม แทนที่มะม่วงจะผลิดอกช่วงเดือนธันวาคม มกราคม กุมภาพันธ์ มะม่วงแสนรักก็จะแตกใบอ่อนมาแทน ดังนั้นควรงดน้ำแก่ต้นมะม่วงช่วงปลายปี

สอง.เป็นธรรมชาติของมะม่วง ซึ่งบางพันธุ์ ถือว่าเป็นพันธุ์หนักออกผลยาก หรือออกปีเว้นปี หากปีใดออกผลมาให้เจ้าของมาก หากไม่เตรียมต้นหรือให้อาหารเขามากหน่อย ปีต่อมาก็จะอิดออด ไม่ออกดอกติดผล กรณีนี้พบในมะม่วงยอดฮิตอย่างเขียวเสวย

หากบ้านใดมีพื้นที่ว่าง อาจจะหาพันธุ์อื่นๆนอกจากเขียวเสวยลงปลูกบ้าง เช่นศาลายา น้ำดอกไม้มัน เป็นต้น สาม.ความสมบูรณ์ของต้นอาจจะไม่เพียงพอ บางปีมะม่วงติดผลมาก เขาใช้อาหารไปมาก เมื่อเก็บผลผลิต เจ้าของควรใส่ปุ๋ยคอกให้กับเขาบ้าง หรือใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 สัก 1 กำมือต่อต้น หากไม่ยุ่งยากจนเกินไป ปลายฝนใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 ให้เขา จำนวน 1 กำมือต่อต้น มะม่วงก็พร้อมที่จะมีดอกในฤดูกาลต่อมา

สี่.บริเวณที่ต้นมะม่วงขึ้นอยู่ อาจจะได้รับแสงแดดน้อยเกินไป ลมไม่ค่อยพัดผ่าน จึงมีผลต่อการออกดอกติดผล

ห้า.ต้นมะม่วงอายุมาก ซึ่งพบเป็นส่วนใหญ่ ทางแก้ไขควรมีการทอนกิ่ง ให้ต้นสั้นลง หรือที่นิยมเรียกกันว่า “ทำสาว” เมื่อต้นมะม่วงมีกิ่งใหม่ โอกาสที่จะออกดอกจึงมีมาก

การแต่งกิ่ง ทำได้ตั้งแต่ปลูกใหม่ๆ ตัดทุกปี ทรงต้นก็จะสวย

ปลูกดีๆเป็นไม้ประดับที่กินได้

มะม่วงเป็นไม้เขตร้อน เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ที่จะปลูกรอบๆบ้าน

หากมีการดูแลตามสมควร ตั้งแต่ปลูก นอกจากจะมีผลผลิตให้เจ้าของได้กินแล้ว

พุ่มใบของเขาสวยงาม มองในแง่ปลูกประดับก็สามารถเป็นไปได้

หากศึกษานิสัยใจคอเขาสักนิด แล้วปฏิบัติต่อต้นมะม่วงอย่างต่อเนื่อง ก็จะเกิดทักษะ มีความเพลิดเพลินเจริญใจ องุ่น เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตหนาว มีการพักตัวในช่วงฤดูหนาว เมื่อนำมาปลูกในเขตร้อนจำเป็นต้องตัดแต่งกิ่ง หรือเถา ให้โกร่นเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้ก่อนตัดแต่งกิ่งต้องงดการให้น้ำอย่างน้อยเป็นเวลา 1 สัปดาห์

สำหรับพันธุ์ คาร์ดินัล ตัดแต่งเมื่อมีอายุ 9-10 เดือน ตัดกิ่งหรือเถาให้สั้น เหลือตา หรือข้อไว้ 3-4 ตา ส่วนพันธุ์ ไวท์มะละกา ตัดแต่งเมื่ออายุ 9-12 เดือน เหลือตาไว้ 5-6 ตา นำกิ่งและใบที่ตัดออกไปทิ้งหรือเผาทำลาย จากนั้นรดน้ำพอชุ่มวันเว้นวัน ภายใน 2 สัปดาห์ ต้นองุ่นจะแตกกิ่งและใบออกมาใหม่ กิ่งใหม่ที่ได้มีทั้งใบพร้อมช่อดอก และแตกใบอย่างเดียวก็มี ต่อมาอีก 15 วัน ดอกจะบานจากส่วนโคนช่อไล่มายังปลายช่อ

