หนุ่มนราฯ เลี้ยงชันโรง พื้นที่ข้างบ้าน ปั้นแบรนด์ “ชันโรงบูโด”

สร้างรายได้หลักแสนต่อปี ชันโรง หรือ ผึ้งจิ๋ว เป็นผึ้งตระกูลที่ไม่มีเหล็กใน น้ำผึ้งชันโรงมีสรรพคุณมากมายและมีสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ น้ำผึ้งจากชันโรงมีคุณสมบัติเป็นเลิศด้วยความเข้มข้นของน้ำผึ้ง ชันโรงไม่กินน้ำแต่กินเกสรและน้ำหวานจากดอกไม้ ผลไม้ พืชสมุนไพร จึงมีความเหนือด้วยคุณสมบัติการแสวงหาและสะสมอาหารของชันโรง เพราะชันโรงกินเกสรและน้ำหวานจากพืชสมุนไพรด้วย และมักเป็นสมุนไพรที่รักษาโรคต่างๆ ตลอดจนเป็นสมุนไพรที่ดูแลสุขภาพผู้บริโภค ทำให้น้ำผึ้งชันโรง เป็นน้ำผึ้งที่อุดมด้วยคุณค่าทางอาหารและยา

คุณมูหัมมัด ซัมซูดิน เซ็นมาด หรือ พี่ดิน อยู่บ้านเลขที่ 105/8 หมู่ที่ 4 บ้านบูเก๊ะปาลัส ตำบลยี่งอ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ใช้ระยะเวลาเรียนรู้การเลี้ยงชันโรงด้วยตัวเองกว่า 2 ปี โดยไม่ปริปากให้ใครได้รู้ แม้กระทั่งภรรยาของตัวเอง ด้วยสาเหตุที่กลัวคนอื่นหาว่าบ้า ถ้าทำในสิ่งที่คนอื่นเขาไม่ค่อยทำกัน พี่ดินจึงเก็บความลับไว้มานานเป็นระยะ 2 ปี เมื่อเรียนรู้ด้วยตัวเองจนเกิดความเชื่อมั่น จึงเริ่มเลี้ยงเพื่อเป็นอาชีพเสริมจากการทำสวนผสมผสาน

“ความคิดริเริ่มที่จะเลี้ยงชันโรง มาจาก วันหนึ่งผมได้เข้าไปหาของที่ห้องเก็บของ วันนั้นก็เจอตัวชันโรงทำรังอยู่ในกล่องเก็บของ ซึ่งตอนนั้นผมยังไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าตัวที่เจอคือ ชันโรง จากนั้นก็เก็บความสงสัยมาถามแม่ยาย ว่านี่คือ ตัวอะไร แม่ยายตอบว่า คือ ตัวชันโรง ผมจึงถามต่ออีกว่า แล้วมีพิษไหม แม่ยายบอกว่า ไม่มี และบอกข้อมูลเพิ่มมาอีกว่า ชันโรงมีน้ำผึ้งด้วย แต่สรรพคุณจะต่างจากผึ้งโพรงและผึ้งหลวงที่จะนำไปดื่มเพื่อสุขภาพ แต่ผึ้งชันโรงเขาจะเอาส่วนประกอบหรือนำมาดื่มเพื่อเป็นยา และคำที่แม่ยายบอกว่า ดื่มเพื่อเป็นยา มันทำให้ผมเกิดไอเดียขึ้นมาว่า และเชื่อว่าอนาคตจะเป็นสิ่งที่ตลาดต้องการมาก จึงมีแรงผลักดันมีกำลังใจกับตัวเอง ในเมื่อเป็นทรัพยากรที่มีอยู่แล้วในพื้นที่ ผมก็น่าจะเอาตัวนี้มาเป็นตัวเพิ่มอาชีพเสริมอีกช่องทางหนึ่งได้” พี่ดิน กล่าวถึงที่มาของการเลี้ยงชันโรงเป็นอาชีพเสริม

