ส้มเขียวหวานสีทอง ที่บ้านแม่สิน ศรีสัชนาลัย จะเก็บผลผลิตได้

รุ่นที่ 1 ช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม สีผิวผลส้มจะออกสีน้ำตาล มีกระคล้ายส้มบางมด

รุ่นที่ 2 ช่วงเดือนมกราคม-เมษายน เป็นผลผลิตส้มที่มีรสชาติอร่อยที่สุด คือหวานจัด เป็นช่วงที่มีฝนน้อย สีผิวผลส้มสวยเป็นสีทองจากสภาพอากาศหนาวเย็น

รุ่นที่ 3 ช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน ผลผลิตส้มช่วงนี้ จะเก็บขายเป็นส้มคั้นน้ำ ผิวผลส้มจะมีสีเขียวปกติทั่วไป

ผลส้มเขียวหวานสีทอง จะถูกคัดด้วยเครื่องคัดแยกตามขนาดเป็นเบอร์ต่างๆ ดังนี้

เบอร์ 00 หรือเป็นผลส้มเบอร์ใหญ่สุด วัดขนาดผล 6-9 เซนติเมตร

เบอร์ 0 วัดขนาดผล 6-4 เซนติเมตร

เบอร์ 1 วัดขนาดผล 5-9 เซนติเมตร

เบอร์ 2 วัดขนาดผล 5-4 เซนติเมตร

เบอร์ 3 วัดขนาดผล 4-9 เซนติเมตร

เบอร์ 4 วัดขนาดผล 4-5 เซนติเมตร

เบอร์ 5 วัดขนาดผล 3.8 เซนติเมตร

ปริมาณการผลิตส้มเขียวหวานสีทองของสวนผู้ใหญ่สมพงษ์ ได้ปีละ 50 ตัน ผลผลิตจะออกสู่ตลาดช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม จำนวน 10 ตัน และช่วงเดือนมกราคม-เมษายน จำนวน 40 ตัน

หากรวบรวมผลผลิตส้มของสมาชิกกลุ่ม ได้ดังนี้

ช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม จำนวน 300 ตัน

ช่วงเดือนมกราคม-เมษายน จำนวน 500 ตัน

ช่วงเดือนพฤษภาคม-กันยายน จำนวน 200 ตัน

รวม 1,000 ตัน

เกษตรกรผู้ปลูกส้มเขียวหวานสีทอง อีกรายหนึ่งที่ผู้ใหญ่สมพงษ์นำผู้เขียนไปเยี่ยมชมสวนคือ สวนของ คุณธนากร น้อยเขียว อยู่บ้านเลขที่ 111 หมู่ที่ 7 บ้านผาคำ ตำบลแม่สิน ปลูกส้มเขียวหวานสีทอง จำนวน 29 ไร่ มีหลายแปลง แต่ละแปลงปลูกส้มเหลื่อมอายุกัน ผู้เขียนเห็นสวนส้มแห่งนี้แล้ว บอกได้ว่ามีคุณภาพจริงๆ ผลส้มที่กำลังรอเก็บมีขนาดใหญ่ ชนิดเบอร์ 00 เลยทีเดียว และยังมีผลส้มขนาดรองลงมาติดผลอยู่บนต้นอีกเป็นจำนวนมาก

สวนส้มของคุณธนากร เป็นสมาชิกแปลงใหญ่และได้รับใบรับรองมาตรฐาน GAP แล้ว แต่คุณธนากรเลือกที่จะปลูกส้มเขียวหวานสีทองไร้สาร “ผมใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดแต่เพียงอย่างเดียว 1 ปี ใส่ปุ๋ย 3 ครั้ง สารเคมีกำจัดโรคและแมลงไม่ได้ใช้เลย มีแมลงรบกวนบ้าง ตั้งใจจะนำน้ำหมักสมุนไพรมาฉีดพ่น เป็นการป้องกันไว้ก่อน ส่วนหญ้านั้นใช้วิธีตัด”

การจัดการบริเวณสวนส้มของคุณธนากรดูแล้วสะอาดเรียบร้อยดีมาก สอบถามได้ความว่าใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดูแล ตรวจแปลง ดูการเติบโตของผลส้ม สวนส้ม 29 ไร่ ปฏิบัติงานกันเพียง 2 คน สามี-ภรรยา เท่านั้น

