ส่อง “สุไหงโก-ลก” เมืองต้นแบบ ก้าวสู่ “ค้าชายแดนระหว่างประเทศ”

กว่า 13 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ปะทุหนักขึ้น และต่อเนื่องยังไม่รู้จุดสิ้นสุด ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทุกมิติทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม

แต่ด้วยศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของพื้นที่ 3 จังหวัด ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และทำเลที่ตั้ง ที่ถือเป็นประตูด่านสำคัญของชายแดนไทย-มาเลเซีย ทำให้รัฐบาลพยายามผลักดันโครงการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ที่คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 4 ตุลาคม 2559 เห็นชอบหลักการ คัดเลือก 3 อำเภอ 3 จังหวัดเป็นเมืองต้นแบบ มีเป้าหมายที่จะกระตุ้นให้เกิดการลงทุน เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนในพื้นที่ โดยใช้แนวคิด ให้เอกชนนำ แล้วภาครัฐสนับสนุน กรอบระยะเวลาดำเนินการ ปี พ.ศ. 2560-2563

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 (ศปป.5) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ได้นำสื่อมวลชนลงพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เมืองต้นแบบ “การค้าขายชายแดนระหว่างประเทศ” เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการ

สุไหงโก-ลกฉลุย 2 โครงการ 50 ล้าน

ข้อมูลจากอำเภอสุไหงโก-ลก ระบุว่า จังหวัดนราธิวาสมีประชากร 7.8 แสนคน อาศัยอยู่ในอำเภอสุไหงโก-ลก ประมาณ 10% ของประชากรทั้งหมด โดย 68% มีอาชีพค้าขาย พึ่งพากำลังซื้อหลักจากเพื่อนบ้านมาเลเซีย ขณะที่การค้าชายแดน ปี 2559 อยู่ที่ 3,133 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 66.39 ของมูลค่าการค้ารวม เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ร้อยละ 5.99 และตั้งเป้าปี 2560 จะสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 4,500 ล้านบาท

“ปรีชา นวลน้อย” นายอำเภอสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส กล่าวว่า อำเภอสุไหงโก-ลก ได้เสนอโครงการเมืองต้นแบบทั้งหมด 3 โครงการ 8 แผนงาน งบประมาณรวม 532 ล้านบาท แต่ขณะนี้มี 2 โครงการเท่านั้นที่คืบหน้า ได้แก่ 1.แผนการปรับปรุงพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟสุไหงโก-ลก งบประมาณ 31.20 ล้านบาท ขณะนี้ได้ผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระที่ 1 แล้ว คาดว่า

วาระที่ 2 จะอนุมัติในเดือนตุลาคมนี้ และ 2.การศึกษาความเหมาะสมสถานีขนส่งสินค้า ผ่าน (สนช.) วาระที่ 1 เช่นกัน ด้วยงบประมาณ 18.6 ล้านบาท เป็นค่าสำรวจและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน และจ้างที่ปรึกษา 2 พื้นที่ คือ จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดสงขลา ขณะที่โครงการอื่น ๆ ที่พื้นที่นำเสนอไปยังไม่ผ่านการพิจารณา

ส่วนความก้าวหน้าโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการตรวจคนเข้าเมือง เอื้อต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองชายแดน ขณะนี้ด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก ได้รับงบประมาณ 10.7 ล้านบาท จัดซื้อเครื่องตรวจหนังสือเดินทางระบบ PIBICS จำนวน 13 ชุด จัดหาระบบฐานข้อมูลลายพิมพ์นิ้วมืออัตโนมัติ หรือ e-Finger Print จำนวน 5 ชุด และเพิ่มกล้องวงจรปิด หรือ CCTV อีก 30 ตัวแล้ว เพิ่มความสะดวกในการเข้าออกมากขึ้น

