หนอนหัวดำแมลงดำหนามระบาดสวนมะพร้าวประจวบฯอ่วมหมื่น

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม นายมงคล จอมพันธ์ เกษตรจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของหนอนหัวดำ และแมลงดำหนามในสวนมะพร้าว กว่า 6 หมื่นไร่ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีผลกระทบกับแหล่งมะพร้าวคุณภาพดีที่สุดของประเทศ ที่อำเภอทับสะแก นั้น ล่าสุดพบพื้นที่ระบาดเพิ่มอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนมีนาคม-มิถุนายน ทำให้ปัญหามะพร้าวผลมีราคาสูงสุดในประวัติการณ์ ผลละ 23-25 บาท จากปัญหาผลผลิตมีน้อย นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปจำเป็นต้องใช้มะพร้าวนำเข้าบางส่วน หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องควรเฝ้าระวังการลักลอบใช้มะพร้าวนำเข้าผิดกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากมะพร้าวบางส่วนอาจจะไม่ผ่านการตรวจโรคพืชส่งผลกระทบกับการระบาดของแมลงศัตรูมะพร้าวในประเทศเพิ่มขึ้น

“ในวันที่ 17 มีนาคมนี้ พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี จะเดินทางลงพื้นที่เพื่อติดตามและเร่งหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่กำลังประสบความเดือดร้อน ขณะเดียวกันจังหวัดยังรอการพิจารณาจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล ในการจัดซื้อสารเคมีฉีดลำต้นมะพร้าว เพื่อควบคุมการระบาดในระยะที่ 2 ล่าสุดระหว่างรองบประมาณ ชาวสวนมะพร้าวต้องว่าจ้างภาคเอกชนเจาะลำต้นฉีดสารเคมี เพื่อป้องกันและกำจัดแมลง” นายมงคล กล่าว

นายวณิชย์ ปักกิ่งเมือง นายกสมาคมชาวสวนมะพร้าวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้นำเข้ามะพร้าวจากประเทศเมียนมา ผ่านจุดผ่อนปรนพิเศษด่านสิงขร นอกโควต้าของกระทรวงพาณิชย์ ตามข้อตกลงของดับเบิ้ลยูทีโอ หรือองค์การการค้าโลก จะต้องจ่ายอัตราภาษีนำเข้า 54% เนื่องจากผลผลิตมะพร้วาภายในประเทศเข้าสู่ภาวะวิกฤต ไม่เพียงพอกับการแปรรูปเพื่อการส่งออก และคาดว่าจะมีปัญหาผลผลิตขาดแคลนถึงสิ้นปี 2560 ปัจจุบัน ทั้งประเทศมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวชดเชยความเสียหายเพิ่มขึ้นอีก 2 แสนไร่ แต่ต้องใช้เวลาอีก 7 ปี จึงจะให้ผลผลิต ส่วนการปราบแมลงศัตรูมะพร้าวที่ผ่านมา 15 ปี ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากขาดการบูรณาการ และมีเกษตรกรบางพื้นที่ได้รับยาปลอมจากหน่วยงานราชการ

องค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย ปรับตัว 360 องศา ลุยพัฒนา 5 ตลาดในสังกัด ทุ่ม 40 กว่าล้าน ปั้นตลาดบางคล้าเป็นศูนย์กระจายสินค้าเกษตรปลอดภัยของภาคตะวันออก ดันตลาดอุโมง เมืองลำพูน เป็นตลาดสีเขียว ช่วยเกษตรกรขายสินค้าออร์แกนิกในราคาสูงขึ้น พร้อมเจรจาโมเดิร์นเทรดขายสินค้าโอท็อปและสินค้าเกษตรที่ล้นตลาด เตรียมตั้งเว็บไซต์เป็นตัวกลางให้ผู้ซื้อผู้ขายมาพบกัน

