ส่วนด้านการตลาดนั้น เขาก็มองๆ ตลาดแถวบ้านๆ

ที่อาจจะนำไปวางขาย หรือฝากญาติที่มีแผงค้า ตามตลาดนัด หรือบูธในห้างสรรพสินค้า แต่ทั้งนี้ ผลผลิตที่ไม่มากมาย ค่อยทำ ค่อยเป็นค่อยไป ย่อมทำให้เกษตรกรรายนี้ มีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์ไปเรื่อยๆ ซึ่งอาจจะมาพร้อมกับแนวทางตลาดที่ชัดเจนต่อไปในอนาคต

แต่สำหรับปัจจุบัน การได้ทำในสิ่งที่หวัง และได้ลงมือกับมันอย่างจริงจัง ก็เพียงพอที่จะทำให้ได้พบกับความสุขในสิ่งที่ทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสุข ความอิ่มใจ ที่ได้เดินตามรอยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระราชทานไว้นั่นเอง

การเกษตรแบบผสมผสาน เป็นระบบเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม ด้วยการนำกิจกรรมทางด้านเกษตรทั้งพืช ผัก ผลไม้และสัตว์ มาอยู่ในบริเวณเดียวกัน เพื่อทำให้เกิดการผสมกลมกลืน เกื้อกูลกันตามธรรมชาติ ทั้งนี้เพราะชาวบ้านมองว่า เป็นการลดความเสี่ยงและประกันความแน่นอนในเรื่องรายได้

“สวนป่ายงพฤกษา” ตั้งอยู่เลขที่ 73 หมู่ 9 ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ บริเวณภายในสวนแห่งนี้มีเนื้อที่ทั้งหมด 30 ไร่ ได้จัดแบ่งกลุ่มกิจกรรมทางการเกษตรไว้อย่างมีระเบียบ ทั้งไม้ป่าเศรษฐกิจ ไม้ยืนต้น ไม้ล้มลุก ไม้ผล ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นไก่พื้นบ้าน หมู และปลาในลักษณะการเกษตรแบบผสมผสาน

ลุงทองกาว ยงพฤกษา เจ้าของสวนป่ายงพฤกษา อดีตเคยเป็นราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่าหรือ รสทป.เผยว่าภายหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในฐานะเป็นรุ่นสุดท้ายแล้ว ได้เริ่มต้นชีวิตเกษตรกรรมด้วยการปลูกพืชไร่อย่างข้าวโพด พริก หรือผักต่างๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมบนเขาค้อที่มีความสมบูรณ์เต็มไปด้วยต้นไม้และป่ามีอากาศชื้น จึงไม่เอื้อต่อการปลูกพืชบางชนิด จากนั้นจึงเปลี่ยนมาทดลองปลูกไผ่ตงเป็นเวลา 3 ปี แต่ไม่ประสบความสำเร็จเช่นกัน

ขณะเดียวกัน เมื่อมีโครงการจากทางราชการเพื่อส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกไม้เศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้สอยและห้ามขาย จึงทำให้คุณทองกาวตัดสินใจเข้าร่วมโครงการ พร้อมกับได้รับมอบที่ดินจำนวน 15 ไร่ไว้เพื่อปลูกไม้เศรษฐกิจ อาทิ ต้นสัก ต้นมะค่า ต้นชิงชัน ต้นพยูง และต้นประดู่

ลุงทองกาวมองว่า การปลูกไม้เหล่านี้ถึงแม้จะขายไม่ได้ แต่กลับมีคุณค่ากับคนรุ่นหลังที่ควรนำมาเรียนรู้ศึกษาเพราะหลายคนไม่เคยเห็นของจริง เพียงแต่ได้ยินชื่อและเห็นในรูปภาพเท่านั้น พร้อมกับกล่าวแสดงความผิดหวังว่า มีพันธุ์ไม้หลายชนิดที่ทางราชการแจกจ่ายฟรีให้กับชาวบ้าน แต่หลายคนกลับไม่รู้คุณค่าของไม้เหล่านั้น จึงปล่อยทิ้งไว้ให้ตายไปโดยสูญเปล่า

ไม้เศรษฐกิจเหล่านั้นถูกปลูกอย่างเป็นระเบียบเต็มพื้นที่จำนวน 15 ไร่ อีกทั้งพื้นที่ว่างระหว่างต้น คุณทองกาวไม่ปล่อยให้เสียเปล่า เขาได้นำต้นดีปลากั้งซึ่งเป็นพืชสมุนไพรมาปลูกเพื่อเก็บดอกขายเป็นการสร้างรายได้ ขายกิโลกรัมละ 120 บาท

ทั้งนี้ ต้นดีปลากั้งเป็นไม้เมืองหนาวที่มักเกิดตามซอกหิน ในที่ชื้นในร่ม ชาวบ้านมักนำไปปรุงเป็นอาหาร และถ้าเมื่อใดมีจำนวนมาก ในท้องตลาดราคาจะอยู่ที่ 80 บาทต่อกิโลกรัม

ไม่เพียงเท่านั้น พื้นที่อีกจำนวน 15 ไร่ยังถูกจัดเพื่อใช้สำหรับปลูกพืช ไม้ผล และเลี้ยงสัตว์เช่นไก่พื้นบ้าน หมู เป็ด และปลา เพื่อใช้บริโภคและจำหน่าย

ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์เลี้ยงที่ลุงทองกาวชื่นชอบมาก เขาเลี้ยงไก่พื้นเมืองด้วยความเอาใจใส่ เลี้ยงอย่างมีระบบ ระยะแรกเลี้ยงจำนวนน้อยแล้วค่อยๆ เพิ่มจำนวนมากขึ้น จากความที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองอย่างมีคุณภาพจึงทำให้ทางปศุสัตว์ให้การส่งเสริมด้วยการจัดตั้งเป็นสถานที่เรียนรู้ นำมาสู่การจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ไก่พื้นเมืองในเวลาต่อมา

“จากนั้นได้ให้ชาวบ้านที่สนใจเข้ามาอบรม กระทั่งมีการขยายผลทำให้อีกหลายส่วนเข้ามาเพิ่มเติม ทั้งนี้เพราะเห็นว่าทางเราทำเป็นตัวอย่าง จนในที่สุดกลับกลายมาเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรผสมผสานจนทุกวันนี้”

ลุงทองกาวเลี้ยงไก่พื้นเมืองจำนวน 100 กว่าตัว โดยมีเหตุผลสองอย่างคือ ถ้าเป็นไก่ที่มีความสมบูรณ์ดีจะแยกขายเป็นไก่ชน แต่ถ้าตัวไหนไม่สมบูรณ์ก็จะขายให้ชาวโม้งไปใช้ในพิธีกรรม ซึ่งพวกเขานิยมใช้ไก่ที่มีขนาดตัวละประมาณไม่กี่กิโลกรัมเท่านั้น คนกลุ่มนี้ใช้ไก่ประกอบพิธีกรรมบ่อยมาก จะมาหาซื้อบ่อย ทั้งนี้เพราะหลายคนเห็นว่าเป็นไก่ที่เลี้ยงอย่างมีคุณภาพ

นอกจากการเลี้ยงไก่พื้นเมืองแล้ว คุณทองกาวยังเลี้ยงหมูเหมยซานด้วย และเป็นการเลี้ยงแม่เพื่อขายลูก ขณะนี้มีแม่พันธุ์อยู่จำนวน 4 ตัว และพ่อพันธุ์จำนวน 2 ตัว ส่วนลูกหมูก็ขายให้พวกชาวโม้งเช่นกัน

ไม้ผล คุณทองกาวบอกว่า ปลูกไว้หลายชนิด บางอย่างมีผล บางอย่างไม่มีผล หรือบางชนิดออกผลล่าช้ากว่าตามท้องตลาดเลยทำให้ราคาต่ำ และตรงกันข้ามมีไม้ผลบางอย่างถึงแม้จะออกล่าช้ากว่า แต่กลับทำให้ขายได้ราคาสูง

ถ้าถามถึงรสชาติ เจ้าของสวนรายนี้บอกได้เลยว่าเยี่ยม ทั้งนี้เป็นเพราะมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นสภาพทางธรรมชาติอย่างดิน น้ำ อากาศ หรือความสมบูรณ์ของพืชทุกชนิด ที่ผ่านการปลูกโดยการใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักที่นำมาจากมูลไก่ มูลหมู สำหรับใส่ในพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ ทั้งนี้ถึงแม้จะได้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านั้นแต่อาจไม่เทียบเท่าการทุ่มเททั้งกายและใจลงไปกับทุกอย่าง

“กรณีที่ชัดเจน อย่างเงาะโรงเรียนที่ปลูกไว้จำนวนร้อยกว่าต้น มีรสชาติดีมาก มีความกรอบ แห้ง เป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่เดินทางเข้ามาดูงาน หรือบางคนแวะเวียนมาซื้อจากต้น โดยขายในราคากิโลกรัมละ 20 บาท

“หรือแม้แต่มะไฟที่ปลูกไว้จำนวน 30 กว่าต้น เป็นมะไฟเหรียญทอง ให้ผลผลิตช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ผลมีขนาดใหญ่กว่าปกติมาก แม่ค้านิยมมาซื้อไปขายเพราะได้ราคาดี ในคราวที่แล้วขายได้เงินเป็นหมื่น นอกจากนั้นยังมีทุเรียนพันธุ์มาจากมาเลเซียและกล้วย รวมถึงกาแฟอราบิก้าที่ปลูกไว้ในพื้นที่ 2 ไร่ จำนวน 800 ต้น”

สวนป่ายงพฤกษา ถือเป็นสวนเกษตรแบบผสมผสานที่ประกอบด้วยหลายสิ่งหลายอย่างที่จัดไว้ได้อย่างลงตัว สอดคล้องกับการเกื้อกูลทางธรรมชาติอย่างเหมาะสม จนสามารถเติมเต็มการขาดหายไปของธรรมชาติได้เป็นอย่างดี

หากท่านมีโอกาสเดินทางไปเขาค้อ อย่าลืมแวะไปเยี่ยมเยียนสวนเกษตรผสมผสานของลุงทองกาว เพราะที่นั่นเป็นแหล่งความรู้เกษตรที่ในตำราอาจไม่มี แล้วถ้าโชคดีท่านอาจได้ชิมไม้ผลหลายชนิดที่มีรสชาติอร่อยอีกด้วย แต่ก่อนแวะไปต้องโทรศัพท์นัดล่วงหน้าที่หมายเลขโทรศัพท์ 083-955-2096

มาดูวิธีการปลูกพริกไทยซีลอน ที่อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ต่อจากฉบับที่ผ่านมา ของคุณประเสริฐ จันทโรทัย อยู่บ้านเลขที่ 115 หมู่ที่ 1 ตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โทร. (087) 841-2310 ถึงเรื่อง การให้น้ำ โดยคุณประเสริฐ เล่าว่า ตนเองประยุกต์ใช้ระบบน้ำแบบเดินสายน้ำ PE ขนาดเล็ก เดินขึ้นไว้บนยอดเสาค้างพริกไทย เมื่อเวลาเปิดน้ำ น้ำก็จะไหลจากด้านบนลงล่าง ทำให้เสาปูนมีความชุ่มชื้น ลดความร้อนของเสาปูน แล้วน้ำก็จะไหลลงสู่โคนเสา (ค่าอุปกรณ์ระบบน้ำ ประมาณ 5,000 บาท ต่อ 200 หลักพริกไทย)

หลังปลูกควรรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน เมื่อพริกไทยตั้งตัวได้ ลดเหลือ 2-3 วัน ต่อครั้ง พริกไทยที่ให้ผลผลิตแล้ว ควรให้ 3-4 วัน ต่อครั้ง ตามสภาพดินฟ้าอากาศ ในฤดูแล้งอาจประหยัดการให้น้ำโดยการคลุมดินในแปลงปลูกด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง แต่ในฤดูฝนไม่ควรคลุมดินจนชิดโคนต้น ควรเว้นห่างเพื่อไม่ให้โคนต้นชื้นแฉะเกินไปและเกิดโรค เตรียมให้น้ำระบายออกจากแปลงปลูกอย่างรวดเร็ว และขณะดินชื้นแฉะไม่ควรเหยียบย่ำในแปลง จะทำให้ดินแน่นทึบ รากเสียหายได้