“โครงการที่ผ่านวาระที่ 1 สนช.นั้นถือว่าโอเค แต่สิ่งที่ท้องถิ่นต้องการมาก คือ การพัฒนาด้านการค้า เนื่องจากโก-ลกเป็นเมืองการค้าชายแดน และต้องการพัฒนาให้เป็นการค้าข้ามแดนไปยังสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และอนาคตถึงบรูไนและยุโรป ดังนั้นสิ่งที่ต้องการขณะนี้ คือ ต้องพัฒนาสะพานเชื่อมไทย-มาเลเซียแห่งที่ 2 เพราะปัจจุบันการคมนาคมแออัด แต่ยังติดปัญหาคือฝ่ายมาเลเซียไม่ต้องการมากนัก เนื่องจากจะกระทบต่อการเวนคืนที่ดินของประชาชนบริเวณรันเตาปังยัง

อีกทั้งมาเลเซียมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการร่วม ทำให้ไม่สามารถประสานติดต่อเจ้าหน้าที่มาเลเซียได้ อย่างไรก็ตาม หากจะพัฒนาให้เป็นการค้าชายแดนในอนาคตต้องเจรจาปรับปรุงสะพานเชื่อมไทย-มาเลเซียแห่งที่ 2 นี้”

โก-ลกขอศูนย์กลางตลาด

ผู้ที่เคยมาเยือนสุไหงโก-ลก ต่างทราบดีว่าโดยสภาพการค้าขายปัจจุบันยังมีลักษณะวางขายกันแบบสะเปะสะปะ คือ ขายบนถนน หน้าบ้านและหลังบ้าน จึงมีโครงการขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติม คือ ก่อสร้างศูนย์กลางตลาดสินค้าทางการเกษตร บนเนื้อที่ 8 ไร่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ขณะนี้อยู่ระหว่างรอฟังผล

และหากจะให้ตรงใจที่สุด คือ ขอให้รัฐบาลซื้อที่ดิน และรื้อถอนบ้านเอื้ออาทรของการเคหะฯ บนเนื้อที่ 25 ไร่ เนื่องจากปล่อยทิ้งร้าง ไม่มีความจำเป็นต่อชาวบ้าน แล้วลงทุนพัฒนาโครงการพื้นฐาน เพื่อให้เอกชนเข้ามาพัฒนา โดยการสร้างคอมเพล็กซ์ หรืออาคารอเนกประสงค์ เพื่อใช้จัดกิจกรรมกระตุ้นเศรษฐกิจ

“วันนี้ผมมองว่าต้องมีห้างในโก-ลก เพราะในพื้นที่ 3 จังหวัด มีบิ๊กซี ปัตตานีที่เดียว ขณะที่มาเลเซีย รัฐกลันตัน ซึ่งเป็นรัฐยากจน แต่กลับมีห้างหลายห้าง มีศูนย์ฮาลาล มีครบทุกอย่าง แต่เราไม่มีอะไรเลย นี่จึงเป็นความคิดความฝันของคนพื้นที่ที่อยากให้รัฐบาลสนับสนุน”

ชูโปรเจ็กต์ปลอดภาษีทั้งเมือง

นายอำเภอสุไหงโก-ลก กล่าวว่า หากจะพัฒนาพื้นที่ชายแดนใต้ มองว่าโครงการจัดตั้งเมืองการค้าปลอดภาษีตอบโจทย์ที่สุด และต้องมีรูปแบบแตกต่างจากที่อื่น คือ ไม่ได้หมายถึงร้านค้า

ที่ให้เฉพาะนักท่องเที่ยวซื้อได้เท่านั้น แต่ให้รวมทั้งเมือง เป็นเขตปลอดภาษี ให้ประชาชนคนไทย ปัตตานี ยะลา และพี่น้องมาเลเซียเข้ามาจับจ่าย จะทำให้เศรษฐกิจเมืองชายแดนคึกคักขึ้นทันที รัฐบาลต้องใช้ ม.44 แก้กฎหมายที่ติดขัด หากไม่ทำยุคนี้ เมื่อการเมืองกลับมาจะเป็นเรื่องผลประโยชน์ของใครของมันเหมือนเดิม

