ส่วนของการติดตามผลการส่งเสริมผลิตเมล็ดพันธุ์จำนวน 360 ไร่

จะลงพื้นที่ติดตามอีกครั้งในเดือนกันยายน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าว ได้ก่อเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งองค์ความรู้เกี่ยวกับการผลิตถั่วเหลืองหลังนา การเชื่อมโยงตลาดส่งผลให้สถานการณ์การค้าถั่วเหลืองหลังนาคึกคักมากขึ้นกว่าเดิม เกษตรกรทราบเงื่อนไขการรับซื้อของพ่อค้า สามารถพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2561 เวลา 11.00 น. นายประยงค์ ภูดินทราย เกษตรจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี เข้าร่วมงานพร้อมทั้งให้บริการทางการเกษตร ในงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ณ แปลงใหญ่มะม่วง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี โดยได้รับเกียรติจาก นายพิบูลย์ หัตถกิจโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี เป็นประธานเปิดงาน และนายประยงค์ ภูดินทราย เกษตรจังหวัดปราจีนบุรี เป็นผู้กล่าวรายงานการจัดงาน ซึ่งจัดโดย สำนักงานเกษตรจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอศรีมหาโพธิ และได้รับความอนุเคราะห์สถานที่จัดงานจาก นายสงคราม ธรรมมะ สมาชิกแปลงใหญ่มะม่วง อำเภอศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี

สำหรับโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ นี้ เป็นโครงการที่ช่วยเหลือและพัฒนาอาชีพเกษตรกร โดยความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน ทั้งด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ พัฒนาที่ดิน และด้านอื่นๆ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆ ของรัฐ ได้รับทราบปัญหาด้านการเกษตรของเกษตรกร สามารถเข้าถึงการบริการทางวิชาการ ได้รับการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร และเพื่อบูรณาการความร่วมมือให้เกิดการบริการแก่เกษตรกร ณ จุดเดียวกันในรูปแบบกิจกรรมเคลื่อนที่ พร้อมมุ่งหวังให้เกษตรกรได้นำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต สร้างรายได้ดี และต่อยอดองค์ความรู้ให้แก่เกษตรกร สร้างแรงกระตุ้นให้เกษตรกรในพื้นที่เป้าหมายเกิดการตื่นตัว พร้อมทั้งยอมรับเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรใหม่ๆ โดยคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ เป็นช่องทางหนึ่งในการเข้าถึงเกษตรกรได้อย่างใกล้ชิด ตรงตามความต้องการและทันต่อเหตุการณ์

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมเวทีคณะกรรมการร่วมส่งเสริมสินค้าเกษตรและป่าไม้อาเซียน หรือ JCM ครั้งที่ 25 ณ เมืองลอมบอก สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมสินค้าเกษตรและป่าไม้ของไทย พร้อมร่วมกำหนดแนวทาง MOU
ว่าด้วยความร่วมมือในกรอบอาเซียนเกี่ยวกับแผนการส่งเสริมสินค้าเกษตรและป่าไม้ ฉบับใหม่

นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมส่งเสริมสินค้าเกษตรและป่าไม้อาเซียน The Joint Committee Meeting (JCM) on ASEAN Cooperation in Agriculture and Forest Products Promotion Scheme ครั้งที่ 25 ระหว่าง วันที่ 10–12 กรกฎาคม 2561 ณ เมืองลอมบอก สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อร่วมรายงานผลการดำเนินงานในการส่งเสริมสินค้ามันสำปะหลังของไทย และร่วมกำหนดแนวทางในการดำเนินงานภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือในกรอบอาเซียนเกี่ยวกับแผนการส่งเสริมสินค้าเกษตรและป่าไม้ (MOU on ASEAN Co–operation in Agriculture and Forest Products Promotion Scheme) ฉบับใหม่ ซึ่งมีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม รวมถึงสำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat: ASEC) เข้าร่วมการประชุมฯ

