หนุ่มวัย 26 จบเกษตรสืบทอดงานทำสวนทุเรียน มีผลผลิต

ครอบครัว “โกปิยนันท์” ทำสวนได้ผลผลิตดีมานาน คนละแวกนั้นรู้จักกันดี

ถึงแม้ฐานะจะสามารถส่งลูกไปเรียนต่างประเทศได้ แต่หัวหน้าครอบครัวเลือกที่จะส่งลูกไปเรียนไม่ไกล คือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ตั้งอยู่ตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี

คุณเกียรติยศ โกปิยนันท์ เป็นลูกคนเล็ก ครอบครัวนี้ อยู่บ้านเลขที่ 37/1 หมู่ที่ 3 ตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

“ผมมีพี่น้อง 2 คน ผมเป็นคนเล็ก” คุณเกียรติยศ บอก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจันทบุรี ก่อตั้งมานานกว่า 50 ปีแล้ว เดิมมีฐานะเป็นโรงเรียนเกษตรกรรม จากนั้นขยับเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรม จนปัจจุบันมีฐานะเป็นมหาวิทยาลัย

เนื่องจากตั้งอยู่ในเขตเกษตรที่ก้าวหน้า จึงทำให้สถานศึกษาแห่งนี้ ต้องปรับตัวและมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่ทันสมัย ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนทั้งใกล้และไกลได้ ประกอบกับสถานที่ตั้งอยู่ติดกับเทือกเขาคิชฌกูฏ มีน้ำตกกระทิงเป็นฉากหลัง จึงมีผู้นิยมส่งบุตรหลานเข้าไปศึกษาหาความรู้

เมื่อ 30-40 ปีก่อน สถานศึกษายังมีไม่มากอย่างปัจจุบัน จึงมีผู้สนใจมาสอบเข้าสถานที่แห่งนี้กันจากทุกภาคของประเทศไทย ตั้งแต่เชียงราย นครพนม นครปฐม กระบี่ ตรัง เป็นต้น

ต่างจากทุกวันนี้ ที่การศึกษาทางด้านเกษตร มีสถาบันประจำถิ่น ประจำภูมิภาคให้เลือกเรียน เมื่อจบ ชั้น ม. 6 คุณเกียรติยศและครอบครัวไม่ลังเล แต่มุ่งตรงไปสอบเรียนต่อที่วิทยาเขตจันทบุรี

“ผมจบมาได้ 2-3 ปีแล้ว จบทางด้านพืชศาสตร์ ตอนนี้ผมอายุ 26 ปี ช่วงที่เข้าไปเรียนสนุก ได้ปฏิบัติงานในแปลงไม้ผล ได้รับผิดชอบแปลงผัก เขาฝึกให้มีความอดทน เมื่อก่อนผมทราบว่ามีการทำนาด้วย เมื่อเรียนจบทีแรกอยากหาประสบการณ์ โดยการเป็นพนักงานขายเกี่ยวกับการเกษตร ไปสมัครจะเซ็นสัญญาแล้ว แต่ครอบครัวอยากให้มาทำเกษตร อยากให้นำความรู้มาต่อยอด ประกอบกับพ่อป่วย ก็เลยมารับผิดชอบเต็มที่” คุณเกียรติยศ เล่า

มีพื้นฐาน ต่อยอดได้เร็ว

ครอบครัวโกปิยนันท์ ทำสวนผลไม้มานาน เมื่อก่อนปลูกทุกอย่างที่เป็นไม้เมืองร้อน อย่าง เงาะ ทุเรียน มังคุด และลองกอง หลังๆ เน้นทุเรียนเป็นหลัก

เพราะตั้งใจและมุ่งมั่น ตั้งแต่คุณย่ามาถึงรุ่นพ่อ ทำให้กิจการสวนขยายพื้นที่เพิ่มอย่างต่อเนื่อง

คุณเกียรติยศ รับผิดชอบแปลงปลูกทุเรียน จำนวน 80 ไร่ ส่วนพี่ชายของเขารับผิดชอบ 75 ไร่ และยังช่วยดูแลให้คุณย่าอีก 600 ไร่ ที่ตำบลจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ

