ส่วนสถานการณ์ราคามันสำปะหลัง ปี 2560/61 คาดว่า ที่ดีต่อเนื่อง

สังเกตได้จากราคามันสำปะหลังในช่วงปลายปี 2560 ซึ่งเป็นต้นฤดูการเก็บเกี่ยว เกษตรกรสามารถขายหัวมันสดได้ในราคาสูงกว่า 2 บาท ต่อกิโลกรัม คาดว่าสถานการณ์ราคาจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีไปจนถึงช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2561

เนื่องจากปีนี้ (2560) ราคามันสำปะหลังปรับตัวสูงกว่า กิโลกรัมละ 2 บาท ทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังทั่วประเทศได้รับผลกำไรจากการขายหัวมันสดสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรจำนวนมากที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้ว ต่างเร่งลงมือปลูกมันสำปะหลังรอบใหม่ทันที เพื่อให้มีผลผลิตออกขายในฤดูกาลถัดไปอย่างต่อเนื่อง

มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง

แม้ว่าปีนี้ ราคามันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่รัฐบาลโดยกระทรวงพาณิชย์ก็ไม่นิ่งนอนใจ ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพด้านการผลิตและการตลาดมันสำปะหลัง เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติวงเงิน 551.659 ล้านบาท สำหรับใช้ดำเนินมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2560/61 จำนวน 14 โครงการ 14 มาตรการ เช่น

โครงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับมันสำปะหลัง โดยเน้นผลักดันให้มีการแปรรูปมันเส้นคุณภาพดีและมันเส้นสะอาด โดยสนับสนุนเครื่องสับมันสำปะหลังให้วิสาหกิจชุมชน จำนวน 500 เครื่อง เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ขายได้ราคาดีจากการทำมันเส้นสะอาด โดยขอความร่วมมือทางจังหวัด คัดเลือกจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ผลิตมันสำปะหลังและจดทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ที่มีศักยภาพและมีความพร้อมในการให้บริการแก่สมาชิก ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด แหล่งเพาะปลูกมันสำปะหลังทั่วประเทศ และสายด่วน กรมการค้าภายใน 1569

โครงการกำกับดูแลการนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อแก้ไขปัญหามันเส้นด้อยคุณภาพเข้าสู่ประเทศไทย โดยจัดทำความร่วมมือระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อยกระดับมาตรฐานมันเส้นที่นำเข้าให้เป็นที่ยอมรับร่วมกัน นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังร่วมมือกับกองทัพภาคที่ 1 กองทัพภาคที่ 2 และผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีชายแดนติดกับกัมพูชา และ สปป. ลาว เช่น สระแก้ว จันทบุรี ตราด ฯลฯ กำกับดูแลการนำเข้ามันสำปะหลังให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

และเมื่อ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2560 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองและต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. … โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการออกเป็นประกาศกระทรวงพาณิชย์ เพื่อบังคับใช้ต่อไป ทั้งนี้ภาครัฐบาลคาดหวังว่า มาตรการต่างๆ ที่นำมาใช้จะช่วยผลักดันให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังสามารถจำหน่ายผลผลิตมันสำปะหลังได้ในราคาที่เป็นธรรม และสอดคล้องกับสถานการณ์ตลาดที่กำลังสดใสอยู่ในขณะนี้

การบ้านฝากถึงรัฐบาล

เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม 2560 เกิดการแพร่เชื้อไวรัส ศรีลังกา คาซาวา โมซาอิก ไวรัสหรือโรคใบด่างในมันสำปะหลัง สร้างความเสียหายให้กับผู้ปลูกมันสำปะหลังในประเทศเวียดนามเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ที่ผ่านมาประเทศไทยไม่มีการนำเข้ามันสำปะหลังจากเวียดนามโดยตรง แต่มีการนำเข้ามันสำปะหลังจากประเทศเพื่อนบ้าน คือ สปป. ลาว และกัมพูชา ประมาณ 10 ล้านตัน ต่อปี และล่าสุดเชื้อไวรัสนี้ได้กระจายมาสู่มันสำปะหลังของกัมพูชาแล้ว

เชื้อโรคใบด่างในมันสำปะหลัง นับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ประเทศไทยต้องใส่ใจดูแลกำหนดมาตรการป้องกันโรคระบาดชนิดนี้อย่างเข้มงวด ที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตร ได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบการนำเข้าจากบริเวณชายแดน เน้นตรวจใบอนุญาตนำเข้า การตรวจสอบโรคพืช เป็นต้น เพื่อป้องกันการลักลอบนำเข้ามันสำปะหลัง รวมทั้งป้องกันปัญหาการแพร่เชื้อไวรัสจากประเทศเพื่อนบ้านเข้าสู่ประเทศไทย

คุณเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะกรรมการด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า สิ่งที่สภาเกษตรฯ ห่วงกังวลก็คือ อยากให้รัฐบาลประกาศใช้มาตรการด้านสุขอนามัยพืชเรื่องการตรวจสอบรับรองมันสำปะหลังที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อโรคใบด่างในมันสำปะหลัง จากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาแพร่หลายในไทย เพราะหากได้รับเชื้อไวรัสจะทำให้เกิดความเสียหาย 80-100% ของผลผลิตมันสำปะหลังทั้งประเทศ และเสี่ยงทำให้ไทยหมดโอกาสส่งออกมันสำปะหลังไปขายต่างประเทศด้วย

“แม้ว่าการระบาดโรคใบด่างของมันสำปะหลังในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม ยังไม่มีการแพร่เชื้อกระจายมาสู่มันสำปะหลังไทย แต่อยากฝากให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดมาตรการตรวจสอบการนำเข้ามันสำปะหลัง รวมทั้งพืชตระกูลแตง ประเภทแตงกวา แตงโม มะเขือเทศ ฯลฯ จากประเทศเพื่อนบ้านอย่างเข้มงวดมากขึ้น เพราะพืชตระกูลแตงเป็นพืชอาศัยของโรคใบด่างด้วยเช่นกัน เพื่อให้ปกป้องอุตสาหกรรมมันสำปะหลังของไทยให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น” คุณเติมศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้พบว่า โรคใบด่างในมันสำปะหลัง มีการแพร่ระบาดในทวีปเอเชีย กลุ่มประเทศศรีลังกา อินเดีย และแอฟริกา โดย “แมลงหวี่ขาว” เป็นพาหะสำคัญของการแพร่เชื้อโรคใบด่างในมันสำปะหลังแล้ว ปัญหาการลักลอบนำเข้ามันสำปะหลังที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสโดยไม่ถูกตรวจสอบโรคพืช ยังเป็นจุดเสี่ยงที่อาจทำให้เชื้อไวรัสดังกล่าวมีโอกาสแพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยได้เช่นกัน

ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้กำหนดให้โรคใบด่างเป็นศัตรูพืชกักกันตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดศัตรูพืชเป็นสิ่งต้องห้าม ตาม พ.ร.บ. กักพืช พ.ศ. 2507 ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2550 ปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตร ได้ออกมาตรการต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในประเทศไทย เช่น การเข้มงวดในการตรวจสอบการนำเข้ามันสำปะหลังตามแนวชายแดน พร้อมเฝ้าระวังสำหรับพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังตามแนวชายแดน และหากพบว่ามีการลักลอบนำเข้าท่อนพันธุ์และส่วนขยายพันธุ์ มีโทษจำคุก 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เนื่องจากมีพระราชบัญญัติกักพืช ห้ามนำเข้า ยกเว้นหัวมันสดและมันเส้น

สวัสดีครับ แฟนพันธุ์แท้ เทคโนโลยีชาวบ้าน ฉบับนี้จะได้นำท่านเข้าสู่พื้นที่เมือง สามธรรม ธรรมมะ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม คือ สกลนคร…ที่นี่มีความแตกต่างจากจังหวัดในภาคอีสาน ตรงที่มีพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ หนองหาร ทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ เทือกเขาภูพานที่ยาวที่สุด และมีเรื่องราวกล่าวขานตำนาน ท้าวผาแดงนางไอ่ พระธาตุเชิงชุม พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุภูเพ็ก พระธาตุดุม และอีกมากมาย เป็นที่พำนักของพระอาจารย์สายวิปัสสนาหลายท่าน ที่รู้จักกันดีก็ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต และอีกมากที่สาธุชนให้การเคารพศรัทธาทั้งในและต่างประเทศ

ด้านอาชีพเกษตรกรรมในจังหวัดสกลนครมีหลากหลาย เนื่องมาจากลักษณะทางภูมิศาสตร์ ที่ทำให้เกิดผลผลิตการเกษตรมากมาย ผมจะขอพาท่านไปเที่ยวชมการผลิตผักปลอดสารแบบไฮโดรโปนิก ถือเป็นแหล่งผลิตผักที่ตอบสนองความต้องการของพื้นที่ได้อย่างมาก เนื่องจากลดภาระค่าขนส่งและการจัดการอีกหลายอย่าง บทความนี้ไม่แนะนำวิธีการทำ เพราะเนื่องจากท่านสามารถค้นคว้าจากไหนก็ได้ แต่จะพามารู้จักวิธีคิดและการทำตลาดของ…อธิพงศ์ฟาร์ม…อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร ผักที่ฟาร์มนี้สามารถผลิตและจำหน่ายได้ตลอดปี ไม่แพ้ที่ใด

