ส้มโอนครชัยศรี วันนี้ยังมีอยู่ แต่ของแท้หายากสักหน่อยต้องรอ

ส้มโอ ของจังหวัดนครปฐม ปลูกในหลายอำเภอ คือ อำเภอเมืองนครปฐม สามพราน พุทธมณฑล นครชัยศรี แต่คนทั่วไปจะรู้จักส้มโอของจังหวัดนครปฐม ในนาม “ส้มโอนครชัยศรี” ทั้งนี้ เป็นเพราะเมื่อก่อนการปกครองส่วนท้องถิ่นบริเวณนี้ มีมณฑลนครชัยศรี ชาวบ้านปลูกส้มโอกระจายในหลายพื้นที่ หลังๆ นครชัยศรีมีฐานะเป็นอำเภอ ผู้คนก็ยังติดใจและฝังใจกับส้มโอนครชัยศรีอยู่ ทั้งๆ ที่พื้นที่ปลูกส้มโอเลิศรส กระจายไปหลายอำเภอ

เป็นที่ยอมรับกันว่า ที่ราบลุ่มดินตะกอน อย่าง กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ผืนดินเกิดจากการทับถมมานาน เนื้อดินมีคุณสมบัติพิเศษ ปลูกผลไม้ได้คุณภาพเยี่ยม ตัวอย่าง ทุเรียนจังหวัดนนทบุรี พืชอื่นๆ ก็อร่อยอย่างมีนัยยะ เช่น กล้วย มะพร้าว ส้มโอ

พื้นที่จังหวัดนนทบุรี อยู่ใกล้กรุงเทพฯ แหล่งเกษตรจึงลดน้อยถอยลงตามลำดับ

จังหวัดนครปฐม ถึงแม้อยู่ติดกรุงเทพฯ แต่การรุกคืบทางด้านวัตถุไม่รวดเร็วนัก ดังนั้น จึงมีงานเกษตรหลากหลาย

พืชหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับจังหวัด อย่าง ส้มโอ ก็ยังมีปลูกกันอยู่ ถึงแม้จะล้มตายลงเป็นจำนวนมากเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 แรกเริ่มเดิมที ส้มโอนครปฐมปลูกกันหลายพันธุ์ ตั้งแต่ ขาวแป้น ขวาพวง ทองดี และขาวน้ำผึ้ง มาระยะหลังๆ พฤติกรรมของผู้บริโภคเป็นตัวกำหนดพันธุ์พืช ส้มโอขาวแป้น ขาวพวง เริ่มหายไป ทองดียังอยู่ แต่ที่ฮิตมากๆ คือ ขาวน้ำผึ้ง

ส้มโอขาวน้ำผึ้ง มีรูปทรงของผลค่อนข้างกลม ไม่มีจุกที่หัวผล หากดูแลรักษาดีจะมีผลขนาดใหญ่ ผลโตเต็มที่น้ำหนักเฉลี่ย 1.8-2.5 กิโลกรัม ต่อมน้ำมันที่ผิวผลสีเขียวเข้ม ใน 1 ผล มีเนื้อ 12 กลีบ แกะเนื้อออกจากเยื่อหุ้มกลีบได้ง่าย เนื้อสีขาวอมเหลืองคล้ายสีของน้ำผึ้ง มีน้ำในเนื้อมาก แต่ไม่แฉะ ความหวานวัดได้ ประมาณ 8-10 องศาบริกซ์

วิธีดูว่า ส้มโอผลไหนเป็นของนครชัยศรี และของที่อื่นนั้นดูยาก

ก่อนปี 2554 มีผลผลิตส้มโอขาวน้ำผึ้งของนครปฐม จำหน่ายอยู่ไม่น้อยตามริมถนนสายปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ริมถนนเพชรเกษม รวมทั้งตลาดในอำเภอนครชัยศรี