รัฐต้องช่วยเมืองคนป่วยเรื้อรัง

ด้าน “สุชาดา พันธุ์นรา” นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า จังหวัดนราธิวาสได้สิทธิพิเศษมาก เนื่องจากเป็นทั้งเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” โดยเฉพาะเรื่องซอฟต์โลน ดอกเบี้ย 1.5% ต่อปี ถือว่าดึงดูดนักลงทุนมาก แต่การอนุมัติวงเงินขณะนี้ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากสภาพัฒน์มองเรื่องความคุ้มค่า แต่ตนมองว่าสภาพัฒน์คิดผิด เพราะหากมองจุดคุ้มค่าเราก็เดินหน้าไม่ได้ เราต้องมองว่าพื้นที่เราผิดปกติ เป็นคนป่วยเรื้อรังมาเป็น 10 ปี

หดหู่มาก ต้องรับยาพิเศษ

สุชาดาบอกว่า โครงการที่รัฐอนุมัติส่วนมากยังไม่ได้ตอบโจทย์ชาวบ้านที่ต้องการมีชีวิตที่ดีขึ้น สิ่งที่ชาวบ้านต้องการมาก คือ รัฐต้องหาสถานที่ให้เขาทำธุรกิจให้เป็นรูปเป็นร่าง เพราะสุไหงโก-ลก เป็นศูนย์กลางการค้า คือ ซื้อมาขายไป มองว่าจุดที่เหมาะสม คือ บ้านเอื้ออาทรของการเคหะฯตอนนี้ปล่อยทิ้งไว้ เป็นแหล่งเสื่อมโทรม หากรัฐซื้อจากรัฐแล้ว เอกชนมาปรับปรุงพื้นที่สร้างอาคารอเนกประสงค์ จะสามารถพัฒนาเป็นแลนด์มาร์ก ร้านค้าได้

“สุไหงโก-ลก ได้เปรียบเรื่องอาหาร และการเที่ยวบันเทิง ดิสโก้ คาราโอเกะ ที่มาเลเซียไม่มี ซึ่งเป็นสิ่งที่จะเอื้อให้เศรษฐกิจคึกคัก แต่รัฐจะต้องยกเว้นระเบียบบางตัว หรือการเปิดจุดผ่อนปรน เพราะอย่างที่ทราบกันว่านักท่องเที่ยวที่เข้ามากินมาเที่ยวบ้านเราส่วนมากเป็นข้าราชการมาเลเซียที่มักจะเข้ามาจุดผ่อนปรน หากเราตึงมากไป การท่องเที่ยวก็ดาวน์ลงมาก หรือหากรัฐจะเยียวยา เป็นไปได้หรือไม่ที่จะทุ่มงบประมาณเกี่ยวกับสัมมนาแล้วพามาโก-ลก ไม่ต้องประชุมหาดใหญ่ แล้วเงินจะสะพัด โรงแรม ร้านอาหาร ตลาดมีรายได้ ท่องเที่ยวก็ได้”

เป็นเสียงสะท้อนจากพื้นที่ถึงส่วนกลาง จะถึงฝั่งฝันเป็นเมืองการค้าชายแดนระหว่างประเทศหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความจริงใจและนโยบายที่ชัดเจนของรัฐบาล เชียงรายหันมาใช้บริการดาวเทียมระบบเวียส์ชื่อว่าดาวเทียมซูโอมิ จัดทำแอปพลิเคชั่นมือถือระบบแอนดรอยด์ แสกนฮอตสปอต-พื้นที่จุดเกิดความร้อนใช้ป้องกันไฟป่า

นายปรีชา ทองคำเอี่ยม ผู้อำนวยการส่วนควบคุมและปฏิบัติการไฟป่า สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 เปิดเผยว่า จากกรณีที่ทางสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 ร่วมกับคณาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จ.เชียงราย พัฒนาโปรแกรมและระบบแจ้งจุดความร้อนในฤดูแล้งหรือฮอตสปอตเพื่อใช้ป้องกันไฟป่าและหมอกควันมาหลายปีแล้วนั้น พบว่าในปี 2560 นี้ มีฮอตสปอตแค่ 19 ครั้ง และเกิดไฟไหม้จริงเพียง 16 แห่ง หลังจากปี 2559 ที่ผ่านมาเคยเกิดขึ้นมากถึง 921 ครั้ง จึงถือได้ว่าการใช้ระบบดังกล่าวได้ผล โดยใช้ควบคู่กับการบริหารจัดการโดยทางจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางกำลังตามจุดต่างๆ เพื่อเข้าระงับเหตุด้วย