เนื่องมาจากทำเลที่ตั้งอยู่แถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 12 จังหวัด ซึ่งถ้านำผักมาจากที่อื่นๆ เช่น ภาคเหนือ พ่อค้าต้องใช้ระยะเวลาขนส่งนานหลายชั่วโมง นั่นคือ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขนส่ง โสหุ้ยต่างๆ มากมาย แต่ต้องขายส่ง-ปลีก ในราคาเดียวกัน นี่เป็นเพียงข้อดีข้อแรกของ…อธิพงศ์ฟาร์ม…ยังมีอีกครับ…ความสดใหม่ไงล่ะครับ…ใกล้ตลาด…ใกล้ผู้บริโภค…สดวันต่อวัน…ตลาดและผู้บริโภคที่ไหนก็ต้องการ นี่คือความได้เปรียบข้อที่สอง ส่วนข้อที่สาม…ตรงกับบริบทของพื้นที่…เขตอีสานเหนือมีความต้องการมาก และที่สำคัญขายส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านด้วย…ขนส่งข้ามสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 มุกดาหาร-แขวงสะหวันเขต และสะพานมิตรภาพแห่งที่ 3 นครพนม-แขวงคำม่วน ครับที่กล่าวคือ สปป. ลาว นั่นเอง และข้อดีข้อที่สี่ เขตนี้ไม่มีใครผลิต เข้าตำราไม่มีคู่แข่ง เหมือนที่อื่นๆ

จากข้อดีทั้งสี่ข้อ…ทำให้การผลิตไม่มีการสะดุด…และไม่มีเกษตรกรท่านใดต้องการที่จะทำตาม…จากการสังเกตในพื้นที่ส่วนมากเกษตรกรจะทำนาและประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ที่เห็นทั่วๆ ไป ปลูกก็ผักบนดิน ก็เฉพาะฤดูต้นฝนและปลายฝน หลังจากนั้นผักจะขาดตลาด แต่ได้รับการเติมเต็มจาก…อธิพงศ์ฟาร์ม…สวนผักที่ไม่มีวันหลับ…ผลิตผักออกสู่ท้องตลาดตลอด 365 วัน เรียกว่าไปซื้อเมื่อไรได้แน่นอน (ขออภัย หมายถึง ต้องนัดหมายล่วงหน้า) ช่วงหนาวระหว่างเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ จะมีผักที่ปลูกบนดินด้วย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักกาดเขียว ผักกาดขาว เมื่อเป็นโอกาสที่ดี การตลาดดี การผลิตก็ต่อเนื่อง การจัดการเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับฟาร์ม เช่น ด้านการวางแผนการผลิต การใช้แรงงาน การพัฒนารูปแบบฟาร์ม การตลาดผลผลิต ทางอธิพงศ์ฟาร์มจัดการได้อย่างลงตัว ที่กล่าวแบบนี้ก็ได้จากการพูดคุยถึงการบริหารจัดการ แม้ว่าองค์ความรู้จะไม่มาก แต่จากประสบการณ์ยอมรับว่าเยี่ยมยอดกว่าที่ใดๆ มีวิธีคิดที่ก้าวผ่านเกษตรกรสมัยเก่า สู่การก้าวทันโลกเกษตรอย่างชาญฉลาด สมเป็นเกษตรกรที่มีการพัฒนาและนำเอาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ให้เกิดพลังต้นทุนที่ส่งผลให้ประสบความสำเร็จ

สำหรับท่านผู้อ่านแฟนพันธุ์แท้ของเทคโนโลยีชาวบ้าน ท่านใดที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมและจะลองทำหรือเปลี่ยนมาตัดสินใจทำอาชีพลักษณะนี้ ท่านต้องมีต้นทุนด้านความรู้ ผู้เขียนอยากจะบอกว่า ไม่จำเป็นต้องลงทุนมากในการทำ แต่ท่านต้องมีทรัพยากรอยู่บ้าง อย่างน้อยก็ สัก 60% ก็คือ มีทำเลพื้นที่ น้ำ แรงงาน ภูมิปัญญา และที่เหลือคือการยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอีก 40% ที่กล่าวอย่างนี้ก็ไม่ต้องการให้ท่านตัดสินใจทำแล้วขาดทุน ที่จริงคนเรามีโอกาสคิด แต่คิดแล้วให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และที่ขาดไม่ได้คือความเชื่อถือด้านการตลาด ลูกค้ามาแล้วต้องไม่ผิดหวังกลับไป มาแล้วต้องได้สินค้ากลับไป นี่แหละคือ หัวใจหลักของการบริการ…ฉบับนี้มีภาพสวยๆ ของฟาร์มมาฝาก…พบกันใหม่ฉบับหน้า ติดตามนะครับ

ประเด็นร้อนในการถกเถียงเรื่องเกี่ยวกับข้อกฎหมายของภาคเกษตร ตลอดปี 2560 เห็นจะไม่พ้นเรื่องที่กรมวิชาการเกษตร หยิบ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. … มาปัดฝุ่นเตรียมใช้แทน พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 เดิม