พริกไทยจะเริ่มให้ผลผลิตหลังปลูก ประมาณ 10-14 เดือน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะให้ผลผลิตที่อายุ 14 เดือนขึ้นไป สำหรับพริกไทยที่ได้รับการดูแลเรื่องน้ำและปุ๋ยอย่างดี อายุ 10 เดือน ก็เริ่มเก็บผลผลิตได้แล้ว พริกไทยจะให้ผลผลิตตลอดทั้งปี แต่จะให้ผลผลิตรุ่นใหญ่ปีละ 2 รุ่น รุ่นแรกเริ่มเก็บประมาณ มกราคม-มีนาคม พริกไทยที่ออกช่อช่วงนี้จะให้ผลผลิตน้อย ประมาณ 1 กิโลกรัม ต่อหลัก (ในช่วงการเก็บเกี่ยว 3-4 เดือน ต่อรุ่น) เพราะช่วงนี้ค่อนข้างแล้ง รุ่นที่ 2 เก็บประมาณมิถุนายน-สิงหาคม โดยพริกไทยที่ออกช่อช่วงนี้ จะให้ผลผลิตสูงกว่าพริกไทยที่ออกช่วงแล้ง คือประมาณ 2-3 กิโลกรัม ต่อหลัก (ในช่วงการเก็บเกี่ยว 3-4 เดือน ต่อรุ่น) โดยพริกไทยที่ออกช่อ 1 รุ่น จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้นานประมาณ 3-4 เดือนต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและปัจจัยของแต่ละพื้นที่ด้วย เพราะปัจจุบันมีปุ๋ยและฮอร์โมนช่วยบังคับ หรือช่วยเปิดตาดอกให้พริกไทยออกดอก มีผลผลิตในช่วงเวลาที่เกษตรกรต้องการได้

พริกไทย เป็นพืชไม้เลื้อยที่มีระบบรากส่วนหนึ่งที่มีความพิเศษกว่าพืชทั่วไป ที่เราเรียกกันว่า “รากอากาศ” โดยเมื่อมีความชื้นในอากาศรากนี้จะแตกออกมาจากข้อที่มีความแก่พอเหมาะของกิ่งพริกไทย ดังนั้น ทำให้การขยายพันธุ์พริกไทยสามารถที่จะทำได้ง่าย แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกด้วย เช่นความชื้นในอากาศ โดยที่อุณหภูมิต้องไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส หากพื้นที่ใดมีอุณหภูมิที่สูงกว่านี้ ควรมีซาแรนพรางแสงให้โรงเรือน หรือระบบพ่นหมอกเพื่อลดอุณหภูมิในบริเวณโรงเรือนนั้นด้วย

แบบการตอน ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า พริกไทยนั้นมีระบบรากอากาศ ดังนั้นการตอนสามารถทำได้ทันที โดยนำขุยมะพร้าวที่มีความชื้นบรรจุในถุงพลาสติกขนาดเล็กผ่าออก แล้วหุ้มตรงข้อของกิ่งพริกไทยได้เลย จากนั้นมัดด้วยปอฟาง จะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ก็จะสามารถตัดกิ่งนั้นออกมาชำลงถุงดำต่อไป

การขยายพันธุ์แบบนี้ก่อนที่ต้นพันธุ์พริกไทยจะปลูกได้นั้น จะต้องมีขั้นตอนอีกหนึ่งขั้นตอน ก็คือ ต้องนำตุ้มตอนนั้นมาชำลงถุงดำอีกครั้ง เพื่อให้ต้นพันธุ์พริกไทยมีการเจริญเติบโตของระบบรากที่มั่นคงแข็งแรงและเมื่อนำลงปลูกในแปลงจริงแล้ว จะไม่ทำให้พริกไทยนั้นตาย ควรนำมาชำอนุบาลในถุงดำแล้วอบต่อในโดมพลาสติกอีกประมาณ 45 วัน และเปิดโดมพลาสติกอีกสัก 15 วัน ก่อนนำไปปลูกหรือจำหน่ายได้

แบบปักชำ แบบนี้สามารถที่จะตัดกิ่งออกมาจากต้น ประมาณ 3 ข้อ แล้วนำมาปักลงในถุงดำที่บรรจุดินได้เลย แล้วนำไปใส่ถุงอบหรืออุโมงค์อบ หรือไว้ในที่ร่มที่มีการควบคุมอุณหภูมิเช่นที่ที่มีระบบพ่นหมอก ใช้ระยะเวลา ประมาณ 2 เดือน จึงจะสามารถนำไปปลูกลงแปลงได้ โดยทั่วไปถ้านำไปไว้ในที่ร่มและคอยรดน้ำนั้น จะมีอัตรารอด ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น หากต้องการให้มีอัตรารอดของการขยายพันธุ์พริกไทยแบบปักชำสูง ควรมีระบบควบคุมอุณหภูมิ
จากการขยายพันธุ์ทั้ง 2 แบบ ข้างต้นนั้น แบบที่ให้อัตรารอดสูงคือ แบบการตอน แต่ขั้นตอนการทำอาจจะใช้เวลานานสักหน่อย เพราะต้องนำมาชำลงถุงดำอีกที แต่ก็คุ้มค่ากับอัตราการรอดและความแข็งแรงของต้นพันธุ์ ส่วนแบบปักชำนั้นเหมาะกับการผลิตจำนวนมากหลักหมื่นหลักแสนต้น เพราะขั้นตอนการทำนั้นกระชับรวดเร็ว ทำได้ง่าย ขั้นตอนน้อย ดังนั้น การขยายพันธุ์ทั้ง 2 แบบ สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของเกษตรกรเอง

การเลือกส่วนที่นำมาขยายพันธุ์ของพริกไทยซีลอน มีอยู่ 2 ส่วน คือ กิ่งแขนง และกิ่งไหล

กิ่งแขนง หรือชาวสวนพริกไทยเรียก “กิ่งปราง” ซึ่งเป็นกิ่งที่ให้ผลผลิตอยู่แล้วบนต้น เมื่อนำมาปักชำหรือตอนกิ่ง กิ่งแขนงหรือกิ่งปราง เมื่อนำไปปลูกจะมีพัฒนาการสร้างทรงพุ่มอยู่ทางด้านล่าง เป็นพุ่มจะเตี้ย ออกช่อติดผลเลยทันทีที่ตั้งตัวหรือแตกยอดใหม่หลังการปลูก กิ่งแขนงหรือกิ่งปรางจะให้ผลผลิตเร็ว หากท่านใดมีพื้นที่น้อย ต้องการนำไปใส่กระถางปลูกรับประทานในบ้านเล็กๆ น้อยๆ ก็เลือกต้นพันธุ์จากกิ่งแขนงไปปลูก

