ส่วนทั้งหมดส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรในเดือน ธ.ค. 2561

อยู่ที่ 205.40 เพิ่มขึ้น 1.45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 60 ขณะที่แนวโน้มดัชนีรายได้เกษตรกรในเดือน ม.ค. 2562 จะลดลง 1.88% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลง 0.21%

ในขณะที่ดัชนีผลผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.29% สำหรับสินค้าสำคัญ ที่มีผลผลิตออกมากในช่วงเดือนม.ค. ได้แก่ มันสำปะหลัง และหอมแดง ทั้งนี้ เดือน ก.พ. 2562 คาดว่า ดัชนีรายได้เกษตรกรจะขยายตัวเล็กน้อย ในขณะที่ดัชนีราคามีแนวโน้มลดลง ส่วนดัชนีผลผลิตจะขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา

คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นลิ้นมังกรไว้ประจำบ้าน จะช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกได้ เพราะบางคนเรียก ลิ้นมังกรอีกชื่อหนึ่งว่า หอกพระอินทร์ ซึ่งเป็นอาวุธชนิดหนึ่งของพระอินทร์ ที่ใช้ในการต่อสู้และปกป้องศัตรูจากภายนอก ดังนั้น ลิ้นมังกร จึงเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นไม้ที่มีความสำคัญของพระอินทร์ในสมัยพุทธกาล

นอกจากนี้ ลิ้นมังกร ยังเป็นไม้ฟอกอากาศที่องค์การนาซ่าได้นำมาทดลองวิจัย ซึ่งก็ได้ผลวิจัยว่า “ต้นลิ้นมังกร” จะมีลักษณะพิเศษกว่าพันธุ์ไม้ชนิดอื่นคือ จะคายก๊าซออกซิเจนในเวลากลางคืน ส่วนกลางวันจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แทน ทำให้สามารถปลูกต้นลิ้นมังกรในบ้านได้โดยไม่มีอันตรายต่อคนในบ้าน

ลักษณะทั่วไป
ใบเดี่ยว ขนาดเล็กยาว ดอกออกเป็นช่อ ดอกย่อยสีชมพู เกสรตัวผู้สีส้ม เป็นยาสมุนไพรใช้แก้แมลงสัตว์กัดต่อย
ในทางไสยศาสตร์ เชื่อว่ามีฤทธิ์ทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี

การดูแลรักษา
ลิ้นมังกร เป็นไม้ประดับที่มีความเขียวสดใสตลอดทั้งปี ลิ้นมังกรแคระปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง จึงไม่ต้องดูแลรักษามาก แต่ต้องได้รับแสงเพียงพอ สามารถปลูกได้ทั้งภายในอาคารบ้านเรือนและกลางแจ้ง

ใบและดอก
-ลักษณะลำต้น : เป็นหัวหรือเหง้าอยู่ในดิน ใบเกิดจากหัวโผล่ออกมาพ้นดินประกอบกันเป็นกอ
-ลักษณะใบ : เป็นแท่งกลมยาว หรือใบแบนกว้าง ปลายแหลม แข็ง หนาเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อย หรือเป็นเกลียว
ใบกว้างประมาณ 4-7 ซม. และสูงประมาณ 30-60 ซม. อาจจะมากหรือน้อยกว่าตามแต่ละสายพันธุ์

สีสันของใบลิ้นมังกร จะมีสีเขียวซีดจนถึงเขียวเข้ม บางสายพันธุ์ใบมีสีเขียวเข้ม ขอบใบมีสีเหลืองทอง หรือใบมีสีเหลืองและมีสีขาวเป็นเส้นตามแนวขอบใบ สีขาวประสีเขียวอมเหลือง เขียวอมด่างสีฟ้า และลักษณะมีลวดลายของใบที่แตกต่างกันและสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละสายพันธุ์

การขยายพันธุ์
ลิ้นมังกร สามารถขยายพันธุ์ได้ 4 วิธี คือ
1. วิธีการเพาะเมล็ด เกิดจากการผสมพันธุ์ของดอกลิ้นมังกร ซึ่งอาจเกิดจากการผสมในต้นเดียวกันหรือเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับการพัฒนาสายพันธุ์
ใหม่ๆ เนื่องจากการผสมข้ามสายพันธุ์และการกลายพันธุ์ของต้นที่เกิดจากเมล็ด จะมีพันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น แต่ต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรเช่นเดียวกับการคัดเลือกสายพันธุ์ชนิดอื่นๆ