โดยกรมวิชาการเกษตร ให้เหตุผลว่า ข้อกฎหมายเดิมติดขัดทั้งในด้านการบังคับใช้กฎหมายและกระบวนการปฏิบัติงาน รวมถึงไม่สามารถให้ความคุ้มครองนักปรับปรุงพันธุ์พืชได้อย่างเพียงพอ

กรมวิชาการเกษตร นำร่างกฎหมายดังกล่าวเผยแพร่ พร้อมทั้งเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ แต่กลับเกิดข้อวิพากษ์อย่างกว้างขวาง ประเด็นที่ดูเหมือนไม่มีอะไร ถูกจุดประกายให้หลายฝ่ายคิดไปถึงขั้นว่า กฎหมายนี้หากผ่านความเห็นชอบ จะเป็นตัวปิดกั้นไม่ให้เกษตรกรรายย่อยจัดเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูก แต่จะถูกกินรวบจากกลุ่มนายทุนผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ชนิดไม่ได้ลืมตาอ้าปาก

เมื่อมีข้อโต้งแย้งและประเด็นมีการถกเถียง ทำให้กรมวิชาการเกษตรไม่สามารถดำเนินการอย่างไรต่อไปได้ จึงขยายระยะเวลาการรับฟังความเห็นออกไป จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 20 ตุลาคม เป็นวันที่ 20 พฤศจิกายน 2560 ในครั้งแรก และเมื่อกระบวนการรับฟังความเห็นไม่จบ จึงขยายระยะเวลารับฟังความเห็นออกไปอีก 90 มีผลสิ้นสุดในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561

แต่ระหว่างนี้ ข้อเท็จจริงในการผ่านร่างพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. … เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรเป็นที่ตั้ง จะเป็นอย่างไร สำหรับข้อเท็จจริง เรื่องพันธุ์พืชคุ้มครองนั้น ข้อมูลจากกรมวิชาการเกษตร ระบุว่า ในปัจจุบัน มีพันธุ์พืชคุ้มครอง 455 ทะเบียน โดยเป็นพันธุ์พืชคุ้มครองของภาคเอกชน 68% ภาคราชการ 15% เกษตรกร 11% และสถาบันการศึกษา 6%

กรมวิชาการเกษตร โดย ดร. สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองพันธุ์พืช 3 ระบบ ประกอบด้วย ระบบการจดทะเบียนพันธุ์พืชใหม่ ซึ่งเป็นการคุ้มครองเชิงทรัพย์สินทางปัญญา ให้สิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืช ระบบการจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น ให้สิทธิ์ความเป็นเจ้าของกับชุมชน และระบบการแจ้งและอนุญาตให้ใช้พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์พืชป่า

ทั้งนี้ เพื่อการศึกษา ทดลอง วิจัย และปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งเป็นการคุ้มครองเชิงอนุรักษ์ รวมถึงการบริหารจัดการกองทุนคุ้มครองพันธุ์พืชที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พันธุ์พืชอย่างยั่งยืน

แต่เมื่อพบข้อติดขัดในการบังคับใช้กฎหมาย และขาดสาระสำคัญบางประการที่ไม่สามารถให้ความคุ้มครองสิทธินักปรับปรุงพันธุ์พืชได้อย่างเพียงพอ รวมถึงไม่ดึงดูดการลงทุนด้านวิจัยพัฒนาพันธุ์พืชและธุรกิจเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับแนวทางของอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ (อนุสัญญา UPOV 1991) จึงเห็นสมควรปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชฉบับที่บังคับใช้อยู่ โดยคงไว้ซึ่งเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542

ในมุมของเกษตรกร คุณธีระ วงษ์เจริญ ประธานคณะกรรมการด้านเกษตรตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สภาเกษตรกรแห่งชาติ เป็นกระบอกเสียงแทนเกษตรกร โดยแสดงความเห็นในประเด็นการแก้ไขปรับปรุงร่างพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. … ไว้ดังนี้

กรมวิชาการเกษตร อ้างว่า การแก้ไขปรับปรุงพ.ร.บ.ดังกล่าว ดำเนินมานานแล้ว ถึงเวลาที่ต้องรีบทบทวนให้แล้วเสร็จ และการกำหนดระยะเวลาในการรับฟังความเห็นผ่านเว็บไซต์ แม้จะเป็นการอ้างว่า คือการเปิดรับฟังความคิดเห็นทุกภาคส่วนแล้ว แท้จริงไม่ใช่ เนื่องจากการแก้ไขปรับปรุงพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช ไม่ได้ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมในภาคประชาชนมาก่อน

ดังนั้น สภาเกษตรกร ในฐานะตัวแทนของเกษตรกรทั้งประเทศ ขอปฏิเสธไม่รับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชทั้งหมด และขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งคณะกรรมการทบทวนการแก้ไขปรับปรุงพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืชขึ้นใหม่ โดยมีผู้มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการ อาทิ สภาเกษตรกร กรมวิชาการเกษตร นักวิชาการปรับปรุงพันธุ์พืช เป็นต้น