วันที่ไปพบและพูดคุยกับ คุณเกียรติยศ คุณอุณาโลม คุณพ่อของคุณเกียรติยศป่วย ไม่แข็งแรงนัก แต่ก็ให้ความเห็นเกี่ยวกับลูกชายได้ “ให้เขารับผิดชอบ คอยแนะนำ บอกยาก ชอบเถียง…แรกๆ ไม่ทำตาม ต่อมาทำตาม” คุณอุณาโลม พูดถึงลูกชาย

เนื่องจากเกิดมาก็เห็นต้นไม้ คลุกคลีอยู่กับสวน เมื่อผ่านสถาบันการศึกษาทางด้านการเกษตร แล้วมารับผิดชอบ โดยมีพ่อคอยแนะนำ ไม่นานงานเกษตรของคุณเกียรติยศจึงฉลุย เป็นที่ไว้วางใจของพ่อแม่ จึงให้รับผิดชอบเรื่องการผลิตมากถึง 80 ไร่ ผลผลิต ปีละ 160 ตัน

คุณเกียรติยศ บอกว่า พื้นที่ที่ตนเองดูแลอยู่ มีมังคุดนิดหน่อย ทุเรียนพันธุ์พวงมณีไม่กี่ต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วปลูกพันธุ์หมอนทอง ที่อายุของต้น 25-30 ปีแล้ว

ต้นทุเรียนหมอนทอง อายุ 30 ปี ที่มีความสมบูรณ์ ให้ผลผลิตต่อต้น ต่อปี ได้ 600 กิโลกรัม แต่มีไม่มากต้นนัก ต้นทุเรียนที่อายุมาก ต้นสูง มองในแง่หนึ่ง อาจจะดี แต่ทางเจ้าของสวนแห่งนี้บอกว่า การดูแลและการจัดการยาก โดยเฉพาะการพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ทำให้มีประสิทธิภาพได้ยาก การจัดการด้านอื่นก็ไม่ง่าย เช่น การโยงผลผลิต รวมทั้งการเก็บเกี่ยว ดังนั้น เจ้าของมีโครงการจะทยอยปลูกใหม่เพิ่ม โละต้นเก่าทิ้ง

“ต้นสูงเอาออกบ้าง ปลูกใหม่ 5 ปี ก็เก็บผลผลิตได้” เจ้าของบอก

เจ้าของสวนบอกว่า แต่ละปี พื้นที่ 80 ไร่ มีผลผลิตจำหน่าย 160 ตัน มีบวกลบบ้างเล็กน้อย ผลผลิตเริ่มจำหน่ายได้ปลายเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน ราคาที่จำหน่าย เมื่อปี 2559 ต่ำสุด อยู่ที่ 80 บาท สูงสุด อยู่ที่ 100 บาท ต่อกิโลกรัม

ผลผลิตที่สวนแห่งนี้ เก็บเกี่ยวหมดเดือนมิถุนายน เจ้าของจะดูแลแต่งกิ่ง พร้อมกับให้ปุ๋ยบำรุงต้น สูตรเสมอ คือ 15-15-15 ต้นอายุ 25 ปี ให้จำนวน 3.5 กิโลกรัม ต่อต้น หากต้นอายุ 10 ปี ให้จำนวน 1.5 กิโลกรัม ต่อต้น เวลาผ่านไป 1 เดือน ให้สูตรเดิมอีกจำนวนเท่าเดิม

จนกระทั่งเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ใส่ปุ๋ย สูตร 8-24-24 ให้จำนวน 3 กิโลกรัม ต่อต้น เพื่อเตรียมออกดอก จากนั้นเดือนธันวาคม-มกราคม ต้นทุเรียนก็จะมีดอกออกมา

เมื่อผลโตพอสมควร เจ้าของใส่ปุ๋ย สูตร 8-24-24 ให้อีกครั้งหนึ่ง

“การทำสวนแล้วแต่วิธีของใคร เราใส่สูตร 8-24-24 เมื่อผลโตพอสมควรแล้ว เพื่อบีบผลให้กลมสวย ผมก็ทำของผมอย่างนี้ ก็ได้ผลผลิตทุกปี คนอื่นอาจจะไม่ทำอย่างผมก็ได้” คุณอุณาโลม บอก