กิ่งไหล คือส่วนยอดสุดของต้น ที่เรามักพบว่ามักจะเลื้อยห้อยลงมาเมื่ออยู่บนเสาปูน ซึ่งยอดกิ่งไหลนั้นจะมีฮอร์โมนจิบเบอเรลลินสะสมอยู่ในส่วนปลายยอดและที่ยอดอ่อนเป็นจำนวนมาก พัฒนาการทางด้านการเจริญเติบโตและการพุ่งหาแสงจะมีค่อนข้างมาก ถ้านำมาปลูกเชิงการค้า คือปล่อยเลื้อยขึ้นเสาปูน ควรเลือกซื้อต้นพริกไทยที่ตอนหรือชำมาจากกิ่งไหลมาปลูก เพราะจะโตเร็ว เลื้อยเกาะขึ้นหลักเร็วกว่าต้นพริกไทยที่ได้จากกิ่งแขนง แต่จะให้ผลผลิตช้ากว่าต้นพันธุ์ที่ได้จากกิ่งแขนง ผลผลิตจะเริ่มเก็บได้ก็ประมาณ 8-14 เดือน หลังปลูก
ดังนั้น ถ้าปลูกแบบการค้าเลื้อยขึ้นเสาปูน จึงใช้ในส่วนของไหลยอดมาขยายพันธุ์เพราะเลื้อยขึ้นเสาค้างที่มีความสูงได้ดีนั้นเอง

คุณประเสริฐ เล่าว่า สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงต้องหลีกเลี่ยงยาร้อน ยาน้ำมัน เน้นใช้ยาดูดซึมที่ค่อนข้างปลอดภัย ถ้าฉีดช่วงอากาศร้อนหรือบ่อยครั้ง จะทำให้ต้นชะงัก ใบสลด ยาเย็นกับยาร้อน ใช้ยาฆ่าแมลงอะไรได้บ้าง คุณประเสริฐ อธิบาย สำหรับยาเคมีฆ่าแมลงที่ใช้ต้องเป็นยาเย็นเป็นหลัก และวิธีที่สังเกตว่าอะไรเป็นยาเย็นหรือยาตัวไหนเป็นยาร้อน เบื้องต้นวิธีง่ายสุดคือ ให้ดูชื่อสามัญของยาว่า ตัวหลังเปอร์เซ็นต์ยาลงท้ายด้วยอะไร เช่น ถ้าลงท้ายด้วย คำว่า EC ให้คิดไว้ก่อนเลยว่า เป็นยาร้อน เพราะ 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นยาร้อน อาจมีบางตัวที่สามารถฉีดได้ จึงควรศึกษาและเลือกใช้ยากับบริษัทที่เชื่อถือได้ ตัวอย่างเช่น

ชื่อสามัญ อะบาแม็กติน กำจัดหนอนชอนใบ ป้องกันเพลี้ยไฟ ไรแดง ไรขาว เป็นยาดูดซึม มีฤทธิ์อยู่ได้ 7-15 วัน

ชื่อสามัญ คลอไพรีฟอส กำจัดตระกูลหนอนเจาะดอก เพลี้ยอ่อน แมลงในดิน ตระกูลพืชกินหัวเสี้ยนดิน เป็นยาเย็นประเภทดูดซึม อยู่ได้ 10-15 วัน

ชื่อสามัญ เมโทมิล กำจัดฆ่าหนอนต่างๆ เพลี้ยอ่อน เป็นยาน็อกประเภทดูดซึม มีฤทธิ์อยู่ได้ 6-14 วัน ชื่อสามัญ ไซเปอร์เมทริน 10% 25% 35% มี 3 เปอร์เซ็นต์ ให้เลือกใช้ เป็นยาน็อก ประเภทถูกตัวตาย หมดฤทธิ์เร็ว ไม่ใช่ยาดูดซึม เป็นยาค่อนข้างร้อน
ถ้าใช้มากเกินไป จะทำให้ดอกร่วงได้ ฆ่าหนอน แมลง (เต่าแตง) มดตายทันทีเมื่อฉีดถูกตัว เป็นต้น แมลงศัตรูพริกไทย

เท่าที่พบคือ เพลี้ยอ่อน ชอบดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ทำให้ใบและยอดแคระแกร็น บิดงอ ไม่ติดเมล็ด

เพลี้ยแป้ง ตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากช่อดอก ใบ และเถาพริกไทย เพลี้ยแป้งจะขับถ่ายมูลเป็นน้ำหวาน ป้องกันโดยฉีดพ่นด้วยมาลาไธออน หรือเด็ดกิ่งและเก็บตัวอ่อนเผาทำลาย นอกจากนี้ ก็มีมดและ

ด้วงงวงเจาะเถาพริกไทย ซึ่งจะทำลายเถาพริกไทย ทำให้เถาแห้งตาย ถ้าระบาดรุนแรงก็ฉีดพ่นด้วย คาร์บาริลหรือเผาทำลายเถาพริกไทยที่พบรอยเจาะของหนอนด้วงงวงระบาด

โรคพริกไทย จะเป็นกลุ่มของเชื้อรา ซึ่งถ้าสวนพริกไทยค่อนข้างร่มทึบ อากาศไม่ถ่ายเท มีน้ำขังแฉะ เกษตรกรต้องควบคุมรักษาสภาพแวดล้อมให้ดี ให้เหมาะสม หรือถ้าเชื้อราระบาดต้องงดการใส่หรือฉีดพ่นฮอร์โมนแก่ต้นพริกไทย

โรครากเน่า เป็นโรคสำคัญที่ทำความเสียหายมากที่สุด เกิดจากเชื้อรา อาการระยะแรกเถาจะเหี่ยวใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและร่วง ต่อมาปราง (กิ่งแขนง) เริ่มหลุดเป็นข้อๆ ตั้งแต่โคนต้นถึงยอดขั้วกิ่งเป็นสีเหลืองและดำ ส่วนรากเน่าดำและมีกลิ่นเหม็น ป้องกันโดยอย่าให้น้ำขังในฤดูฝน เผาทำลายต้นที่เป็นโรค และฉีดพ่นด้วยสารฟอสอีทิลอะลูมิเนียม หรือสารฟอสฟอริก แอซิด

