ส้มโอที่ปลูกมากคือ พันธุ์ทองดี จำนวนกว่า 40 ไร่ รองลงมา

เป็นขาวน้ำผึ้งราวแล้วล่าสุดทดลองปลูกพันธุ์ทับทิมสยาม โดยผลผลิตส้มโอทองดีจะขายให้แก่บริษัทที่รับซื้อเพื่อส่งไปต่างประเทศ ส่วนขาวน้ำผึ้งจะส่งขายในตลาดภายในประเทศทั้งปลีกและส่ง

ต้นพันธุ์ส้มโอที่ปลูกมาจากการตอนกิ่ง ซึ่งขั้นตอนการปลูกจะต้องเตรียมดินด้วยการไถพรวนแล้วปรับปรุงคุณภาพดิน ขุดหลุมปลูกขนาดไม่ใหญ่ แล้วนำต้นพันธุ์ลงปลูก ทั้งนี้ ถ้าพื้นที่มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มควรจะต้องทำแปลงปลูกแบบยกโคก แต่ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องน้ำสามารถปลูกแบบพื้นราบได้ ระยะปลูกขึ้นอยู่กับขนาดมาก-น้อยในแต่ละแปลง ถ้าแปลงใดมีพื้นที่ไม่มากจะกำหนดระยะปลูก 6 คูณ 6 เมตร แต่ถ้ามีพื้นที่มากอาจกำหนดระยะปลูก 7 คูณ 7 เมตร หรือ 8 คูณ 8 เมตร เมื่อปลูกแล้วให้วางระบบการให้น้ำ ทั้งนี้ พื้นที่ปลูกส้มโอของคุณนิกรมีทั้งสองแบบ

หลังจากเก็บผลผลิตรุ่นสุดท้ายหมดราวเดือนตุลาคม จะเริ่มดูแลต้นส้มโอด้วยการตัดกิ่งและใบที่ไม่สมบูรณ์ออกเท่านั้น แต่ไม่ได้ตัดออกมากเหมือนกับการตัดแต่งทรงพุ่ม ทั้งนี้ เพราะคุณนิกรต้องการให้ได้ผลผลิตมากในรุ่นต่อไป จากนั้นใส่ปุ๋ยคอก ถ้าเป็นปุ๋ยขี้ไก่แกลบใส่ประมาณ 50 กิโลกรัม ต่อต้น ถ้าเป็นปุ๋ยขี้วัวใส่ประมาณ 3 กระสอบ ต่อต้น ส่วนปุ๋ยสูตรที่ใช้มักใส่เป็นสูตรเสมอ อย่าง 15-15-15 หรือ 16-16-16 โดยจะใส่เป็นประจำเฉลี่ยปีละประมาณ 15-20 กิโลกรัม ต่อต้น

“ปุ๋ยสูตรเสมอใส่ไปจนถึงเดือนกันยายนหรือหมดฝนก็จะหยุดใส่ แล้วปล่อยต้นแห้งเหี่ยวเฉา จากนั้นจึงเริ่มให้น้ำเพื่อให้ใบอ่อนแตก แล้วจึงค่อยใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 เพื่อช่วยในการเร่งออกดอก แล้วบำรุงดอก แล้วยังชี้ว่าปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่นำมาใส่ล้วนเสริมสร้างความสมบูรณ์ของต้น ใบ และดอก ทั้งยังช่วยให้คุณภาพผลผลิตส้มโอมีเนื้อแน่น ไม่แฉะ หวาน หอม รวมถึงยังมีขนาดใหญ่”

เจ้าของสวนส้มโอชี้ว่า อายุต้นส้มโอจะยาวนานแค่ไหนขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ลักษณะดินและสิ่งแวดล้อมในแต่ละพื้นที่เป็นตัวกำหนด ทั้งนี้ หากพื้นที่แห่งใดที่มีชั้นใต้ดินเป็นหินหรือลูกรังจะทำให้ต้นส้มโอที่ชอบลักษณะแบบนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีแล้วมีอายุยาวนานสามารถให้ผลผลิตที่มีความสมบูรณ์ต่อเนื่อง ในทางตรงกันข้าม ถ้าเจอสภาพดินที่ลุ่มชื้นแฉะอายุต้นก็ไม่นาน อาจได้ผลผลิตสูงในช่วงแรก จากนั้นผลผลิตจะค่อยลดลง เพราะเจอโรคต่างๆ สำหรับสวนส้มโอของคุณนิกรมีลักษณะพื้นที่ทั้งสองแบบ

