ส่วนคุณสมบัติ เคนคำเล่าถึงการทำสวนทุเรียน ที่พบเจอปัญหา

ลมแรงต้องหาไม้บังลมมาปลูกอีกส่วนหนึ่ง คือ ช่วงอายุ 2 ปี ทุเรียนจะตาย 10% ผลร่วงเมื่อผสมติดแล้ว การแตกใบอ่อนช่วงติดผล ซึ่งก็ได้เรียนรู้แก้ไขไป คิดว่าน่าจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่ และคิดว่า พืชตัวนี้เริ่มเป็นความหวังได้บ้างแล้ว แม้ว่าวันนี้จะเริ่มมองเห็นผลผลิตที่เริ่มออกมาไม่มาก พอให้ได้ชิมลิ้มรส แล้วรสชาติไม่ได้แตกต่างกัน ทำให้เราได้รู้ว่า อนาคตของทุเรียนกับสภาพภูมิอากาศบ้านเราน่าจะพอไปกันได้ จึงเป็นพืชความหวัง พืชที่คิดว่าจะสร้างเศรษฐกิจให้กับชาวอำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู ของเราได้

สำหรับที่ผ่านมา หลังพบว่า มีเกษตรกรที่ปลูกทุเรียนได้ผล ทำให้มีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชาวบ้านให้ความสนใจได้เดินทางมาขอเยี่ยมชมผลผลิต สอบถามการปลูก การดูแลรักษา เช่น ที่ผ่านมา ได้มี คุณวัชรินทร์ สุตลาวดี ปลัดจังหวัดหนองบัวลำภู พร้อมด้วย คุณกนกกานต์ ใจสุภาพ ปลัดอาวุโสอำเภอนาวัง คุณวาสนา ไกยสวน เจ้าพนักงานปกครองชำนาญการ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอนาวัง เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู คุณอำพน ศิริคำ เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและให้คำแนะนำในการดูแลรักษาทุเรียน

ทางด้าน คุณอำพน ศิริคำ เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า ภายหลังทราบว่าเกษตรกรชาวอำเภอนาวัง โดยเฉพาะ 2 พี่น้องตระกูล “เคนคำ” ได้ใช้ความพยายามในการปลูกและดูแลรักษาต้นทุเรียน ร่วม 350 ต้น ชื่นชมในความพยายามทั้ง 2 ครอบครัว ทั้งๆ ที่ไม่มีประสบการณ์ในการปลูกทุเรียน แต่ด้วยความขยันหมั่นเพียรและศึกษาหาความรู้ ตลอดจนเอาใจใส่ในการดูแลรักษาเป็นอย่างดี และทราบว่าปัญหาและอุปสรรคในการปลูกทุเรียนคืออะไร โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสาน ในส่วนของเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู ได้มอบหมายให้เกษตรอำเภอนาวัง เจ้าหน้าที่เกษตรประจำตำบล ได้ลงพื้นที่ให้คำแนะนำเทคนิคในการปลูกการดูแลรักษาการควบคุมโรคแมลงศัตรู และให้กำลังใจติดตามการเจริญเติบโตของทุเรียนในแปลงเกษตรดังกล่าว และคาดหวังว่าหากปีนี้มีดอก ผล เป็นเช่นนี้ในปีต่อไปพืชตัวนี้ก็จะสามารถให้ดอกผล เข้ากับสภาพพื้นดิน สภาพแวดล้อมมีความเหมาะสมของพื้นดินถิ่นนี้ได้ดีเช่นเดียวกันกับพื้นที่อื่น

ส่วนในมุมมองการตลาดของเจ้าของสวนคิดว่า หลังจากทุเรียนเริ่มมีผลผลิตในปีที่ 5 ก่อให้เกิดความมั่นใจว่านับจากนี้ไป ทุเรียน เริ่มส่งผลผลิตและจะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ของหนองบัวลำภู ต้องมาตำบลวังทอง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู ต้องได้กินทุเรียน ในส่วนของการสนับสนุนของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งฝ่ายปกครอง ท้องที่ และสำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู พร้อมเกษตรอำเภอนาวัง ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนและให้คำแนะนำในการดูแลรักษาทุเรียน ให้กำลังใจในการก้าวเดินที่จะพัฒนานำพาพืชเศรษฐกิจตัวใหม่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้คนที่ต้องการก้าวเดินบนเส้นทางวิถีเกษตร