ทั้งนี้ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้น โดยจากเดิมที่เคยใช้ดาวเทียมในระบบโมดิสขององค์กรการนาซ่า ซึ่งจะโคจรผ่านประเทศไทยวันละ 4 ครั้ง ก็ได้หันมาใช้บริการดาวเทียมระบบเวียส์ ชื่อว่าดาวเทียมซูโอมิ ซึ่งจะโคจรผ่านประเทศไทยวันละ 2 ครั้ง เวลา 10.30 น.และ 02.00 น.ซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับฮอตสปอตและพื้นที่ที่เกี่ยวข้องได้มากกว่า โดยระบบเดิมจะให้ข้อมูลแบบกว้าง ๆ ไม่ลงลึกในรายละเอียดมากนัก แต่ระบบใหม่จะตรวจสอบหรือสแกนพื้นที่ได้ละเอียด โดยระบุถึงสภาพภูมิประเทศ จุดเกิดความร้อน เส้นทางที่จะเดินทางไปถึงหน่วยของเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังที่อยู่ใกล้ที่สุด ฯลฯ โดยจัดทำเป็นแอปพลิเคชั่นทางโทรศัพท์มือถือระบบแอนดรอยด์ ซึ่งสะดวกต่อการใช้งานร่วมกันทั้งจังหวัด

“สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการบริหารจัดการ แม้จะมีดาวเทียมแต่ทางเจ้าหน้าที่ก็ได้ปฏิบัติงานในช่วงฤดูฝนนี้อย่างเต็มที่ แม้ว่าจะไม่ใช่ฤดูแล้งที่มีไฟป่าและหมอกควัน โดยจัดอบรมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและชาวบ้านเพื่อให้เห็นถึงความตั้งใจของเจ้าหน้าที่ในการให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการป้องกันไฟป่าตลอดเวลา ไม่ใช่มาทำกันแค่ช่วงฤดูแล้ง อันจะทำให้ชาวบ้านร่วมตื่นตัวด้วย และเมื่อถึงช่วงฤดูแล้งเราก็พร้อมปฏิบัติการได้โดยทันทีต่อไป” นายปรีชากล่าว

อย่างไรก็ตามปัจจุบันเจ้าหน้าที่ป้องกันไฟป่าได้มีการวางกำลังเอาไว้ตามจุดต่างๆ จำนวน 117 สถานี ครอบคลุมทุกพื้นที่ และเมื่อมีฮอตสปอตในช่วงฤดูแล้งก็จะแจ้งผลไปยังหน่วยที่อยู่ใกล้จุดฮอตสปอตมากที่สุด เพื่อเข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงและเข้าระงับเหตุกรณีมีไฟไหม้ได้อย่างรวดเร็วต่อไป

หนุน “สุราษฎร์ฯ” โมเดลผลิตปาล์มเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง 18% ด้านโรงสกัดชี้จุดอ่อนไม่มี “เครื่องวัดเปอร์เซ็นต์น้ำมัน” ต้องซื้อคละ ด้านอคส.ยังไม่สตาร์ตโครงการรับซื้อผลปาล์ม ราคาร่วงกก.ละ 3.80-3.90 บาท ชี้ยังหาราคากลางที่เหมาะสมไม่ได้

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้นำคณะลงพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี โดยมีการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างเกษตรกร ลานเท และโรงงานสกัดในพื้นที่ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม โดยขอให้โรงสกัดรับซื้อปาล์มน้ำมันที่เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 18% ภายใน 30 วันนับจากที่ได้ลงนามกัน เพื่อให้ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นต้นแบบในการเพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำมันจาก 17% เป็น 18% และให้ขยับเปอร์เซ็นต์ขึ้นอีกปีละ 1% ให้ได้ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่ดีขึ้น โดยหลังจากนี้มีแผนจะส่งเสริมให้เพิ่มเปอร์เซ็นต์น้ำมันในจังหวัดใกล้เคียงต่อไป เช่น กระบี่ ชุมพร เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการยกระดับคุณภาพมาตรฐานปาล์มน้ำมันของไทย ทำให้แข่งขันได้ดีขึ้น