“สิ่งที่น่ากังวลที่สุด หากร่างพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. … ผ่านความเห็นชอบไป จะเกิดการผูกขาดในเรื่องของพันธุกรรมพืช เมล็ดพันธุ์พืชทั้งระบบ เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงแหล่งพันธุ์ แม้ว่าจะยังคงเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ได้ แต่ไม่สามารถขยายพันธุ์หรือจำหน่ายได้ มีเพียงบริษัทนายทุนด้านเมล็ดพันธุ์ที่ทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย”

สิ่งที่สภาเกษตรกรออกมาเรียกร้องเป็นกระบอกเสียงแทนเกษตรกร คือ การขอให้กรมวิชาการเกษตรออกมารับฟังความเห็นของเกษตรกร ซึ่งที่ผ่านมาขอให้มีเวทีแสดงความคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้เกษตรกรเป็นผู้ตัดสิน เพราะผู้ที่ได้รับผลกระทบและควรเป็นผู้ที่ได้สิทธิ์จากการบังคับใช้กฎหมายโดยตรง คือ เกษตรกร แต่ถึงปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตรไม่ตอบรับหรือดำเนินการใดๆ ตามข้อเรียกร้องที่ให้ไป

อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาที่อยู่ระหว่างรอการพิจารณา จากวันนี้ ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 สภาเกษตรกรฝากความหวังไว้ที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่อาจมีนโยบายไปทางใดทางหนึ่ง ที่ช่วยคลี่คลายสถานการณ์อันอึมครึม และเปิดใจรับฟังเกษตรกรไทยอย่างเต็มเสียง

บทสรุปของการแก้ไขปรับปรุงร่างพ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. … จะเป็นอย่างไร ในท้ายที่สุด ขั้นตอนหลังจากนี้หากเห็นชอบผ่านร่าง จะนำไปสู่ขั้นตอนที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี และหากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ จะส่งร่างไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในขั้นตอนสุดท้าย แต่…หากร่างนี้ต้องยุติลงในขั้นตอนใดก็แล้วแต่ ก็ถือเป็นการคว่ำร่าง ไม่ผ่านการบังคับใช้ กลับไปใช้พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ตามเดิม

เจ้าของไร่กุหลาบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ปลูกทุเรียนหมอนทองแซมในไร่ 600 ต้น ใช้วิธีซื้อพันธุ์จากชุมพรมาเสียบยอด ปลูก 4 ปี ได้ผลดีเกินคาด ขายตามออร์เดอร์และเฟซบุ๊ก กิโลกรัมละ 180 บาท รับประกันไม่อร่อยเปลี่ยนคืนได้ เผยเคล็ดลับอยู่ที่การใส่ปุ๋ย ไม่ใส่ขี้ไก่ ไม่ปลูกขวางทางน้ำ ใช้ระบบน้ำสปริงเกลอร์ ดินดี อากาศดี รายได้ก็ดีตามไปด้วย

คุณทุเรียน กานดา เจ้าของไร่ปฐมเพชร หรือที่คนรู้จักกันดีในนาม “ไร่กุหลาบปฐมเพชร” พื้นที่ 40 ไร่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 6 ตำบลช่องแคบ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก เล่าว่า ก่อนจะมาทำไร่กุหลาบที่จังหวัดตาก เคยปลูกกุหลาบที่จังหวัดนครปฐม กระทั่งปี 2538 ตัดสินใจย้ายถิ่นฐานมาจังหวัดตาก สาเหตุเพราะอากาศดี ปลูกกุหลาบได้ก้านยาว ดอกใหญ่ ต่อมาปี 2545 ปลูกผลไม้หลายอย่าง อาทิ ส้มสายน้ำผึ้ง ชมพู่ มะม่วง ฝรั่ง กล้วยหอม กล้วยเล็บมือนาง ทับทิม ละมุด กาแฟ ปาล์มน้ำมัน

ย้อนไปปี 2545 ไร่ปฐมเพชร นับว่าเป็นผู้บุกเบิกเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เพราะสถานที่แห่งนี้เปิดต้อนรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชม และมอบความรู้เรื่องของการปลูกพืชโดยเฉพาะกุหลาบ และการทำกุหลาบอบแห้ง

สำหรับผลผลิตทุเรียน เจ้าของไร่ บอกว่า เริ่มปลูกจริงจังประมาณ 5 ปีที่แล้ว เก็บผลผลิตออกขายได้เต็มที่เป็นครั้งแรกในช่วงเดือนตุลาคม 59 เป็นสายพันธุ์หมอนทอง ซื้อกิ่งจากจังหวัดชุมพร ปลูกตามทางน้ำ ใช้วิธีเสียบยอด ปลูกในร่ม 2 ปี หลีกเลี่ยงไม่ให้โดนแดดจ้า ราว 4 ปี ทุเรียนจะเริ่มออกดอกและให้ผลผลิตในครั้งแรก หลังจากนั้นทุกๆ 6 เดือน ทุเรียนก็จะให้ผลผลิตตลอด ซึ่งทุเรียนสาว 1 ต้นให้ผลผลิต ราว 40 ลูก