การป้องกันกำจัดหรือลดความเสียหายจากโรคในแปลงปลูก จัดการดินในพื้นที่แปลงปลูกให้มีการระบายน้ำได้ดี ไม่มีสภาพน้ำขัง ปรับปรุงดินด้วยอินทรียวัตถุ โดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อให้ดินสามารถดูดซับธาตุอาหารได้ดี หากดินเป็นกรดควรปรับด้วยปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ ตัดแต่งกิ่งหรือแขนงตามบริเวณโคนต้นออกให้โปร่ง เพื่อลดความชื้นและให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกดีขึ้นและไม่เป็นแหล่งสะสมโรค ไม่ควรเดินผ่านเข้าสวนขณะที่มีการระบาด และทำความสะอาดเครื่องมือก่อนเข้าสวน

โรคแอนแทรกโนส เกิดจากเชื้อรา ทำลายส่วนใบของพริกไทย เกิดเป็นจุดวงกลมสีน้ำตาลดำหรือสีดำ ผิวเป็นเงามัน รอบจุดเป็นสีเหลือง ตรงกลางแผลมีลักษณะเป็นวงสีน้ำตาลดำเรียงซ้อนกันเหมือนวงปีของเนื้อไม้ ถ้าเป็นรุนแรงอาจทำให้ตายได้ ป้องกันโดยตัดแต่งกิ่งและเก็บไปเผาทำลาย ฉีดพ่นด้วยเบนโนมิล หรือสลับแมนโคเซป หรือสลับคาร์เบนดาซิม

คุณประเสริฐ เล่าว่า ผลผลิตพริกไทยอ่อนตอนนี้ยังมีไม่มากก็จะขายในท้องถิ่นก่อน แต่การตอบรับค่อนข้างดี แม่ค้าแจ้งกลับมาว่ามีเท่าไหร่เอาหมด ตอนนี้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 80-100 บาท แต่อนาคตเมื่อมีผลผลิตมากขึ้นก็ได้เตรียมตัวในเรื่องของการรวมกลุ่มกันไว้ระหว่างเพื่อนเกษตรกรด้วยกันที่มีหลายๆพื้นที่ เพื่ออนาคตจะได้รวบรวมผลผลิตขายหรือต่อรองราคากับโรงงานรับซื้อ

และอีกตัวอย่างเพื่อนเกษตรกรอีกท่าน คือ คุณสุชาติ บุญทั่ง อยู่บ้านเลขที่ 55 หมู่ที่ 2 ตำบลวังสำโรง อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โทร. (091) 391-9627 เกษตรกรผู้ปลูกพริกไทยอีกท่านหนึ่งที่ปลูกพริกไทยมาช่วงเวลาเดียวกับคุณประเสริฐ ซึ่งปลูกในพื้นที่ 1 งาน หรือ 100 หลัก ก็บอกเล่าประสบการณ์ว่า เป็นพืชชนิดใหม่ของตนเอง แต่จากที่ปลูกมา 1 ปีกว่า เหมือนการศึกษานิสัยของพริกไทยไปในตัว พบว่าเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ของจังหวัดพิจิตรที่มีอากาศค่อนข้างร้อนตลอดทั้งปี แต่ด้วยการมุงซาแรนพรางแสง 60 เปอร์เซ็นต์ให้ มีการให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ สร้างสภาพร้อนชื้น แต่ไม่แฉะตามที่พริกไทยชอบ

ปัจจุบัน ต้นพริกไทยที่กำลังเข้าสู่ปีที่ 2 เริ่มให้ผลผลิต เริ่มคืนทุนมีรายได้จากการขายพันธุ์พริกไทย และผลผลิตเริ่มมีให้เก็บได้บ้างแล้ว และราคาก็สูงพอสมควรเมื่อเทียบกับพืชชนิดอื่น เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100 บาท ซึ่งในปีนี้คาดว่าจะผลิตพริกไทยอ่อนสู่ตลาดอย่างเต็มที่ เพราะอายุต้นค่อนข้างจะสมบูรณ์มาก ซึ่งคุณสุชาติ คาดว่าจะขยายพื้นที่ปลูกพริกไทยเพิ่มในอนาคตอย่างแน่นอน

ทางเดินชีวิต…สู่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คุณพรรณพิมล ปันคำ อยู่บ้านเลขที่ 59 หมู่ที่ 7 บ้านท่าศาลา ตำบลศรีเมืองชุม อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 57130 เดิมทำเกษตรเชิงเดี่ยว คือการปลูกข้าว แต่ประสบปัญหาความไม่คุ้มทุน ด้วยราคาค่าปุ๋ย ค่าสารเคมีสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคาผลผลิตตกต่ำจึงไม่สามารถชำระเงินกู้คืนได้ เมื่อมองเห็นปัญหาแล้ว คุณพรรณพิมล จึงเริ่มต้นแก้ปัญหาให้ตัวเองด้วยการทำบัญชีครัวเรือน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เริ่มต้นเรียนรู้และลงมือทำการเกษตรแบบลดต้นทุน ไม่พึ่งพาสารเคมี ทำเกษตรอินทรีย์ จนกระทั่งปลดภาระหนี้สินได้สำเร็จ

เนื่องจากคุณพรรณพิมลมองเห็นว่าเพื่อนชาวเกษตรกรไทยอีกมากมายยังคงอยู่ในวังวนของความทุกข์จากการมีหนี้สินครัวเรือนสูงขึ้นจากการกู้หนี้นอกระบบ ขาดทักษะการทำมาหากิน ครอบครัวแตกแยก และมีสุขภาพที่ทรุดโทรมจากการทำเกษตรกรรมจากการใช้สารเคมีที่เข้มข้นเพื่อเพิ่มผลผลิต และยังส่งผลร้ายต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค เมื่อปี พ.ศ. 2545 จึงตัดสินใจเปิดบ้านของตนเองเป็นแหล่งการศึกษาเรียนรู้ ชื่อ ศูนย์เกษตรกรรมยั่งยืนตำบลศรีเมืองชุม โดยปรับเปลี่ยนพื้นที่ 14 ไร่ 1 งาน เป็นแปลงทฤษฎีใหม่ จัดทำแปลงเกษตรผสมผสาน เกษตรประณีต ปลูกข้าว เลี้ยงปลา เลี้ยงสัตว์ และสวนไม้ผล พร้อมทั้งชักชวน สนับสนุนให้เพื่อนเกษตรกรในชุมชนได้มีโอกาสร่วมเรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญอย่างจริงจัง คุณพรรณพิมลได้นำความรู้และภูมิปัญญาจากประสบการณ์ของตนเอง โดยเป็นวิทยากรด้านเกษตรกรรมธรรมชาติ จัดทำบัญชีครัวเรือนและบัญชีฟาร์ม จนทำให้เกษตรกรที่ตัดสินใจมุ่งสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง หมดหนี้สินและมีความสุขในการใช้ชีวิตประจำวันบนวิถีพอเพียง