หลังจากน้ำท่วม สวนส้มโอหายวับไปกับสายน้ำ แต่เกษตรกรก็ใจสู้ หวนกลับมาปลูกกันใหม่ พื้นที่มีอยู่ประมาณ 4,000-5,000 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกในอำเภอสามพราน รองลงมาคือนครชัยศรีและพุทธมณฑล

เกษตรกรผู้ปลูกและจำหน่ายส้มโอในจังหวัดนครปฐมรายหนึ่งบอกว่า ก่อนน้ำท่วม ผลผลิตส้มโอผลหนึ่งจำหน่ายในราคา 50 บาท แต่หลังจากน้ำท่วม ราคาจำหน่าย ผลละ 100-120 บาท

ผ่านน้ำท่วมมาเข้าปีที่ 5 เกษตรกรผู้ปลูกส้มโอบอกว่า ผลผลิตที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวได้จากพื้นที่ทั้งหมดมีราว 10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น ดังนั้น ที่เห็นกันอยู่ตามริมถนน เป็นส้มโอมาจากอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี มาจากจังหวัดพิจิตร จังหวัดปราจีนบุรี

ผู้ซื้อต้องเข้าใจ เพราะราคาก็ไม่ได้สูงมากนัก

อาจจะมีคำถามว่า แล้วผลผลิตส้มโอขาวน้ำผึ้งแท้ ของนครชัยศรีไปไหน เกษตรกรผู้ปลูกและจำหน่ายส้มโอบอกว่า ส่วนใหญ่ขายตรง และมีการจับจอง คล้ายๆ ทุเรียนเมืองนนท์เมื่อหลายปีก่อน

มีไม่น้อย มีการจองผลผลิตเพื่อเป็นของฝาก

เรื่องของการติดป้ายขายผลผลิต ที่ไม่ตรงจากความเป็นจริงมีให้เห็นหลายที่หลายแห่งด้วยกัน อย่างช่วงหน้าหนาว ที่ตลาดพระราม 5 มีส้มขึ้นป้ายขายราคาสูงมาก ว่า “ส้มภูเรือ” ทั้งๆ ที่ความเป็นจริง ทีมงานเทคโนโลยีชาวบ้าน ไปเสาะหาแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตร ที่ภูเรือ ไม่เหลือสวนส้มสายน้ำผึ้งหรือโชกุนแม้แต่สวนเดียว ใกล้ตลาดพระราม 5 อีกเช่นกัน ปลายเดือนสิงหาคม 2559 ทุเรียนภาคตะวันออกหมดแล้ว มีรถจากใต้ขนทุเรียนไปขายที่จันทบุรี แต่ใกล้ตลาดพระราม 5 มีรถขายทุเรียน ติดป้ายว่า ทุเรียนระยอง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ยังไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นส้มโอ ส้มสายน้ำผึ้ง ทุเรียน และผลไม้อื่นๆ

กลับมาที่ ส้มโอขาวน้ำผึ้งนครชัยศรี และอำเภอใกล้เคียง จัดเป็นผลไม้ที่มีคุณภาพ รสชาติดี เนื่องจากปลูกในพื้นที่ดินตะกอนทับถม มีโพแทสเซียมสูง แต่ผลผลิตมีออกมายังไม่มาก ในช่วงนี้ ของแท้อาจจะหายากสักหน่อย ใครอยากลิ้มลองของจริงต้องรอไปอีกนานพอสมควร ได้ข่าวว่า ทางจังหวัดจะสร้างสถานที่จำหน่ายอย่างจริงจัง เหมือนกับทางส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท ก็ต้องติดตามกันต่อไป