ตอนนี้ ท่านจะเห็นข้อมูลตัวเลขที่แตกต่างกันกับที่เสนอภาพรวมตอนต้นเรื่อง ว่าพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวานสีทองศรีสัชนาลัยของทั้งจังหวัดสุโขทัย มีจำนวน 22,592 ไร่ (ตัวเลขนี้เฉพาะเกษตรกรที่มีโฉนด) แต่ทั้งอำเภอศรีสัชนาลัย มีพื้นที่เพาะปลูกส้ม ประมาณ 40,000 ไร่ แม้จะยังไม่มีการสำรวจอย่างจริงจัง เรื่องนี้ผู้ใหญ่สมพงษ์ อธิบายว่า ส้มเขียวหวานสีทองบ้านแม่สิน และทั่วทั้งอำเภอศรีสัชนาลัย ปลูกกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ รุ่นย่า จนมาถึงรุ่นหลาน ประมาณ 65 ปี ล่วงมาแล้ว เกษตรกรรุ่นปัจจุบันจึงเป็นเกษตรกรตัวจริง ไม่มีเกษตรกรนายทุน เพราะมีการปลูกส้มเขียวหวานกัน 5 ไร่ 10 ไร่ ถึง 30 ไร่ เท่านั้น แต่มีสวนส้มของเกษตรกรจำนวนหนึ่ง ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ ทั้งๆ ที่แปลงปลูกเป็นพื้นที่ราบหรือเนินเตี้ยๆ ตรงนี้เป็นปัญหาหนักใจแก่เกษตรกรเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลให้เกษตรกรไม่ได้รับสิทธิ์ และได้รับการปฏิเสธจากภาครัฐในหลายประการ ได้แก่

ไม่ได้รับใบรับรองมาตรฐานการผลิต GAP แม้เกษตรกรรายนั้นจะผลิตส้มเขียวหวานด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ก็ตาม
เมื่อไม่มีเอกสารสิทธิ ก็ไม่สามารถนำที่ดินไปค้ำประกันเงินกู้กับสถาบันการเงิน เพื่อนำมาทำทุนได้ ต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีการอื่น เช่น เงินกู้นอกระบบ เป็นต้น
ไม่ได้รับความช่วยเหลือ กรณีสวนส้มนั้นได้รับภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ขาดโอกาสในการขอให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องแหล่งน้ำก็ไม่ได้รับ เช่น จะขอให้สร้างฝายกั้นน้ำ กรมป่าไม้ก็ไม่อนุญาต หรือจะขอให้ขุดสระน้ำ สถานีพัฒนาที่ดิน ก็ไม่สามารถดำเนินการให้ได้ เพราะที่ดินนั้นไม่มีเอกสารสิทธิ เป็นต้น
เกษตรกรตั้งใจจะเสียภาษีให้แก่รัฐผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เหมือนที่เคยจ่าย แต่ปัจจุบันได้รับการปฏิเสธที่จะรับ เพราะที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ

ปัญหาดังกล่าว ยังไม่ได้รับการดูแลจากภาครัฐ แต่เกษตรกรก็ยังตั้งใจรอ รอว่าเมื่อไรรัฐบาลจะมาดำเนินการสำรวจ รังวัด ทำแผนที่ เพื่อออกโฉนดที่ดินให้ จะส่งผลต่อความมั่นใจในอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง แม้ชื่อเสียงด้านการผลิตส้มเขียวหวานสีทองแม่สิน ศรีสัชนาลัย จะเป็นที่รู้จักในวงกว้าง แต่ยังขาดความสมบูรณ์ในด้านกรรมสิทธิ์ที่ดินทำกิน

ช่วงไม่กี่ปีมานี้ ผู้คนทั่วโลก ไม่ว่าจะอยู่ในทวีปใดต่างหันมากินแมลงกันมากขึ้น เพราะมีงานวิจัยระบุชัดเจนว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีและราคาถูก ซึ่งทางองค์การสหประชาชาติเองก็ส่งเสริมให้กินกัน สำหรับประเทศไทย แมลงที่นิยมนำมาทอดกินมี 7 ชนิด อาทิ ดักแด้หนอนไหม ตั๊กแตน หนอนไม้ไผ่ แมงดานา แมลงกระชอน จิ้งโกร่ง และจิ้งหรีด