คุณพรรณพิมล ได้ดำเนินกิจกรรมการเกษตรโดยมีความโดดเด่นในเรื่องการปลูกข้าว ปลูกข้าวปีละ 2 ครั้ง นาปีและนาปรัง โดยก่อนจะปลูกข้าวต้องมีการเตรียมดินและน้ำให้พร้อม น้ำที่ใช้ต้องสะอาดปราศจากสารเคมีเจือปน และต้องมีการกำจัดวัชพืชด้วยน้ำหมักจุลินทรีย์ นอกจากนี้ ยังลดต้นทุนการปลูกข้าวอินทรีย์ โดยการใช้จุลินทรีย์ดินระเบิด การใช้มูลสัตว์แทนปุ๋ยยูเรียคุมหน้าเทือก เพื่อเตรียมธาตุอาหารให้ต้นข้าว ใช้จุลินทรีย์กำจัดวัชพืช กำจัดแมลง โดยใช้สารสกัดจากสะเดา กาแฟ สับปะรด หมักทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง เพื่อกำจัดเพลี้ยกระโดด เมื่อได้ผลผลิตข้าวจะนำไปจำหน่ายที่ศูนย์ขายส่งให้ลูกค้าแต่ละพื้นที่ในชุมชน สำหรับเคล็ดลับในการทำการเกษตรคือ ต้องมีการเอาใจใส่ดูแล บำรุงรักษา และการจัดการธาตุอาหารพืชเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพมากขึ้น

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่นำมาปฏิบัติ

คุณพรรณพิมล ได้ดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะหลัก ความพอประมาณ คือ การไม่ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่ไม่จำเป็นและฟุ่มเฟือย โดยเน้นการผลิตของอุปโภคบริโภคใช้เอง เช่น การปลูกพืชผักสวนครัวไว้บริโภคในครัวเรือน การทำยาสีฟัน สบู่ แชมพู น้ำยาซักผ้า และน้ำยาล้างจานใช้ในครัวเรือน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และมีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายในยามที่จำเป็น

การดำรงชีวิตในวัยหลังเกษียณ จำเป็นต้องมีการวางแผน มีการเตรียมพร้อมล่วงหน้า เพราะรู้ดีว่าวันนั้นคงมาถึง แต่มีหลายคนยังคงวางเฉยเพราะรู้ดีว่าอาจมีลูกหลานดูแล จึงมุ่งดำเนินชีวิตเพื่อจะใช้เวลาที่เหลือสำหรับพักผ่อน เพราะลูกหลานไม่ต้องการให้ทำงานอีกต่อไป

สำหรับคนที่วางแผนชีวิตหลังเกษียณไว้อย่างรอบคอบ ย่อมทำให้ชีวิตไม่สะดุด ไม่เป็นภาระแก่ลูกหลาน คนเหล่านี้จึงเตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วยการถามตัวเองตลอดเวลาว่า ชอบอะไร ต่อไปในอนาคตจะทำอะไร

สำหรับ คุณฐิตินันท์ หะมาน ลูกย่าโมที่เพิ่งหยุดอาชีพแม่พิมพ์อย่างถาวรเมื่อปี 2557 จึงเลือกที่จะปลูกพืชผักแล้วทำสวนครัวอยู่กับบ้านสำหรับรับประทานเองอย่างปลอดภัยในบั้นปลายชีวิต

คุณฐิตินันท์เป็นอดีตครูโรงเรียนวัดสว่างอารมณ์ จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากวิทยาลัยครูนครราชสีมา ก่อนจะสอบบรรจุครูครั้งแรกที่อำเภอพิมาย ต่อมาย้ายไปเป็นครู 1-2 แห่ง จนกระทั่งมาสอนประจำที่โรงเรียนวัดสว่างอารมณ์เป็นแห่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ

“ครูปุ๊” เป็นชื่อเล่นของคุณฐิตินันท์ที่คุ้นเคยกันในกลุ่มครูและหมู่นักเรียน โดยมีอายุราชการในฐานะครูมาตลาด 38 ปี ทั้งเป็นช่วงเวลาที่ต้องสอนและคลุกคลีเฉพาะเด็กชั้นประถม 1 มาตลอด ต้องสอนทั้งหมด 8 สาระวิชา จนเกษียณอายุเมื่อปี 2557 ตำแหน่งล่าสุดคือ ครูชำนาญการพิเศษ 2 (คศ.2)

หลังเกษียณต้องการอยู่บ้าน ปลูกพืชผักสมุนไพรพื้นบ้านปลอดสารพิษ

ภายหลังเกษียณ ครูปุ๊ตั้งใจว่าจะมาปลูกผักไว้รับประทานเองภายในครอบครัวเพราะต้องการบริโภคผักที่ปลอดภัย อีกทั้งน้องสาวป่วยเป็นมะเร็ง ทางคุณหมอจึงแนะนำให้บริโภคผักปลอดสารพิษ ทำให้เธอมองหาพืชหลายชนิดที่มีประโยชน์ด้านสมุนไพรพื้นบ้าน

ด้วยเหตุนี้ บนเนื้อที่กว่า 1 ไร่ เลขที่ 182 หมู่ 4 ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นบ้านของเธอ จึงออกแบบปลูกพืชผักสวนครัวไว้รอบบ้านอย่างเป็นระเบียบ ได้แก่ ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก มะนาว ข่า ใบย่านาง ขนุน กะเพรา ผักหวานป่า ดอกขจร มะละกอ เป็นต้น แล้วยังมีโรงเรือนเห็ดนางฟ้าขนาด 3 คูณ 2 เมตร อยู่ในบริเวณเดียวกัน