ในขณะที่ คุณสุรจิตร เพ็งสา ปลัด อบต. ปฏิบัติหน้าที่ นายก อบต. วังทอง กล่าวว่า ที่ผ่านมาอาชีพส่วนใหญ่ของเกษตรกรตำบลวังทอง อำเภอนาวัง คือการเกษตร และผลผลิตทางการเกษตรได้สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัดหนองบัวลำภู มานานร่วม 20 ปี นั่นคือ กล้วยหอมทอง ซึ่งปัจจุบันนี้ กล้วยหอมทอง ยังคงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของเกษตรกรที่นี่ และต่อจากนี้ไปนับเป็นความโชคดีของพื้นที่ตำบลวังทอง เมื่อได้มาเห็นแปลงทุเรียนที่กำลังส่งดอก ออกผลพร้อมที่จะจัดจำหน่าย ชื่นชม 2 พี่น้องตระกูล “เคนคำ” ที่ได้ใช้ความพยายามทดลองปลูกทุเรียนมาร่วม 5 ปี ผลผลิตนับวันจะสร้างรายได้ให้เกิดขึ้น และในอีกไม่นาน อำเภอนาวัง จะได้มีชื่อเสียงผลผลิตจากทุเรียน และเชื่อมั่นว่าอีกไม่นาน ตำบลวังทอง อำเภอนาวัง จังหวัดหนองบัวลำภู ที่นี่จะมีทุเรียนรสชาติแปลกใหม่กว่าทุเรียนภาคอื่นๆ อย่างแน่นอน

ทุเรียน แม้ว่าเป็นพืชต้นใหม่ในพื้นถิ่นหนองบัวลำภู ในวันนี้ ที่หลายคนยังไม่มีความมั่นใจว่าจะเติบใหญ่ได้บนผืนดินและสภาพแวดล้อมนี้ แต่วันนี้ พี่น้องตระกูล “เคนคำ” เกษตรกรหัวไวใจสู้ ได้ทำให้ประจักษ์แล้วว่า ทุเรียน สามารถเจริญเติบโตได้ อายุ 4 ปี ย่างเข้า 5 ปี เริ่มให้ผลผลิตได้ในพื้นดินอีสานตอนบน จึงน่าจะเป็นข้อมูลให้กับพี่น้องเกษตรกร ในการประกอบการตัดสินใจ กับการปลูกราชาไม้ผลชนิดนี้ ไม่ว่าจะเป็นผลไม้หลังบ้านก็ยังได้ไว้ชิมลิ้มรสในยามที่ราคาแพงหรือที่จะลงทุนทำเป็นเชิงพาณิชย์ก็น่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

การปลูกพริกในปัจจุบันสามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกัน เกษตรกรจะเลือกใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ดังนี้ การเพาะเมล็ดพันธุ์ในแปลง นำเมล็ดพันธุ์หว่านกระจายให้ทั่วทั้งแปลงเพาะ หรือโรยเมล็ดเป็นแถวลงไปในร่องลึก 0.6–1 เซนติเมตร ห่างกันแถวละประมาณ 10 เซนติเมตร กลบด้วยปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหรือดินผสมละเอียด รดน้ำให้ชุ่มเสมอ คลุมด้วยฟางแห้งหรือหญ้าแห้งบางๆ เมื่อกล้าเริ่มงอกมีใบจริงอายุประมาณ 12–15 วัน ให้ถอนแยกต้นที่เป็นโรค ไม่สมบูรณ์ หรือต้นที่ขึ้นเบียดกันแน่นเกินไปทิ้ง ให้มีระยะห่างกันพอสมควร และควรให้ปุ๋ยเสริมทางใบเพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตและแข็งแรง เมื่อต้นกล้าอายุ 30–40 วัน จึงย้ายลงปลูกในแปลงใหญ่ได้