พร้อมกันนี้ กระทรวงพาณิชย์จะหารือร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน เร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ จากปาล์มน้ำมัน เช่น วิตามินอีจากปาล์ม น้ำมันโอลีนฟิน สารเคมีสกัดจากปาล์มเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีรายใดผลิตได้ หากผลิตได้จะช่วยเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้ผลผลิตปาล์มได้มากขึ้น
ด้านนายพงศ์นรินทร์ วนสุวรรณกุล กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัทท่าฉางอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า นโยบายส่งเสริมให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงขึ้นเป็น 18% เป็นนโยบายที่ดี ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการได้ผลผลิตที่ดีขึ้น แต่ยังอาจจะทำได้ลำบาก เนื่องจากปัจจุบันไทยไม่ได้มีเครื่องวัดเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์ม

“ผลผลิตที่เกษตรกรตัดมาเป็นแบบคละ เมื่อตัดผลผลิตมาแล้วจำเป็นต้องขายเพื่อจะมีรายได้มาใช้จ่าย ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรับซื้อ เนื่องจากมีกฎระเบียบการซื้อ-ขายอยู่แล้ว ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องส่งเสริมและให้ความรู้เกษตรกรให้ผลิตปาล์มที่มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันตามเป้าหมายหากผลผลิตมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง ผู้ประกอบการพร้อมรับซื้ออยู่แล้ว

ส่วนที่จ.ตรัง เสนอให้สร้างแท็งก์เก็บน้ำมันปาล์มเพิ่มมองว่ายังไม่จำเป็นเพราะมีแท็งก์อยู่แล้ว หากสร้างเพิ่มก็ไม่คุ้มค่าการลงทุนหรือการดูแล พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง ประธานกรรมการองค์การคลังสินค้า (อคส.) เปิดเผยว่า กรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบให้ อคส.ซื้อสต๊อกปาล์ม 100,000 ตัน จากเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา งบประมาณดำเนินการ 3,000 ล้านบาท ในกรณีที่ราคาผลปาล์มต่ำกว่า กก.ละ 4.20 บาท

“จากการลงพื้นที่ถามความเห็นจากเกษตรกรมองว่าแม้ราคาผลปาล์มน้ำมัน (เปอร์เซ็นต์น้ำมัน17%) ปัจจุบันจะปรับลดลง เหลือกก.ละ 3.80-3.90 บาท แต่ไม่ต้องการให้มีการเข้าไปรับซื้อต้องการให้ช่วยเหลือผลักดันการส่งออกมากกว่า ซึ่งอคส.อยู่ระหว่างประสานประเทศที่สนใจนำเข้า เช่น จีน อินเดีย เป็นต้น และอยู่ระหว่างพิจารณาระดับราคากลางที่เหมาะสมจะเข้าไปดำเนินการรับซื้อ”

พร้อมกันนี้ อคส.กำลังศึกษาแนวทางพัฒนาและส่งเสริมให้โรงงานปาล์มน้ำมันหีบแบบรวมสกัดแห้ง (โรงเกรด B) พัฒนาให้เป็นโรงงานปาล์มน้ำมันแบบหีบทะลายสกัดเปียกด้วยไอน้ำ (โรง A) โดยการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ

“คลังกลาง” รับสภาพจ่ายค่าชดเชยส่วนต่างราคาข้าวผิดเกรดหลังรัฐบาลเมินไม่ตรวจสต๊อกข้าวซ้ำ แถมเร่งให้ผู้ชนะประมูลเดินหน้าขนข้าวออก เจ้าของคลังลั่น ขอต่อสู้คดีทางกฎหมาย “ทำความจริงให้สังคมรับรู้” TDRI ชี้ หากขายแยก “ข้าวดี-ข้าวเสื่อม” ต้องใช้เวลา 12 ปี รัฐแบกต้นทุนค่าเก็บรักษาอ่วม

ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” รายงานเข้ามาว่า เมื่อต้นสัปดาห์นี้ พล.ต.ท.ไกรบุญ ทรวดทรง ประธานกรรมการองค์การคลังสินค้า (อคส.) ประชุมร่วมกับ “เจ้าของคลัง” รับฝากเก็บข้าวจากโครงการรับจำนำปี 2554-2557 โดยมีเจ้าของคลังเข้าร่วมทั้งหมด 159 คลัง จากทั้งหมด 700 คลัง แบ่งเป็น เจ้าของคลังพื้นที่ 1 ภาคเหนือ จำนวน 35 ราย, พื้นที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 70 ราย, พื้นที่ 3 ภาคกลาง จำนวน 34 ราย และพื้นที่ 4 ภาคใต้ จำนวน 20 ราย เพื่อแก้ไขปัญหาค้างค่าใช้จ่ายให้กับเจ้าของคลังสินค้าที่รับฝากเก็บข้าวโครงการรับจำนำ

โดยการประชุมกับเจ้าของคลังครั้งนี้ อคส.ต้องการตรวจสอบ “ตัวเลขค่าเช่าคลังที่ อคส.ค้างชำระ” เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนในการชำระหนี้จะได้ถูกต้องรวดเร็ว แต่มีข้อสังเกตว่า เจ้าของคลังกลาง 8 คลัง ซึ่งร้องเรียนเรื่องการจัดเกรดข้าวของรัฐบาลไม่ตรงกับความเป็นจริง และเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาตรวจสอบคุณภาพข้าวซ้ำอีกครั้ง ได้แก่ คลังวรโชติ, คลังถาวรโชคชัย, คลังแสงไพฑูรย์ (2002), คลังธาราเจริญ (1993), คลังเจริญประภา, คลังกิจเจริญทรัพย์, คลังทรัพย์เอก และคลังเปรมศิริ ไม่ได้เข้าร่วมประชุมกับ อคส.ด้วย

ด้านแหล่งข่าวจากองค์การคลังสินค้าเปิดเผยว่า ในการประชุมครั้งนี้ อคส.มีเป้าหมายจะตรวจสอบตัวเลขเงินค้างชำระกับคลังกลาง กลุ่มที่ไม่ติดคดีก่อน ส่วนคลังที่ติดคดีต้องระงับค่าใช้จ่ายที่ค้างทั้งหมด ประกอบด้วย 1) ค่าเก็บฝาก 2) หลักทรัพย์วางค้ำประกัน (L/G) 3) ค่าตรวจสอบคุณภาพ และ 4) ค่าเรียงกอง ยกเว้นค่ารมยา โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้ อคส.จะต้องสรุปเสนอกระทรวงการคลัง ขออนุมัติงบประมาณก่อน เพราะมีผลต่อการรักษาคุณภาพข้าว จากปกติที่จะต้องจ่ายให้เจ้าของคลัง 3 เดือน อัตรา 50,000 บาทต่อคลัง

“เจ้าของคลังที่เข้าประชุมทั้งหมดเข้าใจตรงกันว่า ตัวเองไม่สามารถอ้างสิทธิว่า อคส.ติดหนี้คลังแล้วจะยึดหน่วงเหนี่ยวข้าวสารที่เป็นทรัพย์ของรัฐไป โดยไม่ให้ผู้ชนะประมูลในคลังนั้นรับมอบข้าวออกไปได้ เพราะหากเจ้าของคลังทำเช่นนั้นจะผิดสัญญากับ อคส.และถูกริบ L/G หากจะเรียกร้องความเสียหาย เจ้าของคลังต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย” แหล่งข่าวกล่าว

ด้าน น.ส.อิศราภรณ์ คงฉวี ผู้แทนเจ้าของคลังวรโชติ (หลัง 2) จังหวัดอ่างทอง กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงการร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เพื่อขอให้ระงับการขนย้ายข้าวในคลังของผู้ชนะประมูล และขอให้รัฐบาลตรวจสอบข้าวสารในคลังซ้ำอีกครั้ง เนื่องจากข้าวในคลังไม่ตรงกับเกรดข้าวที่คณะทำงานของรัฐบาลตรวจสอบ มีผลทำให้เจ้าของคลังต้องจ่ายเงิน “ชดเชย” ส่วนต่างราคาข้าวสาร หรือผลตรวจสอบข้าวดีกลับกลายเป็นข้าวเสีย