ระบบน้ำ ใช้หัวสปริงเกลอร์ของอิสราเอล รู้จักกันในนาม หัว 120

ต้นที่อายุ 25-30 ปี ทรงพุ่มกว้าง ต้องให้น้ำ 3 หัว ต่อต้น ระยะเวลาการให้น้ำ ขึ้นอยู่กับระยะของการติดผล อย่างช่วงที่ผลผลิตกำลังพัฒนาเต็มที่ อาจจะต้องให้วันเว้นวัน ใช้เวลา 6 ชั่วโมง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศด้วย

งานทำสวนทุเรียน น้ำมีความสำคัญมาก หากน้ำไม่พอเพียง ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้ สวนของคุณย่าคุณเกียรติยศที่ตำบลจันทเขลมจึงลงทุนเรื่องแหล่งน้ำไปมาก วิธีการดูแลทุเรียน เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ศัตรูสำคัญของทุเรียน มีทั้งโรคและแมลง

โรครากและโคนเน่า หากเป็นแล้วต้องฝังเข็ม หมายถึง ฉีดยาเข้าลำต้นจึงจะรักษาได้ ที่ผ่านมาทางสวนเน้นการป้องกัน โดยการระบายน้ำ ในจุดที่สวนลุ่มต่ำ อย่าให้น้ำขังแฉะ ช่วยได้มาก

แมลง มีเพลี้ยไฟ รวมทั้งไรแดง ศัตรูเหล่านี้ เมื่อทำลายใบ จะมีผลต่อผลผลิตบนต้น ดังนั้น เจ้าของจะหมั่นสำรวจ หากมีระบาดก็จะป้องกันกำจัด โดยที่เน้นสารเคมีที่มีคุณภาพ

“มีคนงานช่วย 7 คน เรื่องการใช้ปัจจัยการผลิตอย่างสารเคมีต้องเก่ง สารที่ใช้ต้องสลับกันและเลือกที่มีคุณภาพ ถึงแม้ราคาจะสูงหน่อย แต่ใช้ปริมาณน้อย แล้วได้ผล” คุณเกียรติยศ บอก

นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน เคยสัมภาษณ์เกษตรกรหลายพื้นที่ในประเทศไทย มีอยู่จำนวนไม่น้อยที่พบว่า รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ทำงานเกษตรอย่างได้ผล แต่ไม่มีทายาทสืบทอดเจตนารมณ์

แต่ตระกูล โกปิยนันท์ มีคนสืบทอด ด้วยความเต็มใจ มีพื้นฐานทางด้านเกษตร

ถามไถ่บางประเด็นเพิ่มเติมได้ที่ คุณเกียรติยศ โกปิยนันท์ โทรศัพท์ (080) 644-9740 เดินทางไปเยี่ยมบ้านคุณวิชัย ศรีสวัสดิ์ ซอยหน้าโรงเรียนหนองบัวกลาง ม.2 ตำบลหนองบัว อ.นามน จ.กาฬสินธุ์ โทร.094-2920537 เป็นเกษตรกรนักปฏิบัติ แปรทฤษฎีสู่การปฏิบัติ และเรียนรู้กับธรรมชาติได้อย่างน่าทึ่ง ศึกษาจากป่า นำแนวความคิดมาปลูกป่า อยู่กับป่าอย่างมีความสุข พร้อมบอกว่า “ไม่ต้องไปศึกษาดูงานหรือท่องเที่ยว” ตามที่ภาครัฐจัด

ตัวเขาเองเดินป่า ศึกษาจากธรรมชาติ เพราะที่นี่ คือ ตำราเรียน ที่ดีที่สุด “ป่า” เขาอยู่อย่างเกื้อกูล คุณวิชัย เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นคนรักธรรมชาติมาก เข้าป่า ศึกษาจากป่า มาวันนี้ ปลูกป่า พื้นที่ 4 ไร่ มีไม้ป่าหลัก ไม้ยางนา ไม้เต็งรัง ไม้จิก ไม้แดง ไม้ธรรมชาติ มากมายพืชสมุนไพรทุกชนิดมีในป่าแห่งนี้ ไม้เสริม เถาวัลย์ พืชรับประทานเป็นอาหารได้ มีอีผุกหรือบุก อีลอก ขิง ข่า ตะไคร้ สับปะรด ผักหวานป่า กล้วย มะพร้าว ปลูกแบบป่าผสมผสาน “พี่ใหญ่เลี้ยงน้องเล็ก” ผมรักธรรมชาติ รักป่า จึงดำเนินการปลูกป่า ทำทางเดินเล็กๆ สองข้างทางมีอาหารให้รับประทานได้ สิ่งที่คืนให้ธรรมชาติ คือ “ผักหวานป่า” โยนเมล็ดเข้าป่า ผักหวานป่าเกิดได้ อยู่ได้ ทนทานหลายปี ต้นที่หลังบ้าน 25 ปี แล้ว รากถึงที่ไหนเกิดเป็นต้นใหม่ เก็บรับประทาน เก็บขาย 200 บาท/ก.ก. หรือให้คนเข้าไปเก็บเอง นั่งเฝ้าตราชั่ง รับเงินที่ปากทาง งานง่าย มีรายได้งาม จาก “ป่า” ที่ตนเองสร้างขึ้น