การเพาะเมล็ดพันธุ์ในกระบะเพาะที่มีวัสดุเพาะเมล็ดเป็นส่วนผสมสำเร็จรูปที่อุ้มน้ำได้พอเหมาะ แต่ละถาดมี 104 หลุม วัสดุเพาะ 1 ถุงสามารถใส่ถาดเพาะได้ 14-16 ถาด เป็นเทคนิคการเพาะที่ทำให้ต้นกล้าแข็งแรงสมบูรณ์ก่อนย้ายปลูก โดยจะต้องเพาะเมล็ดให้งอกก่อนในวัสดุเพาะอย่างอื่น เช่น ทรายผสมแกลบดำและขุยมะพร้าว ใช้เวลาประมาณ 10-12 วันเมล็ดจะงอก หลังจากนั้นจึงย้ายไปปลูกในวัสดุเพาะสำเร็จรูปที่อยู่ในถาดเพาะโดยจะใช้เวลาอีก 14-18 วันจึงจะสามารถนำต้นกล้าย้ายปลูกในแปลงได้

ในประเทศไทยสามารถปลูกพริกได้ตลอดปี แต่จะปลูกได้ผลดีที่สุดระหว่างเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่เก็บผลผลิต การเก็บผลผลิตในฤดูแล้งทำให้สะดวกในการตากแห้ง อีกทั้งเป็นช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู (24-29 องศาเซลเซียล)

แต่หากต้องการปลูกให้ได้ราคาสูงจะต้องปลูกในเดือนเมษายน-พฤษภาคม และสิงหาคม-กันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่ปลูกพริกยากที่สุด

การเตรียมดินปลูกพริก ควรพิจารณาความแตกต่างตามสภาพของดินและระดับน้ำ แปลงปลูกควรขุดหรือไถดินให้ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร ตากดิน 5-7 วัน ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกที่สลายตัวแล้วประมาณ 20 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่ 5 ตารางเมตร พรวนย่อยผิวหน้าดินให้ละเอียด ส่วนการเตรียมดินปลูกในเขตอาศัยน้ำฝน ต้องพิจารณาเลือกที่ซึ่งระบายน้ำได้ดี การกำหนดแถวปลูกให้กำหนดแถวคู่ห่างกัน 1.20 เมตร และให้ระยะระหว่างแถว 0.50 เมตร ระยะระหว่างต้น 0.50 X 0.50 เมตร และเมื่อเตรียมแปลงปลูกแล้วให้ใส่ปุ๋ยคอกในอัตราไร่ละ 1,200–3,000 กิโลกรัม ทำการคลุกปุ๋ยคอกให้เข้ากับดิน แล้วใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 ในอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่ ในสภาพดินที่เป็นกรดจัดควรใช้ปูนขาวในอัตรา 200–400 กิโลกรัม/ไร่

สำหรับระยะปลูกพริกที่เหมาะสม พริกขี้หนูและพริกชี้ฟ้าเป็นพริกที่มีทรงพุ่มใหญ่ ควรใช้ระยะระหว่างต้น 50 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 100 เซนติเมตร พริกหยวกใช้ระยะระหว่างต้น 40 เซนติเมตร ระยะระหว่างแถว 50 เซนติเมตร ส่วนระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับพริกยักษ์ซึ่งเป็นพริกที่มีทรงพุ่มเล็ก ควรใช้ระยะห่างระหว่างต้น 40 เซนติเมตร ระหว่างแถว 60 เซนติเมตร

การปฏิบัติและการดูแลรักษา หลังจากปลูกพริกลงแปลงแล้ว เกษตรกรผู้ปลูกต้องให้ความสำคัญในเรื่องการให้น้ำพริก เนื่องจากเป็นพืชที่ต้องการน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอในช่วงแรกของการเจริญเติบโต ดังนั้น ดินควรมีความชุ่มชื้นพอดี อย่าให้เปียกแฉะเกินไป จะทำให้ต้นพริกเหี่ยวตายได้ ในช่วงเก็บผลผลิตควรลดการให้น้ำเพื่อจะทำให้คุณภาพผลผลิตดี สีของเม็ดสวย