วิธีการแยกหน่อ เมื่อถึงอายุที่เหมาะสมลิ้นมังกรจะมีการแตกหน่อจากหัวใต้ดินออกมาอย่างต่อเนื่อง ผู้ปลูกเลี้ยงสามารถขุดหัวแล้วแยกหน่อขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์วิธีนี้ใช้ระยะเวลาไม่นานและต้นลูกที่ได้จะมีลักษณะเหมือนกับต้นแม่ทุกประการ จึงเหมาะแก่การขยายพันธุ์ในเชิงการค้า
วิธีการปักชำใบ โดยการตัดใบลิ้นมังกรออกเป็นชิ้นหรือท่อน และสามารถนำไปปักลงวัสดุเพาะปลูกได้ทันที ในบางสายพันธุ์การขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้เมื่อใบปักชำเจริญเติบโตและแตกหน่อออกมา ต้นลูกที่ได้จะมีลักษณะผิดเพี้ยนไปจากต้นแม่ จึงไม่เหมาะที่จะนำมาขยายพันธ์ุในเชิงการค้า อีกทั้งรากอ่อนที่เพิ่งแตกออกมาจากใบที่ปักชำมักถูกทำลายด้วยแมลงปีกแข็งที่อยู่ใต้ดินได้ง่าย

วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ลิ้นมังกรเป็นไม้ประดับชนิดหนึ่งที่สามารถเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อได้ แต่ยังคงมีอุปสรรคในเรื่องความสม่ำเสมอของการเจริญเติบโต และเปอร์เซ็นต์ความอยู่รอดที่ต่ำ จึงไม่เหมาะแก่การขยายพันธุ์ในเชิงการค้า

การนำไปใช้
ลิ้นมังกรแคระนิยมปลูกเป็นพุ่มๆ ตามรั้วบ้าน เป็นต้นไม้มงคล

คนโบราณ มีความสวยงาม ปลูกง่ายเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพอากาศ เหมาะปลูกเป็นไม้ประดับบ้านเรือน หรืออาคาร เป็นพืชใบประดับที่มีลำต้นเป็นหัวหรือเหง้าอยู่ในดิน

ลักษณะลำต้น เป็นข้อๆ ใบเกิดจากหัวที่โผล่ออกมาพ้นดินเป็นกอ จึงนิยมปลูกลิ้นมังกรแคระตามแนวรั้วบ้าน

ลักษณะดอก จะแตกต่างกันตามแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งมีมากมายกว่า 70 สายพันธุ์ ลิ้นมังกรเป็นพืชที่ทนสภาพแล้งได้ดีมาก เลี้ยงง่าย ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน ชอบดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสงคราม ชาวสวนร่วมกันจัดงาน “เทศกาลส้มโอขาวใหญ่และของดีจังหวัดสมุทรสงคราม” ขึ้น เพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายให้กับชาวสวน สร้างโอกาสให้ผู้ผลิตพบผู้บริโภคโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง อีกทั้งเป็นการเปิดตลาดให้ชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนมาซื้อส้มโอ ซึ่งถือเป็นผลไม้มงคล ไปกราบไหว้บรรพบุรุษในวันตรุษจีน วันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ โดยมีเกษตรกรกว่า 50 ร้านค้า นำส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ ประมาณ 200 ตัน มาจำหน่าย อีกทั้งยังมีผลไม้อื่นๆ ที่ได้จากสวนมาจำหน่าย นอกจากนี้ ยังมีสินค้าประเภทของกินของใช้ที่จำเป็นต่อการครองชีพและสินค้าโอท็อปจำหน่ายในราคายุติธรรม เพื่อช่วยเหลือประชาชน

โดยไฮไลต์ของงานนี้คือ สวนทองจ๊ก หรือ ชื่อเดิมคือ สวนลุงจก ของ นางสุจพรนา (ป้าทุเรียน) รุ่งอรุณเนตร ที่ยกสวนส้มโอมาไว้ที่ศาลากลาง ด้วยการพิมพ์ภาพร่องสวนส้มโอบนไวนิลมาเป็นฉากหลัง และนำเรือไฟเบอร์ที่ใช้ขนส้มโอในสวนมาตั้งไว้บนพื้นสีเขียว เหมือนเรืออยู่บนจอกและแหนในน้ำ ด้านหน้าป้ายดังกล่าว ตกแต่งด้วยกิ่งส้มโอ 2 ข้างเรือ เพื่อให้เหมือนเรือพายในร่องสวนส้มโอจริงๆ นอกจากนี้ ยังมีเสื้อ และหมวกชาวสวนไว้บริการนักท่องเที่ยวที่ไม่มีเวลาไปเที่ยวในสวนได้สัมผัสชีวิตชาวสวน ซึ่งก็มีนักท่องเที่ยวสนใจ มานั่งพายเรือถ่ายภาพลงในโลกโซเชียลอวดเพื่อนๆ กันอย่างคึกคัก