คุณวิชัย บอกว่า ผักหวานป่า มีต้นตัวผู้ติดดอกไม่ติดผล เก็บดอกขายราคางดงามมาก ต้นตัวเมีย ติดทั้งดอกทั้งผล มองดูผลผักหวานป่า คล้ายผลมะไฟ สวยงามอีกแบบ การปลูกให้เป็นแบบ “พี่เลี้ยงน้อง” คือ เพาะกล้าแคบ้าน ปักเมล็ดหรือผลผักหวานไปพร้อมๆกัน ต้นแคเจริญเติบโต พร้อมต้นผักหวาน อย่าให้รากแก้วงอ นำไปปลูกตามพื้นที่ที่เตรียมไว้ ขุดหลุมปลูกดินกลบโคน หันหลังให้ หลังฝนมาดูอีครั้ง มีชีวิตคือรอด “ผักหวานป่า” เขาต้องการอยู่แบบ “ผักป่า” ไม่ต้องเอาใจใส่มาก จะรดน้ำพรวนดิน ดีอย่างไร หาก “ผักหวานจะตาย” คือ ผักหวานไม่รอด แต่ที่ สวนป่า “พี่ใหญ่เลี้ยงน้องเล็ก” แห่งนี้ ปลูกแบบ “เมล็ดผักหวานพร้อมเมล็ดต้นแค” คือปลูกพร้อมๆกัน เก็บแคขายดอก พบต้นผักหวานเจริญเติบโตควบคู่ไปด้วย หากท่านต้องการเที่ยวชม แวะนะครับ หลังบ้าน มีผักหวาน ต้นเล็ก ต้นใหญ่ เกิดจากธรรมชาติ จากราก จากเมล็ด มีต้นตัวผู้ ต้นผักหวานตัวเมีย งานง่ายๆ งานปลูกป่าเพื่อชีวิต ครับ

การทํานา เป็นอาชีพหลักของเกษตรกรไทย แต่การผลิตข้าวของไทยกลับได้ผลผลิตต่ำและมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน จุดอ่อนที่เห็นได้ชัดคือ การปลูกข้าวนาหว่าน เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตในปริมาณมากและมีรวงเยอะๆ แต่วิตกกังวลว่า ข้าวที่หว่านจะไม่งอก จึงใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่สูงเกินความจําเป็น เฉลี่ย 25-30 กิโลกรัม ต่อไร่ แถมใช้ปุ๋ยจำนวนมาก ทำให้มีต้นทุนการผลิตสูง

จุดอ่อนประการต่อมาคือ เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวไม่มีคุณภาพ มีข้าวดีด ข้าวเด้ง ปะปนกับเมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ทําให้มีผลผลิตต่อไร่ต่ำ และมีปัญหาสิ่งเจือปนสูง แถมพันธุ์ข้าวที่นำมาปลูกยังไม่ต้านทานต่อโรคและแมลง เพราะเกษตรกรจำนวนมากนิยมเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง หรือซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่มีคุณภาพมาปลูก

นอกจากนี้ ที่ผ่านมา กรมการข้าว ได้ตรวจสอบพบ ผู้รวบรวมและร้านจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวบางแห่งไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. พันธุ์พืชฯ มีการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ที่ไม่ได้คุณภาพ เช่น ไม่มีฉลากแสดงรายละเอียดของเมล็ดพันธุ์ ไม่มีการขออนุญาตอย่างถูกต้อง ตลอดจนโฆษณาอวดอ้างคุณภาพเกินจริงและจำหน่ายในราคาสูงเกินความเป็นจริง ล้วนเป็นการเอารัดเอาเปรียบและสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวนาที่จ่ายเงินจำนวนมากซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพต่ำไปปลูกด้วยความไม่รู้เท่าทัน