“ทางด้านโรค/แมลง ในช่วงที่เริ่มปลูกส้มโอยังไม่ค่อยพบ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะยังใหม่อยู่ การสะสมเชื้อโรค หรือการเกิดศัตรูยังไม่ปรากฏมากนัก จนเมื่อปลูกได้หลายปี หรือมาในระยะหลังนี้มักพบบ่อยโดยเฉพาะพวกเพลี้ยหอยที่เข้ามาทำลายต้น หรือเชื้อโรคที่เกิดจากในดินเพราะดินมีความชื้นสูง สำหรับแมลงศัตรูมีน้อย เพราะที่ผ่านมามักใช้สารอินทรีย์ฉีดป้องกัน ซึ่งถ้าเป็นพื้นที่ประสบปัญหาดังกล่าวอาจต้องรื้อเพื่อปรับปรุงดินแล้วปลูกใหม่”

คุณนิกร บอกว่า ผลผลิตส้มโอหลังจากเก็บชุดแรกแล้ว จะเริ่มทยอยมีผลผลิตออกมาเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงประมาณปลายเดือนตุลาคม ซึ่งจะเป็นชุดสุดท้าย ทั้งนี้ ผลผลิตส้มโอทองดีทุกรุ่นจะส่งเข้าบริษัทที่รับซื้อเพื่อส่งไปขายต่างประเทศ โดยต้องเก็บก่อนแก่

ส่วนผลผลิตขาวน้ำผึ้งที่ขายตลาดในบ้านเรายังไม่เก็บจะรอจนกว่าแก่จัดคาต้นจึงจะเก็บขาย ทั้งนี้ ผลผลิตที่เก็บในแต่ละรุ่นมีจำนวนมาก-น้อยต่างกัน โดยผลผลิตรุ่นแรกๆ จะมีมากประมาณ 3-4 หมื่นลูกต่อรุ่น แต่จะค่อยๆ ลดน้อยลงจนเกือบรุ่นสุดท้ายจะได้ผลผลิตประมาณ 2 หมื่นกว่าลูก

คุณนิกร เผยถึงความเปลี่ยนแปลงราคาส้มโอที่กระทบต่อรายได้เกษตรกรชาวสวนว่า ในช่วง 5-6 ปี ที่ผ่านมา ราคาส้มโออยู่ในระดับที่ชาวสวนพอใจมาก ส่วนหนึ่งอาจเป็นผลพวงมาจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 แล้วสร้างความเสียหายต่อแหล่งปลูกส้มโอย่านนครปฐมและจังหวัดใกล้เคียง ส่งผลต่อผลผลิตส้มโอจำนวนมากหายไปจากตลาด

“ขณะเดียวกัน ผลผลิตส้มโอในแหล่งจังหวัดปราจีนบุรีที่มีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพอยู่ตลอดทำให้ขายได้ราคาดี โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศที่เข้ามาสนใจผลผลิตส้มโอมากขึ้น ซึ่งถึงแม้ตอนนี้ภาพรวมผลผลิตส้มโอกลับสู่ภาวะปกติแล้วส่งผลต่อราคาขายในประเทศ แต่ชาวบ้านในพื้นที่ก็ยังไม่เดือดร้อนเนื่องจากมีการพัฒนาคุณภาพพร้อมเร่งปลูกเพื่อส่งขายต่างประเทศเป็นหลัก”

สวนส้มโอคุณนิกรปลูกส้มโอขายส่งตลาดต่างประเทศถึงกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ เป็นส้มพันธุ์ทองดี ส่วนขาวน้ำผึ้งขายในตลาดเมืองไทย ทั้งนี้ ราคาขายตลาดต่างประเทศขึ้นอยู่กับทางบริษัทที่รับซื้อตั้งราคา แต่สำหรับราคาขายส้มโอขาวน้ำผึ้งในบ้านเรากำหนดขายเป็นลูก โดยแบ่งออกเป็น 3 ขนาด ที่วัดตามผล ซึ่งถ้าเป็นขนาด 17 นิ้ว ราคาขายส่งอยู่ระหว่าง 50-60 บาท ขนาด 18 นิ้ว ราคาขายส่งอยู่ระหว่าง 70-80 บาท และขนาด 19 นิ้ว ราคาขายส่งอยู่ที่ 120 บาทขึ้นไป แต่ถ้าเป็นราคาขายปลีกส่วนมากจะขายที่ขนาด 19 นิ้ว ซึ่งกำหนดราคาขายเริ่มต้นที่ 200 บาท ต่อผล

