ส่วนไม้ที่อึดและทนเรื่องน้ำ ต้องยกให้โมก ไม้ชนิดนี้

หากต้นใหญ่เท่าข้อมือ น้ำท่วมนานกว่า 2 เดือนยังอยู่ได้ เมื่อก่อนโมกมีสนนราคาค่อนข้างแพง แต่เพราะนักขยายพันธุ์ที่ปราจีนบุรีใช้ภูมิปัญญาเข้าช่วย ราคาจึงลดลง หาซื้อได้ทั่วไป ทั้งจำปีและโมก หากปลูกไว้ริมหน้าต่าง อากาศชื้น ดอกจะส่งกลิ่นหอมไกล

ไม้ที่ปลูกรอบบ้านนั้น ควรใช้ปัจจัยการผลิตน้อย หากไม่ใช้ได้ยิ่งดี โดยเฉพาะปัจจัยที่จะเป็นพิษเป็นภัยต่อผู้อยู่อาศัย

ส่วนเรื่องประโยชน์นั้น ต้นไม้ที่ปลูกแล้ว ล้วนแต่เป็นคุณทั้งสิ้น เห็ด น่าจะเป็นพืชอันดับต้นๆ หากมีการจัดอันดับพืชเศรษฐกิจ เพราะเมื่อไรเมื่อนั้น ความนิยมในการทำการเกษตรอย่างง่าย ทำเงิน ไม่ยุ่งยาก การเรียนรู้ก็ไม่ซับซ้อน แต่อาจจำเป็นต้องใช้ประสบการณ์เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลดี ก็ยังคงนึกถึง “เห็ด” อยู่เสมอ

และเชื่อหรือไม่ว่า เห็ด ทำให้คนที่เริ่มต้นด้วยเงินเพียง 5,000 บาท ในปี 2536 กลายเป็นเจ้าของฟาร์มเห็ด ทั้งยังมีธุรกิจเล็กๆ ต่อยอดจากเห็ดที่ปลูกไว้อีกหลายชนิดในวันนี้ คุณสมสิน จุลจินดา หนุ่มวัยกลางคน จบการศึกษาเพียงประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ต้องย้ำบ่อย เพราะตัวคุณสมสินเอง ก็ย้ำกับผู้เขียนตั้งแต่แรกว่า เขาจบการศึกษาเพียงเท่านี้ เพื่อเน้นให้รู้ว่า สิ่งที่เขาประสบความสำเร็จในวันนี้คือ ความตั้งใจและความอดทน ใฝ่รู้ อยู่ตลอดเวลา

คุณสมสิน ออกจากบ้านไปรับจ้างหางานทำ ตั้งแต่อายุ 13 ปี ทำงานทุกอย่างที่มีคนจ้าง ตั้งแต่ ขับรถแบ๊กโฮ ขับรถสิบล้อ เมื่อเก็บเงินได้จำนวนหนึ่งรู้ว่า ควรกลับบ้าน เริ่มต้นทำงานอิสระที่บ้าน เพราะบ้านเกิดหรือภูมิลำเนา เป็นที่ที่อยู่แล้วมีความสุขที่สุด ก็หันหน้ากลับบ้าน และนำทุนเท่าที่พอมีเปิดร้านขายของชำเล็กๆ และขี่รถจักรยานยนต์เร่ขายของชำ

“ผมเห็นคนแถวบ้านเพาะเห็ดขาย แล้วได้เงินง่าย เลยคิดอยากจะทำบ้าง ทั้งที่ไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับการเกษตรเลย แต่เพราะไม่มีความรู้ ผมจึงไม่ได้คิดว่า เป็นเรื่องยากหรือง่าย แค่เราคิดจะทำก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีแล้ว”