นางสุจพรนา (ป้าทุเรียน) กล่าวว่า เนื่องจากส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ของจังหวัดสมุทรสงคราม มีชื่อเสียงด้านความอร่อย เนื่องจากปลูกในจังหวัดสมุทรสงครามที่มีระบบนิเวศ 3 น้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม ทำให้ทุกครั้งที่จัดงาน “เทศกาลส้มโอขาวใหญ่และของดีจังหวัดสมุทรสงคราม” จะมีนักท่องเที่ยวมาซื้อส้มโอไปกราบไหว้บรรพบุรุษจำนวนมาก แต่ที่ผ่านมาลูกค้าที่มาซื้อส้มโอส่วนใหญ่อยากจะเข้าไปสัมผัสในสวน แต่ไม่มีเวลา หรือไม่รู้จะไปเที่ยวสวนไหน ตนจึงมีแนวคิดยกสวนส้มโอมาให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสชีวิตชาวสวนแบบง่ายๆ ไม่สิ้นเปลืองเวลาขับรถเข้าสวน

ส่วนวิธีเลือกซื้อส้มโอรสชาติอร่อยว่าต้องเลือกผลที่แก่ ซึ่งดูได้จากต่อมน้ำมันที่ผิวส้มโอจะห่าง ผิวเขียวอมเหลือง ใช้นิ้วหัวแม่มือกดที่ก้นลูกส้มโอจะยุบเล็กน้อย หากกดไม่ยุบเลยแสดงว่าส้มโอยังแก่ไม่ได้ที่ ลักษณะแป้นเหมือนลูกมะนาวเปลือกจะบาง เมื่อปอกแล้วเนื้อจะหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย แต่ถ้าจะให้อร่อยยิ่งขึ้นควรผึ่งไว้ในร่มให้ลืมต้น อีกประมาณ 7-10 วัน

นักท่องเที่ยวที่ต้องการมาซื้อส้มโอขาวใหญ่ ไปกราบไหว้บรรพบุรุษ หรือนำไปเป็นของขวัญของฝากให้กับญาติมิตร สามารถซื้อได้ใน “เทศกาลส้มโอขาวใหญ่และของดีจังหวัดสมุทรสงคราม” บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดสมุทรสงคราม ไปจนถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562 นี้

เมื่อวันที่ 1 กุมพาพันธ์ ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่รายงานสถานการณ์ภัยแล้งที่ จ.ยโสธร ในปีนี้ถือว่าภัยแล้งมาเร็วกว่าทุกปีและเริ่มส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ ในพื้นที่ ซึ่งส่อเค้าถึงแล้งหนักและมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดแม่น้ำชีที่เป็นลำน้ำสายหลักที่ไหลผ่าน จ.ยโสธร ปริมาณน้ำเริ่มแห้งขอดเป็นช่วงๆ อย่างเช่น ที่บริเวณด้านหลังวัดบ้านคุยตับเต่า ต.ขุมเงิน อ.เมือง จ.ยโสธร

จากเดิมที่เคยมีปริมาณน้ำเต็มฝั่ง แต่พอถึงหน้าแล้งปริมาณน้ำแห้งขอดลงอย่างรวดเร็ว จนเหลือแต่พื้นทรายเป็นบริเวณกว้าง และพบว่าน้ำชีแห้งขอดจนมองเห็นพื้นทรายทอดยาวตามแม่น้ำชีกว่า 1 กิโลเมตร ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมฝั่งแม่น้ำชีและเคยใช้เรือพายของตัวเองในการสัญจรไปมาเดินทางข้ามฝั่งแม่น้ำชีรวมทั้งนำเรือออกหาจับปลาในแม่น้ำชีไปขายต้องปล่อยให้เรือของตัวเองทิ้งเคว้งคว้างอยู่ริมตลิ่ง เพราะไม่เหลือน้ำที่จะต้องใช้เรือได้อีกแล้ว

ขณะที่เกษตรกรที่ทำนาปรังในพื้นที่ก็หวั่นเกรงว่าปริมาณน้ำในแม่น้ำชีอาจจะไม่เพียงพอในการทำนาปรังในปีนี้อย่างแน่นอน เนื่องจากปริมาณน้ำบริเวณที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำส่งให้เกษตรกรได้ทำนาปรังในพื้นที่กว่า 10,000 ไร่ ที่อยู่ด้านหลังวัดบ้านคุยตับเต่า ก็เหลือระดับน้ำสูงไม่ถึง 2 เมตร เท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ท้ายเขื่อนยโสธร-พนมไพรสุพิชญา ฟาร์ม ผู้เลี้ยงวัวนมรายย่อยกับความอยู่รอดที่รอท้าทาย