นายภาณุพล รัตนกาญจนภัทร ผู้อำนวยการองค์การตลาด (อต.) กระทรวงมหาดไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงการเข้ามาบริหารองค์การตลาดว่า นอกเหนือจากองค์การตลาดจะเป็นผู้ป้อนอาหารที่ปลอดภัยทั้งประเภทเนื้อหมู เนื้อไก่ ผัก ให้กับเรือนจำ 70 กว่าแห่งทั่วประเทศที่มีผู้ต้องขัง 3-4 แสนคน จากทั้งหมด 134 แห่ง ของกรมราชทัณฑ์ การจัดส่งอาหารให้โรงพยาบาลทหารและค่ายทหาร การจัดหาถุงยังชีพเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมให้กับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แล้ว อต. มีแผนจะเข้าไปพัฒนาตลาดในสังกัด 5 แห่ง ให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในความปลอดภัยและถูกสุขลักษณะมากขึ้น

ประกอบด้วย 1. ตลาดปากคลองตลาด กรุงเทพมหานคร 2. ตลาดตลิ่งชันในซอยสวนผัก 3. ตลาดตำบลอุโมง จังหวัดลำพูน 4. ตลาดอำเภอหนองม่วง จังหวัดลพบุรี และ 5. ตลาดบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยเฉพาะตลาดอุโมงจะใช้งบประมาณ 14-15 ล้านบาท พัฒนาเป็นตลาด “กรีน มาร์เก็ต” เป็นจุดที่ผู้ซื้อ-ผู้ขายมาตกลงเรื่องการซื้อผัก ผลไม้ ปลอดสารพิษ ผัก ผลไม้ ที่ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์หรือออร์แกนิก ผัก ผลไม้ แปรรูป โดยจะดึงโรงแรมในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และใกล้เคียง ตลอดจนนักท่องเที่ยวมาซื้อสินค้าที่ตลาดแห่งนี้ ทั้งนี้ อต. จะสร้างโรงตัดแต่ง ห้องเย็น กำลังการผลิตไม่เกินวันละ 5 ตัน รองรับสินค้า พร้อมกับจะดึงสินค้าโครงการหลวงมาซื้อขายที่นี่ด้วย สาเหตุการพัฒนาตลาดแห่งนี้ เนื่องจากเกษตรกรร้องเรียนมาว่า ปลูกผักอินทรีย์แต่ขายได้ในราคาเท่าผักที่ใช้สารเคมี ทาง อต. และกระทรวงมหาดไทยจึงต้องการแก้ไขปัญหานี้ รวมทั้งสนองนโยบายภาครัฐที่จะปั้นเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงให้เป็นเมืองเกษตรสีเขียวด้วย

ตลาดตลิ่งชันที่ติดกับคลองมหาสวัสดิ์ที่มีประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จะพัฒนาเป็นตลาดน้ำเชิงท่องเที่ยว โดยจะร่วมกับจังหวัดนนทบุรีกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) มาร่วมพัฒนา ซึ่งแบบแปลนตลาดนี้ยังไม่เสร็จ ส่วนตลาดบางคล้าจะพัฒนาเป็นศูนย์กระจายสินค้าเกษตรปลอดภัยของจังหวัดฉะเชิงเทราและของภาคตะวันออก ได้รับงบประมาณจากทางจังหวัดมาแล้วประมาณ 40 ล้านบาทเศษ

นอกจากนี้ จะนำสินค้าโอท็อปเข้าโมเดิร์นเทรดเพื่อช่วยเหลือชุมชน รวมทั้งช่วยเหลือระบายสินค้าเกษตรโดยเฉพาะผลไม้เข้าช่องทางจำหน่ายต่างๆ เช่น ลองกองที่มีปัญหา นอกจากจะมีโครงการประชารัฐช่วยเป็นหลักแล้ว อต. ยังช่วยเชื่อมช่องทางจำหน่ายทั้งโมเดิร์นเทรดและเรือนจำ ทำให้ระบายช่วยได้กว่า 100 ตัน การประสานกับกรมการปกครองเพื่อวางแผนระบายลำไย หัวหอมแดง หอมหัวใหญ่ที่จะล้นตลาดผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัดของแหล่งผลิตของสินค้า หากสินค้าเกรดบีขึ้นไปก็เข้าโมเดิร์นเทรด หากต่ำกว่าเกรดบีก็เข้าครัวร้อนของโมเดิร์นเทรด และ อต. กำลังเจรจาร่วมมือกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่มีตลาด 700 แห่ง ทั่วประเทศเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชุมชนต่างๆ นำสินค้าไปขาย