การประชุม JCM ดังกล่าว ได้เห็นชอบในหลักการให้ต่ออายุ MOU ออกไปอีก 5 ปี (ปี 2563-2568) ซึ่ง MOU ฉบับปัจจุบัน
จะสิ้นสุดลงในปี 2562 โดยที่ประชุมมีมติให้ประเทศนำ (Lead Country) ของคณะทำงานรายสินค้า (National Focal Point Working Group: NFPWG) ทั้ง 12 สินค้า ทำการทบทวนผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Plan of Action: SPA) และความเหมาะสมของกิจกรรมที่กำหนดใน SPA ว่ามีสอดคล้องกับเป้าประสงค์ของ MOU หรือไม่

สำหรับการดำเนินงานของไทยในฐานะ Lead Country สินค้ามันสำปะหลัง ซึ่งมี สศก. เป็นหน่วยงานหลัก ได้รายงานผลการจัดประชุมคณะทำงานสินค้ามันสำปะหลัง (NFPWG on Tapioca) ครั้งที่ 4 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2561 ณ จังหวัดอุดรธานี และการจัดประชุมมันสำปะหลังนานาชาติ (World Tapioca Conference) ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนมิถุนายน 2561 ณ กรุงเทพฯ โดยรายงานข้อมูลสินค้ามันสำปะหลัง ปี 2558-2560 ของไทย กัมพูชา เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งพบว่า แนวโน้มเนื้อที่เก็บเกี่ยวมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากนโยบายการสนับสนุนของภาครัฐ ในขณะที่ประเทศมาเลเซีย ผลผลิตมันสำปะหลังไม่เพียงพอ และต้องพึ่งพาการนำเข้าจากไทย ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกหลักของอาเซียนและตลาดโลก โดยที่ผ่านมาไทยผู้ส่งออกมันสำปะหลัง อันดับ 1 ของโลก และเป็นผู้ผลิตมันสำปะหลัง อันดับ 1 ของอาเซียน (เป็นผู้ผลิต อันดับ 2 ของโลก รองจากไนจีเรีย) ซึ่งไทยในฐานะ Lead Country สินค้า มันสำปะหลัง ได้ผลักดันให้มีความร่วมมือระหว่างภายในประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

อีกทั้ง ยังเป็นการรวมตัวของประเทศผู้ผลิตมันสำปะหลัง ในการสร้างอำนาจในการต่อรองกับประเทศจีนที่เป็นตลาดหลัก นอกจากนี้ ไทยยังเป็น Lead Country ในสินค้าหม่อนไหม ซึ่งกรมหม่อนไหม ได้รายงานสรุปผลการจัดประชุมคณะทำงานสินค้าหม่อนไหม ครั้งที่ 1 ณ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้เห็นชอบในการจัดทำฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ร่วมกัน นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้รับทราบถึงกำหนดการจัดประชุมคณะทำงานสินค้าชาและกาแฟอาเซียน ที่จะเป็นการประชุมแบบต่อเนื่อง (Back–to–Back) ในระหว่าง วันที่ 3-5 กันยายน 2561 ณ จังหวัดเชียงใหม่

โดยกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยประสานงานหลักของไทย ทั้งนี้ คณะทำงานรายสินค้า เป็นกลไกการดำเนินงานที่สำคัญในการส่งเสริมสินค้าเกษตรและป่าไม้ของอาเซียน ที่จะสนับสนุนให้เกิดการรวมตัวเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันตามเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบางรายสินค้าจะต้องได้รับความร่วมมือจากประเทศสมาชิกร่วมกัน ดังนั้น การยกร่าง MOU ฉบับใหม่ (ปี 2563-2568) จึงต้องคำนึงถึงความเป็นไปได้ และแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าประสงค์ และมุ่งให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมมากกว่าการดำเนินงานที่ผ่านมา

เหลือบมองเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูไทยกลับต้องพะว้าพะวังกับอนาคตของตนเอง ที่กำลังถูกพญาอินทรีย์สหรัฐอเมริกา จ้องที่จะตะครุบเหยื่ออันโอชะอย่างประเทศไทย ด้วยการขนเอาเนื้อหมู รวมถึงเศษชิ้นส่วนที่คนอเมริกันไม่รับประทาน ทั้งหัว ขา เครื่องใน มาดั๊มพ์ขายในไทย ซึ่งไม่เฉพาะผู้บริโภคเท่านั้นที่ต้องเสี่ยงกับการต้องกินหมูสหรัฐที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงในการเลี้ยงหมูได้อย่างอิสระ