นอกจากผลผลิตส้มโอที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศแล้ว คุณนิกรยังมีลูกค้าประจำทั้งในพื้นที่และจังหวัดอื่นแวะเวียนมาอุดหนุนกันเป็นประจำ จากแผงตั้งขายหน้าบ้าน

ทั้งนี้ เจ้าของสวนเผยถึงแนวคิดการปลูกส้มโอว่าทุกครั้งจะปลูกด้วยความเอาใจใส่ มีระเบียบวินัยต่อการปลูกตั้งแต่เริ่มปลูกไปจนกระทั่งเก็บผลผลิต เป็นสวนส้มโอที่ได้มาตรฐาน ดังนั้น คุณภาพส้มโอทุกผลที่เกิดจากความมุ่งมั่นและตั้งใจจึงมีรสหวานหอม เนื้อแน่น แห้งพอดี เปลือกบาง และผลใหญ่ เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาลูกค้าขาประจำทั้งในพื้นที่และต่างจังหวัด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผลผลิตส้มโอของคุณนิกรมีมาตรฐาน มีคุณภาพสม่ำเสมอ พร้อมกับได้รับรางวัลต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมายทุกปี

คุณนิกร เล่าว่า ในปัจจุบันวิธีปลูกส้มโอและแนวคิดการตลาดเปลี่ยนไป โดยในสมัยก่อนจะวางแผนปลูกส้มโอเพื่อให้มีผลผลิตตรงกับช่วงเทศกาลสำคัญ เพื่อให้ขายได้ราคาสูง ซึ่งความคิดเช่นนี้เหมือนกันทั่วไปจึงทำให้ผลผลิตล้นตลาด ราคาไม่สูงตามที่คาดหวัง

“แต่ตอนนี้วิวัฒนาการต่างๆ เปลี่ยนไป เทคโนโลยีการสื่อสารเข้ามาช่วยขยายช่องทางการตลาดให้กว้างขึ้น ผลผลิตการเกษตรสามารถนำไปขายได้ทั่วโลก ฉะนั้น แนวคิดเดิมอาจล้าสมัย เพราะตลาดทั่วโลกมีความต้องการต่อเนื่อง การเก็บรักษาไม่เป็นอุปสรรคปัญหาเ พราะสามารถเก็บในห้องแช่เย็นได้โดยยังรักษาคุณภาพไว้ ด้วยเหตุผลนี้จึงช่วยให้ชาวสวนมีรายได้มากขึ้น ขอเพียงให้คุณมีความตั้งใจผลิตสินค้าให้มีคุณภาพเท่านั้น” คุณนิกร กล่าว

ทางด้าน คุณวิโรจน์ วัฒนวิเชียร เกษตรอำเภอศรีมหาโพธิ กล่าวว่า เกษตรกรที่ปลูกส้มโอในพื้นที่มีจำนวนกว่า 70 ราย มีวิธีปลูกและแหล่งจำหน่ายเหมือนกัน ทั้งนี้ ทางเกษตรอำเภอได้ให้ชาวบ้านจดเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อจะได้เป็นช่องทางเปิดโอกาสให้ได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือในทุกเรื่องจากภาครัฐ ขณะเดียวกัน ยังช่วยประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้ส้มโอในพื้นที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยหาตลาดให้ชาวสวนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การปลูกส้มโอนับเป็นทางเลือกของรายได้ที่ชาวบ้านทำกันนอกจากการทำนาที่เป็นอาชีพหลักทางการเกษตร โดยระยะหลังพบว่าชาวบ้านให้ความสนใจหันมาปลูกส้มโอกันมากขึ้น เพราะต่างเห็นว่ามีตลาดต่างประเทศรองรับแน่นอนและมีราคาขายสูง อีกทั้งยังมีความต้องการต่อเนื่อง นอกจากนั้น ส้มโอยังเป็นไม้ผลที่ปลูกไม่ยาก ขยายพันธุ์ด้วยกิ่งตอน ทำให้ใช้เวลาไม่นานในการเก็บผลผลิต