นอกจากนี้ ภายในแปลงต้องกำจัดวัชพืชและพรวนดิน หากเป็นช่วงระยะที่ต้นพริกยังเล็กควรมีการกำจัดวัชพืชให้บ่อยครั้ง หากวัชพืชคลุมต้นพริกช่วงระยะการเจริญเติบโต จะทำให้แคระแกร็น คุณภาพผลผลิตไม่ดี

ส่วนการใส่ปุ๋ย เนื่องจากพริกเป็นพืชที่มีอายุการเก็บผลค่อนข้างยาวนาน ปุ๋ยที่ใช้ควรเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารครบ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 ในอัตราส่วน 25-50 กิโลกรัม/ไร่ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินเพื่อช่วยเสริมการเจริญเติบโต นอกจากนี้ ควรใส่ปุ๋ยน้ำทางใบบ้างโดยทำการฉีดพ่นทุกครั้งหลังการเก็บเกี่ยว การใช้ปุ๋ยเคมีจะได้ผลต่อพืชสูงสุดขึ้นอยู่กับสภาพและคุณสมบัติของดิน โดยเฉพาะค่า pH ความชื้น และระยะการเจริญเติบโตของพืช อีกทั้งปริมาณอินทรียวัตถุที่อยู่ในดินต้องมีอย่างเหมาะสม

การใส่ปุ๋ยเคมีลงในดิน จำเป็นต้องมีความชื้นอย่างเพียงพอ ถ้าไม่เช่นนั้น ปุ๋ยเคมีจะไม่ละลายและไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช ดังนั้น บางครั้งอาจใช้วิธีละลายปุ๋ยเคมีด้วยน้ำให้มีความเข้มข้นพอดี

สำหรับการใส่ปุ๋ย ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรก ใส่ก่อนปลูกเป็นปุ๋ยรองพื้น พรวนกลบลงในดินและโรยปุ๋ย ไนโตรเจนใส่ด้านข้าง ห่างจากโคนต้นประมาณ 2 นิ้ว และเมื่ออายุประมาณ 10-14 วัน หลังจากย้ายกล้า ให้ใส่ครั้งที่สอง โดยโรยด้านข้างแล้วแต่งหน้าด้วยปุ๋ยไนโตรเจนและพรวนกลบลงในดิน

“ต้นเท้ายายม่อม” เป็นพืชใช้ทำแป้งชนิดหนึ่งที่เคยขึ้นอยู่ทั่วไปในแถบชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยเฉพาะ จ.ชลบุรี เป็นพืชที่ใกล้สูญหายไปจากชุมชน

เมื่อหลายสิบปีก่อน หากใครไปเที่ยวชลบุรี บางแสน แล้วแวะซื้อขนมของฝากแถบตลาดหนองมน จะพบว่ามีขนมไทยโบราณหลายเจ้า สารพัดทั้งขนมชั้น ขนมกล้วย เปียกปูน ครองแครง ฯลฯ น่าจะคงยังพอจำรสชาติ ความหอม หนืด หยุ่นๆ เหนียวนุ่มพอดีของขนมดังกล่าวที่มาจากแป้งชนิดหนึ่งได้ดี นั่นคือ แป้งเท้ายายม่อม ซึ่งจะมีความแตกต่างจากแป้งมันสำปะหลัง หรือแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว และแป้งข้าวโพดมาก

คุณสมบัติของแป้งเท้ายายม่อมคือมีความละเอียดมาก มีสีขาว ใสและคงรูปไม่เหลวแตกต่างจากแป้งชนิดอื่นจนสัมผัสและสังเกตุได้ ทางด้านสรรพคุณ บำรุงร่างกาย แก้อ่อนเพลีย ช่วยทำให้จิตใจชุ่มชื่นอารมณ์ดี ช่วยผู้ป่วยฟื้นไข้เร็วขึ้นทำให้เจริญอาหาร แก้ร้อนใน ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหาร นักโภชนบำบัดสมัยใหม่ระบุว่า แป้งเท้ายายม่อมมีคุณสมบัติที่เหมาะกับระบบทางเดินอาหารมากที่สุด