ทำสวนผสมผสานข้างบ้าน 1 ไร่
พร้อมเลี้ยงชันโรงเป็นอาชีพเสริม
พี่ดิน บอกว่า อาชีพหลักคือ การทำสวนผสมผสาน ปลูกยาง ปลูกไม้ผล เพิ่งจะมาเริ่มเลี้ยงชันโรงเป็นอาชีพเสริมได้ประมาณ 2 ปีกว่า ไม่รวมกับเวลาที่ใช้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองอีก 2 ปี ทุกวันนี้เกิดความชำนาญมากขึ้น สามารถสร้างรายได้กับการเลี้ยงชันโรงได้เป็นอย่างดี บนพื้นที่เพียง 1 ไร่ เลี้ยงในสวนผสมผสาน ชันโรงสามารถหากินเกสรได้ง่ายและมีเกสรหลากหลายชนิด ซึ่งจะส่งผลดีต่อรสชาติและคุณประโยชน์ของน้ำผึ้ง

ชันโรง ถือว่าเลี้ยงไม่ยาก เพียงแค่ถ้ารู้รายละเอียดปลีกย่อยให้ได้มากที่สุด และตอนนี้ชันโรงที่เลี้ยงอยู่มี 8 สายพันธุ์ มีจำนวนเกือบ 100 รัง แต่ที่เลี้ยงเพื่อจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งชันโรง มีแค่ 2 พันธุ์

พันธุ์ขนเงิน เป็นผึ้งตัวเล็ก ให้รสชาติน้ำผึ้งหวานอมเปรี้ยว
พันธุ์อิตาม่า หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ผึ้งป่า เป็นพันธุ์ที่ตัวใหญ่ และมีอยู่ในพื้นที่อยู่แล้ว จึงนำมาเป็นจุดขาย
วิธีการเลี้ยงชันโรงพันธุ์ขนเงิน ใช้พื้นที่ไม่เยอะ รัศมีทำกิน 300 เมตร ใช้วิธีการตั้งรังบนชั้นและตั้งในที่ร่ม อย่าให้โดนแดด ถ้าโดดแดดชันยางหรือถ้วยน้ำหวานจะละลาย

เมื่อเจอชันโรงไปทำรังในกล่องข้างบ้านอย่างที่ผมเจอครั้งแรก หรือที่ไปทำในชั้นวางของ ตู้เก็บของ วิธีการคือ เอากลุ่มไข่ทั้งหมด ทั้งไข่อ่อน ไข่แก่ มาใส่ในกล่องเลี้ยง แล้วเอานางพญามาใส่ ทำไซซ์กล่อง ขนาด A4 ความหนาของไม้ครึ่งนิ้วถึงหนึ่งนิ้ว ความสูง 4 นิ้ว เป็นไซซ์มาตรฐานที่นักวิชาการเรื่องชันโรงวิจัยมาแล้วว่า ขนาดนี้เหมาะสมที่สุดสำหรับชันโรงสายพันธุ์ขนเงิน

วิธีล่อ จะทำกล่องไซซ์ A4 แล้วไปตั้งไว้ตามธรรมชาติ ตั้งไว้ใกล้ๆ กับรังเดิมที่มันมีชันโรงอยู่แล้ว โดยที่เอาชันยางจากรังอื่นมาป้ายในกล่องและป้ายตรงปากทางเข้า เมื่อชันโรงที่ทำรังอยู่ผนังบ้าน หรือในโพรง ครบรอบการแยกขยายก็จะไปหาโพรงหรือกล่องที่จะไปอยู่อาศัย ซึ่งตัวชันยางที่ทาไว้ที่กล่องและปากทางเข้าจะเป็นตัวดึงดูดให้ชันโรงงานมาหาที่อยู่ เมื่อชันโรงงานมาเจอก็จะทำโครงสร้างรังแล้วก็ตั้งอาหาร เมื่อรังที่เจอใหม่สมบูรณ์ก็จะยกโขยงมาทำรัง

วิธีต่อท่อ สำหรับเจอตามเสา หรือตามผนังบ้านคนที่เขาไม่ต้องการเลี้ยงก็ใช้วิธีต่อท่อ สักระยะหนึ่งชันโรงก็จะเข้ามาอยู่ในกล่องที่ต่อท่อไว้ เมื่อมาอยู่ก็สามารถแยกกล่องออกมาจากผนังบ้านหรือตามเสามาตั้งตามจุดที่จะเลี้ยงได้

วิธีการเลี้ยงชันโรงพันธุ์อิตาม่า… รัศมีทำกิน 2 กิโลเมตร ระยะห่าง 2-4 เมตร ต่อรัง นิสัยของชันโรงพันธุ์อิตาม่าจะทำรังอยู่ในโพรงต้นไม้ วิธีการเลี้ยงคือ นำพันธุ์จากต้นไม้ที่ชันโรงทำรังมา แล้ววางถาดน้ำหวานบนขอน ซึ่งนิสัยของชันโรงอิตาม่าจะนำน้ำหวานไปตั้งไว้บนที่สูง ในโพรงจะเป็นที่วางไข่