หากแต่เกษตรกรคนไทย ทั้งคนเลี้ยงหมู 195,000 ราย และห่วงโซ่การผลิตทั้งอุตสาหกรรมตั้งแต่ เกษตรกรผู้ปลูกพืชทั้งส่วนของรำข้าวและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ภาคอาหารสัตว์ จนถึงเวชภัณฑ์สัตว์ไทย รวมกันกว่า 2 แสนราย ต้องล่มสลายแน่เพราะไม่สามารถแข่งขันกับหมูสหรัฐได้

เรื่องนี้ ANAN นักวิจัยของ EfeedLink, Singapore วิเคราะห์กรณีความพยายามของสหรัฐในครั้งนี้ไว้อย่างน่าสนใจ เขาบอกว่าเนื่องจากไทยกับสหรัฐ มีการเลี้ยงหมูที่แตกต่าง โดยเฉพาะการใช้สารปรับสภาพซากซึ่งเป็นสารเร่งนื้อแดง-แร็กโตพามีน (Ractopamine) ที่ใช้กันเป็นปกติในสหรัฐ แต่ในประเทศไทยเป็นสารต้องห้ามตามกฎหมาย ทั้งห้ามใช้ผสมอาหารสัตว์ ห้ามปนเปื้อนสารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ ทำให้เป็นข้อกำหนดที่ไม่สอดคล้องกัน

กฎหมายห้ามของไทยประกอบด้วย ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชื่อ ประเภท ชนิด หรือลักษณะของอาหารสัตว์ที่ไม่อนุญาตให้นำเข้าเพื่อขาย และกำหนดชื่อ ประเภท ชนิด ลักษณะคุณสมบัติและส่วนประกอบของวัตถุที่เติมในอาหารสัตว์ที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหารสัตว์ พ.ศ. 2545 และ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 269) พ.ศ. 2546 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์

ขณะที่สหรัฐพยายามแก้ปมสารเร่งเนื้อแดงของตัวเองในเวทีที่ประชุม CODEX ครั้งที่ 35 เมื่อ 2-7 กรกฎาคม 2555 โดยสามารถชนะมติ MRL ของ Ractopamine แบบไม่เป็นเอกฉันท์จากประเทศสมาชิก 69 ต่อ 67 โดยไทยวางตัวเป็นกลาง ทั้งๆ ที่มีกฎหมาย 2 ฉบับ ในประเทศ ที่ห้ามใช้ผสมอาหารสัตว์ ห้ามปนเปื้อนสารเคมีกลุ่มเบต้าอะโกนิสต์ ดังกล่าวข้างต้น

ระหว่างการยื่นร่างมาตรฐานนี้ กลุ่มสหภาพยุโรป นอร์เวย์ สมาพันธรัฐสวิส อียิปต์ รัสเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีนคัดค้านการรับรองร่างมาตรฐานนี้ โดยสหภาพยุโรปได้แสดงเจตจำนงที่จะยังคงกฎหมายของสหภาพยุโรปในปัจจุบันไว้ เนื่องจากประเด็น safety concerns นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายประเทศได้ขอบันทึกความไม่เห็นชอบในการรับรองครั้งนี้ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน เคนยา อียิปต์ ตุรกี โครเอเชีย อิหร่าน รัสเซีย และซิมบับเวย์

หลังจากนั้น สหรัฐอ้างมติ CODEX กดดันให้ไทยเปิดตลาดเนื้อหมูมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2556 โดยดำเนินการผ่านที่ประชุมคณะมนตรีภายใต้กรอบความตกลงการค้าและการลงทุน ไทย-สหรัฐฯ (TIFA JC) ที่มีตัวแทนหน่วยงานราชการฝ่ายไทยและผู้แทนการค้าสหรัฐร่วมประชุมปีละ 2 ครั้ง และในการประชุมอื่นๆ อีกหลายครั้งในระดับทวิภาคี