สาเหตุที่สามารถปลูกทุเรียนหมอนทองได้ อาจเป็นเพราะอำเภอพบพระตั้งอยู่ในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 650 เมตร มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี อากาศเอื้ออำนวย ทั้งหมดปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ตามแนวพระราชดำริของในหลวง ร.9 ซึ่งการปลูกด้วยวิธีนี้ เปลือกทุเรียนไม่ค่อยสวย แต่รสชาติดี และปลอดภัยในการบริโภค

นอกจากดินดี อากาศดี เจ้าของไร่แห่งนี้ เผยเทคนิคการทำให้เนื้อทุเรียนฟู หวานกลมกล่อม ไม่มีกลิ่นฉุน เธอใช้ปุ๋ยคอก ไม่ใส่ขี้ไก่ ใช้ระบบน้ำสปริงเกลอร์ ปลูกในดินร่วนซุย

เมื่อต้นปี 2560 เจ้าของไร่ ลงต้นทุเรียนใหม่ราว 600 ต้น พื้นที่ปลูกประมาณ 1 แปลงใหญ่ ช่วงเดือน มิ.ย.-ต.ค. เป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต ที่ผ่านมาไร่ปฐมเพชรจำหน่ายทุเรียนตามออร์เดอร์และเฟซบุ๊ก ราคากิโลกรัมละ 180 บาท มีรับประกันว่า ไม่อร่อยเปลี่ยนคืนได้ รายได้ต่อรอบก็หลักแสนบาท

คุณศรีนวล ยอพระกลิ่น เจ้าของสวนเกษตรศรีนวล 47/1 ม.7 ต.ไม้เค็ด อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ขนุนไร้เมล็ดมีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ลักษณะของขนุนไร้เมล็ดนี้ พี่ศรีนวลบอกว่าคือตรงตามชื่อเลย เป็นขนุนที่ไม่มีเมล็ด ยางน้อย พันธุ์นี้ทุกอย่างดีหมดยกเว้น ขนาดของผลเล็กน้ำหนักไม่เกิน 8 – 15 กิโลกรัม แต่การันตีเรื่องรสชาติคือหวานกรอบ ซังมีรสชาติเดียวกันกับเนื้อ รู้จักขนุนสายพันธุ์นี้จากเมื่อ 3 ปี ที่แล้วพี่ศรีนวลมีโอกาสไปเปิดร้านขายพันธุ์ไม้ที่สวนหลวงเป็นงานเกษตร แล้วเจ้าของร้านขนุนเขาผ่าให้ชิม แล้วชอบในรสชาติ ที่สำคัญคือยางน้อย เพราะตนเป็นคนไม่ชอบยางขนุนเลย จึงกัดฟันซื้อกิ่งพันธุ์มา 2 ต้น เพราะกิ่งพันธุ์ค่อนข้างแพง ซื้อมาแล้วก็มาขยายพันธุ์ขายต่อ ถือว่าขนุนไร้เมล็ด ยังเป็นพันธุ์ใหม่ ผลิตไม่พอขาย เหมาะสำหรับปลูกกินที่บ้านลูกไม่ใหญ่ ปอกง่ายเหมือนแตงโม ทั้งลูกทิ้งแค่เปลือก

ที่สวนของพี่ศรีนวล ไม่ได้ปลูกแค่ขนุนเพียงอย่างเดียว ยังมีพันธุ์ไม้แปลกอีกหลายชนิดลองโทรเข้ามาสอบถามได้ แต่ที่เชี่ยวชาญที่สุดคือเรื่องขนุนเพราะทำขนุนส่งออกประเทศจีนด้วย เรียกได้ว่าหากนำใบขนุนมาให้พี่ศรีนวลดู พี่ศรีนวลสามารถตอบได้เลยว่า ขนุนนี้เป็นสายพันธุ์อะไร

ปลูกโดยเตรียมดิน ขุดหลุมกว้างxลึก 50 เซนติเมตร เพราะต้นไม่ใหญ่มาก ปุ๋ยลองก้นหลุมยังไม่จำเป็นเท่าไหร่เพราะส่วนใหญ่ที่ร้านเขาจะหยอดปุ๋ยมาอยู่แล้ว เมื่อขุดหลุมเสร็จจากนั้นฝังต้นห้ามฝังลึกเด็ดขาดต้องฝังเท่าดินเดิมไม่ว่าจะซื้อพันธุ์อะไรมาปลูกก็แล้วแต่ เตรียมไม้ค้ำให้แข็งแรง แล้วก็ท่องว่าไม้ผลของไทยทั่วไปชอบอากาศร้อนชื้น ห้ามแฉะ ห้ามรดน้ำเยอะมิฉะนั้นรากจะเน่า