สวัสดีครับ สวัสดีผู้อ่านทุกท่าน พบกันเป็นประจำในคอลัมต์ “คิดใหญ่แบบรายย่อย The challenge of smallscale farmers” ฉบับนี้ยังอยู่กับเกษตรกรรายย่อยที่คิดต่าง คิดเยอะ ทำมาก และก้าวหน้ามาก ที่ “สุพิชญา ฟาร์ม” ฉบับที่แล้วผมพาท่านไปชมธุรกิจวัวนมของ สุพิชญา ฟาร์ม กันมาแล้ว เห็นและทราบกันแล้วว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงวัวนมรายย่อยนั้นยังอยู่ได้ แต่อาการก็ค่อนข้างย่ำแย่ เพราะสถานการณ์หลายอย่างบีบบังคับ วันนี้เกษตรกรรายย่อยผู้เลี้ยงวัวนมอย่าง คุณบัณฑิตย์ จองปุ๊ก เขาปรับตัวอย่างไร เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่น่ากลัวในอนาคต มีอะไรที่คุณบัณฑิตย์สร้างเอาไว้เป็นอาชีพเสริมบ้าง ตามผมไปดู ไปพบข้อคิด และไปเรียนรู้พร้อมๆ กันเลยครับ

“สุพิชญา ฟาร์ม” แพะพันธุ์แท้ ทางเลือก ทางรอด

พาท่านกลับมาที่ สุพิชญา ฟาร์ม ที่หมู่ 9 บ้านหนองสามพราน ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ที่มี คุณบัณฑิตย์ จองปุ๊ก เป็นเจ้าของ นอกจากธุรกิจวัวนมที่ผมพาท่านมาเรียนรู้ไปเมื่อ ฉบับวันที่ 1 มกราคม 2562 คุณบัณฑิตย์ เกษตรกรรายย่อยคนเก่งของเรายังมีธุรกิจอื่นๆ ที่ทำขึ้นเพื่อลดความเสี่ยงจากธุรกิจวัวนมอีกด้วย คุณบัณฑิตย์ เล่าว่า “ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว ผมเริ่มมองหาทางออกทางธุรกิจ เพราะผมมองว่าการอยู่ในธุรกิจวัวนมในฐานะเกษตรกรรายย่อยยังมีความเสี่ยงอยู่พอสมควร ผมจึงมองหาทางลดความเสี่ยง เพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ ซึ่งในช่วงนั้นตลาดแพะเนื้อกำลังบูมมาก ผมก็มานั่งคิดดูว่าหากผมเลี้ยงแพะพันธุ์ดีเพื่อผลิตลูกแพะป้อนตลาดจะทำได้ไหม และถ้าจะทำควรจะเริ่มจากแพะพันธุ์ไหน ควรมีการจัดการอย่างไร ผมก็หาความรู้จากตำรับตำรา รวมทั้งถามพูดคุยกับผู้รู้ จนมั่นใจว่าแพะพันธุ์แท้น่าจะเป็นคำตอบที่ดี จึงเริ่มต้นเลี้ยงแพะเนื้อเมื่อ 3 ปีที่แล้ว”

ยอมลงทุนเยอะ เลี้ยงแพะพันธุ์แท้ แพะเลือดสูง

คุณบัณฑิตย์ เริ่มต้นเลี้ยงแพะสายพันธุ์บอร์สายเลือดสูง (สายเลือดแพะพันธุ์บอร์เกิน 75% ขึ้นไป) โดยเริ่มต้นเลี้ยงเพียง 5 ตัว เป็นแพะแม่พันธุ์ 4 ตัว ซื้อมาในราคาตัวละ 6,000 บาท และพ่อพันธุ์เลือดสูงอีก 1 ตัว ซื้อมาราคา 24,000 บาท “ผมเริ่มต้นจากของแพง เริ่มต้นจากแพะสายพันธุ์ดีที่มีสายเลือดบอร์พันธุ์แท้สูง เพราะผมมองว่าแพะพันธุ์บอร์สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้ดี เพราะแพะพันธุ์นี้มีรูปร่างใหญ่ เนื้อเยอะ โตเร็ว ให้ลูกดี ทนทานกับสภาพแวดล้อมในบ้านเรา และเหมาะที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์สำหรับผลิตลูกแพะลูกผสม