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนใบหม่อน ฟาร์ม ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ที่มี คุณพรพรรณ พรรณราย อายุ 30 ปี เป็นประธาน เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มองเห็นช่องทางการตลาดอันสดใสของธุรกิจแมลง จึงได้ลงทุนเลี้ยงจิ้งหรีดและนำมาแปรรูป เพื่อให้ครบวงจรทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

คุณพรพรรณ เล่าว่า ปี 2560 ได้ทำธุรกิจส่วนตัว นั่นคือ การผลิตและแปรรูปจิ้งหรีดทองแดง ชื่อแบรนด์คือ เฟิร์สคลาส (First Class) แมลงอบกรอบ ในนามกลุ่มวิสาหกิจชุมชนใบหม่อน ฟาร์ม ซึ่งมีสมาชิก 7 คน และมีลูกฟาร์มอีก 20 ราย

สาเหตุที่มาทำธุรกิจแมลง เธอแจกแจงว่า จุดเริ่มต้นจากคุณพ่อนำจิ้งหรีดมาเลี้ยง 2 กรง ประกอบกับทางครอบครัวชอบกินแมลงกันอยู่แล้วด้วย และได้สืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตพบว่า จิ้งหรีด จัดอยู่ในแมลงเศรษฐกิจที่สามารถส่งออกได้ โดยมีการจัดอบรมร่วมกันระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) และผู้แทนจากสหภาพยุโรป ได้มีการกำหนดมาตรฐานฟาร์ม (GAP) และพัฒนาคุณภาพแมลงให้มีการยอมรับเป็นสินค้าอาหารที่กำลังนิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ราคาถูก ต้นทุนต่ำ

จึงจัดตั้งกลุ่ม ชื่อว่าวิสาหกิจชุมชนใบหม่อน ฟาร์ม ส่งเสริมให้เกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังหันมาทดลองเลี้ยงจิ้งหรีด โดยใช้ใบมันสำปะหลังเป็นอาหารเสริม เพื่อลดต้นทุน

แรกเริ่มนั้นทางกลุ่มจะจัดอบรมเกษตรกรที่สนใจ พร้อมให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับสายพันธุ์จิ้งหรีด ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงการดูแล วิธีการลดต้นทุนด้านอาหาร โดยกลุ่มจะเป็นผู้รับซื้อจิ้งหรีดจากผู้ผ่านการอบรมจากกลุ่มทั้งหมด

ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนใบหม่อน ฟาร์ม อธิบายว่า จิ้งหรีดมี 3 สายพันธุ์ ด้วยกัน คือ จิ้งหรีดทองแดง (Teleogryllus mitratus) เป็นจิ้งหรีดขนาดใหญ่ ลำตัวจะมีสีน้ำตาล จะมีขาหลังค่อนข้างใหญ่และแข็งแรง ใช้กระโดดได้ไกล ขาคู่หน้ามีขนาดเล็ก ใช้สำหรับเดินและเขี่ยอาหาร มีหนวดยาว 2 เส้น ชอบอากาศเย็น หากินเวลากลางคืน มีนิสัยดุร้าย ดังนั้น จึงไม่นิยมเลี้ยงในปริมาณมากในบ่อเดียวกัน เพราะจะทำให้กัดกันตาย ใช้เวลาเลี้ยง 60-70 วัน จุดเด่นของพันธุ์นี้ จะตัวใหญ่กินอร่อย เนื้อหอมหวาน

ส่วน จิ้งหรีดทองดำ (Gryllus bimaculatus) เป็นจิ้งหรีดขนาดกลาง ลำตัวมีสีดำหรือสีน้ำตาลปนดำ ขาคู่หลังแข็งแรง ใช้สำหรับกระโดด ขาคู่หน้ามีขนาดเล็ก ใช้สำหรับเดินและเขี่ยอาหาร มีหนวดยาว 2 เส้น ชอบอากาศร้อนชื้น นิสัยไม่ดุร้ายและไม่กัดกัน หากินเวลากลางคืน ใช้เวลาเลี้ยง 30-40 วัน จุดเด่นคือ เลี้ยงง่าย เป็นที่นิยมมากในตลาด