การดูแลโรคแมลงของทั้ง 2 สายพันธุ์… ดูแลมดที่มาดูดกินน้ำหวาน กินตัวอ่อนตัวดักแด้ และก็ดูแลอย่าให้สัตว์กินแมลงมากินตัวงาน วิธีกำจัดคือ ใช้ชอล์กฆ่ามด หรือทำขอบป้องกันไม่ให้มดเข้ารังได้ แต่ที่น่าเป็นห่วงกว่ามดแมลงคือช่วงมรสุมลมแรง จะพัดละอองฝอยของด้วงเข้ามา ซึ่งละอองฝอยของด้วงถ้าพัดเข้าไปอยู่ในกล่องหรือในรังของชันโรง ตัวละอองฝอยของด้วงจะไปเจริญเติบโต แล้วไปกัดกินไข่กินตัวอ่อน กินน้ำหวานของชันโรง ชันโรงก็จะถูกกำจัดและทิ้งรังไปเลย

ระยะให้ผลผลิต
พันธุ์ขนเงิน เก็บได้ปีละครั้ง ปริมาณน้ำผึ้งต่อรัง ประมาณ 1 กิโลกรัม
พันธุ์อิตาม่า ประมาณ 3-6 เดือน เก็บผลผลิตได้ครั้งแรก หลังจากนั้น เริ่มเก็บผลผลิตได้เดือนละครั้ง 1 ปี สามารถเก็บน้ำผึ้งได้ 9 เดือน อีก 3 เดือน ที่หายไป คือช่วงหน้าฝน หน้าฝนชันโรงจะไม่ออกไปหาอาหาร ปริมาณน้ำผึ้งต่อรังไม่ถึง 1 กิโลกรัม เลี้ยง 30 รัง ได้ผลผลิตน้ำผึ้ง 80 กิโลกรัม ต่อ 1 ปี จะเห็นได้ว่าปริมาณการเก็บน้ำผึ้งต่างกันมากระหว่างอิตาม่าที่เก็บได้ทุกเดือน แต่ขนเงินเก็บได้ปีละครั้ง แต่ทำไมยังต้องเลี้ยง เพราะพันธุ์อิตาม่าจะแยกขยายยาก รายละเอียดปลีกย่อยเยอะ ส่วนพันธุ์ขนเงินเก็บได้ปีละครั้งก็จริง แต่สามารถแยกขยายได้ 2 ครั้ง ต่อปี และมีชันยางให้เก็บ ซึ่งพันธุ์อิตาม่าไม่มี เวลาเก็บน้ำผึ้งจากพันธุ์ขนเงินจะได้ชันยางมาด้วย ซึ่งชันยางตัวนี้มีราคาดี กิโลกรัมละ 1,000 บาท น้ำผึ้ง 1 กิโลกรัม จะได้ชันยาง 300 กรัม ถือว่ามีข้อดีข้อเสียต่างกันไป

ราคา… มิลลิลิตรละ 2 บาท บรรจุขาย 3 ขนาด ขวดเล็กบรรจุ 45 มิลลิลิตร ราคา 100 บาท ขนาดกลางบรรจุ 150 มิลลิลิตร ราคา 300 บาท และขวดใหญ่บรรจุ 500 มิลลิลิตร ขวดละ 960 บาท ตอนนี้มีขายแค่เฉพาะน้ำผึ้งอย่างเดียวยังไม่ได้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่น เพราะลำพังขายแค่น้ำผึ้งก็ผลิตไม่ทันความต้องการของลูกค้าแล้ว

รายได้…ถือเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ดี เดือนละประมาณ 35,000-40,000 บาท