ไม่ว่าจะนำไปผสมกับแพะพันธุ์พื้นเมืองหรือแพะพันธุ์อื่นๆ ก็จะสามารถแสดงลักษณะเด่นด้านการให้เนื้อเยอะออกมาได้ อีกอย่างคือ แพะเลือดสูงเหมาะที่จะนำมาใช้ผลิตลูกพันธุ์ขาย เพื่อให้เกษตรกรมาซื้อไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ ซึ่งจะเป็นช่องทางที่เราสามารถสร้างราคาได้สูง เพราะคนที่มาซื้อต้องการสายพันธุ์ ไม่ได้ต้องการนำแพะของเราไปเชือด การเลือกแพะพันธุ์แท้ แพะเลือดสูงมาเลี้ยงเพราะผมต้องการจับตลาดขายพันธุ์ที่ราคาดีกว่าเป็นตลาดหลักครับ”

จากจุดเริ่มต้นเลี้ยงแพะเนื้อเพียง 5 ตัว แต่ต้องลงทุนไปถึง 48,000 บาท โดยยังไม่รวมค่าคอก ค่าอาหาร ถือว่าเป็นการลงทุนที่ไม่น้อย แต่เมื่อเวลาผ่านไป วันนี้คุณบัณฑิตย์ยืนยันว่ามาถูกทาง “ผมจะขายแพะออกไปในตลาดพ่อแม่พันธุ์ แพะสาวราคาตัวละ 6,000-7,000 บาท ขึ้นอยู่กับรูปร่าง โครงสร้าง แพะตัวผู้อดนมขายที่ราคาเริ่มต้นตัวละ 6,000 บาท ส่วนแพะสาวตั้งท้องขายราคาเริ่มต้นที่ตัวละ 14,000 บาท ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นเกษตรกรรายย่อยที่มาซื้อไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ในฝูง นอกจากนั้นแพะบางตัวที่รูปร่างไม่ค่อยสวย ตัวเล็ก

ผมจะไม่ยัดเยียดขายให้เกษตรกรเอาไปทำพ่อแม่พันธุ์ ผมจะเก็บแพะกลุ่มนี้เอาไว้ เมื่ออดนมแล้วผมจะคัดออกมาทำแพะขุนให้ได้น้ำหนักไม่เกินตัวละ 30 กิโลกรัม แล้วจับขายเป็นแพะเนื้อ ซึ่งตลาดจะต้องการแพะเนื้อ น้ำหนักไม่เกิน 30 กิโลกรัม เพราะมีขนาดพอดีกินในครอบครัว ราคาที่พ่อค้ามารับซื้อจะอยู่ที่กิโลกรัมละประมาณ 130 บาท” หลังจากเลี้ยงแพะมา 3 ปี คุณบัณฑิตย์

ยืนยันว่าตอนนี้คืนทุนหมดแล้ว เพราะแพะเลี้ยงง่าย กินน้อยกว่าวัวนม “ผมจะเลี้ยงแพะแบบขังคอกแล้วตัดหญ้าตัดกระถินมาให้ มีอาหารข้นให้และมีฟางเสริมให้กินตลอดเวลา ดูแลน้อยกว่าวัวนม จับขายได้เร็วและราคาดี ขี้แพะยังเป็นปุ๋ยอย่างดีให้กับแปลงหญ้า เพราะขี้แพะเป็นก้อนเล็กๆ ค่อยๆ ย่อยสลายเป็นปุ๋ยลงดินทำให้ดินร่วนซุยดีขึ้น หญ้าอาหารสัตว์เติบโตได้ดี จนถึงวันนี้ที่สุพิชญา ฟาร์ม ของผมสามารถพูดได้ว่าแพะเนื้อทำรายได้ดีกว่าวัวนมแล้วครับ” คุณบัณฑิตย์ ยืนยัน

แพะต้องมีการจัดการที่ดี

คุณบัณฑิตย์ เล่าถึงการจัดการการเลี้ยงแพะว่า “ผมกลัวในเรื่องของโรคติดต่อในแพะ เพราะรู้มาว่าหากเกิดโรคระบาดในแพะ อย่างเช่น โรคแท้งติดต่อจะทำความเสียหายอย่างมาก ผมจึงทำตารางตรวจติดตามสม่ำเสมอโดยจะเก็บตัวอย่างขี้แพะ ตัวอย่างเลือดแพะนำไปส่งให้ทางศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์หนองกวาง จังหวัดราชบุรี หน่วยงานของกรมปศุสัตว์ตรวจให้เสมอ เพื่อป้องกันการเกิดโรคติดต่อ นอกจากนั้น จะมีการให้ยาถ่ายพยาธิทุกๆ 3 เดือน อีกด้วย เพื่อป้องกันแพะผอม แพะอ่อนแอ” คุณบัณฑิตย์ บอกว่า ในตอนนี้แพะเลือดสูงน่าจะไปได้ดีหากในอนาคตไม่มีปัญหาเรื่องโรคระบาด ตลาดแพะเลือดสูงสำหรับการผลิตเพื่อขายพันธุ์จะยังไปได้ ส่วนตลาดแพะเนื้อนั้นคุณบัณฑิตย์บอกว่าไม่กล้ายืนยัน ต้องขอดูแนวโน้มในอนาคต เพราะเพิ่งจะทำมาไม่นานนัก