เมื่อหลายเดือนก่อนผู้เขียนได้รับเมล็ดพันธุ์ผักปลัง จาก คุณคมสัน ใจสว่าง เจ้าของบ้านปู่เรสซิเด้นท์ ที่พักแสนหรู สะอาด และอยู่ในเมืองเชียงราย ห่างจากอนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราชไม่มากนัก บอกว่าเป็นผักปลังใหญ่ จึงนำมาให้คนสวนที่บริษัทของแม่บ้านช่วยเพาะและปลูก เสร็จแล้วมัวยุ่งอยู่เรื่องอื่นๆ ก็ลืมไปเลย มาเมื่อวันก่อนนึกขึ้นได้จึงลงไปดูที่แปลงปรากฏว่า ผักปลังที่ปลูกไว้งามมากๆ ไม่ใช่เป็นผักปลังใหญ่ธรรมดาแล้ว นี้ต้องเรียกว่า ผักปลังใหญ่ยักษ์ กันเลยทีเดียว บางใบใหญ่กว่าหน้าผู้เขียน ประมาณ 2 เท่า นำมาผัดหมูสับน้ำมันหอย อร่อยมาก ต้องผัดซ้ำอีก 2 มื้อ และคงจะมีมื้อ 3 มื้อต่อไปอีกแน่

คราวนี้มาดูรายละเอียดของผักปลังกัน จากการค้นหาข้อมูล มีรายงานว่า ผักปลัง เป็นผักพื้นบ้าน มีสารอาหารสูง พืชที่คนไทยเรียกผักปลังนั้นมีอยู่ 2 ชนิด คือ ผักปลังขาว และผักปลังแดง จะเห็นได้ว่าทั้งผักปลังขาวและผักปลังแดงต่างก็อยู่ในวงศ์และสกุลเดียวกันอีกด้วย ทั้งผักปลังขาวและผักปลังแดงมีลักษณะร่วมกันคือ เป็นไม้เถาเลื้อย ลำต้นและใบอวบน้ำ ขึ้นพาดพันรั้วหรือค้าง ใบรูปร่างคล้ายใบพลูแต่เล็กกว่านิดหน่อย ดอกสีแดงอ่อน ผลติดเป็นช่อ ผลขนาดเล็ก ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกสีม่วงดำ

ชื่อท้องถิ่นของผักปลังยังมีอีก ผักปลังใหญ่ (ภาคกลาง) ผักปั้ง (ภาคเหนือ) โปแดงฉ้าย (จีน) ผักปลังแดง ผักปลังขาว ผักปลังพบขึ้นเองตามธรรมชาติ ตามที่รกร้างว่างเปล่าที่น้ำไม่ท่วม สันนิษฐานว่า ถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของผักปลังอยู่ในทวีปแอฟริกาและเอเชียเขตร้อน จึงอาจนับได้ว่าผักปลังเป็นผักพื้นบ้านดั้งเดิมของไทยอีกชนิดหนึ่ง ความแตกต่างระหว่างผักปลังขาวและผักปลังแดง คือลำต้นและใบของผักปลังขาวมีสีเขียว ส่วนผักปลังแดงมีลำต้นและใบสีม่วงแดง

ส่วนชื่อผักปลังในประเทศไทยนั้น พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ใช้คำว่า “ผักปลัง” ซึ่ง คำว่า “ปลัง” นั้นไม่มีความหมายอื่น แต่ในหนังสือเล่มอื่นๆ เช่น THAI-ENGLISH DICTIONARY ของพระอาจวิทยาคม (George Bradley McFarland) ฉบับ Stanford University Press (1969) หนังสือประมวลสรรพคุณยาไทยว่าด้วยพฤกษชาติ วัตถุธาตุ และสัตว์วัตถุนานาชนิด ของสมาคมโรงเรียนแพทย์แผนโบราณ สำนักวัดพระเชตุพนฯ พระนคร (พ.ศ. 2510)

และหนังสือพืชสมุนไพรของ นิจศิริ เรืองรังษี และ พยอม ตันติวัฒน์ สำนักพิมพ์โอเดียน สโตร์ (พ.ศ. 2534) ต่างก็ใช้เขียนว่า “ผักปรัง” (สะกดด้วย ร. เรือ) ทั้งสิ้น คำว่า “ปรัง” ในภาษาไทยใช้เรียกนาที่ทำในฤดูแล้งว่า “นาปรัง” เป็นคำนาม มาจากภาษาเขมรว่า “ปรัง” หมายถึง ฤดูแล้ง