ตลาด… ลูกค้ากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ มาจากออนไลน์ สั่งผ่านเฟซบุ๊กบ้าง สั่งผ่านไลน์บ้าง น้ำผึ้งชันโรงบูดู สินค้าคุณภาพ
จากเกสรพฤกษากว่า 40 ชนิด
เจ้าของบอกว่า น้ำผึ้งชันโรงบูโด ของตนเองอุดมไปด้วยเกสรดอกไม้กว่า 40 ชนิด พิสูจน์ได้จากเมื่อปีที่แล้วตนส่งตัวอย่างน้ำผึ้งของตัวเองไปให้ ดร. สมนึก บุญเกิด ท่านเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง และท่านได้ส่งต่อน้ำผึ้งของตนไปประเทศญี่ปุ่น เพื่อหาพืชอาหารชันโรงพันธุ์ขนเงิน เพราะที่ญี่ปุ่นจะชอบรสชาติหวานอมเปรี้ยว จึงส่งพันธุ์ขนเงินไปเข้าห้องแล็บ เพื่อทดลองว่าอาหารน้ำผึ้งในพื้นที่บ้านตนมีกี่ชนิด ใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ ก็ได้คำตอบว่า มีพืชอาหารชันโรง ประมาณ 40 ชนิด ยิ่งทำให้มั่นใจในตัวผลิตภัณฑ์ของตนเองมากขึ้น

ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ในน้ำผึ้งที่เลี้ยงมีจำนวนเกสรดอกไม้หลายชนิดขนาดนี้ ส่วนหนึ่งมาจากพื้นที่ที่เลี้ยงมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อยู่ใกล้ธรรมชาติ เลี้ยงในสวนผสมหลายชนิด จึงทำให้น้ำผึ้งที่นั้นมีส่วนประกอบของเกสรจากพืช ยิ่งหลายชนิดจะยิ่งเพิ่มคุณค่าทางอาหารของน้ำผึ้ง อย่างน้ำผึ้งชันโรงบางเจ้าเขาเลี้ยงในสวนปาล์ม ก็จะได้พืชอาหารไม่กี่ชนิด แต่ที่สวนเป็นป่าผสมผสานก็เลยได้น้ำหวานจากพืชหลายชนิด

การเลี้ยงชันโรง ดีอย่างไร
“การเลี้ยงชันโรง ไม่เพียงแต่เป็นการสร้างรายได้ แต่ยังเป็นการสร้างกิจกรรมเดิมที่มีอยู่แล้ว ไม่ต้องไปทำลายมัน และยังช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับพืชสวนของเราได้ เพราะว่าพืชสวนที่ผมทำมาก่อน ที่ไหนมีชันโรงถือว่าเป็นตัวชี้วัดความเป็นเกษตรอินทรีย์ และสวนไหนมีชันโรงช่วยผสมเกสร ความแตกต่างของรสชาติผลไม้จะแตกต่างโดยสินเชิงกับสวนที่ไม่ได้เลี้ยงชั้นโรง และช่วยเพิ่มผลผลิตให้พืชสวนเราได้ด้วย” พี่ดิน กล่าวทิ้งท้าย

การพัฒนาเกษตรกร ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างมั่นคง สร้างความกินดีอยู่ดีให้แก่เกษตรกรในระยะยาว เป็นเป้าหมายการทำงานที่สำคัญ ที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความสำเร็จแก่เกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมพัฒนาในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ

หนึ่งในนั้น คือ สง่า ชั้นอินทร์งาม อยู่บ้านเลขที่ 68/2 หมู่ 4 ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โทรศัพท์ 08-6750-6733 เป็นหนึ่งในเกษตรกรผู้อยู่ในที่ดินพระราชทาน จากพระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงพระราชทานที่ดินที่เป็นทรัพย์สินส่วนพระองค์ใน 5 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครนายก และฉะเชิงเทรา รวมเนื้อที่ 44,369 ไร่ ให้แก่ ส.ป.ก. เพื่อสนับสนุนงานปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย

บนก้าวการพัฒนาอย่างทุ่มเทเพื่อสร้างสุขให้กับเกษตรกรในที่ดินพระราชทานของส.ป.ก. ได้ส่งผลให้พี่สง่า ได้กลายเป็นหนึ่งในเกษตรกรต้นแบบผู้ประสบความสำเร็จ สามารถสร้างชีวิตใหม่ให้กับตนเองและครอบครัว มาจนถึงวันนี้

“ ที่ดินที่ผมทำกินผืนนี้ เป็นที่ดินที่พ่อได้รับพระราชทานมาจากในหลวง รัชกาลที่ 9 และตกมาถึงรุ่นผม ซึ่งการมีที่ดินนี้ทำให้ครอบครัวเราอยู่กันอย่างมีความสุขตลอดมา สามารถทำกินได้ตลอดไปจนชั่วลูกชั่วหลาน”

ปัจจุบันที่ดินพระราชทานจำนวน 5 ไร่ 3 งาน จากเดิมที่เคยใช้ประโยชน์จากการทำนาปลูกข้าวอย่างเดียว ถูกพัฒนามาสู่การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามหลักเศรษฐกิจ

พอเพียงตามการส่งเสริมของ ส.ป.ก.

ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กล่าวว่า ส.ป.ก. ได้เน้นการน้อมนำศาสตร์พระราชามาปรับใช้กับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ในเขตปฏิรูปที่ดิน ถือเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา และเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมแบบยั่งยืน โดยได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรในท้องที่ต่างๆได้หันมาใช้แนวทางเกษตรทฤษฏีใหม่ เพื่อสร้างความยั่งยืนในอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกร

สำหรับเกษตรทฤษฎีใหม่ที่พี่สง่าทำนั้นจะมีแบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน ๆ มีปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ให้มีความหลากหลายตามแนวทางเกษตรทฤษฏีใหม่ อันจะนำไปสู่การทำให้มีผลผลิตหมุนเวียนสามารถเก็บจำหน่าย สร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ตลอดทั้งปี

“กิจกรรมหลักทั้งการทำนาปลูกข้าวพันธุ์หอมปทุม เพื่อจำหน่ายให้กับโรงสีในพื้นที่ การปลูกไม้ผลบนคันนา ที่มีทั้งมะม่วง กล้วย และการเลี้ยงเป็ด” พี่สง่ากล่าว

สำหรับในการบริการจัดการดูแลเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาดนั้น นอกเหนือจากการใช้ภูมิปัญญาของตนเองที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ และปฏิบัติจริงแล้ว พี่สง่ายังได้นำองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับจากการเข้ามาช่วยแนะนำของเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. มาปรับใช้ จนประสบความสำเร็จ

“ ได้ความรู้จากเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. มาเยอะเลยครับ มีทั้งพาไปเข้าร่วมในหลักสูตรการอบรมต่าง ๆ รวมถึงการเข้ามาแนะนำถึงที่สวน อย่างเรื่องการสร้างผลผลิตปลอดภัย ด้วยการปรับเปลี่ยนมาใช้สารชีวภัณฑ์ทดแทนการใช้สารเคมี มาสอนหมดครับ ตั้งแต่วิธีการทำไปจนถึงการใช้ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังสอนการทำปุ๋ยหมักโดยใช้วัสดุเหลือใช้ที่มีอยู่ในสวนเป็นวัตถุดิบ และใช้อย่างไรให้ถูกวิธี สิ่งเหล่านี้ผมนำมาปฏิบัติตาม ซึ่งได้ผลดีมากครับ พืชผักเจริญเติบโตดี เป็นผลผลิตที่ปลอดภัย และที่สำคัญทำให้ต้นทุนต่าง ๆ ต่ำลงมากครับ”

“ ตอนนี้ทุกกิจกรรมในสวนผม สามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น พืชหลักอย่าง ข้าวพันธุ์หอมปทุม ตอนนี้ก็เน้นจำหน่ายให้กับโรงสีในพื้นที่ และที่ว่างบนคันนา ปลูกไม้ผลหลายชนิด ทั้งมะม่วง มะพร้าวน้ำหอม ขนุน น้อยหน่า รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ปีก อย่างเป็ดไข่ ส่วนนี้ถือเป็นการเสริมรายได้ในแต่ละวันครับ ” พี่สง่ากล่าว

ในขณะที่ด้านการตลาดที่รองรับผลผลิต พี่สง่าเน้นตลาดในชุมชนเป็นหลัก ผลผลิตที่เก็บได้ในแต่ละวัน จะถูกนำมาวางจำหน่ายที่บริเวณหน้าบ้าน ซึ่งตั้งเป็นร้านค้าเล็ก ๆ ที่มีผลผลิตจากความตั้งใจอันยิ่งใหญ่มาวางจำหน่ายให้กับผู้คนในชุมชน และคนที่เดินทางสัญจรผ่านไปมา