นอกจากอาชีพด้านปศุสัตว์ทั้งเรื่องวัวนมและแพะเนื้อแล้ว คุณบัณฑิตย์ ยังมองการณ์ไกลไปในอนาคตและลงมือสร้างสวนไม้ป่าเศรษฐกิจเอาไว้อีกด้วย “ผมมีพื้นที่ว่างอยู่ เลยตัดสินใจปลูกไม้ป่าเศรษฐกิจ เพราะมองว่าในอนาคตไม้พวกนี้ต้องมีราคา เป็นที่ต้องการของตลาด ผมลงไม้ป่าเศรษฐกิจพวก ประดู่ มะค่า สัก ฯลฯ เอาไว้เพื่อเป็นรายได้ในอนาคต เป็นเงินเก็บที่เริ่มตั้งแต่วันนี้อาจจะได้ใช้เงินอีกหลายสิบปีในอนาคตข้างหน้า” ใครสนใจอยากคุย อยากปรึกษา ขอคำแนะนำด้านการเกษตรจากคุณบัณฑิตย์ โทร.ติดต่อไปที่เบอร์ 095-887-7406 ครับ

เป็นแนวคิดการบริหารจัดการฟาร์ม การลดความเสี่ยงในธุรกิจของเกษตรกรรายย่อยหัวก้าวหน้าที่ผมนำมาบอกเล่าให้ฟัง เพื่อเป็นแนวทางสร้างแรงบันดาลใจ สร้างโอกาสให้กับเกษตรกรรายย่อยทั่วไทยที่กำลังมองหาความมั่นคงในอาชีพเกษตรกรรม เกษตรกรรายย่อยหัวก้าวหน้าที่คิดใหญ่แบบรายย่อยเหมือนกับคุณบัณฑิตย์ยังมีอยู่อีกเยอะแยะมากมายใต้ฟ้าเมืองไทย

ผมจะพยายามรวบรวมแล้วนำมาเสนอทั้งแนวคิดและวิธีการในฉบับต่อๆ ไป โปรดติดตามกันต่อครับ หากคุณอยากทำเกษตร หรือคุณคือเกษตรกรรายย่อยอย่าพลาดติดตาม “คิดใหญ่แบบรายย่อย The challenge of smallscale farmers” กับผม ธนากร เที่ยงน้อย เจอกันใหม่ฉบับต่อไปนะครับ

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่กลุ่มขนมไทยแม่ตะเพียน ม.5 บ้านบางพะยอมใต้ ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก แหล่งผลิตขนมเทียน ขนมเข่ง ขนมไทย รายใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดพิษณุโลก มีสมาชิกกลุ่มขนมไทยกว่า 20 คน เร่งทำขนมเทียน ขนมเข่ง ขนมปุยฝ้าย ตามออเดอร์เพื่อให้ทันส่งขายในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่จะมาถึง โดยตรุษจีนปีนี้ มียอดสั่งจากลูกค้าเจ้าประจำถึง 6 ตัน หรือ 6,000 กิโลกรัม

นางตะเพียน ท่าผา อายุ 53 ปี อยู่บ้านเลขที่ 103/1 ม.5 ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก ประธานกลุ่มขนมไทยแม่ตะเพียน เล่าว่า ที่บ้านของตนเป็นแหล่งผลิตขนมไทยโบราณ ส่งขายตามสถานที่ต่าง ๆ ในจังหวัดพิษณุโลก ทำมานานกว่า 20 ปีแล้ว มีลูกค้าขาประจำที่มารับและไปจำหน่ายทั่ว จ.พิษณุโลก โดยเฉพาะ อ.นครไทย อ.บางระกำ อ.วัดโบสถ์ ตลาดสถานีรถไฟ อ.เมือง ซึ่งในช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีน ขณะนี้มีออเดอร์สั่งขนมเทียน ขนมเข่ง เข้ามาแล้ว 6 ตัน หรือ 6,000 กิโลกรัม และวันนี้ ได้เริ่มลงมือทำขนมเทียน ขนมเข่ง และจะทำต่อเนื่องไปถึงวันที่ 5 ก.พ.นี้