อีกพันธุ์คือ จิ้งหรีดบ้าน (สะดิ้ง), (Acheta domestica) เป็นจิ้งหรีดขนาดเล็ก ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน ขาคู่หลังจะเล็ก แต่ใหญ่กว่าขาคู่หน้า มีหนวดยาว 2 เส้น ชอบอากาศร้อนชื้น ไม่ชอบบิน สามารถเลี้ยงได้ในปริมาณมากๆ ในบ่อเดียวกัน เนื่องจากนิสัยไม่ดุร้าย ระยะเวลาเลี้ยง 40-45 วัน จุดเด่น อยู่ที่การเลี้ยงง่ายและอดทน

ทั้งนี้ ราคารับซื้อจิ้งหรีดแต่ละสายพันธุ์จะแตกต่างกัน จิ้งหรีดทองแดง ราคาส่งอยู่ที่ 120-170 บาท ต่อกิโลกรัม จิ้งหรีดทองดำ ราคาส่ง 70-90 บาท และจิ้งหรีดบ้าน ราคาส่ง 70-90 บาท โดยช่วงหน้าฝนและหน้าหนาวราคาจะแพงกว่าปกติ

สำหรับการเลี้ยงจิ้งหรีดทางกลุ่มเลี้ยงแบบธรรมชาติ เน้นการให้พืชผักใบไม้ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ และระบบการให้น้ำแบบน้ำค้างบนใบหญ้า คือให้น้ำโดยระบบฉีดน้ำด้วยเครื่องแรงดันเป็นละอองน้ำ โดยให้ช่วงเช้ากับเย็น ในส่วนฟาร์มที่เลี้ยง ใช้ในพื้นที่ 300 ตารางวา ขณะที่สมาชิกแต่ละรายใช้พื้นที่เลี้ยงโดยประมาณ อยู่ที่คนละ 100 ตารางวา

พันธุ์ทองแดง เลี้ยงยากที่สุด

หากเปรียบเทียบการเลี้ยงจิ้งหรีด 3 สายพันธุ์ ดังล่าว คุณพรพรรณ ให้ข้อมูลว่า พันธุ์ทองแดงเลี้ยงยากที่สุด และถือเป็นผลิตภัณฑ์เด่น เนื่องจากมีรสชาติอร่อย และเป็นจิ้งหรีดที่ตัวใหญ่ ไม่ชอบอากาศร้อนจัด เย็นจัด ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิที่ดี ไม่ให้เกิน 33 องศาเซลเซียส และไม่ต่ำกว่า 22 องศาเซลเซียส ใช้เวลาเลี้ยง 50-60 วัน และการให้น้ำก็ต้องไม่ให้แบบใส่ภาชนะ ต้องมีผักหญ้าใบไม้ประกอบในการเลี้ยงด้วย เพราะต้องทำให้จิ้งหรีดที่มีอยู่จำนวนมากไม่กัดกันจนตายหมด ที่สำคัญอาหารจิ้งหรีดมีรสชาติเค็ม จึงต้องให้กินผักช่วยในการลดความเค็มของอาหาร

ผลิตภัณฑ์ของเฟิร์สคลาสแมลงอบกรอบ มีหลากหลายแบบ อาทิ ตัวสดแช่แข็ง ถุงละ 1 กิโลกรัม ตัวสดแช่แข็งขายปลีก จิ้งหรีดทองแดง กิโลกรัมละ 200 บาท ราคาส่ง 150-170 บาท จิ้งหรีดทองดำ กิโลกรัมละ 120 บาท ราคาส่ง 90-100 บาท และจิ้งหรีดบ้านหรือสะดิ้ง กิโลกรัมละ 120 บาท ราคาส่ง 90-100 บาท นอกจากนี้ ยังมีจิ้งหรีดอบกรอบปรุงรส รสบาร์บีคิว, รสต้มยำ, รสสมุนไพร โดยรสต้มยำขายดีที่สุด ซึ่งกลุ่มลูกค้ามีทั้งพ่อค้าแม่ค้าที่ทอดขายตามตลาด พ่อค้าแม่ค้าคนกลางจากตลาดไท กรุงเทพฯ ระยอง เชียงใหม่