สำหรับฤดูการเพาะปลูก ปี 2560/61 กรมการข้าว คาดการณ์ว่า จะมีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งประเทศโดยรวม 65.40 ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวหอมมะลิ 25.24 ล้านไร่ ข้าวหอมปทุม 1.47 ล้านไร่ ข้าวเจ้า 20.62 ล้านไร่ ข้าวเหนียว 17.77 ล้านไร่ และข้าวอื่นๆ 3 แสนไร่ มีความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวปลูก ประมาณ 1,218,992 ตัน มาจาก 3 ช่องทาง ได้แก่

แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพ จำนวน 420,00 ตัน คิดเป็น 34.47% ประกอบด้วย ศูนย์ขยายพันธุ์ข้าวของกรมการข้าว 81,900 ตัน สหกรณ์ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว 37,000 ตัน ผู้ประกอบการ 25,080 ตัน ศูนย์ข้าวชุมชน 50,500 ตัน
การส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีไว้ใช้เอง ปี 2559/60 คิดเป็น 3.71% ประกอบด้วย โครงการส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวในครัวเรือน จำนวน 5,162 ตัน ธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน ปี 2557-2559 รวม 73 แห่ง จำนวน 4,000 ตัน โครงการส่งเสริมการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิคุณภาพ จำนวน 21,025 ตัน โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและควบคุมการผลิต (นาแปลงใหญ่) จำนวน 15,050 ตัน
เกษตรกรชาวนาเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก 26.25% จากการใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพปีที่ผ่านมา 320,000 ตัน อีกกลุ่ม 35.57% มาจากยุ้งฉาง/แลกเปลี่ยนพันธุ์ข้าวกับเพื่อนบ้าน ประมาณ 433,555 ตัน

กรมการข้าว เร่งยกระดับคุณภาพข้าว

งานพัฒนาเครือข่ายผู้ผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นภารกิจหลักที่กรมการข้าวให้ความสำคัญและตรวจสอบอย่างใกล้ชิดมาตลอด นับตั้งแต่ ปี 2555 โดยสนับสนุนให้มีการจัดตั้ง “สมาคมผู้รวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว” ขึ้น ทั่วทั้งประเทศ จำนวน 50 ชมรม มีสมาชิก จำนวน 2,131 ราย โดยมีเป้าหมายเพื่อมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาด้านการผลิตและการกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้เพียงพอกับการใช้เพาะปลูกของชาวนา ซึ่งมีความต้องการเมล็ดพันธุ์ เฉลี่ยปีละ 1.2 ล้านต้น

ในปี 2560 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดให้เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร กรมการข้าว จึงกำหนดภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายหลัก โดยมุ่งควบคุมปัจจัยการผลิตและกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะ “เมล็ดพันธุ์ข้าว” ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่สำคัญ จึงเร่งสร้างความเชื่อมั่นในด้านมาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัยของกระบวนการผลิตและการค้าเมล็ดพันธุ์ข้าวในตลาดเมล็ดพันธุ์ให้เกิดขึ้น

นายสัตวแพทย์ธนิตย์ เอนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กรมการข้าว มีหน้าที่รับผิดชอบด้านข้าวของประเทศไทยทั้งระบบ ตั้งแต่การปรับปรุงพัฒนาปลูกข้าวให้มีผลผลิตต่อพื้นที่และคุณภาพสูงขึ้น การพัฒนาพันธุ์ การอนุรักษ์ และคุ้มครองพันธุ์ การส่งเสริม สนับสนุนและเผยแพร่องค์ความรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต การตรวจรับรอง มาตรฐานข้าว การตลาด การแปรรูป และการจัดการอื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าข้าว รวมทั้งดำเนินการผลิตและส่งเสริมสนับสนุนเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ข้าว