ปี 2536 คุณสมสิน เริ่มลองผิดลองถูกกับการเพาะเห็ด ด้วยเงินที่สะสมไว้ จำนวน 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ลองผิดลองถูก ก็พยายามเข้าหาเกษตรกรหลายราย เพื่อขอความรู้ ซึ่งก็ได้ความรู้มาเป็นทฤษฎีที่พอจะลงมือทำได้ แต่คุณสมสินเข้าใจดีว่า เทคนิคของการประกอบอาชีพ ไม่มีใครให้กันง่ายๆ เขาจึงใช้เวลาเท่าที่มีเดินทางไปอบรมทุกที่ที่เปิดให้การอบรม เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ให้มากพอจะเพาะเห็ดขายให้ได้ดีเช่นเกษตรกรรายอื่น เริ่มแรก เพาะเห็ดภูฏาน เหมือนเกษตรกรรายอื่นในหมู่บ้าน เพราะรู้ดีว่าตนเองเริ่มจากครูพักลักจำ และเห็นตัวอย่างของการเพาะ การขายเห็ดภูฏาน จึงไม่ได้มองเห็ดชนิดอื่นในเชิงการค้า กระทั่งการลองผิดลองถูก 3-4 ปีผ่านมา ทำให้คุณสมสิน มองการเพาะเห็ดเชิงพาณิชย์ออกว่า เห็ดชนิดที่เป็นการค้าในพื้นที่จริงๆ ไม่ได้มีเพียงเห็ดภูฏานเท่านั้น เขาจึงเริ่มมองหาเห็ดชนิดอื่นที่สามารถเพาะและจำหน่ายได้ เพื่อเพิ่มช่องทางการขายให้เพิ่มมากขึ้น

คุณสมสิน บอกว่า เงินทุนเริ่มต้น 5,000 บาทที่มี หมดไปกับอุปกรณ์จำเป็นเท่านั้น โรงเพาะเห็ดใช้โรงเรือนไก่ วัตถุดิบที่ใช้เพาะเห็ดก็นำของเหลือทิ้งจากโรงงาน เช่น ขี้เลื่อยจากไม้ยางพารา เชื้อเพลิงที่ต้องใช้ก็เก็บหรือหาจากป่า เพื่อนำมาทำก้อนเห็ด ส่วนหัวเชื้อในระยะแรกยังคงซื้อ เพราะยังไม่มีประสบการณ์ไม่สามารถผลิตหัวเชื้อได้เอง

แรกเริ่มด้วยโรงเรือนไก่เล็กๆ เพียงโรงเดียว ค่อยๆ ขยับ เมื่อมองเห็นช่องทางการตลาด จากเห็ดภูฏานเพียงชนิดเดียว ก็เพิ่มชนิดเห็ดและโรงเรือนมากขึ้น

“ประมาณ 3-4 ปี ที่ผมพยายามเรียนรู้ให้มากขึ้น และขายผลผลิตจากเห็ดภูฏานที่ได้ในชุมชน หมู่บ้าน ขี่รถจักรยานยนต์เร่ขายตามบ้าน เมื่อผลผลิตเพิ่มมากขึ้นก็เข้าไปตัวอำเภอหาดใหญ่ เพื่อฝากแม่ค้าขาย ระยะแรกมีปัญหา เพราะต้องเจอกับพ่อค้าแม่ค้าเห็ดรายอื่นที่เข้าตลาดมาก่อนเรา มีเจ้าประจำฝากขาย หรือแม้กระทั่งนำเห็ดไปขายเองก็ขายไม่ได้ เพราะแม่ค้าพ่อค้าที่มาก่อนมีลูกค้าประจำ แต่ก็ถือเป็นความโชคดีของผม ที่ยังมีลูกค้าจำนวหนึ่ง ต้องการเห็ดในเวลาที่พ่อค้าแม่ค้ารายอื่นไม่สามารถนำเห็ดขายให้ได้ เช่น ตลาดเที่ยงคืน และตลาดเย็น”

ตลาดหาดใหญ่ เป็นตลาดศูนย์กลางที่มีพ่อค้าแม่ค้าจากหลายจังหวัดโดยรอบ เข้ามาซื้อผลิตผลทางการเกษตรออกไปจำหน่าย รอบเที่ยงคืนและรอบเย็น เป็นรอบที่พ่อค้าแม่ค้าเห็ดเกือบทั้งหมดไม่ได้นำเห็ดมาขาย แต่มีพ่อค้าแม่ค้ารายย่อยจำนวนมากต้องการซื้อ เพื่อนำไปจำหน่ายต่อ ตรงนี้เองจึงเป็นไอเดียและช่องทางการขายใหม่ของคุณสมสิน

“ผมตัดสินใจเปลี่ยนเวลาขาย การนำเห็ดมาขายตอนเที่ยงคืนและตอนเย็น เราก็แค่ปรับเวลานำมาขายให้เร็วขึ้น กับช้าลง กว่าพ่อค้าแม่ค้ารายอื่น ซึ่งสิ่งที่ต้องทำนอกเหนือจากปรับเวลาทำงานแล้ว จำเป็นต้องตัดดอกเห็ดก่อนบานพร้อมเก็บ หรือยอมที่จะนำเห็ดดอกไม่ใหญ่นักมาจำหน่าย เพื่อให้เห็ดได้มีระยะเวลาหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตบนแผงค้าได้นานกว่าปกติ”