“อีกไม่นานคงต้องมีการรวมกลุ่มปลูกส้มโอแปลงใหญ่ เพื่อสร้างให้เป็นระบบที่สมบูรณ์ มีกระบวนการดูแลในด้านต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อสร้างประสิทธิภาพในระบบตลาดให้มีความเข้มแข็ง เป็นที่ยอมรับมากขึ้น อีกทั้งสำนักงานเกษตรยังให้ความสำคัญต่อการเลิกใช้สารเคมีที่มีผลกระทบกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนส่งเสริมให้ชาวสวนหันมาใช้ปัจจัยทางธรรมชาติเพื่อการปรับปรุงดินและไม้ผล เพราะต้องการช่วยลดความเสี่ยง พร้อมกับช่วยลดต้นทุน” คุณวิโรจน์ กล่าว

“เมล่อน” ไม่ได้เป็นพืชพื้นถิ่นดั้งเดิมของประเทศไทย แต่ปัจจุบันได้มีเกษตรกรหันมาประกอบอาชีพปลูกเมล่อนกันมาก มีทั้งเกษตรกรที่ผลิตแล้วประสบผลสำเร็จและล้มเหลว ซึ่งล้วนแล้วแต่มีเหตุปัจจัยหลายอย่างเป็นองค์ประกอบที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการหรือขั้นตอนในการปลูก การดูแลเอาใจใส่ ความเชื่อ ฯลฯ ซึ่งองค์ความรู้มีให้ศึกษาค้นคว้ามากมายตามสื่อประเภทต่างๆ ที่เมืองสอง หรืออำเภอสอง มีเกษตรกร 2 สามีภรรยา ก็ปลูกเมล่อน แม้จะไม่ประสบผลสำเร็จร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่สามารถผลิตเมล่อนออกสู่ตลาดได้ทุกเดือน โดยการบริหารจัดการที่มีระบบ

คุณพศวีร์ สุยะตา อายุ 40 ปี และ คุณหทัยชนก คงสวรรค์ 2 สามีภรรยา อยู่บ้านเลขที่ 75 หมู่ที่ 1 บ้านลูนิเกต ตำบลห้วยหม้าย อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นผู้ปลูกเมล่อนระบบปิดในโรงเรือน ได้เล่าถึงเบื้องหลังก่อนจะมายืนอยู่ ณ จุดนี้ได้ว่า ช่วงก่อนปี 2560 คุณหทัยชนก ทำงานที่ห้างสรรพสินค้าในจังหวัดแพร่ ส่วน คุณพศวีร์ พอมีเวลาก็ได้เข้าไปศึกษาเรื่องการปลูกเมล่อน ในยูทูบ (YouTube) เกิดแรงบันดาลใจที่สั่งสมให้หันมาสนใจเรื่องเมล่อน เพราะได้ข้อมูลว่า เมล่อน เป็นพืชเศรษฐกิจ มีราคาดี ตลาดยังรองรับได้ สำหรับผู้บริโภคก็มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และจำนวนผู้ปลูกเมล่อนยังมีน้อย

จึงได้ปรึกษาหารือกันว่า ถ้าจะทำอาชีพเกษตรกรรม…ปลูกเมล่อน นี่แหละ ต้องวางแผน 1… 2… 3… ขอเดินไปทีละก้าว จึงพากันไปศึกษาดูงานการปลูกเมล่อนที่จังหวัดเชียงราย ได้ข้อสรุปว่า ถ้าสนใจก็ให้ซื้ออุปกรณ์ชุดระบบแฟรนไชส์ ราคาค่อนข้างสูง หาช่องทางอื่น… ดูจากทางอินเทอร์เน็ต เห็นมีที่อำเภอวังชิ้น ก็ไปขอศึกษาเพื่อเก็บไว้เป็นชุดข้อมูลเบื้องต้นก่อนเริ่มลงมือทำ ช่วงจังหวะได้มีโอกาสไปเข้าอบรม โครงการ Start up สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ จากนั้นก็เริ่มฝึกเขียนแผนงานโครงการและงบประมาณเสนอขอสินเชื่อจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ก็ได้รับการอนุมัติ คุณหทัยชนกก็ออกจากงานประจำมาร่วมกันออกแบบสร้างโรงเรือน ลงทุนไปตั้งแต่เริ่มแรก 3 โรงเรือน ขนาด 6×24 เมตร