สำหรับในส่วนของเมล็ดพันธุ์ ควบคุมข้าวเปลือก จะมีสมาคม/ชมรม และผู้ประกอบการธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวเป็นผู้ผลิตและผู้ขายให้กับเกษตรกรผู้ใช้เมล็ดพันธุ์ ภายใต้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยจะมีพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติฯ หรือสารวัตรข้าว ทำหน้าที่ในการตรวจติดตาม ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบผู้ประกอบการธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวทั่วประเทศ ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 ตลอดจนดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยมุ่งหวังให้เกษตรกรที่จำเป็นต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวสำหรับเพาะปลูกได้สินค้าที่มีคุณภาพดีราคาเหมาะสม

บทบาท “สารวัตรข้าว” ผู้พิทักษ์ชาวนา

คุณประสงค์ ทองพันธ์ ผู้อำนวยการกองตรวจสอบรับรองมาตรฐานข้าวและผลิตภัณฑ์ กรมการข้าว เปิดเผยว่า อธิบดีกรมการข้าวได้มอบหมายให้กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานข้าวและผลิตภัณฑ์ เร่งดำเนินการตรวจสอบ กำกับและควบคุมการผลิตและการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติมอย่างเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากพันธุ์ข้าวเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว หากเกษตรกรได้ใช้เมล็ดพันธุ์ตั้งต้นที่ดีมีคุณภาพ ผลผลิตข้าวที่ออกมาก็จะมีมาตรฐาน เป็นการเพิ่มโอกาสและรายได้ให้กับเกษตรกร ที่สำคัญยังสามารถยกระดับคุณภาพข้าวในภาพรวมของประเทศไทยได้ด้วย อีกทั้งเป็นการรองรับปีแห่งการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีจะได้รับเครื่องหมาย Q ส่วนแหล่งรวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์คุณภาพ จะได้รับสัญลักษณ์ Q Seed Shop เป็นเครื่องการันตีคุณภาพ

ปัจจุบัน มีผู้ประกอบการธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าว ไม่ว่าจะเป็นสถานที่รวบรวมเมล็ดพันธุ์ควบคุมเพื่อการค้ากว่า 500 ราย และร้านขายเมล็ดพันธุ์ควบคุมกว่า 18,000 ราย บางรายยังดำเนินกิจการโดยขาดความเข้าใจและไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ. พันธุ์พืชฯ ปัจจุบัน กรมการข้าว มี “สารวัตรข้าว” กระจายอยู่ตามศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวและศูนย์วิจัยข้าวทั่วประเทศ ออกปฏิบัติการตรวจสอบ กำกับ ควบคุมการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวของผู้ประกอบการธุรกิจเมล็ดพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่อง ในปีที่ผ่านมาพบผู้กระทำความผิดไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานที่ พ.ร.บ. พันธุ์พืชฯ กำหนด จึงได้รวบรวมพยานหลักฐานส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีกับสถานประกอบการ จำนวน 12 ราย อายัดเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ไม่มีคุณภาพได้กว่า 100 ตัน

จากการปฏิบัติภารกิจอย่างเข้มข้นของสารวัตรข้าว โดยบูรณาการความร่วมมือจากส่วนกลางและสารวัตรข้าวในพื้นที่ ได้จัดทีมแบ่งตามภาค ได้แก่ ทีมสารวัตรข้าวภาคเหนือตอนบน ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคกลาง เวลาลงพื้นที่ปฏิบัติงาน ได้รับความร่วมมือจากร้านค้าเมล็ดพันธุ์เป็นอย่างดี ส่งผลให้มีเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่มีคุณภาพเข้าสู่ตลาดน้อยลง

คุณประสงค์ กล่าวว่า ในปีนี้กรมการข้าวได้รับรองแหล่งรวบรวมและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์แล้ว จำนวน 60 ร้านค้า ตั้งเป้ารับรองเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 15,000 ตัน ขอแนะนำให้เกษตรกรเลือกซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าวจากแหล่งผลิตที่เชื่อถือได้ ที่ผ่านการขออนุญาตจำหน่ายอย่างถูกต้องและมีกระบวนการผลิตตามมาตรฐาน โดยสังเกตจากสัญลักษณ์ Q ที่ผลิตภัณฑ์ เพื่อจะได้เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ได้มาตรฐานคุณภาพดีไปเพาะปลูก เพื่อยกระดับการผลิตข้าวคุณภาพดีต่อไร่ให้สูงขึ้นและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของข้าวไทยในเวทีการค้าโลกในระยะยาว