การสังเกตและพร้อมปรับเปลี่ยนของคุณสมสิน จึงเป็นช่องทางสร้างรายได้ มากกว่าพ่อค้าแม่ค้าเห็ด หรือเกษตรกรที่เพาะเห็ดรายอื่น จากเดิมที่ไม่สามารถจำหน่ายเห็ดได้ กลับกลายเป็นเห็ดของคุณสมสิน เป็นที่ต้องการมากกว่าพ่อค้าแม่ค้ารายอื่น

ยุคที่ใครต่อใครต้องการผลผลิตจากฟาร์มเห็ดของคุณสมสิน คุณสมสินเพิ่มโรงเรือนเพื่อผลิต นำผลกำไรที่ขายเห็ดได้มาทำโรงเรือนให้มีความมั่นคงแข็งแรง สะอาด และเริ่มทำหัวเชื้อเห็ดเอง เพิ่มชนิดเห็ดที่เพาะให้หลากหลายมากขึ้น จากก้อนเห็ดที่ผลิตเพียงวันละ 400-500 ก้อน เพิ่มจำนวนก้อนขึ้นเป็นวันละหลายหมื่นก้อน เพื่อให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดได้ทุกวัน เพราะแต่ละวันจำหน่ายเห็ดได้มากถึง 200-300 กิโลกรัม

ตอนนั้นน่าจะเป็นจุดพีกที่สุดของฟาร์มเห็ด คุณสมสินจึงตั้งชื่อฟาร์มเห็ดให้เป็นที่รู้จักว่า ฟาร์มเห็ดท่าหรั่ง และเพราะคุณสมสินเริ่มจากคนที่ไม่มีอะไร ไม่รู้อะไรมาก่อน จึงต้องการให้ความรู้ที่มีเป็นวิทยากร ทำให้ปัจจุบันคุณสมสินเป็นวิทยากรสอนการเพาะเห็ดให้กับสำนักการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) และเปิดฟาร์มเห็ดให้เป็นสถานที่เรียนรู้ให้กับนักศึกษาของ กศน. และชุมชน

เพิ่มจากเห็ดภูฏาน เป็นเห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดนางรมฮังการี ซึ่งเป็นเห็ดตลาด เมื่อกระแสสุขภาพมาแรง จึงเพิ่มเห็ดหลินจือ เข้ามาอีกชนิด

ปัจจุบัน นอกจากส่งตลาดหาดใหญ่แล้ว ยังมีพ่อค้าแม่ค้ามารับซื้อเห็ดถึงฟาร์ม ทำให้แนวคิดการเพาะเห็ดสดเพื่อส่งขายเพียงอย่างเดียวไม่น่าไปได้ดีตลอด เพราะก้อนเชื้อเห็ดที่เคยผลิตวันละหลายหมื่นก้อน ปัจจุบันลดจำนวนลงมาเหลือเพียงวันละ 1,400 ก้อน เพื่อให้มีผลผลิตออกจำหน่ายได้ในทุกวันเท่านั้น

สิ่งที่คุณสมสินคิดได้คือ การแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและควรเป็นการแปรรูปที่มีความแตกต่าง เพื่อการตลาดที่ไม่เหมือนใคร

“เราเคยทำข้อตกลงกับทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) ในการวิจัยการเปลี่ยนสภาพของเห็ดสดเป็นอาหารในรูปแบบของวัตถุดิบสำหรับปรุง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น”

คุณสมสิน บอกว่า ปัจจุบันเรามีเห็ดสดจำนวนหนึ่งออกสู่ท้องตลาด แต่อีกส่วนหนึ่งเรานำมาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำเห็ด โดยเฉพาะน้ำเห็ดหลินจือ กาแฟผสมเห็ดหลินจือ เห็ดหลินจืออบแห้ง และชาเขียวเห็ดหลินจือ ส่วนเห็ดชนิดอื่นก็นำไปทำเป็นลูกชิ้นเห็ด น้ำพริกเผาเห็ด เฉาก๊วยเห็ดหูหนู ซึ่งได้รับการตอบรับค่อนข้างดี