ล่าสุด สภาผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติของสหรัฐ (NPPC) รุกหนักขึ้นผ่านผู้แทนทางการค้า (USTR) โดยเรียกร้องให้รัฐบาลสหรัฐตัดสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) ที่ให้กับภาคส่งออกของไทย หรือแม้แต่ 44 สมาชิกสภาคองเกรส ก็ยังร่วมลงนามและยื่นหนังสือถึง ดร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสหรัฐอเมริกา ให้เปิดตลาดเนื้อหมูและยังไม่ลืมอ้างการขอให้รัฐบาลสหรัฐตัดสิทธิ GSP

นอกจากนี้ ANAN ยังวิเคราะห์จากปมประเด็นดังกล่าว จากการผูกโยงกฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยถือปฏิบัติ และกฎขององค์การการค้าโลก WTO…สำหรับกฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยถือปฏิบัติ เป็นไปตามแนวทาง ทฤษฎีทวินิยม (Dualism) ทฤษฎีนี้ถือว่ากฎหมายภายในกับกฎหมายระหว่างประเทศ มีลักษณะที่แตกต่างกัน ไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน เป็นกฎหมายคนละระบบแยกออกจากกันโดยเด็ดขาด แตกต่างกันทั้งที่มา การบังคับใช้ และความผูกพัน ในการนี้ถ้ากฎหมายภายในขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ ยังถือว่ากฎหมายภายในสมบูรณ์อยู่ ใช้บังคับได้ภายในรัฐ แต่ถ้าการบังคับใช้กฎหมายภายในดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐอื่น รัฐนั้นในฐานะเป็นบุคคลตามกฎหมายระหว่างประเทศ ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายนั้นด้วย นอกจากนี้ รัฐที่นิยมในทฤษฎีดังกล่าว เมื่อเข้าผูกพันในกฎหมายระหว่างประเทศแล้ว ในกรณีที่จะนำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับในประเทศ จะนำมาใช้บังคับเลยไม่ได้ จะต้องนำกฎหมายนั้นมาแปลงให้เป็นกฎหมายภายในเสียก่อน อาทิ ออกประกาศ หรือ พ.ร.บ. รองรับ

ดังนั้น ประเทศไทยถือว่า กฎหมายภายในและกฎหมายระหว่างประเทศมีฐานะเท่าเทียมกัน และเป็นอิสระจากกันและกัน ดังนั้น จึงไม่อาจที่จะนำกฎหมายระหว่างประเทศมาบังคับใช้ภายในประเทศได้โดยอัตโนมัติ แต่ต้องผ่านกระบวนการเปลี่ยนหรือแปลง รูปกฎหมายนั้นให้เป็นกฎหมายภายในเสียก่อนจึงจะสามารถนำมาบังคับใช้ได้

ส่วนกฎขององค์การการค้าโลก WTO ที่สหรัฐอ้างถึงเชิงเปรียบเทียบแม้ไม่ได้กล่าวตรงๆ ดังที่ NPPC ของสหรัฐกล่าวในแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์ NPPC.org เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ที่ผ่านมา ว่า….Thailand is a top beneficiary of the U.S. Generalized System of Preferences (GSP) program … ประเทศไทยได้ประโยชน์ในระดับสูงกับ GSP ที่สหรัฐให้… เท่ากับ NPPC ได้อ้างถึง “การปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง” (The Most Favoured Nation Treatment : MFN) หมายถึง การที่ประเทศคู่ค้าใดได้ประโยชน์จากคู่ค้า ก็ต้องให้ตอบแทนในลักษณะที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ถึงแม้ GSP ทางปฏิบัตินำมาเป็นข้อต่อรองการเจรจาการค้าไม่ได้ แต่ในทางปฏิบัติไทยคงไม่สามารถโต้แย้งประเด็นนี้กับสหรัฐ และต้องตอบแทนทางการค้าให้สหรัฐที่เป็นคู่ค้า