นางตะเพียน ท่าผา กล่าวต่ออีกว่า ในปีนี้ตนก็ยังขายในราคาเดิม คือขายส่งอยู่ที่กิโลกรัมล่ะ 80 บาท ส่วนขายปลีกจะอยู่ที่ราคากิโลกรัมล่ะ 100 บาท ถึงแม้ว่าในปีนี้ต้นทุนวัตถุดิบ เกือบทุกชนิด ราคาแพงขึ้นโดยเฉพาะใบตองที่ราคาเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว แต่ก็ไม่มีการปรับราคาขึ้น เอาแค่พออยู่ได้เฉลี่ยกันไป และยอดสั่งไปจำหน่าย ก็ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด ยังมีประชาชน พ่อค้าแม่ค้า ที่มารับไปขายต่อ สั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่องทุกปี คือเรียกได้ว่าตอนนี้มีกำลังทำได้เท่าไหร่ ก็จะมีคนรับซื้อไปหมด

สำหรับลูกค้าท่านใดที่ต้องการซื้อปลีก ก็สามารถมาซื้อได้ที่บ้านกลุ่มขนมไทยแม่ตะเพียน ม.5 บ้านบางพะยอมใต้ ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก ส่วนถ้าต้องการสั่งปริมาณเยอะ ก็สามารถโทรมาสั่งล่วงหน้าก่อน 2-3 วัน ทางหมายเลขโทรศัพท์ 089-7056165

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่วัดพุทธวนาราม ( วัดป่าวังน้ำเย็น) ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม พระครูภาวนาชยานุสิฐ หรือพระอาจารย์ สุริยันต์ โฆสปัญโญประธานสงฆ์วัดป่าวังน้ำเย็น แจกสับปะรด ให้กับญาติโยมที่เดินทางมาทำบุญไหว้พระ หลังจากมีญาติธรรมนำสับปะรดที่ซื้อจากชาวสวน ที่ จ.ชัยภูมิ มาถวาย จำนวน 702 กิโลกรัม เนื่องจากราคาสับปะรดที่ตกต่ำ โดยมีประชาชนที่มาไหว้พระทำบุญที่วัด มารับแจกสัปปะรดเป็นจำนวนมาก

พระครูภาวนาชยานุสิฐ หรือพระอาจารย์ สุริยันต์ โฆสปัญโญประธานสงฆ์วัดป่าวังน้ำเย็น กล่าวว่า สัปปะรดจำนวน 702 กิโลกรัม ที่นำมาแจกนี้ มีญาติโยมที่เดินทางมาจาก จ.ชัยภูมิ เพื่อมาทำบุญ ไหว้พระที่วัด นำมาถวายให้ โดยญาติโยมที่นำสับปะรดมาถวายบอกว่า ได้เหมาสับปะรดทั้งหมดมาจากพ่อค้าเร่ ที่ขายสับปะรดอยู่ริมทาง ดูท่าทางแล้วน่าจะขายไม่ดี เพราะช่วงนี้ราคาสับปะรดตกต่ำ จึงได้เหมาสับปะรดทั้งหมดมาบริจาคให้กับทางวัด เพื่อให้แจกญาติโยมสาธุชนที่มาทำบุญที่วัดต่อไป ซึ่งมีชาวบ้านที่ทราบข่าวต่างเดินทางมารับบริจาคจำนวนมาก

ทั้งนี้วัดพุทธวนาราม ( วัดป่าวังน้ำเย็น) เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีถาวรวัตถุหลายอย่าง อาทิ ศาลาปฏิบัติธรรมไม้สักทองขนาดใหญ่เสา 112 ต้น ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย สร้างจากไม้เนื้อแข็งประกอบด้วยไม้แดง ไม้ประดู่ และตกแต่งด้วยไม้สักทอง หอระฆังไม้สักขนาดใหญ่ รวมไปถึงอุโบสถไม้ตะเคียนทอง เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีพระมหาธาตุเจดีย์ศรีมหาสารคาม ภายในบรรจุสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อาทิ พระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธรูปทองคำ 3 องค์ องค์ละ 12 กิโลกรัม พระเนื้อผง 84,000 องค์ และพระกรุพระธาตุนาดูน สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมหาสารคาม ด้วยความศรัทธาของสาธุชนชาวพุทธทุกเย็นวันศุกร์จะมีการสวดมนต์เจริญพุทธมนต์เย็นของพุทธศาสนิกชนชาวมหาสารคาม

การส่งออกข้าวของประเทศไทยในปี 2561 ได้เกิดการแข่งขันกันอย่างดุเดือดเดือดโดยเฉพาะ กลุ่มผู้ส่งออกข้าวหน้าใหม่ที่พัฒนามาจาก”โรงสีข้าว” สามารถ คว้ายอดส่งออกข้าวไปเกือบล้านตัน ชิงเค้กเจ้าตลาดส่งออกข้าวกับ 3 ทหารเสือ “เอเซีย โกลเด้น ไรซ์-นครหลวงฯ-ธนสรรไรซ์” ที่ครองตลาดส่งออกมาอย่างยาวนาน