“ตอนนี้เรากำลังเจรจากับโมเดิร์นเทรดเทสโก้ โลตัส นำสินค้าโอท็อป 19 รายการ ประเภทสแน็กของขบเคี้ยววางจำหน่าย ซึ่งกำลังช่วยชุมชนเจรจาเรื่องค่าเก็บสินค้าในศูนย์กระจายสินค้า ค่าสินค้าแรกเข้า เครดิตเทอม คาดว่าภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้าจะเห็นเป็นรูปธรรม รวมทั้งการร่วมมือกับ บริษัท ไปรษณีย์ดิสทริบิวชั่น จำกัด บริษัทลูกของ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด จัดส่งสินค้าให้ผู้ซื้อทั่วประเทศอีกด้วย”

นายภาณุพล กล่าวต่อว่า อต. กำลังจัดทำเว็บกลาง ชื่อ “SEP Market” ให้ผู้ซื้อพอเพียง ผู้ขายพอเพียงมาพบกัน โดยปีแรกตั้งเป้าหมายเป็นการเชื่อมโยงบอกข่าว ปีที่สองจะเริ่มทำเป็นเว็บอีคอมเมิร์ซซื้อขายสินค้ากัน ซึ่งภารกิจที่กำลังจะดำเนินการเพิ่มเติมนี้ ถือเป็นการปรับตัว 360 องศา ของ อต. ก็ว่าได้

นายชนะ ไชยฮ้อย เกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า เนื่องจากเข้าสู่ฤดูแล้งสภาพดังกล่าวเหมาะกับการระบาดของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง โดยจะทำลายมันสำปะหลังด้วยการดูดน้ำเลี้ยง แล้วปล่อยน้ำหวานทำให้เกิดราดำ ทำให้มันสำปะหลังลดการสังเคราะห์แสง เจริญเติบโตไม่เต็มที่ และในน้ำลายของเพลี้ยแป้งชนิดนี้ มีสารพิษที่ทำให้ลำต้นมันสำปะหลังมีข้อถี่ ยอดหงิกเป็นพุ่มและแห้งตาย ไม่สร้างหัว หรือสร้างหัวน้อยลง หรืออาจทำให้ต้นมันสำปะหลังตายได้ การแพร่กระจายเพลี้ยแป้งสีชมพูชนิดนี้ ส่วนใหญ่ติดไปกับท่อนพันธุ์ ซึ่งจะทำให้การแพร่ระบาดรวดเร็วขึ้น โดยได้ให้แนวทางในการควบคุมเพลี้ยแป้ง ดังนี้

แนวทางของการป้องกันเพลี้ยแป้ง 1.พื้นที่ที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง ห้ามเคลื่อนย้ายท่อนพันธุ์เพื่อไปปลูกแหล่งปลูกอื่น

2.เกษตรกรที่จะปลูกมันสำปะหลังให้เลือกท่อนพันธุ์จากแหล่งที่ไม่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง

3.ก่อนปลูกแช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมีไทอะมีโทแซม 25%WG อัตรา 4 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร นาน 10 นาที 4. ควรปลูกต้นฤดูฝน เพื่อให้มันสำปะหลัง
5.ก่อนปลูกควรไถและพรวนดินหลายครั้ง และตากดินอย่างน้อย 14 วัน

แนวทางของการเฝ้าระวัง

หมั่นสำรวจแปลงปลูกมันสำปะหลังทุกสัปดาห์
2.หากพบการระบาดเพียงเล็กน้อยให้เด็ดยอดที่มีการทำลายของเพลี้ยแป้งใส่ถุงดำนำไปเผาทำลาย ฉีดพ่นด้วยเชื้อราบิวเวอเรีย อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน
แนวทางการกำจัดในพื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง

1.พบการระบาดรุนแรงในมันสำปะหลังอายุ 1-4 เดือน ยอดมันสำปะหลังจะหงิกเป็นกระจุก ให้ถอนทิ้งใส่ถุงดำมัดปากหรือนำไปเผา