ศึกษาค้นหาสายพันธุ์เมล่อนที่เหมาะสม

คุณพศวีร์ บอกถึงหลักการในการเลือกสายพันธุ์เมล่อนว่า ต้องปลูกง่าย ตายยาก ผลแก่เร็ว เนื้อมีความหวาน รับประทานอร่อย จึงเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และความสามารถในการดูแลเอาใจใส่ของตนเอง คัดเลือกได้ 5 สายพันธุ์ คือ

แต่ละสายพันธุ์มีลักษณะความโดดเด่นที่แตกต่างกัน คุณพศวีร์ สรุปให้ฟัง ดังนี้

เมล่อนสายพันธุ์กรีนเน็ต (จากประเทศไต้หวัน)
ปลูกง่าย ทนโรค ลักษณะผลรูปทรงกลม ผิวตาข่ายแต่ไม่นูน เนื้อสีเขียว รสหวานจัด กรอบ อร่อย แต่มีข้อด้อยคือ ถ้าปลูกในฤดูหนาวก้นมักจะแตก เก็บผลไว้ได้ไม่นาน เนื่องจากสุกเร็ว ขั้วหลุดง่าย น้ำหนักผล 1.2-1.5 กิโลกรัม

เมล่อนสายพันธุ์บารมี (เป็นลูกผสมฝีมือเกษตรกรไทย)
ลักษณะผลกลม ผิวตาข่าย มีลายแต่ไม่นูนมาก เนื้อสีส้ม กรอบ หอม หวานพอประมาณ เป็นที่ต้องการของตลาด ผลใหญ่ น้ำหนัก 1.8-2.0 กิโลกรัม

เมล่อนสายพันธุ์จันทร์ฉาย (เป็นลูกผสมฝีมือเกษตรกรไทย)
ลักษณะผลสีทองผิวเกลี้ยง เนื้อสีส้ม หวาน กรอบ น้ำหนัก 1.5-2.0 กิโลกรัม เป็นที่ต้องการของตลาดเช่นเดียวกันกับสายพันธุ์บารมี

เมล่อนสายพันธุ์คิโมจิ (จากประเทศญี่ปุ่น)
ลักษณะผลกลม ลายนูนเห็นชัด เนื้อสีเขียว เนื้อนุ่ม หวานไม่จัด น้ำหนักผล 1.2-1.6 กิโลกรัม

เมล่อนสายพันธุ์เคที 51 (เป็นชื่อสายพันธุ์ทางการค้าของกลุ่มเครือข่าย)
ลักษณะผลกลม เป็นตาข่ายเล็กน้อยสีขาว เนื้อสีเขียว เนื้อนุ่มหวาน ผลใหญ่ น้ำหนัก 2 กิโลกรัมขึ้นไป เมล่อน ต้องปลูกง่ายตายยาก

คุณพศวีร์ เล่าว่า หลังจากเสร็จสิ้นการสร้างโรงเรือนแล้ว ก็มาถึงกระบวนการในการบ่มเพาะเมล็ด การปลูกการดูแลเอาใจใส่ จนถึงการเก็บเกี่ยว เริ่มจาก

การเพาะเมล็ด ในถาดหลุม 104 หลุม นำเมล็ดเมล่อนมาแช่ในน้ำอุ่นๆ นาน 6 ชั่วโมง จากนั้นนำขึ้นมาบ่มเพาะห่อหุ้มเมล็ดด้วยกระดาษทิชชู ใส่ไว้ในกระติกน้ำ นาน 24 ชั่วโมง เมล็ดเมล่อนจะเริ่มแทงออกมาให้เห็น ก็นำมาลงปลูกในถาดหลุมที่มีวัสดุเป็นพีทมอสส์ นำถาดหลุมไปไว้ในโรงเรือนเพื่อให้ต้นอ่อนเมล่อนได้รับแสง

ในตอนนั้น คุณพศวีร์ตั้งข้อสังเกตว่า เคยนำต้นกล้าเมล่อนในถาดหลุมไปไว้ในที่ร่ม ผลปรากฏว่าต้นมันยืดไม่แข็งแรง จึงปรึกษาผู้รู้ว่าให้นำไปบ่มเพาะในโรงเรือน รดน้ำ เช้า-เย็น ต้นจะแข็งแรง ระยะเวลาผ่านไป 10 วัน จึงนำลงถุง