คาด 1 ปี คืนทุนได้แน่นอน

นอกจากนี้ เฟิร์สคลาสแมลงอบกรอบ ยังมีจุดเด่นในส่วนที่เป็นจิ้งหรีดสายพันธุ์ใหม่ที่ตัวใหญ่ มีรสชาติที่หวานมันและนิ่ม อร่อยกว่าจิ้งหรีดทั่วไป ซึ่งผ่านการเลี้ยงโดยระบบธรรมชาติ คือการเลี้ยงปลอดสารพิษและปลอดสารเคมีต่างๆ จิ้งหรีดของฟาร์มและลูกฟาร์มจะกินพืชผักผลไม้ที่หาให้ ทำให้มีรสชาติที่อร่อยกว่าการเลี้ยงด้วยอาหารล้วนๆ เช่น ฟักทอง มะละกอ กล้วยน้ำหว้า กล้วยหอม ใบหม่อน ผักบุ้ง ใบมันสำปะหลัง และพืชผักปลอดสาร ทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าปลอดภัยในการบริโภคแมลงเพื่อสุขภาพ

ในการเลี้ยงจิ้งหรีดและแปรรูปนั้น เธอเล่าว่า เจอปัญญาอุปสรรคของการทำตลาด รวมทั้งการผลิต เนื่องจากขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะจิ้งหรีดทองแดง ซึ่งเลี้ยงและดูแลค่อนข้างยาก อีกทั้งใช้เวลาเลี้ยงนานกว่าจิ้งหรีดทั่วไป 1 เท่าตัว ทำให้บางช่วงมีจิ้งหรีดทองแดงไม่เพียงพอต่อการแปรรูป

คุณพรพรรณ บอกว่า ที่ผ่านมาลงทุนสร้างโรงเรือนในการเลี้ยงและอาคารในการแปรรูปพร้อมอุปกรณ์การผลิต 2,500,000 บาท โดยตั้งเป้าว่า จะคืนทุนภายในไม่เกิน 1 ปีแน่นอน ปัจจุบัน ผลผลิตของฟาร์มต่อเดือน อยู่ที่ 1 ตัน ฟาร์มมีกำลังผลิต 1,200 กิโลกรัม ต่อรอบ นอกนั้นรับซื้อของลูกฟาร์ม ส่วนการแปรรูปต่อวัน อยู่ที่ 60 กิโลกรัม

ขั้นตอนการเตรียมเลี้ยง

ต้องมีสถานที่หรือโรงเรือนสำหรับเลี้ยง หรือมีหลังคาป้องกันแดดและฝน หรือป้องกันเชื้อโรคต่างๆ
ปรับพื้นที่ที่กำจัดมดและศัตรู เช่น มด จิ้งจก แมงมุม ฯลฯ
ติดแผ่นเทปกาวบนขอบบ่อ เพื่อป้องกันจิ้งหรีดหนีออกจากบ่อ
หาพันธุ์จิ้งหรีด โดยหาซื้อได้จากการคัดเลือก พ่อ-แม่พันธุ์ ที่ตัวโต แข็งแรง โดยสามารถจัดซื้อจากฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีด
อาหารจิ้งหรีด
แผงไข่
ตาข่ายเขียว สำหรับคลุมบ่อเพื่อป้องกันจิ้งจก แมงมุม เข้าไปกินจิ้งหรีด
คลิปหนีบผ้า