2.พบการระบาดรุนแรงในมันสำปะหลังอายุ5-8 เดือน ให้ตัดยอดที่หงิกเป็นกระจุกใส่ถุงดำทำลาแล้วฉีด

พ่นด้วยสารเคมีไทอะมิโท 25%WG 8 กรัม ผสมกับไวท์ออยล์ 67% EC 200 ซี.ซี.ผสมกับน้ำ 80 ลิตร ฉีดพ่นในพื้นที่ 1 ไร่ 3.สำหรับมันสำปะหลังที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไปให้รีบทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตทันที นำต้นทั้งหมดไปเผา

ทำลายและทำความสะอาดแปลง ไถตากดินทิ้งไว้ 14 วัน ก่อนปลูกใหม่

หากมีข้อสงสัยหรือมีปัญหา ปรึกษาได้ที่กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดหนองบัวลำภู

โทร.0-4231- ๖๗๘๘ หรือสำนักงานเกษตรอำเภอที่ใกล้บ้านท่าน ปีนี้ปัญหามลภาวะอากาศเป็นพิษ จากหมอกควันที่เกิดจากการเผาไหม้ โดยเฉพาะการเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย พบรายงานจุดเผาไหม้ หรือ ฮอตสปอต (Hot Spot) ทั่วไปในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ปัญหาเกิดจากฝีมือคน ทางแก้ก็ต้องแก้ที่คนเรา ให้ลด ละ เลิก ค่านิยมการเผาป่า เพื่ออะไรหลายอย่าง เช่น หาของป่า ล่าสัตว์ เตรียมที่ดินปลูกพืช หรืออีกสาเหตุหนึ่ง ที่สะท้อนใจพวกเราเหล่านักบริโภคนิยมของป่า คือชาวบ้านที่หาของป่า ตกเป็นจำเลยของสังคม ว่าเป็นคนที่ชอบเผาป่า เอา “ผักหวานป่า”มาขาย ทำให้เราสะเทือนความรู้สึกไม่น้อย จนไม่อยากซื้อหาผักหวานมาต้มแกงกิน เกรงว่าจะเป็นการสนับสนุนให้ชาวบ้าน เผาป่ากันมากยิ่งขึ้น

สอบถามผู้รู้หลายคน ถึงเหตุผลที่ชาวบ้านต้องเผาป่า เพื่อเอาผักหวาน มาขายเลี้ยงชีพนั้น เขาว่าเป็นเรื่องจริง ที่ชาวบ้านจุดไฟเผาหญ้าแห้ง กิ่งไม้ใบไม้แห้ง บริเวณที่มีต้นผักหวาน ซึ่งตามจริงแล้วผักหวานป่าจะแตกยอดใหม่ ก็ต่อเมื่อใบแก่หลุดร่วงก่อน แต่ผักหวานเป็นพืชทนแล้งใบร่วงหล่นช้า วิธีที่จะทำให้ใบแก่ร่วง ก็ต้องใช้ไฟจุดเผา รม ลวก ไหม้ กิ่งก็จะทิ้งใบแก่ และแตกยอดใหม่ภายในไม่กี่วัน แต่การจุดไฟเผาต้นผักหวานนั้น บริเวณที่จุดไฟมีมากมายด้วยเชื้อไฟที่พร้อมจะลุกลามเป็นบริเวณกว้าง ยากที่จะควบคุมการลุกลามได้ จึงกลายเป็นปัญหาใหญ่ ไฟไหม้ป่าปัญหาระดับชาติที่เป็นอยู่ขณะนี้