ติดตามภารกิจ “สารวัตรข้าว”

นายสัตวแพทย์ธนิตย์ เอนกวิทย์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำคณะสื่อมวลชนไปติดตามการทำงานของสารวัตรข้าว ที่ลงพื้นที่ไปตรวจสอบโรงสีข้าว ของ บริษัท คูโบต้าทั่งทองพิจิตร จำกัด ในพื้นที่อำเภอสากเหล็ก จังหวัดพิจิตร โดยเปิดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวมาตั้งแต่ 4 ปีที่แล้ว ภายใต้ชื่อการค้า “ช้างทองพันธุ์ดี”

ปัจจุบัน โรงสีแห่งนี้ จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว จำนวน 10 สายพันธุ์ เช่น ข้าว กข 29 (ชัยนาท 80) ข้าว กข 31 (ปทุมธานี 80) ข้าว กข 41 ข้าว กข 47 ข้าว กข 49 ข้าว กข 57 ข้าว กข 61 ข้าวพิษณุโลก 2 ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวปทุมธานี 1 การลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวในแต่ละครั้ง สารวัตรข้าวจะใช้วิธีสุ่มตรวจร้านค้าจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวและโรงสีผู้รวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าว โดยไม่แจ้งล่วงหน้า เริ่มจากตรวจสอบใบอนุญาตว่าหมดอายุหรือไม่ เพราะใบอนุญาตมีอายุแค่ 1 ปี ต้องต่ออายุใบอนุญาตทุกปี รวมทั้งใบประกอบการค้าของกระทรวงพาณิชย์ และใบรับรองมาตรฐาน Q seed

สารวัตรข้าว จะเจาะสุ่มตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ข้าวที่บรรจุอยู่ในกระสอบพร้อมจำหน่าย ชั่งให้ได้ 500 กรัม นำไปสีกับโรงสีขนาดเล็ก ซึ่งเป็นชุดอุปกรณ์ตรวจสอบ เมื่อสีเสร็จก็นำมาแผ่กระจายเพื่อตรวจหาข้าวแดงหรือข้าววัชพืช ตามกฎหมายกำหนดให้เมล็ดพันธุ์ข้าวเปลือก 500 กรัม จะมีข้าวแดงได้ไม่เกิน 10 เมล็ด หรือ 1 กิโลกรัม ไม่เกิน 20 เมล็ด นั่นเอง นอกจากนี้ ยังตรวจสอบปริมาณเมล็ดพันธุ์ข้าวในโกดังว่ามีจำนวนกี่ตัน ในเบื้องต้นจะใช้การคาดคะเนโดยสายตา หากไม่แน่ใจหรือดูแล้วผิดปกติ จะตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง

“จังหวัดกาญจนบุรี” ได้ชื่อว่า เป็นดินแดนอีสานแห่งภาคตะวันตก เพราะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูงและอากาศร้อนอบอ้าวมากในฤดูร้อน ด้านตะวันตกมีเทือกเขาตะนาวศรีกั้นเขตแดนไทย-พม่า อิทธิพลจากเทือกเขานี้ทำให้พื้นที่ราบทางด้านตะวันออกของจังหวัดเป็นเขตพื้นที่อับฝน มีฝนน้อย ปริมาณฝนรวมตลอดปีน้อยกว่า 1,200 มิลลิเมตร เมื่อเทียบกับตอนกลางของจังหวัด ที่มีฝนรวมตลอดปี ประมาณ 1,200-1,600 มิลลิเมตร

“มะขามเทศ” นับเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่น่าจับตามองของเกษตรกรจังหวัดกาญจนบุรี เพราะทนร้อน ทนแล้งได้ดี ปลูกดูแลง่าย ให้ผลผลิตต่อไร่ ประมาณ 500-700 กิโลกรัม ราคาขายส่ง ประมาณกิโลกรัมละ 50-60 บาท ปลูกมะขามเทศ 1 ไร่ จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 40,000-60,000 บาท ต่อปี

“มะขามเทศฝักสีชมพู” ไม้ผลทำเงิน “ไร่สวนขวัญ”

คุณไพฑูรย์ สุนทรวิภาต พนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง (อบต. วังด้ง) ใช้เวลาว่างช่วงวันหยุดทำสวนมะขามเทศเป็นรายได้เสริม ชื่อ “ไร่สวนขวัญ” บนเนื้อที่ 3 ไร่ ตั้งอยู่พื้นที่บ้านหนองสามพราน หมู่ที่ 9 ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โทร. (086) 162-0365