เท้ายายม่อม เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีหัวสะสมอาหารกลมๆ แป้นๆ ลักษณะคล้ายหัวบุกแต่ขนาดเล็กกว่า ดอกเป็นช่อสูงได้ถึงเมตรหรือ 2 เมตร มีหนวดยาวสีเขียวเหลือบม่วงดำเป็นพู่กลมๆ ยาวได้ถึง 1 ฟุต ก็มี มีเกสรตัวผู้ 6 อัน เกสรตัวเมียเป็นรูปคล้าย 3 แฉก ภาคตะวันออกพบขึ้นได้ตั้งแต่ป่าละเมาะ หาดทราย ไปจนถึงบนเขาหินปูนที่ไม่สูงมากนัก ใบมีลักษณะเป็นแฉกๆ มีร่องเว้าลึกสวยงาม

หัวของพืชชนิดนี้นำไปทำแป้ง ที่เรียกแป้งเท้ายายม่อม เป็นพืชในฤดู พอถึงช่วงฤดูฝนต้นจะงอก แล้วสะสมอาหาร ถึงฤดูหนาวจะยุบ ใบจะเหลือง เราก็เลือกขุดหัวใหญ่ไปใช้ เหลือหัวเล็กเอาไว้สะสมอาหารในหน้าร้อน เมื่อวนกลับมาฤดูฝนหัวที่เล็กมีการสะสมอาหารมาแล้วจะพร้อมขุดไปทำแป้งแปรรูปอาหารอีกครั้ง

วันนี้เราต้องรู้ว่าพืชที่เราปลูกทำอะไรได้บ้าง ทำเป็นอะไรคนถึงจะชอบ เท้ายายม่อม ลักษณะพิเศษของเท้ายายม่อมจะใสและอยู่ตัว เทียบง่ายๆ ตามท้องตลาดเป็นแป้งจากโรงงานจะอ้างสรรพคุณว่านี่คือแป้งเท้ายายม่อม แต่เมื่อไปดูส่วนประกอบไม่ใช่แป้งท้าวยายม่อมเป็นแป้งที่ทำมาจากมันสำปะหลัง

วิธีสังเกตง่ายๆ คือ ละลายน้ำง่าย ถ้าเป็นแป้งมันสำปะหลังจะมันๆ เมื่อนำไปทำอาหารคืนตัวเร็ว แต่ถ้าเป็นแป้งเท้ายายม่อมแท้จะคืนตัวช้า

บ้านคนเก่าแก่ยุคก่อนๆ มักจะมีแป้งเท้ายายม่อมติดครัวไว้เสมอสำหรับละลายน้ำร้อน เปียกทำวุ้น ทำขนมให้คนชราหรือผู้ป่วยกิน เชื่อว่าให้พลังงานดี กระชุ่มกระชวย ช่วยสร้างสมดุลร่างกาย ลดอาการซึมเศร้า ถือว่าเป็นตัวช่วยในการปรับสภาพอารมณ์ (Mood stabilizer)

ยอดอ่อนนำมาผัดกับกะทิสด เคี่ยวกะทิไฟอ่อนๆ พอข้นนิดๆ ใส่ยอดเท้ายายม่อมลงไปผัดต่อพอสะดุ้งไฟ กินกับน้ำพริกกะปิ กลมกล่อม ขมนิดๆ หอม มัน อร่อยมาก แป้งเท้ายายม่อมสำเร็จรูปแล้ว เม็ดจะโตกว่าแป้งทั่วไปมีสีขาวอมเทานิดๆ มีความเงาใสในตัวเอง เวลาจะใช้ก็เอามาบดเป็นผงละเอียด

อย่างที่บอก แป้งชนิดนี้จะมีความหนืด นุ่ม เหนียวกว่าแป้งอื่นมาก เมื่อนำมาอุ่นจะไม่ค่อยคืนตัวสามารถพลิกแพลงทำขนมและอาหารได้หลายอย่างสารพัดเมนู ปัจจุบันมักมีการนำเอาแป้งมันสำปะหลังมาหลอกขายเป็นแป้งเท้ายายม่อมกันให้เกลื่อน เพราะแป้งเท้ายายม่อมหายาก ราคาแพง กิโลกรัมละ 300-400 บาท เลยทีเดียว

มีนิทานเก่าของภาคตะวันออกมาเล่าให้ฟังที่มาของชื่อ “เท้ายายม่อม”