ปัจจุบัน โรงเรือนเพาะเห็ดมีเกือบ 20 โรง มีเครื่องจักรสำหรับบรรจุก้อน เครื่องจักรผสมวัตถุดิบทำก้อน ส่วนแรงงานคนยังคงให้ความสำคัญ แม้ว่าจะมีเครื่องจักรที่สามารถผลิตแทนแรงงานคนก็ตาม แต่เพราะต้องการให้แรงงานในชุมชนมีรายได้ เมื่อมีแรงงานคนผลิตก็จะให้ความสำคัญกับแรงงานคนมากกว่า เป็นการกระจายรายได้แก่ชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย

ในท้ายที่สุดของการทำฟาร์มเห็ดท่าหรั่งแห่งนี้ คุณสมสิน บอกด้วยความภาคภูมิใจว่า เพราะเขาได้รับความช่วยเหลือจากการประสานของ กศน.อำเภอคลองหอยโข่ง จึงทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนามาถึงปัจจุบัน ดังนั้น เมื่อถึงจุดที่เขาสามารถคืนกำไรให้กับสังคมได้ จึงตอบแทนผ่าน กศน.คลองหอยโข่ง ด้วยการรับเป็นวิทยากรสอนเพาะเห็ดให้กับ กศน. เปิดฟาร์มเห็ดเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชน และเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับชุมชน เพื่อชุมชนหรือนักศึกษา กศน. นักศึกษาทุกสถาบันต้องการ

สอบถามเพิ่มเติมหรือเยี่ยมชมฟาร์มเห็ดท่าหรั่ง ติดต่อได้ที่ คุณสมสิน จุลจินดา ฟาร์มเห็ดท่าหรั่ง เลขที่ 54 หมู่ที่ 7 ตำบลทุ่งจาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัด หากจะกล่าวถึงการผลิต ส้มเขียวหวาน ที่มีคุณภาพเป็นที่ถูกใจในรสชาติของผู้บริโภค เราต้องลงไปสัมผัสถึงในสวน พูดคุยกับเกษตรกรผู้ผลิตถึงกระบวนการผลิต ดูตั้งแต่สายพันธุ์ของส้มเขียวหวาน การดูแล (ดิน น้ำ ปุ๋ย โรคและแมลง) พัฒนาการของผลและการเก็บเกี่ยวผลผลิต

ที่จังหวัดแพร่ มีเกษตรกรคนหนุ่ม อายุ 25 ปี สืบทอดเจตนารมณ์ของครอบครัว รุ่นปู่ รุ่นพ่อ สานต่อการเกษตรทำสวนส้มเขียวหวาน วางแผนการผลิตเพียงรุ่นเดียวใน 1 ฤดูกาล เพราะได้พิสูจน์แล้วว่า ส้มเขียวหวานรุ่นนี้มีรสชาติเป็นเลิศ เป็นที่กล่าวขานกันเป็นวงกว้าง ผู้เขียนจึงหาโอกาสขอไปดูสวนดังกล่าวว่า เกษตรกรคนนี้เขาดูแลสวนอย่างไร

คุณสุริยะ ต่อมแก้ว หรือ คุณยะ อายุ 25 ปี ยังเป็นโสดอยู่นะครับ คุณยะ เล่าว่า ทำสวนส้มเขียวหวานมาตั้งแต่อายุ 16 ปี ขณะนั้นเรียนอยู่ที่วิทยาลัยเทคนิคแพร่ ระดับ ปวช. และเรียนจนจบ ระดับ ปวส. รับช่วงต่อเป็นเกษตรกรสวนส้มเขียวหวาน จำนวน 8 ไร่ ของคุณปู่ เป็นส้มเขียวหวานที่คุณปู่บอกว่าเป็นส้มสายพันธุ์จากบางมด ซึ่ง ณ วันนี้ มีต้นส้มเขียวหวานคงเหลืออยู่เพียงไม่กี่ต้น แต่ได้ขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่งมาปลูกไว้อีกแปลงหนึ่ง ต่อมาได้ซื้อที่ดินไว้อีกหลายแปลงเพื่อปลูกส้มเขียวหวาน โดยทยอยปลูกเป็นปีๆ ไป ปัจจุบันมีต้นส้มเขียวหวาน 300 ต้น อายุต้น 15 ปี ได้ต้นพันธุ์มาจากการตอนกิ่งทั้งหมด และวางแผนไว้ว่าเมื่อได้ต้นพันธุ์ที่สั่งจองไว้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ ก็จะปลูกใหม่ให้เต็มพื้นที่