อีกความหมายหนึ่งเป็นคำวิเศษณ์ แปลว่า เกินเวลา เกินกำหนด เป็นคำไทยแท้ เมื่อพิจารณาจากความหมายแล้ว น่าเป็นไปได้ว่า คำว่า “ผักปลัง” น่าจะเขียนว่า “ผักปรัง” มากกว่า เพราะน่าจะหมายถึงผัก ฤดูแล้ง (ตามศัพท์เขมร) เพราะผักปลังมีลำต้นอวบน้ำ สามารถทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี เช่นเดียวกับพืชอวบน้ำอื่นๆ (เช่น หางจระเข้, ป่านศรนารายณ์, พืชตระกูลกระบองเพชร ฯลฯ)

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ขอให้ผู้รู้นำไปพิจารณาก่อน ระหว่างที่ยังไม่มีข้อยุติก็คงต้องใช้ “ผักปลัง” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ไปก่อนอย่างเป็นทางการ ชื่อผักปลังที่ใช้เรียกในประเทศไทยมี ผักปลัง ผักปลังใหญ่ ผักปลังขาว ผักปลังแดง (ภาคกลาง) และผักปั๋ง (ภาคเหนือ) ผักปลังในฐานะผัก

ผักปลัง (ขาวและแดง) ผักปลัง เป็นผักที่มีคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งร่วมกันที่หาได้ยากในผักชนิดอื่นๆ นั่นคือ เป็นผักที่มีเมือกมากเป็นพิเศษ ส่วนของผักปลังที่ใช้เป็นผักคือ ส่วนยอด ใบ และดอกอ่อน ส่วนมากใช้เป็นผักจิ้ม โดยทำให้สุกเสียก่อน นอกจากนี้ยังนิยมนำไปใช้แกงส้มอีกด้วย

ผักปลัง นับเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูงชนิดหนึ่ง เพราะมีธาตุเหล็กและแคลเซียมอยู่สูง นอกจากนี้ ยังมีวิตามินเอ วิตามินบี และวิตามินซี อยู่มากด้วย สำหรับเมือกที่มีอยู่ในผักปลังนั้นมีคุณสมบัติเป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยให้ท้องไม่ผูก

ผักปลัง เป็นไม้เลื้อย ยาวหลายเมตร แตกกิ่งก้านสาขามากทั้งเถาฉ่ำน้ำ มีสีเขียวหรือม่วงแดงใบเดี่ยวออกสลับกัน มีก้านใบยาว ฐานใบกว้าง ตัวใบกลมรีคล้ายรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อจากที่ง่ามใบหรือที่ยอด ดอกขนาดเล็กมีกลีบชมพู ผลฉ่ำน้ำขนาดใหญ่กว่าเมล็ดพริกไทย เมื่อผลแก่จะเป็นสีดำ ผักปลังในฐานะอาหารผักปลังมีส่วนที่นำมาประกอบอาหารได้ทั้งยอดอ่อนและดอก โดยนำมาแกงส้ม ในภาคเหนือจะนำมาแกงใส่แหนม ในภาคอีสานจะนำยอดอ่อนมาต้มทำเป็นเครื่องจิ้มน้ำพริก รสชาติของผักปลังจะออกหวานนิดหน่อย

ผักปลัง มีลักษณะเฉพาะคือ จะฉ่ำน้ำและจะมียางเป็นเมือกลื่นๆ เวลากินจะรู้สึกลื่นๆ ใบและยอดอ่อนปรุงเป็นอาหาร ให้แคลเซียม เหล็ก และวิตามินเอ บี ซี เบต้าแคโรทีน เป็นผักที่มีกากมาก ช่วยระบายในคนที่ท้องผูกเป็นประจำ นอกจากนี้ ผลของผักปลังที่สุกจะมีสีม่วงแดงสามารถนำมาใช้แต่งสีขนมเยลลี่ หรืออาหารต่างๆ ได้