“ ผมทำเองขายเองครับ ไม่ต้องไปง้อพ่อค้าคนกลาง ซึ่งตอนนี้ผลผลิตมีเท่าไรก็ขายได้หมดอยู่ได้สบายครับ” พี่สง่ากล่าวในที่สุด ทั้งหมดนี้คืออีกหนึ่งความสำเร็จของเกษตรกรตัวเล็ก ๆ ที่ชื่อ สง่า ชั้นอินทร์งาม แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ในการพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ บนที่ดินพระราชทานของจังหวัดนครปฐมแห่งนี้

หนองบัวลำภู จังหวัดที่แยกตัวมาจากอุดรธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 หากประเมินดูก็น่าเชื่อได้ว่า จังหวัดที่แยกตัวออกมา ควรมีสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แต่ทว่าพื้นที่จังหวัดหนองบัวลำภู กลับไม่มีระบบชลประทานรองรับเกษตรกรในพื้นที่ ทำให้เกษตรกรต้องพยายามพัฒนาระบบน้ำ เพื่อให้สอดคล้องกับการเกษตรในพื้นที่ ซึ่งการปลูกพืชทุกชนิด “น้ำ” เป็นปัจจัยสำคัญ

คำสัมภาษณ์ของ คุณทองแดง อัมไพชา เกษตรกร หมู่ที่ 11 ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู เกษตรกรต้นแบบ สาขาพืชสวน (ปลูกกล้วยหอมทอง) อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ก็เด่นชัดเรื่องน้ำสำหรับใช้ในการเกษตรที่ขาดแคลนและต้องพึ่งพาอาศัยน้ำฝนจากธรรมชาติเพียงอย่างเดียว แม้จะแก้ปัญหาด้วยการเจาะบ่อบาดาลก็ช่วยได้ไม่มากนัก

“เทคโนโลยีชาวบ้าน” ได้พูดคุยกับคุณทองแดง ถึงการทำสวน แม้ว่าก่อนหน้านั้นคุณทองแดงจะปลูกมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชไร่ จำนวน 10 ไร่ ได้ผลผลิตไร่ละ 4 ตัน คิดเป็นรายได้ต่อปี ประมาณปีละ 40,000 บาท เมื่อหักต้นทุนที่ลงทุนไป ทำให้เห็นได้ชัดว่า รายได้ที่ได้รับไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

คุณจีระพงษ์ อัมไพชา บุตรชาย เป็นต้นคิดให้พ่อเปลี่ยนรูปแบบการทำการเกษตร จากการปลูกพืชไร่ ราคาขึ้นลงตามราคาตลาดที่ไม่สามารถควบคุมได้ และการทำนา ที่หากปีไหนได้มากพอก็เหลือขาย แต่หากได้ไม่มากนักก็เก็บไว้กินในครัวเรือน คุณจีระพงษ์ชวนคุณทองแดงผู้เป็นพ่อไปศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกกล้วยหอมทอง ที่อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นแหล่งปลูกกล้วยหอมทองมากที่สุดในภาคอีสาน

เมื่อตรึกตรองแล้ว เห็นว่า การปลูกกล้วยหอมทอง น่าจะเป็นทางสร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับครอบครัว จึงตัดสินใจแปลงที่ดิน 10 ไร่ ให้เป็นสวนกล้วยหอมทอง ด้วยการลงทุนซื้อหน่อพันธุ์กล้วยหอมทองจากอำเภอสร้างคอม มาจำนวน 150 หน่อ ทดลองปลูกเมื่อปลายปี พ.ศ. 2559 และปัจจุบันปลูกกล้วยหอมทองเต็มพื้นที่ 10 ไร่

การปลูกกล้วยหอม จะใช้ระยะปลูก 2×2 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ปลูกได้ 350-400 หน่อ หน่อที่นำมาปลูกต้องเป็นหน่อจากต้นที่มีอายุ 1 ปีขึ้นไป จึงจะเป็นหน่อที่สมบูรณ์ ราคาหน่อกล้วยที่ขาย 8-10 บาท ต่อหน่อ การให้น้ำมีทั้งปล่อยไปตามร่องและใช้น้ำหยด โดยลงทุนระบบน้ำหยด ไร่ละ 3,000 บาท ก็สามารถควบคุมการให้น้ำและความชื้นได้ การให้ปุ๋ย จะให้ครั้งแรกช่วงรองพื้นก่อนปลูกครั้งหนึ่ง โดยให้เป็นปุ๋ยคอกคลุกเคล้ากับดินบริเวณปลูก เมื่อกล้วยอายุ 1 เดือน เริ่มให้ปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 100-150 กรัม ต่อต้น เมื่อต้นอายุ 3-4 เดือน ให้สูตร 15-15-15 ในอัตรา 200-300 กรัม ต่อต้น อายุ 5 เดือน ให้ปุ๋ยสูตร 20-15-20 ในอัตรา 200-300 กรัม ต่อต้น