“ช่วง 2-3 ปีแรก ผมขาดทุนย่อยยับเลยครับ เกือบหมดตัว เพราะดูแลสวนน้อยไป ผมต้องเรียนหนังสือด้วย แต่เมื่อเอาเวลามาดูแลเอาใจใส่มากขึ้น ก็มีกำไร มีเงินเหลือพอที่จะซื้อที่ดินเพิ่ม ทุกวันนี้ผมให้เวลาในการทำเกษตรไม่น้อยกว่าวันละ 8 ชั่วโมง ผมไม่ได้ปลูก ดูแลเฉพาะส้มเขียวหวานนะครับ ยังมีส้มโอ มันสำปะหลัง ข้าวโพด ข่าเหลือง ฟักทอง ต้องสลับหมุนเวียนไปดู บางวันต้องขับรถไปส่งผลผลิตไกลๆ เช่น จังหวัดปทุมธานี อุดรธานี…ก่อนนอนผมคิด…คิดว่า พรุ่งนี้มีงานอะไรในสวนบ้างที่ต้องทำ ผมนอน 2 ทุ่ม ตื่นนอนตี 5 ทำกิจวัตรเสร็จก็เข้าสวนแล้วครับ” เจ้าของสวนส้มกล่าว

คุณยะ อธิบายว่า ส้มเขียวหวานที่ตนผลิตออกมาสู่ตลาดเพียงปีละรุ่น ผลผลิตจะมีขายเฉพาะกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนพฤศจิกายน คือประมาณ 1 เดือน ก็เก็บผลหมดทุกต้น จากนั้นบำรุงต้น ใบ รอฤดูกาลใหม่

และยืนยันว่า รสชาติของส้มเขียวหวานที่สวนนี้จะมีรสเดียวเป็นมาตรฐานของสวนมาหลายปีดีดักแล้ว รสหวานอมเปรี้ยว (เปรี้ยวเพียงเล็กน้อย) ไม่ว่าจะชิมส้มเขียวหวานทั่วทั้งแปลง หรือจากต้นเดียวกันก็ได้รสชาตินี้

คุณยะ ให้เหตุผลว่าที่ผลิตส้มเขียวหวานเพียงปีละรุ่น เพราะการจัดการดูแลง่าย โรคและแมลงมีน้อย ต้นทุนต่ำ ต้นส้มเขียวหวานไม่โทรม ดอกไม่ร่วง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว และขายได้ราคาดี ผลผลิตส้มเขียวหวานที่ออกสู่ตลาดในช่วงเวลาดังกล่าว ผลส้มจะมีอายุที่ 10 เดือน นับจากวันออกดอก เป็นช่วงที่ผ่านฤดูฝนหรือเป็นส้มปลายฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาว ปริมาณฝนน้อยลง ลักษณะของผลจะมีเปลือกบางล่อน ปอกง่าย ชานของส้มนิ่ม มีน้ำมากหรือฉ่ำน้ำ เนื้อผลมีสีส้ม

คุณยะ ให้รายละเอียดถึงวิธีการปฏิบัติและเคล็ดลับบางอย่างในด้านการบำรุงดิน การให้น้ำ ให้ธาตุอาหาร การดูแลเอาใจใส่ การปฏิบัติดูแล

ก่อนอื่นขอไปเดินดูสภาพพื้นที่ก่อน สวนส้มเขียวหวานของคุณยะอยู่ในเขตหมู่บ้านห้วยแม่ต้า ตำบลบ้านปิน อำเภอลอง ทางทิศเหนือของทางรถไฟสายเหนือ (กรุงเทพฯ-เชียงใหม่) ห่างจากสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำยมเล็กน้อย สะพานซึ่งมีประวัติศาสตร์ของการนำลูกระเบิดไปทำเป็นระฆังลูกระเบิดถวายวัด

มีแหล่งน้ำที่นำมาใช้ได้ถึง 2 แหล่ง คือ ลำห้วยแม่ต้าและแม่น้ำยม สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลาดเอียง 2 ด้าน ตรงกลางเป็นแอ่งรองรับน้ำฝนลาดลงสู่ลำน้ำห้วยแม่ต้า คล้ายรูปตัว V น้ำจึงไม่ท่วมขัง