เรื่องมีอยู่ว่า ยายม่อม กับตาแม้น เป็นสามีภรรยากัน ตาแม้นเป็นชาวประมงท้องถิ่นออกเรือหาปลา จับกุ้ง งมหอย ส่วนยายม่อมทำขนมขายตลาดหนองมนหรือเปล่าไม่รู้นะ มีลูกด้วยกันคนหนึ่งเป็นลูกชายพิการ อยู่มาวันหนึ่งยายม่อมกลับจากตลาดโดนโจรใจร้ายปล้น ฆ่าหั่นศพทิ้งอย่างทารุณ เหลือเพียงนิ้วเท้า 6 นิ้ว ตาแม้นพอเห็นสภาพศพเมียก็แทบเป็นลม นำไปทำพิธีฌาปนกิจ ฝังไว้ที่ป่าช้า ตัวแกเองก็กินไม่ได้นอนไม่หลับ ผ่ายผอมหัวโต ร่างกายทรุดโทรมป่วยไข้ไม่เป็นอันเลี้ยงดูลูกพิการ

จนวันหนึ่งแกคงเมามานอนร้องไห้คิดถึงที่ข้างหลุมศพยายม่อมจนหมดสติ สลบไป…ยายม่อมด้วยความรักผัว ความห่วงลูกพิการ เลยมาเข้าฝัน ปลอบอกปลอบใจตาแม้นว่าอย่าเสียใจไปเลย ให้เอานิ้วเท้าฉันนี่แหละไปทำมาหากินเลี้ยงลูกเถอะ พร้อมกับสอนวิธีทำแป้งให้ตาแม้นในฝันเสร็จสรรพเรียบร้อย พอตาแม้นฟื้นขึ้นมาได้ก็เห็นข้างๆ ตัวมีหัวพืช กลมๆ ตกอยู่ 6 หัว เลยเลือกหัวใหญ่ที่สุดมาทำอาหารกินจนตัวเองมีเรี่ยวแรงมีกำลังวังชาขึ้นมาได้ ที่เหลือนำไปปลูกตามที่เมียบอกในฝัน เพาะพันธุ์เท้ายายม่อม ทำแป้ง ทำขนมเลี้ยงลูกชายพิการได้ตลอดรอดฝั่ง เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

ยุคนี้ คนไทยใช้ชีวิตลำบากมากขึ้นเพราะสินค้าครองชีพมีราคาแพงแทบทุกอย่าง ทำให้นึกถึงคำพูดของ หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร บิดาแห่งวงการเกษตรกรรมสมัยใหม่ ที่ว่า “เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง” ถือเป็น อมตะวจี ที่เข้ากับทุกยุคทุกสมัยจริงๆ

สำหรับใครที่ยังไม่มีอาชีพที่มั่นคงเลี้ยงครอบครัว อยากแนะนำให้ลองมาปลูกไผ่ สร้างรายได้กันดีกว่า ไผ่มีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่หม่าจู ไผ่ซางหม่น ไผ่ไจแอนท์ ไผ่ปักกิ่ง ไผ่ตงหม้อ ไผ่หก ไผ่ข้าวหลาม ไผ่บงหวาน ไผ่ดำ ฯลฯ ไผ่ตงลืมแล้ง เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุด เพราะมีจุดเด่นสำคัญคือ ให้หน่อดก และออกหน่อนอกฤดูได้ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ

ไผ่ตงลืมแล้ง มีจุดเด่นเรื่องหน่อโต คุณภาพดีและให้ผลดกกว่าไผ่พันธุ์อื่นๆ หลายเท่าตัว หากปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการที่ดี จะให้ผลผลิตสูง 30-50 กิโลกรัม/กอ/ปี

นอกจากนี้ ไผ่ตงลืมแล้งยังมีคุณสมบัติเด่นสำคัญ คือทนทานต่อปัญหาน้ำท่วมได้ดีมากและสามารถนำไปแปรรูปอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งต้ม แกง ซุป หมก ผัด ต้มกระดูกหมู รวมทั้งแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง แต่ละปีหน่อไม้ดองมีมูลค่าทางการตลาดสูงมากทีเดียว