ขั้นตอนการเลี้ยง

ใส่วัสดุรองพื้น เช่น ดิน แกลบ รองก้นบ่อ
การอนุบาลจิ้งหรีดเกิดใหม่ นำไข่จิ้งหรีดใส่ไว้ในกรงที่เรียงแผงไข่เรียบร้อยแล้ว จิ้งหรีดจะฟักจากไข่ ประมาณ 7-10 วัน เมื่อฟักออกมาเป็นตัวเล็กๆ ดำๆ ก็โรยอาหารให้ทั่วกรง หรือนำอาหารใส่ถาดวางให้ทั่วกรง แล้วใส่ใบไม้ เช่น ใบกล้วย ใบมะละกอ ใบมันสำปะหลัง ฉีดพ่นน้ำบริเวณใบไม้ จิ้งหรีดจะไปเกาะกินน้ำที่ค้างอยู่
เมื่อจิ้งหรีดอายุครบก็รองไข่เพื่อให้ได้ไข่ไว้ในการเลี้ยงรุ่นต่อไป โดยใน 1 ปี สามารถเลี้ยงได้ 6 รอบ

ขั้นตอนการวางไข่

เตรียมดินหรือขุยมะพร้าว ชุบน้ำให้ชื้นพอประมาณแล้วนำใส่ภาชนะหรือขันอาบน้ำ แล้วเอาไปวางในกรงจิ้งหรีดที่พร้อมวางไข่หลังจากผสมพันธุ์ 2-3 วัน ตัวเมียจะเริ่มวางไข่ โดยวางไข่ไว้ใต้ดินที่มีความชื้น ดินมีความร่วนซุย โดยใช้อวัยวะวางไข่ลักษณะเรียวแหลมคล้ายเข็ม แทงลงในดิน ตัวเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้มากกว่า 1,000 ฟอง

ไข่จะฟักเป็นตัวหลังจากวางไข่ได้ประมาณ 7-10 วัน ทิ้งขันวางไข่ไว้ 1 วัน แล้วนำออกจากกรงจิ้งหรีด โครงการข้าวหอมมะลิประชารัฐ เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ เทสโก้ โลตัส ในการสนับสนุนให้ห้างโมเดิร์นเทรดเข้ามารับซื้อข้าวหอมมะลิแท้ 100% โดยตรงจากสหกรณ์การเกษตรใน 4 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี, สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส. จังหวัดสุรินทร์, สหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด และสหกรณ์การเกษตรกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ซึ่งตั้งเป้าหมายว่าในระยะเวลา 1 ปีแรก จะรับซื้อข้าวหอมมะลิในปริมาณ 5,700 ตัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งความสำเร็จที่ภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐและประชาชน และนำนโยบายประชารัฐมาขับเคลื่อนให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม และเติมเต็มให้เกิดความสมบูรณ์ของห่วงโซ่การผลิต ทำให้สินค้าเกษตรและสินค้าจากชุมชนได้กระจายไปถึงมือผู้บริโภคอย่างทั่วถึง และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับเกษตรกรได้อย่างมั่นคง

พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงซื้อขายข้าวหอมมะลิแท้ 100% ระหว่าง เทสโก้ โลตัส และสหกรณ์ผู้ผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพดี 4 แห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้โครงการ “ข้าวหอมมะลิประชารัฐ” พร้อมเปิดเผยว่า จากนโยบายประชารัฐที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมการประสานพลังระหว่าง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนให้มากยิ่งขึ้นนั้น ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ดำเนินตามนโยบายประชารัฐมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรซึ่งเป็นประชากรกลุ่มหลักของประเทศได้อยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืน และได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาการเกษตรไทยสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 คือยกระดับการผลิตตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การวางแผน การเพาะปลูก การนำวิทยาการที่ทันสมัยมาพัฒนาคุณภาพสินค้า การควบคุมความปลอดภัยของสินค้าเกษตร ตลอดจนการหาตลาดที่มั่นคงเพื่อรองรับผลผลิต ที่จะออกสู่ท้องตลาดตลอดทุกช่วงฤดูกาล

คุณสมพงษ์ รุ่งนิรัติศัย ประธานกรรมการบริหารฝ่ายการพาณิชย์ เทสโก้ โลตัส กล่าวว่า เทสโก้ โลตัส มุ่งมั่นที่จะสร้างรายได้ที่เป็นธรรมและมั่นคงให้กับเกษตรกรไทย ผ่านการรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรโดยตรง สร้างช่องทางการตลาดให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงลูกค้าทั่วประเทศผ่านร้านค้าของเทสโก้ โลตัส กว่า 1,900 สาขา ปัจจุบันกว่าร้อยละ 90 ของสินค้าประเภทอาหารสดที่จำหน่ายในเทสโก้ โลตัส มาจากการรับซื้อจากเกษตรกรโดยตรงโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรทั่วประเทศแล้ว ยังทำให้เทสโก้ โลตัส สามารถทำงานอย่างใกล้ชิดกับเกษตรกรในการควบคุมมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า อันก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภค

สำหรับการสนับสนุนเกษตรกรนั้น เทสโก้ โลตัส ได้ดำเนินการตามแนวทางประชารัฐ โดยได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร เพื่อให้การเพาะปลูกมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนแก่เกษตรกร และได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ จำหน่ายได้ราคาที่เป็นธรรม โดยในปี 2559 เทสโก้ โลตัส ได้ริเริ่มโครงการประชารัฐ ถึง 22 โครงการ ซึ่งสร้างรายได้ที่มั่นคงแก่เกษตรกร และล่าสุดในปีนี้ได้ดำเนินโครงการ ข้าวหอมมะลิประชารัฐ เพื่อช่วยเหลือชาวนาไทย นอกจากนี้ เทสโก้ โลตัส ยังมีบทบาทช่วยในการวางแผนการเพาะปลูกมีประสิทธิภาพ บริหารต้นทุนได้ดี และเทสโก้ โลตัส ยังได้มอบความรู้แก่เกษตรกรด้านคุณภาพสินค้า การบรรจุสินค้า และการตลาด เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ซึ่งสอดคล้องกับนโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 อีกด้วย

ทั้งนี้ เทสโก้ โลตัส จะได้คัดเลือกข้าวหอมมะลิ 100% คุณภาพสูงจากแหล่งเพาะปลูกชั้นเลิศในภาคอีสาน 4 แหล่ง มาบรรจุเป็นข้าวหอมมะลิ ตราเทสโก้ ขนาด 5 กิโลกรัม เพื่อวางจำหน่ายในร้านค้าของเทสโก้ โลตัส ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป ในราคาปกติถุงละ 189 บาท

เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ

ข้าวไทยมีหลายสายพันธุ์ ผมมีความสนใจอยากปลูกข้าวเหนียวไว้บริโภคและเพื่อจำหน่าย บางส่วนมีเพื่อนที่รู้จักกันบอกว่า ข้าวเหนียวพันธุ์ กข 10 เป็นข้าวที่มีคุณภาพดี ผมมีความสนใจข้าวพันธุ์ดังกล่าว แต่ยังขาดข้อมูลรายละเอีดดว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร ผมจึงส่งคำถามมาสอบถามคุณหมอเกษตรช่วยให้คำแนะนำด้วยครับ

ตอบ คุณสุรวิทย์ บรรชามีสุข

ข้าวพันธุ์ กข 10 ก่อนอื่นผมขออนุญาตอธิบายของพันธุ์ข้าวตระกูล กข ก่อนเป็นอันดับแรก กข ย่อมาจาก กรมการข้าว ส่วนเลขคู่หมายถึงข้าวเหนียว และเลขคี่หมายถึงข้าวเจ้า ดังนั้น ข้าว กข 10 คือพันธุ์ข้าวที่กรมการข้าวพัฒนาข้าวเหนียวมาเป็นพันธุ์ที่ 5 แต่ความเป็นจริงแล้วกรมการข้าวพัฒนาพันธุ์ข้าวมามากกว่าจำนวนตัวเลขดังกล่าว ด้วยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา มีการจัดระบบการตั้งชื่อตามสถานที่ปรับปรุงพันธุ์เป็นผลสำเร็จ เช่น ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 นั่นคือ พันธุ์ข้าวที่มีการพัฒนาพันธุ์จนประสบความสำเร็จ ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ข้าวพันธุ์ กข 10 มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 660 กิโลกรัม เมล็ดยาว ไม่ร่วงง่าย คุณภาพหุงต้มอ่อนนุ่ม ใกล้เคียงกับข้าวเหนียวพันธุ์สันป่าตอง