การนำต้นกล้าลงปลูกในถุง ใช้ถุงสีขาวขุ่น ขนาด 8×13 นิ้ว บรรจุวัสดุปลูก ประกอบด้วยกาบมะพร้าวสับย่อย ผสมกับขุยมะพร้าว อัตราส่วน 1:1 ใน 1 โรงเรือน วางถุง 4 แถว ระยะห่าง 45 เซนติเมตร จำนวน 100 ถุง รวม 400 ถุง/ต้น ต่อ 1 โรงเรือน ถ้า 3 โรงเรือน รวม 1,200 ถุง/ต้น แต่คุณพศวีร์ บอกว่าไม่ได้นำลงปลูกพร้อมกันทั้ง 3 โรงเรือน หลักคิดก็คือ ต้องการให้มีผลผลิตออกสู่ตลาดตลอดทั้งปี ดังนั้น จึงวางแผนการปลูกไว้ 4 รุ่น ต่อปี คือ

รุ่นที่ 1 ปลูกและเก็บเกี่ยวช่วงเดือนกันยายน-เดือนธันวาคม

รุ่นที่ 2 ปลูกและเก็บเกี่ยวช่วงเดือนมกราคม-เดือนมีนาคม

รุ่นที่ 3 ปลูกและเก็บเกี่ยวช่วงเดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน

รุ่นที่ 4 ปลูกและเก็บเกี่ยวช่วงเดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน

แต่ทั้งนี้ คุณพศวีร์ ชี้แจงว่า พอมีเวลาช่วงหลังเก็บเกี่ยวแล้ว ก็จะรีบทำความสะอาดโรงเรือน ตากวัสดุที่ปลูกเป็นการฆ่าเชื้อไปในตัว การให้น้ำ ภายในโรงเรือนเมล่อนของคุณพศวีร์ ได้วางระบบน้ำหยดไว้ และมีการใช้เทคโนโลยีการให้น้ำด้วยระบบจ่ายน้ำอัตโนมัติ (Automatic Watering System)

ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยอินทรีย์เม็ดผสมคลุกเคล้าไว้กับวัสดุปลูกในถุงปลูกแล้วตั้งแต่ต้น และให้ปุ๋ยเกล็ดละลายน้ำไปกับน้ำหยดอีกเป็นระยะๆ ตามการเติบโตของต้นเมล่อน

เมื่ออายุ 1-10 วัน ให้ปุ๋ย ร้อยละ 10

เมื่ออายุ 10 วันขึ้นไป ให้ปุ๋ย ร้อยละ 30

ระยะ 1 เดือน ก่อนเก็บผล ให้ปุ๋ย ร้อยละ 100 และก่อนเก็บผล 15 วัน จะให้ปุ๋ย สูตร 0-0-50 แต่ทั้งนี้ คุณพศวีร์ บอกว่า มีช่วงดูแลพิเศษคือ ช่วงที่ต้องผสมเกสร จะหยุดการให้ปุ๋ย ให้เพียงเฉพาะน้ำเท่านั้น หลังผสมเกสรเสร็จ 7 วัน จึงเริ่มให้ปุ๋ย

การผสมเกสร เนื่องจากการปลูกเมล่อนของคุณพศวีร์ เป็นโรงเรือนระบบปิด ไม่มีแมลงธรรมชาติช่วยผสมเกสร ทั้ง 2 คน สามีภรรยาจึงต้องเอาใจใส่ในการผสมเกสรเอง โดยกล่าวว่า หลังนำต้นกล้าเมล่อนลงปลูกผ่านไป 25 วัน เมล่อนจะเริ่มออกดอกแล้วจะผสมเกสร

เมื่อติดผล จะคัดผลตามข้อ ในข้อที่ 9-10-11-12 รวม 4 ผล แต่จะคัดผลที่สมบูรณ์ที่สุด ไว้เพียง 1 ผล ต่อต้นเท่านั้น นอกจากนั้นเด็ดทิ้ง จากนั้นจะมัดผลเมื่อผลมีขนาดเท่าไข่ไก่ จะแขวนผลไว้กับราว และต้องคอยเด็ดแขนง พันยอดจนลำต้นมีความสูง 2 เมตร หรือมีจำนวนใบ 17 คู่ ซึ่งได้ข้อสรุปแล้วว่า จำนวนใบเท่านี้เพียงพอต่อการสะสมธาตุอาหารสำหรับเลี้ยงผล แล้วก็จะเด็ดหรือตัดยอดทิ้ง ให้ผลเมล่อนเจริญเติบโต รอการเก็บเกี่ยวผลผลิตคุณพศวีร์ ให้ข้อสังเกตว่า ผลเมล่อนจะมีช่วงเวลาการเติบโตไม่พร้อมกัน จึงต้องกำหนดสัญลักษณ์โดยใช้ป้ายสีเป็นการระบุวันที่ พร้อมอายุวันเก็บผลตามสี