เมื่อกล้วยอายุ 4 เดือน จะเริ่มแต่งหน่อที่แตกออกมารอบต้นออก หลังจากนั้นคอยแต่งหน่อทุก 10-15 วัน ต่อครั้ง ส่วนใบกล้วย ถ้าจะให้ดีควรเก็บใบไว้ให้มากที่สุด ตัดแต่งเฉพาะใบที่เสื่อมสภาพหรือหมดอายุออก โดยจะไว้ใบต่อต้นประมาณ 10 ใบ

เมื่อกล้วยเริ่มให้ปลี น้ำจำเป็นต้องให้วันเว้นวัน ปริมาณ 7-8 ลิตร ต่อต้น เมื่อปลีออกมาสุด ให้เตรียมไม้ค้ำ ทำจากไม้ไผ่ เมื่อตัดปลีออก ให้ใช้ไม้ค้ำไว้ จากนั้นใช้ผ้าห่อเครือกล้วย

ผ้าห่อเครือกล้วย เดิมทำมาจากถุงพลาสติกบ้าง ถุงปุ๋ยบ้าง แต่จากการสังเกต คุณทองแดง พบว่า การนำผ้ามาเย็บต่อกันให้อยู่ในรูปของถุง ใช้คลุมเครือกล้วย จะช่วยให้ผิวกล้วยเมื่อสุกเหลืองสวย แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามใช้ผ้าสีดำ เพราะจะทำให้ผิวกล้วยซีดออกขาว แม้จะนำไปบ่มก็ไม่เหลืองสวยตามต้องการ หลังจากตัดปลีห่อเครือกล้วยแล้ว ประมาณ 56-60 วัน ก็ตัดเครือกล้วยลงได้

หลังตัดเครือกล้วยแล้ว ให้นำไปล้างยางกล้วยออกด้วยซันไลต์ แล้วล้างซันไลต์ออกด้วยน้ำสะอาด ก่อนตัดแต่งหวีให้เหลือผลที่สมบูรณ์ พร้อมจำหน่าย การจำหน่ายชั่งเป็นกิโลกรัม ราคารับซื้อ กิโลกรัมละ 18 บาท เป็นราคาประกันซื้อของบริษัทจากอำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี ซึ่งบริษัทผลิตส่งจำหน่ายให้กับร้านสะดวกซื้อของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้การผลิตกล้วยหอมทองส่งจำหน่ายถือว่ายังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค

คุณทองแดง ให้ข้อมูลว่า การปลูกกล้วยหอมทองนั้น สมัคร GClub ใช้เงินลงทุนประมาณ 22,000 บาท ต่อไร่ ต้นทุนการปลูกกล้วยหอมทอง พื้นที่ 1 ไร่ (จำนวน 400 หน่อ) แยกเป็นค่าเตรียมดิน 1,700 บาท ค่าหน่อพันธุ์ 6,000 บาท ค่าแรงปลูก 1,200 บาท ค่าน้ำมันตัดหญ้า (8 ครั้ง) 1,200 บาท ค่าแรงตัดหญ้า (8 ครั้ง) 400 บาท ค่าไฟฟ้า (รดน้ำ) 1,000 บาท ค่าปุ๋ยคอก 3,200 บาท (หลักเน้นปุ๋ยคอกรองก้นหลุม หลุมละ 20 กิโลกรัม เพราะต้นกล้วยกินได้นาน) ค่าปุ๋ยเคมี 4,000 บาท (ปุ๋ยเคมี ใส่จำนวนปริมาณน้อย เพราะผลผลิตต้องได้ขนาดตามมาตรฐานกำหนด) ค่าเศษผ้าห่อเครือ 3,200 บาท ท่อ PE 20 mm. 2,400 บาท หัวน้ำหยด 400 บาท ปีที่ 1 รวมต้นทุน 22,300 บาท ต้นทุน/ต้น 55.75 บาท 22,300 (ต้นทุน)/400 (หน่อ) ปีที่ 2 ต้นทุน 10,300 บาท/400 ต้น = 25.75 บาท รายได้เฉลี่ย 56,000 บาท/ไร่ (140 บาท ต่อต้น)