ตลาดต้องการ หน่อไม้นอกฤดูจำนวนมาก เกษตรกรสามารถขายสินค้าได้ในราคาสูง ไม่ต่ำกว่า 40-80 บาท/กิโลกรัม แต่การผลิตหน่อไม้นอกฤดูยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสานมีความต้องการสูงสุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ

เทคนิคการปลูกไผ่ตงลืมแล้ง
ไผ่ตงลืมแล้ง เป็นไผ่ที่ต้องการความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง จึงจะให้ผลผลิตที่ดี ควรปลูกในดินร่วนปนเหนียว ดินร่วน ดินเหนียว ส่วนดินที่เป็นกรด เป็นทรายมากๆ สำหรับสภาพดินลูกรังจะไม่แนะนำให้เกษตรกรปลูก

หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องปลูกในพื้นที่ ดินทราย หรือดินลูกรัง ควรหาดินมาถมให้มีหน้าดินหนาประมาณ 30-50 เซนติเมตร อีกวิธีหนึ่งที่แนะนำ คือก่อนปลูกควรขุดหลุม กว้าง-ยาว 1 เมตร ลึก 0.5 เมตร นำหน้าดิน ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อินทรียวัตถุเติมลงไปให้เต็มแล้วค่อยปลูก วิธีนี้ก็จะให้ผลผลิตได้ดีเช่นกัน หากปลูกในพื้นที่ลุ่มใกล้แหล่งน้ำ ดินจะเก็บความชื้นได้ดี จะให้ผลผลิตนอกฤดูได้ดีกว่าแหล่งปลูกในพื้นที่ดอน

เนื่องจากเกษตรกรนิยมปลูก ไผ่ตงลืมแล้ง เพราะต้องการหน่อเป็นหลัก จึงสามารถปลูกไผ่ตงได้ในอัตราระยะประชิด โดยปลูกในระยะห่าง 2×3 เมตร เฉลี่ย 1 ไร่ ปลูกได้จำนวน 265 กอ ต้นไผ่สามารถออกหน่อได้ดีและเร็ว เกษตรกรควรปลูกไว้ลำแม่แค่ 1-2 ลำ เท่านั้น การปลูกไผ่ตงลืมแล้งในระยะถี่ ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ประหยัดเวลาและพื้นที่ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูแล

แปลงปลูกไผ่สามารถให้น้ำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความพร้อมและสภาพพื้นที่เป็นหลัก ทั้งนี้ การให้น้ำระบบสปริงเกลอร์เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะน้ำที่ผ่านจากหัวสปริงเกลอร์จะผ่านอากาศ (ไนโตรเจน, ออกซิเจน) ก่อนที่จะตกสู่พื้นดิน ทำให้น้ำมีความเย็น อากาศมีความชื้นสูง ช่วยให้หน่อไม้เติบโตเร็ว แต่การให้น้ำวิธีนี้จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงอยู่บ้าง

ส่วนเทคนิคการให้น้ำแบบสูบลาดตามร่อง ควรปรับให้มีความลาดเอียงเล็กน้อย และควรมีการกรีดยกร่องก่อนปลูก แล้วปลูกลงในร่องวิธีนี้จะช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี ส่วนการใช้น้ำแบบสายยางรดเหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกขนาดเล็กและเกษตรกรที่มีเวลาในการดูแลสวน

การจัดการปุ๋ยและแต่งกอ
หากปลูกไผ่ในสภาพดินที่ดี แค่ให้ปุ๋ยคอกเพียง 2-3 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว ไม่แนะให้ใช้ปุ๋ยเคมี เพราะจะทำให้ดินเสื่อมสภาพเร็วและสิ้นเปลืองต้นทุน เมื่อปลูกไผ่ครั้งแรก ควรให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก จำนวน 2 กิโลกรัม/กอ อีก 4 เดือน ให้ใส่เพิ่มเป็น 4 กิโลกรัม/กอ หากใครเลี้ยงหมู ไก่ วัว ฯลฯ สามารถนำมูลสัตว์มาใช้เป็นปุ๋ยคอก ก็ช่วยประหยัดต้นทุนได้อีกทางหนึ่ง เกษตรกรควรหาปุ๋ยน้ำขี้หมู มาใช้ในสวนไผ่ เพราะต้นไผ่จะสามารถเติบโตได้ดีและมีผลผลิตมาก