การดูแลเอาใจใส่

คุณหทัยชนก บอกว่า ต้องดูแลเอาใจใส่เหมือนการดูแลลูกเลย ทั้ง 2 คน จะต้องเข้าไปดูในโรงเรือนทุกวัน ดูการเติบโตของผลเมล่อน โรค/แมลง วัสดุปลูกซึ่งมีผลต่อเนื้อเมล่อน ดูระบบท่อส่งน้ำว่ามีการอุดตันหรือไม่

โรค/แมลง คุณหทัยชนก บอกว่า เคยพบราสนิม ใช้กำมะถันผงผสมน้ำฉีดพ่น และเคยพบเพลี้ยไฟระบาดเพียงแค่ 2-3 วัน สามารถสร้างความเสียหายได้ และช่วงอากาศปิดหลายๆ วัน ก็มีปัญหาเช่นกัน แม้การผลิตเมล่อนของคุณพศวีร์-คุณหทัยชนก จะยังไม่ได้รับ GAP แต่กระบวนการผลิตทุกขั้นตอนก็ได้ดำเนินการผลิตทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสมที่สุดแล้ว

แต่ช่วงเวลาที่ต้องดูแลเป็นพิเศษก็คือ การปลูกเมล่อนในฤดูหนาต้องระวังก้นผลแตก เมื่อฤดูฝนก็ต้องระวังเชื้อรา แต่ถ้าปลูกในฤดูร้อนจะได้ผลผลิตที่ดี และไม่มีโรค/แมลงมากนัก

คุณภาพของเมล่อนที่คุณพศวีร์ผลิตคือ เน้นที่ความหวาน ที่ 15-16 องศาบริกซ์ (๐ Brix) เนื้อกรอบ เนื้อทรายคล้ายสาลี่ เนื้อไม่แน่น มีความอร่อยตรงตามความต้องการของผู้บริโภค

ทำแปลงทดลองเพื่อหาข้อสรุประหว่างการปลูกลงถุงกับการปลูกลงดิน

คุณพศวีร์ ได้อธิบายว่า กำลังอยู่ระหว่างการทดลองปลูกเมล่อนลงดินและใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ที่ใช้ในการหมักจากวัตถุดิบ อย่างเช่น รำ กากถั่วเหลือง ขี้วัว กาบมะพร้าวสับ ขี้เถ้าแกลบ ผสมคลุกเคล้าแล้วนำกากน้ำตาลละลายน้ำ รดลงบนกอง หมักไว้จนพิสูจน์แล้วว่าไม่มีความร้อนในกองปุ๋ย ก็นำไปใช้ได้ แต่ระหว่างการทดลองนี้ยังไม่ได้ผลผลิต แต่สังเกตเห็นว่าเมล่อนมีลำต้นที่ใหญ่ ใบใหญ่ ลำต้นสูงเร็ว ต้องรอจนกว่าจะเก็บผลผลิต จะได้ข้อสรุปว่าการปลูกลงถุงกับการปลูกลงดินแบบไหนจะได้คุณภาพดีกว่ากัน

คุณพศวีร์ บอกว่า ผลผลิตเมล่อนของผมแม้จะตัดออกขายได้ตลอดปี แต่…แต่ละรุ่นก็ไม่ได้ผลผลิตร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะมีตัวแปรคือ สภาพภูมิอากาศ อย่างฤดูหนาว จะเสียหายไป ร้อยละ 20 ฤดูฝน จะเสียหายมากถึง ร้อยละ 50 และฤดูร้อน จะเสียหายน้อยหน่อย เพียงร้อยละ 10 แต่เมื่อรวมผลผลิตทั้งปีแล้ว ผมก็ยังพอใจอยู่ ซึ่งผมก็พยายามปรับปรุงแก้ไข และทดลองด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อนำมาเป็นข้อสรุปนำไปสู่การพัฒนาต่อไป