หลังจากปลูกไปแล้ว 15-30 วัน ให้โรยปุ๋ยบริเวณรอบต้น แล้วรดน้ำให้ซึมเข้าไป “ผู้ใหญ่อี๊ด – อนันต์ อินทร” หนุ่มใหญ่ร่างบาง ผิวคล้ำ พูดจาสุขุม เกษตรกรยุคใหม่ที่ใช้หลักทฤษฎีเกษตรพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มาพัฒนาบ้านเกิด จากนักกฎหมายผันตัวเองเป็นเกษตรกร เจ้าของไร่ธันยจิราพร ไร่อ้อยที่ใหญ่สุดในนครสวรรค์ ส่งต่อผลผลิตสู่กลุ่มโรงงานน้ำตาลมิตรผล “การทำอะไรก็ตาม อย่างแรกเราต้องมีใจรักก่อน แล้วมาศึกษา พร้อมกับวางแผน ซึ่งการทำงานของผมจะน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง (ความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี) 2 เงื่อนไข (ความรู้และคุณธรรม) ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาประยุกต์ใช้กับงานและการดำเนินชีวิตในประจำวัน”

ผู้ใหญ่อี๊ด เล่าว่าหลังจากจบการศึกษาระดับม.6 แล้วเรียนต่อในด้านกฎหมาย จากนั้นหันมาทำไร่อ้อย เริ่มต้นลงมือทำเองทุกอย่าง โดยนำหลักต่างๆ มาประยุกต์ใช้ เน้นการคิดต่าง ผู้ใหญ่อี๊ดเล่าเพิ่มเติมว่าเริ่มทำไร่อ้อยตั้งแต่ปี 2529 จนถึงตอนนี้อายุ 49 ปีแล้ว ปัจจุบันมีไร่อ้อยที่เป็นของตัวเอง 400 ไร่ และมีลูกไร่อีก 3,000 กว่าไร่

การทำไร่อ้อย มีกระบวนการทำอย่างไรบ้าง?

-สิ่งแรกคือเราต้องรู้เกี่ยวกับระบบดินก่อน แล้วนำเอาเรื่องของวิชาการเข้ามาปรับใช้ โดยการนำดินไปตรวจ เพื่อดูว่าขาดแร่ธาตุอะไรบ้าง และนำมาปรับปรุง เมื่อได้ดินที่ดีแล้วเราก็มาศึกษาพันธุ์อ้อย ดูว่าพันธุ์ไหนที่เหมาะกับสภาพดินของไร่เราด้วยการทดลองปลูก เมื่อได้อ้อยที่เหมาะกับสภาพดินแล้ว จึงเริ่มเลี้ยงดูโดยการใส่ปุ๋ย รดน้ำ ตามกระบวนการ ซึ่งการปลูกอ้อยครั้งหนึ่งจะอยู่ได้ประมาณ 4-5 ปี เพราะเวลาตัดจะเหลือตอไว้ เพื่อให้แตกหน่อต่อ และเราก็จะตัดได้อีกประมาณ 3 ครั้ง ซึ่งปัจจัยหลักในการปลูกอ้อยคือน้ำ ครับ

การปลูกอ้อยใช้เวลานานเท่าไหร่ แล้วปลูกช่วงไหนบ้าง?

-การปลูกอ้อยใช้เวลาปลูกประมาณ 12 เดือน เพื่อให้ได้ความหวานหรือน้ำตาลเยอะๆ โดยส่วนใหญ่จะเริ่มปลูกช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคม เรียกว่าอ้อยปลายฝน เพราะถ้าเราปลูกอ้อยในช่วงนี้จะช่วยลดเรื่องต้นทุนในเรื่องของน้ำได้ระดับหนึ่ง หากเริ่มปลูกช่วงเดือนมกราคม เรียกว่า อ้อยราดน้ำ คือรอน้ำ และช่วงเดือนพฤษภาคม เรียกว่า อ้อยต้นฝน ซึ่งผลผลิตอ้อยต่อไร่ ราว 20 ตัน ทั้งหมด 400 ไร่ ราว 8,000 ตัน อ้อยทั้งหมดขายในตันละ 1,300 บาท ขายปีละ 1 ครั้ง รายได้เฉลี่ยเกือบ 10 ล้านบาท ถ้าถามถึงเรื่องต้นทุนในการทำไร่อ้อยจะตกอยู่ที่ไร่ล่ะ 10,000 บาท โดยประมาณ

พันธุ์อ้อยที่ใช้ในไร่ของคุณอี๊ด?