โดย น.ส.อิศราภรณ์กล่าวว่า การขอให้ระงับการขนย้ายข้าวในคลัง และขอให้มีการตรวจสอบเกรดข้าวใหม่นั้น “ไม่เป็นผล” โดยในวันนี้ (1 ส.ค.) ผู้ชนะการประมูลข้าวในคลังวรโชติ (หลัง 2) ได้มารับมอบข้าวออกจากคลังไปอย่างต่อเนื่อง หลังจากนี้ทางคลังวรโชติจะเตรียมข้อมูลเพื่อดำเนินการต่อสู้ทางคดี โดยเชื่อว่า “อย่างน้อยก็ทำให้สังคมได้รับรู้ความจริงของเรื่องที่เกิดขึ้น”

ด้าน รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ให้ความเห็นว่า การยื่นขอให้มีการตรวจสอบข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลใหม่นั้น “เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และมีผลกระทบหลายด้าน” เช่น กระบวนการตรวจสอบจะทำอย่างไร จะสุ่มตรวจหรือรื้อกองข้าว เพราะรัฐบาลขายไปเกือบหมดแล้ว และหากมีการตรวจสอบ ใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเหล่านั้น

อย่างไรก็ตามเห็นว่า ในช่วงแรกรัฐบาลได้พยายามที่จะดำเนินการตรวจสอบและคัดแยกกองข้าวในคลังเพื่อขายแล้ว ด้วยการทดลองทำไป 2 คลัง แต่ต้องยุติวิธีการดังกล่าวเพราะมีข้อจำกัดจากปริมาณสต๊อกข้าวจำนวนมหาศาล หากจะมีการคัดแยกกอง รัฐบาลจะมีค่าใช้จ่ายต่อกระสอบสูงมาก ประกอบกับภายในคลังไม่มีพื้นที่สำหรับแบ่งแยกข้าว และหากใช้เวลาแยกก็ยิ่งทำให้ต้องเก็บข้าวนานมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคุณภาพข้าว โดยตอนนั้นมีการคำนวณว่า หากขายแบบแบ่งแยกกอง รัฐบาลจะต้องใช้เวลานานถึง 12 ปีจึงจะหมด

“ตรงนี้ทำให้ต่อมารัฐบาลต้องปรับเปลี่ยนวิธี haveyoursayonline.net ทำให้ระบายข้าวได้เร็วขึ้น คาดว่ารัฐบาลจะมียอดขาดทุนเป็นไปตามกรอบที่กระทรวงการคลังปิดบัญชี เมื่อเดือนกันยายน 2559 ที่มูลค่า 607,000 ล้านบาท แต่หากระบายล่าช้าก็อาจจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่วนข้อโต้แย้งของคลังกลางเกี่ยวกับการจัดเกรดข้าวในขณะนี้ ผมมองว่า คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ควรดำเนินการหาทางออกที่เป็นทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเมื่อมีเรื่องร้องเรียนเกิดขึ้น ในช่วงนี้ก็จะต้องถูกโยงเป็นประเด็นทางการเมืองแน่นอน” รศ.ดร.นิพนธ์กล่าว

ใครอยากกินข้าวเกรด C

นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวชี้แจงการจัดเกรดข้าวในคลังที่มีข้อร้องเรียนเกิดขึ้นในขณะนี้ว่า การดำเนินการระบายข้าวเป็นไปตามมติ นบข. “เราไม่สามารถตรวจสอบข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลซ้ำใหม่ได้” เพราะรัฐบาลดำเนินการระบายข้าวไปแล้ว 16 ล้านตัน จากสต๊อกที่รับมา 18 ล้านตัน ซึ่งบรรจุในคลัง 1,733 คลังทั่วประเทศ ยืนยันว่าที่ผ่านมา รัฐบาลดำเนินการอย่างรอบคอบ รัดกุม มีมาตรฐานเดียวกัน มีคณะกรรมการ 3 ชุดในการตรวจสอบปริมาณและมาตรฐานก่อนกำหนดแนวทางการระบายเป็นรายกอง ในช่วงแรกแต่มีข้อจำกัดมาก เพราะมีค่าใช้จ่ายย้ายกอง เฉลี่ยกระสอบละ 12 บาท และการขายแต่ละครั้งต้องดูผังกองในคลังว่าขนย้ายอย่างไร ต้องดูทุกมิติ จึงได้ปรับวิธีระบายแบบยกคลัง และกำหนดให้กลุ่มข้าวเกรด C 20% ของข้าวทั้งหมดในคลังนั้น ให้ถือว่าเป็นข้าวสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่การบริโภคของคน อาหารสัตว์) แม้ว่าจะมีข้าวอีก 80% เป็นข้าวดีก็ตามเพราะหากนำมาขายเป็นข้าวเพื่อการบริโภคของคน อยากถามว่า “คนไทยกินมั้ยข้าวแบบนี้” ผู้ซื้อต่างประเทศจะกังวลไหม ซึ่งคิดว่า “คนไทยคงไม่กิน”