ตลาดยังไปได้สวยคุณพศวีร์ บอกว่า magiuropa.com ตนเองใช้การตลาดนำการผลิต ผลผลิตส่วนใหญ่ขายผ่านทางสื่อ Facebook ชื่อว่า Hathaichanok Kongsawan. “ผมคิดว่าตลาดเมล่อนในประเทศไทยยังไปได้สวย แต่ผมกำลังจะพัฒนาการผลิตให้มีความแตกต่างในด้านรสชาติให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น”

จะให้คำแนะนำอะไรกับเกษตรกรที่คิดจะปลูกเมล่อนรายใหม่ๆ บ้างไหมครับ? ผมตั้งคำถาม คุณพศวีร์ บอกว่า ยินดีครับ ก่อนจะลงมือปลูก ควรศึกษาข้อมูล หาความรู้เกี่ยวกับการผลิตเมล่อนให้มาก ตั้งแต่สายพันธุ์ การเพาะเมล็ด การปลูก การดูแลเอาใจใส่ ไม่ควรปลูกทิ้งขว้าง และไม่ทำตามกระแส
ควรไปดูงานพื้นที่ปลูกเมล่อนหลายๆ แปลง ขอคำแนะนำเพื่อให้เกิดแนวคิดในการวางแผนการผลิต
ค่อยๆ ทำการผลิต ไม่ควรลงทุนเป็นจำนวนมากในครั้งแรก ผลิตให้ได้ประสบการณ์ก่อนแล้วค่อยขยายผล
ต้องมีใจรัก มีเวลาเข้าแปลงถึงเช้าถึงเย็น

คุณวาสนา ไพจิตร เจ้าของโรงงานปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ตรา 5 ดาว อ.ระโนด จ.สงขลา เปิดเผยการผลิตปุ๋ยตรา 5 ดาว ว่า นับตั้งแต่สร้างโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์เองในปี 2548 และได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมวิชาการเกษตร ในปี 2550 โรงงานได้ดำเนินการผลิต เช่น เครื่องผสม เครื่องบด เครื่องร่อน เครื่องอบความร้อน ความเย็น ฉาบปั้นเม็ด ทั้งหมดเอง โดยใช้อบความร้อนด้วยน้ำสมควันไฟ ซึ่งเป็นโรงงานแห่งแรกของ อ.ระโนด และเปิดให้ประชาชนและผู้สนใจ เข้ามาศึกษาดูงานตลอดทั้งปี เนื่องจากในขณะนี้มีโรงงานมีสมาชิกอยู่ทั่วภาคใต้

คุณวาสนา เล่าให้ฟังว่า ในปี 2552 ได้ขอทุนทำสวนยาง จำนวน 30 ไร่ ที่ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง แต่ถูกพายุพัดถล่มได้รับความเสียหายมาก จึงขอทุนปลูกยางไปอีกครั้ง เมื่อได้กล้ายางมาใหม่ก็เริ่มปลูกพืชอื่นแซมระหว่างต้นยาง เช่น สับปะรด ลงปลูกไปจำนวน 230,000 ต้น ข้าวโพด 3 ไร่ รวมสับปะรดและข้าวโพด ประมาณ 60 ไร่ โดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีภาพ ตรา 5 ดาว ที่ผลิตเองทั้งหมด ซึ่งขณะนี้สวนยาง สวนสับปะรด สวนข้าวโพด ต่างงอกงามสมบูรณ์ดี

ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดเม็ด ตรา 5 ดาว

สำหรับวัตถุดิบที่ใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชนิดเม็ด ตรา 5 ดาว คุณวาสนา บอกว่า เป็นการผลิตจากวัตถุดิบทางธรรมชาติ มูลสัตว์ มูลค้างคาว จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อดิน ประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก อาหารรอง และธาตุอาหารเสริมที่สำคัญ นอกจากนั้น พืชยังต้องการอินทรียวัตถุที่เพียงพอ นอกเหนือไปจากธาตุอาหารที่สำคัญ เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ ทองแดง สังกะสี โบรอน และธาตุอื่นๆ อีก สภาพดินตามธรรมชาติในปัจจุบันมีความเป็นไปได้น้อยที่จะประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นเหล่านี้ โดยครบถ้วนแก่พืชและดิน โดยที่ดินตามธรรมชาติในปัจจุบันมีไม่ครบถ้วน