-พันธุ์อ้อยที่ใช้ในไร่ของเรานั้น เป็นพันธุ์ขอนแก่น 3 และ KPK 98-51 ต้องอธิบายก่อนว่า กว่าจะได้พันธุ์อ้อยมาแต่ละพันธุ์นั้นไม่ง่ายเลย เพราะต้องใช้เวลาวิจัยถึง 12 ปี ซึ่งใน 12 ปีนี้จะมีการทดลองปลูกประมาณ 4 ครั้ง กว่าจะปล่อยพันธุ์อ้อยออกมาให้ชาวไร่ได้ปลูกก็จะอยู่ในช่วงปีที่ 7-8 ครับ

แหล่งน้ำที่ใช้มาจากไหน?

-แหล่งน้ำจะมี 2 รูปแบบ คือ แบบแรกจะเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ และแบบที่ 2 จะเป็นน้ำบาดาล ในส่วนของแหล่งน้ำจะมีข้อจำกัดคือ ถ้าเป็นน้ำบาดาลค่อนข้างจะใช้ต้นทุนสูงหน่อย ทางที่ดีผมแนะนำให้ใช้แหล่งน้ำธรรมชาติ จะสามารถช่วยประหยัดต้นทุนได้มากว่า สำหรับไร่ของเราใช้แหล่งน้ำทั้ง 2 รูปแบบ เมื่อให้น้ำแล้วจะอยู่ได้ประมาณเดือนครึ่ง ซึ่งการศึกษาในส่วนนี้จะทำให้เรามีความเข้าใจในการทำไร่อ้อยมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนในการผลิตอีกด้วยครับ

มีการใช้ปุ๋ยบำรุงอ้อย?

-อ้อยของไร่เราจะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการบำรุงดูแลรักษา เพราะปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยรักษาสภาพดิน และช่วยประหยัดลดต้นทุนได้เป็นอย่างดี ส่วนการใส่ปุ๋ยบำรุงต้นอ้อยนั้น ใส่แค่ 2 ครั้งก็พอแล้ว โดยจะใส่รอบแรกตอนปลูก และรอบที่ 2 ในช่วงประมาณ 40 กว่าวันครับ

มีการส่งผลผลิตอ้อยให้กับกลุ่มโรงงานน้ำตาลมิตรผล?

-ใช่ครับ เราส่งให้กับกลุ่มโรงงานมิตรผลด้วย สมัครเว็บจีคลับ เริ่มแรกคือการทำไร่อ้อยจะต้องไปจดทะเบียนชาวไร่อ้อยก่อน จากนั้นโรงงานน้ำตาลมิตรผลจะเปิดโควตาให้ไปจดสัญญากับโรงงาน แต่เราต้องบอกก่อนว่าเราไปโรงงานหลายที่ สุดท้ายมาจบที่มิตรผล เพราะเขาให้ข้อมูลทางวิชาการเราเยอะกว่าที่อื่น ซึ่งสัญญาที่เราทำกับทางโรงงานจะเป็นลักษณะปีต่อปี โดยทางโรงงานจะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการตรวจงาน คือ แต่ละไร่จะมีไอดีแปลง ซึ่งทางโรงงานใช้ GPS ในการตรวจจับ ฉะนั้นทางโรงงานจะสามารถรู้ได้ตลอดเวลาว่าเราตัดอ้อยเมื่อไหร่ หรือมีไร่ไหนแอบขายอ้อยบ้าง

มีเทคโนโลยีตัวใหม่เข้ามาช่วยในเรื่องของการตัดอ้อย?

-เป็นรถตัดอ้อย Austoft7000 ซึ่งเป็นเทคโนโลยีและเป็นตัวแรกๆในไทยเลยก็ว่าได้ที่เรานำเข้ามา ช่วยลดแรงงานลงไปได้เยอะ อีกทั้งยังสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพอีกด้วย

อุปสรรคในการทำงาน?

-ปัญหาหลักๆ เลย คือ เรื่องของแรงงาน ตอนนี้แรงงานที่มีอยู่มีประมาณ 20 คน และมีคนต่างด้าวด้วย แต่ถูกกฎหมายนะ (หัวเราะ) เพราะเราเดินเรื่องแรงงานต่างด้าวผ่าน MOU และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือการขนส่ง เพราะการขนส่งมีข้อจำกัด จึงทำให้เกิดต้นทุนเพิ่มขึ้นตรงส่วนนี้

หลักที่ใช้ในการทำงาน?

-การทำงานทุกวันนี้ ผมใช้ระบบไอรอนแมน คือ ทุกเช้าเราจะมีการประชุมกับหัวหน้าทีม แล้วให้เขาไปกระจายงานต่อครับ

อยากให้ฝากอะไรถึงเด็กรุ่นใหม่ที่คิดจะทำธุรกิจเป็นของตัวเอง

-อย่างที่บอกไปตอนแรก คือ เราต้องมีใจรักกับสิ่งที่เราจะทำก่อน จากนั้นวางเป้าหมาย วางแผน และสิ่งสำคัญคือต้องลงมือทำ เพราะหากคิดแต่ไม่ลงมือทำ ย่อมไม่ทางเกิดผลสำเร็จอย่างแน่นอน