ผักหวานป่า เป็นไม้พื้นเมืองที่มีแหล่งกำเนิดในเขตประเทศไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และคาบสมุทรมาเลย์ เมืองไทยเราพบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นผักพื้นบ้านที่นิยมบริโภคแพร่หลายของคนไทยมาก ผักหวานจะขึ้นตามที่ดอนสูง โคกเนิน ป่าเชิงเขา หรือป่าโปร่ง ป่าเต็งรัง ป่าผสมผลัดใบ สภาพดินดาน ดินปนทราย เป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี ออกยอดให้เก็บกิน ขาย ได้ช่วงที่ผ่านแล้งมาระยะหนึ่ง ราวปลายเดือนมกราคม ถึงมีนาคม ต้นฤดูจะราคาดีมาก เมื่อก่อนกิโลกรัมละ 200-300 บาท ปีนี้ 400 บาทขึ้น พออีกระยะก็จะ 200-300 บาทอีก ในตลาดสดมักจะมีวางขายย่อย เป็นกองๆละ 20 บาท 3 กอง 50 บาท มักมีขายพ่วงสินค้าคู่กัน คือ “ไข่มดแดง” เห็นว่าราคาก็แพงเอาเรื่อง หายาก หมายถึงมีความยากลำบากในวิธีการสอยไข่มดแดง กว่าจะหาได้แต่ละถ้วยมาวางขาย ถ้วยละ 30-50 บาท ต้องใช้ทักษะฝีมือความชำนาญ มือใหม่ที่หัดลองแหย่รังเอาไข่มดแดง แทบทุกคนมักบ่นว่า อย่างนี้ซื้อกินดีกว่า

ในสภาพป่าที่ถูกจุดไฟเผาเอายอดผักหวานป่า ต้นผักหวานหลายต้นถูกไฟไหม้ตาย ต้นที่รอดก็เริ่มกระบวนการเจริญเติบโต สร้างชีวิตใหม่ ถ้าโชคดีก็มีโอกาสออกดอกออกลูกมีเมล็ดขยายพันธุ์ต่อ และก็มีหลายส่วนที่เมล็ดผักหวาน ถูกกวาดเก็บออกมาจากป่า เพื่อนำมาเพาะขยายต้นผักหวานปลูกใหม่ ในพื้นที่เกษตร สวนหลังบ้าน หรือแปลงเกษตรเพื่อการค้า ขณะนี้จึงมีการนำต้นผักหวานมาปลูกเพื่อง่ายต่อการดูแล เก็บเกี่ยว เป็นเจ้าของแปลงผักหวานเช่นเดียวกับพืชอีกหลายๆอย่าง ที่เป็นพืชการค้า ทำรายได้ให้แก่เกษตรกร ทดแทนต้นผักหวานจากป่าที่มีลดน้อยลง

มารู้จักผักหวานกันเถอะ ผักหวานป่าเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นสูงประมาณ 5-16 เมตร ใบเดี่ยวสีเขียวเข้มหนา ใบรูปไข่หรือรูปรี ขอบใบเรียบ ปลายใบป้านกลมหรือมน มีรอยเว้าแหลมตื้นๆหรือเป็นติ่งเล็กๆยื่นออกไป ฐานใบเป็นรูปลิ่ม ใบยาว 1-3 เซนติเมตร กว้าง 2.5-5 เซนติเมตร ก้านใบยาว 1-3 มิลลิเมตร ยอดอ่อนมีสีเขียวอ่อนเป็นใบย่อยเล็กๆ ดอกออกเป็นกลุ่มสีเขียว ออกตรงซอกใบ กิ่งและลำต้น มีใบประดับขนาดเล็ก ผลออกเป็นพวงรูปกลมรี สีเหลืองอมน้ำตาล กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร

เราปลูกกันเองก็ได้ ไม่ต้องเข้าป่าหาให้เป็นเรื่อง การปลูกผักหวาน เมื่อแรกเริ่ม รู้สึกเหมือนกับว่าเป็นเรื่องยากมาก มีชาวบ้านพยายามทดลองหลายวิธี แต่ก็มีไม่กี่คนที่ค้นพบวิธีที่ปลูกผักหวาน แล้วรอดตายเป็นไม้ยืนต้น ค้นพบว่าผักหวานมีการแพร่ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ก็นำเอาลูกสุกแก่มาแช่น้ำและคั้นเอาเปลือกออกเหลือแต่เมล็ดใน เอาไปหว่านลงแปลงเพาะ เมื่องอกต้นอ่อนออกมา นำแยกลงถุง เพื่อให้ได้ต้นโตแล้วนำไปปลูก หรือขายให้ผู้สนใจนำไปปลูก ก็ได้ดีอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่ไม่รอด หรือรอดก็อยู่ได้ไม่นาน อีกวิธีหนึ่ง จากการสังเกตพบว่า โคนต้นผักหวานที่โตแล้วสูงมากกว่า 2 เมตร จะพบต้นผักหวานเล็กๆ โผล่ดินขึ้นมา ตอนแรกคิดว่าเป็นต้นที่งอกจากเมล็ด แต่ผักหวานที่มีอยู่ยังไม่มีลูกจะมีเมล็ดที่ไหนมาร่วง และงอกบริเวณนั้นได้ พบว่าเกิดขึ้นมาจากรากต้นแม่ที่ ยาวหากินระดับผิวดิน ลักษณะเป็นไหล หรือลำต้นใต้ดิน ก็มีการขุดย้ายไปปลูกที่อื่น รอดบ้างไม่รอดบ้าง บางรายที่มีต้นผักหวานเป็นของตนเองอยู่ในการดูแลใกล้ชิด ก็สามารถใช้วิธีตอนกิ่ง หรือปักชำกิ่ง ขยายพันธุ์ได้ แต่เท่าที่พบมา จะได้ต้นผักหวานที่โตแต่อายุไม่ยืน

ก็มีการคิดค้นกันหลายวิธี วิเคราะห์หาสาเหตุ ทั้งทางวิทยาศาสตร์ และศาสตร์อื่นๆแล้ว ขณะนี้มีหลายรายที่มีรายได้จากการขายกิ่ง ขายต้นพันธุ์ผักหวาน หลายรายยังมีรายได้จากการหาผักหวานป่าไปขาย และมีบางรายที่ประสบผลสำเร็จในการปลูกผักหวานป่า และเก็บยอดขายมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ วิธีการขยายพันธุ์ผักหวานป่า ที่ประสบผลสำเร็จ และพิสูจน์ด้วยเวลาว่ามีความคงทน อายุยืนให้เก็บยอดขายได้มากว่า 5 -10 ปี คือการปลูกด้วยเมล็ด นำเมล็ดผักหวานที่แก่จัด มาลอกเปลือกด้วยการแช่น้ำแล้วคั้นเอาเปลือกออก เหลือเมล็ดนำไปผึ่งลมให้แห้ง ทิ้งไว้ให้โพ้นระยะพักตัว ประมาณ 1 เดือน การเตรียมหลุมปลูกใช้เสียมหรือจอบ พรวนหน้าดินผสมเศษใบไม้ผุเล็กน้อย วางเมล็ดผักหวานลงบนหน้าดิน หลุมละ 2-3 เมล็ด แล้วกลบบางๆด้วยเศษใบไม้หญ้าแห้ง รดน้ำพอชื้น ใช้ตะกร้า เข่ง หรือสุ่มเก่า ครอบหลุมไว้ เป็นการบังร่มเงา และป้องกันการเหยียบย่ำ ปล่อยไว้สัก 1 เดือน จะได้ต้นผักหวานที่ค่อยๆโต แต่ทนทาน ข้อสังเกต การเตรียมหลุมไม่ได้แนะนำให้ขุดหลุมตามหลักการปลูกไม้ทั่วไป แต่เป็นการเลียนแบบธรรมชาติป่า ท่านต้องเข้าใจนะว่า ผักหวานป่าเป็นพืชไม้ป่า ต้องการชีวิตแบบป่า ไม่ชอบแสงแดดมาก ไม่ชอบน้ำมาก จึงไม่ค่อยพบต้นผักหวานขึ้นในที่โล่งแจ้ง และในป่าทึบก็ไม่พบ ชอบที่ดอน ดินดาน มีรากหากินไม่ลึกแต่มีรากแก้วยึดต้น