ผักปลัง 100 กรัม ให้พลังงาน 21 กิโลแคลอรี เส้นใย 0.8 กรัม แคลเซียม 4 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 50 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามิน เอ 9316 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.07 มิลลิกรัม วิตามินบีสอง 0.20 มิลลิกรัม ไนอะซิน 1.1 มิลลิกรัม วิตามินซี 26 มิลลิกรัม

ผักปลัง เป็นผักที่ช่วยหล่อลื่นลำไส้ ขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน ท้องผูก ปัสสาวะขัด บิด ถ่ายเป็นเลือด แก้ผื่นแดงคัน แผลสด ฝีเป็นหนอง

ตำรับยาและวิธีใช้
ท้องผูก ใช้ใบสดปรุงเป็นอาหาร กินเป็นประจำ ขัดเบา ใช้ต้นสด 60 กรัม ต้มน้ำดื่มต่างน้ำชา อึดอัดแน่นท้อง ใช้ใบสดหรือยอดอ่อน 60 กรัม ต้มน้ำเคี่ยวให้ข้นแล้วกิน ฝีหรือแผลสด ใช้ใบสดตำพอก วันละ 1-2 ครั้ง ผื่นแดงหรือแผลไฟไหม้ ใช้น้ำคั้นจากใบสดผัก

ผักปลังแดง ไม้เลื้อยล้มลุก ลำต้น กลมอวบน้ำ เมื่อขยี้จะเป็นเมือกลื่น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1.3 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาได้มากสีม่วงแดง ใบ ใบเดี่ยว หนา ขอบใบเรียบติดเรียงแบบสลับ แผ่นใบกว้างอวบน้ำ ขนาดกว้าง 1.3-7.2 เซนติเมตร ยาว 2.1-8.3 เซนติเมตร ใบเป็นมัน ไม่มีขน ดอก มีช่อดอกแบบสไปค์

ดอกมีขนาดเล็ก มีทั้งดอกเพศผู้และดอกเพศเมีย รูปทรงได้สัดส่วนสมดุล กลีบรองมี 5 กลีบ ติดกันที่ฐาน และมีกาบประดับขนาดเล็ก 2 อัน รองรับอยู่ กลีบมีสีชมพู หรือม่วงเข้ม มีอายุคงทน กลีบดอกไม่มี เกสรตัวผู้มี 5 อัน ติดที่ฐานของกลีบรองเกสรตัวเมีย มีรังไข่ 1 อัน อยู่เหนือชั้นกลีบดอก (superior) ยอดเกสรแยกเป็น 3 แฉก ผล เป็นแบบดรูป (Drupe) มี 3 พู เมื่อแก่จัดเป็นสีม่วงเข้มเนื้อนิ่ม ภายในผลมีน้ำสีม่วง

ฤดูกาลออกผล ระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม เมล็ดรูปไข่แข็งมีอาหารสะสม ต้นอ่อนในม้วน บิดหรือโค้งเป็นวง

การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ปักชำลำต้น ยอด

ประโยชน์และสรรพคุณ ใบและดอกอ่อน กินเป็นผัก ใช้ปรุงอาหาร โดยการนำไปต้ม ลวก นึ่ง ให้สุก กินเป็นผักจิ้มน้ำพริก ใบ แกงส้ม แกงแค แกงปลา แกงอ่อม ผัดน้ำมัน ผัดกับแหนม ชาวเหนือและชาวอีสานนิยมกินทางสมุนไพร ชาวเหนือมีความเชื่อว่า ผู้ที่มีคาถาอาคม จะไม่กล้ากินเพราะกลัวคาถาเสื่อม อาจเนื่องมาจากผักปลังเป็นผักที่นำไปใช้กับการคลอดบุตร โดยใช้ลำต้นสดตำให้ละเอียด และคั้นน้ำเมือกเอามาทาช่องคลอด เพื่อให้คลอดง่ายขึ้น และผู้เฒ่าผู้แก่แนะนำให้หญิงมีครรภ์กินด้วย ก้าน มีสรรพคุณ แก้พิษฝี แก้ขัดเบา แก้ท้องผูก ลดไข้ ใบ แก้กลาก บรรเทาอาการผื่นคัน ดอก แก้เกลื้อน ราก

นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณ แก้มือเท้าด่างๆ แก้รังแค ยอดอ่อน ใบอ่อน ดอกอ่อน รสจืดเย็น ช่วยให้ท้องระบายอ่อนๆ ปลูกผักปลังเป็นผักพื้นเมืองของภาคเหนือ ซึ่งนิยมกินกันมาก เป็นไม้เลื้อย ลำต้นอวบน้ำ ชอบขึ้นในสภาพที่ดินร่วนซุย ชุ่มชื้น การระบายน้ำดี สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ส่วนที่กินคือ ยอดอ่อน และช่อดอกอ่อน โดยนำมาลวกจิ้มกับน้ำพริกหรือทำแกง โดยเฉพาะนิยมแกงกับแหนมหมู จะมีรสชาติอร่อยมาก ที่สำคัญคือ ผักชนิดนี้ไม่มีโรค แมลง ดังนั้น ผักปลัง จึงปลอดจากสารเคมี

ผักปลัง ปลูกได้ตลอดปี แต่ระยะเวลาในการปลูกผักปลังที่เหมาะสมคือ การปลูกผักปลังชุดแรกประมาณเดือนเมษายน จะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ประมาณกลางเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนมกราคม หลังจากนั้นต้นผักปลังจะโทรม ไม่ค่อยแตกยอด จึงรื้อเพื่อปลูกผักปลังชุดใหม่ต่อไป

การเตรียมพันธุ์ เก็บผลแก่ของผักปลังที่ขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเมื่อแก่เต็มที่จะมีสีม่วงเข้มเป็นผลทรงกลม ฉ่ำน้ำ ข้างในมีเมล็ด จำนวน 1 เมล็ด ต่อผล นำมาตากจนเมล็ดแห้ง

วิธีการปลูกผักปลัง เตรียมดินโดยการไถพรวน ทำแปลงกว้าง ประมาณ 1.20 เมตร ยกร่องสูง ประมาณ 30 เซนติเมตร ความยาวตามลักษณะของพื้นที่ ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ในขณะเตรียมดิน ไร่ละประมาณ 1-2 ตัน เตรียมหลุม ลึกประมาณ 5 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม ประมาณ 30 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถว ประมาณ 80 เซนติเมตร นำเมล็ดของผักปลังที่เตรียมไว้มาลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ปลูกลึกประมาณ 1 เซนติเมตร ใช้ฟางข้าวหรือเศษหญ้าคลุมแปลงเพื่อรักษาความชื้น ปักค้างไม้ไผ่ เพื่อให้ลำต้นเลื้อยขึ้น เพราะการทำค้างนอกจากช่วยให้ผักปลังเจริญเติบโตดีแล้ว ยังช่วยทำให้เก็บยอดสะดวก

การดูแลรักษาและการให้น้ำ ควรรดน้ำทุกวันเช้าเย็น เพื่อให้แปลงมีความชื้นพอเหมาะอยู่เสมอ หรือหากมีน้ำเพียงพออาจปล่อยน้ำตามร่องแปลงก็ได้ การให้ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยทุก 15 วัน โดยผสมน้ำ ในอัตราส่วน ปุ๋ยเคมี 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ปี๊บ

การเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อผักปลังมีลำต้นยาวประมาณ 20 เซนติเมตร จะเริ่มเด็ดยอด โดยเวลาที่เหมาะสมคือ ในตอนเช้ามืด เพราะจะทำให้ได้ผักปลังที่อวบและสด สามารถเก็บยอดดอกได้ทุกวัน ผักปลังมีคุณสมบัติคือ เมื่อเด็ดยอดจะทำให้แตกยอดมาก เมื่อเก็บแล้วนำมามัดเป็นกำ สามารถนำไปขายให้กับผู้บริโภคต่อไป