ส่วนระบบการให้น้ำเป็นระบบน้ำหยด เป็นนวัตกรรมในการปลูกกล้วยให้ได้ผล โดยให้วันละ 8 ชั่วโมง สลับร่องแถว แถวละ 10-15 นาที พอให้ดินชุ่ม

เมื่อกล้วยให้ผลผลิตในปีแรก คุณทองแดงและลูกชายขายผลผลิตได้เป็นเงิน 500,000 บาท

ผลผลิตที่บริษัทมารับซื้อถึงสวน สัปดาห์ละ 2-3 ตัน ไม่เฉพาะผลผลิตกล้วยหอมทอง แต่คุณทองแดงมองไปถึงการขายหน่อ ทำให้มีรายได้จากการขายหน่อเสริมเข้ามาอีก

โดยปกติ ผลผลิตต่อไร่ที่จำหน่ายได้ อยู่ที่ 4 ตัน ราคาตันละประมาณ 14,000 บาท คิดเป็นรายได้ต่อไร่ เป็นจำนวนเงิน 56,000 บาท

น้ำหนักต่อหวี 2-3 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 18 บาท (ราคาประกัน) กล้วยหอมทอง ไม่ได้สร้างรายได้ให้เฉพาะผลกล้วย แต่หน่อกล้วยก็สร้างรายได้ได้เช่นกัน

คุณทองแดง บอกด้วยว่า กล้วยหอมทอง 1 ต้น ให้หน่อพันธุ์เฉลี่ย ต้นละ 7 หน่อ ราคาจำหน่าย หน่อละ 15 บาท เท่ากับ กล้วยหอมทอง 1 ต้น สามารถจำหน่ายหน่อพันธุ์ได้ 105 บาท ในพื้นที่ 1 ไร่ ปลูกกล้วย จำนวน 400 ต้น จะได้หน่อพันธุ์ 2,800 หน่อ คิดเป็นรายได้จากการจำหน่ายหน่อพันธุ์ 42,000 บาท คุณทองแดง มีไอเดียการดูแลแปลงปลูก ซึ่งดินบริเวณดังกล่าวแร่ธาตุไม่สมบูรณ์ ทั้งยังขาดแหล่งน้ำ ดังนั้น ก่อนปลูกกล้วยหอมทอง คุณทองแดงจึงปรับปรุงดินและลดการใช้สารเคมีในพื้นที่ก่อน โดยการใช้ปุ๋ยคอกและน้ำหมักชีวภาพ ผสมน้ำหมักชีวภาพไปในถังน้ำ แล้วปล่อยไปตามท่อน้ำหยด

เมื่อถามถึงปัญหาในการปลูกกล้วยหอมทอง คุณทองแดงให้ข้อมูลว่า โรคที่พบในกล้วยหอมทอง เป็นโรคใบด่าง มีผลต่อใบ แต่ไม่มีผลต่อผลผลิตมากนัก หากพบอาจทำให้กล้วยมีขนาดผลเล็กลงเท่านั้น ดังนั้น หากพบ ควรตัดใบทิ้ง ส่วนโรคอื่นยังไม่พบ น่าจะเป็นเพราะการปรับปรุงดินโดยหว่านปุ๋ยคอกและหว่านปอเทืองก่อนไถกลบก่อนลงปลูก

“ปัญหาที่พบและควบคุมได้ยาก คือ ปัญหาลม กล้วยหอมทองเป็นพืชเปราะบาง เมื่อกระทบลม การค้ำไม้ช่วยก็ไม่ได้ผลเท่าที่ควร ดังนั้น วิธีการคือ การเลี่ยงลม โดยลงปลูกในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม เมื่อต้นเริ่มแข็งแรง จะเป็นช่วงฤดูที่มีลมพัดแรง ต้นจะทานได้ ไม่ล้มตามลม ส่วนปัญหาอื่นยังไม่พบ”

คุณทองแดง ถือเป็นเกษตรกรต้นแบบ สาขาพืชสวน ของอำเภอโนนสัง ส่วนลูกชายก็เป็นต้นแบบของไอเดียการปลูกกล้วยหอมทองให้กับพ่อ และเป็นเสมือนฐานช่วยพ่อในการดูแลแปลงกล้วยหอมทองให้เป็นแปลงกล้วยหอมทองที่มีคุณภาพ