สำหรับประเด็นที่ NPPC กล่าวว่า ประเทศไทย ไม่เปิดตลาดเนื้อหมูและเครื่องในหมูให้สหรัฐ แต่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ (เครื่องใน) จากประเทศอื่นๆ … Thailand also does not import uncooked pork and pork offal from the United States, even though it imports these products from other international supplies. เท่ากับอ้างถึง “หลักการไม่เลือกปฏิบัติ” (Non-Discrimination Principles) ถึงแม้ไทย-สหรัฐ ไม่มีข้อตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างกัน แต่สหรัฐกำลังอ้างถึงการเป็นสมาชิก WTO เหมือนกับประเทศที่ไทยนำเข้าเครื่องในจากประเทศที่กล่าวถึง ปัจจุบัน นำเข้า 5 ประเทศหลักคือ จีน เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี นอกนั้นจะมี เกาหลีใต้ เบลเยียม โปแลนด์ บราซิล หากแต่ประเทศที่กล่าวมานี้ไม่มีการใช้สารเร่งเนื้อแดง

อย่างไรก็ตาม เพื่อลดแรงกดดันการค้าหมูจากสหรัฐและลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมหมูไทยและอุตสาหกรรมอื่นๆ ของไทยให้น้อยที่สุด สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ น่าจะพิจารณาเสนอคณะกรรมการสมาคมฯ ให้เปิดตลาดเครื่องใน Non-Ractopamine ให้ผู้ส่งออกสหรัฐ โดยการกำหนดโควต้ารวมตามที่สมาคมฯ กำลังจะเสนอกรมปศุสัตว์ถัดจาก 3 เดือนนี้ (อาจจะเท่ากับ 15,000 ตัน ต่อปี-ไม่รวมหนัง) ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณความต้องการที่ต้องนำเข้าเพิ่มเติม เพื่อตั้งเป็นโควต้ารวมกับประเทศอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้เนื่องจาก กรณี MRL ของ CODEX ที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรมีการฟ้องร้องภาครัฐและเจ้าหน้าที่รัฐในประเด็นนี้อยู่ ดังนั้น สหรัฐจึงต้องเคารพกระบวนการยุติธรรมไทยที่ยังไม่ยุติ นอกจากนี้ การที่ไทยถือปฏิบัติระบบกฎหมายระหว่างประเทศแบบทวินิยม จึงต้องให้เรื่องนี้ชัดเจนก่อน เท่ากับว่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดงจึงยังคงต้องห้ามสำหรับประเทศไทย

นี่คือ สิ่งที่ผู้เลี้ยงหมูพอจะทำเพื่อประเทศชาติได้ในเวลานี้ แม้จะเสี่ยงต่อความล่มสลายของอุตสาหกรรมจากการเปิดประตูบ้านยอมรับให้เครื่องในหมูสหรัฐเข้ามาทำตลาดในไทยได้ก็ตาม แต่ทั้งหมดก็เพื่อลดข้ออ้างเรื่อง GSP ที่สหรัฐพยายามนำมากดดันไทย

เมื่อเวลา 13.00น. วันที่ 6 สิงหาคม 2561 ที่ จ.เพชรบุรี พล.อ.ฉัตรชัย สาลิกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พร้อม นายสมเกียรติ ประจักษ์วงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน นายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน และ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เดินทางตรวจการระบายน้ำ อ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นอ่างขนาดใหญ่ ความจุ 710 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) พบมีปริมาณน้ำเกือบ 100% มีน้ำล้นสปิลเวย์เมื่อเวลา 10.30 น. วันเดียวกัน โดยมี นางฉัตรพร ราษฎร์ดุษดี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ให้การต้อนรับ ก่อนเข้าร่วมประชุม ที่ห้องประชุมอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน เพื่อรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำและการเตรียมความพร้อมของจังหวัด

จากนั้น พล.อ. ฉัตรชัย และคณะเดินทางไปตรวจระดับน้ำที่สันเขื่อนอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ก่อนขึ้นเฮลิคอปเตอร์บินตรวจสภาพพื้นที่รอบอ่างเก็บน้ำ และแนวทางไหลของน้ำจากอ่างเก็บน้ำแก่งกระจานไปยังแม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งผ่านพื้นที่ อ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง อ.บ้านลาด ก่อนไปลงเฮลิคอปเตอร์ที่มณฑลทหารบกที่ 15 (มทบ.15) ค่ายรามราชนิเวศน์ อ.เมือง จ.เพชรบุรี และไปตรวจคันกั้นน้ำ ริมแม่น้ำเพชรด้านทิศตะวันออกของ มทบ.15 ซึ่งเมื่อ 2 ปี ที่ผ่านมา เคยเกิดเหตุคันดินกั้นน้ำพังทลาย ทำให้น้ำท่วม ถ.เพชรเกษม และพื้นที่เทศบาลเมืองเพชรบุรี สำหรับปีนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างคันกั้นน้ำด้วยซีเมนต์ หากแล้วเสร็จจะสามารถป้องกันน้ำข้ามตลิ่งได้