จากนั้นจัดกิ่งให้เรียบร้อย กิ่งที่ชี้ขึ้นฟ้าจับมัดให้ราบลงกับค้าง จัดแต่งช่อดอกให้ห้อยลง ตัดแต่งช่อดอกที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง เหลือช่อไว้แบบกระจายให้ทั่วบนค้างอย่างสม่ำเสมอ เมื่อผลขนาดเท่าหัวไม้ขีดไฟ ใช้กรรไกรขนาดเล็กตัดแต่งออกบ้าง ไม่ให้ผลอัดกันทำให้เสียรูปทรง และเป็นแหล่งสะสมโรคหรือแมลงศัตรู แล้วใช้ฮอร์โมน จิบเบอร์เรลลิน เพื่อยืดช่อดอก โดยผสมให้ได้ 0.1 เปอร์เซ็นต์ ใส่ลงในถ้วยแก้วหรือถ้วยพลาสติกขนาดพอเหมาะ บรรจงถือถ้วยบรรจุฮอร์โมนที่เตรียมไว้ใต้ช่อผลแล้วยกระดับขึ้นอย่างช้าๆ แช่ช่อผลไว้ชั่วอึดใจ ก่อนย้ายไปยังช่ออื่นจนครบทุกช่อ ทิ้งระยะไว้อีก 1 สัปดาห์ ทำซ้ำอีกครั้ง อีกไม่นานจะได้องุ่นมีช่อสวยงาม สมบูรณ์ ตามความประสงค์ของคุณทุกประการ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ผักหวานป่า เป็นไม้พื้นเมือง มีถิ่นกำเนิดอยู่ในไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบสั้นๆ เหนียวติดกะลำต้น เป็นใบเดี่ยว รูปร่างรีๆ เหมือนไข่ ปลายใบป้านกลมอาจมีรอยเว้าบ้าง มีหูใบเล็กๆ บริเวณก้านใบ ผล ก็จะเป็นพวงๆ มีสีเหลืองอมน้ำตาล ยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร

ชอบขึ้นตามเชิงเขา หรือตามป่าเต็งรัง ที่เป็นหินปนดินดาน หรือปนทราย ในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ผักหวานป่าจะทิ้งใบจนแทบหมดต้น แล้วต่อมาเดือนกุมภาพันธ์พฤษภาคม ก็จะแตกยอดและใบอ่อนให้ได้กินกันทุกปี

ผักหวานป่า เป็นที่รู้จักบริโภคกันทุกภาค เนื่องจากรสชาติดี หากินยาก มีเฉพาะฤดูกาล ราคายังค่อนข้างสูง ปัจจุบัน ประมาณกิโลกรัมละ 100-200 บาท หน้าฝนก็อาจถูกลงมาบ้าง ตามหลักการของดีมานและซัพพลาย แต่ก็ยังถือว่าเป็นพืชทำรายได้ที่ดีแก่ชาวบ้านอย่างหนึ่งในขณะนี้ คนนิยมซื้อหาไปปรุงอาหาร และมีความต้องการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีการดัดแปลง สูตร เช่น ก๋วยเตี๋ยวเนื้อใส่ผักหวาน ผักหวานผัดน้ำมันหอย แกงจืดผักหวาน ฯลฯ ที่หลังโรบินสัน ศรีราชา มีร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อใส่ผักหวานอยู่เจ้าหนึ่ง ขอแนะนำให้ไปลองเปิบกัน ไม่มีค่าคอมมิสชั่นหรอกนะ แต่อยากให้ลองเฉยๆ

ระยะหลังมีการขยายพื้นที่ปลูกผักหวานป่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากที่เคยหาเก็บตามป่า ก็มีคนนำมาขยายพันธุ์ปลูกกันในบริเวณบ้าน ผักหวานป่าปลูกให้งามยาก ไม่เหมือนพืชทั่วๆ ไป ไม่ชอบดินแฉะ ชอบดินปนหินระบายน้ำดี มีเทคนิคอย่างหนึ่ง จะปลูกผักหวานป่าให้งาม โตไว ต้องมีพืชพี่เลี้ยง อย่าง แค หรือ ทองหลาง ก็ได้ ปลูกลงไปในหลุมเดียวกันเลย หรือห่างกันสัก 1 ฟุต ก็ได้ คอยดูแลรดน้ำใส่ปุ๋ยคอกไว้พร้อมๆ กัน ปล่อยให้เจริญเติบโตไปพร้อมๆ กัน หาก แค ออกดอกก่อน ก็ถือว่าเป็นผลพลอยได้ระหว่างรอผักหวานโต หรือทองหลาง ก็สามารถเก็บใบขายได้ก่อนอยู่แล้ว