ดิน คุณยะ บอกว่า ยังไม่เคยนำดินไปตรวจวิเคราะห์หาค่าความเป็นกรด ด่าง และธาตุอาหาร แต่บริเวณนั้นเป็นพื้นที่สามเหลี่ยมแม่น้ำที่มีลำน้ำห้วยแม่ต้าไหลมาบรรจบกับแม่น้ำยม ลักษณะดินจึงเป็นดินร่วนและดินทรายดำ ดินลักษณะนี้มีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาดูแล้วให้ความเห็นว่า เป็นดินร่วนชนิดหนึ่งที่มีสภาพการระบายน้ำและการถ่ายเทอากาศได้ดี เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง เนื่องจากมีการคลุกเคล้าด้วยอินทรียวัตถุมาก อันเกิดจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ที่มีสีเข้ม สามารถตรึงธาตุอาหารได้มากพอสมควร จึงเป็นแหล่งอาหารที่ดีของส้มเขียวหวาน ต้นจึงมีใบเขียวเข้มเป็นมัน

น้ำ แหล่งน้ำที่คุณยะนำมาใช้ในสวนส้มเขียวหวาน เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติจาก 2 แหล่ง ดังที่กล่าว แต่ต้องลงทุนเดินท่อสูบน้ำจากแม่น้ำยมขึ้นมาจนถึงสวน ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการ

– ระยะก่อนออกดอก ต้นส้มเขียวหวานต้องการน้ำน้อย เป็นช่วงการสะสมอาหาร จะให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ปริมาณน้ำ ประมาณ 150-200 ลิตร ต่อต้น ระยะติดผล ต้องการน้ำมากขึ้นเรื่อยๆ จนผลแก่ ปริมาณน้ำที่ให้ ครั้งละ 200-250 ลิตร ต่อต้น แต่จะงดการให้น้ำก่อนเก็บผล 2 สัปดาห์ เพื่อช่วยให้ส้มมีรสชาติหวานขึ้น

– ระยะเข้าสี จะลดปริมาณน้ำลง เพราะเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูฝนพอดี

แต่ถ้าไม่ให้น้ำ หรือให้น้ำไม่เพียงพอในระยะออกดอก ติดผล คุณยะ บอกว่า จะมีปัญหา ปัญหาก็อย่างเช่น ช่วงมีดอก ดอกจะร่วงถ้าขาดน้ำเพียง 1 สัปดาห์ ก็ร่วงแล้ว หรือช่วงผลอ่อนถ้าติดผล ผลจะแคระแกร็น ผลด้าน ผลเล็ก

ธาตุอาหารและปุ๋ย

คุณยะ บอกว่า ส้มเขียวหวาน ต้องการธาตุอาหารทั้งธาตุอาหารหลักในปริมาณที่มาก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารเสริม จากที่เก็บผล ตัดแต่งกิ่ง ปริมาณธาตุอาหารก็ถูกนำออกไปด้วยจึงต้องเติมกลับลงไปในดิน แต่ถ้าต้นส้มเขียวหวานได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอจะแสดงอาการลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ทั้งต้น ใบ ดอก ผล จึงต้องหมั่นสังเกต ทำความเข้าใจว่าช่วงใดต้นส้มเขียวหวานต้องการธาตุอาหารอะไร ปริมาณเท่าไร และช่วงเวลาที่ต้องการ

อย่างเช่น…

– ระยะการออกดอก จะใส่ปุ๋ยยาราหรือตราเรือใบ สูตร 8-24-24 ให้ 1 ครั้ง ปริมาณ 1 กิโลกรัม ต่อต้น และฉีดพ่นสาหร่ายสกัดให้ด้วย

– ช่วงติดผล ให้ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 ให้ธาตุอาหารรอง อย่าง แคลเซียม แมกนีเซียม และธาตุอาหารเสริมโบรอน สังกะสี ซึ่งต้องฉีดพ่นให้เป็นระยะๆ จะขาดเสียมิได้ – ก่อนเก็บผล จะให้ปุ๋ยเคมี สูตร 13-13-21 อีกครั้ง เพื่อให้ส้มมีคุณภาพ รสชาติดีขึ้น

ค้ำกิ่ง ก็เป็นต้นทุนเหมือนกัน ทั้งแรงงาน วัสดุที่นำมาใช้คือ ไผ่ ถ้าจะไม่ค้ำก็ไม่ได้ เพราะผลที่ติดดกมีน้ำหนักมาก กิ่งจะห้อยต่ำลงติดดิน ผลจะมีตำหนิ กิ่งจะฉีกขาด กับป้องกันลมได้ด้วย เพราะบริเวณนี้โล่งเตียน ไม่มีต้นไม้ใหญ่ มีลมแรงใกล้ฝั่งแม่น้ำ