ประการสำคัญยังเป็นข้าวประเภทไม่ไวแสง หรือไม่ตอบสนองต่อช่วงแสง หมายความว่าจะปลูกในฤดูใดก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ภายใน 130 วัน หรือเรียกง่ายๆ ว่าข้าวพันธุ์อายุ ข้าวพันธุ์นี้มีความสูงเฉลี่ย 115 เซนติเมตร ทรงต้นตั้งตรง มีใบสีเขียวเข้ม ใบค่อนข้างกว้าง ประมาณ 2.3 มิลลิเมตร ยาว 7.6 มิลลิเมตร และหนา 1.8 มิลลิเมตร น้ำหนัก 1,000 เมล็ด เฉลี่ย 30.25 กรัม แหล่งปลูกที่เหมาะสมกับข้าวพันธุ์ กข 10 อยู่ที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้อควรระวัง ข้าวพันธุ์ กข 10 ไม่ต้านทานต่อโรคไหม้ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลและแมลงมั่ว

อย่างไรก็ตาม การจะปลูกข้าวพันธุ์ใดๆ สมัครคาสิโนออนไลน์ ให้ได้ผลดีนั้น ต้องเตรียมเมล็ดปลูกที่มีคุณภาพดี คือการได้มาของเมล็ดพันธุ์ ต้องเชื่อถือได้ ไม่มีการปนเปื้อนจากเมล็ดข้าวแดงหรือข้าววัชพืช แหล่งจำหน่ายพันธุ์ ต้องมีการขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ถุงที่ใช้บรรจุเมล็ดพันธุ์ต้องระบุชื่อที่อยู่ของบริษัทผู้ผลิตผู้จำหน่ายอย่างชัดเจน การผนึกปากถุงต้องเรียบร้อย สถานที่เก็บเมล็ดพันธุ์ต้องสะอาด ไม่มีนก หนู และศัตรูอื่นๆ เข้ามารบกวนได้ มีแผ่นไม้รองกระสอบบรรจุเมล็ดพันธุ์ ไม่ควรวางลงที่พื้นซีเมนต์ ให้อากาศถ่ายเทได้ดี ก่อนนำไปปลูกต้องมีความงอกไม่น้อยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ทำได้โดยนำเมล็ดข้าวเปลือก จำนวน 100 เมล็ด มาเพาะความงอกด้วยวิธีหุ้มด้วยผ้าขาวบางที่ชุบน้ำพอชุ่ม เก็บในที่ร่มครบ 2 คืน จึงนำออกมานับ ถ้าเมล็ดงอกอย่างสมบูรณ์ 80 เมล็ด นี่คือความงอก 80 เปอร์เซ็นต์

ดังนั้น การเตรียมเมล็ดพันธุ์ที่ดี นับว่าประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง นักวิจัยไทยสุดยอด ใช้เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน วิจัยพบ “เห็ดเยื่อไผ่” สุดมหัศจรรย์! อุดมไปด้วยสารมีคุณประโยชน์สูงทุกส่วนประกอบ ทั้งสารต้านอนุมูลอิสระยับยั้งมะเร็ง ป้องกันโรคสมองเสื่อม มีฤทธิ์ต่อต้านการอักเสบ ช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพ ลดริ้วรอย และเร่งผลิตเซลล์ผิวใหม่ อีกทั้งพบสารสำคัญที่สามารถนำมาผลิตยาโด๊ปขนานเอกได้ เผยเร่งต่อยอดงานวิจัยผลิตอาหารเสริมและเวชสำอาง พร้อมส่งเสริมเกษตรกรเพาะเห็ดเยื่อไผ่ คาด 1 ปี คนไทยได้ใช้แน่

ดร.วรวิกัลยา เกียรติ์พงษ์ลาภ นักวิทยาศาสตร์ สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ร่วมกับสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จ.นครราชสีมา มี ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา หัวหน้าโครงการวิจัยต้นแบบการผลิตเห็ดเยื่อไผ่ในสวนไผ่ครบวงจร ภายใต้ทุนสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ทำการศึกษาองค์ประกอบและสารสำคัญของเห็ดเยื่อไผ่สายพันธุ์กระโปรงยาวสีขาว เพื่อนำความรู้จากงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ด้านต่างๆ