ปลูกแล้วทานไม่ทันเลยแจก แล้วตั้งวางหน้าบ้านให้คนใส่เงินทำบุญ

จากการเริ่มต้นเพียงเพื่อใช้บริโภคในครอบครัว พืชผักเหล่านี้กลับเจริญเติบโตงอกงามจนบริโภคไม่ทัน คุณฐิตินันท์จึงนำไปแจกญาติและเพื่อนบ้าน กระนั้นก็ยังคงมีผลผลิตออกมาอีกเรื่อยๆ จนทำให้เพื่อนบ้านรับเป็นธุระนำไปขายที่ตลาด

ด้วยความเกรงใจ คุณฐิตินันท์จึงนำพืชผักที่พร้อมให้ผลผลิตมาใส่ถุงแยกเป็นชนิดแล้ววางไว้บนโต๊ะหน้าบ้านที่อยู่ติดถนนพร้อมร่มกันแดดแล้วเขียนป้ายบอกว่า “ผักไร้สาร ถุงละ 10 บาท” ใครต้องการผักชนิดใดก็ให้นำเงินใส่ไว้ในกระปุกตามต้องการ และทุกสิ้นเดือนจะเปิดกระปุกแล้วนำเงินไปทำบุญที่วัด

ลงทุนไม่มาก บางอย่างได้มาฟรีจากชุมชน

การปลูกพืชผักเหล่านี้ต้องใช้เงินลงทุน ครูปุ๊เผยว่าสิ่งที่ต้องซื้อได้แก่ ขี้วัว แกลบ เมล็ดพันธุ์ ทั้งนี้ มะนาวได้พันธุ์มาฟรีจำนวน 21 ต้น เพราะเข้าร่วมโครงการกับทางชุมชน ถึงกระนั้นก็ต้องใช้เงินลงทุนมากกว่าพืชชนิดอื่นไม่ว่าจะเป็นวงบ่อซิเมนต์ หรือปุ๋ยและยา

“ตอนแรกที่ลงทุนอาจจะใช้เงินมากเพราะถือว่าเพิ่งเริ่ม ดังนั้นสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ซื้อเป็นพวกอุปกรณ์เครื่องมือทำสวน แต่หลังจากนั้นจะใช้น้อยลง คงเหลือเป็นค่าวัสดุปลูก ดิน ปุ๋ย ยา ซึ่งจากการบันทึกไว้เฉลี่ยเดือนละประมาณ 2 พันบาท และจะลดลงจากจำนวนดังกล่าวเมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง แต่บางอย่าง เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ไม่ต้องเสียเงินซื้อ เพราะได้รับแจกจากทางชุมชน”

ไม่เคยผ่านงานเกษตรกรรมมาเลย พอลงมือครั้งแรก ล้าเหมือนกัน

พื้นฐานครอบครัวครูปุ๊ไม่เคยผ่านการทำเกษตรกรรมมาก่อน อีกทั้งระหว่างรับราชการก็ไม่เคยสนใจงานเกษตร เพิ่งมาจับจอบเสียมครั้งแรกหลังเกษียณอายุราชการนี้เอง ครูปุ๊จึงขอความรู้และทักษะการปลูกพืชผักจากเพื่อนบ้านหลายคนที่มีประสบการณ์และความชำนาญ ขณะที่บางชนิดอาจต้องพึ่งพาความรู้จากอินเตอร์เน็ต

เธอเล่าย้อนถึงครั้งเริ่มลงมือทำสวนครัวว่า เป็นครั้งแรกที่จับเครื่องมือทางการเกษตรแบบเป็นทางการ พอลงมือทำก็เกิดอาการกล้ามเนื้อล้า ถ้าเหนื่อยตอนไหนจะพัก ไม่โหม แต่พอนานไปอาการเหล่านั้นก็ค่อยๆ หายไปเอง ตอนนี้ไม่เป็นอะไรเลยเพราะร่างกายปรับตัวได้แล้ว

“ทำแล้วสนุกและมีความสุขมาก เข้าสวนทุกวัน ถ้าวันใดหยุดทำจะรู้สึกเหมือนขาดอะไรบางอย่างไป เราจะมีความสุขกับการคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงของพืชแต่ละชนิดที่เป็นผลงานจากมือของเราค่อยๆ เจริญเติบโต แตกกิ่งก้านใบอ่อนออกมา เมื่อเห็นแล้วมีความสุข หายเหนื่อย และคิดว่าจะทำไปเรื่อยๆ จนไม่ไหวเอง คงอีกนาน เพราะการทำสวนทำให้เรามีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง มีสภาพจิตที่สมบูรณ์ ไม่ต้องไปคิดเรื่องอื่นๆ นอกจากการปลูกต้นไม้ ไม่เครียด ยิ่งได้เหงื่อ ยิ่งสนุก”

กิจวัตรประจำวันของครูปุ๊เริ่มจากตื่นเช้าทำกับข้าวให้ลูกรับประทานพร้อมกับนำไปที่ทำงานด้วย จากนั้นลงสวนครัวเพื่อตรวจดูความเรียบร้อยของพืชแต่ละอย่างว่าควรต้องทำอะไร อาจใส่ปุ๋ยต้นไม้ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์นำมาใช้รดและฉีดพ่นใบ ทำสัปดาห์ละครั้ง พอเริ่มแดดออกจะเข้าบ้านเพื่อนทำงานบ้าน ช่วงบ่ายหลังรับประทานอาหารเที่ยง พักผ่อนดูโทรทัศน์รายการโปรด ตกบ่ายก็จะเข้าสวนอีกครั้งเพื่อรดน้ำต้นไม้

ต้มน้ำใบย่านางบรรจุขวดแล้ว พับดอกกุหลาบจากใบเตยขายในราคาถูกสุดๆ

ใบย่านางที่ปลูกไว้เจริญเติบโตดีมาก ครูปุ๊เห็นว่าพืชสมุนไพรพื้นบ้านชนิดนี้มีประโยชน์ จึงนำมาแปรรูปทำ “น้ำย่านาง” ดื่มกันในครอบครัว แล้วยังแจกจ่ายญาติกับเพื่อนบ้าน จนหลายคนชมว่าอร่อยและมีประโยชน์ ก่อนจะเชียร์ให้ทำขาย เธอจึงต้มขายเฉพาะตามออร์เดอร์เท่านั้น โดยบรรจุใส่ขวดพลาสติกขนาดเล็กขาย ราคาขวดละ 10 บาท ถ้าซื้อครั้งเดียว 6 ขวด เหลือ 50 บาท เธอขายดีมากจนทำให้มีรายได้สัปดาห์ละ 200-300 บาท ซึ่งเงินลงทุนได้แก่ ค่าน้ำตาล ใบเตย (เล็กน้อย) และค่าขวดพลาสติก เมื่อคำนวณต้นทุนแล้วตกขวดละ 2 บาทกว่า