และแมลงศัตรูสำคัญของส้มเขียวหวาน

คุณยะ กล่าวยืนยันว่า ที่สวนส้มเขียวหวานนี้มีโรคและแมลงน้อย จากการจัดการพื้นที่ให้โล่งเตียน ตัดหญ้าให้สั้นไม่ให้เป็นที่หลบซ่อนของแมลง จะไม่ใช้ยาฆ่าหญ้า เพราะส้มเขียวหวานมีระบบรากที่ตื้น รากมีโอกาสเน่าได้จากพิษของยา การตัดหญ้าก็เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้เศษหญ้าสลายกลายเป็นปุ๋ยเกิดจุลินทรีย์ ส่งเสริมให้ดินร่วนซุย และยังคลุมหน้าดินให้ด้วย กับอีกเหตุผลหนึ่งการใช้ยาฆ่าหญ้ามีโอกาสที่สารพิษจะปนเปื้อนลงสู่ลำห้วยแม่ต้าและแม่น้ำยมซึ่งเป็นลำน้ำสาธารณะ

แต่ทั้งนี้ก็มิใช่ว่าในสวนจะไม่พบแมลงเสียเลยต้องใช้การสำรวจ สังเกตดูการแพร่ก่อนว่ามีกี่มากน้อย ที่พบก็มีแมลงวันทอง จะใช้กับดักทากาวแขวนไว้ตามกิ่งส้ม ถ้าเป็นหนอนชอนใบ เพลี้ยต่างๆ ต้องใช้การป้องกัน หากระบาดมากๆ จำเป็นต้องใช้ยาเท่าที่จำเป็น ส่วนโรคโดยเฉพาะเชื้อราต้องใช้ยาป้องกัน

เคล็ดลับ ในการผลิตส้มเขียวหวานของหนุ่มแพร่เจ้าของสวน ที่เปิดเผยจากการได้ปฏิบัติซ้ำๆ จนมั่นใจว่า

การทำให้ส้มเขียวหวาน ผลิดอก ติดผลจำนวนมากๆ ได้ผลขนาดใหญ่ ต้องตัดแต่งกิ่งทุกปี โดยเฉพาะกิ่ง-ก้าน ที่ให้ผลผลิตแล้ว ต้องตัดแต่งแล้วจะแตกยอดออกมาใหม่ ยอดจะใหญ่ สมบูรณ์ดี
การตัดแต่งกิ่งถือเป็นการจัดทรงพุ่มไปด้วยในตัว “ดูซิครับ ต้นส้มอายุ 15 ปี ทรงพุ่มไม่เกิน 2 เมตร ดูแล้วมันโปร่ง โล่ง แสงแดดส่องถึงโคนต้นและพื้นที่โดยรอบทรงพุ่ม โรคและแมลงจึงน้อยไปด้วย” คุณยะ กล่าว

ส้มเขียวหวานจะมีรสเลิศได้ ธาตุอาหาร น้ำ ดินต้องถึง การให้ปุ๋ยซึ่งเป็นธาตุอาหารหลักแล้ว ก็ต้องให้ธาตุอาหารรองและอาหารเสริม อย่างแคลเซียม-โบรอน และยังต้องให้ปุ๋ยทางใบ คุณยะ บอกว่า ใช้ปุ๋ย สูตร 0-52-34 ฉีดพ่น น้ำต้องให้อย่างเพียงพอ ดินต้องได้รับการปรับปรุงบำรุงทุกปี ที่สวนนี้ใช้ปุ๋ยสำหรับบำรุงดิน

จะไม่ได้รับความเสียหาย ราคาไม่ตก

คุณยะ ขยายความให้ฟังว่า ส้มเขียวหวานที่เก็บผลได้ นอกจากการนับอายุแล้ว ยังพิสูจน์ได้จากการดูสีผิวของผลส้มที่เขียวเข้มมาเป็นสีเขียวสะบันงาหรือกระดังงาไทย หรือผิวสีเขียวอมเหลือง หรือดูที่ตุ่มน้ำมันจะออกห่างๆ หน่อย จะสัมผัสจากผิวผลก็ได้จากที่ผิวแข็งๆ จะลดลง ใช้มือบีบจะออกนิ่ม และที่พิสูจน์อย่างได้ผลแน่นอนก็คือ เก็บผลมาลองชิมทุกต้นว่าได้รสชาติตรงตามที่ต้องการ นั่นคือ รสหวานอมเปรี้ยว (รสเปรี้ยวเพียงเล็กน้อย)