“การทำงานของรัฐเป็นงานมหึมา ขายข้าวในโครงการรับจำนำจะจบอยู่แล้ว เราใช้บรรทัดฐานเดียว ผู้ประกอบการ (เจ้าของคลัง)ที่คัดค้านสามารถไปต่อสู้ในทางคดีได้ แต่การขายก็ต้องขาย เพราะถ้าไม่ขายรัฐจะมีค่าเช่าคลังถึง 180 ล้านบาทต่อเดือนซึ่งลดลงจากช่วงแรก 18 ล้านตัน ที่มีค่าเช่าเดือนละ 1,500 ล้านบาท นบข.วางกรอบไว้ให้ระบายหมดภายใน 3 ปี” นางดวงพรกล่าว

พร้อมทั้ง ให้ อคส. และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) กำกับดูแลการขนย้ายข้าวของผู้ชนะประมูลเพื่อผลิตในอาหารสัตว์ไปใช้ผิดประเภท (ไปขายเป็นข้าวถุงเพื่อการบริโภค) ก็มีโทษทั้งริบหลักประกัน ดำเนินการตามกฎหมาย

เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ที่แปลงนา ฟาร์มนิสิตเกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อาจารย์ ดร.ปิยะณัฎฐ์ ผกามาศ รักษาการแทนรองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต เปิดโครงการ “สืบสานตำนานเกษตร ประจำปีการศึกษา 2560” มีนายชยุตา กรณ์วีรุฒม์ ประธานโครงการ รายงานว่า คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จัดโครงการ “สืบสานตำนานเกษตร ประจำปีการศึกษา 2560” มีคณาจารย์คณะเกษตร กำแพงแสน นิสิตชั้นปีที่ 1 จำนวน 473 คน และชั้นปีที่ 2-4 จำนวน 1,300 คน ร่วมประเพณีดำนา บนเนื้อที่ 22 ไร่ เพื่อให้นิสิตชั้นปีที่ 1 ได้เรียนรู้วิธีการดำนาอย่างถูกต้อง ตลอดจนความรู้พื้นฐานและทักษะเบื้องต้นในการปฏิบัติงานทางด้านการเกษตร เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคณาจารย์กับนิสิต และนิสิตรุ่นพี่กับรุ่นน้อง สร้างความภาคภูมิใจในการเป็นนิสิตคณะเกษตร กำแพงแสน

อาหารพื้นบ้านขึ้นชื่อของจ.สตูลต้องยกให้ “ข้าวมันแกงตอแมะ” ซึ่ง พัชรี เกิดพรม ผู้สื่อข่าว จ.สตูล แนะนำของ ร้านบังหมาด โรตีโบราณ ร้านอาหารมุสลิมเก่าแก่ คงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ในการปรุงอาหารแบบฉบับพื้นเมือง

แคทรียา นราจร อายุ 32 ปี ทายาทสูตรอาหารโบราณนี้ บอกว่า ทุกอย่างต้องทำอย่างพิถีพิถัน ตั้งแต่การเลือกซื้อปลา การทำเครื่องแกงสำหรับปรุงรส รวมทั้งข้าวสารที่ต้องมี 2 ชนิด ที่มาผสมปนกันไม่ให้ข้าวนิ่มหรือแข็งจนเกินไป