คุณไพฑูรย์ เริ่มสนใจทำสวนมะขามเทศ เมื่อ 6-7 ปี ที่แล้ว หลังเขามีโอกาสลงพื้นที่ไปพูดคุยกับชาวบ้านในท้องถิ่น พบว่าชาวบ้านนิยมปลูกมะขามเทศกันอย่างแพร่หลาย เพราะไม้ผลชนิดนี้ปลูกดูแลง่าย ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง ที่สำคัญเป็นผลไม้ที่ทนแล้ง ให้ผลผลิตมาก น้ำหนักดี ขายง่าย ได้ราคาดี เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมสูง ในกลุ่มผู้รักสุขภาพ

มะขามเทศฝักสีชมพู…ครองแชมป์ความอร่อย

เมืองไทยมีมะขามเทศหลายพันธุ์ที่ปลูกกันทั่วไป ได้แก่ สายพันธุ์พื้นเมือง ที่มีลักษณะใบขนาดเล็ก และพันธุ์ดีที่มีขนาดใบใหญ่ ที่หน่วยงานราชการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกคือ มะขามเทศฝักใหญ่พันธุ์พระพุทธบาท นอกจากนี้ ยังมีพันธุ์เกิดขึ้นใหม่ซึ่งกลายพันธุ์มาจากพันธุ์พระพุทธบาทอีกหลายพันธุ์

ทั้งนี้ สมัคร Holiday Palace จากการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกมะขามเทศของกรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อปี 2558 พบว่า ทั่วประเทศมีพื้นที่ปลูก 10,026 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 21 จังหวัด โดยแหล่งปลูกมะขามเทศ อันดับ 1 คือ จังหวัดราชบุรี รองลงมาคือ นครราชสีมา นครสวรรค์ สมุทรสาคร และจังหวัดอื่นๆ ผลผลิตรวม 5,069 ตัน ผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 747 กิโลกรัม เมื่อจำแนกสายพันธุ์พบว่า มะขามเทศฝักใหญ่ มีเนื้อที่ปลูกมากที่สุด ครอบคลุม 15 จังหวัด โดยแหล่งที่ปลูกมากที่สุดคือ จังหวัดนครราชสีมา

ปัจจุบัน มะขามเทศ ที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป ได้แก่ มะขามเทศยักษ์ พันธุ์พระพุทธบาท มะขามเทศฝาด มะขามเทศมัน แต่ทุกสายพันธุ์อร่อยสู้ “มะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพู” ไม่ได้ เพราะพันธุ์ฝักสีชมพูมีรสชาติหวาน มัน อร่อยกว่าทุกสายพันธุ์ ทุกวันนี้ยังไม่มีมะขามเทศสายพันธุ์ไหนมาลบสถิติความอร่อยของมะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพูได้เลย เรียกว่า ผู้บริโภคนิยมเลือกซื้อมะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพูมากเป็นอันดับหนึ่ง ส่วนมะขามเทศพันธุ์พระพุทธบาท แม้จะมีขนาดฝักโต รสชาติมัน แต่ไม่หวาน จึงได้รับความนิยมน้อยกว่า มะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพู

การปลูกดูแล

ช่วงปี 2554 คุณไพฑูรย์ ได้นำกิ่งพันธุ์มะขามเทศพันธุ์ฝักสีชมพู คุณภาพดี จำนวน 35 ต้น มาปลูกบนที่ดินของไร่สวนขวัญ โดยซื้อกิ่งพันธุ์ในราคา ต้นละ 25 บาท หลังจากเตรียมหลุมปลูก ที่มีขนาดกว้างxยาว 50×50 เซนติเมตร ปลูกในระยะห่างต่อต้น ประมาณ 10 เมตร ปรากฏว่า ปลูกไปได้ 6 ปี ทรงพุ่มเริ่มชนกันแล้ว กลายเป็นจุดสะสมเชื้อโรค และไม่มีผลผลิตในบริเวณดังกล่าว วิธีแก้ไขคือ ต้องรีบตัดแต่งกิ่งให้มีทรงพุ่มโปร่ง รับแสงแดดได้สะดวก