ส่วนวิธีการเก็บนั้น คุณยะ บอกก็มีเคล็ดลับนะ สมัครเว็บคาสิโน หากเก็บไม่ถูกวิธีผิวผลจะมีรอยตำหนิ ขายไม่ได้ราคา เคล็ดลับที่ว่าอย่างเช่น คนที่จะมาเก็บผลส้มต้องไม่ไว้เล็บยาว เพราะเมื่อบิดผลแล้วรอยเล็บจะปรากฏบนผิวส้ม ถ้านำเข้าเครื่องคัดขนาดจะเห็นรอยที่ผิวส้ม อย่างนี้เสียราคา หรือถูกคัดออกและก็ต้องใส่ถุงมือจะช่วยได้มาก เวลาเก็บจะใช้วิธีการบิดผลเท่านั้น ไม่เด็ด ไม่ดึง ไม่กระชาก การบิดผลจะไม่เกิดรอยแผลที่ขั้ว แต่หากเด็ด ดึง กระชาก จะเกิดการแยกออกจากส่วนเนื้อ ขั้วจะฉีกเป็นแผล และที่สำคัญหากกำลังเก็บส้มเกิดฝนตกลงมาต้องงดเก็บ หากเก็บจะเกิดผลเสียอย่างมาก ผิวผลจะตายนึ่ง

ผลผลิตส้มเขียวหวานและตลาด

หนุ่มแพร่เจ้าของสวนส้ม สาธยายให้ฟังว่า เมื่อปีที่แล้วได้ผลผลิต 35 ตัน จากจำนวนต้นส้มเขียวหวาน 300 ต้น ขายได้เงิน 320,000 บาท และคาดการณ์ปีนี้ว่าจะได้ผลผลิตน้อยกว่าปีก่อนก็ราวๆ 30 ตัน หากขายได้ราคาเท่าปีก่อน คาดว่าจะได้เงินประมาณ 300,000 บาท เหตุที่ได้น้อยกว่าปีก่อน เพราะปีนี้สภาพอากาศร้อน แล้งยาวนาน ต้องให้น้ำในปริมาณที่มากกว่าเดิม ผลส้มเขียวหวานจึงไม่ร่วงหล่นมากนัก ขณะที่แปลงอื่นๆ ที่ทั้งดอกและผลอ่อนๆ หลุดร่วงเสียหายกันเป็นส่วนใหญ่

จากการดูแลเอาใจใส่ในทุกขั้นตอนดังที่ได้นำเสนอไป ผลผลิตส้มเขียวหวานจากสวนคุณยะจึงได้ผลผลิตทั้งปริมาณและคุณภาพ ได้น้ำหนักดี รสเลิศ ขายผลผลิตได้ทุกผลไม่มีตกค้าง จึงมีรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท จากต้นส้มเขียวหวาน 300 ต้น ถ้าเทียบกับเพื่อนๆ เกษตรกรด้วยกันที่ปลูกส้มเขียวหวาน แต่การดูแลน้อยกว่าในขนาดพื้นที่เท่ากัน ขายได้ 30,000 บาท คุณยะ บอกว่า ถ้าเราดูแลเขาดี ดิน น้ำ ปุ๋ย ให้อย่างเพียงพอ ก็จะได้ผลผลิตที่คุ้มค่าการลงทุน ลงแรง

คุณยะ ยังแจกแจงถึงต้นทุนในการผลิตส้มเขียวหวานของแต่ละปี ทั้งค่าสูบน้ำ ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าจ้างแรงงาน ฯลฯ โดยสรุปตัวเลขรวบยอดให้ฟังว่า ส้มเขียวหวาน 1 ต้น ให้ผลผลิตขายได้เงิน 1,000 บาท ต้นทุนการผลิตที่ลงทุนไปเพียงต้นละ 200 บาท กำไรต้นละเท่าไร…? มีส้มเขียวหวานทั้งหมด 300 ต้น ก็เป็นเงินปีละ…? หรือเดือนละ…? นี่เฉพาะรายได้จากการผลิตส้มเขียวหวานเพียงรายการเดียวนะ ยังไม่ได้รวมถึงผลผลิตอื่น ส้มโอทองดี มันสำปะหลัง ข้าวโพด ข่าเหลือง ฟักทอง รายได้ของเกษตรกรวัย 25 ปี ที่สามารถสร้างฐานะได้อย่างมั่นคง เพราะความขยันหมั่นเพียรที่ชาวบ้านพูดกันเป็นเสียงเดียวกันว่า “…ยะ มันทำจริง”