พล.อ.ฉัตรชัย เปิดเผยว่า อิทธิพลของพายุโซนร้อนเซินติญ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในห้วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่เทือกเขาตะนาวศรี เป็นเหตุให้เหนืออ่างเก็บน้ำแก่งกระจานมีปริมาณน้ำไหลเข้าตัวอ่างมาก ด้วยศักยภาพของอ่างเก็บน้ำแก่งกระจานสามารถช่วยชลอน้ำหลากไม่ให้ลงพื้นที่ด้านล่าง คือ แม่น้ำเพชรบุรี ซึ่งไหลผ่าน อ.แก่งกระจาน อ.ท่ายาง อ.บ้านลาด อ.เมือง และ อ.บ้านแหลม ได้มาก ขณะที่สภาพของแม่น้ำเพชรบุรีปัจจุบัน มีปริมาณน้ำประมาณ 30-40 % ของความจุลำน้ำ ยังสามารถรองรับน้ำจากการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำแก่งกระจานได้อีกพอสมควร

จากนั้น ตัวแทนกรมชลประทาน ร่วมกันแถลงว่า จากเหตุอุทกภัยเมื่อปลายปี 2559 และ ปลายปี 2560 มีการดำเนินการไปแล้ว 2 ส่วน คือ เสริมคันกั้นน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อป้องกันน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำเพชร และเร่งขุดลอกท้ายน้ำของแม่น้ำเพชรบุรีเพื่อให้ระบายน้ำได้สะดวกขึ้น ช่วงที่ผ่านมาได้เร่งพร่องน้ำในอ่างเก็บน้ำแก่งกระจานเพื่อรองรับน้ำฝน ซึ่งมีข้อจำกัดที่โครงสร้างของระบบระบายน้ำสูงสุดได้ไม่เกิน 8.64 ล้านลบ.ม./วัน ขณะที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างมากกว่า กรมชลประทานจึงติดตั้งกาลักน้ำที่เขื่อนแก่งกระจาน 12 แถว และเครื่องสูบน้ำ Hydro Flow 20 เครื่อง เร่งพร่องน้ำออกจากอ่างฯ รวม 110 ลบ.ม./วินาที หรือ 9.50 ล้าน ลบ.ม./วัน แต่เนื่องจากมีน้ำไหลจากเหนืออ่างอย่างต่อเนื่อง ทำให้พร่องน้ำได้ไม่ทัน และน้ำล้นสปิลเวย์เขื่อนแก่งกระจาน ซึ่งมีระดับต่ำกว่าสันเขื่อนประมาณ 7 เมตร โดยในช่วงสายวันเดียวกัน ซึ่งสปิลเวย์สามารถรองรับน้ำไหลผ่านได้สูงสุด 1,380 ลบ.ม./วินาที หรือ 119 ล้าน ลบ.ม./วัน

“สำหรับอนาคตของสถานการณ์น้ำต่อจากนี้ กรมชลประทานคาดการณ์ว่าน้ำที่ไหลผ่านสปิลเวย์สูงสุดที่ 100 ลบ./วินาที หรือ 8.64 ล้าน ลบ.ม./ ในวันที่ 10 สิงหาคม โดยจะมีระดับน้ำสูงขึ้นจากสันสปิลเวย์ประมาณ 0.5 – 0.6 เมตร ดังนั้น ตั้งแต่ วันที่ 10 สิงหาคม เป็นต้นไป คาดว่าจะมีน้ำจากการระบายน้ำของอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน ประมาณ 210 ลบ.ม./วินาที หากมีฝนตกในพื้นที่แม่น้ำเพชรบุรี จะมีปริมาณน้ำ 230-250 ลบ.ม./วินาที คาดว่าทำให้แม่น้ำเพชรบุรีมีปริมาณน้ำผ่านสูงสุดใน วันที่ 12 สิงหาคม