อีกกิจกรรมงานยามว่างที่ครูปุ๊ถนัดแล้วทำเป็นรายได้เสริม คือการพับดอกกุหลาบจากใบเตย ทำเป็นดอกและช่อกุหลาบขาย ช่อละ 10 บาท จะทำทุกสัปดาห์โดยใช้เงินลงทุนสัปดาห์ละ 60 บาท จะขายได้ 170 บาท ทั้งนี้ งานพิเศษที่เป็นรายได้เสริมจะทำในช่วงบ่าย

คุณฐิตินันท์มีบุตรจำนวน 3 คน เรียนจบทั้งหมดแล้ว แต่งงานออกเรือนไป 1 คน ที่เหลือพักอยู่กับเธอ ทุกวันนี้มีรายได้หลักมาจากการรับเงินบำนาญเดือนละ 5 พันบาท ทั้งยังได้จากลูกๆ อีกเล็กน้อย เธอบอกว่าพอกินพอใช้ เพราะแต่ละวันมีค่าใช้จ่ายไม่มาก ไม่ได้ออกไปเที่ยว หากจะออกนอกบ้านมักเป็นการไปเที่ยวกับลูกในวันหยุด

ความจริงแล้ว เงินที่ได้จากการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ได้มากมายเท่ากับความสุขและความภูมิใจ อีกทั้งมองว่าตัวเองยังมีคุณค่าเพราะทำประโยชน์ได้ ที่สำคัญก็คือ ได้ออกกำลังกายไปในตัว พร้อมกับสร้างความเพลิดเพลินให้แก่ชีวิตจิตใจ

“ทำอะไรก็ได้ที่ตัวเองรักและควรทำให้ดีที่สุด เพราะเวลาเหลือน้อยแล้ว ไม่ควรทำให้ตัวเองมีเวลาว่างจนต้องคิดสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์ เสียเวลาไปเปล่าๆ ควรสร้างคุณค่าให้ตัวเองด้วยการหากิจกรรมทำ อะไรไม่เคยทำอย่าไปคิดว่าทำไม่ได้ ให้ลองศึกษาหาความรู้อย่างละเอียดดูเสียก่อน เพราะในปัจจุบันมีเทคโนโลยีทันสมัย อยู่ใกล้ตัวหาความรู้ได้ง่ายและสบาย เพียงแต่ทุกอย่างอยู่ที่ตัวคุณเท่านั้น…”

แหล่งปลูกเงาะของประเทศไทยอยู่ที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ ภาคอีสานมีการปลูกเงาะได้ในบางจังหวัด มีที่ตำบลน้ำสวย อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ส่วนที่ภาคเหนือมีสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสำหรับการปลูกเงาะ ไม่ใช่พื้นที่สำหรับการปลูกเงาะ จึงไม่มีใครคิดจะปลูกเงาะที่ภาคเหนือ คงมีบ้างในจังหวัดเชียงรายบางพื้นที่ที่อยู่ติดแม่น้ำโขงสามารถปลูกเงาะได้ผลผลิต เช่น อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน เป็นต้น จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน มีการปลูกกันบ้างแซมเป็นจำนวนน้อยรายในสวนผลไม้ ส่วนในจังหวัดอื่นๆ การปลูกเงาะมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จ

แต่ที่จังหวัดลำปาง มีผู้ประสบความสำเร็จในการปลูกเงาะอยู่รายหนึ่ง ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่มีใครคิดจะปลูกเงาะ นอกจากจะไม่มีประสบการณ์ในการปลูกเงาะมาก่อนแล้ว ยังเชื่อที่ว่าลำปางไม่เหมาะสมกับการปลูกเงาะ จะปลูกอย่างไหร่ก็ตามไม่มีทางออกผล เขาผู้นี้ต้องใช้ความเพียรพยายามอยู่หลายปีกว่าจะประสบความสำเร็จ ถึงแม้ผลผลิตออกมาจะมีอยู่เป็นจำนวนน้อยก็ตาม แต่เป็นผลสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจของเขา สามารถลบล้างความเชื่อของใครบางคนที่มีมาแต่เดิมไปได้

ลุงอาษา สาริการ แห่งบ้านห้วยยาง ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ในวัย 75 ปี (2559) เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการปลูกเงาะโรงเรียน

ลุงอาษา บอกว่าเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ทราบเลยว่า สมัครเว็บ SBOBET ลุงอาษาปลูกเงาะอยู่ในอำเภอเมือง และไม่เคยมีเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาเยี่ยมชมสวนเงาะสักครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีผ่านมา คงรับทราบกันที่เพียงว่า ที่บ้านแม่เติน ตำบลแม่ถอด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง มีเกษตรกรผู้หนึ่งปลูกเงาะ ทุเรียน และลองกอง ได้ผลผลิต

พื้นเพเดิมของลุงอาษา เป็นชาวอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เติบโตมาในครอบครัวทำสวนผลไม้ เงาะ ทุเรียน มังคุด ลุงอาษาจึงมีประสบการณ์ในการทำสวนผลไม้ เมื่อปี พ.ศ. 2530 ลุงอาษาได้พบรักกับสาวชาวลำปางที่กรุงเทพฯ และเดินทางมาอยู่ที่ลำปางบ้านเดิมของภรรยา จากนั้นได้ซื้อกิ่งลิ้นจี่จำนวนหนึ่งจากจังหวัดเชียงรายมาปลูก ในพื้นที่ 1 ไร่ 3 งาน อยู่ท้ายหมู่บ้าน ปลูกได้ 5 ปี ลิ้นจี่ไม่ให้ผลผลิต บางต้นติดผลพอใกล้จะแก่ผลก็ร่วงหมดจึงตัดสินใจโค่นลิ้นจี่ทิ้งทั้งหมด