สิ่งหนึ่งที่พึงระวังก็คือ การเข้าไปเก็บผักหวานในป่า ควรมีผู้ชำนาญไปด้วย เพราะมีไม้บางต้นที่มีลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกับผักหวานป่ามาก แถมยังมีพิษ กินเข้าไปจะทำให้อาเจียน ผิดสำแดง มึน งง หมดสติ ถึงตายได้ เจ้านั่นคือ ต้นขี้หนอน (Scleropylum wallichianum) ครับ แต่ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าลำต้นและกิ่งของต้นขี้หนอนมักจะมีหนามแข็งอยู่ประปราย ซึ่งในผักหวานป่าจะไม่มี ธรรมชาติมีทั้งดี ทั้งร้าย ที่ยังต้องศึกษาค้นคว้าต่อไปอีกมากมายหลายประการ หากมีโอกาส ผู้เขียนจะค่อยๆ ทยอยเขียนออกมาเรื่อยๆ ครับ ถ้าไม่เบื่อหน้ากันไปเสียก่อน

หลายคนคงจำข่าว เกษตรกรจำนวนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำออกจากวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จังหวัดเชียงราย เพื่อช่วยเหลือ “กลุ่มหมูป่า 13 ชีวิต” ส่งผลให้ท่ี่นาของเกษตรกรได้รับความเสียหายในระดับหนึ่ง บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้มอบปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ จากกรณีดังกล่าว และสนับสนุนองค์ความรู้เพื่อฟื้นฟูพืชที่ได้รับความเสียหาย

วิธีีฟื้นฟูพืชหลังน้ำท่วม คุณภูมิพีรพงค์ พาหิรัญ นักวิชาการเกษตรอาวุโส บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในกรณีพืชผัก ไม้ผล ถูกน้ำท่วม รากของพืชนั้นๆ จะหยุดเจริญเติบโต ไม่ขยายเพิ่มเติมจนถึงช่วงหลังน้ำท่วมประมาณ 2 สัปดาห์ ระยะนี้เกษตรกรยังไม่ต้องไปทำอะไรกับพืชทั้งสิ้น อย่าไปพรวนดิน เพราะการพรวนดินอาจไปโดนรากของพืช ทำให้รากของพืชติดเชื้อราหรือมีเชื้อแบคทีเรียได้ ให้รอจนกระทั่งพืชแทงยอดใหม่เสีียก่อน

เมื่อพืชเริ่มแทงยอดใหม่ขึ้นมาแสดงว่าระบบของพืชเริ่มฟื้นแล้ว สมัครแทงบอลออนไลน์ หลังจากนั้น จึงค่อยเริ่มพรวนดินหรือใส่ปุ๋ยได้ หากอยากให้พืชฟื้นตัวได้ดี ในช่วงแรกควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจน 15-0-0 ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น เพื่อกระตุ้นให้พืชแตกใบเขียวและฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติ

สำหรับแปลงนาที่เจอน้ำท่วมขังไม่นาน ควรเร่งระบายน้ำออกให้หมดเสียก่อน รอสักระยะหนึ่งให้ต้นข้าวแตกยอดออกมาก่อน จึงค่อยเริ่มใส่ปุ๋ยตามโปรแกรมได้

หากต้นข้าวโดนน้ำท่วมนาน 1-2 เดือน ต้นข้าวเริ่มเน่าเกษตรกรควรเตรียมพื้นที่ปลูกข้าวรอบใหม่ โดยทิ้งระยะเวลาสักพักจนกว่าต้นข้าวที่เน่าในแปลงจะย่อยสลายหายไปเอง หากเกษตรกรใจร้อน ไม่ทิ้งระยะให้ต้นข้าวเน่าย่อยสลายไปเสีียก่อน รีบหว่านเมล็ดข้าวใหม่ลงไป อาจทำให้เมล็ดข้าวเน่าได้ง่าย ทั้งนี้ การทิ้งระยะก่อนปลูกข้าวรอบใหม่ ต้องดูสภาพของพื้นที่ด้วยบางกรณี อาจจะใช้เวลานาน 1-2 เดือน เลยทีเดียว

กรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันการศึกษาและภาคเอกชนต่างๆ ได้ร่วมให้การสนับสนุนเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติจากกิจกรรมดังกล่าว รวมทั้ง บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด ที่สนับสนุน มอบปุ๋ยยูเรียโฟม 46-0-0 ตรายารา เวรา จำนวนกว่า 5 ตัน สำหรับนาข้าวให้กับเกษตรกรผู้ประสบภัย จำนวน 131 ราย

คุณถาวร ศรีสุวรรณศร ผู้อำนวยการฝ่ายซัพพลายเชน บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า ยารา ต้องการมีีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติในครั้งนี้ จึงได้มอบปุ๋ยยาราให้กับตัวแทนเกษตรกรในแต่ละชุมชน