ในส่วนของผักปลังใหญ่ยักษ์ ที่ผู้เขียนพูดถึงในตอนแรกนั้น เล่นคาสิโน SBOBET คนสวนก็บอกว่า ที่มันใหญ่ยักษ์ขึ้นมาได้ เพราะได้นำขี้ไก่อินทรีย์ที่เลี้ยงไว้ใกล้กับแปลงปลูกผักปลัง และใช้น้ำหมักชีวภาพรด จะเห็นความแตกต่างได้ เพราะเมื่อตอนเพาะเมล็ด ได้แบ่งต้นกล้าที่เพาะไปปลูกที่บ้าน ใบไม่ใหญ่ยักษ์เท่า แต่ก็มีขนาดใหญ่กว่าผักปลังทั่วไป จัดเป็นผักปลังใหญ่ และดอกของผักปลังใหญ่ยักษ์นี้จะไม่ออกดอกเป็นช่อเหมือนผักปลังทั่วไปที่เก็บดอกขายไปปรุงอาหารได้ ส่วนใหญ่จะออกมาเป็นก้านเดียว

หากใครสนใจ ติดต่อหาผู้เขียนได้ที่โทร. (089) 557-2965 คงต้องมีค่าใช้จ่ายกันหน่อยครับ เพราะถ้าแจกฟรี คนมักไม่เห็นคุณค่า ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี กรมวิชาการเกษตร ประสบความสำเร็จในการปรับปรุงพันธุ์ทุเรียนลูกผสมพันธุ์ใหม่ ที่มีคุณภาพและมีลักษณะดีเด่นตรงตามความต้องการของตลาด และให้ผลผลิตสูง เป็นสินค้าทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรที่รักทุเรียน จะใช้ปลูกทดแทนทุเรียนพันธุ์ดั้งเดิม เพราะทุเรียนลูกผสมพันธุ์ใหม่ มีศักยภาพการผลิตในเชิงการค้า แถมรสชาติของทุเรียนถูกใจผู้บริโภคทั้งภายในและต่างประเทศอีกด้วย

แปลงต้นแบบปลูกทุเรียนลูกผสมจันทบุรี คุณสุรินทร์ อัคคะรัตน์ เกษตรกรคนเก่งในพื้นที่ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี เป็นเกษตรกรรุ่นแรกที่มีโอกาสปลูกทุเรียนลูกผสมจันทบุรี ตั้งแต่เมื่อ 12-13 ปีก่อน ทำให้เขาเรียนรู้จุดเด่น จุดด้อย ของการปลูกทุเรียนลูกผสมจันทบุรี สามารถให้คำแนะนำแก่ผู้สนใจเรื่องการปลูกทุเรียนลูกผสมจันทบุรี นำไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลจัดการสวนทุเรียนได้แบบมืออาชีพ

คุณสุรินทร์ ได้ต้นพันธุ์ทุเรียนลูกผสมจันทบุรี 1, จันทบุรี 2, จันทบุรี 3 และจันทบุรี 10 รวมทั้งสิ้น 120 ต้น จากศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี นำมาปลูกบนเนื้อที่ 6 ไร่ โดยขุดหลุมลึก 1 ฟุต ปลูกต้นทุเรียนในระยะห่าง 8×8 เมตร 1 ไร่ ปลูกได้ 20 ต้น ให้ปุ๋ยให้ยาตามคำแนะนำของศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ซึ่งต้นทุเรียนลูกผสมที่นำมาปลูกไม่ตายแม้แต่ต้นเดียว โดยต้นทุเรียนให้ผลผลิตในปีที่ 5 ผลผลิตรุ่นแรกเก็บไว้ ต้นละ 10 กว่าลูกเท่านั้น เมื่อต้นทุเรียนมีอายุมากขึ้น ก็ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นตามลำดับ