สำหรับการส่งออกข้าวในปี 2561 ภาพรวมประเทศไทยสามารถส่งออกได้ 11.08 ล้านตันหรือลดลง 5% จากปีก่อนที่ส่งข้าวออกได้ 11.67 ล้านตัน แต่มูลค่าการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น 8.3% หรือ 5,619 ล้านเหรียญสหรัฐจากปี 2560 ส่งออกคิดเป็นมูลค่า 5,187 ล้านเหรียญ โดยการส่งออกที่ลดลงเป็นผลมาจากตลาดหลักของ “ข้าวเก่า” ซึ่งเป็นสต๊อกของรัฐบาลโดยเฉพาะตลาดแอฟริกาลดลง เนื่องจากรัฐบาลระบายสต๊อกข้าวเก่าหมดแล้วไทยจึงไม่มีข้าวไปแข่ง

แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือ ผู้ส่งออกข้าวของไทยก็มีการแข่งขันราคากันเองอย่างรุนแรง ระหว่างผู้ส่งออกข้าวหน้าใหม่ ที่พัฒนาขึ้นมาจากโรงสีซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น กับผู้ส่งออกข้าวรายเดิม

จากข้อมูลการส่งออกข้าวรายบริษัทที่ส่งออกสูงสุด 10 อันดับแรก (ดูตารางประกอบ) จะเห็นว่า ผู้ส่งออกรายเก่าหลายรายมียอดการส่งออกข้าวลดลง ยกตัวอย่าง บริษัทเอเซีย โกลเด้น ไรซ์เบอร์ 1 หรือบริษัทนครหลวงค้าข้าวเบอร์ 2 ที่เคยส่งออกข้าวประมาณ 1.7 ล้านตันก็เหลือเพียง 1.5 ล้านตันในปีนี้ ส่วนบริษัทธนสรรไรซ์ ที่เคยทำได้ 1 ล้านตันก็เหลือ 900,000 ตัน ถือเป็นการปรับลดลงทั้งกระดานปี 62 ส่งออก 10 ล้านตัน

ขณะที่ ร.ต.ท.เจริญ เหล่าธรรมทัศน์นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่าปี 2562 สมาคมคาดว่าจะส่งออกข้าวได้เพียง 10 ล้านตัน หรือลดลงจากเป้าหมายเดิมที่วางไว้เทียบเท่ากับปี 2561 ปริมาณ 11 ล้านตัน โดยเป็นผลมาจากปัจจัยลบโดยเฉพาะ “ค่าบาท” ที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้น ทำให้ราคาข้าวไทยสูงที่สุดในโลกส่งผลกระทบต่อข้าวที่รับออร์เดอร์ไปแล้วในช่วงไตรมาส 3 ปีก่อนที่ 33 บาท

แต่ขณะนี้อยู่ที่ 31 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ซึ่งหากคิดเป็นราคาส่งออกข้าว ข้าวหอมมะลิ 1,200 เหรียญจะหายไป 1,200 บาท ข้าวขาวหายไป 800 บาท ไม่เพียงเท่านั้น ผู้ส่งออกไทยเองก็มีการแข่งขันกันสูง ซึ่ง ระบบค้าข้าวไทยเป็นระบบเสรีแข่งขันกันได้ แต่ควรมีการดูแลการแข่งขันกันเอง เพราะแต่ละรายต้นทุนไม่เท่ากัน และต้องดูแลเรื่องมาตรฐานส่งออกข้าวด้วย

“ประเด็นเรื่องพันธุ์ข้าวขาวนิ่มของเวียดนามที่มีอายุสั้นและราคาสูงกว่าข้าวขาวไทยทั่วไปตันละ 1,000 บาท จูงใจให้เกษตรกรปลูก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากไทยมีการพัฒนาและรับรองพันธุ์ข้าวล่าช้า เช่น พันธุ์ข้าว กข 79 ผ่านการพัฒนามาตั้งแต่ปี 2561 แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการรับรอง ส่วนการออก พ.ร.บ.ข้าว พ.ศ. …ก็เป็นเรื่องหนึ่งต้องดูให้รอบคอบ เพราะหากมีการกำหนดบทลงโทษโรงสีที่ซื้อข้าวเปลือกจากชาวนาต้องดูแลด้วยว่าเป็นข้าวพันธุ์อะไร และการบังคับให้มีการตรวจสอบมาตรฐานข้าวเปลือกก็จะกลายเป็นการผลักภาระไปเป็นต้นทุนชาวนาอีก” ร.ต.ท.เจริญกล่าว