การเก็บผักหวาน ไม่ควรตัดโค่นต้นเพื่อมาเด็ดลิดเอายอดอ่อน โค่นต้นหนึ่งต้น ได้ยอดอ่อนผักหวาน สัก 2 กิโลกรัม ขายจากป่า ได้เงิน 200-300 บาท มาขายตลาดเองได้ 500-600 บาท มันไม่คุ้มกับปีต่อๆไปไม่ได้เงินเลย การเผาป่า เพื่อลวกต้นผักหวานกระตุ้นให้แตกยอด ก็ไม่ควรทำอย่างยิ่ง บางต้นทนร้อนไม่ไหว ตายไป ต้นที่ออกยอดออกดอกก็เพื่อสืบต่อชีวิต ถ้าไม่มีน้ำฝน ความชื้นก็ไม่รอดตายเหมือนกัน โปรดคิดให้ดี จุดไฟในป่าที่มีเชื้อไฟ ของแห้งกรอบมากมาย ลุกลามเอาไม่อยู่ จับคนจุดไฟได้ มีความผิดตามกฎหมาย โทษหนักมาก ไม่คุ้มกันเลยกับประโยชน์ที่ได้ ในเมื่อเก็บผักหวานป่าจะเป็นภัยแก่ตัวเอง ก็มาปลูกผักหวานป่าไว้เก็บขายหารายได้แทนดีกว่า ง่ายกว่า คุ้มกว่าเป็นไหนๆ.

นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงที่จะประสบภัยแล้งนอกเขตชลประทานแล้ว ในปีนี้ 105 อำเภอ 34 จังหวัด แบ่งเป็น เฝ้าระวัง 86 อำเภอ ใกล้วิกฤติ 12 อำเภอ และอยู่ในพื้นที่วิกฤต 7 อำเภอ ได้แก่ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก อ.กงไกรลาศ และ อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย อ.ชุมแสง อ.บรรพตพิสัย และอ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ และอ.โพนทะเล จ.พิจิตร ส่วนในเขตพื้นที่ชลประทาน การบริหารจัดการน้ำยังเป็นไปตามแผนและยังไม่มีพื้นที่ใดได้รับผลกระทบ คาดว่าปริมาณน้ำจะมีเพียงพอไปใช้จนถึงเดือนกรกฎาคมนี้

ทั้งนี้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำชับให้กรมชลฯ ดูแลพื้นที่การเพาะปลูกข้าวนาปรังในเขตลุ่มแม่น้ำให้ดี โดยกำชับในส่วนของนาปรังรอบ 3 ให้เป็นศูนย์เท่านั้น เนื่องจากกรมชลประทานจะไม่ส่งน้ำให้โดยเด็ดขาด อย่างไรก็ตาม จากวันนี้จนถึงเดือนเมษายน กรมชลฯได้เตรียมน้ำสำรองของ 4 เขื่อนหลัก รวมปริมาณ 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) เพื่อสนับสนุนการเกษตรโดยเฉพาะหากฝนไม่ตกลงมาหรือเกิดฝนทิ้งช่วงในต้นฤดูกาล

ขณะนี้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) mobiltarca.com ยังไม่มีการออกประกาศพื้นที่ใดเป็นเขตภัยพิบัติเพิ่มเติม จากจังหวัด สระเเก้ว ที่ประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติตั้งเเต่เดือนธันวาคม 2559 และยังไม่มีรายงานประกาศเพิ่ม ซึ่งหากเทียบข้อมูลช่วงวันเดียวกันของปีที่เเล้ว มีการประกาศพื้นที่ภัยพิบัติแล้ว 12 จังหวัด ปีนี้จึงมั่นใจได้ว่าน้ำจะเพียงพอต่อการใช้แน่นอนปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง และขนาดใหญ่ทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 45,816 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 61%

ธ.ก.ส. เผยผลสำรวจระดับความสุขของเกษตรกรไทยต้นปี 2560 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 83.11 จากคะแนนเต็ม 100 เหตุราคาสินค้าเกษตรราคาพุ่ง อีสานตอนบนสุขสุดสุด อ้อยราคาดีตามราคาน้ำตาลโลก ภาคใต้เจอท่วมปลายปี ’59 สุขน้อยหน่อย 79.75 กรีดยางไม่ได้ ผลผลิตปาล์มได้น้อย