หากเป็นไปได้ แนะนำให้เกษตรกรปลูกไผ่ก่อนเดือนมิถุนายน เพราะต้นไผ่จะมีอายุมากพอที่จะทำหน่อนอกฤดูได้ในปีถัดไป การไว้ลำแม่เพื่อจะทำหน่อนอกฤดูควรไว้หน่อช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เพราะเป็นระยะเหมาะสมที่สุด ลำต้นแม่ จะไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป

หลังจากนั้น ให้ตัดแต่งกิ่งภายในเดือนพฤศจิกายน สมัครสมาชิก UFABET โดยเลือกลำแม่ไว้เพียงกอละ 1-2 ลำ เท่านั้น ลำที่มีระยะเหมาะสมคือ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำโต 1.5-2 นิ้ว จะดีที่สุด ถ้ามีหน่อหลุดออกมาหลังจากนี้ให้คอยตัดออกทั้งหมด อย่าไว้ลำอีกเด็ดขาด

ต้นเดือนมกราคม ควรให้ปุ๋ยและคุมฟางที่โคนกอ และเริ่มให้น้ำประมาณปลายเดือนมกราคม ช่วงแรกควรให้น้ำบ่อยและให้ดินเปียกโชก พออากาศเริ่มอุ่นไผ่จะเริ่มแทงหน่อ ควรให้น้ำน้อยลง เริ่มเก็บหน่อช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-พฤษภาคม (นอกฤดู) หลังจากตัดหน่อไปได้สัก 2-3 หน่อ/กอ ควรใส่ปุ๋ยคอกอีกรอบ

การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ไผ่ 1 กอ จะให้ผลผลิตเฉลี่ย 6-10 กิโลกรัม ต่อหนึ่งนอกฤดูกาล ราคาที่ขายได้ 40-70 บาท/กิโลกรัม หรือประมาณ 250 บาท/กอ ทำให้มีรายได้ไร่ละ 50,000 บาทขึ้นไป หากต้องการรายได้ที่เพิ่มขึ้น ควรปลูกพืชผักริมสวนอื่นๆ เสริมรายได้ เช่น ชะอม ใบย่านาง ใบแมงลัก เห็ด มะละกอ เพราะพืชผักพื้นบ้านเหล่านี้ ถือเป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารที่แปรรูปจากหน่อไม้ สินค้าทุกชนิดขายดี เป็นที่ต้องการของตลาด

โดยทั่วไป พื้นที่ปลูกไผ่ 4 ไร่ 1,000 กอ จะเก็บหน่อไม้ได้ประมาณวันละ 40-50 กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 40-60 บาท ทำให้มีรายได้วันละ 1,600-2,500 บาท ถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้งาม… จนน่าอิจฉาทีเดียว

มะละกอแขกดำหนองแหวน เป็นมะละกอที่มีถิ่นกำเหนิด อยู่ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี กลายพันธุ์จากแขกดำ ลักษณะเด่นของเขาคือโคนผลเล็ก กลางผลใหญ่ขึ้น ปลายผลแหลม ผิวผลสีเขียวเข้ม ผิวสวย ผลผลิตดก น้ำหนักเฉลี่ย 2.5 กิโลกรัมต่อผล เนื้อสีแดง แต่ไม่แดงติดเปลือก รสชาติหวานแหลม

ปลูกและดูแลมะละกอพันธุ์นี้อย่างไรให้ได้ผลดี
วิธีการ…เริ่มจากนำเมล็ดลงแช่น้ำ 3 คืน จากนั้นเพาะเมล็ดในถุงขนาด 4 คูณ 6 นิ้ว วัสดุที่ใส่ในถุงมีดิน ขุยมะพร้าว และแกลบดำ ราว 10 วันเมล็ดเริ่มงอก เมื่องอกได้ 25 วัน นำลงปลูกได้
ระยะปลูก ใช้ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 2 คูณ 2.50 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 250 ต้น