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ผลการสำรวจของศูนย์วิจัยและพัฒนา ธ.ก.ส. หัวข้อ “ความสุขมวลรวมของเกษตรกรไทย” จากกลุ่มตัวอย่าง 2,064 รายทั่วประเทศในช่วงที่ผ่านมา พบว่าความสุขของเกษตรกรไทยในภาพรวมคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด คือ 83.11 จากคะแนนเต็ม 100 เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรสำคัญหลายชนิดเริ่มปรับตัวสูงกว่าที่คาดการณ์ อาทิ อ้อย ปลาน้ำจืด และผลไม้ ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ด้านราคาสินค้าเกษตรชนิดอื่นๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเกณฑ์ที่เกษตรกรพอใจ อาทิ ข้าวและยางพารา ส่วนเหตุการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ช่วงที่ผ่านมามีผลกระทบระยะสั้นเท่านั้น

นายลักษณ์กล่าวว่า จากการสำรวจความสุขของเกษตรกรไทยในมิติชี้วัดความสุข 6 มิติ พบว่า มิติครอบครัวดี มิติสุขภาพดี มิติสังคมดี มิติการงานดี มิติใฝ่รู้ดี และมิติสุขภาพเงินดี มีคะแนนเฉลี่ยความสุขอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมิติครอบครัวดี มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด เฉลี่ย 87.94 ส่วนมิติสุขภาพเงินดีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด เฉลี่ย 76.77 แต่ยังอยู่ในระดับมากที่สุด

นายลักษณ์กล่าวว่า ความสุขของเกษตรกรไทย จำแนกตามอาชีพการเกษตรหลัก พบว่า เกษตรกรที่ประกอบอาชีพการเกษตรหลักทุกประเภทมีความสุขอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ปลูกอ้อยมีคะแนนเฉลี่ย 86.75 เพราะแนวโน้มราคาปรับสูงขึ้นตามทิศทางราคาน้ำตาลทรายโลก รองลงมาคือปลูกผลไม้และเลี้ยงปลาน้ำจืดมีคะแนนเฉลี่ย 84.75 และ 84.50 ตามลำดับ เนื่องจากราคาผลไม้มีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่กลางปี 2559 ที่ผ่านมา ขณะที่ราคาปลาน้ำจืดในตลาดปรับสูงขึ้นผลจากเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้ทำให้การประมงน้ำเค็มได้รับความเสียหาย

นายลักษณ์กล่าวว่า เมื่อจำแนกความสุขของเกษตรกรไทยเป็นรายภาค พบว่าเกษตรกรทุกภาคมีความสุขในระดับมากที่สุด โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด 85.75 จากราคาอ้อยปรับสูงขึ้น รองลงมาคือภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีคะแนนเฉลี่ย 84.50 84.25 และ 84.00 ตามลำดับ เนื่องจากราคาผลผลิตภาคเกษตรมีราคาสูงขึ้นเช่นกัน ส่วนภาคใต้ตอนล่างมีคะแนนเฉลี่ย 79.75 ผลจากอุทกภัยเมื่อปลายปี 2559 ชาวสวนยางพาราไม่สามารถกรีดยางได้ และชาวสวนปาล์มน้ำมันไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ รวมทั้งผลผลิตที่เก็บได้มีอัตราการใช้น้ำมันลดลง

วันนี้ 14 มี.ค.เวลา 08.00 น. ผู้สื่อข่าวรายงาน ที่ จ.บึงกาฬ สถานการณ์ภัยแล้งที่ส่อวิกฤติรุนแรง หลังฝนทิ้งช่วงมานาน ทำให้ปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ แห้งขอด บวกกับสภาพอากาศร้อนจัดได้ส่งผลกระทบต่อ เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปรังในพื้นที่บ้านโพนแก้ว หมู่ที่ 10 และบ้านโนนสวรรค์ หมู่ที่ 4 ตำบลหนองหัวช้าง อำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ กว่า 3,000 ไร่ กำลังได้รับผลกระทบอย่างหนัก ข้าวที่กำลังจะโต บางพื้นที่กำลังตั้งท้องออกรวงได้รับความเสียหาย ต้นข้าวเริ่มยืนต้นแห้งตาย ชาวนาหลายราย เริ่มถอดใจปล่อยทิ้งข้าวในนาบางส่วนให้แห้งตาย เนื่องจากไม่สามารถหาน้ำมาหล่อเลี้ยงต้นข้าวได้